- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดี, 22 พฤศจิกายน 2555 08:51
- เขียนโดย Astro Neemo
พระสูตรมหายาน
ศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ แปลจากภาษาอังกฤษ
ส่วนที่นำลงในเวปนี้คัดลอกเฉพาะพระสูตร และบทนำ ต้นฉบับหนังสือนี้ มีอรรถกถาซึ่งแยกแยะและให้รายละเอียดอย่างชัดเจนและง่ายต่อการเข้าใจอย่างดีเยี่ยม สำหรับผู้สนใจหาชื้อหนังสือ ศรีมาลาเทวีสีนาทสูตร ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ แปลจากภาษาอังกฤษ ตามร้านหนังสือทั่วไป หรือที่วัดทรงธรรมกัลยาณี นครปฐม
บทนำ
ศรีมาลาฯ เป็นพระสูตรมหายานที่รจนาขึ้นหลังจากมี ปรัชญาปารมิตาสูตร ซึ่งเป้นพระสูตรหลังได้ไม่นาน งานสำคัญที่สุดในกลุ่มนี้ ได้แก่ อัษฏสาหัสริกา ซึ่งรจนาขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 100 ก่อน ค.ศ.-ค.ศ.200 พระสูตรมหายานแรกๆนั้น กล่าวถึงทฤษฎีทวิกายของพระพุทธเจ้า ได้แก่ รูปกายหมายถึงกายของพระพุทธเจ้าที่ทรงอุบัติขึ้นในโลก และธรรมกายซึ่งเป็นพุทธภาวะส่วนใหญ่ของพระสูตรนี้ กล่าวถึงทฤษฎีทวิกายที่กล่าวถึงนี้ และพระนางศรีมาลาเทวีได้ตรัสสรรเสริญสามเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "รูปกายของพระองค์ และความรู้อยู่เหมือนจินตนาการ พุทธภาวะของพระองค์ไม่เสื่อมสูญ จึงสมควรที่จะยึดพระองค์เป็นสรณะพระมุนีเจ้า" พระสูตรมหายานในสมันต่อมาเช่น อวตังสกะ(ค.ศ.200-400) และลังกาวตารสูตร (ค.ศ.400) ได้แบ่งแยกรูปกายออกไปอีกเป็น สัมโภคกายและนิรมานกาย ศรีมาลาฯ ไม่ได้กล่าวถึงทฤษฎีตรีกาย แต่อาจเป็นไปได้ว่าอยู่ในสมัยเดียวกับพระสูตรที่เริ่มมีการพัฒนาทฤษฎีตรีกายแล้ว ลังกาวตารสูตร บ่งชี้ชัดถึงกำเนิดของศรีมาลาฯ เพราะในลังกาวตารสูตรนั้น มีการอ้างถึงศรีมาลาฯ
ข้อบ่งชี้อีกประการหนึ่ง คือการยกย่องศรีมาลาเทวีว่าเป็นกุลธิดาควบคู่กันไปกับกุลบุตร แสดงให้เห็นถึงสมัยที่คณะสงฆ์ต้องพึ่งพาอาศัยราชนิกูล ราชินี และภรรยาขุนนางในตำแหน่งสูง แม้ประวัติศาสตร์อินเดียในสมัยนี้จะกระท่อนกระแท่น บริเวณที่น่าจะเป็นได้มากที่สุดคืออินเดียใต้ โดยเฉพาะอัธระซึ่งมีปูชนียสถานสำคัญทางฝ่ายพุทธ ได้แก่อมรวดีและนาคารชุนนิคณฑ์ ดังที่นักประวัติศาสตร์อินเดียคุ้นกันดีว่าหลังจากที่สาตวาหน จกรวรรดิอินเดียใต้สิ้นสุดลงใน ค.ศ.220 ก็มีการแบ่งแยกเป็นอาณาจักรใหญ่น้อย รวมทั้งอีกษวากุในอันธรประเทศ อาจารย์เอ็น ศาสตรี เขียนว่า
" พวกอีกษวากุ ปกครองทางด้านกฤษณะคุนตุร...มีกษัตริย์ปกครอง 7พระองค์ ภายในเวลา 57 ปี แต่มีเพียงบางองค์เท่านั้นที่ปรากฏพระนามในศิลารึก...วาสิฐีบุตร ศิริ ชานตมูล ปฐมกษัตริย์ทรงทำพิธีอัศวเมธ และวาชเปยสังเวย ในรัชสมัยของพระโอรสของพระองค์คือ พระเจ้าวีรปุริสทาต พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก เช่นเดียวกับด้านการฑูต พระองค์ได้มเหษีจากราชวงศ์ศัก แห่งแคว้นอุชเชน และพระราชทานพระราชธิดาให้แก่เจ้าชายชุตุ เจ้านายฝ่ายหญิงในราชสำนักส่วนใหญ่เป็นพุทธ พระเจ้าป้าของพระเจ้าวีรปุริสทาตทรงสร้างมหาสถูปที่นาครชุนนิคณฑ์ เพื่อบรรจุธาตุของอาจารย์ นอกจากนั้นยังได้ทรงสร้างวัดวิหารและมณฑป กรณยกิจของพระนางเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติแก่พระราชวงศ์ฝ่ายหญิงทั้งหลาย และดังที่เราได้ทราบจากการกล่าวถึงของโพธิศิริ หญิงชาวเมืองคนหนึ่ง"
ในการพัฒนาสถูปอมราวตีที่ปากแม่น้ำกฤษณะในคริสต์ศตวรรษที่ 1 และ 2 โรว์แลนด์ได้บันทึกว่า "มีข้อบ่งชี้ที่แสดงว่า สถาบันพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนจากบรรดาพระราชินี ขณะที่พระเจ้าแผ่นดินเองเป็นฮินดู" เมื่อพิจารณาจากข้อมูลเหล่านี้ อาจทำความเข้าใจได้ว่าส่วนหนึ่ง ศรีมาลาฯ คงเขียนขึ้นเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติพระราชินีและเจ้านายฝ่ายหญิง ที่เป็นกำลังสำคัญทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในอินเดียใต้ ดังนั้น เราจึงกำหนดว่า ศรีมาลาฯเป็นงานที่รจนาขึ้นในรัชสมัยของอีกษวากุ ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 ข้อเสนอแนะนี้บ่งชี้ว่า ตถาคคตครรภ์สูตร อื่นๆคงรจนาขึ้นในสมัยเดียวกันในบรเวณกฤษณะคุณตุรนี้
บาโรอ้างถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาอันธระในคริสต์ศตวรรษที่ 3 ว่า เป็นนิกายมหาสังฆิกะที่แยกมาในสมัยหลัง คือ พวกปูรวไศละและอุตตรไศละ ศิลาจารึกในปีที่ 14 ของพระเจ้ามาเธรีปุต กษัตริย์อีกษวากุ ได้กล่าวถึงพวกนี้ ศิลาจารึกในศตวรรษที่ 2 และ 3ค้นพบที่เมืองอมราวดี และที่นาคารชุนนิคณฑ์ ระบุถึงนิกายย่อย 2 นิกายนี้ด้วย และกล่าวถึงนิกายย่อยไตตียะ ซึ่งเกิดขึ้นต่อมา เมื่อพระถังซำจั๋งสมณะจีนเดินทางมายังดินแดนแถบนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 พุทธศาสนาเรื่มเสื่อมแล้ว แต่ท่านยังพบว่ามีพระนิกายมหาสังฆิกะถึง 1000 รูปกระจากกันอยู่ในวัด 20 วัด ใกล้เมืองธัณยกฏกะ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของอมราวตี
ถ้าเรายอมรับว่า ศรีมาลาฯเป็นงานที่รจนาขึ้นในคริศต์ศตวรรษที่ 3 สมัยอันธระ และเราทราบว่า นิกายมหาสังฆิกะเป็นนิกายที่มีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ ข้อมูลนี้บ่งชี้ว่า ศรีมาลาฯ เป็นงานมหายานที่เกิดจากนิกายมหาสังฆิกะรุ่นต่อมา โชคดีที่มีมหาวัสตุ ซึ่งเป็นงานของนิกายโลกุตตรวาท ซึ่งเป็นนิกายย่อยของมหาสังฆิกะเหลืออยู่ เมื่อนำ ศรีมาลาฯ ไปเปรียบเทียบกับงานชิ้นนี้จึงพบว่า มหาวัสตุ มีคำอธิบายบางตอนที่นำมาอธิบายข้อความในศรีมาลาฯ ที่เข้าใจยากได้ดีทีเดียว เช่นคำว่า "กายอันเกิดจากจิต" และ การเปลี่ยนแปลงอันไม่อาจหยั่งถึง" และการอธิบายถึงขั้นต่างๆในโพธิสัตต์ภูมิ ที่ศรีมาลาฯ เปรียบกับการสละกาย ลมปราณ และสมบัติ ในตอนต้นของมหาวัสดุ อธิบายถึงงานของพระโพธิสัตต์ ซึ่งสอดคล้องเป็นอันดีกับบทแรกของศรีมาลาฯ ซึ่งได้รวมเอาไว้ซึ่งประเด็นหลักของมหาสังฆิกะ เราจึงสรุปว่า ศรีมาลาฯเป็นผลิตผลของนิกายมหาสังฆิกะ ในคริสต์ศตวาษที่ 3 สมัยอันธระ
ผู้แต่งไม่ปรากฏนามซึ่งได้รจนาพระสูตรมหายานเช่นนี้ ได้สมมุติตัวเอกของเรื่องเป็นพระเทวีชาวพุทธ ในสมัยพุทธกาล แต่พระนางมีตัวตนในประวัติศาสตร์หรือไม่ พระราชบิดาและพระมารดา คือพระเจ้าประเสนจิตแห่งแคว้นโกศล และพระนางมัลลิกา ทั้งสองพระองค์เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ พระนามของพระเจ้าแผ่นดินนั้นเขียนว่า ปเสนทิตามแบบบาลี พระนางมัลลิกาเป็นธิดาผู้เลอโฉมของหัวหน้าช่างผู้ร้อยดอกไม้แคว้นโกศล เมื่อนางได้เฝ้าพระพุทธเจ้าและถวายผลส้มแก่พระองค์ พระพุทธองค์ทรงแย้มพระสรวลและตรัสทำนายแก่พระอานนท์ว่า ต่อไปนางจะเป็นพระมเหษีในพระราชาแคว้นโกศล วันเดียวกัน พระเจ้าปเสนทิทรงทำศึกพ่ายแพ้พระเจ้าอชาตศัตรู พระองค์เสด็จไปในอุทยานนางได้ปลอบประโลมพระทัยพระองค์ เย็นวันนั้น เมื่อพระองค์ทรงส่งราชรถมารับและยกย่องนางเป็นมเหษีเอกของพระองค์ มาลาลเสกระได้อธิบายว่า "พระนางมัลลิก่าทรงมีพระธิดา ไม่มีการกล่าวถึงพระโอรส ทำให้พระเจ้าปเสนทิทรงเสียพระทัย แต่พระพุทธองค์พระราชทานความมั่นพระทัยว่า บางครั้งสตรีนั้นชาญฉลาดกว่าบุรุษด้วยซ้ำไป" คำที่ทำให้เชื่อว่าเป็นพระธิดาคือคำว่า "วชิรี หรือวชิรา" ซึ่งใช้ในตอนที่กล่าวถึงพระราชธิดาองค์เดียวของพระเจ้าปเสนทิพบในมัชฌิมนิกาย มาลาลเสกระอธิบายถึงวชิรกุมารีว่า "เมื่อการศึกระหว่างพระเจ้าปเสนทิกับพระเจ้าอชาตศัตรูยุติลง พระเจ้าปเสนทิทรงมอบวชิราให้อภิเษกกับพระเจ้าอชาตศัตรู และทรงยกหมู่บ้านในแคว้นกาสี อันเป็นเหตุแห่งความบาดหมางนั้นให้เป็นของขวัญการอภิเษก" ซึ่งหมายความว่า การทำศึกต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างพระเจ้าปเสนทิและพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นยืดเยื้อมาตั้งแต่ก่อนพระนางวชิราประสูติ จนกระทั่งพระนางเจริญพระชันษาควรแก่การอภิเษก ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็มีความเป็นไปได้ในทางประวัติศาสตร์ มีวชิราอีกคนหนึ่งเป็นภิกษุณีและมีการกล่าวถึงบ่อยครั้ง แต่อรรถกถาจารย์ไม่คิดว่าเป็นองค์เดียวกับพระราชธิดาของพระเจ้าปเสนทิ
อย่างไรก็ดี อโยธยาซึ่งในศรีมาลาฯ กล่าวว่าเป็นเมืองหลวงของพระนางศรีมาลาฯ และพระเจ้ายโศมิตร ไม่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ทรงมีเมืองราชคฤห์เป็นเมืองหลวงในแคว้นมคธ นอกจากนั้น ทั้งพระนามศรีมาลาและยโศมิตร ไม่ปรากฏในฝ่ายบาลี ดูเหมือนว่าเมืองอโยธยาของพระเจ้ายโศมิตรและพระนางศรีมาลาจะเป็นจินตการของผู้รจนาเอง
พระนางศรีมาลาในพระสูตรนี้ย่อมสัมพันธ์กับพระนามพระมารดาคือพระนางมัลลิการ อาจย้อนไปถึงเหตุการณ์ครั้งแรกที่พระเจ้าปเสนทิได้ทรงพบกาบมัลลิกาในอุทยาน ในอรรถกถาของจี้ซัง(น6)และพจนานุกรมของโมชิสุกิ(น.2775a) ได้กล่าวถึงทฤษฎีต่างๆโดยเฉพาะ 2 ทฤษฎี ที่กล่าวถึงว่า เมื่อพระนางประสูตินั้น ประชาชนต่างพากันยินดีนำพวงมาลาซึ่งประดับด้วยเพชรนิลจินดามาถวาย พระเจ้าปเสนทิทรงชื่นชมในคุณธรรมและสติปัญญาของพระนาง จึงทรงเรียกขานพระนางว่า "ศรีมาลา" หมายความว่า ขณะที่คนอื่นสวมใส่มาลา แต่พระธิดาของพระองค์นั้น เป็นมาลาทีเดียว และด้วยเหตุนี้จึงเป็นมาลาที่ประเสริฐกว่ามาลาทั้งปวง ในความหมายตามทฤษฎีที่สองนี้ สอดคล้องกันเนื้อหาของพระสูตร เพราะได้มีการกล่าวถึงผู้ที่ปฏิบัติตามพระธรรมอันประเสริฐนั้น ย่อมเป็นผู้ทรงไว้ด้วยธรรมอันประเสริฐนั้น
โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่าพระสูตรนี้มีพื้นฐานจากกึ่งประวัติศาสตร์ และกึ่งจินตนาการ
ชื่อพระสตูร
ได้มีการกล่าวถึงพระสูตรนี้ในวรรณคดีสันสกฤตต่างๆกัน ดังนี้
1 ในลังการวตารสูตร เรียกว่า "ศรีมาลังเทวี อธิกฤตยะ " (เรื่องราวเกี่ยวกับพระนางศรีมาลาเทวี)
2 ในมหายานสูตราลังการ เรียกว่า "ศรีมาลาสูตร"
3ในรัตนโคตรวิภาค เรียกว่า "อารยศรีมาลาสูตร"
4 ในศึกษาสมุจจัย ของศานติเทวะเรียกว่า "ศรีมาลาสิงหนาทสูตร"
เราจะสังเกตได้ว่ามีแนวโน้มที่จะทำให้ชื่อของพระสูตรนี้ยาวขึ้น
ชื่อเรียงภาษาสันสกฤตที่ปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายธิเบต แสดงถึงว่าได้มีการดัดแปลงงาน รัตนกูฏ ในอินเดียสมัยที่แปลเป็นภาษาธิเบต ใช้ชื่อว่าอารยศรีมาลาเทวีสีหนาท นามมหายานสูตร (แปลว่า มหายานสูตรที่มีชื่อว่า ศรีมาลาเทวีสีหนาท)
ฉบับของคุณภัทรที่แปลเป็นภาษาจีน ใช้ชื่อว่า ศรีมาลาสีหนาท เอกยาน เอกสัจวิธีบรรลือไกลสูตร ในอรรถกถาของเจ้าชายโชโตกุ ใช้ชื่อสองจากสิบหกชื่อที่ปรากฏในบทสุดท้ายของพระสูตร ชื่อทั้งสองปรากฏดังนี้ "เกาศิกะ ขอจงรักษานามไว้ว่า ศรีมาลาเทวีสีหนาทและเก็บคำอธิบายทั้งมวลที่ปรากฏในพระสูตร เป็นเครื่องกำจัดคความสงสัย พินิจความหมายในประการสุดท้าย และเข้าสู่เอกมรรค" ดังนั้น เราจึงควรทำความเข้าใจชื่อในภาษาจีนว่า "เอกยาน-มหาวิธี" ว่าหมายความถึง "มหาสัจวิธีแห่งเอกยาน" ประโยคที่ว่า เป็นเครื่องกำจัดความสงสัย" และพินิจความหมายในประการสุดท้าย" อาจย่อลงเหลือเพียง "บรรลือไกลสูตร"
ฉบับแปลของโพธิรุจิ(ไตโช V. II672, NO310-48)ในรัตนกูฏ ใช้ชื่อง่ายๆว่า สภาศรีมาลาเทวี คำว่า "สภา" ในในความหมายของพระสูตร เพราะคัมภีร์แต่ละคัมภีร์ในรัตนกูฏ ฉบับภาษาจีนเรียกว่า สภา และศรีมาลาฯ เป็นคัมภีร์ที่ 48
นอกจากนั้น ในอรรถกถาของจีน ชื่อพระสูตรตามฉบับของคุรภัทร ย่อลงมาอีก 6 แบบ แบบที่สั้นที่สุด คือ ศรีมาลาสูตร (เฉิงมันจิง)
ฉบับแปลภาษาจีนของคุณภัทร ได้มีการแปลถ่ายทอดเป็นภาษาญี่ปุ่น โดย โกโยซาไกโนะ ในโคคุยาคุ ได้โซเคียว และแปลโดย ไซจุน ฮาสุซาวะ ในโคคุยาคุ อิสโซเคียว โดยใช้ชื่อตามฉบับจีน โชมัน ชิชิคุอิชิโ ไดโอเบ็น โฮโคะเคียว ชื่อสันที่สุดเป็นโชมันเคียว(ศรีมาลาสูตร)
ดูเหมือนว่า ตามที่เรากำหนดให้เป็นคริสต์ศตวรรษที่ 3 คงจะเป็นการเพียงพอที่จะเรียกว่า ศรีมาลาสูตร จะเป็นมหายานสูตรฉบับแรกของนิกายนี้ ต่อมาเมื่องานนี้เผยแพร่ออกไปจนได้รับการยกย่องในหมู่ชาวพุทธมหายานทั่วไป ได้รับการกล่าวอ้างถึงบ่อยขึ้นและกลายเป็นส่วนหนึ่งของงานชิ้นต่างๆในขณะที่ชื่อของพระสูตรก็เริ่มยาวขึ้น
พระสูตรมหายาน
ศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ แปลจากภาษาอังกฤษ
ส่วนที่นำลงในเวปนี้คัดลอกเฉพาะพระสูตร และบทนำ ต้นฉบับหนังสือนี้ มีอรรถกถาซึ่งแยกแยะและให้รายละเอียดอย่างชัดเจนและง่ายต่อการเข้าใจอย่างดีเยี่ยม สำหรับผู้สนใจหาชื้อหนังสือ ศรีมาลาเทวีสีนาทสูตร ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ แปลจากภาษาอังกฤษ ตามร้านหนังสือทั่วไป หรือที่วัดทรงธรรมกัลยาณี นครปฐม
บทนำ
ศรีมาลาฯ เป็นพระสูตรมหายานที่รจนาขึ้นหลังจากมี ปรัชญาปารมิตาสูตร ซึ่งเป้นพระสูตรหลังได้ไม่นาน งานสำคัญที่สุดในกลุ่มนี้ ได้แก่ อัษฏสาหัสริกา ซึ่งรจนาขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 100 ก่อน ค.ศ.-ค.ศ.200 พระสูตรมหายานแรกๆนั้น กล่าวถึงทฤษฎีทวิกายของพระพุทธเจ้า ได้แก่ รูปกายหมายถึงกายของพระพุทธเจ้าที่ทรงอุบัติขึ้นในโลก และธรรมกายซึ่งเป็นพุทธภาวะส่วนใหญ่ของพระสูตรนี้ กล่าวถึงทฤษฎีทวิกายที่กล่าวถึงนี้ และพระนางศรีมาลาเทวีได้ตรัสสรรเสริญสามเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "รูปกายของพระองค์ และความรู้อยู่เหมือนจินตนาการ พุทธภาวะของพระองค์ไม่เสื่อมสูญ จึงสมควรที่จะยึดพระองค์เป็นสรณะพระมุนีเจ้า" พระสูตรมหายานในสมันต่อมาเช่น อวตังสกะ(ค.ศ.200-400) และลังกาวตารสูตร (ค.ศ.400) ได้แบ่งแยกรูปกายออกไปอีกเป็น สัมโภคกายและนิรมานกาย ศรีมาลาฯ ไม่ได้กล่าวถึงทฤษฎีตรีกาย แต่อาจเป็นไปได้ว่าอยู่ในสมัยเดียวกับพระสูตรที่เริ่มมีการพัฒนาทฤษฎีตรีกายแล้ว ลังกาวตารสูตร บ่งชี้ชัดถึงกำเนิดของศรีมาลาฯ เพราะในลังกาวตารสูตรนั้น มีการอ้างถึงศรีมาลาฯ
ข้อบ่งชี้อีกประการหนึ่ง คือการยกย่องศรีมาลาเทวีว่าเป็นกุลธิดาควบคู่กันไปกับกุลบุตร แสดงให้เห็นถึงสมัยที่คณะสงฆ์ต้องพึ่งพาอาศัยราชนิกูล ราชินี และภรรยาขุนนางในตำแหน่งสูง แม้ประวัติศาสตร์อินเดียในสมัยนี้จะกระท่อนกระแท่น บริเวณที่น่าจะเป็นได้มากที่สุดคืออินเดียใต้ โดยเฉพาะอัธระซึ่งมีปูชนียสถานสำคัญทางฝ่ายพุทธ ได้แก่อมรวดีและนาคารชุนนิคณฑ์ ดังที่นักประวัติศาสตร์อินเดียคุ้นกันดีว่าหลังจากที่สาตวาหน จกรวรรดิอินเดียใต้สิ้นสุดลงใน ค.ศ.220 ก็มีการแบ่งแยกเป็นอาณาจักรใหญ่น้อย รวมทั้งอีกษวากุในอันธรประเทศ อาจารย์เอ็น ศาสตรี เขียนว่า
" พวกอีกษวากุ ปกครองทางด้านกฤษณะคุนตุร...มีกษัตริย์ปกครอง 7พระองค์ ภายในเวลา 57 ปี แต่มีเพียงบางองค์เท่านั้นที่ปรากฏพระนามในศิลารึก...วาสิฐีบุตร ศิริ ชานตมูล ปฐมกษัตริย์ทรงทำพิธีอัศวเมธ และวาชเปยสังเวย ในรัชสมัยของพระโอรสของพระองค์คือ พระเจ้าวีรปุริสทาต พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก เช่นเดียวกับด้านการฑูต พระองค์ได้มเหษีจากราชวงศ์ศัก แห่งแคว้นอุชเชน และพระราชทานพระราชธิดาให้แก่เจ้าชายชุตุ เจ้านายฝ่ายหญิงในราชสำนักส่วนใหญ่เป็นพุทธ พระเจ้าป้าของพระเจ้าวีรปุริสทาตทรงสร้างมหาสถูปที่นาครชุนนิคณฑ์ เพื่อบรรจุธาตุของอาจารย์ นอกจากนั้นยังได้ทรงสร้างวัดวิหารและมณฑป กรณยกิจของพระนางเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติแก่พระราชวงศ์ฝ่ายหญิงทั้งหลาย และดังที่เราได้ทราบจากการกล่าวถึงของโพธิศิริ หญิงชาวเมืองคนหนึ่ง"
ในการพัฒนาสถูปอมราวตีที่ปากแม่น้ำกฤษณะในคริสต์ศตวรรษที่ 1 และ 2 โรว์แลนด์ได้บันทึกว่า "มีข้อบ่งชี้ที่แสดงว่า สถาบันพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนจากบรรดาพระราชินี ขณะที่พระเจ้าแผ่นดินเองเป็นฮินดู" เมื่อพิจารณาจากข้อมูลเหล่านี้ อาจทำความเข้าใจได้ว่าส่วนหนึ่ง ศรีมาลาฯ คงเขียนขึ้นเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติพระราชินีและเจ้านายฝ่ายหญิง ที่เป็นกำลังสำคัญทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในอินเดียใต้ ดังนั้น เราจึงกำหนดว่า ศรีมาลาฯเป็นงานที่รจนาขึ้นในรัชสมัยของอีกษวากุ ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 ข้อเสนอแนะนี้บ่งชี้ว่า ตถาคคตครรภ์สูตร อื่นๆคงรจนาขึ้นในสมัยเดียวกันในบรเวณกฤษณะคุณตุรนี้
บาโรอ้างถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาอันธระในคริสต์ศตวรรษที่ 3 ว่า เป็นนิกายมหาสังฆิกะที่แยกมาในสมัยหลัง คือ พวกปูรวไศละและอุตตรไศละ ศิลาจารึกในปีที่ 14 ของพระเจ้ามาเธรีปุต กษัตริย์อีกษวากุ ได้กล่าวถึงพวกนี้ ศิลาจารึกในศตวรรษที่ 2 และ 3ค้นพบที่เมืองอมราวดี และที่นาคารชุนนิคณฑ์ ระบุถึงนิกายย่อย 2 นิกายนี้ด้วย และกล่าวถึงนิกายย่อยไตตียะ ซึ่งเกิดขึ้นต่อมา เมื่อพระถังซำจั๋งสมณะจีนเดินทางมายังดินแดนแถบนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 พุทธศาสนาเรื่มเสื่อมแล้ว แต่ท่านยังพบว่ามีพระนิกายมหาสังฆิกะถึง 1000 รูปกระจากกันอยู่ในวัด 20 วัด ใกล้เมืองธัณยกฏกะ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของอมราวตี
ถ้าเรายอมรับว่า ศรีมาลาฯเป็นงานที่รจนาขึ้นในคริศต์ศตวรรษที่ 3 สมัยอันธระ และเราทราบว่า นิกายมหาสังฆิกะเป็นนิกายที่มีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ ข้อมูลนี้บ่งชี้ว่า ศรีมาลาฯ เป็นงานมหายานที่เกิดจากนิกายมหาสังฆิกะรุ่นต่อมา โชคดีที่มีมหาวัสตุ ซึ่งเป็นงานของนิกายโลกุตตรวาท ซึ่งเป็นนิกายย่อยของมหาสังฆิกะเหลืออยู่ เมื่อนำ ศรีมาลาฯ ไปเปรียบเทียบกับงานชิ้นนี้จึงพบว่า มหาวัสตุ มีคำอธิบายบางตอนที่นำมาอธิบายข้อความในศรีมาลาฯ ที่เข้าใจยากได้ดีทีเดียว เช่นคำว่า "กายอันเกิดจากจิต" และ การเปลี่ยนแปลงอันไม่อาจหยั่งถึง" และการอธิบายถึงขั้นต่างๆในโพธิสัตต์ภูมิ ที่ศรีมาลาฯ เปรียบกับการสละกาย ลมปราณ และสมบัติ ในตอนต้นของมหาวัสดุ อธิบายถึงงานของพระโพธิสัตต์ ซึ่งสอดคล้องเป็นอันดีกับบทแรกของศรีมาลาฯ ซึ่งได้รวมเอาไว้ซึ่งประเด็นหลักของมหาสังฆิกะ เราจึงสรุปว่า ศรีมาลาฯเป็นผลิตผลของนิกายมหาสังฆิกะ ในคริสต์ศตวาษที่ 3 สมัยอันธระ
ผู้แต่งไม่ปรากฏนามซึ่งได้รจนาพระสูตรมหายานเช่นนี้ ได้สมมุติตัวเอกของเรื่องเป็นพระเทวีชาวพุทธ ในสมัยพุทธกาล แต่พระนางมีตัวตนในประวัติศาสตร์หรือไม่ พระราชบิดาและพระมารดา คือพระเจ้าประเสนจิตแห่งแคว้นโกศล และพระนางมัลลิกา ทั้งสองพระองค์เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ พระนามของพระเจ้าแผ่นดินนั้นเขียนว่า ปเสนทิตามแบบบาลี พระนางมัลลิกาเป็นธิดาผู้เลอโฉมของหัวหน้าช่างผู้ร้อยดอกไม้แคว้นโกศล เมื่อนางได้เฝ้าพระพุทธเจ้าและถวายผลส้มแก่พระองค์ พระพุทธองค์ทรงแย้มพระสรวลและตรัสทำนายแก่พระอานนท์ว่า ต่อไปนางจะเป็นพระมเหษีในพระราชาแคว้นโกศล วันเดียวกัน พระเจ้าปเสนทิทรงทำศึกพ่ายแพ้พระเจ้าอชาตศัตรู พระองค์เสด็จไปในอุทยานนางได้ปลอบประโลมพระทัยพระองค์ เย็นวันนั้น เมื่อพระองค์ทรงส่งราชรถมารับและยกย่องนางเป็นมเหษีเอกของพระองค์ มาลาลเสกระได้อธิบายว่า "พระนางมัลลิก่าทรงมีพระธิดา ไม่มีการกล่าวถึงพระโอรส ทำให้พระเจ้าปเสนทิทรงเสียพระทัย แต่พระพุทธองค์พระราชทานความมั่นพระทัยว่า บางครั้งสตรีนั้นชาญฉลาดกว่าบุรุษด้วยซ้ำไป" คำที่ทำให้เชื่อว่าเป็นพระธิดาคือคำว่า "วชิรี หรือวชิรา" ซึ่งใช้ในตอนที่กล่าวถึงพระราชธิดาองค์เดียวของพระเจ้าปเสนทิพบในมัชฌิมนิกาย มาลาลเสกระอธิบายถึงวชิรกุมารีว่า "เมื่อการศึกระหว่างพระเจ้าปเสนทิกับพระเจ้าอชาตศัตรูยุติลง พระเจ้าปเสนทิทรงมอบวชิราให้อภิเษกกับพระเจ้าอชาตศัตรู และทรงยกหมู่บ้านในแคว้นกาสี อันเป็นเหตุแห่งความบาดหมางนั้นให้เป็นของขวัญการอภิเษก" ซึ่งหมายความว่า การทำศึกต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างพระเจ้าปเสนทิและพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นยืดเยื้อมาตั้งแต่ก่อนพระนางวชิราประสูติ จนกระทั่งพระนางเจริญพระชันษาควรแก่การอภิเษก ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็มีความเป็นไปได้ในทางประวัติศาสตร์ มีวชิราอีกคนหนึ่งเป็นภิกษุณีและมีการกล่าวถึงบ่อยครั้ง แต่อรรถกถาจารย์ไม่คิดว่าเป็นองค์เดียวกับพระราชธิดาของพระเจ้าปเสนทิ
อย่างไรก็ดี อโยธยาซึ่งในศรีมาลาฯ กล่าวว่าเป็นเมืองหลวงของพระนางศรีมาลาฯ และพระเจ้ายโศมิตร ไม่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ทรงมีเมืองราชคฤห์เป็นเมืองหลวงในแคว้นมคธ นอกจากนั้น ทั้งพระนามศรีมาลาและยโศมิตร ไม่ปรากฏในฝ่ายบาลี ดูเหมือนว่าเมืองอโยธยาของพระเจ้ายโศมิตรและพระนางศรีมาลาจะเป็นจินตการของผู้รจนาเอง
