พุทธศาสนามหายาน

           พระพุทธเจ้า ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการ ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้”(มหาปรินิพพานสูตร 10/141) ทำให้เกิดมีปัญหาว่าแค่ไหนเรียกว่าเล็กน้อยเป็นเหตุให้ภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับหลายสังคายนา มีกลุ่มแยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการแตกแยกทางความคิดและนิกายแต่ไม่ควรถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด ประเด็นหลักซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งมหายานที่แท้จริงมิใช่อยู่ที่สิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาต แต่อยู่ที่การพระอภิธรรม การตีความพระอภิธรรมความหลุดพ้นนี้เองเป็นประเด็นหลักที่เป็นบ่อเกิดของมหายาน ภิกษุสงฆ์นักปราชญ์กลุ่มหนึ่งซึ่งมีแนวคิดว่า การหลุดพ้นเพื่อเป็นพระอรหันต์ด้วยการปฏิบัติคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ที่สุดตามที่ตนเองได้รับคำสอนมาจากพระพุทธเจ้าที่สอนตนมา ท่านเชื่อว่าที่สุดของสิ่งที่พระศาสดาให้มานอกจากคำสอนแล้วยังมีคุณลักษณ์ของพระองค์ คุณสมบัติที่ทำให้พระองค์ท่านเป็นพระพุทธเจ้านี่เองจึงเป็นที่สุด ครูที่เก่งสามารถสอนให้ศิษย์บรรลุผลสำเร็จได้ แต่ครูผู้สูงส่งนอกจากสั่งสอนศิษย์ให้ได้บรรลุผลสำเร็จแล้ว ท่านเองยังมีคุณลักษณ์ให้ศิษย์ได้ปฏิบัติตามเพื่อความเป็นมนุษย์ซึ่งสมบูรณ์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเป็นสุดยอดครู การที่เหล่าศิษย์เพียงต้องการคำสอนของพระองค์ท่านเพียงอย่างเดียวแม้บรรลุสุขที่สุดแล้ว แต่ก็ยังสูญเสียบรมสุขสุดยอดซึ่งมาจากคุณลักษณ์ประจำพระองค์ คุณสมบัติของสิ่งซึ่งทำให้ พระองค์เป็นครูที่สุดยอดที่สุดในโลก ประเด็นนี้เองเป็นที่มาแห่งมหายาน

        ไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดว่า พุทธศาสนามหายานกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัด คือพระเจ้ากนิษกะ มหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกองค์แรกของมหายาน พระองค์ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานลงมั่นคงในราชอาณาจักร และทรงส่งพระธรรมทูตออกเผยแพร่ไปยังนานาประเทศ คณาจารย์ผู้วางรากฐานของมหายานอย่างชัดเจน ได้แก่ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอารยะเทวะ พระวสุพันธุ พระธรรมกีรติ ศานตรักษิตะ โดย เฉพาะคุรุนาคารชุน(ราว ค.ศ.1) คณาจารย์องค์สำคัญที่สุดผู้ทำให้มหายานทรงอิทธิพลและ รุ่งเรืองที่สุดของพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่6-10 มหายานมิได้ปฏิเสธพระไตรปิฎก หากแต่ถือว่ายังไม่พอเนื่องจากเกิดสำนึกร่วมขึ้นมาว่านามและรูปของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตระไม่อาจดับสูญ สิ่งที่ดับสูญเป็นเพียงภาพมายา ธรรมกายอันเป็นธาตุพุทธะยังคงอยู่ต่อไป สรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดมาพร้อมธาตุพุทธะหากแต่กิเลสอวิชชาได้บดบังธาตุพุทธะจึงไม่ปรากฏ ด้วยมุมมองที่ว่าสรรพสัตว์เป็นพุทธะสรรพสัตว์ทั้งปวงปารถนาที่จะไม่เกิดมาพบกับความทุกข์ ที่ต้องเกิดเพราะกรรมที่ได้สะสมไว้มนุษย์ผู้โชคดีมีภูมิความรู้ในการรู้แจ้งต้องเมตตาส่งเสริม ให้สรรพสัตว์ที่โชคดีน้อยกว่าให้ไปสู่ความรู้แจ้ง ผู้ที่กระทำการเช่นนั้น คือพระโพธิสัตว์ นั่นคือ ชาวพุทธมหายานต้องเดินแนวทางโพธิสัตว์มรรค เพิ่มเติมจากการเดินในแนวอริยะมรรคเพียง อย่างเดียว คำสอนของของพระโพธิสัตว์ถือเป็นพระไตรปิฎกที่ 2ที่ต้องปฏิบัติด้วยการยอมรับ หรือศรัทธาต่อ พระโพธิสัตว์ไม่เท่ากัน ความสำนึกและการแสดงออกจึงต่างกัน ทำให้มหายาน แตกเป็นนิกายต่างๆมากมายในอินเดียมีประมาณ 4 นิกาย 

1นิกายศูนยวาทหรือมาธยมิก ผู้ก่อ ตั้งคือ คุรุนาคารชุน 

2นิกายวิชญานวาทหรือโยคาจาร ผู้ก่อตั้ง คือ ท่านไมตรีนาถ 

3นิกายจิต อมตวาท 

4นิกายพุทธตันตระหรือมนตรยานซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นวัชระยาน 

    ในประเทศจีน ระยะเวลาอันยาวนานกว่าทำให้มีนิกายแตกแขนงออกไปมากมาย เช่น นิกายสัทธรรมปุณทริก (เทียนไท้จง) นิกายเซนหรือฌาณ(เสี่ยมจง) นิกายอวตังสกะ(ฮั่วเงี่ยมจง) นิกายสุขาวดี(เจ่ง โท้วจง) นิกายตรีศาสตร์(ซาหลุ่งจง) นิกายธรรมลักษณะ(ฮวบเซี่ยงจง) นิกายวินัย(หลุกจง) นิกายมนตรยาน(มิกจง) แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าเกิดการแตกแยกศาสนา ด้วยว่าทุกนิกาย ก็คือพุทธศาสนามหายาน

 

 

 

พุทธศาสนามหายาน

           พระพุทธเจ้า ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการ ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้”(มหาปรินิพพานสูตร 10/141) ทำให้เกิดมีปัญหาว่าแค่ไหนเรียกว่าเล็กน้อยเป็นเหตุให้ภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับหลายสังคายนา มีกลุ่มแยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการแตกแยกทางความคิดและนิกายแต่ไม่ควรถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใด ประเด็นหลักซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งมหายานที่แท้จริงมิใช่อยู่ที่สิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาต แต่อยู่ที่การพระอภิธรรม การตีความพระอภิธรรมความหลุดพ้นนี้เองเป็นประเด็นหลักที่เป็นบ่อเกิดของมหายาน ภิกษุสงฆ์นักปราชญ์กลุ่มหนึ่งซึ่งมีแนวคิดว่า การหลุดพ้นเพื่อเป็นพระอรหันต์ด้วยการปฏิบัติคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ที่สุดตามที่ตนเองได้รับคำสอนมาจากพระพุทธเจ้าที่สอนตนมา ท่านเชื่อว่าที่สุดของสิ่งที่พระศาสดาให้มานอกจากคำสอนแล้วยังมีคุณลักษณ์ของพระองค์ คุณสมบัติที่ทำให้พระองค์ท่านเป็นพระพุทธเจ้านี่เองจึงเป็นที่สุด ครูที่เก่งสามารถสอนให้ศิษย์บรรลุผลสำเร็จได้ แต่ครูผู้สูงส่งนอกจากสั่งสอนศิษย์ให้ได้บรรลุผลสำเร็จแล้ว ท่านเองยังมีคุณลักษณ์ให้ศิษย์ได้ปฏิบัติตามเพื่อความเป็นมนุษย์ซึ่งสมบูรณ์ด้วย พระพุทธเจ้าท่านเป็นสุดยอดครู การที่เหล่าศิษย์เพียงต้องการคำสอนของพระองค์ท่านเพียงอย่างเดียวแม้บรรลุสุขที่สุดแล้ว แต่ก็ยังสูญเสียบรมสุขสุดยอดซึ่งมาจากคุณลักษณ์ประจำพระองค์ คุณสมบัติของสิ่งซึ่งทำให้ พระองค์เป็นครูที่สุดยอดที่สุดในโลก ประเด็นนี้เองเป็นที่มาแห่งมหายาน

        ไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดว่า พุทธศาสนามหายานกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัด คือพระเจ้ากนิษกะ มหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกองค์แรกของมหายาน พระองค์ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานลงมั่นคงในราชอาณาจักร และทรงส่งพระธรรมทูตออกเผยแพร่ไปยังนานาประเทศ คณาจารย์ผู้วางรากฐานของมหายานอย่างชัดเจน ได้แก่ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอารยะเทวะ พระวสุพันธุ พระธรรมกีรติ ศานตรักษิตะ โดย เฉพาะคุรุนาคารชุน(ราว ค.ศ.1) คณาจารย์องค์สำคัญที่สุดผู้ทำให้มหายานทรงอิทธิพลและ รุ่งเรืองที่สุดของพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่6-10 มหายานมิได้ปฏิเสธพระไตรปิฎก หากแต่ถือว่ายังไม่พอเนื่องจากเกิดสำนึกร่วมขึ้นมาว่านามและรูปของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตระไม่อาจดับสูญ สิ่งที่ดับสูญเป็นเพียงภาพมายา ธรรมกายอันเป็นธาตุพุทธะยังคงอยู่ต่อไป สรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดมาพร้อมธาตุพุทธะหากแต่กิเลสอวิชชาได้บดบังธาตุพุทธะจึงไม่ปรากฏ ด้วยมุมมองที่ว่าสรรพสัตว์เป็นพุทธะสรรพสัตว์ทั้งปวงปารถนาที่จะไม่เกิดมาพบกับความทุกข์ ที่ต้องเกิดเพราะกรรมที่ได้สะสมไว้มนุษย์ผู้โชคดีมีภูมิความรู้ในการรู้แจ้งต้องเมตตาส่งเสริม ให้สรรพสัตว์ที่โชคดีน้อยกว่าให้ไปสู่ความรู้แจ้ง ผู้ที่กระทำการเช่นนั้น คือพระโพธิสัตว์ นั่นคือ ชาวพุทธมหายานต้องเดินแนวทางโพธิสัตว์มรรค เพิ่มเติมจากการเดินในแนวอริยะมรรคเพียง อย่างเดียว คำสอนของของพระโพธิสัตว์ถือเป็นพระไตรปิฎกที่ 2ที่ต้องปฏิบัติด้วยการยอมรับ หรือศรัทธาต่อ พระโพธิสัตว์ไม่เท่ากัน ความสำนึกและการแสดงออกจึงต่างกัน ทำให้มหายาน แตกเป็นนิกายต่างๆมากมายในอินเดียมีประมาณ 4 นิกาย 

1นิกายศูนยวาทหรือมาธยมิก ผู้ก่อ ตั้งคือ คุรุนาคารชุน 

2นิกายวิชญานวาทหรือโยคาจาร ผู้ก่อตั้ง คือ ท่านไมตรีนาถ 

3นิกายจิต อมตวาท 

4นิกายพุทธตันตระหรือมนตรยานซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นวัชระยาน 

    ในประเทศจีน ระยะเวลาอันยาวนานกว่าทำให้มีนิกายแตกแขนงออกไปมากมาย เช่น นิกายสัทธรรมปุณทริก (เทียนไท้จง) นิกายเซนหรือฌาณ(เสี่ยมจง) นิกายอวตังสกะ(ฮั่วเงี่ยมจง) นิกายสุขาวดี(เจ่ง โท้วจง) นิกายตรีศาสตร์(ซาหลุ่งจง) นิกายธรรมลักษณะ(ฮวบเซี่ยงจง) นิกายวินัย(หลุกจง) นิกายมนตรยาน(มิกจง) แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าเกิดการแตกแยกศาสนา ด้วยว่าทุกนิกาย ก็คือพุทธศาสนามหายาน

 

อุดมคติ 3 ประการ

ลัทธิมหายานถืออุดมคติ 3 ประการ คือ

       1หลักมหาปัญญา ในหลักการข้อนี้ ฝ่ายมหายานได้อธิบายหลักอนัตตาซึ่งเป็นคุณลักษณะ พิเศษในพุทธศาสนาออกไปอย่างกว้างขวางลึกซึ้งมากพิสดารยิ่งกว่าในฝ่ายเถรวาทมหายาน เรียกว่า ศูนย์ตา แทนคำว่า อนัตตา ในส่วนปฏิบัติของบุคคลทางฝ่ายมหายาน ถือว่าบุคคลจะ พ้นทุกข์ได้ ก็ด้วยการเข้าถึงศูนยตา ซึ่งมี 2 ชั้น คือ บุคคลศูนยตาและธรรมศูนยตา บุคคล ศูนยตาได้แก่การละอัสมิมานะซึ่งทำให้บุคคลบรรลุอรหันต์ส่วนธรรมศูนยตา ได้แก่การละ ความยึดถือแม้ในพระนิพพานซึ่งเป็นภูมิของพระโพธิสัตว์ชั้นสูง

        2หลักมหากรุณา ได้แก่การ ตั้งโพธิจิตมุ่งพุทธภูมิ ไม่มุ่งเพียงอรหันต์ภูมิ ในทัศนะมหายานเห็นว่าอรหันต์ภูมิช่วยคนได้น้อย เพราะฉะนั้นจึงควรมุ่งพุทธภูมิซึ่งในขณะที่ยังมิได้บรรลุต้องสร้างบารมีเพื่อช่วยสัตว์ ดังนั้น ทางฝ่ายมหายานจึงย่อทศบารมีลงเหลือ 6 คือ

2.1ทานปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องสละทรัพย์ อวัยวะและชีวิต เพื่อสัตว์โลกได้โดยไม่อาลัย

2.2 ศีลปารมิตา พระโพธิสัตว์ต้องรักษาศีลอันประกอบ ด้วยอินทรีย์สังวรศีล กุศลสังคหศีล ข้อ นี้ได้แก่การทำความดีสงเคราะห์สัตว์ทุกกรณี สัตวสังคหศีลคือการช่วยให้พ้นทุกข์

2.3 กษานติปารมิตา พระโพธิสัตว์ต้องสามารถอดทนต่อสิ่งกดดันเพื่อโปรดสัตว์ได้

2.4 วิริยปารมิตา พระโพธิสัตว์ไม่ย่อท้อต่อพุทธภูมิ ไม่รู้สึกเหนื่อย หน่ายระอาในการช่วยสัตว์

2.5 ธยานปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องสำเร็จในฌานสมาบัติทุกชั้น มีจิตไม่คลอนแคลน เพราะเหตุอารมณ์

2.6 ปรัชญาปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องทำให้แจ้งในปุคคลศูนยตาและ ธรรมศูนยตา

        3หลักมหาอุปาย คือพระโพธิสัตว์จะต้องประกอบด้วยกุศโลบายนานัปการ ในการช่วยเหลือ ปวงสัตว์ ต้องประกอบด้วยไหวพริบปฏิภาณในการเข้าถึงอธิมุติของปวงสัตว์เปรียบเหมือน นายแพทย์ผู้ฉลาดรู้จักวางยาให้ถูกโรคอาศัยข้อนี้แหละทางฝ่ายมหายานจึงได้เพิ่มเติมคติ ธรรมและพิธีการซึ่งไม่เคยมีในฝ่ายเถรวาทเข้ามามากมายโดยถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงอุบาย ชักจูงให้ผู้เขลาโน้มเอียงเข้ามาสู่สัจธรรมในเบื้องปลายเท่านั้น คุรุนาคารชุน ได้สถาปนาความ มั่นคงฝ่ายมหายานด้วยแนวคิดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วย ปรัชญาปารามิตาหฤทัยสูตร พระสูตรสั้นๆแต่มีสาระสำคัญอันเป็นบ่อเกิดแห่งความมั่นคงของ มหายาน ในคัมภีร์มาธยมิกศาสตร์ ท่านคุรุนาคารชุนได้เริ่มปณามคาถาในต้นปกรณ์ว่า “ไม่มีความเกิดขึ้น ไม่มีความดับ ไม่มีความขาดสูญ ไม่มีความเที่ยงแท้ ไม่มีอรรถแต่อย่าง เดียว ไม่มีอรรถนานาประการ ไม่มีการมา ไม่มีการไป ท่านใดกล่าวไว้ เป็นปฏิจจสมุปบาท ธรรม ท่านผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า ข้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ดับเสียได้ซึ่ง ปปัญจธรรมเป็นเลิศยิ่งกว่าวาทะทั้งหลาย” 

 

นิกายในอินเดียมาธยมิก

 

 

อภิปรัชญาตามทัศนะของมหายานในอินเดียในยุคแรก

 

นิกายศูนยวาทหรือมาธยมิก

มาธยมิก แปลว่าทางสายกลาง นิกายนี้ตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 7 ท่านคุรุนาคารชุนเป็นผู้ก่อตั้ง ได้อรรถาธิบายพุทธมติ ด้วยระบบวิภาษวิธี ซึ่งก่อความตื่นเต้นในวงนักปราชญ์ทางพุทธศาสนา ท่านได้กำจัดปรวาทีพ่ายแพ้ไปทุกแห่งหน พุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานจึงยกย่องท่านว่าเป็นพุทธะองค์ใหม่ ในปัจฉิมวัยท่านดับขันธ์ลง ณ มหาวิหารแห่งหนึ่งที่เมืองอมราวดีในแคว้นอันธระ ทักษิณาบถ ปัจจุบันนี้อินเดียทางใต้ยังมีโบราณสถานแห่งหนึ่ง ซึ่งมีซากพระสถูปเจดีย์ชื่อว่า "นาคารชุนโกณฑะ" งานสำคัญของคุรุนาคารชุนคือ การย่อยทรรศนะในมหาปรัชญาปารมิตาสูตร แล้วจัดระบบวิภาษวิธีเพื่อให้เข้าถึงความจริงในปรัชญานั้น คัมภีร์ที่มีชื่อเสียงของท่านคือ อรรถกถาแห่งพระสูตรดังกล่าวและคัมภีร์มาธยมิกการิกะ คัมภีร์นี้เป็นเพชรน้ำเอกในทัศนะเกี่ยวกับพุทธมติ อย่างที่โลกพุทธศาสนาไม่เคยมีมาก่อนเลย นักปราชญ์ในโลกตะวันตกยุคหลังที่ได้อ่านคัมภีร์นี้ ต่างก็ยอมรับว่า คุรุนาคารชุนเป็นนักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่ของโลก ไม่มีปรัชญ์ใดในทางนี้ของตะวันตกที่จะเทียบเคียงได้

   มหาปรัชญาปารมิตาสูตร มีสาระสำคัญซึ่งเป็นบ่อเกิดของนิกายศูนยวาทนั้นสาระสำคัญเรียกว่า "ปรัชญาปารมิตาหฤทัย" ซึ่งเป็นพระสูตรสั้นๆที่แก่นแท้แห่งศูนยตาภาวะ ซึ่งชาวพุทธมหายานทั้งมวลต้องรู้ต้องสวดภาวนาเป็นประจำ

   ในคัมภีร์มาธยมิกวฤติ ท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนไว้ 27 บรรพ ท่านได้เริ่มปณามคาถาในต้นปกรณ์ว่า “ไม่มีความเกิดขึ้น ไม่มีความดับ ไม่มีความขาดสูญ ไม่มีความเที่ยงแท้ ไม่มีอรรถแต่อย่าง เดียว ไม่มีอรรถนานาประการ ไม่มีการมา ไม่มีการไป ท่านใดกล่าวไว้ เป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม ท่านผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า ข้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ดับเสียได้ซึ่ง ปปัญจธรรมเป็นเลิศยิ่งกว่าวาทะทั้งหลาย” 

   ใจความในปณามคาถานี้ แบ่งออกเป็น 8 คำ 4 คู่

    ในทรรศนะของนิกายศูนยวาทเห็นว่า โลกนี้ที่ปรากฏแก่เรา มิได้เป็นทั้งสัต หรืออสัต เพราะฉะนั้นจึงปฏิเสธด้วยคำ 8 คำ 4 คู่ ข้างต้นโดยเฉพาะคำแรกคือคำว่า "ไม่มีความเกิดขึ้น" ท่านให้เหตุผลไว้ว่า ธรรมดาย่อมถือว่าความเกิดมาจากกรณี 4 อย่างคือ

       1 เกิดขึ้นเอง
      
2 สิ่งอื่นทำให้เกิด
      
3 ทั้งเกิดขึ้นเอง ทั้งสิ่งอื่นทำให้เกิด รวมกันทำให้เกิดขึ้น
       4 เกิดอย่างไร้เหตุคือเกิดลอยๆ

       ท่านนาคารชุนปฏิเสธหมดทั้ง 4 ข้อ คือท่านค้านว่า หากท่านปรวาทีกล่าวว่า "โลกนี้เป็นสัตไซร้ ธรรมดาสิ่งที่มีอยู่เอง ไม่จำเป็นต้องมีการเกิดขึ้น คำว่าเกิดขึ้น ต้องใช้กับสิ่งซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ภายหลังมีขึ้นเรียกว่าเกิดขึ้น ก็เมื่อท่านปรวาทีถืออยู่แล้วว่าโลกเป็น คือมีอยู่เอง แล้วยังกล่าวว่าสิ่งที่มีอยู่เกิดขึ้น จึงเป็นการขัดต่อเหตุผล นั่นก็คือหมายความว่า สภาวะธรรมจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ตัวเองจะให้ตัวเองเกิดไม่ได้

          ท่านปรวาทีแก้ตัวว่า โลกเกิดจากสิ่งอื่นทำให้เกิด ที่จริงสิ่งอื่นนั้นก็คือตัวเองนั่นเอง เพราะการเปรียบเทียบจึงมีเรากับเขาขึ้น บุรุษหนึ่ง เมื่อพบบุรุษหนึ่งอีกคน จึงเกิดคำว่าฉันและท่านขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้  ตัวเองและผู้อื่นช่วยกันทำให้เกิดขึ้น ฝ่ายศูนยวาทค้านว่า เปรียบเหมือนคนตาบอดคนเดียวมองไม่เห็น แม้จะเพิ่มคนตาบอดอีกคนมาอยู่รวมกัน ก็ไม่เกิดการเห็นใดๆขึ้น

        ท่านปรวาทีกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นก็เกิดขึ้นโดยไร้เหตุผล ฝ่ายศูนยวาทท้วงว่า ไม่ได้ ไฟย่อมเกิดจากพื้น แม่น้ำย่อมเกิดแต่ฝน ทุกสิ่งย่อมมีเหตุ เมือเป็นเช่นนั้นแล้ว เราจึงยืนยันได้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มีอะไรอุบัติขี้นเลย ที่เราประสบอยู่คือโลกที่ปรากฏแก่เรา เปรียบเหมือนปีศาจเปรียบเหมือนพยับแดด เปรียบเหมือนความฝัน เปรียบเหมือนมายากล โลกจึงไม่เป็นสัต และทั้งไม่เป็นอสัตด้วย เพราะมีสัตจึงมีอสัตเป็นเครื่องเปรียบเทียบ ก็เมื่อสัตเราปฏิเสธเสียแล้วอสัตจึงพลอยถูกปฏิเสธไปด้วย เมื่อนิกายศูนยวาทถือว่า โลกไม่เป็นทั้งสัตหรืออสัตเช่นนี้ หากมีกระทู้ถามว่า ถ้าอย่างนั้นโลกเป็นอะไร ท่านคุรุนาคารชุนตอบว่า เป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม คือธรรมอันอาศัยเหตุพร้อมทั้งผลเกิดขึ้น เมื่อเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรมจึงชื่อว่าเป็น "ศูนยตา" คำว่า "ศูนยตา" ในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงความไม่มีอะไรสิ้นเชิง ผิดกับคำว่าอุจเฉทะ หรือ นัตถิกะ ซึ่งเป็นคำปฏิเสธเด็ดขาด

        ศูนยตา หมายถึง ความไม่มีสวลักษณะหรือสวภาวะ เท่านั้น คือไม่มีสิ่งใดในโลก ที่เป็นอยู่ด้วยตัวมันเอง โดยไม่ความสัมพันธ์กันสิ่งอื่น ทุกสิ่งสัมพันธ์กันหมด เพราะเหตุนั้นปฏิจจสมุปบาทธรรมคืออันใด ศูนยตาก็อันนั้น ศูนยตาอันใดมัชฌิมาปฏิปทาก็อันนั้น

        ท่านคุรุนาคารชุน ได้ยกพุทธภาษิตในสังยุตตนิกายมาอ้างว่า "ดูก่อนกัจจนะ เมื่อพิจารณาโลก โดยสายดับแล้วความยึดถือในอัตถิตาก็หมดไป เมื่อพิจารณาโลกในสายเกิดแล้ว ความยึดถือในนัตถิตาก็หมดไป ตถาคตก็ย่อมแสดงธรรมเป็นท่ามกลางไม่ติดในส่วนสุดทั้งสองข้างนั้น" ยากที่ปฏิเสธโลกว่า ไม่เป็นทั้งสัตและอสัตนั้น ดังตัวอย่างในความรู้สึกของสามัญชนว่า สภาวะของความยาวมีอยู่จริง สภาวะของความสั้นก็มีจริง แต่ข้อเท็จจริงคือที่รู้ว่ายาวเพราะความรู้ว่าสั้นมาเปรียบเทียบ เช่นเดียวกันที่เรารู้ว่าสั้น ก็เพราะอาศัยความยาวเป็นเครื่องเปรียบเทียบ เมื่อเป็นเช่นนี้ยาวกันสั้นมีได้ก็เพราะความสัมพันธ์กัน หากไม่มีความสัมพันธ์กัน ยาวสั้นก็หามีไม่ นั่นคือสวลักษณ์ของความยาวนั้นไม่มี ของความสั้นก็ไม่มี เมื่อสวลักษณ์ไม่มีเช่นนี้ จึงเรียกว่า"ศูนยตา"

       เมื่อสรรพธรรมไม่มีสวลักษณะเช่นนี้ สรรพธรรมจึงเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรมโลกกับนิพพาน เมื่อว่าโดยปรมัตถโวหาร ก็เป็นมายาธรรม ทั้งนี้เพราะเหตุว่าเมื่อโลกไม่มีสวลักษณะ เปรียบเหมือนพยับแดด เหมือนฟองน้ำ ความดับไปแห่งโลก กล่าวคือพระนิพพานจะมีสวลักษณะอยู่ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นเมื่อโลกเป็นมายา ความดับไปแห่งความเป็นมายานั้นจึงพลอยเป็นมายาด้วย เพราะเนื้อแท้ไม่มีอะไรดับ โลกกับพระนิพพานจึงไม่ใช่หนึ่ง ไม่ใช่สอง ทั้งนี้เพราะเหตุว่า ในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง เมื่อพิจารณาโดสมุทัยวารแล้ว คืออวิชชาเกิดสังขารเกิดเป็นลำดับ สมุทัยก็เกิดขึ้นในปฏิจจสมุปบาทอันเดียวกันนั้น ครั้นพิจารณาตามนิโรธวารแล้ว กล่าวคืออวิชชาดับสังขารดับตามลำดับไซร้ โลกนิโรธกล่าวคือพระนิพพานย่อมอยู่ ณ ที่นั้นเอง ผู้ใดเห็นว่าโลกกับนิพพานเป็นหนึ่ง ผู้นั้นเป็นฝ่ายข้างสัสสตทิฎฐิ ผู้ใดเห็นว่าโลกกับนิพพานเป็นสอง ผู้นั้นเป็นฝ่ายนัตถิกทิฎฐิ โดยแท้จริงพระนิพพานนั้น  ไม่เป็นทั้งภาวะและอภาวะ ผู้ใดเห็นพระนิพพานเป็นภาวะ ผู้นั้นเป็นผู้ถือเอาส่วนสุดฝ่ายอัตถิตา ผู้ใดเห็นพระนิพพานเป็นอภาวะ ผู้นั้นถือเอาส่วนสุดฝ่ายนัตถิตา โดยความจริงแล้ว นิพพานพ้นจากความมีและความไม่มี นี้เป็นวาทะของคุรุนาคารชุน

