ทุติยสังคายนา 018

สาเหตุที่ทำให้เกิดทำทุติยขึ้น ถ้าว่ากันตามหลักฐานทางตำนานภาษาบาลี ก็อ้างว่าเกิดจากมูลเหตุการณ์การตีความพระวินัยบัญญัติ 10 ข้อ ของภิกษุพวกเวสาลี  แต่ในตำนานที่มาในภาษาสันสกฤต ไม่ได้พูดถึงเรื่องสิกขาบท 10 ประการของพวกวัชชีบุตรนะครับ ในตำนานฝ่ายสันสกฤตทั้งมหายานกับนิกายอื่นที่ไม่ใช่มหายาน เขาพูดว่า เกี่ยวกับมติทางทัศนธรรมะ 5 ประการ ของคณาจารย์รูปหนึ่งชื่อมหาเทพ ภิกษุมหาเทพองค์นี้มีความสำคัญคือว่าท่านเป็นชาวอวันตี ชาวเมืองมถุราในแคว้นอวันตี แล้วก็มีประวัติว่าเดินทางมาบวชที่กุกุฏรามในแขวงเมืองปาฏลีบุตร เป็นธรรมกถึก เทศนาโวหารไพเราะจนกระทั่งพระเจ้ากาลาโศกรับเป็นองค์อุปถัมภ์ ในวันหนึ่งซึ่งเป็นวันสวดปาฏิโมกข์ และวันนั้นเผอิญเป็น หน้าที่ของภิกษุจะแสดงพระปาฏิโมกข์แก่สงฆ์ พอภิกษุมหาเทพขึ้นนั่งบนธรรมาสก์แล้ว ยังไม่ทันจะสวดปาฏิโมกข์จู่ๆมหาเทพก็เสนอ ทิฎฐิ 5 ประการขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ ทิฏฐิห้าข้อนั้น มีใจความว่า

ข้อ 1 พระอรหันต์ยังอาจมีกังขาได้

ข้อ2 การบรรลุมรรคผลนั้นจะต้องอาศัยผู้อื่นพยากรณ์ให้ ตัวของตัวเองนั้นไม่รู้ว่าตัวเองบรรลุมรรคผล

ข้อ 3 พระอรหันต์ยังปล่อยน้ำสุขกะได้ หากกระทบกับมารยั่วยวนในความฝันได้

ข้อ 4 พระอรหันต์จะได้บรรลุมรรคผลนั้นก็ต่อเมื่อเปล่งคำว่าทุกข์หนอ ทุกข์หนอ เป็นปัจจัย แล้วก็มรรคผลจึงจะเกิดมีขึ้น

ข้อ 5 ข้อสุดท้ายของทิฏฐิมหาเทพ ก็คือถือว่า พระอรหันต์ยังละกิเลสบางเหล่าไม่ได้ ทิฏฐิ 5 ประการของภิกษุมหาเทวะที่เสนอขึ้นในท่ามกลางสงฆ์นี้ เป็นให้มติในที่ประชุมเกิดอลเวง มีภิกษุฝ่ายธรรมวาทีคัดค้าน ว่าความเห็นของท่านมหาเทพเป็นมิจฉาทิฏฐิ ในที่สุดก็ทำสังฆกรรมในคืนนั้นไม่ได้ เกิดโต้เถียง ในกุกฎารามวุ่นวาย จนกระทั่งพระเจ้ากาลาโศกเสด็จมาห้ามปราม พระมหาเทพก็เสนอให้พระเจ้ากาลาโศกใช้ตัดสิน อธิกรสมถ ด้วยวิธีอธิกาอภิกานสมถวิธี เมื่อใช้วิธีอภกานสมถวิธีนั้นได้รับผลคือว่า ฝ่ายพระมหาเทพชนะ เสียงส่วนมากเข้าข้างพระมหาเทพ พระที่บวชแล้วใหม่ ยังไม่รู้ และเข้าใจในธรรมไม่ดีพอ ผู้รู้ก็เห็นว่าภิกษุพระมหาเทพถูก ในที่สุดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมวาทีก็แยกออกเป็น2นิกาย คือนิกายท่านมหาเทพนั้นมีพวกมาเรียกว่านิกายมหาสังฆิกะ  นิกายของพวกธรรมวาทีมีพวกน้อยเรียกว่านิกายเถรวาท นี่เป็นต้นเหตุของนิกายเถรวาทกับนิกายมหาสังฆิกตามตำนานฝ่ายสันสกฤต ไม่ได้พูดถึงการบัญญัติ 10 ประการของภิกษุวัชชีบุตร แต่เกิดเหตุการณ์ในท้องที่เดียวกัน เมืองเดียวกัน เวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้นในฐานะที่เราเป็นนักศึกษาจะวินิจฉัยเรื่องราวทั้ง 2 เรื่องอันปรากฏมาทางบาลีทางหนึ่ง  ทางสันสกฤตได้อย่างไร ตามความเห็น่ของผมก็เห็นว่าทั้ง2เรื่องเป็นเรื่องจริง เพราะได้กล่าวแล้วว่าคณะสงฆ์จะแตกความสามัคคีก็เพราะเหตุแห่งความวิบัติของทิฏฐิสามัญญตาประการหนึ่ง เพราะเหตุแห่งศีลสามัญญตาประการหนึ่ง เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ทั้ง2เรื่องก็เป็นการสะท้อนออก ซึ่งเป็นผลอันเกิดจากความวิบัติของทิฏฐิและของศีลนั่นเอง ซึ่งเป็นไปได้จะต้องเกิดในสมัยเดียวกัน เพราะว่าภิกษุมหาเทพนั้น พยาวิมุติไม่มีจารสุจวิชาทนะ หรือทิพยจักขุญาน ทิพย์โสตญาน ก็ไม่สามารถจะเข้าใจในภูมิฐานที่ท่านไม่เคยอยู่ ไม่เคยไป ไม่รู้จักชื่อเสียงเรียงนามของบุคคล หรือชื่อต้นไม้ชื่อสัตว์ ที่ท่านไม่เคยรู้และฟังมาก่อน ความสงสัยอย่างนี้สงเคราะห์เป็นกังขาได้ ความจริงถ้าอธิบายธรรมในแง่นี้ก็ไม่น่าจะขัดกับนิกายเถรวาท เพราะทางเถรวาทก็ยอมรับว่า ความกังขาของพระอรหันต์ยังมีนะ  แต่ไม่เคยวิจิกิจฉาเรียกว่าปฏิรูป ความกังขาในเรื่องปฏิรูปสถานที่ บุคคลซึ่งเราไม่รู้จัก อย่างนี้ไม่ถือเป็นกิเลส ไม่ถือเป็นสังโยชน์ ความสงสัยว่าเอ หนทางมาวัดมหาธาตุนั้นมาทางไหน เราไม่เคยอยู่กรุงเทพ เป็นอรหันต์มาจากต่างจังหวัด ต่างประเทศไม่เคยมาเมืองไทย มาวัดมหาธาตุไม่ถูก จะขึ้นรถสามล้อเครื่องหรือว่ารถยนต์ก็ต้องถามว่าทางไปวัดมหาธาตุไปทางไหน ความสงสัยเรื่องหนทางไม่เป็นกิเลสเลย ไม่เป็นวิจิกิจฉา อย่างนี้เป็นปฏิรูปกังขา  พระอรหันต์ยังอาจจะมีได้ไม่แปลก แต่ในข้อที่เรียกว่า มรรคผล พระอรหันต์จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเปล่งคำว่าทุกข์หนออันนี้แปลก เพราะว่าสาเหตุที่จะต้องเปล่งคำว่าทุกข์หนอเนี๊ย ตามเรื่องเล่าประวัติท่านมหาเทพ แต่เป็นเรื่องที่ภิกษุต่างนิกายเขียน คือเป็นพวกนิกายสรวาปติวาทไม่ถูกกับนิกายมหาสังฆิก ไม่ถูกกัน 2 นิกายนี้ทะเลาะกันเรื่อย แล้วก็นิกายสรวาปติวาทเรื่องประวัติท่านมหาเทพ ซึ่งวิธีอ่านข้อความประวัติของบุคคลสำคัญ ซึ่งคนต่างนิกายเขียนเราก็ต้องอ่านด้วยความยุติธรรม ไม่ใช่อ่านร่ายตามนิกายมาใส่ วิธีอ่านก็คือว่า อาจจะเขียนป้ายสีก็ได้ให้เสียหาย คือว่าในตำนานภิกษุมหาเทพ ที่นิกายสรวาปติวาทเขียนขึ้น บอกว่าท่านมหาเทพ เดิมเป็นลูกพ่อค้าขายเครื่องหอมในเมืองมถุรา ไปทำปิตุฆาตฆ่าพ่อตาย มูลเหตุที่ฆ่าพ่อเพราะว่าตัวไปทำชู้กับแม่ของตัว เพราะนั้นแม่ในที่นี้อาจเป็นแม่เลี้ยงก็ได้ ถ้าเป็นแม่บังเกิดเกล้าที่ไหนจะเลวทรามถึงเพียงนี้ อาจจะเป็นแม่เลี้ยง กลัวพ่อจะจับได้ ฆ่าพ่อ กลัวความจะแตกก็หนีจากเมืองมถุรา มาอยู่เมืองปาฏลีบุตร นี่ทำอนันตริยกรรมขั้น1แล้ว มาอยู่เมืองปาฏลีบุตรไม่ช้าไม่นาน เจอพระอรหันต์ชาวเมืองมถุราเข้า ก็ความลับที่ตัวทำขึ้นจะแตก ฆ่าพระอรหันต์องค์นั้นอีก ทำอนันตริยกรรมกระทงที่2แล้ว ฆ่าพระอรหันต์เจ้า ต่อมากลัวกรรมหนักหนีไปบวช ไปบวชอุปัชฌายะคงไม่ได้สอบสวนประวัติเบื้องหลัง ก็บวชให้ บวชแล้วก็หมั่นเรียน พระไตรปิฏกกระทั่งเป็นธรรมกถึก คราวนี้อยากจะแสวงหาบริวาร ก็เรียกบริวาร มาบอกว่ามาทำกรรมฐานกับฉัน ทำแล้วตัวมหาเทพก็ตั้งตัวเป็นพระอรหันต์ อวดอุตริมนุษยธรรม พยากรณ์ลับให้ลูกศิษย์ ว่าคนนั้น เป็นโสดา คนนี้เป็นปกทา คนนั้นเป็นอนาคาคนนั้นเป็นอรหันต์พยากรณ์ให้ลกศิษย์ ลูกศิษย์ก็ชอบใจ มาเรียนกรรมฐานสำนักนี้ ไม่ช้าเราก็เป็นอริยะสงฆ์เป็นตามๆกันแล้ว ดีอกดีใจใหญ่ ลาภสักการะไหลมาเทมาหาพระมหาเทพเป็นการใหญ่ นี่เป็นอวดอุตริมนุษยธรรม จัดเป็นอนันตริยกรรมขั้นปาราชิกขั้น 3แล้ว ต่อมาอีก ผลกรรมอันนี้ทำให้พระมหาเทพใจคอไม่สบาย พวกลูกศิษย์ไปศึกษาธรรมสังสัยอาจารย์บอกว่าเราเป็นอรหันต์ทำไมยังสงสัยขบธรรมข้อนี้ไม่แตก มาถามอาจารย์ อาจารย์ครับ ที่อาจารย์พยากรณ์ว่าผมเป็นอริยะบุคคลทำไมผมยังสงสัยในเรื่องพระธรรมพระสงฆ์อยู่ละ พระมหาเทพบอกไม่เป็นไรหรอกแก พระอริยะก็ยังมีวิจิกิจฉาได้ ยกเลิกกันไปเสียทีลูกศิษย์ กลับไปอีก ต่อมาไปอ่านในพระไตรปิฎก บอกว่าตามธรรมดาอริยะบุคคลย่อมรู้ว่า ชาติได้สิ้นแล้ว กิจที่ควรทำก็ทำแล้ว พรหมจรรย์ก็อยู่ จบแล้ว ทำไมเราไม่รู้ตัวเอง เป็นอริยะนะ ต้องให้อาจารย์บอกถึงรู้ ถามอาจารย์ อาจารย์บอกคิดมาก จะเป็นอริยะบุคคลจะต้องอาศัยผู้ที่เขาเป็นมาก่อนพยากรณ์รับรองให้ ถ้าเขาไม่ออกประกาศนียบัตรรับรองให้แกก็ไม่รู้แกเป็นอริยะ ว่างั้น ต้องรอให้ข้าออกประกาศนียบัตรรับรองเองเสียก่อนเองถึงรู้ว่าเองเป็นอริยะ ลูกศิษย์ดีใจกลับไปอีก พระมหาเทพก็ยังฟุ้งซ่านอยู่ คืนหนึ่งแก่ก็เกิดหลั่งสุขกะออกมา ลูกศิษย์ไปซักสบงเข้า อะไรทำไมมีสิ่งนี้ละ วิ่งไปหาอาจารย์ อาจารย์บอกเรื่องเล็ก พระอรหันต์ยังอาจถูกมารยั่วยวนในความฝัได้นี่หว่า บอกลูกศิษย์อย่างนี้ ลูกศิษย์ก็เออโล่งอกไปที  อีกวันหนึ่งมหาเทพกำลังพลิกมาพลิกไปนอนไม่หลับ กลุ้มรุมจิตใจแก่ ในอกุศลกรรมที่หลอกลวงโลกลวงธรรมมาช้านานกลุ้มรุมจิตใจแก แหมทรมานใจเหลือเกิน แกก็ถอนหายใจร้องว่า ทุกข์จริงโวย ทุกข์จริงโวย ทุกข์หนอ ทุกข์หนอ เสียงมันดังไปหน่อย ลูกศิษย์นอนอยู่ข้างฝา เอพระอรหันต์ทำไมบ่นว่าทุกข์ละ พรุ่งนี้จะถามอาจารย์ให้รู้แน่ ว่าอาจารย์ครับเมื่อคืนนี้ผมนอนไม่หลับได้ยินอาจารย์บ่นว่าทุกข์ใจทุกข์จริง ก็อาจารย์เป็นอรหันต์แล้วทำไมยังมีทุกข์ทางใจอยู่ด้วยละ พระมหาเทพก็แก้เขินบอกว่าเองไม่รู้ ธรรมดามรรคผลจะเกิดผู้เจริญต้องเปล่งคำว่าทุกข์หนอ ทุกข์หนอ ในบาลีใช้คำว่า ทุกคังคัง ทุกคังคะ ทุกขปริยาหาโร มติขอแกทั้งหมดนี่แหละ นี่ว่าตามทิฏฐิต่างนิกายเขียนไว้ แต่ถ้าเราเอาข้อเท็จจริงมาวิจัยกันดู ถ้าพระมหาเทพท่านจะชั่วช้าสามานย์ถึงขนาดนั้นแล้ว ทำไมจะตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์มีบริวารกระทั่งตั้งนิกาย่ขึ้นมาได้ เป็นไปไม่ได้ที่จะชั่วช้าแบบนี้แบบที่อีกนิกายหนึ่งเขียน ฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องการป้ายสีระหว่างนิกาย นิกายปรวาสติวาทกับมหาสังฆิก พระมหาเทพแก่ต้องดีจริงสิ แล้วไอ้ปัญหาที่แกถกห้าประการก็ใช่ว่าจะเสียไปหมดทุกข้อ ยกตัวอย่างเช่นพระอรหันต์ยังมีกังขาเนี้ย  ทางเถรวาทก็ยอมรับ แล้วแต่ไอ้ที่เปล่งว่าทุกข์ๆนี่นอกเรื่อง เถรวาทไม่ยอมรับ ที่ว่าพระอรหันต์ยังมีสุขกะก็ไม่ยอมรับ อย่าว่าแต่พระอรหันต์เลย โยคาพจรภายนอกศาสนาที่ได้ปฐมฌานแล้ว น้ำอสุจิก็ไม่เคลื่อนแล้ว ปุถุชนนี่แหละถ้าทำปฐมฌานได้ เพราะกามฉันทะถูก อำนาจสมาบัติ ข่มเอาไว้ เพราะฉะนั้นความวิการในทางกายไม่ปรากฏไม่ฟุ้งซ่านไม่ฝันด้วย การตีความปัญหาในข้อนี้จึงเป็นทัศนอันหนึ่งที่ต่างไปจากนิกายเถรวาท เป็นอันได้ความว่า ในการทำทุตติยสังคายนา เพราะผลจากบัญญัติสิบประการของภิกษุวัชชีบุตร อันหนึ่ง เพราะผลจากทิฏฐิของภิกษุมหาเทพอันหนึ่ง เป็นเหตุให้สังฆมณฑล แตกออกเป็น 2 นิกายใหญ่ใหญ่คือนิกายเถรวาที กับนิกายมหาสังฆิก