พระนางศรีมาลาในพระสูตรนี้ย่อมสัมพันธ์กับพระนามพระมารดาคือพระนางมัลลิการ อาจย้อนไปถึงเหตุการณ์ครั้งแรกที่พระเจ้าปเสนทิได้ทรงพบกาบมัลลิกาในอุทยาน ในอรรถกถาของจี้ซัง(น6)และพจนานุกรมของโมชิสุกิ(น.2775a) ได้กล่าวถึงทฤษฎีต่างๆโดยเฉพาะ 2 ทฤษฎี ที่กล่าวถึงว่า เมื่อพระนางประสูตินั้น ประชาชนต่างพากันยินดีนำพวงมาลาซึ่งประดับด้วยเพชรนิลจินดามาถวาย พระเจ้าปเสนทิทรงชื่นชมในคุณธรรมและสติปัญญาของพระนาง จึงทรงเรียกขานพระนางว่า "ศรีมาลา" หมายความว่า ขณะที่คนอื่นสวมใส่มาลา แต่พระธิดาของพระองค์นั้น เป็นมาลาทีเดียว และด้วยเหตุนี้จึงเป็นมาลาที่ประเสริฐกว่ามาลาทั้งปวง ในความหมายตามทฤษฎีที่สองนี้ สอดคล้องกันเนื้อหาของพระสูตร เพราะได้มีการกล่าวถึงผู้ที่ปฏิบัติตามพระธรรมอันประเสริฐนั้น ย่อมเป็นผู้ทรงไว้ด้วยธรรมอันประเสริฐนั้น
โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่าพระสูตรนี้มีพื้นฐานจากกึ่งประวัติศาสตร์ และกึ่งจินตนาการ
ชื่อพระสตูร
ได้มีการกล่าวถึงพระสูตรนี้ในวรรณคดีสันสกฤตต่างๆกัน ดังนี้
1 ในลังการวตารสูตร เรียกว่า "ศรีมาลังเทวี อธิกฤตยะ " (เรื่องราวเกี่ยวกับพระนางศรีมาลาเทวี)
2 ในมหายานสูตราลังการ เรียกว่า "ศรีมาลาสูตร"
3ในรัตนโคตรวิภาค เรียกว่า "อารยศรีมาลาสูตร"
4 ในศึกษาสมุจจัย ของศานติเทวะเรียกว่า "ศรีมาลาสิงหนาทสูตร"
เราจะสังเกตได้ว่ามีแนวโน้มที่จะทำให้ชื่อของพระสูตรนี้ยาวขึ้น
ชื่อเรียงภาษาสันสกฤตที่ปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายธิเบต แสดงถึงว่าได้มีการดัดแปลงงาน รัตนกูฏ ในอินเดียสมัยที่แปลเป็นภาษาธิเบต ใช้ชื่อว่าอารยศรีมาลาเทวีสีหนาท นามมหายานสูตร (แปลว่า มหายานสูตรที่มีชื่อว่า ศรีมาลาเทวีสีหนาท)
ฉบับของคุณภัทรที่แปลเป็นภาษาจีน ใช้ชื่อว่า ศรีมาลาสีหนาท เอกยาน เอกสัจวิธีบรรลือไกลสูตร ในอรรถกถาของเจ้าชายโชโตกุ ใช้ชื่อสองจากสิบหกชื่อที่ปรากฏในบทสุดท้ายของพระสูตร ชื่อทั้งสองปรากฏดังนี้ "เกาศิกะ ขอจงรักษานามไว้ว่า ศรีมาลาเทวีสีหนาทและเก็บคำอธิบายทั้งมวลที่ปรากฏในพระสูตร เป็นเครื่องกำจัดคความสงสัย พินิจความหมายในประการสุดท้าย และเข้าสู่เอกมรรค" ดังนั้น เราจึงควรทำความเข้าใจชื่อในภาษาจีนว่า "เอกยาน-มหาวิธี" ว่าหมายความถึง "มหาสัจวิธีแห่งเอกยาน" ประโยคที่ว่า เป็นเครื่องกำจัดความสงสัย" และพินิจความหมายในประการสุดท้าย" อาจย่อลงเหลือเพียง "บรรลือไกลสูตร"
ฉบับแปลของโพธิรุจิ(ไตโช V. II672, NO310-48)ในรัตนกูฏ ใช้ชื่อง่ายๆว่า สภาศรีมาลาเทวี คำว่า "สภา" ในในความหมายของพระสูตร เพราะคัมภีร์แต่ละคัมภีร์ในรัตนกูฏ ฉบับภาษาจีนเรียกว่า สภา และศรีมาลาฯ เป็นคัมภีร์ที่ 48
นอกจากนั้น ในอรรถกถาของจีน ชื่อพระสูตรตามฉบับของคุรภัทร ย่อลงมาอีก 6 แบบ แบบที่สั้นที่สุด คือ ศรีมาลาสูตร (เฉิงมันจิง)
ฉบับแปลภาษาจีนของคุณภัทร ได้มีการแปลถ่ายทอดเป็นภาษาญี่ปุ่น โดย โกโยซาไกโนะ ในโคคุยาคุ ได้โซเคียว และแปลโดย ไซจุน ฮาสุซาวะ ในโคคุยาคุ อิสโซเคียว โดยใช้ชื่อตามฉบับจีน โชมัน ชิชิคุอิชิโ ไดโอเบ็น โฮโคะเคียว ชื่อสันที่สุดเป็นโชมันเคียว(ศรีมาลาสูตร)
ดูเหมือนว่า ตามที่เรากำหนดให้เป็นคริสต์ศตวรรษที่ 3 คงจะเป็นการเพียงพอที่จะเรียกว่า ศรีมาลาสูตร จะเป็นมหายานสูตรฉบับแรกของนิกายนี้ ต่อมาเมื่องานนี้เผยแพร่ออกไปจนได้รับการยกย่องในหมู่ชาวพุทธมหายานทั่วไป ได้รับการกล่าวอ้างถึงบ่อยขึ้นและกลายเป็นส่วนหนึ่งของงานชิ้นต่างๆในขณะที่ชื่อของพระสูตรก็เริ่มยาวขึ้น
ความสำคัญในประเทศอินเดีย
พระสูตรในเอเชีย
ความสำคัญในประเทศอินเดีย
เราได้ตกลงกันแล้วว่า ศรีมาลา เป็นงานของนิกายมหาสังฆิกะ สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 3 จากบริเวณอันธระอินเดียวใต้ ความสั้นกะทัดรัดของ ศรีมาลาฯ และความนิยมที่มีผู้คนต่อพระสูตรนี้ ทำให้พระสูตรนี้กลายเป็นพระสูตรหลักในงานของนิกายมหาสังฆิกะ
ต้นฉบับ ภาษาสันสกฤตเดิมสูญหายไป นอกจากมีที่กล่าวอ้างถึงเป็นตอนๆ ส่วนมากอยู่ใน รัตนโคตรวิภาค จึงได้รับการอ้างถึงบ่อยครั้ง ดูเหมือนงานในบทนี้นับเป็นพื้นฐานสำหรับนักศึกษาที่จะศึกษาตถาคตครรภ์สูตร ศึกษาสมุจจัย อ้างถึงศรีมาลาฯ บทที่ 2 มีประโยคกล่าวถึง “การยอมรับพระธรรมอันประเสริฐ” น่าจะเป็นประโยคชื่นชมของฝ่ายมหายานที่ไม่ค่อยยอมรับทฤษฎีตถาคตครรภ์นัก ตถาคตครรภ์นี้มีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีอาตมันของฝ่ายฮินดู แม้ว่า วรรณคดีฝ่ายตถาคตครรภ์เองจะทักท้วงว่าไม่ใช่ก็ตามที ศึกษาสมุจจัยได้อ้างถึง ศรีมาลาฯ แต่ไม่มีการกล่าวถึงตถาคตครรภ์
นอกจากนั้น ลักกาวตารสูตร และมหายานสูตราลังการภาษยะ ทั้งคู่ยกย่องตำราพุทธฝ่ายอินเดีย และอ้างถึงศรีมาลาฯ อย่างเปิดเผย ลังกาวตารสูตร จะอ้างถึงตำราฝ่ายอินเดียใต้ หรือศรีลังกาเพื่อกาพิสูจน์ ในขณะที่สูตราลังการภาษยะ มีความสัมพันธ์กับสายของอสังคะทางอินเดียตอนเหนือ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ศรีมาลาฯ เป็นงานที่ยอมรับกันทั้งในอินเดียเหนือและอินเดียใต้ ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่4-5 ความจริงข้อนี้เห็นได้จากการที่รัตนกูฎ รวมเอาศรีมาลาฯ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งอีกด้วย
ลังกาวตารสูตร เป็นสูตรที่ได้รับอิทธิพลจากศรีมาลาฯอย่างลึกซึ้ง ส่วนหนึ่งจากทฤษฎีตถาคตครรภ์ ซึ่งลังกาวตารนำไปเทียบกับ อาลยวิญญาณ และอีกส่วนหนึ่งจาก “ตรีกายที่เกิดจากจิต” โดยลังกาวตาร พัฒนาออกมาอีกมาก และด้วยลักษณะไม่สอดคล้องกับ รัตนโคตรวิภาค จุดนี้ชี้ให้เห็นว่า ลังกาวตาร เป็นงานที่เขียนขึ้นนอกวงมหาสังฆิกะที่ก่อให้เกิดศรีมาลาฯ แล้นำเอาศรีมาลาฯ ไปใช้กับหลักคำสอนของนิกายอื่นอย่างอิสระ รัตนโคตรวิภาค ไม่อ้างถึงลังกาวตารแม้จะเป็นงานที่รจนาแล้ว แต่อาจเป็นเพราะความขัดแย้งที่ลังกาวตารอธิบาย ศรีมาลาฯ ออกไปไกลนั่นเอง
สูตราลังการภาษยะ ซึ่งเป็นพื้นฐานของอสังคะ-วสุพันธุ อาจมีการกล่าวถึงศรีมาลาฯ เพียงเพื่อความสมบูรณ์ในการวิเคราะห์พระสูตรมหายาน ในทางตรงกันข้าม ปรมารถ ผู้นำเรืองราวของวสุพันธุสู่ประเทศจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ได้รวบรวมเรื่องราวอรรถกถามหายานสูตรต่างๆ ที่วสุพันธุเขีน เช่น ศรีมาลาฯ สัทธรรมปุณฑรีกสูตร วิมลเกียรติฯ (พระสูตรทั้งสามเป็นพระสูตรหลักในพุทธศาสนาฝ่ายญี่ปุ่น) รวมทั้งอวตังสกะ และนิรวาณสูตร(มหาปรินิวาณสูตร) (พระสูตรเห็นพ้องกับศรีมาลาฯ ในเรื่องความสำคัญของทฤษฎีตถาคตครรภ์ และปรัชญาปารมิตาสูตร แต่ดูเหมือนว่าเรื่องที่ปรามารถกล่าวถึงนี้จะหมายถึงอรรถกถาในเรื่องพุทธโคตรศาสตร์(ซึ่งเป็นงานของวสุพันธุที่ปรามารถแปลเป็นภาษาจีน) อย่างไรก็ตาม แสดงว่าสมัยนั้น ศรีมาลาฯ ได้รับการกล่าวถึงในระดับเดียวกับพระสูตรมหายานที่สำคัญที่สุด
นิกายปราสังคิกะ ของมาธยมิกะ ซึ่งมีตัวแทนคือจันทรกีรติ ดูเหมือนจะละเลย ศรีมาลาฯ และศานติเทวะ ซึ่งเป็นผู้ที่นิกายพุทธฝ่ายธิเบตยึดถือในสายมาธยมิกะนั้น ได้กล่าวถึง ศรีมาลาฯ เพียงเรื่อง “การยอมรับพระธรรมอันประเสริฐ” ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในนิกายสวาตันตริกของมาธยมิกะมีการอ้างถึง ศรีมาลาฯ ในงานของภาวะวิเวกเรื่อง ปรัชญาประทีป มูลมัธยมกวฤตติ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นงานที่เขียนขึ้นในบริเวณอันธระของมาธยมิกะ ในตอนปลายสมัยของงานในพุทธศาสนาจากอินเดีย อภยากรคุปต์ใช้วิธีการรวมคำสอนต่างๆของมหายานภายใต้ชื่อของมาธยมิกะ ได้อ้างถึงศรีมาลาฯ ในงานชื่อ มุนิมาตาลังการ ดังที่ได้กล่าวถึงตอนต่อไป
เท่าที่ผ่านมาเราได้กล่าวถึงงานต่างๆ ที่อ้างถึงศรีมาลาฯ แสดงว่า ศรีมาลาฯ เป็นที่นิยม ต่อไปจะพิจารณาพระสูตรเอง ดูจะมีเหตุผลหลายประการที่ทำให้พระสูตรนี้ประสบความสำเร็จ
ในฐานะที่เป็นเอกสารทางจิตวิญญาณ และเป็นพระสูตรที่สุกตระการ พระสูตรนี้จำต้องโดดเด่นเหนือพื้นฐานของมหาสังฆิกะ เพื่อจะได้โอบอุ้มและเทิดทูนพุทธศาสนา พระสูตรนี้ใช้ศิลปะวิธีในการหยิบยกลักษณะพื้นฐานของพุทธศาสนา เช่น ศรัทธา มรรค และจุดหมายปลายทาง ในการอธิบายประเด็นที่ถกเถียงกันในประวัติศาสตร์ความคิดของพุทธศาสนา เช่น ประเด็นเรื่องฐานะของพระอรหันต์ ความหมายของปฏิจจสมุปบาท และพุทธมรรค พระสูตรนี้สามารอธิบายอย่างแจ่มชัดเป็นเลิศ เช่น “การยอมรับพระธรรมอันประเสริฐ”และเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งเช่น ทฤษฎี “ตถาคตครรภ์” ด้วยภาษาที่ชี้แนะและละเอียดละไม
เป็นงานที่มีพลังสำหรับฆราวาสหรือจะกล่าวให้ชัดขึ้น งานนี้ กล่าวถึงโพธิสัตต์มรรค ที่สามารถจะใช้ได้ทั้งกับฆราวาสและสงฆ์ ดังนั้น การอธิบายบารมี 6 จึงกล่าวว่า บุคคลผู้ซึ่งสามารถกล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้เป็นเวลานาน เป็นผู้ที่มี “จิตเป็นหนึ่ง” โดยไม่กล่าวถึงว่า บางคนพยายามเข้าถึงจุดนี้ โดยการนั่งสมาธิภาวนาท่านกลางความสงบของวัด พระสูตรนี้มีศิลปะการทูตที่จะไม่แสดงว่าฆราวาสโพธิสัตต์นั้นเหนือกว่าโพธิสัตต์อื่น ดังที่แสดงในวิมลเกียรติ เมื่อยกย่อง วิมลเกียรติซึ่งเป็นโพธิสัตต์ว่าสูงกว่าพระมัญชุศรี เป็นต้น ฆราวาสโพธิสัตต์จะกล่าวถึงด้วยคำว่ากุลบุตรและกุลธิดา ดูเหมือนว่าฆราวาสโพธิสัตต์เหล่านี้ได้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นในตำราฝ่ายมหายานบางเล่ม เรียกว่า “โพธิสัตต์คณะ” ซึ่งแยกออกไปจากคณะสงฆ์ ศรีมาลาฯ กล่าวถึงคณะเหล่านี้ว่า
“พระตถาคตเจ้าในกาลสมัยที่พระธรรมเสื่อมถอย เมื่อ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทะเลาะเบาะแว้งกัน แยกตัวเอง ออกเป็นนิกายต่างๆ กุลบุตร กุลธิดาผู้ใด มีความพีงพอใจในพระธรรม โดยปราศจากการหลงผิด โดยจุดประสงค์เพื่อสืบทอดพระสัทธรรม จัดตั้งคณะโพธิสัตต์ผู้ยึดมั่นในพระธรรมขึ้นกุลบุตรกุลธิดาเหล่านั้น ย่อมได้รับพุทธาพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าทั้งหลายในกิจกรรมของเขาเหล่านั้น”