      เมื่อฝ่ายศูนยวาท แสดงทัศนะมาถึงตอนนี้ ฝ่ายปรวาทีได้ตั้งข้อโต้แย้งขึ้นว่าการที่ฝ่ายศูนยวาท ปฏิเสธลักษณะในธรรมทั้งปวงนั้น ฝ่ายศูนยวาทยังจะมีหลักฐานพุทธพจน์ยืนยันหรือไม่ ท่านคุรุนาคารชุนจึงยกพุทธภาษิตในสังยุตตนิกายขึ้นอ้างว่า  "รูปเปรียบเหมือนฟองน้ำ เวทนาเปรียบเสมือนต่อมน้ำ สัญญาเปรียบเสมือนพยับแดด สังขารเปรียบเสมือนต้นกล้วย วิญญาณเปรียบเสมือนนักเล่นกล อันพระผู้เผ่าพงศ์อาทิตย์แสดงแล้ว" พุทธภาษิตแสดงให้เห็นว่า เบญจขันธ์เป็นมายาธรรม เมื่อเบญจขันธ์เป็นมายาธรรมแล้วก็มีแต่มายามีทุกข์ นั่นก็คือแสดงให้เห็นว่า สรรพธรรมไม่มีสวลักษณะหรือสวภาวะไม่มีใครมีกิเลสหรือพ้นกิเลส พระนิพพานอันเป็นความดับแห่งเบญจขันธ์จักมีสวภาวะเอกเทศอยู่อย่างไร แท้จริงไม่มีอะไรเกิดหรือดับเลย ถ้าสังขตธรรม มีอยู่อสังขตธรรมจึงมีได้ เพราะความปฏิเสธสังขตคืออสังขตะก็เมื่ออสังขตะไม่เป็นของจริง.อสังขตะจะมีอยู่อย่างไร เหมือนกับพูดว่า การไปการมาการเกิดการดับย่อมต้องอาศัยคนเป็นปทัฎฐานคือ คนไป คนมา คนเกิด คนดับ ก็เมื่อตัวคนไม่มีแล้ว อาการเหล่านั้นจะอยู่ได้อย่างไร

      ฝ่ายปรวาทีแย้งว่า ถ้าเช่นนั้นทิฎฐิของท่านก็เป็นอุจเฉทะ พระพุทธองค์จะสอนให้บุคคลเจริญมรรคผลไปทำไม ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างว่างเปล่าเช่นนี้ วาทะของท่านนั้นเป็นนัสติกะ ทำลายกุศลธรรมทั้งปวง

      ท่านคุรุนาคารชุนโต้กลับไปว่า วาทะของเรา แบ่งเป็น 2 นัย คือโดยโลกียะนัย เรากล่าวว่า ธรรมทั้งปวงมีอยู่อย่างมายา เช่นเดียวกับความฝัน เราไม่ได้ปฏิเสธเหตุการณ์ในความฝันว่า เป็นของไม่มีอยู่ เรากล่าวว่าความฝันมีอยู่แต่มีอยู่อย่างไม่จริง เรารับสมมติบัญญัติตามโลกโวหาร ไม่ได้ปฏิเสธกรรมกิริยา เหมือนกับเราไม่ได้ปฏิเสธความฝันว่าไม่มี แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถนัย สิ่งทั้งปวงเป็นศูนยตาเหมือนเรากล่าวว่าความฝันไม่ใช่ความจริงเราจึงไม่ใช่พวกนัสติกะ ตรงกันข้ามกับพวกท่านนั่นแหละ กลับจะเป็นฝ่ายปฏิเสธบุญกรรมกิริยาเสียเอง เพราะพวกท่านยึดถือว่า สิ่งทั้งปวงมีสวลักษณะ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนทำบาปก็ต้องทำบาปวันยังค่ำไม่มีทางกลับตัวเป็นคนดีได้เพราะคนทำบาปมีสวลักษณะ การทำก็มีสวลักษณะ บาปก็มีสวลักษณะ สิ่งใดเป็นสวลักษณะ สิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นอยู่ด้วยตัวมันเองไม่อาศัยสิ่งอื่น เพราะฉะนั้น ฝ่ายท่านจึงปฏิเสธบุญกรรมกิริยา ฝ่ายเราถือว่าสวลักษณะไม่มี เป็นศูนยตา คนชั่วจึงกลายเป็นคนดีได้ ปุถุชนจึงเป็นอรหันต์ได้ เด็กจึงเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้ ถ้าถืออย่างมติท่าน เด็กต้องเป็นเด็กตลอดไป ถ้าเด็กเปลี่ยนเป็นผู้ใหญ่ ย่อมแสดงว่าเด็กคนนั้นไม่มีสวลักษณะเป็นศูนยตา เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า เพราะมีศูนยตานี่เอง อุบัติกาลของโลกจึงได้เป็นไปตามระเบียบ

     ฝ่ายมาธยมิกะ ได้เปรียบเทียบทัศนะในเรื่องความเห็นว่างเปล่า ในระหว่างตนกับพวกนัตถิกะว่า เหมือนบุคคลสองคน นาย ก. เห็นโจรคนหนึ่งประกอบโจรกรรมเฉพาะหน้า นาย ข.ไม่ได้เห็นโจรคนนั้นประกอบโจรกรรมเลย แต่พูดไปตามนาย ก.ความเข้าใจและคุณค่าในเรื่องความรู้ระหว่างนาย ก. กับนาย ข.นี้แตกต่างกันฉันใด ฝ่ายเรา คือ ท่านคุรุนาคารชุน เห็นสรรพสิ่งเป็นของสูญด้วยยถาภูตญาณทัศนะ ฝ่ายท่าน คือฝ่ายนัตถิกทิฎฐิ เห็นทุกสิ่งเป็นของไม่มี เป็นความเห็นที่เกิดจากตรรกะ มิได้เกิดจากยถาภูตญาณทัศนะมีอุปมัยดุจเดียวกับบุคคลสองคนฉะนั้น

      ท่านคุรุนาคารชุนย้ำว่า บุคคลใดที่จะมีทัศนะในเรื่องศูนยตา บุคคลนั้นจะต้องมีศีล สมาธิเป็นปทัฏฐาน ถ้าปราศจากศีล และสมาธิแล้ว ทัศนะของผู้นั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ

คัมภีร์ปัญจวิงสติกล่าวไว้ถึง ลักษณะศูนยตา 18 ประเภท

     ศูนยตาคือ สภาพรับรู้ ความมีก็ไม่ใช่ ความไม่มีก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความมีก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความไม่มีก็ไม่ใช่   สี่สภาวะสุดขั้วมิใช่ ศูนยตา สภาพการรับรู้ตรงกลางนั้นคือ ศูนย์ตา หรือจะกล่าวว่า ในโลกแห่งสมมุตินี้ การรับรู้สภาพที่สรรพสิ่งเป็นมายา เป็นความว่าง นี่คือ ศูนยตา ในโลกปรมัตถ์ของพุทธะ สรรพสิ่งอิงอาศัยกันมี ดังเช่น อริยะสัจจ์, ทางสายกลาง ,ปรตีตยสมุทปาท ทั้งมวลนี้คือ ศูนยตา

 

นิกายในอินเดียโยคาจาร

นิกายวิชญานวาท หรือนิกายโยคาจารย์

     นิกายนี้มีแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับฝ่ายศูนยวาท และเป็นคู่ปรับที่สำคัญ มีกำเนิดในศตวรรษที่ 8 ในสมัยราชวงศ์คุปตะ ปฐมาจารย์ของนิกายนี้ คือท่านไมตรีนาถ ตั้งสำนักอยู่ในเมืองอโยธยาในแคว้นโกศล ท่านผู้นี้ได้เขียนปกรณ์ คือ อภิสมยลังการ สานุศิษย์ของท่านชื่อ พระอสังคะและน้องชายพระวสุพันธุ ทั้งทั้งสองเดิมบวชในนิกายสรวาสติวาท ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นมหายาน และได้ช่วยท่านไม่ตรีนาถตั้งลัทธิโยคาจารย์นี้ขึ้น นิกายนี้บางครั้งก็เรียกชื่อว่า "อัสติวาทิน" บางครั้งก็เรียก"วิชญานวาท"เพราะเหตุที่เป็นนิกาย "มโนภาพนิยม"

     หลักปรัชญาของนิกายนี้ ได้อาศัยพระสูตรสำคัญพระสูตรหนึ่ง คือ สนธินิรโมจนสูตร ซึ่งมีหลักถือว่า สรรพสิ่งในโลกล้วนเป็นภาพสะท้อนออกไปจากดวงใจเรียกว่า "อาลยวิญญาณ" อาลยวิญญาณเป็นธาตุรู้ มีหน้าที่สามประการ คือ
   
1 หน้าที่รู้เก็บ คือสามารถเก็บเอาพลังต่างๆของกรรม โดยไม่ขาดตกบกพร่อง สิ่งที่เก็บไว้ในอาลยวิญาณ เรียกว่า "พีชะ" อันประกอบด้วยกุศลพีชะ อกุศลพีชะ อัพยากตพีชะ เพราะฉะนั้น บางครั้งก็เรียกอาลยวิญญาณว่า "สรวพีชวิญญาณ" ท่านเปรียบเหมือนยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกไว้ฉะนั้น
   
2 หน้าที่รู้ก่อ คือก่อสร้างอารมณ์ต่างๆ ออกมา อารมณ์คือ โลภ เป็นปรากฏการณ์ของพีชะในอาลัยวิญญาณนั้น ผลิดอกออกผล รวมทั้งวัตถุด้วยเช่น ภูเขา แม่น้ำ ล้วนเป็นพีชะในอาลัยวิญญาณก่อขึ้นมา
      3 หน้าที่รู้ปรุง คือปรุงแต่งอารมณ์ให้วิจิตรให้พิสดารต่างๆ เป็นไปตามคลองแห่งตัณหา ทำให้ประกอบกรรม เกิดวิบาก ส่งผลเป็นพีชะเข้าไปเก็บไว้ในอาลัยวิญญาณอีก แล้วงอกเงยเป็นอารมณ์ออกมาอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะหมดภพหมดชาติ

    บรรดาพีชะในอาลยวิญญาณต่างแยกกันอยู่เป็นส่วนๆกุศลก็อยู่ฝ่ายกุศล แต่สถานที่เก็บเป็นแห่งเดียวกัน มหาภูติรูปก็มีพีชะเหมือนกัน พีชะเหล่านี้เมื่อก่อปฏิกิริยาออกมาก็คืออารมณ์ต่างๆ ทั้งฝ่ายนามธรรมและรูปธรรม

    เพราะฉะนั้น นิกายนี้จึงสอนว่า โลกวัตถุเป็นเพียงมโนภาพ เพราะเป็นสิ่งปรุงออกไปจากพีชะในจิต ถ้าไม่มีอาลยวิญญาณเสียแล้ว สิ่งทั้งปวงก็ไม่มี อารมณ์กับจิตเรียกว่าทัศนภาพ ได้พฤติกรรมของอาลยวิญญาณที่ออกมาทำหน้าที่เสพอารมณ์ทางทวารทั้ง 6 กลายเป็นวิญญาณ 6 ส่วนลักษณะภาคก็คืออารมณ์ต่างๆ แปลว่า อาลยวิญญาณทำหน้าที่ 2 อย่าง คือส่งภาคออกมาเป็นอารมณ์ ในขณะเดียวก้นทำหน้าที่เสพอารมณ์นั้นด้วย

    มีปัญหาตั้งขึ้นว่า "พีชะ ในอาลยวิญญาณ มีมาแต่ครั้งใด" ตอบว่า "พีชะบางเหล่าเป็นอมตัคคะธรรม พีชะบางเหล่าสะสมขึ้นในประวัติกาล" มีปัญหาว่า "ถ้าโลกวัตถุเป็นมโนภาพไซร้ ทำไมเราจึงไม่สามารถสร้างภูเขาหิมาลัยขึ้นอีกลูกหนึ่ง" ตอบว่า "สิ่งบางอย่างในโลกเกิดจากสหธรรมของมนุษย์และดิรัจฉานร่วมกัน เช่นภูเขาหิมาลัยเป็นสหกรรม จะต้องอยู่ที่อินเดียแห่งเดียว อยู่ในเมืองไทยไม่ได้ เพราะฉะนั้น แม้คนไทยทั้งประเทศจะสร้างภูเขาหิมาลัยขึ้น ก็เพียงได้นึกคิดเอา โลกนี้เป็นสหกรรม เมื่อสร้างขึ้นแล้วจากพีชะทั้งหลาย ในอาลยวิญญาณของมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งโลก ฐานที่ตั้งของภูเขาและแม่น้ำเป็นต้น ย่อมมีกำเนิดแหล่งที่ชัดเจน จะมาสับเปลี่ยนในภายหลัง ตามใจชอบของคนบางกลุ่มบางคนไม่ได้

    ทัศนะเดียวกับสภาวะธรรมของนิกายนี้ ได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทเรียกว่า "ไตรสภาวะ" มีดั้งนี้คือ

    1 ปริกัลปิตลักษณะ คือลักษณะไม่มีอยู่จริง แต่เข้าใจผิดว่ามี เช่นคนเดินทางในที่มืด เหยียบเชือกสำคัญว่างู ความสำคัญผิดว่างูนี้ เปรียบเหมือนความเข้าใจผิดว่า มีนามธรรม รูปธรรม ภายนอกวิสัยของอาลยวิญญาณ
   
2 ปรตันตรลักษณะ ได้แก่พีชะต่างๆ ในอาลยวิญญาณ จะเป็นของไม่มีอยู่จริงไม่ได้ เปรียบเหมือนเส้นเชือกถ้าไม่มีอยู่แล้ว ความเข้าใจผิดว่างู ก็ไม่เกิดขึ้น
    3 ปริณิษปันนลักษณะ ได้แก่นิพพานและธรรมธาตุต่างๆ ในส่วนพฤติกรรมท่านเปรียบเหมือน บุคคลที่หายเข้าใจผิด รู้ว่าเชือกไม่ใช่งูใจไม่สะดุ้งต่อภัยอีก เช่นเดียวกับผู้ที่รู้จริงว่า สรรพสิ่งเป็นเพียงภาพสะท้อนของจิต เมื่อจิตดับแล้วสิ่งทั้งปวงก็ดับจึงสามารถเพิกถอนอุปทานได้

    เมื่อนิกายนี้ถือว่า ทุกสิ่งต้องมีพีชะเป็นบ่อเกิด เพราะฉะนั้น จึงได้เกิดกำหนดประเภทแห่งบุคคลในโลกออกเป็น 5 พวก เรียกว่า "ปัญจโคตร"คือ

        1 พุทธพีชะบุคคล ผู้จะสร้างบารมีสำเร็จเป็นพุทธะได้
       
2 ปัจเจกโพธิพีชะบุคคล ผู้ที่มีพีชะเป็นปัจเจกพุทธเจ้าได้
       
3 สาวกพีชะบุคคล ผู้มีวิสัยเป็นพระอรหันต์ได้
       
4 อนิยตพีชะบุคคล ผู้ยังเป็นกลางๆสุดแล้วแต่การอบรม
        5 อิจฉันติกพีชะบุคคล ผู้ที่โปรดไม่ได้ (ข้อนี้แตกต่างกับนิกายศูนยวาท เพราะการสอนดังนี้เป็นการยอมรับว่ามีสวลักษณะ)

    ทั้ง 5 พวกเป็นธรรมนิยามกำหนดตายตัว

    นิกายศูนยวาท กับ นิกายวิชญานวาท เป็นคู่ปรับกันมาทุกยุคทุกสมัย ข้อขัดแย้งที่สำคัญก็คือเรื่อง "สวลักษณะ" ทั้งนี้เพราะทัศนะในเรื่องสวลักษณะสองนิกายนี้เห็นแตกต่างกัน จึงมีข้อโต้แย้งระหว่างกันดังนี้

         ศูนยวาทว่า โดยสมมติสัจจ์ สิ่งทั้งปวงเป็นมายา โดยปรมัตถ์สัจจ์สิ่งทั้งปวงเป็นศูนยตา

        โยคาจารว่า สมมติสัจจ์ สิ่งทั้งปวงเป็นมายาหมดไม่ได้ เพราะแม้ภาพข้างนอกจะไม่ใช่ของจริง แต่พีชะอันเป็นบ่อเกิดของภาพเหล่านั้น มีสวลักษณะอยู่ โดยปรมัตถสัจจ์ ก็ไม่ใช่สูญไปเสียหมด ต้องมีสวลักษณะเหลืออยู่ ยกตัวอย่างเช่นมะพร้าว ถ้าไม่มีสวลักษณะในตัวมันเอง ปลูกมะพร้าวก็กลายเป้นกล้วยไปได้ การที่มะพร้าวเป็นมะพร้าวเรื่อยไป ก็เพราะเจ้าสวลักษณะเช่นนี้ หรือเหมือนกับคนและความเป็นธรรม ตัวตนอาจเปลี่ยนแปลงไปคือ  ทารก ก.เปลี่ยนเป็นหนุ่ม ก. และเปลี่ยนเป็นผู้เฒ่า ก. ลักษณะ 3 ระยะนี้ไม่เหนือกันเลยแม้แต่นิดเดียว แต่เราก็รู้ว่าเป็นคนๆเดียวกัน นั่นก็คือนาย ก. จะต้องมีสวลักษณะ คือลักษณะเฉพาะในตัวมันเองที่ทำให้เรากำหนดได้ว่าเป็นคนๆเดียวกัน เพราะฉะนั้นโยคาจารจึงสอนว่าสิ่งที่สูญนั้นได้แก่ สัตว์ บุคคล เรา เขา แต่สภาวะธรรมที่เป็นบัญญิติว่า เป็นสัตว์ บุคคล เรา เขา สูญไม่ได้ นั่นก็คือบรรดาพีชะจะต้องมีอยู่ในปรมัตถ์ เหมือนกับต้องมีเบญจขันธ์ เราจึงบัญญัติสัตว์บุคคลได้ เหมือนกับมีเชือก เราจึงเกิดเข้าใจผิดว่าเป็นงูได้ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งปวงบางอย่างไม่มีสวลักษณะ ได้แก่สัตว์ บุคคล เพราะเป็นธรรมที่เราเห็นไปเอง แต่บรรดาพีชะอันเป็นปทัฏฐาน จะพลอยไร้สวลักษณะนั้นมิได้ ถ้าเป็นอย่างวาทะของฝ่ายศูนยวาทแล้ว เราจะเอาอะไรมากำหนดความแตกต่างระหว่างมรรคกับกิเลสระหว่างโลกกับนิพพานเล่า เพราะฉะนั้น คำพูดที่ว่า "สรฺวมฺศูนฺยมฺ" จึงเป็นฝ่าย "ไวนาสิกะ" โดยแท้

           เมื่อสรุปแล้ว ทั้ง 2 นิกาย นิยามความหมาย "สวลักษณะ" ต่างกัน ฝ่ายศูนยวาทกำหนดความหมายว่า ขึ้นชิ่อว่าเป็นสวลักษณะแล้วต้องเที่ยงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าไปถือว่ามีสวลักษณะในธรรมบางอย่าง จึงเป็นฝ่ายสัสสตวาทไป แต่ฝ่ายโยคาจารกำหนดความหมายสวลักษณะว่า เปลี่ยนแปลงได้ แต่ถึงจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าไร ก็คงรักษาคุณสมบัติเดิมเอาไว้ เพราะฉะนั้น จึงประณามฝ่ายเถรวาทว่า เป็นพวกนัตถิกวาทะ แปลว่าต่างฝ่ายต่างดีความคำว่า สวลักษณะไม่ตรงกัน ทั้งสองนิกาย มีความเห็นตรงกันข้อหนึ่ง คือไม่สอนว่า จักรภพมีแกนมาจากสมบูรณภาพ อันได้แก่ มติมหายาน นิกายที่3

 

นิกายในอินเดียจิตอมต

 

นิกายจิตอมตวาท

        นิกายนี้ได้เจริญขึ้นในราชวงศ์คุปตะ ไม่พบผู้ก่อตั้งนิกาย พระสูตรที่สำคัญในนิกายเช่น ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร ศูรางคมสมาธิสูตร ตถาคตครรภสูตร สุวรรณประภาสสูตร พุทธยานสาครสมาธิสูตร อจินไตยยสูตร วิเศษจินตาพรหมปริปฤจฉาสูตร เป็นต้น

        คำสอนในนิกายนี้ตรงข้ามกับศูนยวาทและโยคาจาร ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ จักรภพมีปทัฏฐานจากสมบูรณภาพ จากสิ่งนี้คือสมบูรณภาพ จึงก่อเกิดจักรภพชีวิตขึ้น ภาวะอันเป็นแก่นเดิมของโลกคือความจริงแท้ สิ่งที่เป็นมายามีรากฐานมาจากภาวะอันแท้จริงไม่แปรผัน นิกายจิตอมตวาทนี้ได้บัญญัติภาวะอันนี้ด้วยนามต่างๆเช่น พุทธะภาวะ ตถาคตครรภ ภูตตถตา อมฤตจิต นิพพาน นิกายนี้ชี้แจงว่าคำสอนที่เกี่ยวกับอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นเพียงบุรพภาค เป็นเพียงปริยายธรรม ยังมีธรรมที่สุขุมคัมภีรภาพไปกว่านั้น คือธรรมที่แสดงถึง นิจจัง สุขัง อัตตา การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอนัตตา ก็เพื่อให้เราได้เข้าถึงอัตตาที่แท้จริง กล่าวคือ สมบูรณภาพหรือพุทธภาวะ และพุทธภาวะมีในทุกๆสิ่ง แต่ถ้ามองในแง่ลักษณะภายนอก สิ่งทั้งสองก็แตกต่างกันออกไปโดยสัณฐาน โดยนิมิต และโดยพยัญชนะ

        นิกายนี้ ได้ให้ข้ออุปมา เกี่ยวกับสมบูรณภาพว่า ธรรมดาภาวะของจิตหรือสมบูรณภาพนั้น เที่ยงแท้ ไม่เกิด ไม่ด้บ เบื้องต้นไม่ปรากฏเบื้องปลายไม่ปรากฏ แต่ที่เห็นเกิดดับนั้นเพียงอาการของจิต ไม่ใช่ตัวจิต เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่ใช่วิญญาณขันธ์" เมื่อจิตมิใช่วิญญาณขันธ์ จิตจึงเป็นผู้รู้ขันธ์ ผู้ปล่อยขันธ์ สภาพของธาตุรู้ ท่านเปรียบเหมือนธาตุทอง ที่ยังปะปนอยู่กับดินทราย หรือธาตุเพชรที่ยังอยู่ในหิน ธาตุทองและธาตุเพชรไม่ใช่ดินทราย ไม่ใช่หินฉันใด พุทธภาวะหรือจิตในสรรพสัตว์ แม้จะห่อหุ้มด้วยกิเลสตัณหา ก็ไม่ใช่กิเลสตัณหาและไม่ใช่ขันธ์ 5 ฉันนั้น อีกอุปมาหนึ่งท่านเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ ย่อมมีปรกติส่องแสงสว่าง แต่ในบางคราวเกิดมืดมัว ก็มิได้หมายความว่า ดวงอาทิตย์นั้นอัปแสงไปหากเนื่องมาจากเมฆหมอกมาปกคลุม เปรียบดังกิเลสตัณหามาบังพุทธภาวะในปุถุชนเหมือนทองที่ยังไม่ได้ร่อนไม่ได้หุง เหมือนเพชรที่ยังไม่ได้เจียรนัย เหมือนดวงอาทิตย์ที่ถูกเมฆคลุม แต่พุทธภาวะในพระอริยะเจ้า เปรียบเหมือนทองที่เป็นรูปพรรณเหมือนเพชรที่เจียรนัย เหมือนตะวันที่พ้นเมฆหมอกแล้ว ปุถุชนจึงเป็นพุทธะในส่วนเหตุ พระอริยบุคคลเป็นพุทธะในส่วนผล

        นิกายนี้เชื่อมั่นว่า สัตว์ทั้งปวงในวันหนึ่งข้างหน้านี้ จักต้องตรัสรู้เหมือนกัน ต้องเป็นพุทธะหมด เพราะทุกคนมีทุนเดิมอยู่ในจิตด้วยกันทุกคน

        อีกอุปมาหนึ่ง ท่านเปรียบประดุจท้องมหาสมุทรในยามปรกติย่อมราบเรียบ แต่ที่ยังเกิดเป็นคลื่นก็เพราะลมมหาสมุทร คือพุทธภาวะหรือจิตแท้ลมที่พัดมาคืออวิชชาตัณหาอุปทาน ลูกคลื่นที่เกิดขึ้น แต่ละลูก เปรียบเหมือนสัตว์ต่างๆเกิดแล้วดับไปในมหาสมุทรนั่นเอง มีปัญหาถามว่าอวิชชามีก่อนหรือพุทธภาวะมีก่อน ถ้าอวิชชามีก่อน ก็มิใช่พุทธะภาวะแท้ เพราะไม่รู้มีก่อนรู้ รู้นั้นก็ไม่ใช่รู้จริง ใช้ไม่ได้ ถ้าว่าพุทธะภาวะมีก่อน พระอริยะก็จะกลับเป็นปุถุชนได้ นิกายจิตอมตวาทตอบว่า พุทธภาวะกับอวิชชาไม่ก่อนไม่หลังกัน มีมาด้วยกันนับแต่ภาวะเริ่มต้นไม่ปรากฏ เหมือนกับธาตุทองกับดินทราย จะว่าใครเกิดก่อนเกิดหลังไม่ได้

 

นิกายในอินเดียตันตรยาน

 

