- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันอังคาร, 13 กรกฎาคม 2564 05:10
- เขียนโดย Super User
ข้อปฏิบัติในจีนนิกาย
แจกในงานฉลองอายุ พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร(โพธิ์แจ้ง)
5 สิงหาคม 2506
ตามแนวคติในลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่ายจีน
ว่าด้วยข้อพุทธานุสสติภาวนา สำหรับข้อปฏิบัติมิได้มีปัญหาอะไรยากเย็นนัก เพียงแต่ให้ผู้ปฏิบัติมีจิตตั้งมั่นโดยศรัทธาปสาทะและเอาจริงในการปฏิบัติเท่านั้น ผู้ใดมีคุณสมบัติ3ประการ คือ มีศรัทธา1 มีอธิษฐาน1 มีการปฏิบัติ1 ครบปัจจัยทั้ง3นี้เมื่อใด เมื่อผู้นั้นในสมัยจวนใกล้มรณะ ย่อมได้รับพระรัศมีโปรดจากสมเด็จพระอมิตาภะพุทธเจ้า แล้วไปถึอปฏิสนธิ ณ พุทธเกษตรอันบริสุทธิ์ อันมีนามว่า สุขาวดี ณ เบื้องทิศตะวันตกแห่งโลกธาตุนี้ เมื่อไปอุบัติ ณ วิทธิภูมินั้น ย่อมเชื่อว่าเป็นผู้พ้นแล้ววัฏฏภัย เที่ยงต่อการบรรลุโพธิญาณในเบื้องหน้า ฉะนั้น เมื่อเรามาปฏิบัติตามคุณสมบัติ3 อันวิเศษในข้อพุทธานุสสติภาวนา ก็ย่อมชื่อว่าได้ชำระไตรทวารกรรมของเรา กล่าวไว้ว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริสุทธิ์จากโทษ ในขระที่เจริญพุทธานุสสตินั้นให้กำหนดระลึกถึงพระพุทธองค์ทุกๆขณะจิตตั้งอยู่ ให้รู้อยู่กับรู้ อย่าให้หลงละเมิด เมื่อจิตรู้อยู่กับอารมณ์เดียวได้ แล้ว ก็ชื่อว่าปราศจากความฟุ้งซ่านอันเป็นส่วนอุทธัจจะ ทําได้เช่นนี้เท่ากับชําระมโนกรรมให้หมดจดโดยลําดับแรก
เมื่อมโนกรรมหมดจด วจีกรรมแลกายซึ่งจักสําเร็จเป็นกรรมได้ก็โดยอาศัยมโนกรรมเป็นผู้นําไปก่อน ก็เมื่อใจหมดจดดี โทษอันจักประพฤติล่วงธรรมทางกายก็ไม่มี ฝ่ายวจีกรรมเล่าผู้ปฏิบัติพร่ำบ่นถึงพระนามแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่มิ ขาด วจีกรรมนั้นก็เป็นวจีกรรมที่บริสุทธิ์ ฉะนั้น ทุกคนย่อมมุ่งหวังที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อล่วงพ้นโอฆสาคร แลเมื่อมาปฏิบัติโดยแนวพุทธานุสสติภาวนา อย่างนี้จึงจําต้องบําเพ็ญคุณสมบัติ ๓ ประการ ดังกล่าวมาแล้ว ให้ครบถ้วนจึงสําเร็จดั่งมโนรถได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุไร
แก้ว่า อุปมาดังกะถางที่มีขาหยั่ง ๓ ขา จะบกพร่องขาใดขาหนึ่งมิได้ กะถางตั้งมิติดฉันใด เมื่อปราศจากศรัทธาก็ไม่อาจบังเกิดได้ เมื่อไม่มีอธิษฐาน การปฏิบัติภาวนาก็ไม่มีไปตาม และเมื่อปราศจากการปฏิบัติ ก็ไม่มีอะไรที่พิสูจน์ความศรัทธา คุณสมบัติทั้ง ๓ ดังกล่าว เป็นปัจจัย อาศัยเกี่ยวดองกันดุจเดียวกะถางที่มี ๓ ขาหยั่งฉันนั้นแล