คณะที่แยกมาต่างหากจากสงฆ์นี้ น่าจะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ย้อนกลับไปประมาณ 100 ปี หลังพุทธกาล เมื่อมหาสังฆิกะ แยกตัวออกมาจากคณะสงฆ์เดิม มหาสังฆิกะต่อมารวมตัวกับองค์กรฝ่ายฆราวาส มีการสักการะสถูป และมีการรจนางานขึ้นเพื่ออธิบายการกระทำดังกล่าว เช่นโลกุตรสภาวะของพระพุทธเจ้า แต่ใช้เวลายาวนานในการสร้างงานทางวรรณกรรมที่จะสนับสนุนฐานะของตน ในขณะเดียวกัน ก็มีงานเขียนที่กำเนิดในวัดออกมามากมาย พร้อมที่จะสนับสนุนการใช้ชีวิตแบบสงฆ์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 เมื่อศรีมาลาฯ อุบัติขึ้นอธิบายประสบการณ์นับชั่วศตวรรษของมหาสังฆิกะด้วยความลึกซึ้งและเจริญในแนวคิดทางศานา งานนี้จึงได้รับการยอมรับเป็นพระสูตรสำคัญเป็นธรรมดา
ความสำคัญในประเทศจีน
ความสำคัญในประเทศจีน
ศรีมาลาฯ ที่แปลเป็นภาษาจีนฉบับแรก แปลโดย ธรรมเกษม ชาวอินเดียวกลาง เริ่มงานแปลที่ประเทศจีน ศ.ศ. 414 โดยแปลนิรวาณสูตร ในแคว้นเหลียวตอนเหนือ ค.ศ. 418 แปลงานโพธิสัตต์ภูมิ ของอสังคะ ถือเป็นงานหลักที่ใช้กำหนดงานของอสังคะและวสุพันธุ ซึ่งเป็นบุคคลร่วมสมัยกับธรรมเกษม เมื่อ ค.ศ.433 ธรรมเกษมถูกฆ่าตายงานแปล ศรีมาลาฯ ฉบับของธรรมเกษมสูญหายไปก่อนสมัยราชวงศ์หยวน
งานแปลฉบับที่สอง และนับถือเป็นฉบับที่สำคัญที่สุดของจีน คือ ฉบับของคุณภัทร ค.ศ. 468 เป็นชาวอินเดียวกลางเช่นกันเป็นผุ้เชี่ยวชาญใน อวตังสกะสูตร อยู่ในประเทศจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ลิวสุง ทำงานอยู่ที่โรงเรียนนานกิงตั้งแต่ ค.ศ.435 จนกระทั่งชีวิตเมื่ออายุได้ 75 ปี เป็นผู้ดูแลงานแปล ศรีมาลาฯ ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม จนสิ้นเดือนในปี ค.ศ.436 ปีแรกที่อยู่ประเทศจีน ในงานแปลฉบับอื่นๆมีงานที่น่าสนใจสำหรับงานวิจัยของเราคือ ลังกาวตารสูตร องคุลิมาลียะสูตร และมหาเภรีหารกะสูตร ล้วนเป็นงานสำคัญสำหรับทฤษฎีตถาคตครรภ์ แน่นอนที่ชาวอินเดียไม่สามารถจะเรียนรู้ภาษาจีนจนแปลศรีมาลาฯ ได้ ภายใน 1 ปี ฉบับแปลภาษาญี่ปุ่นที่ปรากฏใน โคคุยาอิส”ซเคียว (น830-84a) บันทึกวิธีการแปลว่า คุณภัทรอ่านพระสูตรภาษาสันสกฤต เปาหยุน (คศ449) นักวิชาการจีน-สันสกฤต ที่เคยไปศึกษาที่อินเดีย แปลปากเปล่าเป็นภาษจีน และฮุยหยวน(ค.ศ.443) นักวิชาการคนสำคัญ สานุศิษย์ของกุมารชีพ บันทึกเป็นภาษาจีน และได้ให้พระภิกษุอีก 100 รูป ช่วยอ่านและเสนอแนะดัดแปลงแก้ไขความหมายและเสียง
งานแปลฉบับที่สามเป็นงานของโพธิรุจิ(ค.ศ.672-727) ชาวเมืองอินเดียใต้ เดินทางไปถึงเมืองจีน ค.ศ.693 ในสมัยราชวงศ์ถัง นำเอาต้นฉบับ รัตนกูฎ ติดไปด้วย โดยมีศรีมาลาฯ อยู่ในตอนท้าย ท่านได้แปลรัตนกูฎ ระหว่าง ค.ศ. 706-713 และแปลสุขาวดียูหะสูตร รวมทั้งพีธีกรรมฝ่ายตันตระอีกหลายงาน
มีอรรถกถาของจีนหลายชิ้นที่เขียนอธิบาย ศรีมาลาฯ อาจจะเริ่มต้นจากงานแปลฉบับของธรรมเกษม อย่างไรก็ตาม อรรถกถาที่ยังเหลืออยู่และเป็นที่ยอมรับกัน เขียนขึ้นจากงานแปลฉบับของคุณภัทร โดยมีอรรถกถาถึงกว่า 20 เล่ม ที่ค้นพบในอรรถกถาของจีนหรือมีปรากฏอยู่ในชีวประวัติของอาจารย์จีนรูปสำคัญๆ อรรถกถาจารย์ร่วมสมัยกับคุณภัทร ได้เขียนอรรถกถา 3 ฉบับ ฉบับหนึ่งคือของฟาเหยา (ค.ศ.436-453) เขียนอรรถกถาเรื่องมหาปรินิวาณสูตร สัทธรรมปุณฑริกสูตร และปัญจวิงสติสาหัสริกา ปรัชญาปารมิตาสูตร อรรถกถาฉบับที่ 5 ที่เขียนอธิบายฉบับแปลของคุณภัทร และปัจจุบันเป็นฉบับเก่าแก่ที่สุดที่เหลืออยู่เป็นต้นฉบับจากถ้ำตุนฮวาง เรียกว่า เฉิงมันอี้จี ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ.504 แค้วนเว่ตอนเหนือ มี 15 บท การที่ไม่มีอรรถกถาอธิบายฉบับแปลของโพธิรุจิ ซึ่งเปลในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 นั้น แสดงว่า ศรีมาลฯ เรื่อเสื่อมความนิยมลงแล้ว
ในบรรดาอรรถกถาทั้งหลาย มีเหลืออยู่ 3 ฉบับ ที่มีอิทธิพลต่อวรรณกรรมสมัยต่อมาเพราะความมีชื่อเสียงของอรรถกถาจารย์ อรรถกถาเหล่านี้ได้แก่
เฉิงมันจิง-อี้จี เล่ม 1 โดยฮุยหยวน (ค.ศ.523-92) อาจารย์ในนิกายเทียนไท้ ผู้มีงานอรรถกถามากกว่า 50 ชิ้น
เฉิงมันจิง เปาคุ 3 เล่ม และ 6 เล่ม โดย จี้ซัง (ค.ศ.546-623) ได้รวบรวมคำสอนหลักของนิกายซานหลุน (ตรีลักษณะ) เข้าไว้โดยสมบูรณ์
เฉิงมันจิง ชูจี 2 เล่ม โดยคุยจี (ค.ศ.632-82) เป็นสานุศิษย์ คนสำคัญของพระถังซำจั๋ง
ในบรรดาอรรถกถาจารย์ทั้งสามท่านนี้ จี้ซัง (มีนามบรรดาศักดิ์ว่า เจียเซี่ยงต้าซี) เป็นอรรถกถาที่สมบูรณ์และเด่นที่สุด มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการศึกษา ศรีมาลาฯ ในประเทศญี่ปุ่นตราบจนทุกวันนี้ บุนเคียว ซากุราเบ แปลงานของจี้ซังเป็นภาษาญี่ปุ่น ในค.ศ.1936 (โชมัน โฮกัตสุ) ฉบับแปลของญี่ปุ่นนี้เป็นฉบับที่เราเรียกว่า อรรถกถาจี้ซัง
ศรีมาลาฯ มีความสำคัญอย่างไรต่อพุทธศาสนาในประเทศจีนสมัยนั้น มีเหตุผล 3 ประการที่เราพอจะกล่าวถึงได้ คือศรีมาลาฯ เป็นที่นิยมมาก่อนแล้วในประเทศอินเดีย ศรีมาลาฯ มีอิทธิพลต่อพระสูตรอื่นๆและสอดคล้องกับแนวคิดของจีน
การเป็นที่นิยมมาก่อนแล้วนั้น หมายความว่า เมื่องานในพุทธศาสนาได้รับการยกย่องในประเทศอินเดีย ซึ่งในการอภิปรายข้างต้นก็แสดงให้เห็นว่า ศรีมาลาฯ เป็นานที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างดี จึงเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดการยอมรับในสังคมชาวพุทธฝ่ายจีนกำลังเจริญสูงสุด จึงทำให้ยอมรับง่ายขึ้น
อิทธิพลที่ ศรีมาลาฯ มีต่อลังกาวตารสูตร เห็ได้อย่างชัดเจนและเมื่อลังกาวตารสูตร เป็นที่นิยมในประเทศจีน โดยเฉพาะในหมู่พุทธนิกายฌาน ความสนใจนี้ย่อมกระจายมาสู่ศรีมาลาฯ ซึ่งเป็นพระสูตรที่ได้รับการยกย่องในลังกาวตารสูตรอยู่แล้ว ข้อสำคัญคือศรีมาลาฯ มีอิทธิพลต่องานเขียนชิ้นสำคัญได้แก่วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างมหาศาลในประเทศจีน เชื่อกันว่า ปรมารถแปลงานชิ้นนี้ใน ค.ศ.550 การเปรียบเทียบระหว่างศรีมาลาฯ กับวิสุทธิมรรค ในรายละเอียดไม่เหมาะสมสำหรับช่วงนี้ แม้กระนั้น เราก็ยังสามารถสังเกตเห็นข้อความสำคัญเหมือนกัน เช่น “ตถตา” ในวิสุทธิมรรค ตรงกับ “ตถาคตครรภ์” ในศรีมาลาฯ เราจึงอาจกล่าวได้ว่าในประเทศจีนนั้น ได้มีการศึกษาตำราทั้งสองนี้ควบคู่กันไปในหลายแห่ง
เหตุผลประการสุดท้าย ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการคิดแบบจีน ดูจะเป็นการเดามากกว่า ที เอช ฟัง ได้เขียนไว้ในบทความของเขา โดยพยายามชี้ให้เห็นจุดที่จะเปรียบกันได้ คือการผสมธรรมะเข้าด้วยกันในธรรมธาตุ ซ่งเอาจจะเปรียบหลักคำสอนในศรีมาลาฯ ที่กล่าวถึงตถาคตครรภ์ว่าเป็นอิสระจากกิเลส และมีพุทธธรรมจำนวนมากมายที่เปิดเผย ศรีมาลาฯ เข้ากันได้ดีกับโลกทัศน์ของจีน ที่พูดถึงประมัตถ์สัจที่เป็นบ่อเกิดของโลกแหงประสบการณ์ นอกจากนี้หากพิจารณาในเชิงปฏิเสธศรีมาลฯ เป็นพระสูตรเล่มเดียวที่ไม่มีลักษณะแบบอินเดียที่ชาวจีนมักจะไม่ค่อยยอมรับ คือกล่าวถึงรายนามพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย รายชื่อศัพท์เฉพาะและการจำแนกแยกแยะอีกมากมาย อีกประเด็นหนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงคือผู้อ่านชาวจีนที่มีการศึกษาย่อมจะสังเกตได้ว่าในศรีมาลาฯ มีประโยคที่เตือนให้ระลึกถึงคำสอนของขงจื้อ ดังที่วาเล่ย์ แปลว่า “ท่านอาจารย์กล่าวว่า การก้าวไกลเกินไปก็เลวร้ายพอๆกับก้ารวไปไม่ถืง” ในศรีมาลาฯ มีประโยคว่า “ทัศนะของเขาไปไกลเกินความหมาย หรือมิฉะนั้นก็ไม่เพียงพอกับความหมาย”
มีหลักฐานอะไรที่ทำให้ศรีมาลาฯได้รับความนิยมในประเทศจีนเราได้เห็นว่า อรรถกถาที่เขียนอธิบายศรีมาลาฯ นั้น เป็นงานของนักวิชาการคนสำคัญที่มีงานอื่นปรากฏเป็นที่ยกย่องว่าเป็นเลิศ ยิ่งกว่านั้น ยังมีบันทึกว่า พระอาจารย์รูปสำคัญในสมัยลิวสุง(ค.ศ.420-478) ชื่อทานยินและเสิงซุง สานุศิษย์ของท่านได้เทศนาธรรมเรื่องศรีมาลาฯ นับร้อยครั้ง แต่ละครั้งมีผู้เข้าฟังมากกว่าพันคน จักรพรรดิหวูตี้ ผู้เรืองพระนามแห่งราชวงศ์เหลียงใต้(ค.ศ. 502-557) ก็ได้ทรงพระนิพนธ์อรรถกถาปรัชญาปารมิตา ไว้ น่าเสียดายที่ต้นฉบับสูญหาย อย่างไรก็ตาม พระองค์มิได้ละเลยศรีมาลาฯ และไท้ทรงพระนิพนธ์ อรรถกถาศรีมาลาฯไว้เช่นกัน
มีสาเหตุบางประการที่ทำให้ความนิยมใน ศรีมาลาฯ เสื่อมลงอาจเป็นได้ เพราะถูกบดบังโดยอิทธิพลขอวิสุทธิมรรค หลักคำสอนในนิกายโยคาจาร ซึ่งเป็นนิกายที่พระถังซำจั๋งสนับสนุนในราชวงศ์ถังตอนต้น และที่สำคัญที่สุด ตอนต้น คริสต์ศตวรรษที่ 8 นิกายฌานของจีนหันไปนิยมลังกาวตารสูตร ซึ่งเป็นสหายกับศรีมาลาฯ มากกว่า ปรัชญาปารมิตาสูตร
ความสำคัญในประเทศญี่ปุ่น
ความสำคัญในประเทศญี่ปุ่น
เจ้าชายโชโตกุ ไทชิ(ค.ศ.577-622) ทรงนิพนธ์อรรถกถา เรียกว่า “อรรถกถาตรีสูตร” ได้แก่ศรีมาลาฯ วิมลเกียรตินิเทส และสัทธรรมปุณฑรีก นักวิชาการญี่ปุ่นสมัยปัจจุบันเริ่มตั้งข้อสงสัยว่า อาจมิใช่งานนิพนธ์ของเจ้าชายโชโตกุ พระสูตรเหล่านั้นมีอะไรเหมือนกันบ้าง ประการแรก ทั้งสามพระสูตรเป็นพระสูตรมหายาน ซึ่งมีพระโพธิสัตต์เป็นหลัก ทั้งศรีมาลาฯ และวิมลเกียรติฯ ยกย่องฆราวาสโพธิสัตต์ เมื่อเปรียบกับโพธิสัตต์สงฆ์ ทั้งศรีมาลาฯ และสัทธรรมปุณฑรีก สอนถึงเอกยาน ในขณะที่มหายานจะรวมยานทั้งหลายเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากลักษณะที่เหมือนกันดังกล่าวแล้ว งานทั้งสามมีความแตกต่างในเนื้อหาอย่างเห็นได้ชัด และวิธีการนำเสนอเป็นที่เข้าใจได้ว่า ในสมัยของเจ้าชาโชโตกุนั้น พระสูตรทั้งสามเป็นที่นิยมกันมากในประเทศจีน ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลพอเพียงที่จะได้รับเลือกเป็นพระสูตรที่มีบทบาทสำคัญในญี่ปุ่นด้วย และเพราะพุทธศาสนาเผยแผ่จากเกาหลีไปสู่ญี่ปุ่น มีจุดที่น่าสนใจว่าในเกาหลีนั้นมีอรรถกถาอธิบาย ศรีมาลาฯ เขียนโดยพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง คือ วอนเฮียว ( 2 เล่ม) ตอลหยุน (1เล่ม) และจอนกุ(1เล่ม) อรรถกถาทั้งสามเขียนขึ้นในราชวงศ์ซิลลา(57 ก่อนคศ.-ค.ศ.935)ทั้งสิ้น
พระอาจารย์เยจา (เกิด ค.ศ. 622 ) ชาวเกาหลี เดินทางไป ประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ.595 ปีที่ 3 ในรัชสมัยของจักรพรรดินีซุยโกะ (ค.ศ.593-628) และเป็นพระอาจารย์ของเจ้าชายโซโดกุ เดินทางกลับไปยังโคคุริวใน ค.ศ.615 และได้นำอรรถกถาของเจ้าชายโซโตกุกลับไปด้วย