นิกายตันตรยาน

นิกายนี้เกิดขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์คุปตะ ในช่วงนั้นถือว่าเป็นช่วงที่ฮินดูได้รุกหนักเพื่อแย่งชิงพื้นที่ของขาวพุทธ ปรัชญาและการปฏิบัติที่ดีของชาวพุทธ ถูกชาวฮินดูนำไปใช้และอ้างว่าเป็นสิ่งที่ตนคิดค้นขึ้นมา ดังเช่นตันตระวิธี ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติจิตซึ่งเกิดขึ้นในชมพูทวีปมาช้านาน แต่นักปฏิบัติชาวพุทธตั้งแต่ยุคที่พระพุทธองค์ยังคงพระชนม์ชีพอยู่ได้นำมาพัฒนาและนำมาใช้อย่างได้ผล แม้จะไม่แพร่หลายอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีการใช้และพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนเมื่อถึงช่วงปลายคุปตะ จึงได้ใช้ตันตระวิธีในหมู่ชาวพุทธอย่างกว้างขวาง เพื่อต่อต้านและทวงคืนสิ่งที่ชาวฮินดูยึดเอาไป และนี่เป็นบ่อเกิดของระบบ พุทธตันตรยาน, มนตรายาน รหัสยาน, คุยหยาน, สหัชยาน ซึ่งไม่ว่าจะเรียกชื่อต่างกันอย่างไร แต่ก็มีหลักการไม่ต่างกันเท่าไหร่ คือหลักปรัชญายังคงเป็น หลักปรัชญาของพุทธมหายาน ส่วนการปฏิบัติจิต ใช้วิธีการปฏิบัติตันตระเป็นหลัก โดยเน้น ทุกส่วนของร่างกายเข้าไปในวิธีการปฏิบัติ กำหนดพิธีการในการใช้ร่างกายอย่างเหมาะสมและให้ได้ผลอย่างเต็มที่ เช่น กายประกอบมุทรา วาจาสวดสาธยายมนตราธารณี ใจสร้างมโนจิตจินตภาพ เมื่อชาวพุทธได้ใช้วิธีการซึ่งชาวพุทธเองได้คิดค้นพัฒนากันมาเองอย่างยาวนาน จึงบรรลุผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปและดินแดนทั้งใกล้และไกลจึงนิยมเลื่อมใสศรัทธาและนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เช่นในแถบหิมาลัยทั้งหมด จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย สุวรรณภูมิ เขมร ฯลฯ

ชาวพุทธตันตระได้ใช้หลักคำสอนลับของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานแก่กษัตริย์อินทรภูติในหมุนกงล้อธรรมครั้งที่3 เป็นหลักคิดและกำหนดหลักการปฏิบัติให้สอดคล้องกับตันตระวิธี ดังนี้

1 ถือว่า อาทิพุทธเจ้า เป็นปฐมภาวะพุทธ หรือพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ซึ่งกำเนิดขึ้นพร้อมกับการเกิดขึ้นโลก เมื่อธาตุๆสัมพันธ์กันตามหลักการแห่งปรตีตยสมุตปาท ให้กำเนิดโลกและสรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดขึ้น ภาวะต่างๆก็กำเนิดตามมาด้วย ดังเช่น ภาวะแห่งวัฎฎ และภาวะแห่งนิพพาน ซึ่งภาวะทั้งสองก็คือปฐมภาวะพุทธนั่นเอง เมื่อนำมาอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น จึงได้เกิดเป็นอาทิพุทธในรูปของบุคคลาธิฐานขึ้น พระศากยมุนีพุทธเจ้าถือว่าเป็นการแสดง ให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างของปฐมพุทธภาวะ เพื่อผลในการอบรมสั่งสอน ให้รู้ว่า สรรพสิ่งหรือสรรพชีวิตที่เกิดขึ้นมาในในโลกนี้ มีธาตุแห่งปฐมพุทธภาวะผสมอยู่ เมื่อใดที่ สรรพชีวิตนั้นรู้,เข้าใจ,และรวมการปฎิบัติของตนเข้ากับธาตุปฐมภาวะพุทธดั้งเดิมได้ เมื่อนั้น สรรพสัตว์นั้นก็เป็นพุทธเจ้า

2 นับถือธยานิพุทธะ 5 พระองค์เป็นหลักในการปฏิบัติ ธยานิพุทธเป็นตัวแทนแห่งอารมณ์ของสรรพชีวิต เพื่อแสดงให้สรรพชีวิตได้เห็นว่า ไม่ว่าเขาจะมีภาวะอารมณ์เป็นเช่นใดก็บรรลุพุทธภาวะได้

3 ด้วยหลักโพธิจิต ที่ชาวพุทธตันตระยึดถือเป็นสองรากฐาน ซึ่งได้แก่ เมตตาหนึ่งและปัญญาหนึ่ง อีกทั้งความเชื่อเรื่องธยานิพุทธ จึงได้แพร่หลายแนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้าปางซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ อีกทั้งยังได้แพร่หลายแนวคิดเรื่องพระโพธิสัตว์ผู้ช่วยสำคัญของพระพุทธเจ้าในการปฎิบัติฐานสำคัญทั้งสอง และโพธิสัตว์ก็มีปางซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆกันได้ ด้วยหลักแห่งฐานปัญญา มิใช่อารมณ์สงบเพียงอย่างเดียวที่บรรลุพุทธภาวะได้ อารมณ์อื่นก็บรรลุได้  ด้วยหลักแห่งฐานเมตตา ภาวะจิตของสรรพสัตว์ที่ต้องช่วยเป็นหลักในการใช้วิธีเข้าช่วย

4 ใช้ธารณี ซึ่งก็คือ เสียงสำเนียง ซึ่งพระพุทธเจ้าในอดีตได้เลือกสรรค์และมอบไว้ไห้ ว่าเป็นเสียงซึ่งมีพลังและคุณวิเศษ โดยมอบผ่านมาทางพระศากยมุนีพุทธเจ้า ดังนั้น ธารณีเหล่านั้นจึงให้ประโยชน์สูงสุดในการช่วยเหลือสรรพชีวิตให้บรรลุผลสำเร็จ

5 ใช้ท่ามุทรา ความหมายดังเช่นในข้อ4 มุทราก็คือการแสดงท่วงท่า และก็เป็นท่วงท่า ซึง พระพุทธเจ้าในอดีตได้ใช้และเลือกสรรค์ท่าที่ให้ผลสูงสุดมามอบให้ ดังนั้น จึงมิต้องสงสัยในพลังแห่งมุทรานั้นๆเลย

6 นำการปฏิบัติทั้งปวงมากำหนดให้เป็นมณฑลพิธีและพิธีการในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสูงสุด

      ด้วยเหตุนี้ ฐานะของพระพุทธศาสนาจึงได้มั่นคงแข็งแรงขึ้น มีมหาวิทยาลัยสงฆ์เกิดขึ้นหลายแห่ง ส่วนใหญ่แล้วจะสอนพุทธตันตระเป็นหลัก ดังเช่น มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา (ซึ่งจัดเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก และเป็นมหาวิทยาสัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย) ,มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา, มหาวิทยาลัยโอทันตบุรี, มหาวิทยาลัยชคัททะ ฯลฯ พระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเหล่านี้ ได้เผยแพร่พุทธศาสนาไปทั่วทุกทิศ

มหายานทั้งสี่นิกาย ที่กล่าวมาแล้ว เป็นนิกายที่เกิดขึ้นในอินเดีย และถือว่าเป็นต้นกำเนิดแห่ง พุทธศาสนาสายทิเบตซึ่งตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าไปเจริญในประเทศจีนแล้ว พระคณาจารย์จีนได้นำหลักธรรมะจากพระสูตรต่างๆต่างๆไปย่อยโดยเอาพื้นฐานความรู้สึกสำนึกคิดของตนเข้าไปจับ จนทำให้เกิดนิกายต่างขึ้นหลายนิกายแต่ที่สำคัญๆ มี8 นิกายที่จะกล่าวถึงต่อไป

1 นิกายสัทธรรมปุณฑรีก (เทียนไท้จง)

2 นิกายเซนหรือธยาน  (เสี่ยมจง)

3 นิกายอวตังสกะ  (ฮั่วเงี่ยมจง)

4 นิกายสุขาวดี  (เจ่งโท้วจง)

5 นิกายตรีศาสตร์ (ซาหลุ่งจง)

6 นิกายธรรมลักษณะ (ฮวบเซี่ยงจง)

7 นิกายวินัย  (หลุกจง)

8 นิกายมนตรายาน (มิกจง)

 

นิกายในจีน เทียนไท้จง

 

1 นิกายสัทธรรมปุณฑรีก (เทียนไท้)

ประวัตินิกาย

            ในราวพุทธศตวรรษที่10 คณาจารย์จีนชื่อฮุ่ยบุ้น ได้ศึกษามหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์และมาธยมิกศาสตร์ของคุรุนาคารชุน แล้วบังเกิดความเห็นแจ้งในข้อธรรมในคัมภีร์ทั้งสองนั้น ท่านได้นำออกเผยแพร่โดยถ่ายทอดให้ศิษย์ชื่อฮุ่ยซือ ต่อมาท่านฮุ่ยซือได้ถ่ายทอดให้แก่คณาจารย์ตี้เจี้ย

              คณาจารย์ตี้เจี้ย นับเป็นปฐมาารย์ของนิกายเที่ยนไท้ หรือนิกายสัทธรรมปุณฑริก ท่านจำพรรษาอยู่ที่สำนักวัดก๊กเช้งยี่ บนภูเขาเทียนไท้ ท่านได้ขยายอรรถให้กว้างขวางและตั้งเป็นนิกายขึ้น เรียกชื่อว่า "เทียนไท้จง" หรือ "สัทธรรมปุณฑริก" คณาจารย์ตี้เจี้ย มีชีวิตอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 เป็นสมณะที่ทรงเกียรติคุณโด่งดัง มีบริวารนับหมื่น และเป็นที่เคารพของพระเจ้าจักรพรรดิท่านได้เขียนหนังสือหลายเล่มอธิบายถึงปรัชญาของนิกายนี้ นิกายเทียนไท้ เป็นนิกายที่เจริญมากในประเทศจีน มีคันถรจนาจารย์แต่งคัมภีร์เกี่ยวกับคติของนิกายนี้ตลอดเรื่อยมาจนเข้าสู่ยุคปัจจุบัน หนังสือหรือคัมภีร์ของนิกายนี้ล้วนเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมของจีน

คัมภีร์สำคัญ

           นิกายนี้เคารพสัทธรรมปุณฑริกสูตรมากที่สุด จนบางครั้งได้ใช้เป็นชื่อของนิกายว่า "ฮวบฮั่วจง" นิกายสัทธรรมปุณฑริกมีคัมภีร์สำคัญที่เป็นหลักคือ

          1 สัทธรรมปุณฑริกสูตร (เมื่อวฮวบเน่ยฮั่วเก็ง) พระสูตรนี้แบ่งปริวรรตออกเป็น 27 ปริวรรต ท่านกุมารชีพแปล

          2 มหาปรินิรวาณสูตร (ไต้ปัวเนียบพ้วงเก็ง) มี 13 ปริวรรต ท่านธรรมรักษ์แปล

          3 มหาปรัชญาปารมิตาสูตร (ไต้ปอเยียกปอลอมิกตอเก็ง) มี 90 ปริวรรต ท่านกุมารชีพแปล (คนละฉบับกับที่ท่านเฮี่ยงจังแปล)

          4 มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ (ไต้ตี่โต่วหลุง) ท่านกุมารชีพแปล

          ปกรณ์พิเศษที่สำคัญอันเป็นหลักปรัชญาโดยตรงของนิกายนี้คือ "ฮวบฮั่วเฮี่ยงหงี่" (เผยอรรถแห่งสัทธรรมปุณฑริก) "มอฮอจีกวง" (มหาสมถวิปัสสนา) ของคณาจารย์ตี้เจี้ย "ไต้เจ็งจีกวง" (มหายานสมถวิปัสสนา) ของคณาจารย์น่ำงัก "ก้ากวงกังจง"ของคณาจารย์เฮี้ยว อันเป็นหนังสือสรุปสารัตถะสำคัญของนิกายเทียนไท้

หลักธรรม

          นิกายเทียนไท้ถือว่า นิกายของตนได้กำธรรมสุดยอดของพุทธศาสนาไว้ เพราะใช้สัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นหลักนิกาย โดยแบ่งพุทธวจนะ ออกเป็น 5 สมัยเรียกว่า "โหงวซี้พ่วนก่า" คือ

           1 ปฐมกาล เมื่อพระศาสดาตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ พระองค์ได้เทศนาพุทธาวตังสกมหาไวปุลยสูตร  ( ไต้ฮวงก้วงฮุกฮั่วยเงี่ยมเก็ง) แก่บรรดาพระโพธิสัตว์และทวยเทพ

           2 ทุติยกาล พระศาสดาปรารภว่า พระธรรมในสมัยแรกนั้นลึกซึ้งนัก ยากที่ผู้มีอินทรีย์ไม่แก่กล้าพอจะข้าถึงได้ พระองค์จึงผ่อนแสดงให้ง่ายลง มีอริยสัจ4 ยุคนี้ ทรงแสดงธรรมโปรดพวกสาวกยาน

          3 ตติยกาล พระศาสดาทรงเล็งเห็นว่า บรรดาพระสาวกส่วนหนึ่งยังเข้าใจผิดว่า มีแต่ธรรมฝ่ายสาวกยานเท่านั้น พระองค์จึงทรงแสดงธรรมฝ่ายมหายาน เลื่อนภูมิพระสาวกขึ้น อาทิเช่น ทรงแสดงไวปุลยสูตร ศูรางคมสมาธิสูตร ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร ตถาคตครรภสูตร เป็นต้น

           4 จตุตถกาล พระศาสดามาตระหนักว่า บรรดาพระสาวกซึ่งฟังธรรมมา 3 ยุคนั้น บางส่วนยังเข้าใจผิดว่า สภาวะธรรมมีอยู่เป็นอยู่ พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเพื่อปลดเปลื้องความเข้าใจผิดนี้ คือ แสดงมหาปรัชญาปารมิตาสูตร

           5 ปัญจมกาล เป็นเวลาปัจฉิมโพธิกาลแล้ว พระองค์ได้ทรงเปิดเผยความลี้ลับสุดยอดแก่พระสาวกทั้งปวง โดยแสดงสัทธรรมปุณฑริกสูตร รวมตรียานเป็นเอกยาน คือไม่มีสาวกยาน ปัจเจกโพธิยาน และโพธิสัตวยาน แต่มีเพียงยานเดียว เรียกว่า "พุทธยาน" เท่านั้น เป็นการรวมมหายานและสาวกยาน

           คณาจารย์ตี้เจี้ยสอนว่า สิ่งสมบูรณ์ของจักรภพ ก็คือพุทธภาวะสิ่งสมบูรณ์นี้แบ่งออกเป็น 10 ธาตุ คือ

            1 พุทธธาตุ

            2 โพธิสัตว์ธาตุ

            3 ปัจเจกโพธิธาตุ

            4 สาวกธาตุ

            5 เทวธาตุ

            6 มนุษยธาตุ

            7 อสุรธาตุ

            8 เปรตธาตุ

            9 ติรัจฉานธาตุ

            10 นรกธาตุ       

            ทั้ง 10 ธาตุนี้ รวมอยู่ในเอกจิตดวงเดียว และทั้ง 10 ธาตุนี้ต้องอยู่ประจำทุกๆบุคคล ตั้งแต่พระอริยลงมาถึงบุคคล ที่มีชั้นภูมิแตกต่างกันก็เป็นเพราะทั้ง 10 ธาตุ ธาตุใดธาตุหนึ่ง สำแดงปรากฏการณ์เด่นเหนืออีก 9 ธาตุ โดยนัยเดียวกัน พระอริยบุคคลก็มีสาวกธานุออกหน้าเหนือธาตุอื่น และธาตุอื่นเหล่านั้นคงมีอยู่ในขันธสันดานของท่าน ยกตัวอย่าง นรกธาตุ ถ้าถือตามนิกายนี้แล้ว พระอรหันต์ก็ยังมี แต่ทว่าไม่กำเริบขึ้นมา ไม่มีพิษสงใดๆขึ้นมาได้ มติดังกล่าวนี้ถูกพวกมหายานนิกายอื่นๆคัดค้าน แต่นิกายเทียนไท้ได้ยืนยันเช่นนั้น เรียกว่า "จูฮุดปุกต่วงแช่อัก" แปลว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ยังไม่ละอกุศลภาวะ" เพราะอกุศลภาวะเป็นธรรมทิฎฐิธรรมนิยาม เพียงแต่ไม่กำเริบอีกตลอดไป

 

นิกายในจีน เสียมจง

 

2 นิกายเซนหรือธฺยาน (เสียมจง)

             นิกายนี้ ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า "เสี่ยมจง" แต่เนื่องด้วยคนไทยเราทราบชื่อนิกายนี้ตามภาษาญี่ปุ่นมาว่า "เซน" ซึ่งเป็นมูลศัพท์เดียวกัน จึงขอเรียกตามญี่ปุ่นไปด้วย

              นิกายนี้เป็นนิกายที่สำคัญยิ่งนิกายหนึ่ง ซึ่งมีความเจริญแพร่หลายอยู่ทุกยุคทุกสมัย คำว่า "เซน" มาจากศัพท์ว่า    "ธฺยาน" หรือ "ฌาน" หมายถึงนิกายที่ปฎิบัติทางวิปัสสนา

              ตามประวัติเล่ากันว่า ในสมัยพุทธกาล ณ ท่ามกลางประชุมบริษัท 4 พระศาสดาได้ทรงชูดอกไม้ขึ้นดอกหนึ่ง มิได้ตรัสว่าอย่างไร ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย นอกจากพระมหากัสสปเถระรูปเดียวเท่านั้น ที่ยิ้มน้อยๆอยู่ พระศาสดาจึงตรัสว่า "ดุก่อน กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุครรภ์อันถูกต้องและนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริงย่อไม่มีลักษณะได้มอบไว้ให้แก่เธอแล้ว"  เพราะฉะนั้น นิกายนี้จึงนับถือพระมหากัสสปเถระว่าเป็นปฐมาปรินายกและถือว่าเป็นนิกายวิปัสสนาโดยเฉพาะ ไม่ต้องอาศัยตัวหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆไม่อยู่ในกรอบแห่งคำพูดใดๆ แต่ชี้ตรงไปยังจุดของจิตใจ เพราะฉะนั้น บางทีจึงมีนามเรียกว่า "การเผยแผ่นอกคำสอน" นิกายเซนนับตั้งแต่พระมหากัสสปเถระ ได้มีเกจิอาจารย์สืบทอดมาอีก 28 องค์ จนถึงสมัยท่านโพธิธรรม(ตั้กมอโจวซือ)จึงได้นำคติของนิกายนี้มาสั่งสอนในประเทศจีน ในสมัยพระเจ้าเหลียงบูเต้ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์เหลียง แล้วต่อแต่นั้นมาก็มีคณาจารย์จีนสืบทอดมาอีก 5 องค์ จึงนับว่าท่านโพธิธรรมผู้จาริกมาสู่ประเทศจีนในราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายเซนในประเทศจีน ปรินายกฮุ่ยค้อเป็นองค์ที่ 2 ท่านฮุ่ยค้อได้มอบธรรมให้แก่ปรินายกเจ็งชั้ง เป็นองค์ที่ 3 และท่านเจ็งชั้งได้มอบให้แก่ปรินายกเต้าสิ่งเป็นองค์ที่ 4 ท่านเต้าสิ่งได้มอบต่อให้ปรินายกฮ่งยิ่ม ช่วงนี้นิกายเซนแบ่งออกเป็น 2 สำนัก คือสำนักของคณาจารย์ฮ่งยิ่มเรียกว่า "สำนักอึ้งบ้วย" ซึ่งถือกันว่าเป็นสำนักที่สืบเนืองมาโดยตรง และสำนักของคณาจารย์ฮวบย้ง เรียกชื่อว่า "สำนักงู้เท้า" ซึ่งเป็นสำนักแฝงเท่านั้น

          นิกายเซนสำนักอึ้งบ้วยได้แตกออกเป็น 2 สำนักอีก สำนักแรกถือว่าเป็นสำนักที่สืบต่อจากท่านฮ่งยิ่มโดยตรง ผู้เป็นปรินายกคือ ฮุ่ยเล้ง นับเป็นปรินายกองค์ที่ 6 ท่านได้ตั้งสำนักอยู่ทางตอนใต้ของจีน และได้แพร่หลายไปทั่วจีนตอนใต้ ประวัติของท่านฮุ่ยเล้งนั้นสำคัญมากและเป็นที่แพร่หลายมาก ท่านเกิดในยุคราชวงศ์ถัง เป็นชาวนำเฮี้ยง ขณะที่ท่านเข้ามอบตัวเป็นศิษย์ท่านฮ่งยิ่ม ท่านฮ่งยิ่ม มีศิษย์เอกอยู่ท่านหนึ่งซึ่งเป็นที่คาดหมายจากหมู่ศิษย์ทั้งปวงว่าท่านจะต้องเป็นผู้ได้รับมอบธรรมและต่ำแหน่งปรินายกต่อจากท่านฮ่งยิ่ม ท่านมีชื่อว่า "สิ่งซิ่ว" เมื่อคราวที่คณาจารย์ฮ่งยิ่มให้ศิษย์ทั้งปวง แข่งกันแต่โศลก เพื่อต้องการดูภาวะจิตของศิษย์แต่ละคน ปรากฏว่าท่านฮ่งยิ่มเลื่อมใสในโศลกของท่านฮุ่ยเล้ง ซึ่งเป็นผู้ที่เข้ามาใหม่อีกทั้งยังไม่รู้หนังสือด้วย การเขียนโศลกที่ตนแต่งขึ้นก็ต้องอาศัยผู้อื่นเขียนให้ ท่านฮ่งยิ่มจึงได้มอบบาตรและผ้ากาสาวพัสตร์ประจำตำแหน่งปรินายกองค์ที่ 6 ให้และให้ท่านไปตั้งสำนักทางตอนใต้ ต่อมาท่าน สิ่งซิ่วได้ตั้งสำนักขึ้นใหม่อยู่ทางตอนเหนือ และต่อจากนั้นมา นิกายใต้ยังแตกออกอีก 5 สำนักคือ สำนักฮุ่นมึ้ง สำนักนิ่มชี้ สำนักเช่าตั่ง สำนักอุ้ยเอี้ยง สำนักฮวบงั้ง ในจำนวนนี้นับว่า สำนักนิ่มชี้แพร่หลายที่สุดมาจนถึงปัจจุบัน

             อนึ่งด้วยทัศนะของคณาจารย์ฮุ่ยเล้งและคณาจารย์สิ่งซิ่วต่างกัน วิธีการปฏิบัติกจึงพ่ลอยต่างกันด้วย สำนักเหนือมีวิธีปฏิบัติที่ค่อยเป็นค่อยไปโดยลำดับ ส่วนสำนักใต้ปฏิบัติอย่างฉับพลัน จนมีชื่อเรียกว่า "น่ำตุ้งปักเจี๋ยม" แปลว่าใต้เร็วเหนือลำดับ

คัมภีร์สำคัญ

          ความจริงนิกายเซนถือว่าเป็นคำสอนพิเศษ เผยแผ่ด้วยวิธีใจสู่ใจ ไม่อาศัยตัวหนังสือหรือการอธิบาย แต่เนื่องด้วยอินทรีย์ของสัตว์มีสูงต่ำ นิกายนี้จึงจำต้องอาศัยหนังสือและคำพูดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งถือว่าเป็นเพียงอุบายวิธีเท่านั้น ฉะนั้น คัมภีร์ของนิกายนี้จึงมีมากไม่แพ้นิกายอื่น คัมภีร์ที่เป็นหลักคือ

         1 ลังกาวตารสูตร (เล่งแคเก็ง) ท่าน  คุณภัทระแปล และฉบับแปลของท่านโพธิรุจิ ศึกษานันทะแปลอีก 2 ฉบับ

         2 วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (กิมกังปัวเยียกปอลอมิกเก็ง) ท่านกุมารชีพแปล

         3 วิมลเกียรตินิทเทศสูตร (ยุ่ยม่อเคียกซอส้วยเก็ง) ท่านกุมารชีพแปล

         4 มหาไพบูลย์สมันตโพธิสตูร (ไต้อวงก้วงอี่กักเก็ง) ท่านพุทธตาระแปล

         5 ศูรางคมสมาธิสูตร (ซิวเล่งเงี้ยมซาม่วยเก็ง)

         6 หลักโจ้วไต่ซือฮวบป้อตั่วเก็ง ซึ่งเป็นปกรณ์สำคัญที่สุด กล่าวถึงประวัติของคณาจารย์ฮุ่ยเล้ง และภาษิตของท่าน

         7 ซิ่งซิมเม้ง (จารึกศรัทธาแห่งจิต) ของคณาจารย์เจ็งชั้ง

         8 จวยเสี่ยงเสงหลง (อนุตตรยานศาสตร์) ของคณาจารย์ฮ่งยิ่ม

         9 จงเกี้ยลก (บันทึกกระจกแห่งนิกาย) รวบรวมโดยท่านเอี่ยงซิว

         10 บ่อมึ่งกวง (ด่านที่ไม่มีประตู) ของท่านจงเสี่ยว

         11 นั้งเที่ยนงั่งมัก (จักษุแห่งเทพยดาแลมนุษย์) ของท่านตี้เจียว

         12 ตุ้งหงอหยิบเต๋าฮวบมึ้ง (ประตูวิถีแห่งการเข้าถึงธรรมอย่างฉับพลัน) เป็นหนังสือถามตอบอย่างง่ายแก่การเข้าใจ นอกจากนี้ยังมีบรรดาอาจริยภาษิตของคณาจารย์ต่างๆแห่งนิกายเซนอีกมาก

หลักธรรม

         นิกายนี้ถือว่าสัจจภาวะนั้น ย่อมอยู่เหนือการพูดการคิด เราจะค้นสัจธรรมในหนังสือพระไตรปิฎกย่อมไม่พบ นอกจากเราจะต้องหันมาบำเพ็ญดูจิตใจของตนเอง เพราะความจริงเราจะหาได้ภายในตัวเรานี้เอง จะไปค้นหาภายนอกไม่ได้ จึงมีคำขวัญประจำนิกายนี้ว่า "ปุกลิบบุ่งยี่ ติกจี้นั่งซิม เกียงแส่งเซ่งฮุก" แปลว่า ไม่ต้องอาศัยตัวหนังสือ แต่ชี้ตรงไปยังจิตใจของคน ให้เห็นแจ้งในภาวะที่แท้จริง แล้วบรรลุเป็นพุทธะ

         ดังนั้น นิกายนี้จึงสอนว่า "สรรพสัตว์มีพุทธภาวะหรือธรรมกายรุ่งเรืองสุกใสอยู่ด้วยกันทุกๆคน คำพูดหรือตัวหนังสือหาเพียงพอที่จะอธิบายถึงสัจจะภาวะอันนี้ไม่ เพราะฉะนั้น บางคราวจำเป็นต้องอาศัยปริศนาธรรมและคำพูดที่เสียดแทงเข้าไปถึงหัวใจ ช่วยพาไปให้รู้จัก วิธีนี้นิกายเซนเรียกว่า "โกอาน" ซึ่งแปลว่าปริศนาธรรม สำหรับมอบให้ศิษย์นำไปขบคิด ผู้ใดขบคิดปัญหาโกอานแตกผู้นั้นก็ดวงตาเห็นธรรมได้ ปริศนาเหล่านี้ เช่น สะพานไหลน้ำไม่ไหล, ก่อนพ่อแม่ให้กำเนิดเรา หน้าตาดั้งเดิมของเราเป็นอย่างไร, สิ่งทั้งหลายรวมไปที่หนึ่ง หนึ่งนั้นคืออะไร  ฯลฯ