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีพระดํารัสไว้ในพระสูตร ๑ อันมีพระนามว่า อมิตาภะพุทธสูตร ทรงจําแนกแจกแจงคุณสัมปทาทั้ง ๓ ในพระสูตรพรรณาว่า ณ แดนสุขาวดี มีระเบียง 7 ชั้น ตาข่าย 7 ชั้น ต้นไม้แก้ว 7 ชั้น อันแล้วด้วยแก้ว 7 ประการ แลมีสระทิพย์ ซึ่งมีน้ำสมบูรณ์ ด้วยคุณ 8 ประการ มีวิมาน แลดอกบัวบานสะพรั่ง เสียงดุริยางค์อันเป็นทิพย์ขับบรรเลงในท่ามกลางอากาศ แลมีฝูงนกร้องเป็นพระสัทธรรม ยามเมื่อลมโชยมาอ่อนๆ กระทบต้องตาข่ายกระดิ่งทอง แลกิ่งต้นต้นไม้แก้วทั้งหลาย ก็เปล่งเสียงไพเราะจับใจ ชาวชนทั้งหลาย ครั้นเมื่อฟังสําเนียงเหล่านี้ในกาลใดในกาลนั้นเขาทั้งหลายย่อมบังเกิดพุทธานุสสติ, ธรรมานุสสติ, สังฆานุสสติขึ้น นี่เป็น เครื่องตกแต่งแห่งภาชนะโลกในทิพยภูมนั้น
พระสูตรสําแดงสืบนุสสติต่อไปว่า ณ วิสุทธิ์สุขาวดี มีสมเด็จอมิตาภะพุทธเจ้าประทับโปรดสัตว์อยู่ แลเหตุที่ได้พระเนรมิตนามว่า “อมิตาภะ” ก็เพราะพระองค์มีพระ รัศมีแผ่ไปปราศจากขอบเขตสิ้นสุด ทรงมีพระชนมายุยั่งยืน สุดจักประมาณได้ประกอบทั้งทรงมีพระโพธิสัตว์ พระ อรหันตสาวก นับประมาณมิได้นั่นเอง อนึ่งประชาชน ซึ่งไปถืออุบัติ ณ แดนนั้น ย่อมชื่อว่า เป็นอนิวัติ บุคคล คือ เป็นผู้ไม่เสื่อมถอยสู่เบื้องต่ำอีกเลย เที่ยงต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในเบื้องหน้าโดยแท้จริง เมื่อว่าโดยสรุปแล้ว บุคคลผู้ไปอุบัติในสุขาวดี ย่อมได้คุณ สมบัติ 3 ประการ คือ
1. ตั้งอยู่ในอนิวติฐานะ 2. ปฏิบัติเพื่อโพธิญาณไม่มีเสื่อม 3. จิตมุ่งมั่นอยู่ในโพธิญาณไม่มีเสื่อม ฉะนั้น จึงมีพระโพธิสัตว์บุคคลอันเป็นเอกชาติปฏิพัทธ จํานวนมาก ในสุขาวดี.
ปฏิปทาข้อปฏิบัติในการไปอุบัติ ณ แดนสุขาวดี
มีหลักสําคัญดังนี้
๑. ให้มีศรัทธามั่นคงในองค์อมิตาภะ
๒. พึ่งตั้งปณิธานที่จะไปบังเกิดในโลกธาตุนั้น สมดังพระสูตรกล่าวไว้ว่า ประชาชนใด ๆ เมื่อได้สดับข้อความ ในพระสูตรนี้แล้ว จึงตั้งจิตปณิธาน เพื่อไปบังเกิดในพุทธเกษตรแห่งนั้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าลําพังศรัทธาประการเดียว โดยปราศจากปณิธานจิตแล้ว ก็หายังประโยชน์ที่มุ่งหวังให้สําเร็จได้ไม่ เพราะฉะนั้น เมื่อท่านทั้งหลายมีศรัทธาตั้งมั่นในองค์พระอมิตาภะแล้ว และเชื่อมั่นว่าพระองค์ยังกำลังประประทับแสดงพระสัทธรรมอยู่ ณ บัดนี้ จึงสมควรตั้งจิตปณิธาน เพื่อขอไปอุบัติเฝ้าพระมหากรุณาพระองค์นั้นแล้ว แลสดับพระสัทธรรมด้วยตนเอง