พระนามโชโตกุไทชินั้น เป็นพระนามที่ถวายแก่เจ้าชายหลังจากสิ้นพระชนม์แล้ว พระนามที่ทรงใช้ขณะที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพคืออุมายาโดะโนะโอจิ ทรงเป็นพระราชโอรสที่สองในจักรพรรดิโยเมอิและทรงเป็นเจ้าชายผุ้สำเร็จราชการแผ่นดินในค.ศ.592 เจ้าชายโชโตกุทรงอยู่ในสมัยเดียวกับอาจารย์จี้ซัง ซึ่งมีอายุยืนกว่าเจ้าชาย 2 ปี ในนิฮอนโชกิ บันทึกไว้ว่าเจ้าชาโชโตกุทรงแสดงปาฐกถาหน้าพระที่นั่งจักรพรรดินีซุยโกะ เรื่อง ศรีมาลาฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.606 อย่างไรก็ตาม กำหนดเวลาดังกล่าวไม่อาจจะนับว่าแน่นอน เพราะโจกุ โชโตกุโฮโอ เทอิเซตชุ บันทึกว่าเป็น ค.ศ.599 สามปีหลังจากที่เจ้าชายโชโตกุได้ศึกษากับพระอาจารย์ชาวเกาหลี ปี599 ดูจะใกล้เคียงกับหลักฐานทางญี่ปุ่น เพราะเจ้าชายโชโตกุทรงประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ บทที่ 17 วันที่ 3 เมษายน ค.ศ.604 จึงเป็นไปได้ที่พระองค์จะทรงพยายามสร้างความประทับใจให้กับจักรพรรดินี โดยการแสดงธรรมเรื่องศรีมาลาฯ เพื่อเป็นฐานนำไปสู่การอนุญาตให้มีการประกาศดังกล่าว
ในบรรดาอรรถกถาศรีมาลาฯ ซึ่งเขียนขึ้นในปลายศตวรรษที่18 และเก็บรักษาไว้ที่วัดโฮเรียวจิ และวัดอื่นๆอรรถกถาโดยพระอาจารย์จีนในนิกายเทียนไท้สมัยราชวงศ์ถัง ชื่อท่านอาจารย์หมิงคุง สมควรจะได้รับการกล่าวถึง เพราะเป็นอรรถกถาที่เขียนอธิบายอรรถกถาฉบับพระนิพนธ์ในเจ้าชายโชโตกุ ที่พระธรรมทูตญี่ปุ่น 8 รูป คือท่านโคเมียวและคณะเป็นผู้นำไปประเทศจีนในค.ศ. 772 อรรถกถาของหมิงคุงถูกนำกลับมาญี่ปุ่นอีกโดยจิคาคุไดชิ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามของเอ็นนิน(ค.ศ.792-862) เจ้าอาวาสรูปที่สามของวัดเอ็นเรียวคุจิ ผู้ที่เดินทางไปประเทศจีนใน ค.ศ.838 และกลับ ค.ศ. 847
นักวิชาการญี่ปุ่นสมัยใหม่ ได้เขียนบทความและหนังสือเกี่ยวกับศรีมาลาฯ หนังสือพวกนี้หลายเล่มมีส่วนส่งผลให้เกิดความเข้าใจในพระสูตรนี้ลึกซึ้งขึ้น
ศรีมาลาฯมีความหมายอย่างไรต่อชาวญี่ปุ่นหลังจากที่ได้รับการยอมรับจากสังคมระดับสูงแล้ว ดูเหมือนว่า จากข้อความในศรีมาลาฯเองที่กล่าวว่า “ความเข้าใจในธรรมกายขั้นสุดท้ายคือเอกยาน” ฮานายานะ อธิบายว่า “สิ่งที่เจ้าชายโชโตกุทรงเคารพคือธรรมกายนี้ และพุทธศาสนาที่พระองค์ทรงนับถือคือพุทธศาสนาเอกยาน ในการปฏิบัติตามเอกยานนั้น ไม่มีความแตกต่างระหว่างฆราวาสและสงฆ์ พระองค์ทรงไม่เห็นด้วยกับการที่จะต้องละทิ้งลูกเมีย ไม่จำเป็นต้องปลีกตัวออกไปอยู่ในป่า และนั่งบำเพ็ญสมาธิ”จุดที่เจ้าชายโชโตกุย้ำนี้ น่าจะมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่น โดยเฉพาะในคำสอนของชินรานโชนิน นอกจากนั้น พระนางศรีมาลาฯเอง ทรงแยกแยะระหว่างบุคคล ดังที่จะได้กล่าวถงต่อไป
ในการศึกษาพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นสมัยหลัง เราอาจจะกล่าวได้ว่า คำอธิบายที่ชัดเจนของศรีมาลาฯ เรื่องศรัทธาของชาวพุทธนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในญี่ปุ่น โดยเฉพาะเราจะต้องตั้งข้อสังเกตว่ามีกุลบุตรกุลธิดาประเภทที่สาม ที่กล่าวถึงในพระสูตรบทที่ 4 ว่า เป็นผู้ “ถดถอยจากการเข้าถึงพระธรรมด้วยตนเอง” ด้วยคิดว่า “ฉันคงไม่อาจเข้าใจได้ เรื่องเช่นนี้น่าจะมีแต่พระตถาคตเจ้าเท่านั้นที่จะเข้าถึงได้และด้วยการยึดมั่นในพระตถาคตเจ้าจึงเข้าถึงวาระจิตของพระองค์” ตรงนี้ คำว่า “เข้าถึงโดยตนเอง” ใช้อักษรที่อ่านว่า “จิโจจุ” (ทำสำเร็จด้วยตนเอง) ในภาษาญี่ปุ่น อรรถกถาของฮานายามะใช้คำว่า “จิบุนเกียว” (ปฏิบัติด้วยตนเอง” และ “ตาบุนเกียว” (ปฏิบัติโดยผู้อื่น) ซาเอกิอธิบายข้อความตอนนี้โดยใช้คำ “จิริกิ” (อำนาจของตน) และ “ตาริกิ” (อำนาจผู้อื่น) ดังนั้น ศรีมาลาฯ มีหลักคำสอนในเรื่องศรัทธาซึ่งเข้ากันได้ดีกับศัพท์ของทางนิกายสุขาวดีเรื่อง จิริกิและตาริกิ เพียงแต่มิได้ใช้คำเดียวกันเท่านั้น
ความสำคัญในประเทศ ธิเบต
ความสำคัญในประเทศ ธิเบต
ชินมิตร และสุเรนทรโพธิ บัณฑิตชาวอินเดียว แปล ศรีมาลาฯ เป็นภาษาธิเบตร่วมกับเยเซเด นักแปลชาวธิเบต งานแปลฉบับนี้ ทำในตอนต้นศตวรรษที่ 9 (ประมาณ ค.ศ. 815 หรือก่อนหน้านั้น 2-3 ปี) พระสูตรนี้อยู่ถัดจากพระสูตรสุดท้ายในรัตนกูฎ รวมอยู่ในอ์กาอ์ (ค์จูร จึงมีความใกล้เคียงกับฉบับแปลของโพธิรุจิ ซึ่งแปลเป็นภาษาจีน ซึ่ง ศรีมาลาฯ ก็เป็นส่วนหนึ่งของ รัตนกูฎ เช่นกัน ดังนั้น เราจึงพอสรุปได้ว่าฉบับแปลทั้งสองซึ่งแปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตมีความใกล้เคียงกับต้นฉบับเดิม นักแปลชาวญี่ปุ่น 2 คน ซึ่งเคยใช้เวลาอยู่ในธิเบต ได้แปลงานภาษาธิเบตเป็นภาษาจีน ฉบับแปลของเอไกคาวากุชิ พิมพ์ใน ค.ศ.1924 ฉบับของโทคานทาดะ พิมพ์ใน ค.ศ.1936
ศรีมาลาฯ ฉบับภาษาธิเบต ดูเหมือนไม่สู้มีอิทธิพลในธิเบตนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพุทธศาสนาในธิเบตให้ความสำคัญกับอรรถกถามากในกรณีนี้มีคู่มือเกี่ยวกับทฤษฎีตถาคตครรภ์คือ รัตนโคตรวิภาค ซึ่งมีอยู่ในฉบับภาษาสันสกฤตของ อีเอช จอห์สัน หรืออุตรตันตระ ตามชื่อฉบับแปลภาษาธิเบต โดย สัชชน และโบลดัน เสรับ นักแปลชาวธิเบตคนสำคัญ เมื่อ คตวรรษที่ 11 งานชิ้นนี้ได้รับการยกย่องในธิเบตว่าเป็น “หนึ่งในห้าของพระศรีอาริยเมตตรัย” ซึ่งถือกันว่าอสังคะรับมาจากพระเมตตรัย จากสวรรค์ชั้นดุสิต ที่จริงแล้วอสังคะอาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ รัตนโคตรวิภาค เลยก็ได้ พระภิกษุชาวธิเบตที่มีความรู้ทั้งหลาย น่าจะได้ศึกษาพระสูตรนี้ร่วมกับพระสูตรอื่นของพระเมตตรัย โดยเฉพาะมหายานสูตรตราลังการ และมัธานตวิภาค
เนื่องจากความสำคัญของอุตตรตันตระ ข้อความที่อ้างถึงศรีมาลาฯ ย่อมเป็นที่สนใจของนักอ่านชาวธิเบตด้วย แต่สำหรับพระสูตรนี้ชาวธิเบตให้ความสนใจเพียงเท่านั้น แน่นอนหากมีผุ้ที่สนใจทฤษฎีตถาคตครรภ์เป็นพิเศษ ดังเช่นนิกายโจนันปะของธิเบต เขาก็จะต้องอ่านพระสูตรโดยตรง ดีกว่าที่จะอ่านเฉพาะข้องความที่อ้างถึงจากที่อื่น แม้ข้อความที่อ้างถึงจะเป็นข้อความที่สำคัญที่สุดใน ศรีมาลาฯ ก็ตามที
โครงสร้างของศรีมาลาฯ
โครงสร้างของศรีมาลาฯ
1 การแบ่งบท
ทั้งฉบับแปลเป็นภาษาจีนของโพธิรุจิ และฉบับแปลเป็นภาษาธิเบตไม่มีการแบ่งบท เป็นที่แน่นอนว่าต้นบับภาษาสันสกฤตเขียนติดต่อกันโดยไม่มีการแบ่งเป็นบทเป็นตอน ฉบับแปลเป็นภาษาจีนของคุณภัทร แบ่งเป็น 15 บท โดยถือตาม 16 หัวข้อที่กล่าวถึงในบทส่งท้ายของพระสูตร อรรถกถาภาษาจีนเก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ เป็นอรรถกถาฉบับแปลของคุณภัทร ต้นฉบับของสไตน์ เลขที่ 2660 จากถ้ำตุนฮวง คัดลอกเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 504 มีการแบ่งบทแบบเดียวกัน
หัวข้อที่กล่าวถึงในบทส่งท้ายของพระสูตร เห็นได้ชัดเจนว่ามีความสอดคล้องกับการจัดแบ่งบท การแบ่งบทดังกล่าวปรากฏในฉบับแปลของคุณภัทรนั้นมีปัญหาบางประการ กล่าวคือมีการแบ่งซอยย่อยลงไปมีการแบ่งบทย่อยนี้สำหรับหัวข้อ “การยอมรัรบพระธรรมอันประเสริฐ” และ “เอกยาน” ทั้งที่เมื่อศึกษาหัวข้อทั้งสองแล้วจะเห็นว่ามีเนื้อหาคละอยู่ในบทย่อยส่วนอื่นด้วย นอกจากนั้น บทที่ว่าด้วย “เอกยาน” ยังแบ่งย่อยลงเป็น “มิใช่ความหมายสุดท้าย” และ “ความหมายสุดท้าย” ซึ่งมิได้มีกล่าวถึงในบทส่งท้าย
ในการพิจารณาดังกล่าว ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า ในต้นฉบับสันสกฤตเดิมนั้น จะมีประโยคเชื่อมต่อในลักษณะใดหรือไม่ ที่เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบว่าจบบทในแต่ละบท พิจารณาจากต้นฉบับที่มีอยู่ดูเหมือนว่าจะมีประโยคดังกล่าว โดยการพิจารณาการแบ่งบทด้วยประโยคที่เกี่ยวกับ “ปฏิภาณ” มี 5 ประโยค ประโยคดังกล่าวบ่งชี้ถึงพระสูตรที่ได้รับแรงบันดาลใจ สามประโยคแรกอยู่ในบท “การยอมรับพระธรรมอันประเสริฐ” กล่าวคือ
1 “พระนางศรีมาลาเทวี กราบทูลพระตถาคตเจ้า ด้วยคำต่อไปนี้ ‘ยิ่งกว่านั้นในเวลาที่แสดงพระธรรมนั้นของอำนาจจากพระตถาคตเจ้าจงช่วยให้ข้าฯมีปฏิภาณ (แสดงธรรมได้คล่องแคล่าว)’ “
2 “ขออำนาจพระตถาคตเจ้าโปรดให้ข้าฯ มีปฏิภาณในการสอนพระธรรมอันมีความหลายล่ำลึก”
3 “ขออำนาจพระตถาคตเจ้าโปรดให้ข้าฯ มีปฏิภาณในการแสดงพระธรรมอันมีความหมายกว้างขวาง” เมื่อพิจารณาประโยคเหล่านี้ในความสัมพันธ์กับเนื้อหาของแต่ละบท สรุปได้ว่า เป็นการแสดงให้เห็นว่ามีขั้นตอนและสัมพันธ์กับ “ความปรารถนาอันสมบูรณ์ทั้งสามประการ” อันเป็นบทย่อยของบทที่ว่าด้วย “การยอมรับพระธรรมอันประเสริฐ”
ประโยคการขอ “ปฏิภาณ” ที่ 4 เริ่มต้นในบทที่ว่าด้วย “เอกยาน”
4 “เทวี พระนางพึงแสดงธรรมอย่างคล่องแคล่วในการยอมรับพระธรรมอันประเสริฐ อันแสดงแล้วโดยพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และตถาคตได้อธิบายแล้ว” ดังนี้แสดงว่า ข้อความที่ตามมามากกว่าครึ่งหนึ่งของพระสูตร เป็นการนำเสนอจากจุดยืนของการบรรลุพุทธะโดยสมบูรณ์ มีหัวข้อหลายหัวข้อตอนท้ายของศรีมาลาฯ ที่ทำให้เกิดบทย่อยในบทต่อจาก “เอกยาน”
ในตอนท้าย ศรีมาลาเทวีกลายเป็นผู้สื่อข่าว
5 “ขออำนาจของพระตถาคตเจ้า จง่วยให้ข้าฯ มีความคล่องแคล่วในการแสดงธรรมในความหมายที่ปราศจากข้อตำหนิใดๆ” เป็นการยืนยันว่า ศรีมาลาเทวีทรงยังความคล่องแคล่วในการแสดงธรรม หลังจากที่พระตถาคตเจ้าเสด็จกลับเมืองสาวัตถีแล้ว ดังที่อธิบายไว้ในอรรถกถาของจี้ซัง เราจึงสรุปได้ว่า แม้จะไม่มีรายชื่อในบทส่งท้าย และการแบ่งบทดังปรากฏในประเทศจีน พระสูตรสั้นๆนี้ก็มีโครงสร้างภายในที่จะทำให้มีการแบ่งบทได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผล แม้ว่ารายชื่อในบทส่งท้ายมิอาจชดเชยหลักฐานจากโครงสร้างภายใน แต่ก็เป็นหลักฐานที่จำเป็นอันบ่งชี้ประเด็นสำคัญของพระสูตรนี้
นอกจากนั้น ทั้ง 16 หัวข้อที่ปรากฏในตอนท้ายของพระสูตร หัวข้อที่ 16 เสนอแนะการแบ่งที่สำคัญของพระสูตรเอง ฉบับแปลภาษาจีนทั้งสองฉบับเห็นพ้องกันในประโยคที่ว่า “และได้รวมคำอธิบายทั้งปวงในพระสูตรนี้ว่า ‘ขจัดความสงสัยทั้งปวง ตัดสินความหมายสุดท้ายและเข้าสู่เอกยานมรรค’ “ ฉบับภาษาธิเบตแตกต่างกันไปเล็กน้อย “ และรวมคำอธิบายทั้งปวงในพระสูตรนี้ ว่าเป็น ‘การตัดสินเหตุ(และ)ความหมายสุดท้าย และปัจจัยทั้งปวง ‘ “ ถ้าจะยอมรับการประนีประนอมระหว่างต้นฉบับทั้งสอง เราก็อาจมาสู่ประโยคนี้ “และรวมคำอธิบายทั้งปวงที่มีอยู่ในพระสูตรนี้ว่า ‘ขจัดความสงสัยทั้งปวง ตัดสินเหตุ ทำความหมายสุดท้ายให้กระจ่าง และเข้าสู่เอกยาน’ “ ประโยคทั้ง 4 นี้เป็นหัวข้อบททั้ง 4 ที่สำคัญของพระสูตรด้วย