          นอกจากนี้นิกายเซนกล่าวว่า การปฏิบัติธรรม โดยผ่านตามลำดับขั้นแห่งไตรสิกขานั้น เป็นการเนิ่นนานล่าช้า สู้วิธีการของเซนไม่ได้ วิธีการของเซนเข้าโดยปัญญาอย่างเดียว เมื่อมีปัญญารู้แจ้งแล้ว ศีลสมาธิก็ย่อมปรากฎเอง คณาจารย์เซนอธิบายถึงลักษณะของพุทธภาวะว่า คือจิตเดิมแท้ของแต่ละบุคคลนั่นเอง ดังวาทะหนึ่งซึ่งว่า "มหึมาหนอ เจ้าจิต ฟ้าที่สูงไม่อาจประมาณได้ ถึงสุดยอดแล้ว แต่จิตก็อยู่สูงเหนือฟ้านั้นขึ้นไป แผ่นดินที่หนาไม่อาจวัดได้ แต่จิตก็อยู่พ้นแผ่นดินนั้นลงไปแสงสว่างของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไม่อาจข้ามได้ แต่จิตก็อยู่พ้นแสงสว่างของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้นไปอีก โลกธาตุทั้งปวงมีปริมาณดุจเมล็ดทรายไม่มีที่สิ้นสุด แต่จิตก็อยู่นอกเหนือจักรวาลทั้งหลายดังกล่าวไปอีก จะว่าเป็นอากาศหรือ  จะว่าเป็นธาตุสภาวะหรือ จิตก็ครอบงำอากาศ ทรงไว้ซึ่งธาตุภาวะเดิม  อาศัยตัวของเราฟ้าจึงครอบจักรวาล และดินจึงรับรองจักรวาล อาศัยตัวเราดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จึงหมุนเวียนไป อาศัยตัวของเราฤดูทั้ง4 จึงมีการเปลี่ยนแปลง อาศัยตัวของเราสรรพสิ่งจึงอุบัติขึ้น ใหญ่โตจริงหนา ! เจ้าจิตนี่ข้าให้นามแก่เจ้าละว่า ปรมัตถสัจจะและอนุตตรสัมโพธิ หรือศูรางคมสมาธิและสัมมาธรรมจักษุครรภ์ หรือนิพพานจิต"

           นอกจากนี้ วิธีขบปริศนาโกอาน หรือที่เรียกว่าปริศนาธรรมนั้นมีวิธีการแปลกๆเช่น ครั้งหนึ่งในฤดูหนาว มีหลวงจีนรูปหนึ่งชื่อ ตังเฮี้ยเดินทางมาขออาศัญพักแรมในวัดแห่งหนึ่ง เมื่อหิมะตกจัด หลวงจีนรูปนั้นจึงเข้าในโบสถ์ แล้วนำเอาพระพุทธรูปออกมา ทำฟืนเผาไฟ บังเอิญสมภารวัดเดินผ่านมาพบเข้า จึงทักท้วงการกระทำเช่นนั้น หลวงจีนตังเฮี้ยกล่าวว่า ที่เผาพระพุทธรูปก็เพราะต้องการหาพระบรมธาตุ สมภารแย้งว่า พระพุทธรูปไม้จะเอาพระบรมธาตุมาแต่ไหน หลวงจีนตังเฮี้ย จึงย้อนเอาว่า เมื่อไม้จะเอาพระบรมธาตุมาแต่ไหน หลวงจีนตังเฮี้ย จึงย้อนเอาว่า เมื่อหาพระบรมธาตุไม่ได้ ก็ขอเอาพระพุทธรูปมาเผาอีกสัก 2-3 องค์ สมภารเมื่อได้ฟังดังนั้น ก็มีดวงตาเห็นธรรมทันที โกอานอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า คราวหนึ่งมีขุนนางไจ๊เสี่ยง เดินทางไปถามปัญหาธรรมกับพระกัมมัฎฐานรูปหนึ่งว่า พระนิพพานมีลักษณะอย่างไร พุทธภาวะมีลักษณะ อย่างไร พระรูปนั้นตอบว่า เชิญท่านไจ๊เสี่ยงไปนั่งเก้าอี้ดื่มน้ำชาก่อน ขุนนางตอบไปว่า ผมมาในที่นี้ เพราะอยากถามเรื่องนิพพานกับพุทธภาวะ ท่านโปรดอธิบายให้ฟังก่อน พระรูปนั้นตอบว่า อากาศข้างนอกเย็นสบายดีจริง ขุนนางไม่พอใจแสดงกิริยาเคื่องออกมาให้เห็นพร้อมกับกล่าวว่า ผมไม่ต้องการฟังคำพูดอย่างนั้น ผมอยากรู้เรื่องพระพุทธภาวะและพระนิพพานเท่านั้น พระรูปนั้นจึงว่า ไม่มีภาษา ไม่มีบัญญัติ ไม่มีโวหาร สิ่งๆนั้นมีอยู่ในตัวของท่านเอง

ซาเซน (การปฏิบัติฌาน)

          พุทธภาวะที่ไม่เกิดแก่เจ็บตายอันมีอยู่ทั่วไปและมีอยู่แก่สรรพสัตว์ทั้งสิ้น และเป็นภาวะบริสุทธิ์มาแต่ดั้งเดิม แต่ปุถุชนถูกอวิชชากำบัง เข้าใจว่าคนนั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นความหลงผิดนั้น ต้องกำจัดอวิชชานี้ออกไปเสียด้วยวิธีทำซาเซน ซึ่งภาษาจีนว่า "ซัมเซี้ยม" คือทำฌานให้เกิด นิกายเซนกล่าวว่า ปัญญากับฌานจะแยกกันมิได้ ฌานที่ไร้ปัญญาก็มิใช่ฌานชนิดโลกุตตระ นิกายเซนมีวิธีเรียกว่า "ชัมกงอั่ว" หรือภาษาญี่ปุ่นว่า "โกอาน" ซึ่งแปลว่า การขบปริศนาธรรม อาจารย์เซนจะมอบปริศนาธรรม เช่นว่าสุนัขมีพุทธภาวะหรือไม่ ผู้ใดเป็นผู้สวดมนต์ภาวนาอยู่นี้ ศิษย์จะนำไปขบคิดจนกระทั่งขบแตก ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกแห่งปัญญา ที่จะนำตนให้พ้นวัฏฏสงสารทีเดียว

ภูมิธรรม การบรรลุธรรมของนิกายเซนแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

        1 ระยะแรกเรียกว่า "ชอกวง" หรือ "ปุนชัม" ได้แก่การขบปริศนาธรรมแตก เกิดปัญญาความรู้แจ่มจ้า เห็นภาวะดั้งเดิมอันบริสุทธิ์ปราศจากกิเลศของตนเอง

        2 ระยะกลางเรียกว่า "เต้งกวง" คือการใช้ปัญญาพละ และในระยะนั้นเอง ก็กำหราบสรรพกิเลสให้อยู่นิ่งเป็นตะกอนน้ำนอนก้นถังอยู่

        3 ระยะหลังเรียกว่า "หมวกเอ้ากวง" คือการทำลายกิเลสที่เป็นตะกอนนอนก้นนั้นให้หมดสิ้นไป

        นิกายเซนมีอิทธิพลครอบงำความคิดความอ่านของชนชั้นนักศึกษาจีนและญี่ปุ่น นับเป็นพันๆปี จนถึงปัจจุบัน

 

นิกายในจีน ฮั่วเงี้ยมจง

 

3 นิกายอวตังสกะ (ฮั่วเงี้ยมจง)

ประวัตินิกาย

        นิกายนี้นับถือพุทธาตังสกมหาไวปุลยสูตร ซึ่งในระยะกาลระหว่างพุทธปรินิพพานแล้ว 500 ปี พระสูตรอันลึกซึ้งนี้ยังไม่ถึงอันจะแพร่หลายได้ถูกประดิษฐานซ่อนเร้นอยู่ในนาคมณเฑียร ณ เมืองใต้บาดาล จนถึงสมัยท่านคุรุนาคารชุนท่านลงไปเมืองพญานาคท่องพระสูตรนั้นจนจำได้คล่องแคล้วแล้วขึ้นมาแพร่หลายแก่มนุษย์ เชื่อกันว่าพระสูตรนี้มีด้วยกัน 3 ฉบับที่แพร่หลายเป็นฉบับเล็ก ประกอบด้วยโศลก 1 แสนโศลก แบ่งเป็น58 ปริวรรต ฉบับกลางมี 1,988,800 โศลก แบ่งเป็น 1200ปริวรรต ส่วนฉบับใหญ่นั้นมีโศลกนับด้วยอสงไขยโกฏิ

        ในราวพุทธศตวรรษที่ 9 ท่านพุทธภัทรได้แปลพระสูตรนี้ออกสู่พากย์จีน และต่อมาในสมัยราชวงศ์ถัง ท่านศึกษานันทะได้แปลอีกฉบับหนึ่ง ถือกันว่าเป็นฉบับที่สมบูรณ์ ตั้งแต่พระสูตรถูกแปลเป็นพากย์จีน ก็ถูกกับอุปนิสัยของชาวจีนมาก มีผู้ศึกษากันแพร่หลาย

         ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 คณาจารย์โต่วสุง ได้เขียนนิพนธ์เรื่อง "ฮวบก่ายกวง" (ธรรมธาตุวิปัสสนา) และ "โหงวก่าจีกวง"  (ปัญจศาสน์สมถวิปัสสนา) ได้สถาปนารากฐานของนิกายฮั่วเงี้ยมขึ้น ต่อมามีคณาจารย์ฮวบจั๋งหรือเฮี่ยงซิ้ว ได้เขียนอรรถกถาหลักธรรมในอวตังสกสูตร นิกายฮั่วเงี้ยมจึงเจริญรุ่งเรือง บางทีนิกายนี้ก็ชื่อว่า "เฮี่ยงซิ้ว" ตามนามของคณาจารย์เฮี่ยงซิ้ว นิกายนี้มีอิทธิพลคู่เคียงกันนิกายเทียนไท้ตลอดมา

คัมภีร์สำคัญ

        1 พุทธาวตังสกมหาไพบูลย์สูตร (ไต้ฮวงก้วงฮุกฮั่วเงี้ยมเก็ง)

        2 ทศภูมิศาสตร์ (จับตี้เก็งหลุง) ของท่านวสุพันธุ เป็นอรรถกถาทศภูมิปริวรรตในอวตังสกสูตร ท่านโพธิรุจิแปล

        นอกจากนี้ยังมีนิพนธ์ต่างๆเรื่องของคณาจารย์จีนสำนักนี้อีกมากมายหลายเรื่อง

หลักธรม

        นิกายนี้แบ่งระยะกาลแห่งพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ออกเป็น 3 กาล เรียกว่า "ตรีการศาสน์" ได้แก่

        1 ปฐมกาล ทรงแสดงอวตังสกสูตร เปรียบด้วยพระอาทิตย์ในอรุณสมัยเริ่มแรกขึ้ต้องยอดเขาหลวง

        2 มัธยมกาล ทรงแสดงพระธรรมเป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปอุปมาดั่งแสงสุริยะในเวลาเที่ยง

        3 ปัจฉิมกาล ทรงแสดงธรรม ในการสรุปหลักธรรมในยานทั้งสามเป็นยานเดียว อุปมาดังพระอาทิตย์อัสดง ย่อมส่องแสงสู่ยอดเขาอีกวาระหนึ่ง

        นิกายนี้สอนว่า สรรพสัตว์มีสภาวะเป็นเอกีภาพเรียกว่า "เจ็กจิงฮวบก่าย" (เอกสัตยธรรมธาตุ) ในอวตังสกสูตรมีพระพุทธพจน์ตรัสว่า "น่าอัศจรรย์หนอ ! สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไฉนจึงบริบูรณ์ด้วยฌานปัญญาแห่งพระตถาคต เต็มเปี่ยมอยู่แล้วในตัวของเขาเอง"

        นิกายนี้ ต่างจากนิกายเทียนไท้ตรงที่ นิกายเทียนไท้สอนว่า "ภูมิอยู่พร้อมในเอกจิตนี้" แต่นิกายนี้สอนว่า "เอกจิตเป็นแหล่งเกิดแห่งปรากฏการณ์ทั้งหลายต่างหาก" และไม่ยอมรับทฤษฎีเรื่องพระพุทธเจ้าไม่มีอกุศลสภาวะในหทัย ตลอดจนถึงเรื่องอนุปาทินนกสังขารก็จักบรรลุพุทธภูมในอนาคต(คติมหายานบางนิกายถือว่า ของไม่มีวิญญาณ เมื่อนานไปก็อาจบรรลุพุทธภูมิได้) คณาจารย์เช็งเลี้ยง แห่งนิกายนี้กล่าวว่า "ไต๋ไจ่จิงก่าย, ม้วยฮวบจือลี่"แปละว่า "มหึมาจริงหนอ ! สัตยธาตุนี้ เป็นสมุฏฐานแห่งสิ่งทั้งปวง"

ฮวบก่ายซัมกวง (ธรรมธาตุตีรวิปัสสนา)

        นิกายอวตังสกได้แสดงข้อปฏิบัติไว้ว่า

        1 จิงคงกวง เพ่งสภาวะภูตตถตาอันเป็นสัตยธาตุ เห็ปรากฏการณ์แห่งสิ่งทั้งหลายย่อมเป็นมายา และสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นการณธาตุแท้คือภูตตถตานั่นเอง

        2 ลี้ซื่อม่อง้ายกวง เพ่งถึงสภาวะความจริงที่ว่า สิ่งทั้งหลายย่อมไม่ขัดขวางแก่กัน แม้ในปรมาณูหนึ่ง ก็มีภูตตถตาซึ่งย่อมแผ่ครอบงำสิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง การณะกับการิยะย่อมไม่ห่างจากกัน อุปมาการณะด้วยน้ำในมหาสมุทร การิยะเหมือนคลื่นในมหาสมุทร การิยะซึ่งมีประการต่างๆเราเพียงรู้แจ้งในการิยะประการเดียว ก็ย่อมแทงทะลุถึงการณะทั้งหมด เหมือนเราเห็นคลื่นน้ำลูกเดียว ในคลื่นลูกเดี่ยวนั้นก็ครอบงำเอาน้ำในมหาสมุทรไว้ เพราะคลื่นลูกนั้นแท้ก็คือธาตุน้ำในมหาสมุทรนั่นเอง มหาสมุทรจึงอยู่ในคลื่นลูกเดียวได้ คลื่นลูกเดียวเล่าก็อยู่ในมหาสมุทรนั้น

        3 จิวปิ๋วฮั่มย่งกวง เพ่งเห็นสภาวธรรมทั้งหลายว่ากลมกลืนกัน แผ่ซ่านทั่วไปอย่างไม่มีขอบเขต ว่าโดยการิยะหรือลักษณะก็มีแตกต่างกัน แต่ก็ว่าโดยการณะแล้วก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เห็นแจ้งว่าการิยะก็ไม่อื่นจากการณะ นี้เป็นเอกสัตยธาตุ ด้วยประการฉะนี้

 

นิกายในจีน เจ่งโท้วจง

 

4 นิกายสุขาวดี (เจ่งโท้วจง)

ประวัตินิกาย

        พระพุทธองค์ได้เทศนาเรื่องราวของสุขาวดีในพระสูตรที่มีชื่อเสียง 3 พระสูตรด้วยกัน คือ มหาสุขาวดีวยูหสูตร อมิตายุรธยานสูตร และจุลสุขาวดีวยูหะหรืออมิตายุสูตร ทั้ง 3 สูตรนี้พระพุทธองค์ได้ตรัสบรรยายถึงโลกธาตุอันบริสุทธิ์ที่มีนามว่าสุขาวดีอันน่ารื่นรมย์สำราญ มีพระพุทธเจ้าอมิตาภะประทับอยู่แสดงธรรมบรรยายพร้อมด้วยหมู่พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์และพระสาวกอีกเหลือคณานับ

        ผู้เป็นปฐมาจารย์ของนิกายนี้คือ "คณาจารย์ฮุ่ยเอี้ยง" มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์จิ้น สำนักวัดตังนิ่มยี่บนภูเขาลู้ซัว มณฑลกังไส บนภูเขาขุดสระใหญ่ ปลูกดอกบัวขาวเต็มสระ คณาจารย์ฮุ่ยเอี้ยงพร้อมทั้งสาวกหลายพันคนนั่งสวดมนต์หน้าสระนี้ โดยสมมุติว่า สระนี้เป็นสระทิพย์ในแดนสุขาวดี ซึ่งท่านตั้งจิตปรารถนาจะไปเกิด นิกายที่ท่านตั้งขึ้นในชั้นแรก ได้อาศัยข้อความในพระสูตรชื่อ "พุทธธฺยานสาครสูตร"(กวงฮุกซาหมวยไฮจิง) คือเพ่งจิตถึงพระอมิตาภะพุทธเจ้าเป็นอารมณ์

        ต่อมาในสมัยราชวงศ์ถัง คณาจารย์ชานเตา จึงได้วางระเบียบแบบแผนของนิกายและถือเอาพระสูตรอีก 3 สูตรเป็นหัวใจคือ

        1 มหาสุขาวดีวยูหสูตร (ไต้ออนีถ่อฮุกเก็ง)

        2 จุลสุขาวดีวยูหสูตร (ออนีถ่อเก็ง)

        3 อมิตายุรธฺยานสูตร (กวงบ่อเหลียงซิ่วเก็ง)

        ในพุทธศตวรรษที่ 25 นี้ คณาจารย์องค์สุดท้ายแห่งนิกายสุขาวดีของจีนชื่อ "คณาจารย์อินกวง"ได้มรณภาพแล้วประมาณ 10 ปีเศษ ท่านอินกวงเป็นนักเขียนและนักแต่งอรรถกถาที่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน ผลงานของท่านมีอยู่เป็นจำนวนมาก ได้พิมพ์เผยแพร่ออกมาให้ศึกษาเป็นชุดๆบางชุดก็มีไม่น้อยกว่า 100 เล่มขึ้นไป

คัมภีร์สำคัญ

        1 มหาสุขาวดีวยูหสูตร หรือมหาอมิตายุสูตร ท่านสังฆวรมันกับท่านคังเจ็งได้แปล

        2 อมิตายุรธฺยานสูตร ท่าน กาลยสแปล

        3 จุลสุขาวดีวยูหสูตร หรือ อมิตายุสูตร ท่านกุมารชีพแปลสำนวนไพเราะยิ่งนัก ทำให้ท่านผู้อ่านเกิดภาพพจน์ในจิตขึ้น

        4 อมิตายุสูตรอุปเทศ (บ่อเหลี่ยงสิ่วเก็งอิวพอทีเซีย) ของพระวสุพันธุ ท่านโพธิรุจิแปล

        นอกนั้นก็มีอรรถกถา และหนังสืออธิบายเกี่ยวกับพระสูตรทั้ง 3 กับนิพนธ์ของคณาจารย์จีนและญี่ปุ่นอีกจำนวนมากมายก่ายกองทีเดียว

หลักธรรม

        นิกายสุขาวดีจัดเป็นประเภท "พึ่งอำนาจภายนอก" เพราะนิกายนี้ถือความภักดีเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระอมิตาภะเป็นสำคัญ ความศรัทธาและการภาวนาถึงองค์พระอมิตาภะเสมอแม้ครั้งเดียวก็อาจพาตนให้หลุดพ้นจากสังสารทุกข์ได้ ทั้งนี้เพราะพระอมิตาภะ เดิมเมื่อยังเป็นภิกษุธรรมกร ได้มีมโนปณิธาน 48 ประการ ว่าหากได้บรรลุโพธิญาณแล้วก็ขอให้โลกธาตุที่อยู่นั้น เต็มไปด้วยความวิจิตรประณึตแล้วด้วยทิพยภาวะ ผู้ใดมาเกิดในพุทธเกษตรนี้ ก็ขออย่าได้มีการเวียนลงเบื้องต่ำอีก เที่ยงต่อการบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

        ฉะนั้น ผู้ปรารถนาจะไปอุบัติในสุขาวดีนั้น พึงบำเพ็ยกุศล 3 ประการคือ

        1 ต้องมีกตัญญูกตเวที ปรนนิบัติบิดามารดา ครูบาอาจารย์ แลรักษากุศลกรรมบถ 10 มีเมตตากรุณา

        2 ต้องถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ สมบูรณ์ในศีลสิกขาและอภสมาจาร

        3 ต้องมีโพธิจิต เชื่อในกฎแห่งกรรม และศึกษาเล่าบ่นคัมภีร์มหายาน

        ในคัมภีร์อมิตายุอุปเทศศาสตร์ อาจารย์วสุพันธุได้สรุปจริยาวัตร 5 ข้อ สำหรับผู้บำเพ็ญ อยากไปเกิดในสุขาวดีดังนี้

        1 บูชาพระอมิตาภะเป็นนิตย์ จัดเป็นทางกายกรรม

        2 สรรเสริญพระอมิตาภพุทธคุณ สาธยายพระนามของพระองค์เช่น สวดว่า "นโม อมิตาภะ" จัดเป็นวจีกรรม

        3 ตั้งปณิธานไปปฏิสนธิในพุทธเกษตรนั้น

        4 จิตตรึกนึกเพ่งภาวนาถึงพระอมิตาภะ และคุณาลังการต่างๆของพระองค์ กับหมู่พระโพธิสัตว์และสิ่งต่างๆในสุขาวดี จัดเป็นมโนกรรม

        5 แผ่กรุณาจิตต่อสรรพสัตว์ ปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายพ้นสังสารทุกข์และโปรดสรรพสัตว์

        คณาจารย์ชานเตาได้สรุปหัวใจของนิกายสุขาวดีเป็น 3 ข้อคือ

        1 สิ่ง แปลว่าศรัทธา คือ ต้องมีศรัทธาปสาทะในพระอมิตาภะอย่างดื่มด่ำ อย่าได้มีความวิจิกิจฉาคลางแคลงใดๆ

        2 ง๋วง แปลว่าตั้งปณิธานอธิษฐานเพื่อไปเกิดในสุขาวดีอย่างแน่วแน่

        3 เหง แปลว่าลงมือปฏิบัติ กุศลกรรมที่จะเป็นเหตุให้ได้ไปอุบัติด้วยกาย วาจา ใจ เช่น การท่องบ่นพระนามของพระอมิตาภะเสมอไม่ขาดว่า "มโม อมิตาภายะ พุทธายะ" หรือจีนว่า "นำโม ออ นี ถ่อ ฮุก" ข้อภาวนานี้จะต้องท่องบ่นวันละหลายๆหน ยิ่งมากยิ่งดี วิธีภาวนามีการนับลูกประคำ หนึ่งเม็ดต่อการภาวนาหนึ่งบท เมื่อเปรียบกับคติธรรมในฝ่ายเถรวาทแล้ว ข้อปฏิบัติในนิกายสุขาวดี เป็นการเจริญสมถภาวนา แบบหนึ่ง คือการทำให้จิตสงบ

        นิกายสุขาวดี จึงเป็นนิกายสำหรับสามัญชนง่ายๆทั่วไป  ไม่มีหลักอภิปรัชญาที่ต้องคิดมาก มีแต่ทางภักดี อันที่จริง คือความภักดีต่อพระอมิตาภะพุทธเจ้าอย่างแท้จริง พุทธศาสนานั้น ทางพ้นทุกข์ต้องพ้นโดยญาณมรรค ไม่ใช่ทางภักดีมรรค คณาจารย์ผู้สร้างแนวคิดนี้ก็คงรู้หลักการของพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน แนวปฏิบัติทุกประการเป็นเพียงอุบายวิธีการปฏิบัติเช่นนี้ก็มิได้ผิดพลาดอันใด ศรัทธาและภักดี เป็นบ่อเกิดของความมุ่งมั่นในการกระทำตามให้เหมือน ศัทธาและภักดีในพุทธศานาต่างการการศรัทธาและภักดีของฮินดูหรือศาสนาอื่น ศรัทธาและภักดีในพุทธศาสนาคือคิดถึง ระลึก และทำตามในทุกลมหายใจ ท่านทำได้เหมือนพระอมิตาภะพุทธเจ้าหรือไม่ ถ้าทำได้เหมือนมีหรือที่จะไม่เป็นเช่นดังองค์พระอมิตาภะพุทธเจ้า

 

นิกายในจีน ซาหลุ่งจง

 

5 นิกายตรีศาสตร์ (ซาหลุ่งจง)

ประวัตินิกาย

        นิกายนี้อาศัยศาสตร์ 3 ศาสตร์ คือ มาธยมิกศาสตร์ ศตศาสตร์ และทวาทศนิกายศาสตร์ รวมกันเป็นชื่อนิกาย

        ท่านคุรุนาคารชุน เป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายนี้ (บ้างก็ว่าพระมัญชุศรีโพธิสัตว์) ท่านเป็นผู้ตั้งทฤษฎีศูนยตวาทิน อรรถธิบายหลักปัจจยาการและอนัตตาของพระพุทธเจ้าโดยวิธีใหม่ คัมภีร์ที่ท่านรจนามีมาก แต่ที่มีชื่อเสียงมากคือมาธยมิกศาสตร์และมหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์

        มาธยมิกศาสตร์นอกจากประกาศแนวทฤษฎีศูนยตาแล้ว ยังได้วิพากย์นานามติของประดานิกายในพระพุทธศาสนา และมติของปรัชญาฮินดู อรรถกถาของศาสตร์นี้ มีผู้แต่งกันไว้มาก ฉบับที่แปลสู่พากย์จีนมี 2 ฉบับ ซึ่งเป็นของท่านนีลเนตรและท่านภาววิเวก

        ส่วนคัมภีร์ศตศาสตร์นั้น เป็นของท่านอารยเทวะ เป็นหนังสือวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาฮินดู ทั้งเวทานตะ สาขยา ไวเศษิกะ นยายะ โยคะ อย่างรุนแรง เผยให้เห็นความเลิศเด่นของพุทธธรรม

        คัมภีร์ที่ 3 นั้น เป็นของท่านคุรุนาคารชุน จัดเป็นหนังสือเบื้องต้นสำหรับศึกษาปรัชญาศูนยตวาทิน เนื่องด้วยคุรุนาคารชุนได้ยกและกอบกุ้ฐานะของพระพุทธศาสนาให้รุ่งโรจน์ ประกอบทั้งความเป็นบรมปราชญ์อันปราดเปรื่องของท่าน พุทธศาสนิกชนมหายานทุกๆนิกายย่อมยกย่องท่านไว้ในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ

        ปรัชญาศูนยตวาทินได้แผ่เข้าไปในประเทศจีน โดยท่านกุมารชีพ กล่าวว่าท่านกุมารชีพเป็นศิษย์ร่ำเรียนปรัชญานี้กับเจ้าชายสูรยโสมะแห่งยารกานด์ ผู้ซึ่งได้ศึกษาถ่ายทอดจากท่านนีลเนตรศิษย์ของท่านราหุละและท่านราหุละได้ศึกษาโดยตรงจากท่านอารยเทวะที่เดียว ท่านกุมารชีพแปลปกรณ์ทั้ง 3 ที่นครเชียงอาน และบรรดาสานุศิษย์รูปเอกๆของท่านกุมารชีพหลายรูป ได้เทศนาสั่งสอนปรัชญานี้ให้แพร่หลาย ตกถึงแผ่นดินซุ้ย มีคันถรจนาจารย์ท่านหนึ่งชื่อกิกจั๋ง ได้แต่งอรรถกถาศาสตร์ทั้ง 3 เป็นภาษาจีน ทำให้นิกายนี้เจริญถึงขั้นสูงสุด