๓. ได้แก่ข้อปฏิบัติพุทธนามภาวนา สมดังพระสูตร กล่าวไว้ว่า หากมีกุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆ ได้ฟังพระเกียรติคุณแห่งพระอมิตาภะพุทธเจ้าแล้ว ได้ตรกระลึกถึงองค์พระอมิตาภะ วันหนึ่งถึงเจ็ดวัน โดยที่จิตเป็นเอกัคคตา ผู้ใดที่ประกอบด้วยคุณสมบัติทั้งสาม ยอมวางใจได้โดยเด็ดขาด ว่าจักต้องไปอุบัติในสุขาวดีโดยแน่แท้ ฉะนั้น จึงกําหนดรู้ไว้ว่า การจักได้ไปอุบัติในพุทธเกษตร ข้อสําคัญอยู่ที่ ศรัทธาและอธิษฐาน ส่วนเมื่อไปอุบัติแล้วจักอยู่ในฐานภูมิ สูงหรือต่ำ ย่อมอยู่ที่การปฏิบัติพุทธนามภาวนาเป็นเกณฑ์
โดยสรุปแล้ว ซึ่งปฏิบัติให้ถูกต้องเคร่งครัดสัมปทา ทั้งสามดังกล่าวแล้วให้จริงจัง ก็จะได้สิ่งที่ตนจํานงหวังโดยสมบรณ์
ส่วนการปฏิบัติธรรมในแนวอื่น ย่อมยากที่จะไปตลอดรอดฝั่งได้ เหตุเพราะต้องพึ่งกําลังปัญญาวิริยะลําพังของตนเองเท่านั้น ถ้ากาลานุกาลผ่านไป และตนตกอยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมแล้ว ก็ย่อม เสื่อมถอยได้ง่าย อันสรรพสัตว์ที่บังเกิดในสังสารวัฏนี้ จักต้องมีศรัทธาที่สมบูรณ์ มีอินทรีย์แห่งกุศลบริบูรณ์ ถึงจะไม่ตกไปสู่ภูมิแห่งความเสื่อม ส่วนแนวปฏิบัติพุทธนาม ภาวนาดังกล่าวมาแล้ว นอกจากพึ่งกําลังของตนเองแล้ว ยังชื่อว่าได้ฟังพระพุทธานุภาพอันเปรียบด้วยแสงรัศมีที่สว่างไสว มาอภิบาลอีกด้วย ฉะนั้น จึงไม่รู้จักตกไปสู่ภูมิแห่งความเสื่อมอีกเลย เมื่อไปอุบัติในสุขาวดีแล้ว ย่อมมีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ประณีตขึ้นโดยสะดวก และสามารถบรรลุโพธิญาณได้รวดเร็ว ฉะนั้น เมื่อคนเราทุกคนรู้ว่า วัฏฏสงสารนี้เป็นทุกข์ ก็ควรเบื่อหน่ายในทุกข์ มีจิตที่จักหลุดพ้นไปเสีย คนเราทุกคนเมื่อทราบว่าสุขาวดีพุทธเกษตรเป็นแดนแห่งอนันตสุข ก็สมควรมีฉันทะ ที่จักไปบังเกิด ณ แดนนั้นทุกขณะจิต ซึ่งปฏิบัติภาวนาพุทธนาม6คํา คือ นโมออมีท้อฮฺด ติดเนื่องกันไป อย่าได้ขาดทุกอริยาบท ปากของเราพร่ำ บ่นพุทธนาม จิตของเราตรึกนึกถึงพระองค์ เมื่อเป็นดังนี้ จิตของเรากับจิตของพระพุทธ ประกอบกันและกัน ในจิตของเราก็มีพระพุทธ เพราะพระพุทธอยู่ที่จิตรู้ จิตแจ้งทําได้เช่นนี้ ชื่อว่าจิตเป็นเอกัคคตา