เมื่อพิจารณาข้อมูลที่พบเหล่านี้ เราจึงใช้ความพยายามที่จะเข้าสู่อรรถกถาจากฝ่ายจีน-ญี่ปุ่น เราได้พิจารณาการแบ่งบทซึ่งรวมทั้งการแบ่งบท และบทย่อยไปแล้ว การพิจารณาขั้นต่อไปเกิดจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า ศรีมาลาฯ เป็นงานที่เขียนขึ้นในอันธระ ช่วงที่นิกายมหาสังฆิกะมีอิทธิพลสูงในอินเดีย ในตอนต้นของ หมาวัสดุ ในวินัยของโลกุตรวาท ซึ่งเป็นนิกายย่อยของมหาสังฆิกะ มีการกล่าวถึงจรรยา 4 ประเภทของพระโพธิสัตต์คือ ปกติจรรยา ปณิธานจรรยา อนุโลมจรรยา และอนิวรรตนจรรยา จรรยาแต่ละแบบแสดงให้ปรากฏในชาดกซึ่งเป็นเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า และดูจะเข้ากันได้ดีกับสถานการณ์ของศรีมาลาฯที่เกี่ยวกับโพธิสัตต์จรรยาที่ดายัลอธิบายไว้” ตัวอย่างเช่นในบทของศรีมาลาฯ เรื่อง “ทศปณิธาน” และปณิธานสมบูรณ์” ไม่จัดเข้าใน “โพธิจิตโคตตบาท”
จากการศึกษาเปรียบเทียบตอนต้นของมหาวัสดุ กับเนื้อหาของศรีมาลาฯ หัวข้อทั้งสี่ที่กล่าวถึงในตอนท้ายของพระสูตร ซึ่งเราถือเป็นการประนีประนอมระหว่างต้นฉบับของจีนและธิเบต มีเหตุผลที่จะถือการแบ่งบทดังนี้
บทที่ 1 ขจัดความสงสัยทั้งปวง
1 สรรเสริญพระบารมีของพระตถาคตเจ้า
2 ทศศีล เป็นปกติจรรยา ซึ่งหมายรวมทั้งการสร้างบารมีในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่
บทที่ 2 ตัดสินเหตุ
3 ปณิธานอันสมบูรณ์ทั้งสามประการ ข้อนี้เป็นปณิธานจรรยา
4 การยอมรับพระธรรมอันประเสริฐ ก.เป็นคำสอนซึ่งรวมอยู่ในมหาปณิธาน ข.คำสอนที่มีความหมายลึกล้ำ ทั้งสองนี้เป็นอนุโลมจรรยา และ ค. คำสอนในความหมายอันไพศาล ซึ่งเป็นอนิวรรตนจรรยา นับรวมจรรยาทั้งมวลของโพธิสัตต์ คือส่วนที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยมุ่งที่ผลคือการเข้าถึงความเป็นพุทธะ
บทที่ 3 ทำความหมายสุดท้ายให้กระจ่าง
5 เอกยาน
6 อริยสัจอันหาประมาณมิได้ เรื่อยไปจนถึง
13 ความบริสุทธิ์ของจิตภายใน
บทที่ 4 เอกยานมรรค
14 พระตถาคตบุตร
15 ศรีมาลาเทวีสีหนาท
ต่อไปนี้เป็นการสรุปการแยกบท โดยสัมพันธ์กับ 15 หัวข้อที่กล่าวถึงในบทส่งท้าย
บทที่ 1 ขจัดความสงสัยทั้งปวง
1 สรรเสริญพระบารมีของพระตถาคตเจ้า
2 มหาปณิธาน
บทที่ 2 ตัดสินเหตุ
3 มหาปณิธาน ซึ่งรวมทั้งปณิธานอันสมบูรณ์
4 ธรรมเทศนาเรื่องการยอมรับพระธรรมอันประเสริฐ
บทที่ 3 ทำความหมายสุดท้ายให้กระจ่าง
5 ธรรมเทศนาเรื่องเอกยานมรรค
6 ธรรมเทศนาเรื่องอริยสัจอันหาประมาณมิได้
7 ธรรมเทศนาเรื่องตถาคตครรภ์
8-9 ธรรมเทศนาเรื่องธรรมกาย และความหมายลึกซึ้งเรื่องสุญญตา
10 ธรรมเทศนาเรื่องเอสัจ
11-12 ธรรมเทศนาเรื่องความเที่ยง ความมั่นคง ความสงบ อมตะ เอกสรณะ และมรรค
13 ธรรมเทศนาเรื่องความหมายลึกซึ้งของความบริสุทธิ์ของจิตภายใน
14 ธรรมเทศนาเรื่องตถาคตบุตร
15 ศรีมาลาเทวีสีหนาท
“ขจัดความสงสัยทั้งปวง” เป็นปัจจัยของ “การเข้าสู่เอกยานมรรค” “ตัดสินเหตุ” เป็นปัจจัยของ “การทำความหมายสุดท้ายให้กระจ่าง” ผู้แปลได้รวมบทที่ 8-9 เข้าด้วยกัน เพรามีเนื้อหาและความคิดที่ต่อเนื่อง และได้รวมบทที่ 11-12 เข้าด้วยกัน เพราะมีลักษณะกลับกัน
บทย่อของพระสูตร
บทย่อของพระสูตร
บทนำ พระสูตรนี้เริ่มเรื่องที่เมืองสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิและพระนางมัลลิกาทรงพยายามชักนำพระธิดาคือพระนางศรีมาลาเทวี ให้สนพระทัยคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บทที่ 1 ขจัดความสงสัยทั้งปวง
1 พระนางศรีมาลาได้กราบทูลอัญเชิญพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งทรงปรากฏมาในรูปกายทิพย์ พระนางตรัสสรรเสริญพระกายทั้งสองคือ รูปกายและธรรมกาย พระตถาคตเจ้าพระราชทานพุทธพยากรณ์ว่า พระนางจะได้เข้าถึงพระโพธิญาณ
2 พระนางศรีมาลาทรงทศศีล คือศีล 5 ของฝ่ายเถรวาท และอีก 5 ประการเป็นศีลฝ่ายมหายาน ข้อที่ 10 มีความว่า จะรับพระธรรมอันประเสริฐโดยไม่ลืมเลือน ด้วยการรับศีลนี้ ธรรมสภาจึงปลดเปลื้องจากความสงสัยทั้งปวง
บทที่ 2 ตัดสินเหตุ
3 พระนางศรีมาลาทรงตั้งมหาปณิธาน 3 ประการ ขอให้มีความเข้าใจในพระธรรมอันประเสริฐ ขอให้แสดงธรรมได้โดยไม่เหน็ดเหนื่อย และจะพิทักษ์รักษาพระธรรมด้วยกาย พลังชีวิต และทรัพย์สมบัติทั้งปวง ปณิธานทั้งสามนี้เป็นโพธิสัตต์จรรยา
4 พระนางกราบทูลขออำนาจากพระตถาคตเจ้า ให้แสดงธรรมได้อย่างคล่องแคล่วในเรื่องมหาปณิธาน และความหมายอันลึกล้ำด้วยปฎฏิภาณพระนางทรงแสดงธรรมเรื่องการยอมรับพระธรรมอันประเสริฐซึ่งนำไปสู่มหายาน กุลบุตรกุลธิดาผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐได้รับภาระทั้ง 4 ประการคือ
4.1 ช่วยทให้สามัญชนได้เข้าถึงบารมีของเทวดาและมนุษย์
4.2-4 ช่าวให้บางคนได้เข้าสู่สาวกยาน หรือมหายาน กุลบุตรกุลธิดาผู้ประพฤติตามย่อมได้รับสิ่งประเสริฐ 4 ประการ อันมีค่ากว่ารัตนมณี นั่นคือเป็น 1 บุญกุศลของเทวดาและมนุษย์ 2-4 พีชอันนำไปสู่สาวกยาน หรือปัจเจกพุทธยาน ด้วยปฏิภาณประการที่สอง พระนางทรงแสดงธรรมว่า ผู้ที่ให้และผู้ที่น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐนั้นไม่มีความแตกต่างกัน พระนางทรงอธิบายว่า กุลบุตรกุลธิดา เมื่อได้สร้างทานบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยะบารมี ปัญญาบารมี ทำให้ผู้อื่นมีความเจริญ และยึดมั่นในพระธรรมอันประเสริฐ พระนางกราบทูลขออำนาจจากพระตถาคตเจ้า ให้พระนางมีปฏิภาณ มีความคล่องแคล่วในการแสดงธรรมอันมีความหมายไพศาลด้วยขอบเขตแห่งปฏิภาณครั้งที่สามนี้ พระนางทรงเทศนาว่าทั้งผู้แสดงแผละผู้ฟังธรรมมีความเป็นเอกภาพ ทรงอธิบายว่า กุลบุตรกุลธิดาผู้ละวางจากกายแล้ว ย่อมเข้าถึงพระรูปกายของพระพุทธเจ้า ผู้ทีละวางพลังชีวิต ย่อมสถิอยู่ในกิจกรรมอันประเสริฐของพระธรรม ผู้ละวางทรัพย์สมบัติ ย่อมได้รับการสรรเสริญจากสรรพสัตว์ และเป็นผู้เข้าถึงพระธรรมอันประเสริฐโดยแท้
บทที่ 3 ทำความหมายสุดท้ายให้กระจ่าง
5 พระนางทรงแสดงธรรมเรื่องการน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ “พระธรรมอันประเสริฐ” หมายถึง มหายาน ชีวิตทางศาสนาและการอุปสมบทนั้นเป็นวิถีของพระตถาคตเจ้า ส่วนพระอรหันต์ และพระปัจเจกพุทธะ ยึดในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสรณะ สิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “นิพพาน” เป็นวิถีของพระตถาคตเจ้า เพราะพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธเจ้ายังไม่มีบารมีเพียงพอ มีบารมีเพียงจำกัดและยังมีอาสวะ และยังอยู่ห่างไกลจากอาณาจักรพระนิพพาน เมื่อพูดถึงความเป็นอิสระของพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธนั้น มี 2 แบบคือ การสิ้นอายุขัยของปุถุชนทั่วไป และการดับของพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะและพระโพธิสัตต์ที่เข้าถึงอำนาจพระอรหันต์ และพระปัจเจกพุทธะยังไม่สิ้นอาสวะทั้งมวล ทั้งยังไม่ตัดขาดจากวัฏฏะ มีอาสวะที่เหลือ 4 ประการ ที่ยังเป็นตัวกระตุ้นอาสวะอื่นๆ อาสวะที่มีพลังที่สุดคือ อาสวะที่ตกตะกอนอยู่ในจิตไร้สำนึก แม้จะเป็นอาสวะคงที่ แต่ก็แตกต่างไปจากอาสวะที่นอนเนื่องในสันดาน 4อย่าง พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะสามารถทำลายอาสวะทั้ง 4 อย่าง แต่พวกเขาและแม้พระโพธิสัตต์ก็ยังไม่สามารถขจัดอาสวะชนิดนี้ เป็นอาสวะที่ขัดไปในขึ้นที่จะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ทั้งพระอรหันต์และคนอื่นๆยังมีจตุราริยสัจบางอย่างที่ต้องบรรลุ พวกเขาเข้าถึงนิพพานเพียงบางส่วนและยังมิได้ลิ้มรสนิพพานอันเป็นหนึ่ง เมื่ออาสวะขั้นหยาบและขั้นละเอียดถูกขจัดไปแล้ว จึงเข้าถึงธรรมชาติของพุทธะอันมิอาจหยั่งได้และทั้งพระตถาคต พระอรหันต์ และพระปัจเจกพุทธะ พากันเปล่งสีหนาทในความหมายสุดท้าย ทั้งสาวกยานและปัจเจกพุทธะ ล้วนอยู่ในมหายาน มหายานคือศัพท์ที่ใจเรียกพุทธยาน ดังนั้น ยานทั้งสามมีเพียงหนึ่งเดียวคือ เอกยาน พระตถาคตทรงเป็นสรณะที่เที่ยแท้ ในขณะที่พระสงฆฺเป็นสรณะชั่วคราว สรรพสัตว์ผู้ยึดพระตถาคตเป็นสรณะ ย่อมศรัทธาในธรรมชาติที่แท้ ศรัทธานั้นน้อมนำไปสู่พระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ดังนั้น พระตถาคตเจ้าทรงเป็นไตรสรณะ
6 จตุราริยสัจ มิได้เป็นของพระสาวก และพระปัจเจกพุทธะ เพราะบุคคลนี้มิได้มีความรู้ลึกซึ้งที่จะหยั่งความหมายของอริยสัจได้ จตุราริยสัจเป็นสมบัติของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ผู้ได้ขจัดอาสวะทั้งหลายด้วยความรู้ในสุญญตา
7 ตถาคตครรภ์ ปกคลุมอยู่ด้วยอาสวะ เมื่อปลดเปลื้องจากอาสวะนี้จึงเข้าถึงธรรมกายของพระตถาคต ดังนี้จึงเป็นคำอธิบายของอริยสัจทั้งที่สร้างและมิได้สร้างขึ้น คำอธิบายที่สร้างขึ้นมีข้อจำกัดทางปัญญาด้วยเหตุผลอาสวะ คำอธิบายที่ไม่ได้สร้างขึ้นนั้น ไม่ถูกจำกัดทางปัญญา ด้วยเหตุผลแห่งการขจัดอาสวะทั้งปวง
8-9 เมื่อความทุกข์สิ้นสุดลง คือการเข้าถึงธรรมกายของพระตถาคต หรือตถาคตเป็นอิสระจากอาสวะ ด้วยความรู้ในสุญญตาแห่งพระตถาคต นั่นคือตถาคตครรภ์เป็นสูญจากอาสวะอาลัย แต่ตถาคตครรภ์มิได้เป็นสูญจากธรรมชาติของพุทธะ
10 นิโรธ เป็นสรณะที่แท้ ส่วนอริยสัจอีก 3 ประการ คือทุกข์สมุทัย และมรรคนั้น มิใช่สรณะแท้
11-12 ปุถุชนที่ยังไม่เจริญมีทัศนะสุดโต่ง 2 ประการ เวลาที่เขาคิดว่า “สังขารไม่เที่ยง” เป็นทัศนะปฏิเสธ และเวลาที่เขาคิดว่า “พระนิพพานเป็นนิจจัง” ก็เป็นทัศนะที่ยึดถือเป็นอมตะ ทั้งนี้เพราะพวกเขามีทัศนะ 4 ประการ คือ ถือสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ความทุกข์เป็นความสุขอนัตตาเป็นอัตตา ความไม่บริสุทธิ์เป็นบริสุทธิ์ พระสาวกและพระปัจเจกพุทธะ ปราศจากทัศนะทั้ง 4 นี้ จึงเป็นผู้มีความรู้บริสุทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่เข้าถึงธรรมกายของพระตถาคต สรรพสัตว์ผู้มีศรัทธาว่าตถาคตเป็นนิจจัง เป็นความสุข เป็นอัตตา และบริสุทธิ์ เรียกได้ว่าเป็นบุตรแห่งพระตถาคต พระตถาคตทรงชี้ให้เห็นที่พึ่งทางโลก เพื่อบุคคลนั้นจะได้มีโอกาสก้าวล่วงเข้าสู่สรณะอันเป็นโลกุตระ