        ครั้นเข้ายุคราชวงศ์ถัง เมื่อท่านติปิฎกธราจารย์ (เฮี่ยงจัง)ประกาศปรัชญาวิชญาณวาทินอยู่ เลยทำให้รัศมีฝ่ายศูนยตวาทินอับแสงลงตราบเท่าทุกวันนี้

คัมภีร์สำคัญ

        1 มาธยมิกศาสตร์ (ตงหลุง) ของคุรุนาคารชุน

        2 ทวาทศนิกายศาสตร์ (จับยี่มึ้งหลุง) ของคุรุนาคารชุน

        3 ศตศาสตร์ (แปะหลุง) ของพระอารยเทวะ

        4 มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ (ไต้ตี้โต่วหลุง) ของคุรุนาคารชุน

        5 กรตลรัตนศาสตร์ (เจียงเตียงหลุง) ของภาววิเวก

        6 อรรถกถาแห่งศาสตร์ทั้ง 3 ของคันถรจนาจารย์กิกจั๋ง

        7 พระสูตรในหมวดปรัชญาปารมิตา มีมหาปรัชญาปารมิตาสูตรเป็นต้น

หลักธรรม

        คณาจารย์มาธยมิกองค์หนึ่งชื่อปรัชญาประภาแห่งมหาวิทยาลัยนาลันทาได้จัดระเบียบแบ่งกาลแห่งพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ออกเป็น 3 กาลคือ

        1 ยุคต้น พระพุทธองค์ทรงเทศนาพระธรรมฝ่ายสาวกยาน แสดงถึงความมีอยู่แห่งนามธาตุและรูปธาตุ ทรงแสดงแก่ผู้ที่มีอินทรีย์อ่อน

        2 ยุคกลาง พระพุทธองค์เทศนาพระธรรมฝ่ายมหายานมีหลักธรรมฝ่ายโยคาจารหรือวิชญาณวาทินเป็นต้น แสดงถึงความมีอยู่แห่งนามธาตุ แต่ปฏิเสธต่อความดำรงแห่งวิสัย สำหรับพวกที่มีอินทรีย์ปานกลาง

        3 ยุคสุดท้าย พระพุทธองค์เทศนาพระธรรมฝ่ายมาธยมิก แสดงถึงความสูญแห่งนามธาตุและปวงวิสัย สำหรับพวกที่มีอินทรีย์สูง

        คุรุนาคารชุนได้ประกาศทฤษฎี "ศูนยตวาทิน" ด้วยอาศัยหลักปัจจยาการและอนัตตาของพระพุทธองค์เป็นปทัฏฐาน ท่านกล่าวว่สังขตธรรม อสังขตธรรมมีสภาพเท่ากันคือสูญ ไม่มีอะไรทีมีอยู่เป็นอยู่ด้วยตัวของมันเองได้อย่างปราศจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง แม้กระทั่งพระนิรวาณ เพราะฉะนั้นอย่าว่าแต่สังขตธรรมเป็นมายาไร้แก่นสารเลย พระนิรวาณก็เป็นมายาด้วย สิ่งที่คุรุนาคารชุนคัดค้านปฏิเสธก็คือ "สิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง" ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอยู่โดยสมมติ หรือปรมัตถ์ สิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเองอยู่นั้น กินความหมายกว้างรวมทั้งอาตมันหรืออัตตาอยู่ด้วย แต่เรื่องอาตมันนั้น ทุกนิกายในพุทธศาสนา ก็ปฏิเสธอย่างเด็ดขาดอยู่แล้ว แต่ตามทัศนะของคุรุนาคารชุน ท่านคณาจารย์เหล่านั้นถึงแม้ปฏิเสธความมีอยู่ด้วยตัวมันเองเพียงแต่อาตมันเท่านั้น แท้จริงยังไม่เกิดอุปทานยึดสิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวมันเองในขันธ์ธาตุอายตนะพระนิรวาณมีอยู่ด้วยตัวของตัวเองอีก เห็นว่ามีกิเลสที่จะต้องละและมีพระนิรวาณที่จะบรรลุ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

        คุรุนาคารชุนกล่าวว่า สิ่งที่เราเข้าใจว่ามันเป็นจุดสิ่งสุดท้ายที่มีอยู่ได้ด้วยตัวมันเองนั้น แท้จริงก็เกิดจากปัจจัยอื่นอีกมากหลายปรุงแต่งขึ้น เมื่อสิ่งทั้งหลายไม่มีภาวะอันใดแน่นอนของตัวเองเช่นนี้ สิ่งเหล่านั้นก็เป็นจุดมายา สิ่งใดเป็นมายาสิ่งนั้นก็ไร้ความจริง จึงจัดว่าสูญ คุรุนาคารชุนอธิบายว่า สิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง ย่อมบ่งถึงอิสระไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น จะเปลี่ยนแปลงมิได้ ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นก็เป็นการขัดต่อกฎปัจจยาการของพระพุทธศาสนา เพราะตามกฎแห่งเหตุปัจจัย สิ่งทั้งปวงย่อมต่างอาศัยเหตุปัจจัยจึงมีขึ้น มิได้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นอยู่โดยโดดเดี่ยว ดังนั้นก้าถือว่ามีสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวมันเองโดยโดดเดี่ยว เช่นนี้ย่อมจัดเข้าไปเป็นฝ่ายสัสสตทิฏฐิ อนึ่ง ถ้ามีความเห็นว่าทั้งปวงขาดสูญ ปฏิเสธต่อบาปบุญคุณโทษเล่าก็เป็นอุจเฉททิฏฐิ หลักธรรมฝ่ายศูนยตวาทินจึงไม่เป็นทั้งฝ่ายสัสสตทิฏฐิ ก็เพราะแสดงถึงแก่นความจริงว่า สรฺวมฺ ศูนฺยมฺ ด้วยความที่ไร้ภาวะที่โดดเดี่ยวโดยตัวมันเอง และไม่เป็นทั้งอุจเฉททิฏฐิหรือนัตถิกทิฏฐิ ก็เพราะแสดงว่า สิ่งทั้งปวงอาศัยเหตุปัจจัยดุจมายามีอยู่โดยสมมติบัญญัติด้วยประการฉะนี้

        ในคัมภีร์มาธยมิกศาสตร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญที่สุดในบรรดาปกรณ์ต่างๆของฝ่ายมาธยมิกนั้น เริ่มต้นคัมภีร์ด้วยบาทคาถาว่า

        อนุตปาทะ ไม่มีความอุบัติ, อนิโรธะ ไม่มีความดับ, อศาศฺวตะ ไม่มีความเที่ยง, อนุจเฉทะ ไม่มีความขาดสูญ, อเนการณะ ไม่มีอรรถแต่อย่างเดียว, อนานารถะ ไม่มีอรรถนานาประการ, อนาคมะ ไม่มีการเข้ามา, อนิรคมะ ไม่มีการออกไป ผู้ที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นเหตุปัจจัย ดับเสียได้ซึ่งปปัญจมายาธรรมทั้งปวง ข้าพเจ้า ขออภิวันทนาการแต่พระพุทธองค์ผู้เป็นเอกในบรรดาวาทะทั้งหลาย" บาทคาถานี้ เป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาฝ่ายมาธยมิก การที่คุรุนาคารชุนตั้งทฤษฎีเชิงปฏิเสธเช่นนี้ เพื่อทำลายทั้งกามุปาทานทั้งที่หยาบและละเอียด คือ  ทำลายทั้งกามุปาทานและทิฏฐุปาทาน สำแดงลักษณะแท้จริงว่าสิ่งทั้งปวงมีความสูญเป็นลักษณะ คุรุนาคารชุนปฏิเสธความเป็นอยู่มีอยู่ในตัวมันเองของสภาวธรรมทั้งหลายด้วยวิธีปฏิเสธความเกิด คือ อนุตปาทะก่อนเพราะเมื่อความเกิดไม่มีแล้ว ความ ฯลฯ ก็พลอยหมดความหมายไปด้วย การปฏิเสธความเกิดจึงเท่ากับการปฏิเสธสิ่งที่มีอยู่โดยตัวของมันเอง คุรุนาคารชุนจึงได้ให้คำสรุปว่า "ธรรมทั้งหลายไม่อุบัติขึ้นเอง ไม่อุบัติจาสิ่งอื่น ทั้งไม่อุบัติขึ้นเองด้วยไม่อุบัติจากสิ่งอื่นด้วยรวมกัน และไม่ใช่ว่าปราศจากเหตุ เพราะฉะนั้นจึงรู้ว่าไม่มาการอุบัติขึ้นเลย" ดังนี้

        มาธยมิกศาสตร์ เป็นข้อเขียนที่บรรยายหลักธรรมในเชิงง่าย โดยตั้งหลังไว้เป็น 2 ประการคือ

        1 ปรมัตถสัจจะ คือความจริงแท้หรือสาระแท้

        2 สมมติสัจจะ คือความจริงที่ปรากฏอยู่หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่

        โดยอธิบายว่า การวิเคราะห์สรรพธรรมของเถรวาท ไม่เป็นปรมัตถสัจจะ แต่เป็นผลแห่งการสังเกตของปรมัตถสัจจะ ตามทัศนะภูตตถตาในแง่ปัญญาอันจะได้ผลจากการสังเกตของปรมัถสัจจะจึงเป็นสาระที่แท้จริงหรือความจริงที่แท้

        ท่านคุรุนาคารชุนหักล้างการพิจารณาโลกโดยยึดเอาการเกิดกับการดับ ความเป็นนิจจังกับความเป็นอนิจจังเป็นของตายตัวมาเป็นมโนคติ ท่านถือว่าโลที่แท้จริง ได้แก่การพินิจด้วยการไม่เกิดดับ ความไม่นิจจังกับความไม่อนิจจัง ความไม่เป็นเอกอรรถกับความไม่เป็นนานาอรรถ ความไม่มีการไปกับความไม่มีการมาซึ่งรวมเป็น "8" ไม่ คือการปฏิเสธสมมติสัจจะ โดยสิ้นเชิง

        รวมความของมาธยมิกศาสตร์ ได้แก่การโจมตีนิกายเถรวาท ที่นำเอาโลกอันเป็นความเคลื่อนไหวของปัจจยาการมาวิเคราะห์ในหลายๆด้านแล้วถือว่าเป็นสาระที่ตายตัว หรือรูปแบบความสัมพันธ์ที่ตายตัว เพราะเป็นแนวคิดที่ขัดกันเอง อนที่จริง นามอันมีต่อทางโลกทั้งหลาย เกิดจากอวิชชา ตัณหาราคะเป็นปัจจยาการและอวิชชา ตัณหา ราคะ นี้เป็นสิ่งที่ไม่มี แต่ไปยึดถือว่ามี ฉะนั้น ทุกสิ่งจึงเป็นความสูญ และความสูญนั้น เป็นอาเวคภาพ คือภาวะที่แสดงออกมาโดยตรงจากสัญชาตญาณ

        ความคิดของท่านไม่ได้หยุดอยู่ที่ความสูญ เมื่อได้เพ่งเห็นเป็นความสูญแล้ว จะต้องกลับมาสู่สมมตินามอันเป็น "ความมีอยู่ที่ชอบ" ซึ่งศาสตร์นี้ได้มีคาถาอยู่บทหนึ่งว่า "ธรรมอันเกิดจากเหตุปัจจัย เราว่าเป็นของสูญ และเป็นสมมตินาม เป็นมาธยมิกอรรถ"

        โดยสรุป มูลฐานของฝ่ายปัญญา หรืออีกนัยหนึ่งคือฝ่ายสูญไม่มีอะไรมากนักที่สำคัญจะต้อง "มุ่งเพ่งเห็นความเป็นสูญของสาระแท้แห่งสรรพธรรม ฝึกให้เกิดพลังแห่งชีวิตให้เป็นอิสระและปราศจากความขัดข้อง ไม่ถูกกักอยู่ในขอบเขตใดๆ

        ปัญญาหรือความสูญ ความจริงก็คือสิ่งเดียวกัน เพียงแต่การรู้เห็นในข้อเท็จจริงใดๆโดยแง่จิตวิสัย เรียกว่าปัญญา และถ้าโดยแง่วัตถุวิสัย เรียกว่าความสูญ การเข้าถึงความสูญด้วยปัญญานี้ ไม่ใช่เป็นการเข้าถึงความสูญที่ดับสิ้น แต่เป็นการเพ่งที่ชอบ โดยไม่มีอะไรจะเป็นที่ได้มา ไม่ถูกกักอยู่ในการยึดถือว่ามีตัวเราของเรา ได้ความเป็นอิสระอย่างยิ่ง ปราศจากความขัดข้องในทางจิตใจ และไม่ใช่นำเอาโลกอันเป็นข้อเท็จจริง มาย่อยเข้ากับอุดมการด้วยการฝึนทำ แต่ได้กำจัดความยึดมั่นในตัวตนแล้วบรรลุถึงความสูญและอย่างน้อยในด้านจิตใจก็ต้องเข้าถึงความไม่มีอะไรจะเสียใจน้อยใจ มีแต่ความแจ่มใสกว้างขวาง และจากมูลฐานนี้ จะต้องเห็นโลกที่เป็นอยู่นี้ เปลี่ยนเป็นโลกที่สดชืนน่าอยู่

        สูตรฝ่ายปัญญายกย่องพลังแห่งความสูญไว้มาก แต่ความจริงก็คือ ด้วยค่าของชีวิตได้ถูกเปลี่ยนไปจากมูลฐานเดิม กลับมาตั้งตนให้อยู่เหนือความทุกข์สุข ความยากดีมีจน ความเป็นบาปบุญคุณโทษและความหลงความไม่หลง จึงมีความเป็นอยู่ในทำนองแล้วแต่จะเป็นไป ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด ย่อมมีความสบายใจความสงบอยู่ตลอดเวลา การเข้าถึงความสูญของฝ่ายปัญญาเป็นการบุกเบิกโลกใหม่อันเป็นอิสระและโลกใหม่นี้ก็ยังมี "ความมีอยู่" ซึ่งเป็นความมีอยู่ที่ชอบ

        แนวคิดสูญแท้กับความมีอยู่ที่ชอบ เป็นหลักของมหายานทั้งหลาย จะต่างกันก็เพียงแต่จะเน้นหนักการปฏิบัติไปทางใด คือความสูญแท้ กับความมีอยู่ที่ชอบเท่านั้น

       อย่างไรก็ดี แม้ปรัชญาของมาธยมิกจะเป็นหลักศูนยตาเช่นนี้ และศูนยตาตามทัศนะของมาธยมิก มิใช่ชนิดที่ทอนสิ่งหยาบไปหาสิ่งย่อมๆ เช่นทอนจากอาตมันเป็นขันธ์ 5 ทอนจากขันธ์ 5 เป็นธาตุ ทอนจากธาตุเป็น ฯลฯ เช่นนิกายอื่นๆ ศูนยตาของมาธยมิกหมายถึงความเป็นมายาทั้งสังขตะ ไม่มีอะไรที่จะเป็นตัวยืนให้สมมติบัญญัติเลย แต่เมื่อปรัชญามาธยมิกแพร่เข้าสู่ประเทศจีน คณาจารย์จีนซึ่งมีความนิยมในภูตตถตาวาทิน ตลอดจนเก่งกาจในทางสมานความคิดระหว่างศูนยตวาทินกันอัสติวาทิน ก็แปลความหมายของคุรุนาคารชุนเสียว่า ที่มาธยมิกกล่าวว่า ทุกสิ่งเป็นศูนยตานั้น ก็เพื่อจะให้เรารู้จักสภาวะที่ไม่สูญ คือภูตตถตาอันอยู่นอกเหนือสมมติบัญญัติ และเพื่อให้เราละยึดถือ เพื่อให้บรรลุถึงที่มิรู้แตกดับหักสูญต่างหาก ซึ่งคล้ายกับมติของพระอาจารย์บางท่านในประเทศไทยว่า พระพุทธองค์สอนอนัตตาก็เพื่อให้เราค้นพบอัตตาแท้จริง ซึ่งกลายเป็นตกสู่ความเป็นคู่คืออัตถิตานัตถิตาไป พระนิรวาณถ้ากล่าวตามคลองบัญญัติแล้ว ฝ่ายมาธยมิกว่าพ้นจากภาวะและอภาวะ นั่นแหละคือพระนิรวาณ

 

นิกายในจีน ฮวบเซี่ยงจง

 

6 นิกายธรรมลักษณะ (ฮวบเซี่ยงจง)

ประวัติ

       นิกายธรรมลักษณะ หมายถึงปรัชญาโยคาจาร หรือวิชญาณวาทิน นั่นเอง ดังนั้นต่อไปอาจจะเรียกชื่อทั้ง 2 นี้คือโยคาจารและวิชญาณวาทินแทนคำว่าธรรมลักษณะเพราะสะดวกในการใช้และเข้าใจกัน ปรัชญาโยคาจารกล่าวได้ว่า มีคุณลักษณะทั้งทางหลักธรรมคำสอนกับการปฏิบัติใกล้เคียงกับพระพุทธศาสนาฝ่าสาวกยานที่สุด จัดได้ว่าเป็นปรัชญาฝ่ายอภิธรรมของมหายานเลยทีเดียว การสำเร็จแห่งปรัชญาโยคาจารได้รับอิทธิพลจากหลักธรรมในนิกายเถรวาท มหาสังฆิกะ สรวาสติวาทิน และเสาตฺรนฺติกะ รวมกันปรุงขึ้นเป็นปรัชญาโยคาจาร

       ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 9 โยคาจารได้ถูกประกาศให้แพร่หลาย โดยท่านอสังคะ ซึ่งกล่าวกันว่า ท่านได้รับการอรรถาธิบายจากพระศรีอารยเมตไตย ณ กรุงอโยธยาในอินเดียภาคกลาง พระศรีอารยเมตไตยนี้ คือพระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตนั่นเอง

       ต่อมาท่านอสังคะได้นิพนธ์คัมภีร์อารยวาจาปกรณศาสตร์และมหายานสัมปริครหศาสตร์เผยแผ่ปรัชญาสายนี้ อย่างไรก็ดี ปรัชญาโยคาจารได้เจริญรุ่งโรจน์ขึ้นก็ด้วยอาศัยท่านวสุพันธุผู้ซึ่งเป็นน้องชายของท่านอสังคะ วสุพันธุเดิมเลือมใสในนิกายสรวาสติวาทินและเสาตรานติกะ ได้เขียนปกรณ์วิเศษทางอภิธรรมฝ่ายสาวกยานไว้มากกล่าวกันว่ามีจำนวนถึง 500 ปกรณ์ ต่อมาได้รับคำสอนจากพี่ชายจนเกิดความเลื่อมใสในมหายานขึ้น วสุพันธุ จึงได้แต่งคัมภีร์ประกาศปรัชญาโยคาจารเป็นอันมากเล่มที่สำคัญที่สุดก็คือ วิชญาณปติมาตราตรีทศศาสตร์

       หลังจากนั้นมา ก็มีอาจารย์อีกเป็นอันมากที่ส่งเสริมปรัชญาโยคาจารมีมหาวิทยาลัยนาลันทาเป็นที่ประกาศลัทธิ คณาจารย์องค์สำคัญๆ เช่น ทินนาคศิษย์ของวสุพันธุ ผู้แต่งคัมภีร์ประมาณสมุจจัย, คุณมติ ,สถิรมติ, ธรรมปาละ, นันทะ, สุทธิจันทร,พันธุศิริ, ชินตราต, วิชัยมิตร, ชินบุตร, ญาณจันทร, ศีลภัทระ, ชัยเสน, ธรรมกีรติ, ศานติเทวะ เป็นต้น คณาจารย์เหล่านี้ มีทั้งภิกษุและฆราวาส คณาจารย์ภิกษุองค์ที่มีบทบาทสำคัญคือ ธรรมปาละ อธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยนาลันทา และศีลภัทระผู้เป็นศิษย์

       ปรัชญาโยคาจาร เผยแพร่เข้าสู่ประเทศจีน โดยโพธิรุจิและปรมัตถะ ต่อมาในยุคหลังราวพุทธศตวรรษที่ 11 เมื่อติปิฎกธราจารย์(เฮี่ยงจัง)จาริกไปอินเดีย ท่านได้พำนักศึกษาปรัชญาโยคาจารกับท่านศีลภัทระ ณ มหาวิทยาลัย นาลันทา  และได้กลับมาแปลปรกรณ์วิเศษต่างๆของนิกายนี้ออกสู่พากย์จีน และได้รวบรวมบรรดาอรรถกถาแห่งวิชญาณปติมาตราตรีทศศาสตร์ของคณาจารย์ทั้ง 10 สรุปเข้าเป็นเล่มเดียว ให้ชื่อว่าวิชญาณปติมาตราสิทธิตรีทศศาสตร์ (เซ้งยุ่ยเซกหลุง)  อัครสาวกของท่านกุยกี ได้เขียนฎีกาแก้คัมภีร์นี้ เป็นฎีกาที่มีชื่อเสียงที่สุด ซึ่งทำให้นิกายโยคาจารรุ่งโรจน์ขึ้นในยุคนั้น ฎีกาปกรณ์เล่มนี้มีคณาจารย์จีนอีกหลายองค์แต่งกันหลายฉบับ ที่มีชื่อเสียงเช่นฉบับของคณาจารย์อี้เชก,คณาจารณ์โพวกวง และคณาจารย์ลิบหวม เป็นต้น

       เมื่อพ้นสมัยราชวงศ์ถังไปแล้ว ปรัชญาโยคาจารก็เสื่อม คัมภีร์อรรถกถาฎีกาต่างๆหายสาบสูญหมด มาเมื่อศตวรรษที่ 25 นี้ องค์การพระพุทธศาสนาของจีนต้องกลับไปคัดลอดปกรณ์วิเศษต่างๆของโยคาจารจากประเทศญี่ปุ่นแล้วตีพิมพ์แพร่หลาย

คัมภีร์สำคัญ

       ฝ่ายโยคาจารถือว่า มีพระสูตรอยู่ 6 สูตร ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเทศนาถึงหลักธรรมโยคาจารไว้ และมีศาสตร์อีก 11 ปกรณ์ เป็นหลักของนิกายคือ

       1 อวตังสกสูตร (ฮั่วเงี้ยมเก็ง) มีฉบับแปลถึง 3 ฉบับของ พุทธภัทร ศึกษานันทะ และปรัชญา

       2 สันธินิรโนจนวยูหสูตร (เกยซิมมิกเก็ง) พระติปิฎกธราจารย์(เฮี่ยงจัง)แปลเป็นฉบับที่ถูกต้อง นอกนั้นมีของโพธิรุจิ, ปรมัตถ และ คุณภัทระ

       3 คถาคตวิสภาวคุณสูตร (ยู่ไล้ชุกฮิ่งกงเต็กเก็ง)

       4 อภิธรรมสูตร (อาพีตับม้อเก็ง)

       5 ลังกาวตารสูตร (เล่งแคเก็ง) มีแปล 3 ฉบับของคุณภัทระ, โพธิรุจิ และศึกษานันทะ

       6 ฆนวยูหสูตร (เก่าเงียมเก็ง) ทิวากรแปล

       7 โยคาจารภูมิศาสตร์ (ยู่แคซือตี้หลุง) ของพระอารยเมตไตย พระเฮี่ยงจังแปล

       8 มัธยานตวิภังคศาสตร์ (เปื้ยงตรงเปี้ยงหลุง)  ของพระอารยเมตไตย พระเฮี่ยงจังแปล

       9 อารยวาจาปกรณศาสตร์ (เฮียงเอี๋ยงเซียก้าหลุง) ของพระอสังคะ พระเฮี่ยงจังแปล

       10 มหายานสัมปริครหศาสตร์ เนียบไต้เส่งหลุง) ของพระอสังคะ พระเฮี่ยงจังแปล ยังมีแปลอีก 2 ฉบับ ของประมัตถะและพุทธคุปตะ

       11 อาลัมพนปริกษศาสตร์ (กวงซออ้วงอ่วงหลุง) ของท่านทินนาค พระเฮี่ยงจังแปล

       12 อภิธรรมสังยุกตสังคีติศาสตร์ (อาพีตับม้อจับจิบหลุง) ของพระอสังคะ พระเฮี่ยงจังแปล

       13 วีศติกวิชญาณมาตราศาสตร์ (ยี่จับยุ่ยเซกหลุง) ของวสุพันธุ ฮี่ยงจังแปล

       14 ทศภูมิภูมิศาสตร์ (จับตี้หลุง) ของวสุพันธุ โพธิรุจิแปล

       15 มหายานอลังการศาสตร์ (ไต้เส่งจังเงี่ยมหลุง) ของพระอารยเมตไตย

       16 ประมาณสมุจจัย (จิบเหลี่ยงหลุง) ของทินนาค

       17 โยควิภังคศาสตร์ (ฮุงเปี๊ยกยู่แคหลุง) ของพระอารยเมตไตย

       นอกจาก 6 สูตร และ 11 ศาสตร์นี้แล้ว ยังมีคัมภีร์วิชญาณมาตราสิทธิตรีทศศาสตร์ ซึ่งท่านเฮี่ยงจังรวบรวมและบรรดาฎีกาต่างๆของศาสตร์นี้ด้วย

หลักธรรม

       นิกายนี้ได้จัดระเบียบแสดงธรรมของพระพุทธองค์ออกเป็น3 กาล คือ

       1 ปฐมกาล พระพุทธองค์เทศนาอัสติธรรมคือศาสนาอริยสัจ4 ปฏิจจสมุปบาท 12 เทศนาหลักธรรมฝ่ายสาวกยาน

       2 มัชณิมกาล พระพุทธองค์เทศนาศูนยตธรรม คือเทศนาคติศูนยตาตามนัยมาธยมิกแก่ฝ่านมหายาน

       3 ปัจฉิมกาล พระพุทธองค์เทศนาหลักธรรมขั้นอันติมะที่แท้จริง คือเทศนาหลักธรรมในฝ่ายโยคาจาร ซึ่งถือว่าเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ติดทั้งอัตถิตาและนัตถิตา คือไม่ติดในความมีและความไม่มี ฉะนั้น ปรัชญาโยคาจาร จึงสูงกว่าฝ่ายมาธยมิกะ นี่เป็นวาจาของฝ่ายโยคาจาร

       ปรัชญาโยคาจารได้สอนหนักทางลัทธิมโนภาพนิยม ด้วยการสอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าสังขตะและอสังขตะ ล้วนแต่ออกจากจิตทั้งสิ้น จิตที่เรียกว่า "อาลยวิชญาณ" หรืออาลยวิญญาณ" วิญญาฯนี้แท้ก็คือตัวภวังคจิตในอภิธรรมปิฎกของฝ่ายเถรวาทนั่นเอง เป็นจิตที่เกิดดับอยู่ทุกขณ สืบภพสืบชาติและรับอารมณ์ เสวยวิบากอยู่เรื่อยจนกว่าจะถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ จิตนี้ก็จักดับสุดรอบมูลการณะของสรรพสิ่งอยู่ที่ออาลยวิญญาณซึ่งนี้เป็นปทัฏฐาน

       ปรัชญาโยคาจารได้สอนถึงวิญญาณทั้ง 8 คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ กลิศตมโนวิญญาณ และอาลยวิญญาณ