ต่อมาระหว่างศตวรรษที่2-4 หลังจากพุทธปรินิพพาน นิกายเถรวาทีได้แยกออกมาเป็น11นิกาย นิกายมหาสังฆิกแจกลูกออกมาเป็น7นิกาย รวมหมด 18 นิกาย อัฐรกนิกาย เกิดขึ้นตอนพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ทุตติยสังคายนาเกิดแล้วกระทั่งถึงหลังพระเจ้าอโศกในระยะ300ปี หลังจากพุทธเจ้าปรินิพพาน สังฆมณฑลในอินเดียได้แตกออกเป็น18นิกาย หรือ18 คณะ ทั้ง 18 คณะนี่ไม่ลงโบสถ์กัน แล้วก็ทะเลาะเบาะแว้งกันมาเรื่อยทีเดียวว่า แกเคร่งฉันไม่เคร่ง แกถูก แกผิด ทะเลาะกันมาเรื่อยเป็นเหตุให้ความสามัคคีในพุทธศาสนาเสื่อม เพราะพระมาทะเลาะกันเองเสียแล้ว เป็นอย่างนั้น

18นิกายมีนิกายที่สำคัญ คือนอกจากเถรวาทหรือสถีรวาทินอันเป็นนิกายดั้งเดิมแล้ว ก็มีนิกายมหาสังฆิกะ นิกายวัชชีบุตรหรือวาตสีปุตริยวาทิน นิกายเอกัพโยหาริกวาท นิกายโลโกตตรวาทิน นิกายโคกุลิกวาท นิกายพหุสสุติกวาท หรือ พหุศฺรุติยะ นิกายบัญญัติติกวาท หรือปฺรชญาปฺติวาทิน นิกายมหิสาสกวาท หรือ มหิศาสกะ นิกายสัพพัตถิกวาท หรือ นิกายสรวาสติวาทิน นิกายธรรมคุตตวาท หรือ ธรรมคุปตะ นิกายกัสสปิกวาท หรือกาศยปิยะ  นิกายสังกันติกวาท หรือ เสาตฺรานฺติกะ นิกายเจติยวาท นิกายสมิติวาท หรือสมิติยะ นิกายเหมวันตะ นิกายอัธกะ นิกายอุตตรปถะ เอาความสำคัญตามที่มีคัมภีร์ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ก็มีเพียงนิกายเดียวคือนิกายสรวาปติวาท ที่มีพระไตรปิฎก วรรณคดีตกทอดมาถึงปัจจุบันถึงปัจจุบันให้เราศึกษาค้นคว้าได้ ส่วนคัมภีร์ในนิกายอื่นๆนอกจากนิกายเถรวาทกับสรวาปติวาทแล้ว เราไม่พบเลย สาบสูญไปหมด หลังจากพุทธศาสนาในอินเดียถูกทำลายไป ก็พลอยสาบสูญไปด้วย หัวใจของมหาสังฆิกนั้นเราต้องศึกษาให้ละเอียดหน่อยเพราะว่าต่อมาจะเป็นต้นเค้าของพุทธศาสนามหายาน นิกายมหาสังฆิกมีพระไตรปิฎกของตัวเอง คนละฉบับกับเถรวาท ไม่ใช่ภาษาบาลี ขึ้นสู่สังสีติ แต่ใช้ภาษาอัปภังส นิกายมหาสังฆิก ใช้ภาษาอัปภังสในการจารึกข้อความในพระไตรปิฎก ภิกษุในนิกายนี้แปลกประหลาดที่สุดนุ่งโจงกระเบนคือไม่นุ่งสบงอย่างเรา นุ่งโจงกระเบนแล้วปล่อยชายให้ชายให้ยาวแล้วตวัดชายเหลืบขึ้นมา คือโจงกระเบนแล้วห่มจีวรทับอีกทีหนึ่ง นี่เป็นมหาสังฆิก เป็นนิกายแหวกแนว ที่นุ่งโจงกระเบน อย่างแขกชิมบูนุ่งเดี๋ยวนี้  แล้วก็ห่มจีวรทับ แล้วภิกษุนิกายนี้แบ่งพระไตรปิฏกออกเป็น5ปิฏกด้วยกัน เป็นตันตระปิฏก คืนนอกจากพระสูตร วินัย อภิธรรมแล้ว ก็มีธารณีปิฎก และก็โพธิสัตว์ปิฎก เพิ่มขึ้นมาธารณีปิฎกกับโพธิสัตว์ปิฎกรวมหมดเป็นตันตระปิฎก นี่นิกายมหาสังฆิก ศูนย์กลางของนิกายมหาสังฆิกนั้น อยู่ในอินเดียภาคใต้ กับภาคตะวันออก ภาคใต้มีแคว้นอมราวดี ซึ่งอยู่ในลุ่มแม่น้ำกฤษณากับโคธาวรีเป็นศูนยืกลาง แล้วก็อีกแห่งหนึงอยู่ในมคธทางภาคตะวันออกต่อมาถึงเบงกอล อันนี้เป็นศูนย์กลางของนิกายมหาสังฆิก