เมื่อปฏิบัติขั้นสูง ให้พิจารณาว่าสรรพสิ่งในโลกเป็นอนัตตา ว่างเปล่าจากเราเขา ใจก็ปล่อยอารมณ์ ไม่ติดในอารมณ์ ให้อยู่กับรู้เท่านั้น เมื่อทําได้เช่นนี้ ก็จะมีแต่ความบริสุทธิ์ เพราะอยู่กับจริงที่เป็นสุขาวดีในปัจจุบันภพทันตาเห็น
อย่าทําตนว่า เราเป็นผู้ฉลาด ดูหมิ่นพุทธนาม ภาวนาปฏิบัติว่า เป็นเรื่องของคนเฒ่าคนชรา หรือเป็นของผู้อินทรีย์ต่ำ แต่สิ่งสําคัญว่า แม้แต่การปฏิบัติเซ็น หรือที่ เรียก ฌานว่าเป็นวิธีปฏิบัติของบัณฑิตชั้นสูง การปฏิบัติเห็นเป็นการพึ่งสติปัญญาความ สามารถของตนเอง เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏฏสงสารในภพนี้ ถ้าในปัจจุบันเป็นของตนไม่สมบูรณ์ มิอาจทําลายชาติภพได้ดังใจหวัง ก็ยังต้องมาเวียนว่ายตายเกิดตามกระแสกรรมอีก บางสมัยก็มาเกิดเป็นผู้มั่งคั่งแวดล้อมด้วยกามคุณ ๕ ก็ทําให้จิตใจหลงไหล ที่สุดก็อาจจะสร้างอกุศลกรรมต่าง ๆ แม้ว่าจะไม่สร้างอกุศลกรรม ก็ยังเป็นปัญหาว่า เขาผู้นั้นจักมีโอกาส ครองเทพพรหมจรรย์ หรือ
ดังมีเรื่องสาธกเรื่องหนึ่งในสมัยราชวงศ์ “ซ่ง” มีอาจารย์นักปฏิบัติเซ็นคนหนึ่ง เป็นนักปฏิบัติชั้นสูง ซึ่งประชาชนเคารพมาก วันหนึ่งท่านได้เห็นอัครเสนาบดี ซึ่งปลดเกษียรอายุราชการ เดินทางกลับมาภูมิลําเนาเดิม ได้เสวยลาภยศสุขสรรเสริญต่าง ๆ อาจารย์เซ็นผู้นี้ในใจคิด ชื่นชมในบุญวาสนาของเขา และคํานึงถึงตําแหน่งอัครเสนาบดีเสมอ ครั้นทํากาละกริยาลง เนื่องจากจิตผูกพันกับตําแหน่งอัครเสนาบดี ก็ได้ไปเกิดในสกุลขุนนาง เมื่อเติบโตขึ้นก็เล่าเรียนวิชาขุนนาง ที่สุดก็ได้เป็นอัครเสนาบดี ซึ่งต้องรับผิดชอบกับกิจบริหารต่าง ๆ ได้สร้างกรรมต่าง ๆ แทนที่จะได้นิพพาน กับจะต้องเวียนวนในวัฏฏสงสารชาติ แล้วชาติเล่าไม่มีสิ้นสุดต่อไป
ฉะนั้นการปฏิบัติธรรมนั้น ควรจะปฏิบัติให้ได้ผลในชาตินี้โดยเร็ว และสะดวกที่สุดได้ผลดีที่สุดก็คือ การปฏิบัติตามพุทธนามธร เพราะปฏิปทาดังกล่าวนี้ มีทั้งศีล มีทั้งสมาธิและปัญญา ท่านอาจารย์หยงเม้งองค์หนึ่ง กล่าว ว่าผู้ที่ไม่มีเซ็น แต่ว่าปฏิบัติตามพุทธนามธร หมื่นคน ปฏิบัติหมื่นคนก็หลุดพ้นไป เมื่อได้เฝ้าองค์พระอมิตาภะแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ตรัสรู้