       อาลยวิญญาณนับเป็นวิญณาณที่ 8 ที่ได้ชื่อดั่งนี้ก็เพราะเป็นสภาพถูกยึดจากกลิศตมโนว่าเป็นตัวตน อาลัยหนักมิอยากจะถอดถอนและเลิการยึดครองไปได้เลย อาลยวิญญาณนั้นแท้ก็คือตัวภวังคจิตในบาลีอภิธรรมนั่นเอง มีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่นจิต, สรวพีชวิญญาณ ,อทานวิญญาณ, ปัจจุบันวิญญาณ ,มูลวิญญาณ, วิปากวิญญาณเป็นต้น ฝ่ายโยคาจารได้สร้าปรัชญาวิชญาณวาทินขึ้นจากอาลยวิญญาณนี้ คือสอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เป็นจิตแลออกมาจากจิตทั้งสิ้น อาลยวิญญาณนี้เป็นมูลการณะของโลกแลสรรพสิ่ง

         อาลยวิญญาณเป็นมูลฐานแห่งสรรพสิ่ง ถ้าไร้อาลยวิญญาณนี้แล้วสรรพสิ่งก็ไม่มี มั้งนี้ก็เนื่องด้วยสรรพสิ่งเป็นเงาสะท้อนออกหรือพฤติภาพของอาลยวิญญาณนั่นเอง

       ปรัชญาโยคาจารย์ยุคแรกมีอสังคะและวสุพันธุเป็นต้น ถือว่าสิ่งทั้งปวงเป็นแต่ความคิดของเรา สิ่งทั้งปวงอยู่ในจิตของเรา ครั้นต่อมายุคหลังสมัยธรรมปาล ทินนาคะ ได้สอนต่างออกไปหน่อยคือสอนว่า สิ่งที่ดำรงอยู่ภายนอกใจก็มีเหมือนกัน แต่มูลกำเนิดของมันก็ไม่พ้นไปจากใจได้

       ดั้งนั้น หลักธรรมของนิกายนี้ หรือที่เรียกว่ามหายานสายอสังคะกับวสุพันธุ มีแนวคิดพิเศษ ได้แก่การเพิ่มวิญญาณ 6 ให้เป็นวิญญาณ 8 คือเพิ่มอาลยวิญญาณหรืออทานวิญญาณเป็นวิญญาณที่ 7 แต่ต่อมาได้ถือเอาอาลยวิญญาณเป็นวิญญาณที่ 8 ส่วนอทานวิญญาณเป็นวิญญาณที่7 และเปลี่ยนชื่อว่ามนัสวิญญาณ ซึ่งทำหน้าที่ยึดมั่นในความมีตัวตน ได้กล่าวเป็นคาถาในแรกเริ่มว่า "วิญญาณมีความละเอียดลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง มีพีชทั้งหลาย  ไหลหลั่งอย่างกระแสน้ำเชี่ยว เราไม่แสดงต่อคนที่โง่เขลา เพราะเกรงว่าชนเหล่านั้นจะยึดวิญญาณนี้เป็นตัวตน" และอธิบายว่า ที่เรียกว่าอทานวิญญาณนั้นก็เพราะวิญญาณนี้สามารถสะสมเก็บรักษาบรรดาพีชะได้ กล่าวคืออาลยวิญญาณนั้น คือสภาพแห่งจิต อยู่ภายในมนัสวิญญาณ ไหลหลั่งเป็นกระแสเหมือนกระแสน้ำ เป็นเหตุที่สร้างสรรพธรรมขึ้นและเก็บสะสมประสบการณ์ทั้งหลายไว้ เป็นหลักในการที่จะเห็นแจ้งด้วย

       ลักษณะพิเศษของนิกายโยคาจารนี้ได้แก่การนำเอาอาลยวิญญาณมาแก้ไขปัญหาทั้งหลาย คือการถือว่า อาลยวิญญาณ เป็นบ่อเกิดแห่งสรรพธรรม เป็นหลักของแต่ละคนและก็เป็นหลักของโลกด้วย ทั้งนี้ย่อมเห็นได้ว่า โยคะมีมูลฐานเป็นมโนคตินิยมและก็อธิบายถึงการเข้าถึงและการบรรลุในอุดมการ

       ท่านอสังคะกับท่านวสุพันธุเป็นผู้ยึดมั่นในมโนคติของพระพุทธศาสนายุคพุทธกาลเป็นจุดที่ตั้งผ่านวิญญาณทัศนะ ของนิกายต่างๆแล้วมารวมตั้งฐานอยู่ที่ว่า "ไตรโลกธาตุเนื่องจากจิต" เช่นนี้ พอจะกล่าวได้ว่า ท่านได้รวบรวมมโนคติของเถรวาทกับมหายานได้หมด และอยู่ในหลักของอาลยวิญญาณ เมื่อต้องการเข้าถึงลักษณะพิเศษของนิกายนี้ จึงจำเป็นต้องศึกษาหลักธรรมของอาลยวิญญาณต่อไป

       หลักธรรมของอาลยวิญญาณ แม้จะอ้างว่าเป็นหลักธรรมของโลก แต่ความจริงยังคงเป็นของแต่ละบุคคล เพราะสัตว์โลกทุกรูปทุกนาม ต้องแปรเปลี่ยนไปตามกรรมในโลกของเขา ในความหมายเช่นนี้ โลกทัศน์ของอาลยวิญญาณก็อนุโลมเป็นเอกัตตมโมนิยมได้(ยึดหลักอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่ออธิบายโลกและชีวิตสัตว์โลก)

       ที่ว่าอาลยวิญญาณอันเป็นสาระของโลกและสืบเนื่องมาแต่อนันตกาลนั้น รู้สึกจะเป็นแบบ "อาตมัน" ของพวกเดียรถีย์ แต่ความจริงอาลยวิญญาณ สืบเนื่องมาจากกรรมในอนันตกาล แล้วบันดาลให้เกิดขึ้น อันเป็นวิบากผล เสมือนกระแสน้ำที่ไหลติดต่อกันมาไม่มีช่องว่าง หมุนเวียนอยู่ในไตรโลกธาตุ ฉะนั้นธาตุของอาลยวิญญาณ จึงแตกต่างกันกับ "อาตมัน"ของพวกเดียรถีย์ และเนื่องด้วยวิญญาณมีความยึดมั่นในตัวตน จึงเป็นบ่อเกิดแห่งความหลงผิดทั้งหลาย

       อาลวิญญาณจะเป็น "วิชาน(ความรู้สึกตัว)" หรือเป็น "อวิชาน(ความไม่รู้สึกตัว)"นั้น ข้อนี้ตอบลำบาก เพราะในทางรูปแบบ เนื่องจากเป็นธาตุของวิญญาณ จึงเป็นหลักของวิชาน แต่เนื่องด้วย "กิริยา(คุณประโยชน์,กิจกรรม,การกระทำ) ของวิชานนี้ ละเอียดอย่างยิ่ง ผิดกับคำว่าจิตในความหมายทั่วไป ฉะนั้นในวิญญาณมาตรา จึงเรียปัญหานี้ว่า "ไม่อาจรู้ได้"

       อาลยวิญญาณ เมื่อมีฐานะเป็นวิญญาณ ก็ย่อมต้องมีจิตวิสัยกับวัตถุวิสัย(มีการได้เห็นได้ยิน ต่อวัตถุที่ได้เห็นได้ยิน) ในเรื่องนี้ ท่านอธิบายว่า วิญญาณทั่วไปนั้น มีส่วนที่เป็นทัศนภาคคือจิตวิสัยและส่วนที่เป็นลักษณะภาคคือวิตถุวิสัย เมื่อเป็นเช่นนี้ ในอาลยวิญญาณก็ต้องมีทัศนภาคและลักษณะภาคเช่นกัน ทัศนภาคเป็นสิ่งที่เราไม่อาจรู้ได้ ส่วนลักษณะภาค ก็คือพีชะและก็คือลักษณะอันจะเป็นไปของสรรพธรรม

       พีชในอาลยวิญญาณ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้สะสมประสบการณ์มามากมายและเป็นเวลาช้านาน รวมทั้งการกระทำที่เป็นความเคยชินโดยไม่รู้สึกตัว สิ่งเหล่านี้ เมื่อรวมกันมากขึ้น ก็สามารถแปรเปลี่ยนกิริยาของอาลยวิญญาณ ทำให้เกิด "พฤติ"ขึ้นได้

       พีชะดังกล่าวจะแบ่งเป็น "นามพีชะ" กับ "กรรมพีชะ" นามพีชะคือมูลเหตุแห่งสรรพธรรมวัสดุ กรรมพีชะคือมูลเหคุแห่งพลัง เมื่อสองสิ่งนี้รวมกันเข้า ก็จะเกิดการเคลื่อนไหวหรือปรากฏการณ์ขึ้นในรูปแบบที่กำหนดไว้ ซึ่งเรียกว่า "ปัจจุบันพฤติ" พฤติปัจจุบันนี้ ก็ยังคงทำหน้าที่อบรมสะสมไว้ในอาลยวิญญาณต่อไปเช่นกันซึ่งเรียกว่า "พฤติอบรมสะสมให้เกิดพีชะใหม่" ที่ว่าพีชในอาลยวิญญาณ ไม่มีวันหมดสิ้นนั้น ก็เนื่องด้วยเหตุนี้ คือมีการอบรมสะสมให้เป็นพีชะเพิ่มเติมอยู่เรี่อย คือพีชะบันดาลให้เกิดพฤติ พฤติบันดาลให้เกิดพีชะ เป็นการหมุนเวียนไปไม่หมดสิ้นสุด ไม่อาจจะแยกได้ว่า พีชะหรือพฤติใด เป็นเหตุหรือเป็นผลของพี่ชะหรือพฤติใด

       มนัสวิญญาณ อันยึดมั่นในอาลยวิญญาณและยึดมั่นในความมีตัวตนนั้นความจริงเป็นการกระทำต่อภายใน ไม่ใช่กระทำต่อภายนอก ฉะนั้นในเรื่องกิเลสวิญญาณจะมีความสำคัญอยู่ก็ตาม แต่ก็ไม่สำคัญเทากับอาลยวิญญาณ ส่วนตา หู จมูก ลิ้น กายในวิญาณนั้น เป็นตัวการแห่งการเคลื่อนไหวของจิต ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องบาปบุญคุณโทษเป็นอันมาก แต่สิ่งเหล่านี้ ก็ขึ้นกับอาลยวิญญาณ ทั้งสิ้น

       ท่านได้พิสูจน์ให้เห็นว่า สรรพธรรมจะต้องแปรเปลี่ยนไปตามอาลยวิญญาณ ซึ่งนับว่าเป็นหลักธรรมใหม่ แต่เมื่อสืบค้นไปถึงอวตังสกะสูตร ซึ่งถือว่าไตรโลกธาตุเกิดจากจิตแล้ว ก็ควรถือว่าได้แนวคิดจากสูตรนี้ แต่มีพื้นฐานที่เหมาะสมกว่า คือการสร้างลักษณะ 3 ขึ้นได้แก่

       ก  ปริกัลปิตลักษณะนั้น คือการเข้าใจของมโนวิญญาณกับมนัสวิญญาณในส่วนทัศนภาค กับในส่วนลักษณะภาค ซึ่งไม่ตรงกัน เช่นการยึดมั่นในความมีตัวตน การยึดมั่นในการมีสรรพธรรม อันเป็นการยึดมั่นที่เป็นการคาดคิดใฝ่ฝันไปเป็นเรื่องที่มีแต่อารมณ์ เพ้อฝันไม่มีการณะ(เหตุผล) เป็นวิสัยที่เกิดขึ้นในระหว่างวิญญาณทั้งสอง

       ข  ปริตันตรลักษณะ คือการเข้าใจต่อปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย ในเนื้อหาแท้ไม่มีภาระที่แท้จริง  เพียงแต่มีการสัมพันธ์ในระหว่างเหตุปัจจัย มีปรากฏการณ์อยู่ก็จริง  แต่ก็เป็นการเกิดขึ้นด้วยอาศัย "เขา(เหตุและปัจจัยต่างๆ)" เหล่านั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมีอยู่แล้ว เป็นการเข้าใจของทัศนภาคกับลักษณะภาคที่ตรงกัน

       ค  ปริณิษปันลักษณะ เป็นการเข้าใจที่สมบูรณ์แท้จริง เป็นตถตาอันเจ่มใสของสรรพปรากฏการณ์ เป็นสาระที่ยั่งยืนมีความสมภาค เป็นเป้าหมายที่วิญญาณอันพึงเข้าใจ ภายหลังการบรรลุในสัทปัญญา ซึ่งหลุดพ้นจากกองกิเลสแล้ว

       เมื่อปริกัลปิตลักษณะ อันเป็นภาพที่เกิดจากการยึดมั่นในความหลงผิด เป็นเรื่องที่คิดฝันกันเอาเอง ไม่มีเหตุผลย่อมเป็นความสูญ เมื่อปริตันตรลักษณะเป็นภาพที่เกิดจากการเห็นการปรุงแต่งของเหตุปัจจัย ก็ย่อมเป็นสูญเช่นกัน ส่วนปริณิษปันลักษณะ แม้จะเป็นภาวะแท้ แต่ก็เป็นพุทธิปัญญาอันไม่มีรูปธรรม จึงเป็นความสูญเช่นกัน

       อาลยวิญญาน เนื่องจากมีธาตุเป็นอาสวะอยู่ จึงไม่อาจจะแปรเปลี่ยนเป็นอนาสวะได้ ฉะนั้น มีพีชะที่เป็นอนาสวะอยู่ด้วย เมื่อได้ปฏิบัติทางพระธรรมแล้วก็จะสามารถแปรเปลี่ยนวิญญาณให้เป็นวิมลวิญญาณได้ เมื่อสรุปเช่นนี้ ก็เป็นอันว่าอาลยวิญญาณของแต่ละคนนั้น ไม่ใช่เต็มไปด้วยอาสวะแต่อาจจะมีมากหรือน้อยแตกต่างกันไป แล้วก็เลยเป็นโคตร ต่างๆกัน เช่น สาวกโคตร, ปัจเจกโคตร โพธิสัตว์โคตร, อิจฉันติกโคตร หรือเพิ่มอนิตยโคตรขึ้นอีกโคตรหนึ่ง รวามเป็น 5 โคตร อนิตยโคตรนั้น เป็นโคตรที่ไม่แน่นอน มีความเป็นสาวก ปัจเจกหรือโพธิสัตว์ปะปนอยู่ด้วย

       วิธีการแปรเปลี่ยนอาสวะในวิญญาณให้เป็นอนาสวะนั้น ก็คือเพ่งให้เห็นความสูญของตัวตนและสรรพธรรม ทำลายความหลงผิดอันเนื่องจากอารมณ์และเนื่องจากวิชาความรู้ที่หลงผิดของทางโลก ปราบปรามจำพวกพีชะบาปและอนุสัย เมื่อเช่นนี้ อาลยวิญญาณจะขาดวัสดุแห่งความชั่วแล้วก็เลยขาดอาสวะไป เป็นอนาสวะปัญญาที่บริสุทธิ์ และนี่คือการแปรเปลี่ยนวิญญาณให้เป็นพุทธิปัญญา

       ผลแห่งการปฏิบัติธรรมของนิกายวิญญาณมาตรา เมื่อบรรลุถึงภูมิที่ 10 แล้ว ก็จะแปรเปลี่ยนหลงผิดทางโลกมาเป็นพุทธิปัญญา โดยขณะนั้น จะประกอบด้วยกาย 3 ญาณ 4 ที่ว่ากาย 3 นั้นคือ

       ก ธรรมกาย กายอันเป็นภาวะแห่งตนที่แท้จริง

       ข นิรมานกาย กายอันแสดงให้สัตว์โลกแห็น

       ค สัมโภคกาย กายอันรับใช้ตนเองและกายอันรับใช้ผู้อื่น

       ส่วนญาณ 4 นั้นคือ

       ก กฤษยานุษฐานญาณ คือ ญาณอันสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่กระทำ ซึ่งแปรวิญญาณที่ 1 ถึง 4 จากอาสวะ มาเป็นอนาสวะ

       ข ประตยเวกษญาณ คือญาณที่พิจารณาสรรพธรรมไปทางที่วิสุทธิ์ ซึ่งแปรจากมโนวิญญาณ

       ค สมตาญาณ คือ ญาณอันเป็นสมภาค เห็นสรรพธรรมมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งแปรมาจากมนัสวิญญาณ

       ง อาทรศนวิญญาณ คือ ญาณเสมือนกระจกเงาใหญ่สมบูรณ์ซึ่งแปรมาจากอาลยวิญญาณ

       เมื่อญาณทั้ง 4 บังเกิดขึ้นแล้ว กิเลสอวิชชาทั้งหลายที่มีอยู่ในวิญญาณทั้ง 8 ก้ไม่มี บุคคลนั้นได้บรรลุวิมุตติแล้ว

       หลักธรรมของนิกายโยคาจารมีพิสดารมากมายนัก อภิธรรมปิฎกฝ่ายบาลีเต็มไปด้วยตรรกวิธี และหลักทฤษฎีซับซ้อนละเอียดยากแก่การศึกษาฉันใด หลักธรรมของฝ่ายโยคาจารก็ละเอียดซับซ้อนเต็มไปด้วยตรรกวิธีและศัพท์เทคนิคยากแก่การเข้าถึงเพียงนั้น ทั้งนี้เพราะนิกายโยคาจาร คือนิกายอภิธรรมของมหายานนั่นเอง

 

นิกายในจีน หลุกจง

 

7 นิกายวินัย (หลุกจง)

ประวัติ

       นิกายนี้ ถือพุทธภาษิตที่ว่า "ธรรมวินัยจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลายเมื่อเราล่วงลับไป" เป็นมูลฐาน ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ดับขันธปรินิพพานไปแล้ว สังฆมณฑลได้เกิดแตกแยกนิกายออกจากกัน ต่างมีปิฎกของตนเอง เท่าที่ปรากฏอยู่มี 6 นิกาย ทีมีวินัยปิฎกเป็นของตนเองคือ

       1 นิกายเถรวาท

       2 นิกายมหาสังฆิกะ

       3 นิกายสรวาสติวาทิน

       4 นิกายธรรมคุปตะ

       5 นิกายมหิศาสกะ

       6 นิกายกาศยปิยะ

       ครั้งพุทธศาสนาแพร่หลายเข้าสู่ประเทศจีน สมัยแรกยังไม่มีอุปสัมปทากรรมที่ถูกต้องตามวินัยกรรม ต่อมาพระธรรมกาละจาริกมาจากอินเดียสู่ประเทศจีน ได้ประกอบวินัยกรรมให้อุปสัมปทากรรมแก่กุลบุตรจีนเป็นปฐม แลได้แปลพระวินัยอย่างย่อของนิกายมหาสังฆิกะไว้ ต่อมาจึงมีผู้แปลวินัยปิฎกของนิกายต่างๆ ออกสู่พากย์จีน 4 นิกายด้วยกันคือ

       1 วินัยปิฎกของนิกายธรรมคุปตะ

       2 วินัยปิฎกของนิกายสรวาสติวาทิน

       3 วินัยปิฎกของนิกายมหิศาสกะ

       4 วินัยปิฎกของนิกายมหาสังฆิกะ

       วินัยปิฎกทั้ง 4 นิกายนี้ วินัยปิฎกของนิกายธรรมคุปตะแพร่หลายที่สุด ทั้งนี้เพราะได้วินยาจารย์เต้าซวง เป็นผู้ประกาศให้แพร่หลาย วินยาจารย์เต้าซวงมีชีวิตอยู่ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นผู้มีความรู้แตกฉาน ได้เข้าร่วมแปลพระคัมภีร์กับพระติปิฎกธราจารย์เฮี่ยงจังด้วย จึงเป็นผู้รอบรู้ในปรัชญาโยคาจาร ท่ามีสำนักอยู่ทีภูเขาจงน่ำซัว ได้แต่งอรรถกถาธรรมคุปตวินัย โดยอธิบายตามคติของมหายาน อนุโลมคล้อยตามปรัชญาโยคาจาร จึงทำให้ธรรมคุปตวินัยรุ่งเรือง สำเร็จเป็นนิกายวินัย บางทีก็เรียกชื่อตามสำนักว่า "น่ำซัวจง" ส่วนสำนักวินัยอื่นๆในครั้งนั้นเจริญสู้นิกายน่ำซัวไม่ได้ จึงเสื่อมลงตามลำดับ

คัมภีร์สำคัญ

       1 จตุรอัธยายธรรมคุปตวินัย (สี้ฮุงลุก) ท่านพุทธยศกันท่านเต็กฮุกเหนียมแปล

       2 ทศภาณวาร สรวาสติวาทวินัย (จับส่งลุก) ท่านปุณยาตระ กับท่านกุมารชีพแปล

       3 ปัญจอัธยาย มหิศาสกวินัย (โหงวฮุงลุก) ท่านพุทธชีวะกับ ท่านเต๊กเต้าเชงแปล

       4 มหาสังฆิกวินัย (มอฮอเจงตีลุก) ท่านพุทธภัทรกับท่านฮวบเฮี้ยนแปล

       5 มูลสรวาสติวาทวินัย ท่านงี่เจ๋งแปล

       6 สรวาสติวาทวินัยมาติกา ท่านสังฆวรมันแปล

       7 มูลสรวาสติวาทภิกษุณีวินัย ท่านงี่เจ๋งแปล (ในจีน ญี่ปุ่น ธิเบต ญวน ยังมีภิกษุณีวงศ์อยู่หาได้ขาดสูญเช่นฝ่ายสาวกยานไม่

       8 สมันตปาสาทิกา ท่านสังฆภัทรแปล

       นอกจากนี้ยังมีอรรถกถา ฎีกาของวินัยปิฎกอีกมากที่แต่งในภาษาจีนและมีปกรณ์ปลีกย่อยที่แปลกันอีกหลายปรกรณ์ มีกำหนดไว้เป็นวินัยปิฎกของฝ่ายสาวกยานทั้งนั้น มหายานหามีไม่

       นิกายนี้มีหลักพระวินัยเช่นเดียวกับวินัยฝ่ายเถรวาท มีส่วนแตกต่างกันน้อยมาก

       นิกายนี้ถือว่า ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์แล้ว สมาธิ ปัญญาก็ยากจะเกิดขึ้นได้ และได้แบ่งประเภทของศีลออกตามคติมหายาน คือ

       ตรีวิสุทธิศีล (ซาโจ๋วเจ้งก่าย)

       1 สัมภารสังคหศรีล (เนียบลุกงีก่าย) ได้แก่การงดเว้น การประกอบอกุศลกรรม ที่ผิดบทบัญญัติแห่งวินัย

       2 กุศลสังคหศีล (เนียบเสียงฮวบก่าย) ได้แก่การประกอบกุศลกรรุไม่ขาด

       3 สัตตวารถกริยาสังคหศีล (เนียบโจ้งเซงก่าย) ได้แก่การบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์

       ทั้ง 3 ประการนี้ต่างอาศัยกัน เช่น งดเว้นปาณาติบาต จัดเป็นสัมภารสังคหศีล เมื่อไม่ฆ่าจิตก็เป็นกุศล จัดเป็นกุศลสังคหศีล และเมื่อจิตเป็นกุศลก็พลอยมีเมตตากรุณาช่วยเหลือสัตว์ จัดเป็นสัตตวารถกริยาสังคหศีล นิกายนี้บอกว่าฝ่ายสาวกยานทำได้แต่สัมภารสังคหศีลเท่านั้น ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด นิกายนี้ยังได้จัดระยะกาลแห่งพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์เป็น 3 คือ
       1 ซิกฮวบจง ได้แก่ฝ่ายสรวาสติวาทิน ถือว่ารูปธรรมเป็นปทัฏฐานของศีล ทั้งนี้เพราะถือว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่

       2 แกเมี้ยงจง ได้แก่มหายานคติศูนยตวาทิน ที่ถือว่าปทัฏฐานของศีล ไม่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยมีคติว่า ธรรมทั้งปวงไม่มีภาวะดำรงอยู่เพียงสมมติบัญญัติ

       3 อีกาจง ได้แก่มหายานฝ่ายโยคาจารที่ถือว่า ปทัฏฐานของศีลได้แก่ใจ ด้วยมีคติว่าสิ่งทั้งปวงเป็นปรากฏการณ์ของใจ

 

นิกายในจีน มิกจง

 

8 นิกายมนตรายาน (มิกจง)

ประวัตินิกาย

       นิกายมนตรายาน มีลักษณะพิเศษ คือเป็นนิกายซึ่งรับเอาพุทธตันตรมาทั้งหมด ดังนั้นพุทธตันตระเมื่อออกจากอินเดียในยุคแรกจัดได้ว่ามี 2 สาย สาย 1 เข้าสู่ประเทศจีน ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกว่า มนตรายาน อีกสายเข้าสู่ทิเบต ซึ่งใช้ชื่อเรียกดังเดิมว่า วัชรยาน หรือตันตรยาน
       มนตรายานจัดเป็นส่วนหนึ่งของมหายาน ซึ่งได้จัดแบ่งเป็น มหายานเปิดเผย และมหายานลับ แพร่หลายในอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 10 หลักธรรมของนิกายเป็นหลักธรรมของพระไวโรจนพุทธเจ้า ภายหลังพระวัชรสัตได้เก็บรวบรวมหลักธรรมทั้งหมด บรรจุไว้ในพระเจดีย์เหล็กในอินเดียตอนใต้ ครั้นเมื่อคุรุนาคารชุนได้รับอภิเษกจากพระวัชรสัต จึงได้เปิดเจดีย์นำพระธรรมลึกลับนี้สั่งสอนแก่ประชาชน คุรุนาคารชุนถ่ายทอดต่อให้ศิษย์ท่านหนึ่งชื่อนาคโพธิ ต่อมานาคโพธิได้จาริกมาสู่เกาะสิงหล ได้ถ่ายทอดธรรมให้แก่ศุภกรสิงหะและวัชรโพธิ ท่านศุภกรสิงหะได้จาริกสู่ประเทศจีน ในแผ่นดินพระเจ้าถังเฮี่ยงจง ราวพุทธศตวรรษที่ 12 และเริ่มแปลพระสูตรที่สำคัญเป็นพากย์จีน พร้อมทั้งเปิดมณฑลบูชาอภิเษกในแก่ประชาชน ฝ่ายท่านวัชรโพธิก็ได้จาริกสู่ประเทศจีนพร้อมด้วยศิษย์ชื่อ อโมฆวัชระ ท่านทั้งสองได้เปิดมณฑลพิธีอภิเษกในนครเชียงอาน ได้ศิษย์คนหนึ่งของอโมฆวัชระท่านหนึ่งชื่อ อิกเหง เป็นเจ้าอาวาสวัดแชเล่งยี่