หลักธรรมส่วนใหญ่ในนิกายนี้ที่แตกต่างกับนิกายเถรวาท มีอยู่หลายเรื่อง เช่นว่าทัศนะเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ทัศนะเกี่ยวกับพระอรหันต์ ทัศนะเกี่ยวกับจิตตเจตสิก นี่ผมจะยกเฉพาะข้อสำคัญขึ้นมาอธิบายนะครับ ทัศนเกี่ยวกับพระพุทธเจ้านั้น นิกายมหาสังฆิกะเห็นว่า ภาวะของพระพุทธองค์ทั้งนามขันธ์และรูปขันธ์ เป็นโลกุตรภาวะ  พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุไม่มีขอบเขต พระพุทธเจ้าไม่เกิดแก่เจ็บตาย ที่เราเห็นว่าพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ80พรรษานั้น เป็นเพียงละครฉากหนึ่งที่พระองค์แสดงให้โลกเห็น สำหรับเตือนสติให้ชาวโลก เห็นหลักในความเป็นอนิจจังของสังขาร แท้จริงภาวะอันมั่นคงของพระองค์นั้นไม่มีเบื้องต้น ไม่มีท่ามกลาง และไม่มีที่สุด เป็นโลกุตรทั้งนามทั้งรูป ที่เราเห็นเกิดดับเป็นเพียงแต่อาการที่พระองค์ทรงสำแดงออกไป แท้จริงไม่มีเกิดไม่มีดับ เรียกว่าพระพุทธเจ้าเป็นลักษณะโลกุตรภาวะ สำหรับในข้อนี้ต่างกับนิกายเถรวาท นิกายเถรวาทไม่ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตรทั้งนามทั้งรูป ไม่ได้ถืออย่างนั้น เพราะนามรูปเป็นวิบากขันธ์ แล้วก็พระพุทธเจ้าโดยนามรูป ก็มีอาพาธ แล้วก็มีดับขันธ์ไม่ตามธรรมชาติของวิบากขันธ์ อันนี้เป็นเหตุทำให้แยกนิกายกัน เพราะการตีความในทัศนแตกต่างกัน นี่ข้อหนึ่ง ข้อ2ทัศนเกี่ยวกับเรื่องพระโพธิสัตว์ นิกายมหาสังฆิกกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ในปัจฉิมฐนิกชาติ คือชาติสุดท้ายที่จะมาตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ จะต้องหยั่งลงสู่พระครรภ์ของพุทธมารดาในรูปของช้างเผือก อันนี้เถรวาทก็ไม่ว่าอะไร จะมาเป็นรูปอะไรก็ไม่ถือเป็นสำคัญ จะมาเป็นช้างเผือกไม่ช้างเผือกไม่ถือเป็นสำคัญ ก็มีขัดอะไรกัน ไม่ขัดอกขัดใจอะไรกันละ อีกอันหนึ่งก็ถือว่าพระโพธิสัตว์เวลาประสูติจะต้องออกจากสีข้าง ของพระพุทธมารดา ไม่ได้ประสูติโดยตามมรรคอย่างคนธรรมดาเกิดกัน  เพราะฉะนั้นในรูปพระนางสิริมหามายาเอาพระหัตถ์เกี่ยวเหนี่ยวไม้สาละเอาไว้นะเข้าที พระราชกุมารออกจากสีข้าง อันนี้เข้าทีมาก ตอบครั้งนี้เข้าที เวลาปางพุทธเจ้าประสูติต้องเหนี่ยวกิ่งสาละ แหวกสีข้างออกมา เจ้าชายสิทธัตถะแหวกสีข้างพระพุทธมารดาออกมา นี่เป็นยัตินานิกายมหาสังฆิก อันนี้ทางเถรวาทก็ไม่ขัดใจจะออกมาทางไหนก็ไม่สำคัญ เพราะเราถือสำคัญข้อที่ว่าพระองค์ตรัสรู้ อริยสัจสี่อันนี้สำคัญกว่า ประวัติตอนต้นจะเกิดทางไหนไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญหรอก นิกายมหาสังฆิกจะตีความว่าออกทางสีข้างก็อนุโมทนา ไม่ขัดอกขัดใจอะไร ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่โตถึงกันแยกเป็นนิกายออกมา อีกข้อที่ขัดใจที่ว่า พระโพธิสัตว์ในปัจฉิมชาติที่ว่า ไม่มีปติคสัญญา พยากถสัญญา กับกามราคะสัญญาไม่มี อันนี้เถรวาทบอกไม่ได้ ถ้าไม่มีจะมาตรัสรู้ทำไม ถ้าไม่ละก็ มีสิ ไม่มีกามราคะสัญญาจะมีพระราหุลได้อย่างไรละ นีการมหาสังฆิกบอกว่า ที่มีพระราหุลนะ เกิดจากคำอธิษฐานของเจ้าชายสิทธัตถะ อธิษฐานให้พระนางยโสธาราตั้งพระครรภ์ขึ้น แล้วก็เอาพระหัตถ์ขวาลูบ ปรามาสลูบ ลูบพระนาภีของพระนางยโสธารา  พระนางยโสธาราก็ตั้งครรภ์พระราหุลขึ้นมา อันนี้ขัดใจกับนิกายเถรวาท นิกายเถรวาทบอกไม่ได้ เพราะว่าในคัมภีร์บอกว่าพระพุทธเจ้ามาตัดกิเลสในคืนวันวิสาขะ ก่อนหน้าวันวิสาขะ ปติคสัญญาก็มี พยากามสัญญาก็มี กามราคะสัญญาก็มี นิกายมหาสังฆิกบอกว่ามีไม่ได้ เป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีมาตั้งหลายอสงขัยแสนมหากัปแล้ว บางชาติก็ได้บรรลุโลกียะฌาน ข่มได้พวกสัญญาพวกนี้ข่มได้หมด ในเมื่อชาติสุดท้ายเป็นปัจฉิมทมีกฉัต ตรัสบารมีแก่รอบแล้ว ยังจะมีกิเลสเหล่านี้มันก็หนักข้อไปแล้ว อาจารย์เถรวาทก็ว่าเพราะฉะนั้นพวกข้าไม่เห็นด้วย แยกนิกายไป ไอ้นี่ขัดใจกัน เป็นคนละนิกายละตอนนี้ นี่เป็นทัศนเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์  ทัศนะเกี่ยวกับพระอรหันต์ นิกายสังฆิกบอกว่าพระอรหันตยังอาจเสื่อมจากมรรคผลได้ อันนี้แปลก แต่ยอมรับว่าพระโสดาบันไม่เสื่อม โสดาบันกลับไม่เสื่อม แต่พระอรหันต์กลับเสื่อมได้ นี่ว่าอย่างนี้ เถรวาทบอกไม่ได้ ไม่มีตัวอย่างที่ไหน โสดากลับไม่เสื่อม โสดาบารมี อ่อนกว่าพระอรหันต์เป็นไหนๆกลับไม่เสื่อม พระอรหันต์ซึ่งแก่กล้ากว่าโสดากลับเสื่อมได้ อันนี้ขัดใจแยกเป็นนิกายออกไป นี่ทัศนเกี่ยวกับพระอรหันต์ แล้วก็ทัศนเกี่ยวกับจิตเจตสิก นี่ละเข้าประเด็นสำคัญที่พวกเราถกกันละ นิกายมหาสังฆิกบอกว่าจิตนี้ บริสุทธิ์ จิตเดิมบริสุทธิ์ เอาละมติอันนี้มาละ วุ่นวายกันเรื่องจิตเดิมบริสุทธิ์เนี้ย เป็นมตินิกายมหาสังฆิกเลย  นิกายมหาสังฆิกสอนบอกจิตเดิมบริสุทธิ์ จิตผ่องใส (บาลี) ในบาลีใช้คำว่าประภัสรัง คือประภา+อภัสร เลสระปัจจัย เป็นประภัสรัง  ตามศัพท์ควรจะแปลว่า จิตนี้มีธรรมชาติ เพียงแต่ว่า ผ่องใสเท่านั้นเอง ผ่องใสกับบริสุทธิ์นี่แตกต่างกันมากนะ อย่างเราล้างหน้าออกมาวันนี้หน้าตาผ่องใสจัง ไอ้คำว่าหน้าตาผ่องใสไม่ได้หมายความว่า หน้าอื่นไม่มีขึ้ไคล้ ไม่มีขี้เหงื่อ ไม่ได้หมายความอย่างนั้น ถ้าบริสุทธ์ซิแปลว่า ใบหน้าขี้ไคล้ ก็ไม่มี อาบน้ำแล้วกระปรี้กระเปร่า หน้าร้อนเหงื่อไม่มี อาบออกมาใหม่ๆ แล้วก็บอกแหมท่าทางจะแจ่มใสดีจริงนี่ ไอ้การแจ่มใสไม่ได้รับรองว่าต้องไปนี้ร่างกายคน คนนี้ จะไม่มีขี้ไคล้อีกแล้วไม่ต้องอาบน้ำอีกแล้ว ไม่ได้หมายความอย่างนั้น ในขณะนั้นถ้าไปถูแรงๆขี้ไคล้ก็ออก ไม่ว่าถูส่วนในร่างกายขี้ไคล้ก็มี ต่อให้เราไปขัดเอาซักฟอกสัก5ถัง6ถัง ลาดขัดถู ออกมาใหม่ๆตัวนี่ขาวผ่องเชียว ถูอย่างไรก็มีขี้ไค้ลทั้งนั้ง ถูแรงๆหน่อยเหอะ นี่เพราะฉะนั้น ศัพท์ภาษาไทยเราตราไว้ดีแล้ว พระโบราณจารย์ท่านไม่กล้าแปลคำว่าประภัสสร ท่านกลัวคนจะเข้าใจผิด ท่านใช้ทับศัพท์ จิตนี้เป็นธรรมชาติประภัสสร ที่ขุ่นหมองเพราะมีอาคันตุกะกิเลสแปลงมา นิกายเถรวาท ค้านกับนิกายมหาสังฆิกะ  นิกายมหาสังฆิกใช้คำว่าบริสุทธิ์ สรุปวิภังค์เลย ใช้คำนี้ลงไปเลย  ว่าจิตนี้จิตทับจิตเดิมด้วยหรือ ไม่ใช่ว่าจิตนี้นะ มีคำว่าเดิมเข้าไปด้วย ในบาลีไม่มีคำว่าเดิม คนแปลเป็นภาษาไทย