ส่วนวิธีปฏิบัติตามคติของนิกายเซ็นนั้น นิกายนี้มีสืบเนื่องมาจากพระพุทธองค์ในครั้งพุทธกาลโน้น คือ สมัยหนึ่งเมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกุฎพร้อมกับภิกษุบริษัทหมู่ใหญ่ พระศาสดาได้ทรงชูดอกไม้ขึ้น ดอกหนึ่ง แต่มิได้มีพระดํารัสว่าอะไร ที่ประชุมไม่มีผู้ใด เข้าใจในพุทธประสงค์ ยกเว้นแต่พระมหากัสสปยิ้มน้อยๆอยู่ พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนกัสสป ตถาคตมีสัมมาธรรมจักษุครรภ์ นิพพานจิตสิ่งที่เป็นสัจย่อมเว้นจากลักษณะ เป็นธรรมอันสุขุมปราณีต ซึ่งตถาคตมอบ ให้แก่เธอ ณ บัดนี้ พระมหากัสสปจึงเป็นประธานต้นนิกายเซน และมีพระอาจารย์สืบทอดคติธรรมสืบเนื่องกัน มาถึง 28 ชั่วถึงสมัยพระโพธิธรรมเถระ ท่านได้นํานิกายเซ็นข้ามสมุทรมาสู่ประเทศจีน และตั้งเป็นสํานักสั่งสอนลัทธิขึ้น
นิกายเซ็นมีคติตามนัยแห่งปริยัติธรรม และปฏิบัติธรรม ปริยัติธรรมได้แก่การศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยให้แตกฉาน ปฏิบัติธรรมไม่ได้อยู่ที่ตัวหนังสือสําหรับตําราตัวหนังสือ หรืออยู่ที่โวหารบัญญัติใดๆ แต่ข้อสําคัญอยู่ที่การขัดเกลาจิตใจภายในของแต่ละบุคคล
ดังมีเรื่องสาธก ครั้งหนึ่งพระโพธิธรรมนั่งบำเพ็ญกรรมฐานอยู่ ณ วัดเชียวลิ่งยี่ ติดเนื่องกันมาถึงเก้าปี ครั้นนั้นมีอาจารย์สิ่งกวง ได้สดับกิติคุณของท่านโพธิธรรม จึงเดินทางมาขอโอวาทจากท่าน แต่ท่านโพธิธรรมไม่ได้พูดว่าอะไรแม้แต่คําเดียวอาจารรย์สิ่งกวงก็คุกเข่าอยู่ ณ เบื้องหน้า ไม่ยอมลุกหนีไปไหน เวลานั้นเป็นเวลาหิมะตกหนัก จน หิมะได้ตกขึ้นมากลบถึงบั้นเอวของท่านสิ่งกวง แม้กระนั้น ท่านโพธิธรรมก็ยังนิ่งเฉย ท่านสิ่งกวงจึงใช้มีดตัดแขนของตนออกมาข้างหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นว่า ท่านรักธรรมยิ่ง กว่ารักชีวิต ท่านโพธิธรรมถึงได้เอ่ยปากถามขึ้นว่า “ท่านตัดแขนด้วยประสงค์จะเอาอะไร” ได้รับตอบว่า “ต้องการ ให้ท่านอาจารย์ช่วยทําให้จิตใจสงบ” ท่านโพธิธรรมยื่น มือออกไปพร้อมกับกล่าวว่า “เอาใจของท่านมาซิ ฉันจะจัดการมันให้สงบ” ท่านสิ่งกวงได้ฟังดังนั้น ก็บังเกิดธรรม จักษุเห็นธรรมในขณะนั้นเองว่า จะหาสภาวะของใจก็ไม่ได้ ค้นใจก็ไม่พบ ท่านโพธิธรรมจึงกล่าวว่า “ฉันจัดการใจของท่านให้สงบแล้วละ ต่อมา อาจารย์สิ่งกวงผู้นี้ได้เป็นเจ้าคณะนิกายเซ็นรูปที่สอง ต่อจากท่านโพธิธรรมได้สืบตําแหน่งกันโดยใจส่ใจ” มอบหมายตําแหน่งกันโดยทางใจดั่งนี้จนถึงสมัยคณาจารย์รูปที่ 6 ชื่อท่านเวยหว่าง นิยายเซ็นจึงแบ่งออกเป็น 2 สํานัก จาก 2 สํานักนี้แบ่งออกรวมอีก 5 สํานัก คือสํานักเช่าตั้งจง สํานักอุ่ยเงี่ยมจง สํานักฮวบงั่งจง สํานันหลิ่นฉีจง, สํานักฮุ่นมึงจง