       ครั้งนั้น ประเทศญี่ปุ่น มีสมณะรูปหนึ่ง ชื่อว่า "ฮูกาย" เป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะในการศึกษาพระธรรมวินัยมาก ท่านได้เกิดนิมิตถึงการเดินทางมาศึกษาธรรมในประเทศจีน ท่านจึงได้เดินทางมาสู่ประเทศจีนพร้อมคณะฑูต และยังมีสมณะอีกรูปหนึ่งชื่อ "เด็งกโย" เดินทางมาด้วยกัน เมื่อถึงประเทศจีนแล้ว เด็งกโย ไปศึกษาปรัชญานิกายเทียนไท้ ส่วนฮุกายไปศึกษาที่วัดแชเล่งยี่ ท่านได้รับการอภิเษกจากคณาจารย์ฮุ่ยก๊วยและได้รับมณฑลบูชาครบชุด พร้อมทั้งพระคัมภีร์เป็นอันมาก เมื่อกลับสู่ประเทศญี่ปุ่นได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระจักรพรรดิ ตั้งสำนักแผ่คำสอนนิกายมนตรายานบนภูเขาโกยาซาน ท่านได้ทำพิธี ขอฝน รักษาโรค ขับไล่ภูตผีซึ่งสร้างความทุกข์เข็น ประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์ ได้รับการยกย่องจากรัฐบาลในฐานะรัฐคุรุโกโบไดฉิ มนตรายานในจีนและญี่ปุ่นมิได้แตกต่างกันมากนัก แต่ตันตรยานในธิเบตลึกซึ้งพิสดารกว่าเพราะได้รับถ่ายทอดโดยตรงจากพระอาจารย์ชั้นเลิศสุดจากมหาวิทยาลัยต่างๆเช่น มหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยวิกรมศิล มหาวิทยาลัยโอทันตบุรี โดยมีพระอาจารย์เช่น ศานตรักษิต คุรุปัทมสมภพ กมลศีลา อติศะ นโรปะ วิรูปะ นำเข้ามาสู่ประเทศจีนโดยตรง ดังเช่น ตันตรกาลจักรในญี่ปุ่นก็ไม่มี เป็นต้น

       เมื่อสิ้นรัชวงศ์ถัง นิกายกายมนตรายานก็เริ่มเสื่อมความนิยมลง แต่เมื่อมาถึงราชวงศ์หงวน กุบไลข่านทรงเลื่อมใสในตันตรยานของธิเบต ได้ตั้งภิกษุรูปหนึ่งชื่อ "ฟาซือปา"(กำเนิดตำแหน่งดาไลลามะขึ้น) ให้เป็นอภิรัฐคุรุ ตันตรยานแบบธิเบตจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นในประเทศจีน ครั้นเมื่อราชวงศ์หงวนสิ้น พุทธตันตระก็เริ่มเสื่อมลงอีกวาระ จนเมื่อถึงราชวงศ์เชง เมื่อแมนจูได้ปกครองประเทศจีน พุทธตันตระยานจึงได้รุ่งเรืองขึ้นอีกครั้ง เพราะกษัตริย์ราชวงศ์เชงทรงเลื่อมใสลัทธิลามะแห่งธิเบต

คัมภีร์สำคัญ

       1 มหาไวโรจนาภิสัมโพธิวิกุรฺวิตาธิษฐานไวปุลยสูตเรนทราราช นมปรยายสูตร เรียกสั้นๆว่า มหาไวโรจนสูตร(ได้ยิดเก็น) ท่านศุภสิงหะและท่านอิกเหงร่วมกันแปล

       2 วัชรเสขสูตร ท่านอโมฆวัชระแปล

       3 อรรถกถามหาไวโรจนสูตร ของท่านอิกเหง

หลักธรรม

       นิกายนี้มีชื่อว่ารหัสยาน หรือคุยหยาน ซึ่งแปลว่ายานลึกลับ ก็เพราะเหตุ 4 ประการคือ

       1 เพระเป็นความลึกลับ ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ซ่อนเร้นเอาไว้ มิได้ทรงเปิดเผยแก่สาธารณะชนทั่วไป นอกจากบุคคลที่มีความพร้อมบริบูรณ์ที่จะได้รับธรรมเท่านั้น

       2 เพราะธรรมชาติศัพท์สำเนียงต่างๆในโลก แท้จริงเป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า แต่ปุถุชนไม่สามารถทราบได้

       3 เพราะพุทธวจนะนั้นมีอรรถที่ลึกซึ้ง  บางครั้งพระพุทธองค์ก็ตรัสด้วยโวหาร เช่นตรัสว่า ราคะ โทสะ โมหะ เป็นอริยมรรค

       4 เพราะการปฏิบัติเข้าถึงโพธิ ลำพังกำลังของตนไม่พอที่จะต่อต้านกิเลสมารได้ จำต้องพึ่งอานุภาพของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ช่วยจึงจักสำเร็จ

       อนึ่ง เพราะในนิกายนี้เป็นนิกายปิด การบำเพ็ญโยคกรรมและสวดมนตราธารณีตลอดจนประกอบมุทรา จะเปิดเผยให้แก่ชนผู้ยังมิได้ผ่านการอภิเษกจากอาจารย์มิได้ แต่โยคกรรมบางอย่างก็อนุญาตให้เปิดเผยได้

       นิกายนี้ บางทีเรียกว่า "ธารณีนิกาย" ทั้งนี้เพราะถือการสาธยายมนตราธารณีเป็นความสำคัญ ธารณีเหล่านั้นเป็นของพระพุทธเจ้าบ้าง เป็นของพระโพธิสัตว์บ้าง เป็นของเทพธรรมบาลบ้าง ประทานไว้ให้แก่ชาวโลกมีมากมายนับไม่ถ้วน บางบทยาว บางบทสั้น ธารณีเหล่านี้มีอานุภาพขลังยิ่งนัก บางบททำให้ผู้เจริญมีกิเลสเบาบางลงได้ บางบทล้างบาปได้ การสวดธารณีมีวิธีหลากหลาย เช่นมีจังหวะบ้าง มีเสียงดังบ้าง มีเสียงตวาดบ้างเป็นต้น แม้ที่สุดการเขียนธารณีลงบนผืนผ้า แล้วนำไปแขวนไว้เมื่อคนเดินผ่าน ก็ได้บุญ เขียนใส่ไว้ในกังหัน เมื่อลมพัดลมไปต้องสรรพสัตว์ สรรพสัตว์นั้นก็ได้บุญ หรือแม้แต่การได้ยินเสียงสวดก้ได้บุญแล้ว

       มุทรา เครื่องอากัปกริยา ท่าทาง หรือเครื่องหมายต่างๆที่ประกอบขึ้นด้วยนิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว มุทราเป็นเครื่องหมายซึ่งแทนองค์พระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์เจ้า เจ้าของท่ามุทรานั้น การประกอบท่ามุทราคือการใช้กายลอกเรียนพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์เจ้าพระองค์นั้น ในการนี้ มิใช่เพียงแต่ลอกเรียนท่าทางเท่านั้น หมายรวมถึง จิตวิญญานและความเป็น หรือก็คือพุทธภาวะของท่านด้วย ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่กำลังกระทำพิธี ประกอบท่ามุทรา คือพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์เจ้าพระองค์นั้น

       การอภิเษก การถ่ายทอดคำสั่งสอนและพิธีกรรมนั้น จะต้องได้รับมอบจากพระอาจารย์โดยตรง การรับมอบเรียกว่า "อภิเษก" การอภิเษกนี้แม้แต่พระโพธิสัตว์เจ้าเอง ก็ต้องผ่านการอภิเษกมาก่อน

       มณฑลและมณฑลพิธี ในความหมายที่กว้างหมายถึงแบบผังของโลกธาตุ ซึ่งมีองค์พระพุทธเจ้าทั้งปวงประทับอยู่ตามตำแหน่งประจำ แต่ในความหมายทั่วไปที่เข้าใจคือ อาณาบริเวณที่ประกอบพิธี ซึ่งเป็นการจำลองโลกธาตุมา และย่นย่อลงให้เหมาะสมกับสถานที่และวัสดุที่สามารถจะหา

       ฝ่ายมหายานถือว่า สัตว์ทั้งหลายสามารถบรรลุถึงโพธิ ด้วยวิธีรักษาระบบ กาย วาจา ใจ ของตนประยุกต์กับกาย วาจา ใจของพระพุทธวิธีการนี้เรียกว่า "ตรีรหัสยอธิษฐานสิทธิพุทธโยคะ" (ซำมิกเกียพี้เซ่ยฮุก) กล่าวคือ ทำมุทรา ตามท่าหรือปางของพระโพธิสัตว์องค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นพระประจำตัวของเราแต่ละคน เรียกว่า กายรหัส แล้วพร่ำบ่นธราณีของพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์องค์นั้นๆ เรียกว่า วรีรหัส เพ่งตรึกนึกถึงพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ให้เห็นว่าตัวของเราหายเข้าไปในองค์พระ หรือองค์พระหายเข้ามาในตัวเรา เมื่อทำสำเร็จก็เรียว่า บรรลุเป็นพุทธะด้วยกายเนื้อ ในชั้นต้นอาจารย์จะสอนศิษย์ให้กราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า หรือพระโพธิสัตว์องค์ใดองค์หนึ่งด้วยความภักดี และให้เชื่อมั่นว่าพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์จะช่วยเราให้พ้นทุกข์ ต่อมาเมื่ออาจารย์เห็นศิษย์มีความเคร่งครัดกราบไหว้บูชาดีแล้ว จึงได้เลื่อนภูมิของศิษย์ขึ้นอีกขั้นด้วยการ สอนให้ปฏิบัติบูชา มีการเพ่งพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์เป็นอารมณ์ เมื่อศิษย์ปฏิบัติได้เชี่ยวชาญจนมีสมาธิดีแล้ว อาจารย์ก็จะสอนศิษย์ขึ้นสูงสุดว่า แท้จริงพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย มิใช่เป็นสิ่งภายนอกหากอยู่ที่แก่นของดวงใจของทุกๆคน ตัวเจ้าคือพุทธะ พุทธะคือตัวเจ้า

       นอกจากนี้มนตรายาน ยังมีวิธีประกอบอาถรรพ์ต่างๆ เช่น อาถรรพ์ในทางเมตตามหานิยม พิธีอาถรรพ์ป้องกันภัยอันตราย แม้ที่สุดจนถึงอาถรรพ์เพื่อกำจัดภัยของพระศาสนา นับว่าเป็นนิกายที่แปลกกว่านิกายมหายานอื่นๆ มนตรายานถือว่า หลักธรรมของตนมีจุดวิเศษกว่านิกายพระพุทธศาสนาอื่นๆ 10 ประการคือ

       1 ปฏิบัติตามนิกายอื่น กว่าจะบรรลุอนุตรโพธิต้องกินเวลาช้านาน เช่นต้องใช้เวลา 30 อสงไขยกัลป์ในการสร้างบารมี ในระยะเวลาที่นานช้าทำให้ผู้บำเพ็ญท้อถอยเสีย 90 เปอร์เซ็น ส่วนผู้ปฏิบัติมนตรายานนั้น สามารถบรรลสัมโพธิญาณได้ในกายเนื้อปัจจุบันนี้ ไม่ต้องเสียเวลาช้านาน

       2 เหมาะสมกับอุปนิสัยของชนทุกชั้นทุกวัย ทุกนิกาย อาทิเช่นผู้เลื่อมใสในอวตังสกสูตรนิกายอวตังสกะ ในนิกายก็มีโยคกรรมที่เรียกว่าสมันตภัทรโยคกรรม ผู้เลื่อมใสในนิกายเทียนไท้ ก็มีพระอวโลกิเตศวรโยคกรรมให้บำเพ็ญ ผู้เลื่อมใสในศูนยตวาทินและวิชญาณวาทินก็มีมัญชุศรีโยคกรรมและเมตไตยโยคกรรมให้บำเพ็ญ ผู้เคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์องค์ใดๆ ก็มีโยคกรรมอันเกี่ยวด้วยพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตวย์องค์นั้นๆให้ ซึ่งแต่ละโยคกรรมล้วนมีผลานิสงส์โอฬารยิ่ง ซึ่งสามารถบรรลุถึงวิมุตติได้

       3 ผู้ปฏิบัติตามโยคกรรม เวลาไปอุบัติในพุทธเกษตรเช่นสุขาวดีโลกธาตุ ก็อุบัติในชั้นที่1ไม่เกิดในชั้นที่ต่ำกว่าลงไป

       4 ข้อปฏิบัติก็ง่าย แต่มีผลานิสงส์มาก เช่นสวดธารณีก็สามารถดับอกุศลบาปกรรมในอดีตได้ หรือเขียนธารณีลงบนผืนผ้าหรือกระดาษเก็บไว้ในตัว เมื่อตายไปก็สามารถไปอุบัติในสุขาวดีได้ อย่าว่าแต่สวดสาธยายด้วยความเสือมใสเลย

       5 สามารถดับคุรุกรรมวิบากได้ เช่นการสวดอมิตายุธารณีเพียงบทเดียว ก็สามารถดับอนันตริยกรรมได้หมดสิ้น ถ้าภิกษุ ภิกษุณี ต้องครุกาบัติถึงปาราชิก จากการสวดธารณีนั้นเพียง 7 หน ก็อาจแก้ให้กลับบริสุทธิ์ดังเดิม

       6 ในนิกายสุขาวดี บุคคลผู้ไปเกิดต้องบริบูรณ์ด้วยความศรัทธา ปณิธาน และปฏิบัติ จึงไปอุบัติได้ แต่ในลัทธินี้ถือว่า เพียงแต่อำนาจธารณีอย่างเดียวก็สามารถช่วยให้ไปอุบัติในสุขาวดีได้ เช่นเสกทรายด้วยธารณี 108คาบ แล้วนำไปเกลี่ยลงบนหลุมฝังศพของผู้ตาย ผู้ตายแม้ไม่เคยทำกุศลใดเลย จะไปตกอยู่ในอบายภูมิใดก็ตาม ก็อาจหลุดพ้นไปปฏิสนธิในสุขาวดี

       7 ในสถานที่ใด หากเป็นที่ประดิษฐานธารณี เราเพียงแต่ได้เห็นหรือได้อยู่ หรือเราได้ฟังเสียงคนร่ายธารณี หรือเราได้สังสรรค์กับผู้ร่ายธารณีเป็นนิตย์ มีอานิสงส์เท่ากับเราได้พบเห็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน และดับครุโทษได้ ในอุณหิศวิชัยธารณีบอกอานิสงส์ว่า ผู้ใดได้ฟังอุณหิศวิชัยธารณีเพียงครู่เดียวเท่านั้นอกุศลกรรมที่ทำมาตลอด 1000กัลป์ดับหมดไม่ให้ผลเลย

       8 นิกายอื่นถือว่า การบรรลุเป็นพุทธเจ้าต้องอยู่ในปุริสภาวะ เพราะเป็นธรรมฐิติธรรมนิยมอย่างนั้น แต่ลัทธิมนตรายานว่า ไม่จำเป็น แม้แต่อิตถีภาวะก็บรรลุได้ ทั้งนี้เนื่องด้วยทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งวัตถุก็เป็นภาวะของพระไวโรจนพุทธหมด เรื่องเพศอันเป็นเพียงรูปกายจึงไม่เป็นปัญญหาใด

       9 นอกจากจะได้ปรชาติ ประโยชน์ ในภพหน้าแล้ว ในปัจจุบันภพ หากมีผู้ทุกข์ภัยอันใด ลัทธินี้ก็มีวิธีโยคกรรม ทำให้สำเร็จสมปรารถนา เช่นต้องการจะได้โชคลาภ ก็มีโยคกรรมสำหรับบำเพ็ญให้บังเกิดโชคลาภ ฯลฯ

       10 ปวงพระพุทธเจ้าทั้งปวงที่บรรลุสัมโพธิญาณ ล้วนต้องปฏิบัติตามธรรมในลัทธินี้ทั้งสิ้น ในพระสูตรหนึ่งชื่ออาญาเขตตาอภิปาลสูตร กล่าวเป็นทำนองพุทธดำรัสของพระศากยมุนีพุทธเจ้าว่า เมื่อราตรีวันตรัสรู้ ก่อนพระโพธิสัตว์จะบรรลุนั้น แม้จะสร้างทศบารมีมาครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ก็ยังเกิดความขัดข้องในญาณ ในขณะนั้นปรากฏปวงพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาชุมนุมและตรัสเตือนให้ปฏิบัติตามลัทธิมนตรายาน คือให้พระโพธิสัตว์เพ่งว่ามีภาพดวงจันทร์อยู่เบื้องบนพระนาสิก ภายในดวงจันทร์นั้นก็มีอักขระ "โอม" ด้วยวิธีนี้ พระโพธิสัตว์จึงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้

       ด้วยจุดเด่น 10 ประการนี้ นิกายมนตรายานจึงเชื่อว่าเป็นยานพิเศษเหนือมหายาน และสาวกยาน กับทั้งปัจเจกยานทั้งปวง

พระสูตรสำคัญ

 

พระสูตรสำคัญของมหายาน

พระสูตรสำคัญของมหายานซึ่งมีมูลฐานมาจากพระพุทธวัจนะของพระพุทธเจ้า นิกายทั้งสามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างบนได้นำมาดีความแยกย่อยให้ชัดเจนมากขึ้น และเป็นที่มาแห่งพระพุทธศาสนามหายานนิกายต่างๆในประเทศจีน และเป็นรากฐานของวัชรยาน มีพระสูตรสำคัญๆดังนี้

1 ปรัชญาปารมิตาสูตร

        ปรัชญาปารมิตาสูตร จัดว่าเป็นพระสูตรดั้งเดิมที่สุด เป็นมูลฐานทฤษฎีว่าด้วยศูนยตา ปรัชญาปารมิตาสูตรนี้มีอยู่หลายคัมภีร์ด้วยกัน เช่น มหาปรัชญาปารมิตา อัษตสหัสริกปรัชญาปารมิตาหฤทยะ เป็นต้น พระสูตรนี้ได้แปลออกเป็นภาคจีนประมาณพ.ศ.713 ท่านกุมารชีพ แปลไว้หลายคัมภีร์ เช่นอัษตสหัสริกะ วัชรัจเฉทิกะอันเป็รคัมภีร์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดชาวจีนมากที่สุด

    วัชรัจเฉทิกะปรัชญาปารมิตาสูตร สอนว่า "ทกๆสิ่ง ทุกๆอย่างเป็นเพียงมายา เป็นเพียงปรากฏการณ์ และเป็นเพียงผลิตกรรมของจิตของเราเองเท่านั้น" แล้วลงท้ายด้วยคำว่า "สิ่งประกอบทั้งมวลเหมือนความฝัน ฟองน้ำ เงาหยาดน้ำค้าง แสงฟ้าแลบ"

    ส่วนในปรัชญาปารมิตาหฤทยะ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่สั้นที่สุด และเป็นหัวใจของพระสูตรชุดนี้ได้กล่าวถึงเรื่องของศูนยตาไว้โดยละเอียด อ่านดูได้จากลิงค์ในคำสอนมหายาน

 

2 อวตังสกะสูตร

        อวตังสกะสูตร มหายานถือว่า เป็นพระสูตรที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเองเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ในขณะที่พระองค์เข้าสมาธิหรืออยู่ในสภาพธรรมกาย อวตังสกะสูตรนี้ ต้นฉบับแปลที่สมบูรณ์มีอยู่ 2 ฉบับคือ

            2.1 ฉบับที่แปลโดย ท่านพุทธภัทระ เป็นหนังสือ 60 เล่ม แปลในราชวงศ์ชินตะวันออก ในระหว่างปี พ.ศ.961-1063

            2.2 ฉบับแปลโดยท่านศึกษานันทะ ซึ่งได้แปลในสมัยราชวงศ์ถัง ระหว่างปี1238-1242 เป็นหนังสือ 80 เล่ม ในปี พ.ศ.1439-1440 ท่านปรัชญาได้แปลอีกฉบับหนึ่ง เป็นหนังสือ 40 เล่ม

    ใจความสำคัญของพระสูตรนี้คือ "เมื่อเราพิจารณาโลกในแสงจิตภาพของไวโรจนพุทธ พุทธที่สูงสุดหรือธรรมกาย เราเห็นโลกเต็มไปด้วยความแจ่มใสเห็นโลกแห่งแสงบริสุทธิ์แท้จริง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเป็นหนึ่ง หนึ่งนั้นคือสัจสุงสุด พุทธะ จิต สรรพสัตว์ เป็นหนึ่ง"

 

3 คัณฑวยุหสูตร

    ในคัณฑวยุสูตรนี้ เป็นพระสูตรที่บรรยายการจาริกแสวงโมกษะธรรมของชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ สุธนะ ซึ่งมีเรื่องอยู่ว่า

    สมัยหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับ ณ เชตวนารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐีท่ามกลางหมู่พระโพธิสัตว์ 500 ซึ่งมีพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เป็นหัวหน้าพระโพธิสัตว์เหล่านั้น กำลังคอยฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์อยู่ แต่พระพุทธเจ้าทรงเข้าสมาธิเสีย พร้อมกับได้ทรงเนรมิตพระเชตวนารามให้ใหญ่โตอย่างหาขอบเขตมิได้ พระโพธิสัตว์จากสิบทิศได้พร้อมกันมาเฝ้าพระองค์และได้แต่งโศลกสรรเสริญพระองค์ พระพุทธเจ้าได้ทรงเปล่งรัศมีออกจากระหว่างขนตาส่องสว่านเห็นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั่วทศทิศ เป็นเหตุให้ดวงใจของพระโพธิสัตว์ทั้งมวลเต็มเปี่ยมไปด้วยความกรุณา เพื่อจะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสรรพสัตว์

        พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ จึงได้ท่องเที่ยวสั่งสอนประชาชนในที่ต่างๆ ในสมัยหนึ่ง ในขณะที่กำลังสั่งสอนชาวประชาอยู่ในเมื่องหนึ่งของแคว้นธัญยการะ มีเด็กหนุ่มในตระกูลผู้มั่งคั่งคนหนึ่งชื่อ "สุธนะ" นั่งฟังธรรมอยู่ในที่ชุมนุนนั้นด้วย สุธนะฟังด้วยปรารถนาเพื่อศึกษา พระมัญชุศรีโพธิสัตว์จึงได้แนะนำแก่เขาว่า "ในการแสวงหาสัจธรรมนั้น เธอต้องแสวงหาเพื่อนที่แท้จริงคอยช่วยเหลือ จงไปทีภูเขามโยโฮประเทศโษรกุ ณ ที่นั้นเธอจะพบสครเมฆภิกษุ ท่านจะให้คำแนะนำที่ดีต่อเธอ

        สุธนะจึงได้เดินทางไปพบสครเมฆภิกษุ ท่านก็ได้สั่งสอนแก่เขาอย่างกว้างขวางและแนะนำให้เขาไปหาเพื่อนคนอื่นๆต่อไปอีก โดยนั้นนี้ สุธนะจึงได้ไปเที่ยวหาสหายถึง 53 คน สุดท้ายได้ไปหาพระสมัตรภัทรโพธิสัตว์ อาศัยคำสั่งสอนของท่าน สุธนะจึงได้บรรลุธรรมธาตุสัจจะสูงสุด

    เล่มสุดท้ายของคัณฑวยุหสูตร ได้กล่าวถึงคำปฏิญาณของสุธนะและความปรารถนาของเขาในการที่ประสงค์ไปเกิดในสุขาวดียุหภพ คำสปฏิญาณของสุธนะมีดังนี้

            1 ขอนับถือพระพุทธะ
           
2 ขอให้ได้สรรเสริญพระตถาคต
           
3 ขอให้ได้ถวายของแต่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
           
4 ขอให้ได้ล้างบาปในอดีต
           
5 ขอให้จงยินดีในบุญกรรม และความสุขของบุคคลอื่น
           
6 ขอให้ได้อาราธนาพระพุทธเจ้าสั่งสอนธรรม
           
7 ขอให้ได้อาราธานาพระพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ในโลก
           
8 ขอให้ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อสั่งสอนแก่บุคคลอื่น
           
9 ขอให้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสรรพสัตว์
            10 ขอให้ได้บำเพ็ญต่อบุคคลอื่น

4 ทศภูมิกสูตร

    พระสูตรนี้ต้นฉบับเดิมที่เป็นภาษาสันสกฤตยังอยู่ครบสมบูรณ์ และมีฉบับแปล 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งแปลโดยท่านธรรมรักษ์ ซึ่งแปลในปี พ.ศ.840 และฉบับที่แปลโดยกุมารชีพ พระสูตรนี้ได้กล่าวถึงวัชรครรภะโพธิสัตว์ ได้บรรยายถึงข้อปฏิบัติ ที่จะทำให้บุคคลบรรลุความเป็นพระโพธิสัตว์ 10 ประการ คือ

            1 ปรมุทิตา ขั้นนี้พระโพธิสัตว์บำเพ็ญทานบารมี เฉลี่ยความสุขให้สรรพสัตว์
           
2 วิมลา ขั้นนี้พระโพธิสัตว์บำเพ็ญศีลบารมี
            3 ปรภากวี ขั้นนี้พระโพธิสัตว์พิจารณาถึงสภาพอันแท้จริงของสิ่งทั้งหลาย แสวงหาธรรมเพื่อ  ช่วย               
สัตว์ผู้ประสบทุกข์ โดยปฏิบัติบันติบารมีธรรม
           
4 อริสมติ ขั้นนี้พระโพธิสัตว์ ขจัดความคิดอันผิดๆให้หมดสิ้นไป บำเพ็ญวิริยบารมี
           
5 สุทุรชย ขั้นนี้พระโพธิสัตว์มีความรู้สมบูรณ์ ด้วยการปฏิบัติธยานบารมี
           
6 อภิมุกต ขั้นนี้พระโพธิสัตว์ เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มชัดในทฤษฎีปฏิจจสมุปบาท เป็นขั้น
              
แห่งปรัชญาหรือปัญญาบารมี
           
7 ทุรงคม ขั้นนี้พระโพธิสัตว์ เกิดความชำนาญในอุบายวิธีต่างๆแห่งปัญญา
           
8 อจล ขั้นนี้พระโพธิสัตว์อยู่ในสภาพที่ไม่เกิดและไม่ตาย เกิดในพุทธศาสนา ยังภูมิแห่งพุทธ
             
ของตนให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติปรินามนบารมี
           
9 ขั้นนี้พระโพธิสัตว์มีปรัชญาของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์เต็มที่สามารถสั่งสอนธรรม และปลุกสัตว์
             
ให้ตื่นขึ้นจากอวิชชาเป็นขั้นที่บำเพ็ญพลบารมี
           
10 ขั้นนี้พระโพธิสัตว์บรรลุขั้นสุดท้าย พระโพธิสัตว์มีอำนาจและลักษณะของพระพุทธทุกประการ
                เป็นขั้นที่บำเพ็ญญาณบารมีธรรม

5 วิมลเกียรตินิทเทศสูตร

    พระสูตรนี้นิกายเซนชอบและนิยมเป็นที่สุด ในพากย์จีนมีอยู่หลายฉบับ แต่ปัจจุบันมีอยู่ 3 ฉบับ ในญี่ปุ่นมีอรรถกถาอธิบายความในพระสูตรนี้เกือบทุกนิกาย ความในพระสูตรนี้เล่าว่า

            ครั้งหนึ่ง วิมลเกียรติโพธิสัตว์ มิได้ไปร่วมประชุมเพราะป่วย พระพุทธองค์จึงสั่งให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายไปถามข่าวเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของวิมลเกียรติโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็อิดเอื้อนไม่อยากไป โดยอ้างเหตุว่า ตนเองมีค่าไม่สมควรจะไปให้คำแนะนำแก่วิมลเกียรติโพธิสัตว์ ตกลงพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เป็นผู้ไปและได้ถามถึงสุขภาพของวิมลเกียรติโพธิสัตว์ ท่านได้ตอบด้วยคำพูดที่น่าจับใจว่า "ความเจ็บไข้ของพระโพธิสัตว์เกิดจากมหากรุณา และมีอยู่ในเวลาที่สรรพสัตว์ยังคงมีอวิชชา เมื่อใดความป่วยของสรรพสัตว์หมดสิ้นไปแล้ว เมื่อนั้นความป่วยไข้ของข้าพเจ้าจะหมดไปด้วย ข้าพเจ้าป่วยก็เพราะสรรพสัตว์ทั้งหลายป่วย