13 ตถาคตครรภ์เป็นพื้นฐานของการสร้างสมทั้งธรรมชาติพุทธะที่เปิดเผย และการสร้างสมอาสวะที่ซ่อนเร้น ตถาคตครรภ์ได้รับควาทุกข์ จึงเป็นเหตุให้แสวงหาพระนิพพาน และเป็นเหตุเพื่อสังสารวัฏมิใช่ตัวตน มีหลัก 2 ประการที่ซับซ้อนนั้นคือจิตรู้ที่บริสุทธิ์ภายในและจิตรู้ดังกล่าวนั้นอาจแปดเปื้อนอาสวะได้
บทที่ 4 เอกยานมรรค
14 ด้วยระดับสาวก 2 ระดับ ระดับที่สามเป็นความรู้ในธรรมะมี 5 ประเภท และระดับที่4เป็นการเข้าสู่หลักที่ซับซ้อน 2 ประการจากนั้นพระสาวกก็จะสามารถชักนำผู้อื่นให้เข้าสู่มหายาน
15 พระนางทรงมีความแคล่วคล่องในการอธิบายความหมายอันเป็นนิรมล โดยอธิบายถึงกกุลบุตรกุลธิดา 5 ประเภท พวกหนึ่งเข้าถึงพระธรรมอันประเสริฐด้วยการไตร่ตรอง พวกหนึ่งเข้าถึงความรู้แห่งพระธรรม และอีกพวกหนึ่งด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน จึงสามารถอัญเชิญพระพุทธเจ้าเข้ามาอยู่ในจิต บางคนอธิบายธรรมะอย่างผิดๆ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระนาง แล้วเสด็จกลับ พระนางศรีมาลาเทวีทรงโน้มน้าวพระทัยพระเจ้านโศมิตรเข้าสู่มหายาน และในฐานะที่ทรงเป็นพระราชชินี ทรงทำให้บรรดาสตรีกลับใจหันมานับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับที่พระราชาทรงเปลี่ยนใจเหล่าบุรุษเช่นกัน
บทส่งท้าย
พระพุทธองค์เสด็จถึงสวนเชตะวัน ในกรุสาวัตถี และทรงเทศนาพระสูตรแก่พระอานนท์ และพระอินทร์ พระพุทธองค์ทรงกำหนดให้จดจำพระสูตรทั้ง 15 หัวข้อทั้งหมดภายใต้การแบ่ง 4 ตอน และมีพระพุทธบัญชาแก่พระอินทร์ให้รักษาพระสูตรไว้ ธรรมสภาพากันอนุโมทนา
การจำแนกบุคคล
การจำแนกบุคคล
บุคลากรในศรีมาลาฯ
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ ศรีมาลาฯ กล่าวถึงกลุ่มบุคคล ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเนื้อหาทางศาสนา บางครั้งกลุ่มบุคคลเหล่านี้จะได้รับการกล่าวถึงในลักษณะตรงกันข้าม พระสูตรนี้ให้ความสำคัญแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างแท้จริง เพราะถือว่าทุกคนมีศักยภาพแห่งความเป็นพุทธะที่เรียกว่า “พีชะแห่งตถาคต” เท่ากัน
โดยย่อ บุคลากรเหล่านี้จัดอยู่ในประเภท “สาวก” “ปุถุชน” “ปัจเจกพุทธะ” ทั้งสองประเภท “อรหันต์”โพธิสัตต์ ที่พึ่งหันเข้าสู่มหายาน และโพธิสัตต์ในภพสุดท้าย “กุลบุตร” “กุลธิดา” หรือท้ายสุดพระพุทธเจ้า ผู้ที่ทรงพระนามว่า “ภควัต” “ตถาคต” “สัมมาสัมพุทธเจ้า” หรือเรียกโดยพระนามเต็มว่า “พระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า”
ในกลุ่มต่างๆนี้ “ปุถุชน” เป็นกลุ่มที่ปราศจากกัลยาณมิตร ไม่ได้ยินพระธรรมอันประเสริฐ ในทางตรงกันข้าม ฝ่ายสาวกมีกัลยาณมิตรและปัจเจกพุทธะทรงบำเพ็ญด้วยพระองค์เอง ทั้งสองกลุ่มนี้เรียกว่า “อารยะ” อันเป็นลักษณะของฝ่ายหีนยาน พระโพธิสัตต์ปรารถนาการตรัสรู้เพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่น เป็นลักษณะของฝ่ายมหายาน พระโพธิสัตต์เหล่านี้อาจเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ ฝ่ายฆราวาสเรียกว่า กุลบุตรและกุลธิดา ประการสุดท้าย พระพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษ ผู้ใดทรงกระทำมรรคให้แจ้ง และทรงเป็นต้นกำเนิดพระไตรรัตน์
ศรีมาลาฯ มีกลุ่ม “พระสาวก พระปัจเจกพุทธะ และพระโพธิสัตต์ ที่พึ่งหันเข้าสู่มหายาน” และอีกกลุ่มหนึ่งเป็น “พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะ และพระโพธิสัตต์ ผู้มีพลัง” ในพุทธศาสนากล่าวถึง “ตรียาน” กลุ่มบุคคล 2 ประเภทนี้จึงสัมพันธ์กับบุคคลผู้อยู่ในมรรคฝ่ายหนึ่ง และที่บรรลุแล้วอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนี้
อยู่ในมรรค บรรลุแล้ว
สาวก อรหันต์
พระปัจเจกพุทธะ(ชนิดแรก) พระปัจเจกพุทธะ(ชนิดที่2)
พระโพธิสัตต์(กำลังปฏิบัติ) พระโพธิสัตต์(ผู้มีพลัง)
ตามประเพณีแล้ว พระสาวกบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ โดยความเข้าใจในอริยสัจ 4 และโดยการบำเพ็ญสมาธิ ที่เรียกว่า “วัชรปัทมสมาธิ” ในขณะที่ ศรีมาลาฯ มิได้ใช้คำว่า “ปัจเจกพุทธะ” อย่างสม่ำเสมอ แต่ใช้ตามประเพณีนิยมที่ถือว่ามี 2 พวก คือ ขัฑควิษาณกัลป์(ใช้ชีวิตตามลำพัง) และพวกที่สองคือ ปัจเจกชินะ(มีชัยชนะด้วยตนเอง อภากรคุปต์ อธิบายว่า พระปัจเจกทั้งสองพวกบรรลุธรรมโดยไม่พึ่งผู้อื่น และเป็นผู้สอนพระธรรมโดยไม่ใช้คำพูด ดังนั้นจึงขอเรียกพวกแรกว่า “พระผู้สำเร็จโดยตนเอง” และเรียกพวกหลังว่า “พระปัจเจกพุทธะ” พระโพธิสัตต์ที่เพิ่งหันเข้าสู่มหายาน อยู่ในขอบข่ายความปรารถนา 2 ประการ (ในสาม) ของพระนาง โดยเฉพาะด้วยการสร้างสมบารมีและพัฒนาสรรพสัตว์ด้วยธรรมเทศนา “พระโพธิสัตต์ผู้มีพลัง” เป็นความปรารถนาประการที่สามของพระนาง ได้รับการกล่าวถึงในงานอื่นว่าเป็นพระโพธิสัตต์ที่อยู่ในโพธิสัตต์ภูมิขั้น 8 และสูงขึ้นไปนั่นคืออยู่ใน 3 ภูมิสุดท้ายของโพธิสัตต์ภูมิ
พระนางศรีมาลาเทวีทรงถือว่า พระโพธิสัตต์เป็นผุ้ที่สูงส่งกว่า ทั้งที่กำลังปฏิบัติและที่เข้าถึงแล้ว สำหรับผู้ที่กำลังปฏิบัตินั้นพระนางรับสั่งว่า “แม้จะน้อมรับพระธรรมของมหายานอันประเสริฐเพียงน้อยนิดและเพราะความกว้างใหญ่ไพศาล ย่อมต้องสูงส่งกว่าการปฏิบัติธรรมตามสาวกยาน และปัจเจกพุทธยาน” ส่วนผู้ที่บรรลุแล้วนั้น พระนางรับสั่งว่า “พระอรหันต์ และปัจเจกพุทธยาน ยังห่างไกลจากพระนิพพาน” แต่ไม่รวมพระโพธิสัตต์ผู้มีพลังเข้าไป 3 ขั้น ด้วยมโนมยกาย (กายอันเกิดจากจิต) รวมอยู่ในประเภทอรหันต์-ปัจเจกพุทธะ และโพธิสัตต์ผู้เข้าถึงแล้ว และด้วยการพิเศษนี้ เรียกว่า นิรมาณกายจะพัฒนาไปสู่สภาวะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไม่อาจเข้าใจในขั้นตอนดังกล่าวนี้ เพียงอ่าน ศรีมาลาฯ และไม่มีข้อความใดในพระสูตรที่จะแสดงความเห็นขัดแย้งกับการตีความนี้ ดูเหมือนจะสอดคล้องกับทัศนะ “เอกยาน” ในศรีมาลาฯด้วย
ข้อความที่เข้าใจยากข้อถัดมาคือ การอธิบายความแตกต่างระหว่างบุคคลที่อยู่ในภูมิต่างๆ โดยการจำแนกการปรากฏของตถตาซึ่งเป็นคำอธิบายที่ใช้ใน รัตนโคตรวิภาค ว่า
“พีชะแห่งพระชินะนี้ ผู้รู้ในสัจธรรมสอนว่ามีอยู่ในสรรพสัตว์ ความแตกต่างของตถตาที่มีอยู่ในปุถุชน อารยะ และสัมพุทธะ
“สำหรับปุถุชนนั้นยังอยู่ในอคติ ตรงกันข้ามคือ ผู้ได้เห็นสัจธรรม เป็นอรูปธรรมที่ปราศจากอคติ และปราศจากการคิดคำนึงในปรากกฎการณ์ นั่นคือ พระตถาคต”
ตรงนี้ ภูมิที่ต่ำสุดคือ ปุถุชน ผู้มีอคติ 4 ประการ ในการยึดถือเอาเรื่องไม่เที่ยงเป็นเที่ยง เห็นทุกข์เป็นสุข่ เห็นอนัตตาเป็นอัตตา และถือความไม่บริสุทธ์เป็นบริสุทธิ์ ดังปรากฏในศรีมาลาฯ เมื่อบุคคลถื อว่า “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง” เป็นทัศนะปฏิเสธด้วยกรอบทางความคิดผิดเพราะเริ่มเข้าใจผิดตั้งแต่เรื่องขันธ์ 5 พวกที่อยู่ตรงข้ามคือ กลุ่มอารยะทั้งสอง ได้แก่ พระสาวก และพระปัจเจกพุทธะ ผู้ที่ได้เรียนรู้ในการทำสมาธิในเรื่องความเป็นอนิจจังว่าเป็นอนิจจัง ฯลฯ ดังนั้น เมื่อพวกเขาถือว่า “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง” เขาได้เห็นสัจธรรม แต่เมื่อเขาพิจารณาลักษณะ 4 ประการของสังสารวัฏ อันได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และความไม่บริสุทธิ์ เขายังเข้าใจในลักษณะโลกียะ จึงยังไม่เข้าเขตพระนิพพานอันเป็นนิจจัง สุขขัง อัตตา และบริสุทธิ์ พระตถาคตเป็นผู้ปราศจากโลกียวิสัย และปราศจากการยึดมั่นในสังสารวัฏ จึงเข้าถึงพระนิพพานด้วยประการฉะนี้
การอธิบายค่า ตถตา ขึ้นอยู่กับข้อความที่คลุมเครือตอนหนึ่งในศรีมาลาฯ ที่ว่า “ตถาคตเจ้า ตถาคตครรภ์นี้เป็นพีชะแห่งธรรมธาตุอันประเสริฐ เป็นพีชะแห่งธรรมกายด้วย” ในสามกลุ่มหนังนั้น ได้ชื่อว่าได้เข้าถึง “มโนมยกาย” คือกายที่เกิดจากจิต สำหรับพระนิพพานนี้ พระนางหมายถึงนิพพานอันสมบูรณ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ศรีมาลาฯ อธิบายชัดเจนว่า ฆราวาสโพธิสัตต์ ที่เรียกว่ากุลบุตรกุลธิดานั้น เป็นผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐในขั้นตอนต่างๆกันพวกเขาแตกต่างจากฝ่าย “เดียรถีย์” ที่ทำท่าว่ารู้ในพระธรรมแต่เผยแพร่ข้อมูลที่ผิดๆ แต่ในพระสูตรมิได้แยกพวก “เดียรถีร์” ออกมาต่างหากหรือว่าก้ำกึ่งอยู่ในกลุ่มของ “ปุถุชน” และ “สาวก” หรือไม่
บุคคลที่กล่าวถึงในพระสูตร
บุคคลที่กล่าวถึงในพระสูตร
ทฤษฎีเรื่องมรรคนั้นเป็นพื้นฐานในพุทธศาสนาทุกนิกาย การตีความที่ต่างกันออกไปทำให้เกิดลักษณะปัจเจกขึ้นในแต่ละฝ่าย ศรีมาลาฯ ก็มีทฤษฎีของตนเอง ดูเหมือนจะเป็นพัฒนาการของมหายานที่เริ่มต้นมาจากมหาสังฆิกะ ซึ่งสอนหลักธรรมในเรื่องทศโพธิสัตต์ภูมิ ดังปรากฏในมหาวัสดุ ศรีมาลาฯ มีความแตกต่างออกไปบ้างเพราะการตีความและความขัดแย้งทางวิชาการอันนานนับศตวรรษ ผลที่เกิดขึ้นจึงเป็นความซับซ้อนและยากลำบากในการอธิบาย
แม้ว่าเราจะต้องยกเอาข้อความที่เข้าใจยากมาพูดถึงเพื่อช่วยให้การอธิบายชัดเจนขึ้น เราสัญญาว่าจะพยายามทำให้กระจ่างมากที่สุดข้อความซับซ้อนข้อแรกที่กล่าวถึงพระสูตร (ศรีมาลาฯ) ปรากฏใน มหายานสูตรลัการอรรถกถา บทที่ XI 59 มีความว่า “เมื่อกล่าวถึงการดำรงอยู่ในภูมิทั้งสาม พระพุทธองค์รับสั่งไว้ในศรีมาลาฯสูตรว่า ‘เมื่อเป็นสาวกแล้ว ก็เป็นพระปัจเจกพุทธะและพระพุทธเจ้า’ ” ข้อความดังกล่าวไม่ปรากฏในต้นฉบับ ศรีมาลาฯที่มีอยู่ เราจึงต้องถือว่าเป็นการตีความและจะต้องตัดสินว่าเป็นการตีความผิดถูกอย่างไร ในบริบทของ มหายานสูตรลังการ มีการกล่าวถึง 3 ขั้นตอนคือ 1 การเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ได้เห็นสัจธรรมแต่ยังไม่บรรลุจุดสุดท้าย 2 พระปัจเจกพุทธะเพียรพยายามบำเพ็ญสมาธิด้วยพระองค์เอง ด้วยไม่มีพุทธเจ้าในสมัยที่พระองค์ถืออุบัติขึ้นมา 3 ผู้ที่ละทิ้งกายที่ถือ กำเนิด อยู่ในรูปนิรมาณกาย และตรัสรู้ธรรมจากกลุ่มคนประเภทต่างๆที่ได้กล่าวถึงแล้วในตอนต้น จะเห็นว่าพระปัจเจกพุทธะเป็นประเภทแรกเราจึงต้องยอมรับบทสรุปว่า มหายานสูตราลังการ มีความเข้าใจว่า ศรีมาลาฯ สอนโดจตรงและโดยอ้อมว่า เราผ่านขั้นตอนในมรรควิถีจากสาวก-ปัจเจกพุทธะ โพธิสัตต์ที่เพิ่งเขาสู่มรรค และในที่สุดเข้าสู่การบรรลุอีก เป็นพีชะแห่งธรรมอันเป็นเลิศ เป็นพีชะแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ภายใน รัตนโคตรวิภาค เข้าใจข้อความตอนนี้ว่า คำอธิบายดังกล่าวเป็นการแสดงให้ปรากฏในรูปแบบต่างๆของตถตาด้วยเหตุผลนานาประการ บุคคลไม่เห็นว่ามีอยู่ในตน รัตนโคตรวิภาค อธิบายลักษณะของตถตาที่กล่าวนี้ดังนี้