แปลอย่างไรก็ไม่รู้ ไปเต็มคำว่าเดิมลงไป สังเกตดูเถอะ  บาลีแท้ไม่มีคำว่าเดิมหรอก คำว่าจิตเดิมไมเจอ เพียงแต่บอกว่าจิตนี้ ประภัสสร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร ที่ขุ่นหมองเพราะ อาคันตุกะกิเลสจรมา ว่าเท่านี้แหละ แต่ว่าพวกเราบาลีไปเต็มคำว่าเดิมลงไป เต็มคำว่าเดิมตรงกับนิกายมหาสังฆิกเพี้ยะ  ยิ่งไปบอกว่าจิตเดิมบริสุทธิ์ยิ่งเป็นนิกายมหาสังฆิกใหญ่ เป็นโดยไม่รู้ตัวทั้งๆที่เป็นเถรวาทนี่แหละ กลายเป็นนิกายมหาสังฆิกไป โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ตัวเป็นโฆษกนิกายมหาสังฆิกเข้าแล้ว ถึงจะไปแปลพุทธภาษิตข้อนี้ว่า จิตเดิมบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นมติเรื่องจิตเดิมบริสุทธิ์ไม่ใช่มติในเถรวาที แต่เป็นมหาสังฆิกวาที คนละนิกาย อันนี้เถรวาทไม่รับรอง เถรวาทบอกว่า อุปกิลิขันธ์ในที่นี้หมายถึงอุปกิเลส อุปกิเลสนี่ไม่มีอวิชชา ไม่อะไปดูเหอะ อุปกิเลสจะโผล่พรวดใช้คำว่าอวิชชาเลย นั่นก็คือ เมื่อจิตเศร้าหมองเพราะมีอุปตินิขังแล้ว ก็แปลว่า มีกิเลสเหล่าอื่นแต่ไม่ได้หมายถึงว่ามีอวิชชา เหตุที่อุปกิเลสนั้นไม่มีธรรมะ ข้ออวิชชาอยู่เลย ไม่มีเลย  อันนี้ก็ขัดใจกับเถรวาท แยกพวกกันออกไป  อีกข้อหนึ่งก็คือปัญหาเรื่องอนุสัย นิกายมหาสังฆิกบอกว่า อนุสัยกิเลสนั้น เป็นจิตตะวิปปยุตธรรม ไม่ใช่จิตตะกันปยุกตธรรม ที่ว่าเป็นจิตตะวิปยุต ก็เพราะว่าอนุสัยไม่เป็นอารมณ์ของจิต ไม่จัดเป็นเจตสิก แต่เถรวาทบอกไม่ได้ อนุสัยเป็นเจตสิก เป็นจิตตสัมพาวุธ เป็นสารามนะ  มหาสังฆิกบอกว่าอนุสัยเป็นอนารามนะเป็นวิปปยุตจิต แล้วก็ไม่ใช่เจตสิก แตกต่างกันอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เรื่องข้อแตกต่างด้วยใจความสำคัญ ยังมีข้อปลีกย่อยอย่างนี้ ปัญหาเรื่องปฏิบัติวินัย  ยกตัวอย่างเรื่องนุ่งสบง นุ่งโจงกระเบนก็ไม่เหมือนกันแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่มีทางจะร่วมบูรณาการกันได้ ก็แยกเป็นพวกคนละคณะกันออกไป แยกเป็นนิกายมหาสังฆิก  เวลานี้ไม่มีตำรับตำราเหลือตกทอดมาถึงปัจจุบัน เรารู้เรื่องนิกายมหาสังฆิกก็จากข้อความของภิกษุต่างนิกายที่เท้าความถึงเท่านั้นเอง พระไตรปิฎกแท้ๆของนิกายนี้ไม่ได้ตกทอดมาถึงเดี๋ยวนี้หรอก สูญไปแล้ว อีกนิกายหนึงก็คือนิกายสรวาปติวาท นิกายนี้เป็นนิกายใหญ่ มีตำรับตำราตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ มีพระไตรปิฎก เฉพาะอย่างยิ่ง อภิธรรมปิฎก กับวินัยปิฎุก ของนิกายนี้ แปลเป็นภาษาจีนกับภาษาญี่ปุ่นโดยสมบูรณ์ เมื่อสมัยพันกว่าปีมาแล้ว นักปราชญ์ไปเมืองจีน เมืองญี่ปุ่น ไปแปลเอาไว้ อภิธรรมปิฎก นิกายนี้ใช้ภาษาสันสกฤตจารึกข้อความในพระไตรปิฎก มี3ปิฎกเหมือนกัน บางทีก็เรียกชื่อว่านิกายอภิธรรม เพราะบูชาอภิธรรมเป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งกว่าพระวินัย แพระแพร่หนักไปทางอภิธรรม ใครว่าอภิธรรมไม่ดีเป็นเถียงคอเป็นเอ็น ใครว่าอภิธรรมไม่เป็นพุทธพจน์เป็นสู้กันยับละ คือนิกายนี้แหละ เรียกว่าอภิธรรมวาทีก็ว่าได้ นิกายอภิธรรมวาที นิกายอภิธรรมวาทีนี้ มีสดัปกรณ์ สัปตัปปกรณ  ภาษาไทยคำว่าสดัปกรณ์เอามาจากภาษาสันสกฤต คือสัปตัปปกรณ เรียกว่าอภิธรรมสังคีติบรรยาย ปปะกาศเล่มหนึ่ง อภิธรรมวิญานกายปปะกาศเล่มหนึ่ง อภิธรรมบัญญัติกายปปกาศเล่มหนึ่ง อภิธรรมธติกายปปกาศเล่มหนึ่ง แล้วก็อภิธรรมขันธศาสตร์เล่มหนึ่ง แล้วก็อภิธรรมยานปทัปฐานศาสตร์เล่มหนึ่ง นี่เป็นคัมภีร์อภิธรรมของนิกายนี้ แบ่งจิต เจตสิก รูป นิพพาน เหมือนกับอภิธรรมบาลีเปี้ยะ แต่ว่าจัดสภาวะต่างกัน ซึ่งเจตสิกของเรามี52ดวง ของนิกายนี้มี 45 ดวง เจตสิกมี45 น้อยกว่าของเรา จัดแต่งเจตสิกไม่ตรงกัน รูป รูปของเรามี28 รูปของเขามี11 รูปธรรมมี11 รูปบางอย่างเช่นว่า วีรัตรูป ของเขามีข้อหนึ่งชื่อว่าอวิญญัติรูป เป็นรูป เถรวาทไม่ยอมรับว่าอวัญญัติเป็นรูป อวัญญัตไม่เป็นรูป เราถือว่าอวิญัติเป็นเรื่องของเจตสิก เป็นเรื่องทางนามธรรม ไม่เป็นรูปธรรม นิกายสันตวาปติวาทถือว่า อวิญญัติเป็นรูปขันธ์ ถือเป็นรูปธรรมได้ ส่วนอสังขตนะ มี3 คืออากาศหนึ่งตรงกับเถรวาท แล้วก็ปฏิสังขยนิโรจ ปฏิสัขยนิโรจได้แก่ความดับกิเลสโดยอาศัยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา คือสอุกาปะเสสนิพพาน อันนี้ตรงกัน มาขัดใจกันข้อที่ว่าอัปติสังขยนิโรจน ความดับโดยไม่ต้องอาศัยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันนี้เถรวาทไม่ยอมรับ ท่านไอ้การดับแบบนี้เป็นอสังขต ไม่ยอมรับ ความดับแบบนี้ ยกตัวอย่าง ธรรมดาทวารทั้ง6ขอเรานี้ ต้องมีอารมณ์มากระทบทุกครั้ง 28.24 แต่อารมณ์บางอย่าง ถ้าเราขาด28.36 แต่บางขณะในขณะที่รูปมากระทบตา เผอิญโสตประสาทเรากำลังรับกับอารมณ์อยู่ มนสิกาโรของเราก็ยึดมั่นในศรัทธารมณ์ แม้รูปผ่านตาเราก็ไม่รู้สึก รูปผ่านไปแล้วดับไปแล้ว อาการดับอันนั้นจะไม่ดับอีก อันนี้นิกายสรวาปติวาทตีความว่าเป็นอสังขต ความดับอย่างนี้เป็นอสังขต ถืออย่างนี้ ซึ่งถ้าตามนัยเถรวาทแล้ว ความดับอย่างนี้เป็นสังขารธรรม เป็นบัญญธรรมมา อุปปาท สุจิทังคะเป็นธรรมดาของมัน ไม่น่า.......แต่นิกายสรวาปติวาทตีความว่าไอ้ที่การดับแบบนี้รูปาอารมณ์ขณะนี้มันเกิดแล้วมันดับไปอีก แล้วมันจะไม่เกิดอีก รูปารมณ์ที่เกิดในขณะต่อไปก็เป็นขณะใหม่ เป็นขณะที่ผ่านแว๊ปไปอย่างนี้ เมื่อผ่านแว๊ปไปเราไม่เอามาเป็นอารมณ์ เพราะขณะนั้นหูเรากำลังรับกับอารมณ์เต็มที่อยู่ มนสิการเราไม่กระทำกับอารมณ์เหล่านี้ ความดับที่ผ่านแว๊ปไปอย่างนี้แล้ว มันจะไม่ดับอีกเลยในกาลที่2 เหตุนั้นจึงสงเคราะห์เข้าเป็นอสังขต เรียกว่า อัพฏิสังขยนิโรจ คือความดับที่ไม่ต้องอาศัยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันนี้ขัดใจกับเถรวาท เถรวาทไม่ยอมรับ อีกอย่างหนึ่งนิกายสรวาปติวาท คำว่าสรวาปติวาทินมาจากภาษาสันสกฤต คือ สรว+ปติ+วาจานะ เป็นสรวาปติวาทิน ถ้าว่าตามบาลีก็เรียกว่าสัพพัตติกวาทะ เป็นวาทะที่กล่าวว่า......บาลีจึงใช้คำว่าสัพปังอคีติ ....ซึ่งเถรวาทไม่ยอมรับเป็นอมันตาเด็ดขาด.......