            จุดเด่นของวิมลเกียรตินิทเทศสูตรอยู่ตรงที่ว่า การจะเป็นพระโพธิสัตว์และดำรงชีวิตตามแบบอย่างพระโพธิสัตว์นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นพระภิกษุ ใครๆก็อาจปฏิบัติได้เหมือนกันหมด พีชแห่งความเป็นพุทธอาจค้นพบได้ จนกระทั่งในชีวติแก่งตัณหา ความหมายอันแท้จริงของสูตรนี้ก็คือการค้นหาความเป็นพุทธในตัวเอง ซึ่งเต็มไปด้วยตัณหานานาประการให้พบแล้วทำตัวให้บริสุทธิ์

6 ศุรางคมสมาธิสูตร

    พระสูตรนี้อ้างถึงความสำคัญของการบำเพ็ญสมาธิว่า เป็นมูลเหตุให้บรรลุการตรัสรู้ ความเป็นพระโพธิสัตว์และสัจธรรม ฉบับแปลมีถึง 9 ฉบับแต่สูญหายไปหมดแล้วเหลือเพียงฉบับเดียวที่กุมารชีพแปลเท่านั้น

            สุรางคมสมาธิสูตรได้กล่าวว่า พระสถิรมติโพธิสัตว์ได้เป็นผู้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พระโพธิสัตว์ผุ้ปรารถนาชีวิตแห่งความเป็นพระโพธิสัตว์หากแต่ยังไม่ต้องการจะเข้าสู่นิรวาณควรจะปฏิบัติอย่างไรดี พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ควรบำเพ็ญสมาธิ

7 สัทธรรมปุณฑริกสูตร

    พระสูตรที่สำคัญพระสูตรหนึ่งซึ่งนิกายมหายานในจีนและญี่ปุ่นนับถือกันมาก ฉบับแปลภาษาจีนเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 3 ฉบับ คือ

            1 ฉบับแปลของท่านธรรมรักษ์ แปลในปี พ.ศ.829

            2 ฉบับแปลของท่านกุมารชีพ แปลในปี พ.ศ.949

            3 ฉบับแปลของท่าจิสันคุปตะและท่านคุปตะ แปลในปี พ.ศ.1144

    ฉบับแปลทั้ง 3 ถือว่าฉบับที่ท่านกุมารชีพแปลเป็นฉบับที่ดีที่สุด ใจความของพระสูตรโดยย่อมีว่า

            ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ ท่ามกลางพระภิกษุ พระโพธิสัตว์ เทวดาและสัตว์อื่นๆ เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมจบแล้วก็เข้าสมาธิและแผ่รัศมีไปยังโลกทางทิศตะวันออก เมื่อพระองค์ออกจากสมาธิ ได้ตรัสบอกแก่พระสารีบุตรว่า เหตุที่พระองค์ทรงสั่งสอนสรรพสัตว์ด้วยอุบายวิธีต่างๆกัน เนื่องด้วยพระมหากรุณาของพระองค์ที่มีต่อสรรพสัตว์ คำสั่งสอนอันแท้จริงของพระตถาคตนั้นมีเพื่อหนึ่งเดียวเท่านั้นคือเพื่อสรรพสัตว์ แล้วพระพุทธองค์ได้ตรัสเล่าเรื่องบิดาได้ช่วยบุตร 3 คนออกจากเรือนแล้ว ก็ได้พบรถอันสวยงามคันหนึ่ง เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า พระตถาคนได้ช่วยสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากไตรโลกอันเป็นเสมือนหนึ่งเรือนไฟไหม้ โดยอาศัยวิธีต่างๆสั่งสอน แต่จุดมุ่งหมายเป็นอันเดียวกันหมดคือเพื่อสรรพสัตว์

            ในบทที่ 25 ที่เรียกว่าสมันตมุขนั้น ได้กล่าวสรรเสริญพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ กล่าวถึงว่า การที่พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์มีกายถึง32 กาย ก็เพื่อประโยชน์ในการรับใช้สรรพสัตว์

8 ศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร

    ผู้แปลพระสูตรนี้คือ ท่านคุณภัทระ พ.ศ.863-1022 และท่านโพธิรุจิ พ.ศ.1051-1078 พระสูตรมีใจความว่า

            พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสพยากรณ์แห่งหญิงผู้หนึ่งคือ เจ้าหญิงศรีมาลาเทวีว่า "เมื่อเธอเข้าใจธรรมชาติอันแท้จริงของตถาคตแล้ว เธอจะตั้งบริสุทธิภูมิอันสูงสุดขึ้น" เมื่อได้ฟังคำพยากรณ์เช่นนี้ เจ้าหญิงศรีมาลาเทวีจึงได้ตั้งสัตย์ปฏิณาฯไว้ 10 ประการคือ

            1 จะไม่ล่วงละเมิดพระวินัย
           
2 จะไม่เป็นคนหยิ่งยะโส
           
3 จะไม่ขอโกรธเคืองกับใคร
           
4 จะไม่เป็นคนอิจฉา
           
5 จะไม่เป็นคนริษยา
           
6 จะไม่รักใคร่สสารวัตถุใดๆ
           
7 ขอปฏิบัติคุณธรรม 8 คือ ให้ทาน ปิยวาจา กระทำประโยชน์และร่วมมือกับบุคคลอื่น กับทั้ง
              
ขอให้ได้ดำรงอยู่ในสภาพที่ไม่มีความเกาะเกี่ยวใดๆ
           
8 ขอให้ได้ปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลายออกจากความทุกข์
           
9 คัดค้านการล่วงละเมิดพระวินัย
            10 รักษาธรรม

    นอกจากนี้ เจ้าหญิงศรีมาลาเทวียังได้กล่าวอธิบายว่า มีบุคคล 3 ประเภทเท่านั้นที่เข้าสู่วิถีของมหายาน
           
1 บุคคลผู้บรรลุธรรมปัญญาอันลึกซึ้งโดยตนเอง
           
2 บุคคลผู้ยังธรรมแห่งความเชื่อฟังให้สมบูรณ์
            3 บุคคลผู้ถึงแม้จะไม่เข้าใจปัญญาแต่เชื่อมั่นในพระตถาคต

 

9 พรหมชาลสูตร

    พระสูตรนี้ ท่านกุมารชีพ ได้แปลไว้ในปี พ.ศ.949 เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยวินัยของมหายานทุกนิกาย

    วินัยของมหายานนั้น มีอยู่ 10 ประการคือ

            1 อย่าฆ่าสัตว์
           
2 อย่าลักทรัพย์
           
3 อย่าละเมิดบุตรภรรยาบุคคลอื่น
           
4 อย่าพูดคำเท็จ
           
5 อย่าดื่นน้ำเมา
           
6 อย่ากล่าวคำผิดของบุคคลอื่น
           
7 อย่าสรรเสริญตัวเอง
           
8 อย่าเป็นคนอิจฉาริษยา
           
9 อย่าเป็นคนอกตัญญู
            10 จงสรรเสริญพระไตรรัตน์

    พุทธบุตรต้องถือว่า ชายทุกคนเป็นเสมือนหนึ่งบิดาของเขา สตรีทุกคนเป็นมารดาของเขา เพราะว่าคนเหล่านี้ในอดีตเคยได้เป็นมารดาบิดาของตนมาแล้วถ้าหากว่าคนเหล่านี้ ก็เท่ากับฆ่ามารดาบิดาของตนเอง

 

10 สุขาวดีวยุหสูตร

        ในยุคของท่านคุรุนาคารชุน มีแนวคิดเรื่องภพหน้าปรากฏในนิกายบริสุทธิภูมิ หรือกายสุขาวดี 3 ประการด้วยกัน คือ

            1 เกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตของพระศรีอารย์
           
2 เกิดในภูมิตะวันออกของพระอักโษภยะ
            3 เกิดในภูมิตะวันตกของพระอมิตาภะ

    มหาสุขาวดีวยุหสูตรนี้ ชีเกา กับ โลกักเษมะ ได้เป็นผู้นำเข้าสู่ประเทศจีนในราวพุทธศตวรรษที่ 7 ต่อจากนั้นมา ก็ได้มีการแปลออกเป็นพากษ์จีนหลายครั้ง กุมารชีพได้แปลไว้เมื่อปี พ.ศ.1008 เรียกชื่อว่า อนุสุขาวดีวยุหสุตร ท่างสิงหวรมัน ได้แปลไว้อีกในปี พ.ศ.1565

    ในคัมภีร์สุขาวดีวยุหสูตรเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้สนทนากับพระอานนท์ถึงเรื่องพระภิกษุธรรมการะว่า ต่อไปจะได้ตรัสรู้เป็นพระอมิตาภพุทธเจ้า พระภิกษุธรรมการะนี้ ได้ตั้งสัตย์ปฏิณาณไว้ว่า จะยังไม่ขอบรรลุความเป็นพระโพธิสัตว์ จนกว่าจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์หมดแล้วจึงจะบรรลุ จึงได้ตั้งปริสุทธิภุมิหรือแดนสุขาวดีขึ้น เพื่อรับรองดวงวิญญาณของบุคคลผู้ที่จะไปเกิดในภพนี้ ผู้ที่จะไปเกิดในสุขาวดีภพได้ ต้องมีความเชื่อมั่นในพระอมิตาภพุทธเจ้า ในเวลาตายก็ให้ระลึกถึงชื่อของพระอมิตาภพุทธเจ้าไว้

 

11 ตถาคตครรภสูตร

    พระสูตรนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า "มหาไพบูลยตถาคตครรภสูตร" มีผู้แปลออกสู่พากย์จีนเมื่อปี พ.ศ.893-974 คำว่า "ตถาคตครรภ" มีปรากฏอยู่ในทศภูมิกสูตรก่อน  ในพระสูตรได้อธิบายไว้ว่าตถาคตครรภนั้นก็คือพุทธภาวะ กล่าวคือจิตของคนธรรมดานั้นแม้จะถูกหุ้มห่อด้วยกิเลส แต่ภายในก็ยังมีภาวะเท่ากับพระตถาคตเจ้า และทั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับโลกนี้จะมีพระพุทธเจ้าเสด็จมาปรากฏให้เห็นนั้น ก็เพื่อจะให้สัตว์โลกทราบถึงข้อนี้ คือจะให้ทราบว่า สัตว์โลกมี "พีช"ของ "พุทธ"อยู่แล้ว

    พระสูตรนี้แม้จะกล่าวว่า จิตมีความเป็นพุทธโดยกำเนิดแล้ว แต่ไม่ได้อธิบายถึงคุณลักษณะของตถาคตครรภ และตถาคตครรภนี้ มีความสัมพันธ์กับกิเลสอย่างไร รวมทั้งความสัมพันธ์กับการเวียนว่ายตายเกิดด้วย พระสูตรนี้จึงควรสันนิษฐานว่า เป็นพระสูตรแรก

 

12 อสมปูรณอนุสูตร

    พระสูตรนี้ไม่ทราบผู้ใดแปลสู่พากย์จีน ความในพระสูตรนี้ถือว่า สัตว์โลกย่อมเกิดดับอยู่ใน "ธรรมธาตุ" ขณะที่สัตว์โลกมีความหลงผิดอยู่ ก็ไม่มีอะไรเป็นการเพิ่ม ในขณะที่สัตว์โลกนั้น เห็นแจ้ง แล้วก็ไม่มีอะไรทีได้ลดหย่อนไป นีคือความหมายของคำว่า ไม่เพิ่มไม่หย่อน  คือไม่มีการเพิ่มเติมหรือลดหย่อนในทางจิตที่กำลังหลงผิดอยู่หรือเห็นแจ้งอยู่

    พระสูตรนี้สรุปว่า สัตว์โลกธาตุ คือตถาคตครรภ และตถาคตครรภ คือธรรมกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่สมบูรณ์โดยไม่มีอะไรเพิ่มและไม่มีอะไรหย่อนไป ฉะนั้นสัตว์โลกธาตุซึ่งมีธรรมกายนี้ เป็นภาวะแห่งปรมัถธรรม ไม่เกิด ไม่ดับ แต่เนื่องด้วยเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสัตว์โลกธาตุ จึงแสดงออกเป็นความหลงผิดหรือเป็นความเป็นแจ้งที่สัตว์โลกมีความหลงผิดหรือเห็นแจ้งนั้น เนื่องจาก

            1 ปรับจิตให้เข้ากับตถาคตครรภ ประกอบการที่เป็นวิสุทธิธรรม
            2 ไม่ปรับจิตให้เข้ากับตถาคตครรภ ประกอบการที่เป็นกิเลส

13 มหาปรินิรวาณสูตร

    พระสูตรนี้ท่านธรรมรักษ์ แปลไว้เมื่อปี พ.ศ.960 พระสูตรนี้ได้บรรยายถึงว่า แนวคิดของตถาคตครรภหรือพทธภาวะของพระสูตรต่างๆดังกล่าวล้วนแต่เป็นการค้นหาความสำเร็จในความเป็นพุทธโดยสัญชาตญาณอันมีมาแต่เก่าก่อน ซึ่งเป็นการเริ่มจากตรรกวิทยาหรือจิตวิทยา ส่วนที่พระองค์ยังคงสถิตอยู่ ซึ่งถือว่าเอาพระธรรมของพระองค์เป็นการสถิตอยู่ของพระองค์นั้นทัศนะแบบนี้เป็นแต่เพียงการนำเอาพระธรรมของพระองค์ มาเป็นจุดที่จะให้ระลึกถึงบุคลิคของพระองค์เท่านั้น ไม่เป็นการเพียงพอสำหรับศาสนา ฉะนั้นพระสูตรนี้จึงถือเอาพระองค์ในประวัติศาสตร์เป็นพระองค์ที่ยังทรงสถิตอยู่

    พระสูตรนี้ ขยายความจากนิพพานของเถรวาทมารวมกับแนวคิดของมหายานที่แตกต่างกับพระสูตรอื่นนั้น ความจริงหลักธรรมเป็นแนวทางที่จะละความหลงไปสู่ความเห็นแจ้งเพื่อความหลุดพ้น แต่ความหลุดพ้นอันอาศัยการละความหลงไปสู่การเห็นแจ้งนั้น มีอยู่ทางเดี่ยว คือด้วยจิตของเรา ที่ว่าตถาคตครรภ พุทธจิต ธรรมกาย พุทธกายหรือนิพพานก็ตาม ล้วนเป็นการสังเกตุจากจิต

    พระสูตรนี้ถือว่า การนิพพานของพระองค์ ไม่เป็นแง่ลบตามที่เคยเข้าใจกันแต่เป็นการแสดงออกของ "ความใหญ่ยิ่งของมหาอัตต" เป็นนิจจัง เป็นสุข เป็นวิสุทธิ แม้พระวรกายที่เราเห็นจะดับไปก็ตาม แต่พระวรกายที่แท้จริงยังคงมีอยู่ และพระวรกายที่แท้จริงนี้ มีอยู่เพื่อจะโปรดสัตว์ จึงได้บันดาลให้เกิดเป็นนิรมานกายและสัมโภคกาย

    จากแนวคิดพระวรกายยังสถิตย์อยู่ ดำเนินมาถึงพระวรกายในประวัติศาสตร์ก็ยังคงสถิตย์อยู่นั้น เริ่มด้วยสัทธรรมปุณฑริกสูตร ต่อด้วยพระสูตรนี้แล้วถูกขยายไปอีกในสุวรรณประภาสูตร

    พระสูตรนี้  เริ่มด้วยการถือว่า สัตว์โลกมีพุทธภาวะอยู่ทั้งสิ้น จบลงด้วยการถือว่า พระองค์ทรงสถิตย์อยู่เป็นนิตย์ เมื่อเช่นนี้ก็เป็นอันรับรองว่าสัตว์โลกจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ทั้งสิ้น ความจริงตามแนวคิดของสายตถาคตครรภ แม้จะยืนยันว่าสัตว์โลกบรรลุถึงพุทธภูมิได้ทั้งสิ้น แต่ก็มีข้อแม้ว่าประเภทอิจฉันติกะสำเร็จไม่ได้ แต่พระสูตรนี้รับรองว่าอิจฉันติกะก็จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในที่สุด เพราะว่า อิจฉันติกะแม้จะไม่ประกอบกุศลกรรม แต่พุทธภาวะที่มีอยู่เป็นกุศลกรรม เมื่อมีพุทธภาวะย่อมต้องบรรลุในพุทธภาวะถึงพุทธภูมิได้ในวันใดวันหนึ่งอย่างแน่นอน

    แนวคิดดังกล่าว แม้จะไม่ใช่สูตรนี้สร้างขึ้นทั้งหมด แต่เนื่องจากเป็นพระสูตรใหญ่จึงเป็นการสนับสนุนให้หลักธรรมเหล่านี้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเป็นสาระสำคัญของพุทธศาสนาในอินเดีย รวมทั้งมีอิทธิพลมากในจีนด้วย

14 สันธินิรโมจนสูตร

    พระสูตรนี้เป็นพระสูตรเก่าแก่พระสูตรหนึ่ง ซี่งท่านเฮี่ยงจัง(พระถังซัมจั่ง)ได้แปลออกมา เป็นคัมภีร์หลักของนิกายธรรมลักษณ์

    พระสูตรนี้ถือว่า สรรพธรรมในโลกธาตุ ล้วนเกิดจากจิต แต่จิตนี้ได้ให้กำเนิดแก่โลกได้อย่างใด โลกจึงมีสภาพเช่นนี้ ต่างไม่ได้อธิบายให้ชัด คงถือว่าเนื่องมาจากอวิชชา โลกอันเป็นควางหลงนี้จึงเกิดขึ้น หากจิตบริสุทธิ์สุขาวดีก็จะเกิดขึ้นเช่นกัน

    อวิชชานั้น ต่างถือว่าเป็น "มูลอวิชชา" ส่วนจิตที่บริสุทธิ์(สัทจิต) ต่างรับรองว่ามีพุทธภาวะอยู่และเป็นตถาคตครรภ เมื่อเช่นนี้ อวิชชากันสัทจิตมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และร่วมกันแสดงออกซึ่งโลกนี้ได้ด้วยประการใดยังไม่เป็นการอธิบายและที่สุด ก็เกิด "วิญญาณมาตรา"(ด้วยวิญญาณเท่านั้น) ขึ้น เพื่ออธิบายในเรื่องเหล่านี้

    หลักธรรมวิญญาณมาตรา สำเร็จด้วยพระอสังคะ พระวสุพันธุและพระคณาจารย์อีกหลายท่าน แต่มีรากฐานมาจากพระสูตรนี้ทั้งสิ้น พระสูตรนี้เป็นหลักธรรมของนิกายธรรมลักษณ์ หรือที่เรียกว่า นิกายโยคาจาร

    แนวคิดพิเศษของพระสูตรนี้ ได้แก่การเพิ่มวิญญาณ6 ให้เป็นวิญญาณ 8 คือเพิ่มอาลยวิญญาณ(วิญญาณที่ทำหน้าที่สะสม) หรืออทานวิญญาณเป็นวิญญาณที่ 7  แต่ต่อมาได้ถือเอาอาลยวิญญาณเป็นวิญญาณที่ 8 ส่วนอทานวิญญาณเป็นวิญญาณที่ 7 และเปลี่ยนชื่อว่า มนัสวิญญาณซึ่งทำหน้าที่ยึดมั่นในความมีตัวตน

    พระสูตรนี้กล่าวคาถาในแรกเริ่มว่า "วิญญาณมีความละเอียดลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง มีพีชะทั้งหลาย ไหลหลั่งอย่างกระแสน้ำเชี่ยว เราไม่แสดงต่อคนที่โง่เขลาเพราะเกรงว่าชนเหล่านั้น จะยึดวิญญาณนี้เป็นตัวตน(อัตตา) และได้อธิบายว่า ที่เรียกว่าอทานวิญญาณนั้น ก็เพราะวิญญาณนี้สามารถสะสมเก็บรักษาบรรดาพิชะได้ กล่าวคือ อาลยวิญญาณนั้น คือสภาพแห่งจิตอยู่ภายในมนัสวิญญาณ ไหลหลั่งเป็นกระแสเหมือนกระแสน้ำเป็นเหตุที่สร้างสรรพธรรมขึ้น และเก็บสะสมประสบการณ์ทั้งหลายไว้ เป็นหลักในการเวียนว่ายตายเกิดและก็เป็นหลักในการที่จะเห็นแจ้งด้วย

    พระสูตรนี้ได้สร้าง "ไตรลักษณ์" ขึ้น เป็นการแยกสรรพธรรมทั้งหลายเป็น 3 ประเภท

        ปริกัลปปิตะลักษณะ(ภาพที่เห็นตามความหลงผิด) คือความหลงผิด ความเผลอ หรือสัญญาวิปลาสเห็นผิดไปจากความจริง เช่นเห็นเชือกเป็นงู แล้วก็หวั่นกลัวไปเอง

        ปรตันตรลักษณะ(ภาพที่เห็นตามที่เกิดขึ้น เป็นการเห็นในสิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นความรู้ทั่วไปหรือความรู้ทางวิทยศาสตร์ เช่นเห็นเชือกเป็นเชือกและรู้ว่าเชือกนั้นทำด้วยอะไร

          ปรินิษปันลักษณะ(ความที่เห็นตามความสมบูรณ์ที่แท้จริง) เป็นการเห็นตามตถตา(เป็นเช่นนั้น) เป็นสมภาค(เสมอภาค)

        การแยกประเภทดังนี้ ก็คือการเห็นที่เป็นความเท็จกับการเห็นที่เป็นความจริงเท่านั้น

        ลักษณะทั้ง 3 นี้ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะใด ย่อมปราศจากจิตไม่ได้ ลักษณะอันเกิดจากการยึดผิด เป็นอาเวคภาค(ภาพภายนอก)ของจริง ไม่มีภาวะที่แท้จริงลักษณะที่เกิดจากการปรุงแต่งของเหตุปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่เกิดจากจิต ไม่มีภาวะที่แท้จริง ส่วนลักษณะอันเป็นตถตา ก็เป็นสิ่งที่มีเหตุปัจจัยอันเกิดจากสัทจิตปราศจากจิตแล้วต่างไม่มีภาวะแท้จริงแห่งตน ฉะนั้น หลักธรรมของนิกายวิญญาณมาตรานี้ ก็มีสูญเป็นที่สุดเช่นกัน

        อริยสัจ 4 ซึ่งพระองค์ตรัสไว้ในแรกเริ่มนั้น เป็นหลักธรรมของสาวกยาน เป็นสูตรประเภทปริยายธรรม คือการแสดงธรรมโดยทางอ้อม ยังไม่สิ้นเนื้อหาของธรรมต่อมาพระองค์ ได้แสดงถึงสรรพธรรมปราศจากภาวะแห่งตน ไม่มีการเกิดดับ มีความสงบแต่แรกเริ่ม เป็นนิพพานโดยภาวะแห่งตนเพื่อประทานแก่บรรดาโพธิสัตว์ แต่ก็ยังไม่สิ้น ขอบเขตของพระธรรม สูตรนี้ได้ปรรยายถึงลักษณะ 3 และการปราศจากภาวะแห่งตน เป็นการแสดงธรรมแก่ยานทั้ง 3 เป็นเจตจำนงของพระองค์อย่างสมบูรณ์ สูตรนี้เป็นสูตรล่าสูตรของมหายาน และปรากฏขึ้นในฐานะเป็นวิญญาณมาตรานิกาย อันเป็นนิกายใหม่ ไม่รวม 3 ยาน อย่างที่ สัทธรรมปุณฑริกสูตร แต่กลับแยกเป็น 3 ยาน สูตรนี้มาในรูปที่ควรเป็นศาสตร์มากกว่าที่จะเป็นสูตร

15 ลิลิตวิสตร จัดเป็นพระสูตรแรกของของฝ่ายมหายาน เป็นพระสูตรสำคัญของชาวพุทธฝ่ายมหายานในแถบเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งนับถือกันอยู่ มีอยู่ด้วยกัน 9 พระสูตร ได้แก่ 1 ลิลิตวิสฺตร  2 อษฺฏสาหสฺริกา ปฺรชฺญาปารมิตา  3 คณฺฑวฺยูห สูตร  4 ทศภูมิก หรือ ทศภูมีศฺวร     5สมาธิราช หรือจนฺทฺรปฺรทีป สูตร  6 ลงฺกาวตาร สูตร  7สทฺธรฺมปุณฺฑรีก สูตร  8 ตถาคตคุหฺยก   9 สวฺรณปฺรภาส สูตร

      ลิลิตวิสตร เป็นพระสูตรที่รจนาเกี่ยวกับพุทธประวัติ เป็นพระสูตรแรกในพุทธศาสนา ในปิฎกของฝ่ายเถรวาทเองก็ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับพุทธประวัติอย่างเป็นเรื่องเป็นราว พระสูตรลลิตวิสตร จึงจัดว่าเป็นต้นแบบและเป็นแบบอย่างของการ รจนาพุทธประวัติในกาลต่อๆมาของชาวพุทธทั้งปวง ดังเช่น มหากาพย์พุทธจริต ได้นำมาจากพระสูตรลลิตวิสตรและเลือกส่วนที่ต้องการจะเผยแพร่ มาแต่งใหม่ในสำนวนของมหากาพย์ โดยอัศวโฆษในราวพุทธศตวรรษที่ 1 พระปฐูมสมโภชน์ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรถทรงนำเรื่องราวของ พระสูตรลลิตรวิสตร มาเขียนใหม่ตามแนวของเถรวาท เป็นต้น

สรุป   ปรัชญาพุทธศาสนามหายานเป็นอรรถกถาภาคสมบูรณ์ของหลักการอนัตตาและทางสายกลางของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนามหายานทุกนิกายยืนอยู่บนรากฐานแห่งปรัชญาแห่ง "ศูนยตา" และ "เอกจิต"

    ศูนยตา   ภาวะที่ปราศจากขึ้วทั้ง 4 มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ไมใช่มีก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ไม่มีก็ไม่ใช่ ภาวะเหนือความคิด เหนือคำบรรยาย ความคิดที่เกิดขึ้นเป็นขั้วใดขั้วหนึ่งในสี่ขั้ว จึงไม่เป็นศูนยตา

    เอกจิต  สรรพสิ่งทั้งหมดเป็นมายามีเพียง "จิตเดียว" เท่านั้นที่เป็นจริง

    แม้ว่าดูเผินๆแล้วปรัชญาทั้งสองจะขัดกัน แต่ก็ได้มีมานำปรัชญาทั้งสองมาประยุกต์รวมกันเป็นปรัชญาเดียวและปฏิบัติร่วมกันอย่างกลมกลืนนั่นคือปรัชญาของวัชรยาน ซึ่งเป็นส่วนต่อยอดของมหายาน หรือกล่าวได้ว่าวัชรยานคือส่วนหนึ่งของมหายาน

 

 

ดาวน์โหลดตัวอักษร (ฟ้อนต์) ทิเบตทั้ง ๓ แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการชมเว็บ

actisan.ttf

adtibet.ttf

atibet.ttf


uptime alert service

website monitor

View My Stats