ความลึกซึ้งของนิกายเซ็นนั้น อยู่ที่ไม่อาศัยอักขระ โวหาร แต่สอนให้ทุกคนพิจารณาดูจิตภายในของตน ให้รู้จักหน้าตาดั้งเดิมของตน คือรู้จักพุทธภาวะซึ่งมีอยู่ที่ไหน เมื่อรู้เช่นนี้จะทําให้เข้าถึงโพธิธรรมอย่างฉับพลัน หรือให้ขบปริศนาธรรมอันใดอันหนึ่งให้แตกในขณะที่ขบเป็น ศีลสมาธิปัญญาอยู่ในตัว เมื่อทําถึงขีดสุดย่อมทะลุปรุ โปร่งในความจริงได้เอง
การปฏิบัติของเซ็นนั้น คือการปฏิบัติสมถภาวนา วิปัสนาภาวนานั้นเอง ทั้ง 2 อย่างนี้มีความสําคัญเท่ากัน และจะต้องให้เป็นคู่กันด้วย ถ้าดิ่งหนักไปแต่ข้างสมถ ก็จะทําให้เกิดถิ่นมิทธะ ถ้าหนักไปทางวิปัสนาโดยปราศจากสมถเป็นรากฐาน ก็จะทําให้จิตใจฟุงซ่าน เพราะฉะนั้นจึงต้องให้สม่ําเสมอกันด้วยดี ผู้ปฏิบัติถึงหาสถานที่จะอํานวย กายวิเวก พึงอบรมกายของตนให้แข็งแรง แล้วนั่งสมาธิ จะนั่งแบบขัดสมาธิเพชรหรือสมาธิราบก็ได้ แต่นั่งตัวให้ตรง ศีรษะตั้งตรง สายตาให้จับอยู่ ณ เบื้องปลายจมูก แล้วกําหนดอนาปานสติ เพื่อขับไล่เลือดลมที่ไม่ดีหมดไป ช่วยให้จิตสงบระงับ แล้วพึงพิจารณาจิตของตนให้ รู้อยู่ที่รู้ ไม่คิดในความดีหรือความชั่ว ไม่ดีในอารมณ์ใดๆ เมื่อรู้อยู่กับรู้อย่างเดียว ใจก็สงบ เมื่อใจสงบแล้ว พึงใช้ปัญญาพิจารณาในปริศนาธรรมว่า อาทิเช่น เมื่อบิดามารดาก่อนจะเกิดเรา หน้าตาดั้งเดิมของเราเป็นอย่างไร หรือผู้ที่ปฏิบัติธรรมนั้นเป็นใคร เพื่อพิจารณาด้วยปัญญาอย่างนี้ ปัญหาของชีวิตดังกล่าวก็จะค่อยกระจ่างขึ้น แล้วได้ตรัสรู้เห็นธรรมในที่สุด ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ยิ่งมีความสงสัยมาก ก็ยิ่งจะมีโอกาสได้เห็นแจ้งความจริงได้มาก สมถกับวิปัสนา ทั้ง ๒ มีความสําคัญกันดุจจะนกซึ่งมีปักอยู่ 2 ปีก จึงอาจยังการโฉบบินของมันในอากาศให้สําเร็จได้ฉันนั้น พระโยคาวจา ก็ย่อมต้องอาศัยกรรมฐานทั้ง 2 เป็นพาหนะ นําตนเข้าสู่นิพพาน ณ ฉันนั้น
อย่างไรก็ดี ผู้ปฏิบัติธรรมไม่ว่าเป็นบรรพชิตหรือคฤหัส พึงตั้งต้นด้วยการชําระศีลของตนให้บริสุทธิ์ก่อน เมื่อศีลบริสุทธิ์แล้วอย่าลืมว่าแม้เราจะมีอินทรีย์สังวร ศีลเคร่งครัด ก็เป็นเช่นดังผู้ซึ่งไม่ทําทุจริตผิดกฎหมาย เท่านั้น ซึ่งคุณธรรมดังกล่าวนี้หาเพียงพอไม่ เพราะหน้าที่ อื่นๆ อันสมควรที่สมณะจักพึงเจริญให้ยิ่งขึ้น ยังมีอยู่อีก คืออบรมในสมาธิและปัญญาและวิมุตติ, วิมุตติญาณทัศนะ ฉะนั้นเมื่อศีลบริสุทธิ์แล้ว พึงเจริญสมาธิปัญญาต่อไป ศีลซึ่งบริสุทธิ์ก็จะมีอานุภาพช่วยในการชําระใจให้บริสุทธิ์ เมื่อ ใจบริสุทธิ์แล้ว ควรพิจารณาด้วยปัญญา เพื่อให้รู้แจ้งเห็นสะดวกรวดเร็วขึ้น