เป็นอยู่แล้ว ไม่ขัดกับหลักอนิจจังหรือ นิกายสรวาปติวาทอธิบายว่าไม่ขัด คือว่าสภาวะนะมีอยู่ ยืนโรงอยู่ตลอดกาลทั้ง3 ความเกิดดับอันเป็นอนิจจังเป็นเพียงแต่พฤติกรรมของสภาวะยืนโรงอันนี้ พฤติกรรมเนี๊ยะ คล้ายน้ำกับลูกคลื่น น้ำคงเป็นน้ำอยู่ แต่ลูกคลื่นมีเกิดดับ อาการเกิดดับของลูกคลื่นนี่แหละเป็นอนิจจัง แต่ภาวะของน้ำ เป็นน้ำอยู่ตลอดกาลฉันใด ขันธาตุ อายาตนะก็ฉันนั้น ยืนโรงเป็นสภาวะปรมัตถ์คงที่ทั้ง อดีต ปัจจุบัน อนาคต ที่เราเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคตนะเพราะพฤติกรรมของมัน มีแล้วก็ไม่มี อย่างนี้เป็นพฤติกรรม ไม่ใช่ตัวของมัน เข้าเปรียบว่าเหมือนกับผ้าขาวผืนหนึ่ง ผ้าขาวผืนนี้ ไม่ย้อมสีเหลืองเรียกว่าผ้าเหลือง ไปย้อมสีดำเรียกผ้าดำ ไปย้อมสีเขียวเรียกผ้าเขียว  ผ้าย่อมเปลี่ยนสีตามสีผ้อม แต่ไม่ทิ้งความเป็นผ้าฉันใด ขันธาตุอายตนะก็มีอยู่ในกาละทั้งสามโดยไม่ทิ้งความเป็นขันธาตุอายตนะ แม้ฉันนั้น เขาว่าอย่างนี้ นิกายเถรวาทบอกไม่ได้ถ้าขืนอย่างนี้ขัดใจกับข้า เพราะว่าถ้ายังงี้แล้วละก็ กิเลสพระอรหันต์ในอดีตก็ยังมีอยู่ละซิ กิเลส์ก็อยู่ในขันธ์อย่างหนึ่งนี่ อยู่ในสังขารขันธ์เรื่องกิเลส เพราะฉะนั้นที่ละวางก็ยังมีอยู่ แล้วอนาคตละก็ยังมีอยู่ละซิ นี่อนาคตก็มีเตรียมพร้อมไว้ให้เราแล้ว กิเลสในอดีตก็ไม่ได้ดับไปมีพร้อม อะไรมาแบ่งไอ้คนที่เป็นอรหันต์ไม่อรหันต์ละ ประการหนึ่ง แล้วถ้าหากว่าสภาวธรรมมีอยู่กาลทั้งสามแล้วละก็ พระพุทธเจ้าก็เข้าไปอยู่ในสามโลกในเวลาเดียวกัน อดีตพุทธ ปัจจุบันพุทธ อนาคตพุทธ พร้อมกันเลย จักรพรรดิก็ควรมีสามองค์พร้อมกัน ขันธ์5ก็ไม่ควรมี5ควรจะมีขันธ์15 เพราะอดีต ปัจจุบันมีพร้อมขันธ์15 แล้วจะเอาอย่างไร เพราะฉะนั้นไม่ได้ เถรวาทถือว่าอดีตดับไปแล้ว ปัจจุบันกำลังจะดับ อนาคตยังไม่เกิด เพราะฉะนั้นจะมาพูดล่วงหน้าไม่ได้ ขันธ์ชาติอายตนะมีพร้อมมาแล้วทั้งอดีตปัจจุบันอนาคต ที่เปลี่ยนแปลงเปลี่ยนเฉพาะพฤติกรรม อย่างนี้ไม่ถูกขัดใจกันแยกนิกายกัน  อีกอันหนึ่งก็ปัญหาเกี่ยวกับพระอรหันต์ นิกายสรวาปติวาทถือคล้ายๆมหาสังฆิกว่าพระอรหันต์เปลี่ยได้ อรหันต์ที่เปลี่ยนนี่เรียกว่า สมัยมิรุกอรหันต์  เข้าบอกอรหันต์2ประเภท ประเภทหนึ่งเรียกว่าอสมัยยนิรุกอรหันต์บุคคล ประเภทหนึ่งเรียกสมัยมิรุกอรหันต์บุคคล เขาว่านี้ อสมัยนิรุกบุคคลไม่มีทางเปลี่ยน แต่สมัยยนิรุกบุคคลเปลี่ยน เปลี่ยนคืออย่างนี้ 1เปลี่ยนเพราะว่า มัวคุยกันจนเพลิน อรหัตสัมมทาเสื่อม 2 มัวรับแขกจนเพลิน รับลูกศิษย์ลูกหาเข้าวัด คุยจ๋อทายกทายิกาเพลินไป 3อรหันต์ประเภทนี้จะเป็นอรหันต์ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมช่วย เช่น เสนาสนะสัปปาย  โภชนสัปปาย อารามนะสัปปาย เช่นว่าพระองค์ไปอยู่เสนาสนะที่ ไม่ถูกวิสัยตัว ทำมรรคผลเท่าไรก็ไม่ขึ้น  แต่เผอิญมาอยู่เสนาสนะที่วิเวกวังเวงหน่อย มรรคผลก็เกิด  นี่เสนาสนะสัปปาย โภชนะสัปปายเผอิญไปอยู่ ในวัดแห่งหนึ่งเขาถวายแกงบวดทุกวันไม่ถูกปาก อรหันต์กับมรรคไม่เกิด กินอาหารไม่ถูกปาก อรหันต์กับมรรคไม่เกิดแล้ว เผอิญได้รับถวายอาหารถูกปากถูกคอ เช่น แกงมั่สมั่นชาววิเศษ ถูกรส ถูกชาตปาก อร่อย อรหันต์กับมรรคเกิด นี่โภชนสัปปาย อารมณสัปปาย ได้อารมณ์กัมฐานดี เหมาะสมกับจริตตัว เช่นตัวเป็นคนราคะจริต ไปได้อารมณ์เป็นพุทธานุสติ มรรคผลไม่เกิด ต้องได้อารมณ์อสุภกัมฐาน หรือกายคตาสติ มรรคผลเกิด นี่อารมณสัปปาย กัลป์ยาณมิตรา จะต้องเกิดคนที่ถูกเส้นถูกใจกัน อย่างนี้มรรคผลเกิด อรหันต์ประเภทนี้แหละ ต้องอาศัยขณะ อาศัยเวลา จึงบรรลุ เรียกว่าสมัยวิมุติอรหันต์ เมื่ออาศัยขณะอาศัยเวลาบรรลุได้ ไปเจอไอ้ขณะที่ไม่ประจวบ ก็ทำให้เสื่อมได้เหมือนกัน จึงเรียกว่าอรหันต์ยังมีเสื่อม แต่ถึงเสื่อมก็ไม่เสื่อม ตกเลว โสดาปฏิมรรคไปนะ ยังต่ำก็คงเข้าโสดา เปรียบเหมือนเศรษฐี มีทรัพย์อยู่สี่แสน แม้จะเจ้งไปเสียแสนหนึ่ง ความเป็นเศรษฐีก็ไม่หาย ชาวบ้านก็ยังเรียกว่าท่านเศรษฐีนั่นแหละ แต่เหลืออยู่สามแสนก็เหอะ ว่างั้น นี่อรหันตสมัยวิมุติก็เหมือนกัน นี่ ตีความอย่างนี้ เถรวาทบอกไม่ได้ ใครบอกท่านดีความผิดๆ เอาใหญ่แล้ว เอาปฏิรูปมาสอนอะไรกันที่ไหน สมัยวิมุติเขาไม่ได้หมายถึงอริยะบุคคลรู้ไหมท่าน สมัยวิมุติได้แก่ ปุถุชนที่ยังกำลังทำมรรคทำผล แต่ยังทำไม่ได้ โสดายังไม่ถึงเลย สมัยวิมุตินะเอาที่ไหนมาพูดถึงพระอรหันต์ ท่านตีความพุทธพจน์ด้วยความเข้าใจผิดแท้ๆ นิกายเถรวาทบอกว่า โสดาปฏิทาคา เสื่อมได้ แต่ไม่ใช่เสื่อมจากมรรคผลนะ เสื่อมจากฌานสมาบัติที่ท่านเคยได้ ไม่ได้เกี่ยวกับมรรคผล แล้วก็การเสื่อมนี่อนาคาไม่เสื่อม ฌานสมาบัติ อรหันต์ยิ่งไม่เสื่อมใหญ่ สมมุติอนาคาทำฌานได้ อรหันต์ทำฌานได้ ไม่มีทางเสื่อมจากฌาน  แต่ถ้าโสดาปฏิทาคา ไปทำฌานเข้า แต่บางครั้งก็เสื่อมจากฌานแต่ไม่เสื่อมจากมรรคผล เพราะมรรคผลทำที่เดียวก็ไม่ต้องทำกันอีก เสื่อมจากฌานซิใช่ เสื่อมด้วยอำนาจแห่งวัตเภท ในอรรถกถาแห่งสุขละบัญญัติ แก้ไว้ดี แก้บอกว่า วัตเภทได้แก่อะไร ยกตัวอย่าง พระโสดา ก. วันนี้จะออกไปบิณฑบาต มาถึงลานวัด ไอ้ลานวัดนี่ ได้เด็กมันเล่นจนกระทั่งรกรุงรัง ตั้งใจบอกว่าบิณฑบาตกลับมาแล้วจะมากวาดให้มันเตียนเสียหน่อย แล้วก็ลืมไป พอกลับมาเอ๊ๆเราตั้งใจจะทำงานอะไรเอ๊นึกไม่ออก  ไปเข้าฌานเข้า เข้าไม่ได้ เพราะไอ้วัตรที่ตัวกำหนดไว้ในใจว่าจะทำแล้วก็ลืมไป นึกเท่าไรไม่ออก เลยเป็นเหตุให้เข้าฌานสมาบัติที่เคยเข้าไม่ได้ ต่อไปนึกขึ้นได้แล้วละก็ งานจะทำจะกวาดวัด คว้าไม้กวาดไปกวาดเสร็จแล้วใจคอก็โปร่งก็โล่ง คราวนี้มาทำฌานเข้าได้สบาย ตัวอย่างอย่างนี้เรียกว่า วัตเภท ไม่ใช่เสื่อมเพราะว่าพระโสดาบรรลุแก่อำนาจ กิเลสที่ไหนละ ไม่ใช่ เพราะเหตุที่ว่าไอ้งานที่ท่านกำหนดจะทำแล้วไม่ได้ทำ อย่างนี้เรียกวัตเภท วัตเภโช ทำอย่างนี้ แต่สำหรับอนาคา อรหันต์ไม่เสื่อมเลย เหตุผลอะไร เพราะพระโสดาปฏิทาคาเป็นผู้ทำศีลให้บริบูรณ์ พระอนาคาเป็นผู้ทำศีลกับสมาธิให้บริบูรณ์  โสดาปฏิทาคา ศีลบริบูรณ์ สมาธิปัญญาพอประมาณ อนาคาศีลสมาธิบริบูรณ์ ปัญญาพอประมาณ อรหันต์ไตรสิกขา บริบูรณ์เลย เพราะฉะนั้นเมื่อโสดาปฏิทาคายัง หย่อนในเรื่องสมาธิ มีสมาธิพอประมาณอย่างนี้ บางครั้งท่านจึงอาจจะเสื่อมเพราะเหตุแห่งวัตเภทดังกล่าวมาได้ เพราะปัญหาเรื่องสมัยวิมุติไม่ใช่อรหันต์บุคคลอย่างนิกายสรวาปติวาทตีความเลย นี่แหละครับ เป็นข้อแตกต่างปลีกย่อยในทางทัศนะธรรม ของบรรดา18นิกายที่ผมยกเป็นตัวอย่างให้ดู

อีกนิกายหนึ่งคือนิกายวัชชีบุตร นิกายนี้บอกว่ามีอัตตา อัตตาปรมัตถ์  บอกว่าถ้าไม่มีอัตตาปรมัตถ์แล้ว ใครเป็นคนรับบุญรับบาปในวัฏฏสงสาร ใครเป็นคนหลุดพ้นเวลาทำมรรคผลให้เกิดแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสทำไมว่า พ้นจากกามสวะ พยาสวะ อวิชชาสวะ ใครพ้น เพราะฉะนั้นใครคนนั้นแหละคือปรมัตถอัตตา อัตตาโดยปรมัตถ์ ไม่ใช่อัตตาขันธ์ห้า อัตตาของพวกวัชชีบุตรนั้นบอกว่าไม่ใช่ขันธและไม่ใช่อื่นไปจากขันธ อัตตาไม่ใช่ขันธ์ห้า แต่ก็ไม่อื่นไปจากขันธ์ห้า เป็นผู้รู้ขันธ์ ผู้วางขันธ์ ผู้ปล่อยขันธ์ ผู้นั้นแหละคือปรมัตถอัตตา นิกายนี้ถูกนิกายอีก17นิกายโจมตี บอกว่ามติอย่างนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นสัตตทิฏฐิ เป็นพราหมณ์ ถูกพรรคพวกอีก17คณะ รวมหัวกันเล่นงานเลย บอกว่าคบไม่ได้ ไปเป็นพราหมณ์แล้วนิกายนี้ มีอย่างหรือพระพุทธเจ้าสอนอนัตตา บังอาจมาบอกว่าอัตตาขึ้นมาละ บัญญัติอัตตาขึ้นมา แก่ไปเป็นพราหมณ์เสียดีกว่า อย่ามาเป็นนิกายในพุทธศาสนาด้วยกันเลย ไปเป็นพราหมณ์ เข้าศาสนาพุทธทำไมไปเป็นพราหมณ์เสียเหอะ ไล่พวกนิกายวัชชีบุตร อย่างนี้ ตกลงได้ความว่าทั้ง18นิกาย ทะเลาะกันจนนัวเลยในสังฆมณฑลครั้งนั้นละ ต่างคนต่างว่านิกายข้าวิเศษ นิกายแก่ไม่วิเศษทั้งนั้นแหละ กิเลสนิกายมันจับ กิเลสนิกายมันจับจิตจับใจ ถ้าเป็นชาวพุทธแท้ๆเขาไม่ทะเลาะเรื่องนิกายหรอก เขาต้องอาศัยหลักของเหตุผล ของธรรม ของวินัยเป็นหลักตัดสิน ไม่ไปพัวพัน ผูกพันว่าข้าเป็นพวกนิกายนั้น หรือเป็นพวกนิกายนี้  แต่พวก18นิกายนั้นทะเลาะกันนัวเชียว นิกายสรวาปติวาทก็โจมตีนิกายมหาสังฆิกว่าเป็นพญามารมาเกิด โจมตีท่านมหาเทพว่าเป็นพญามารมาเกิด นิกายมหาสังฆิกก็โจมตีนิกายสรวาปติวาทว่าไอ้พวกนอกรีต แล้วก็ยังมีอีกนิกายหนึงหมั่นไส้นิกายสรวาปติวาทเต็มที คือนิกายสรวาปติวาทเอะอะอะไรก็อภิธรรมวิเศษที่สุด พูดถึงอภิธรรม ว่าก็ต้องอภิธรรม ถ้าไม่มีอภิธรรมแล้วละก็ไปไม่รอดอย่างนั้น นิกายสรวาปติวาทพวกอภิธรรม นิกายนี้หมั่นไส้เต็มทีแล้ว เลยตั้งนิกายอีกนิกายหนึ่งมาแข่ง เรียกว่านิกายสุตตวาที ถือพระสูตรเป็นใหญ่ แล้วก็แข่ง บอกว่าอภิธรรมไม่ใช่พุทธพจน์ พระพุทธเจ้าไม่ได้แสดงไว้ที่ไหน เป็นเกจิอาจารย์ภายหลังมาแต่งกันขึ้นหรอก เพราะฉะนั้นของจริงต้องมีในพระสูตร ไม่มีอภิธรรมหรอก นิกายนี้เรียกตัวเองว่า สุตตวาที อาจารย์ฝ่ายพระสูตร เรียกในสันสกฤตว่า สังการสุตตวาทะ ไม่ยอมรับอภิธรรมปิฎกตัดออกไปเลย  บอกว่าเป็นวาทะของเกจิอาจารย์ พระสาวกเขียนขึ้นแต่งขึ้น ของจริงมีแต่วินัยกับพระสูตร เพราะฉะนั้นท่านก็เผยแพร่แต่พระสูตร นิกายนี้กับนิกายสรวาปติวาทิน เจอกันที่ไหนเป็นกันฉึ่งกันที่นั่น  ผ่ายพระสูตรพวกหนึ่ง งัดข้อกันอยู่ นั่นแหละ แต่งตำราสาดโคลนกันใหญ่ สองพวกนี้แต่งตำราสาดโคลอนกันใหญ่ และจะอ่านตำราสาดโคลนกันได้ในภาคภาษาจีนเขาแปลไว้หมดแล้ว สันสกฤตหาไม่เจอหรอก พวกข้าศึกต่างศาสนาที่ไปโจมตีอินเดียเผาหมด เผ่าเสียป่นปี้ แต่เป็นบุญของชาวพุทธเราที่ว่า พระโบราณในประเทศจีนไปแปลไว้อุสาห์เดินทางไปอินเดียไปเรียนเอามา แล้วขนคัมภีร์พวกนี้ มาเป็นแปลเป็นภาษาจีนแล้ว เพราะฉะนั้นต้องอ่านในพระไตรปิฎกฉบับภาษาจีนถึงจะรู้ว่าวาทะของนิกาย18 จารนัยไว้ละเอียดเหลือเกิน สนุกสนานมากอ่านแล้ว ฉะนั้นการศึกษาพระพุทธศาสนาเราจะต้องหูกว้างตากว้างไม่ใช่ศึกษาจำกัดจำเกี่ย เฉพาะนิกายใดนิกายหนึ่ง ต้องเรียนรู้ทุกนิกายแล้วเราเป็นตัวเลือกเอง  เราจึงเป็นชาวพุทธที่แท้จริง ไม่ขบกิเลส....เรารู้ตัวเอง เรารู้จักหัวข้อในธรรมะว่า มติอย่างนี้มาจากนิกายโน้น มติอย่างนี้มาจากนิกายนี้ แล้วเราเป็นนักประชาธิปไตย ไม่ผูกพันกับนิกายใดนิกายหนึ่ง เราประชาธิปไตย ทุกนิกายเป็นพุทธทั้งนั้นแหละ แจกลูกแจกหลานออกมา และที่ขัดแย้งกันเป็นเพราะพวกเกจิอาจารย์ตีความกันแล้วขัดแย้งกัน เพราะฉะนั้น ผมไปเจอปัญหา เรื่องจิตเดิมบริสุทธิ์ จิตว่างไม่ว่างนี่ฟังแล้วขำ เพราะว่าเป็นเรื่องเก่ามีมาตั้งแต่ครั้ง 18 นิกายเขาทะเลาะกันแล้ว พวกเรารุ่นใหม่ตั้งสองพันกว่าปีเพิ่งจะมาเกิดเหตุกันอย่างนี้ ขำ เพราะไอ้ที่มาเกิดขึ้นในเมืองไทยไม่ใช่เรื่องแปลกเลย ของเก่าเขามีมาแล้ว เรื่องที่เถียงกันเรื่องอภิธรรมเป็นพุทธพจน์หรือไม่ กระทั่ง พุทธสมาคม พวกอภิธรรมแต่งหนังสือออกมาเล่มหนาเบอเร่อ ออกมาคัดค้านท่านพุทธทาส แสดงข้อความทัศนะต่างๆเล่มหนาเบอเร่อ อ่านดูก็ขำแท้ ของเก่าเขามีมาแล้ว กระทั่งได้แยกเป็นนิกาย นิกายอภิธรรมนิกายหนึ่ง นิกายพระสูตรนิกายทะเลาะกันมาแล้ว ไม่แปลกเลย เห็นแล้วกลับขำจริง ถ้าเราศึกษากว้างอย่างนี้ เราก็ดูด้วยความยุติธรรม แล้วก็ได้ความรู้ทุกๆฝ่าย ไม่ไปผูกพันกับพวกใดพวกหนึ่ง ไม่ผูกพัน เราถือว่าเป็นพุทธศาสนาด้วยกันเราก็ต้องศึกษาให้มันกว้างขวาง เพื่อความแตกฉานด้วยกัน นิกายสุตตวาที มีคติที่แตกต่างจากเถรวาทคือถือว่า ในสันดาโลถึงเป็นโลกสมาบัตินั้นยังมีจิต นี่ต่างกันมาก อภิธรรมเถรวาทเถียงว่าไม่มีจิต นิกายสรวาปติวาทว่าไม่มีจิต แต่นิกายพระสูตร สุตตวาทีบอกว่ามีจิต ถ้าไม่มีจิตแล้วผู้เข้านิโรจจะแตกต่างอะไรกับซากศพ เพราะฉะนั้นต้องมีจิตสิ ไม่มีจิตจะเรียกว่าเข้าสมาบัติได้หรือ อาการที่บอกว่าเข้าสมาบัติจะต้องมีจิตเป็นผู้เข้า ก็เพราะในนิโรจสมาบัติ ไม่ใช่ว่าไม่มีจิต จิตตสังขารดับ คือสัญญาจโรปนา พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่าจิตดับนี่ บอกว่าจิตตสังขารชื่ออานิจิตดับต่างหากละ นั่นก็คือ จิตในนิโรจสมาบัตินั้นไม่มีพฤติกรรม ไม่เกิดพฤติกรรม ไม่มี ไม่ขึ้นวิถี โพขมาสมาบัติก็จด อยู่ชั่วกาลหนึ่งสมาบัติ นี่ว่านี่ แล้วนิกายสุตตวาที บอกว่าไม่มีเจตสิกเลย ไม่มีเกิดเจตสิกเลย เจตสิกมีที่ไหน มีที่ไหนกัน ไม่มี  เจตสิกเป็นเรื่องอาจารย์อภิธรรมเขียนขึ้นมาหากละ พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่ามีเจตสิกที่ไหนเลย อ้างพุทธพจน์ทีเดียว (บาลี) จิตเที่ยวไปดวงเดียว เที่ยวไปไกลดวงเดียว ที่ไหนมีเจตสิก ถ้ามีเจตสิกทำไมไม่ตรัสบอกว่า มีสองจิตกับเจตสิกไปเที่ยวไป (บาลี) คำว่า เอกจารัง ก็บอกแล้วว่าจิตดวงเดียวเที่ยวไปไกล ที่ไหนมีเจตสิก พวกอาจารย์อภิธรรมบอกแม้คนพูกเองว่ามีเจตสิกกี่ดวงกี่ดวงนั้นขั้นเองแท้ๆ ว่าอย่างนี้ นี่นิกายสุตตวาทีโจมตีนิกายอภิธรรม ว่างั้น ไม่มีเจตสิกหรอก มีแต่จิต แล้วนิกายสุตตวาทีบอกว่า ในอรูปพรหมยังมีรูป คำว่าอรูปในที่นี้ไม่ใช่ปฏิเสธว่าไม่มีรูปหรอก มีรูปเหมือนกันแต่เป็นอัปโพหาริก มีหรือไม่มีเป็นอัปโปหาริก เหมือนกับเรากินน้ำหมดถ้วย ความจริงมีอยู่หยด2หยด ไม่ใช่เกลี้ยงเกลาทีเดียว แต่มีอย่างอัปโปหาริ เป็นอัปโปหาริ เพราะฉะนั้นสัตว์ที่ไปเกิดในอรูปพรหมก็เหมือนกัน ไม่ใช่ไม่มีรูปเสียโดยสิ้นเชิง แต่มีอยุ่เขาอธิบายอย่างนี้ นี่เป็นมติอาจาย์ฝ่ายสุตตวาที ผู้เป็นต้นนิกายชื่อว่ากุมารลัพเถระ เป็นต้นนิกายสุตตวาที เกิดเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว 300 ปีเศษ นิกายนี้เกิดขึ้นเกิดเพราะความหมั่นไส้นิกายอภิธรรม เกิดนิกายพระสูตร เห็นเขาเชียร์แต่พระอภิธรรมไม่ได้ไปไหนละ ฉันจะเชียรพระสูตรของฉันบ้างละ ตั้งนิกายพระสูตรของฉันบ้างละ ตั้งนิกายพระสูตรเลย เผยแพร่หนักไปทางพระสูตรแข่งขันกับนิกายอภิธรรมเหมือนกัน

ก็อย่างนี้แหละครับ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดียระหว่าง 300ปีหลังพุทธเจ้าปรินิพพานเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นสมัยพระเจ้าอโศก พระเจ้าอโศกจึงต้องออกพระราชโองการขอร้องไม่ให้พระทะเลาะกัน พระเจ้าอโศกออกราชโองการทำศิลาจารึกไว้ตั้งหลายแห่งในอินเดียบอกว่า นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายอย่าทะเลาะกันเลย อย่ามัวทะเลาะกันเรื่องนิกายกันเลยเลิกทะเลาะกันได้แล้วละ ขอให้คำนึงข้อธรรมะของพุทธเจ้าไว้มากๆเถอะ แล้วก็พระเจ้าอโศกแนะข้อธรรมะให้พระทั้งนั้นไปปฏิบัติ คืออ้างว่าให้เอาหลักในโมฬีรสูตร ให้ปฏิบัติตามมุนีคาถาและในหลักโมฬีรสูตรเถิด จะได้ไม่ทะเลาะกัน แล้วมิหนำซ้ำยังตั้งกฎเอาไว้ด้วย ว่าถ้าใครยุให้พระทะเลาะกันในวัดละก็จะสึกคนนั้น สึกเลยเอาผ้าขาวให้ผัดแล้วสึกไล่ออกจากวัดไปเลยไม่ให้เบ่งในวัด เพราะว่าเป็นพระยุยงให้พระแตกพรรคเปล่าๆ มาทะเลาะเบาะแว้งกันเรื่องนิกาย เอาเรื่องนิกายมาจับแล้วทะเลาะกันเรื่องนิกายเนี๊ยะ พระเจ้าอโศกขอร้อง บอกว่าพระเราเป็นพระสมณะศากยบุตรด้วยกันแล้วอย่าทะเลาะเรื่องนิกายกันเลย ให้ทำเพื่อพระพุทธเจ้าด้วยกันเถอะ เพราะว่าพระองค์ก็คงจะ ระอาพระทัยเรื่องนิกาย18 ต่างๆคนต่างว่าของตนจริง คนอื่นเปล่านี่แหละเป็นเหตุ จึงประกาศราชโองการจารึกไว้  ในภูเขาก็มี ในเสาหินก็มี ในเสาหินมี2แห่งที่สารนาถแห่งหนึ่ง แล้วก็ที่ปูตยคีรีในแคว้นโกตาน อินเดียภาคตะวันตกแห่งหนึ่ง ที่ภูเขาเจอแห่งหนึ่งในอินเดียภายใต้ ข้อความจารึกเหมือนกันหมด  บอกถ้าพระองค์ไหน มาทะเลาะกันเรื่องนิกายแล้วให้สึกพระองค์ เอาผ้าขาวให้ผัดแล้วไล่ออกไป ไล่เลย แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ไม่มีทางจะรวมนิกายกันได้เคยแตกแยกกันมาแล้ว ไอ้การรวมความแตกแยก เขาจะเอากฎเข้าไปบีบบังคับ พระเขาไม่รวมนิกายกันหรอกครับ  ก็อุปถัมภ์ทุกนิกายสม่ำเสมอกันหมด แต่ว่าพวกนิกายนี่สิครับอดที่จะเขียนประวัติศาสตร์เข้าข้างตัวเองไม่ได้ อย่างพวกเถรวาทในลังกาเขียนเรื่องมหาวงศ์ ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็มีหลายองค์ ผู้แต่งคือพระมหานามเถระในลังกา เขียนว่าไงรู้ไหมครับ เขียนว่าอลัชชี ประณามอีก17นิกายว่าอลัชชีหมด ปาปภิกขุไปป้ายสีให้เลยว่าปาปภิกขุ  ปัดโถ่ไปหาว่าท่านใจบาป หาว่าเป็นภิกษุอลัชชี เป็นอลัชชีที่ไหนกัน เป็นเพียงแต่ว่า การตีความธรรมะกับวินัยแตกต่างกัน ไปป้ายสีว่าเป็นอลัชชีได้แล้ว ในมหาวงศ์เล่าบอกว่า พระเจ้าอโศกอุปถัมภ์ศาสนาพุทธ  พวกฤาษีนิคนธ์ที่มาเพื่อลาภสักการะ เกิดในศาสนาพุทธ บ้างก็ปลอมบวชถึงหกหมื่นคน แล้วก็ไม่เป็นอันทำสังฆกรรมกัน มีอลัชชีปลอมบวชตั้งหกหมื่น ก็เลยทำอะไรไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้ให้พระโมคัลลีบุตรติสสะมาชำระ พระโมคัลลีบุตรติสสะก็ต้องให้ทางบ้านเมืองช่วยกำจัดพวกอลัชชี กำจัดตั้งหกหมื่นแล้วท่านเชื่อไหมครับว่า บ้านเมืองครั้งนั้น ภาษาในหนังสือว่า ปลอมตั้งหกหมื่นเข้ามาบวชได้อย่างไร อุปัชฌาย์ที่ไหนมานั่งบวชคนตั้งหกหมื่น เพียงคนสองคนพอจะเชื่อ ตั้งหกหมื่นคนปลอมบวช ปลอมได้อย่างไร ทั้งๆที่ทางบ้านเมืองก็เป็นศาสนูปถัมภ์ออกอย่างนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นหกหมื่นคนนี่ไม่ใช่ใคร คือภิกษุต่างนิกายนี่เองละครับ ซึ่งทางลังกาเขียนด้วยความอคติ เห็นว่าไม่ใช่พวกเถรวาทเลยป้ายสีให้เลยบอกเป็นปาปภิกขุ หรือให้เป็นอลัชชีไปเลย เป็นฤาษีนิครน์เรียกไปเลย หมดท่ากันไปเลย  เพราะฉะนั้นการเรียนประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ก็ต้องเรียนด้วยการมีวิจัย ใช้สติปัญญาว่าในข้อควรไม่ควร ในข้อที่เป็นได้หรือไม่เป็นได้ บอกว่าอ่านเรื่องพระมหาเทพ ตามที่พวกนิกายสรวาปติวาทเขียนอย่างนี้ ถ้าเราอ่านด้วยอคติก็นึกว่าจริงสิ พระมหาเทพเลวทรามมาก ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ แล้วก็ยังอวดอุตริมนุษยธรรมอีก นิกายมหาสังฆิกนี่เลวทรามมากคบไม่ได้ เป็นพวกอลัชชี ที่ไหนได้ตรงกันข้าม มหาสังฆิกไม่ได้เลวอย่างนั้นเลย มหาเทพไม่ได้มีประวัติเลวทรามอย่างนั้นเลย ถ้าเลวทรามอย่างนั้นที่ไหนจะบวชอยู่ได้ ที่ไหนจะมีคนนับน่าถือตา กระทั่งตั้งเป็นสำนักใหญ่มีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนหมื่น แล้วที่ไหนจะมีพระไตรปิฏกตั้งห้าปิฏกแยกย้ายออกมา ไปค้นคว้าได้มา เป็นไปไม่ได้ ตั้งแต่เทวะทัตต์เองครั้งพุทธกาล จะแข่งกับพุทธเจ้ายังทำไม่ได้เลย ทั้งๆที่พระเทวทัตต์มีโลกียะอภิญญา จะเผื่อกล่าวไปไยกับคนชั้นหลัง เพราะฉะนั้นเราจึงต้องให้ความยุติธรรม ในการศึกษาประวัติศาสตร์พุทธศาสนา อย่าเอาไอ้ความคิดเรื่องพรรคหรือพวกมาจับ ต้องมองด้วยความ อกรสัจจะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราต้องภูมิใจว่า นิกายเถรวาทเรานี่ดีที่สุดแล้ว นิกายอื่นๆถ้าจะเปรียบ อย่างสำนวนลังกาที่เขียนทีปวงศ์นะ เป็นก็เหมือนกาฝากที่เกิดกับนิกายเถรวาท เถรวาทนี่เหมือนต้นมหานิโข ต้นไม้ใหญ่  แล้วก็ มีกาฝากมาเกิดกับต้นมหานิโขนี้ กาฝากพวกนั้นคืนนิกาย 17 นิกาย นิกายปลีกย่อย ที่พูดมานี้ไม่ใช่พูดเข้าข้างนิกายเถรวาทไม่ใช่ เพราะข้อเท็จจริง นิกายเถรวาทเคารพ คำสั่งของพระอรหันต์500ในถ้ำสัตตบรรณ อันนี้สำคัญที่สุด เราเคารพคำสั่งของท่านที่ว่า บัญญัติอะไรที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ เราจะไม่ถ่ายทอด อันใดที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติเราจะไม่เพิ่มเติมสู่รู้เข้าไป ข้อนี้แหละเป็นญัติหรือเป็นมติที่ประชุมในถ้ำสัตตบรรณ แล้วก็พวกนิกายเถรวาทนี้ รักษาจารีต หรือรักษาคำสั่งอันนี้ สม่ำเสมอเรื่อยมา เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาแบบที่บริสุทธิ์คืนนิกายเถรวาท แต่ไม่หมายความว่า เราภูมใจว่านิกายของเราบริสุทธิ์แล้วเราไปข่มนิกายอื่น ว่านิกายอื่นเลวนั้นไม่ใช่นะครับ นิกายอื่นเขาก็ดี ต้องเห็นใจว่า สิ่งแวดล้อมเป็นเหตุให้เขาแยกนิกายเพราะอะไร หนึ่งเพราะการตีความภายในไม่ตรงกัน ตีความพุทธพจน์ไม่ตรงกัน เกจิอาจารย์เหล่านี้เมื่อตีความไม่ตรงกันแล้วก็แยกหมู่คณะกันไป  แต่อันไหนถ้าหากว่ามัน นอกลู่นอกทางจนเกินไปเราก็ปฏิเสธเป็นข้อๆไป ไม่ใช่ปฏิเสธทั้งนิกายว่าไม่จริงไปเลยที่เดียวไม่ใช่อย่างนั้น คล้ายๆกับพวกวัชชีบุตรอย่างนี้ บอกว่ามีอัตตาปรมัตถ์อย่างนี้เราปฏิเสธได้ไม่จริง ขัดค้านได้ หรืออย่างที่สรวปติวาทที่บอกว่า มีสภาวะอยู่ทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบันอย่างนี้ เราก็มีทางจะอธิบายให้เขาเข้าใจได้ ไม่ใช่ไปประณามเขาเป็นอลัชชี ไปประณามเขาเป็นมิจฉาทิฐิ ไปประณามเขาเป็นสัทธรรมปฏิรูปเหลือเกิน เราต้องเห็นใจว่าสิ่งแวดล้อม กาลเทศะและการตีความ กฎหมายเล่มเดียวกันเกิดทนายจำเลยกับทนายโจกย์ยังอ่านกันคนละอย่างเลย กฎหมายเล่มเดียว ผู้พิพากษาอ่านอย่างหนึ่ง ทนายโจกย์อ่านอย่างหนึ่ง ทนายจำเลยอ่านอย่างหนึ่งกฎหมายเล่มเดียวกัน นี่เอาคนเข้าคุกก็เล่มนั้น เอาคนออกจากคุกก็เล่มนั้น เล่มนั้นเหมือนกันเรียนมาเหมือนกับเล่มนั้นนะ เพราะฉะนั้นเรื่องนิกาย 18 พูดถึงว่า คัดมาเป็นตัวอย่างเพียงสามนิกาย คือนิกายมหาสังฆิกะ และก็ปรมา..วัชชีบุตร และก็นิกายอีกนิกายหนึ่งคือนิกายสัตตวาที มีนัยยะฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน วันนี้ก็จบบรรยายเพียงแค่นี้ครับ

 

ดาวน์โหลดตัวอักษร (ฟ้อนต์) ทิเบตทั้ง ๓ แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการชมเว็บ

actisan.ttf

adtibet.ttf

atibet.ttf


uptime alert service

website monitor

View My Stats