1 พีชแห่งธรรมธาตุอันประเสริฐมิปรากฏให้เห็นในปุถุชน ผู้หลงติดในความเชื่อว่าตัวตนมีจริง เพราะพีชะแห่งธรรมธาตุอันประเสริฐนั้นเป็นอาณาจักรที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงและเป็นจุดสิ้นสุดของตัวตน
2 พีชะแห่งธรรมกาย และพีชะแห่งธรรมอันเป็นเลิศ ไม่ปรากฏในสาวกและพระปัจเจกพุทธะ ผู้ยังมีคติ เพราะพวกเขายังพิจารณาในเรื่องของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และความไม่บริสุทธิ์(ของสังสารวัฏ) แทนที่จะเป็น นัจจัง สุขขัง อัตตา และความบริสุทธิ์แห่งตถาคตครรภ์(คือพระนิพพาน)
3 พีชะแห่งธรรมบริสุทธิ์ภายในไม่ปรากฏแก่พระโพธิสัตต์ที่เพิ่งหันเข้าสู่มหายาน ผู้ที่ยังมีความคิดยึดติดในสุญญตา เพราะพวกเขาแสวงหา “มรรควิถีแห่งสุญญตาสู่ความหลุดพ้น” โดยการทำลายความเป็นสรรพสัตว์ และไม่เข้าใจสุญญตาว่าเป็นตถาคตครรภ์ ซึ่งเป็นสูญจากกิเลสมิใช่เป็นสูญจากพุทธภาวะ (ตามที่ศรีมาลาฯ อธิบาย)
อรรถกถาของ รัตนโคตรวิภาคอธิบายไว้ค่อนข้างชัดเจน แต่มิได้กล่าถึงว่าตถาคตปรากฏอย่างไรแก่พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะและพระโพธิสัตต์ผู้มีพลัง
ศรีมาลาฯ มิได้อธิบายโดยเฉพาะถึงชนิดของกิเลสที่พบในบุคคลเหล่านั้น ในขั้นตอนต่างๆของกาปิดบัง “พีชะแห่งตถาคต”หรือตถตา เรื่องนี้กล่าวค่อนข้างละเอียดใน รัตนโคตรวิภาคบนพื้นฐานจากตถาคตครรภ์สูตร กิเลศของปุถุชนเป็นการเกิดขึ้นจากโลภ โกรธ หลง เปรียบได้กับเมล็ดพืชซึ่งปิดบังต้นไม้ กิเลสของกลุ่มอารยะทั้งสองเป็นโลภ โกรธ หลง ที่ตกตะกอน เปรียบได้กับจีวรเก่าๆ ที่คลุมพระพุทธรูป อาจขจัดออกได้โดยการปฏิบัติ กิเลสที่อยู่ในสายธารความรู้สึกหรือวิญญาณของพระอรหันต์และในพระปัจเจกพุทธะและพระโพธิสัตต์ผู้มีพลังก็เป็นเช่นกัน มีตะกอนที่นอนเนื่องอยู่ดุจเดียวกับพื้นดิน สามารถขจัดได้โดยความรู้แจ้งของพระตถาคต
ศัพท์ที่ ศรีมาลาฯ ใช้เกี่ยวกับกิเลสนั้น กล่าวถึงบุคคล2ระดับ พวกที่ไม่มีการสืบเนื่องคือปุถุชน สาวก พระปัจเจกพุทธะและพระโพธิสัตต์ที่เพิ่งหันมาสู่มหายาน พวกนี้ยังมีกิเลสนอนเนื่องอยู่ 4 ประเภทติดตามด้วยกิเลสที่เคลื่อนไหวอีกมากมาย สำหรับผู้ที่มีการสืบเนื่องเปลี่ยนแปลงโดยมองไม่เห็นได้แก่พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะ และพระโพธิสัตต์ที่มีพลัง เพราะพวกเขาได้ขจัดกิเลสนอนเนื่อง 4ประเภทแล้ว แต่ยังไม่สามารถขจัดกิเลสอันมีพลังแฝงเกี่ยวเนื่องในการเป็นภวะ
ในความเจริญของพระโพธิสัตต์ ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ ศรีมาลาฯ มิได้ใช้ภาษาพิเศษสำหรับทศภูมิ แต่ทั้งอรรถกถาจีนและญี่ปุ่นถือว่า ศรีมาลาฯ กล่าวถึงทศภูมิของพระโพธิสัตต์ ในทศภูมินี้แบ่งเป็น 2 ตอน ๆละ 5 ภูมิ นับตั้งแต่ภูมิที่ 6 ขึ้นไป พระโพธิสัตต์ก็จะมีโอกาสเข้าสู่พระนิพพาน บางครั้งบ่างเป็น 7 กับ 3 และสำหรับผู้ที่ผ่านเข้าสู่ภูมิที่ 8 แล้ว ถือว่าเป็นพวกที่ไม่หวนกลับ คำสอนหลายๆตอนของพระเทวี อาจนับได้ทั้งอย่างที่นับแยกเป็น 5-5 และ 7-3 ความปรารถนา 3 ประการของพระเทวี ชี้แนะว่ามีภูมิต่างๆ ความปรารถนาประการแรกคือความสามารถที่จะทให้พระธรรมอันประเสริฐเป็นที่เข้าใจของสรรพสัตว์ทั้งปวงถือเป็นขั้นต่ำสุดและเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่มหายาน ตรงนี้มี “พระโพธิสัตต์ที่เพิ่งเข้าสู่มหายาน” ปรากฏชัดเจนทั้งในภูมิที่ 1 ตลอดถึงภูมิที่ 5, 6 และ 7 ประการที่ 2 ขอให้สอนธรรมะแก่สรรพสัตว์ได้โดยไม่ต้องหยุดหรือรู้สึกเหน็ดเหนื่อย ข้อนี้เป็นการปฏิบัติบารมี 6 ใน 7ภูมิแรก ประการที่ 3 คือ ขอให้สามารถปกป้องและเทิดทูนพระธรรมอันประเสริฐโดยไม่ยึดติดในร่างกาย พลังชีวิต หรือทรัพย์สมบัติ หมายถึงพระโพธิสัตต์ผู้มีพลัง นับตั้งแต่ภูมิที่ 8 ขึ้นไป
ที่อธิบายมาข้างต้นนั้น ทำให้ลักษณะสำคัญของแต่ละภูมิชัดขึ้น แต่ขณะเดียวกันได้ชี้แนะมโนทัศน์ที่ยากเพิ่มขึ้น เช่น “การโยกย้ายที่มองไม่เห็น” บนสรุปบางประกากรที่ไม่ได้มีการพิสูจน์นั้น จะได้รับการอธิบายให้ละเอียดขึ้นโดยวิธีพิเศษคือ
1 ภูมิของร่างกายที่เกิดจากจิต
2 พระโพธิสัตต์ภูมิ 3 ขั้นสุดท้าย
3 ภูมิของฆราวาสโพธิสัตต์
1 ภูมิของร่างกายที่เกิดจากจิต
ตอนนี้เราต้องหันมาพิจารณาข้อความที่ยากที่สุดในศรีมาลาฯ คือ “การเกิดขึ้นของตรีกาย อันเกิดจากจิตในภูมิทั้งสาม “ตรีกายเกิดจากจิต พระเทวี อธิบายว่า เป็นของพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะและพระโพธิสัตต์ผู้มีพลัง ข้อนี้ทำให้เกิดปัญหา 2 ประการ คือ กายที่เกิดจากจิตนี้คืออะไร และภูมิทั้งสามนั้นหมายถึงอะไร
สำหรับคำถามแรกนั้น เราสังเกตว่า ตามคำอธิบายของศรีมาลาฯ พระอรหันต์และคนอื่นนั้น ด้วยกายอันเกิดจากจินี้ มี “การโยกย้ายที่มองไม่เห็น” การโยกย้ายที่ว่านี้ อธิบายชัดขึ้นในมหาวัสดุ เมื่อมีการตั้งคำถามว่า ทำไมพระพุทธมารดาจึงไม่ได้รับความเจ็บปวด เมื่อพระนางประสูติพระโอรสทางสีข้างด้านขวาของพระนาง และอธิบายเลยต่อไปว่า “พระตถาคตอุบัติขึ้นด้วยรูปที่สร้างจากจิต ด้วยเหตุนั้น สีข้างขวาของพระนางจึงไม่ปรากฏรอยแผล ทั้งไม่มีความเจ็บปวด” การทำสมาธิตามแบบพุทธในสมัยโบราณอธิบายว่า ด้วยวิธีการบำเพ็ญสมาธิขั้นสูงพระภิกษุสามารถสร้างมโนมยาอันเป็นรูปเหมือนของท่านจากกายแล้วดึงออกมาให้ปรากกฎได้ ดังปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายบาลีในทีฆนิกาย
“พระภิกษุสร้างมโนมยาจากกายของเขา มีแขนขา และส่วนต่างๆ ทั้งมีคามรู้สึกด้วยดุจเดียวกับที่สามารถดึงต้นหญ้าออกมาจากปล้อง เขาจะรู้ว่า “นี่เป็นปล้องและนี่เป็นต้นหญ้า” ปล้องหญ้าก็ส่วนหน่ง ต้นหญ้าก็อีกส่วนหนึ่ง ต้นหญ้านั้นออกมาจากปล้องหญ้านั่นเอง”
นอกจากนั้น ตำนานในพุทธศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายบาลีและมหาวัสดุ ตั้งแต่แรกเริ่มของการพัฒนาโลกที่ต่ำกว่านั้น กล่าวกันว่าเป็นมโนมยา และอธิบายเพิ่มเติมว่าเป็นการปรากฏตามใจปรารถนากินและอยู่อย่างสนุนสนาน ข้อความเหล่านี้ให้ภาพโดยทั่วไปของมโนมยา ยิ่งกว่านั้น ศรีมาลาฯ ยังได้กล่าวถึงตรีกายที่เกิดจากจิต และจากคำอธิบายของรัตนโคตรวิภาคกล่าวว่า “ในกรณีเช่นนี้ สังสารวัฏเป็นการแสดงของตรีกายที่เกิดจากจิตในอาณาจักรที่ไม่เคลื่อนที่โดยมีภาพสะท้อนปรากฏในอาณาจักทั้งสาม” ข้อความยาวๆนี้ สามารถหาความกระจ่างได้ โดยการสังเกตว่าศรีมาลาฯ ได้ชักนำเอาบรรดาพระโพธิสัตต์ทั้งหลายในการอธิบายปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมายถึงสังสารวัฏ โดยมีสมาชิกทั้ง 12 ได้แก่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นาม รูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภวะ ชาติ ชรา มรณะ ทศภูมิกสูตร ถือว่าเป็นกิเลส กรรมและทุกข์ ในกลุ่มนี้ อวิชชา ตัณหา และอุปทาน นับเป็นกลุ่มหนึ่ง กิเลส สังขาร และภวะ เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ในฝ่ายกรรมที่เหลืออยู่ในทุกข์ ข้อมูลที่สำคัญนี้อาจจัดได้ดังนี้
ปฏิจจสมุปบาท
กิเลส 1อวิชชา 8ตัณหา 9 อุปาทาน
กรรม 2สังขาร 10 ภวะ
ทุกข์ 3 วิญญาณและ 11 ชาติรวมทั้ง
4 นามรูป 12 ชรามรณะ
5 สฬายตนะ
6 ผัสสะ
7 เวทนา
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของข้อมูลนี้กับหลักปฏิจจสมุปบาท จำเป็นต้องกล่าวถึงข้อความที่ได้อธิบายว่า ศรีมาลาฯ กล่าวถึงอุปาทาน 4 ชนิดว่าเป้นอาสวะนอนเนื่อง 4 อย่าง พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะ และพระโพธิสัตต์ผู้มีพลัง เป็นผู้ขจัดอาสวะนอนเนื่องทั้ง4 อย่างอันเป็นปัจจัยของภวะนำไปสู่การเกิดในโลกทั้งสาม ในทางตรงกันข้าม พระอรหันต์เหล่านี้และบุคคลอื่นมีมโนมยาผัสสะในแบบต่างๆที่สะท้อนจากอวิชชา และสังขารแบบต่างๆ ได้แก่อนาสวะกรรม ดังนั้นในข้อความที่กล่าวถึงข้างต้น ตรีกายที่เกิดจากจิตจึงหมายถึงกรณีพิเศษของสังขารและภาพสะท้อนในสามโลก เป็นการกล่าวอ้างถึงการเกิดในกรณีพิเศษ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นั่นคือ มโนมยาเป็นภาพซ้อนของกายหยาบ มโนมยาอยู่ในโลกแห่งอนาสวะ และภาพสะท้อนในกายหยาบจัดอยู่ในสามโลก สามโลกที่ว่านี้ดูจะมิใช่กามภพ รูปภพ และอรูปภพ แต่เป็นนรกภูมิ โลกและสวรรค์ โลกทั้งสามนี้มีกล่าวในตำนานพุทธศาสนาโดยมโนมยา เริ่มจากเทวดาในรูปภพ ขั้นตอนในตำนานนั้นกล่าวต่อไปว่า “จากนั้น โลกนี้ก็อุบัติขึ้นดุจน้ำในทะเลสาบ” และในตำนานวาดภาพ โลกนี้ว่าเป็นภูมิของการสะท้อนของมโนมยาสู่กายหยาบ
ปัญหาที่สองของภพทั้งสามนั้น อรรถกถาศรีมาลาฯ ของจี้ซังได้ตีความเป็น3 แบบ โดยมิได้ให้น้ำหนักว่า การตีความแบบใดควรจะถือว่าถูก ตัวอย่างเช่น ได้กล่าวถึงเรื่องในลังกาวตารสูตร ที่พูดถึงตรีกายที่เกิดจากจิต โดยจัดลำดับเข้ากับทศภูมิของพระโพธิสัตต์ตามทฤษฎีที่ว่ามาข้างต้นนั้น กายดังกล่าวจะปรากฏใน 5 ภูมิแรก กายที่สองจะปรากฏในรูปที่6และ 7 และกายที่สามจะปรากฏในภูมิที่ 8-10 แต่ก็ใช้การอธิบายแบบนี้โดยมีข้อจำกัด มีการอธิบายอีกแบบหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับ รัตนโคตรวิภาค ซึ่งมีข้อความที่อ้างถึงในงานนี้แล้วคือ
“และนั่นคือโพธิสัตต์ภูมิชั้นที่ 6 เรียกว่า อภิมุขี ด้วยเหตุที่มีสมาธิตั้งมั่นโดยไม่หวั่นไหวในการสร้างสมบารมีเพื่อทำลายอาสวะ และด้วยเหตุที่มีสมาธิมั่นในมหากรุณาเผชิญกับการตระหนักเพื่อปกป้องสัตว์ภูมิทั้งหลาย”
แต่ทำไมตอนนี้จึงกล่าวกับโพธิสัตต์ภูมิขั้นที่ 6 ในเมื่ออรรถกถาเห็นพ้องกันว่า “พระโพธิสัตต์ผู้มีพลัง” นั้น ต้องอยู่ในภูมิที่ 8 ขึ้นไป คำอธิบายนี้อิงอาศัย ทศภูมิกสูตร เพราะในพระสูตรดังกล่าว ภูมิทั้งสามคือ ภูมิที่ 6, 7 และ 8 มีกล่าวถึงพระโพธิสัตต์ที่ยังไม่เข้าพระนิพพาน และยังเผชิญอยู่ในสังสารวัฏ และเหตุใด รัตนโคตรวิภาค จึงนำตรีกายที่เกิดจากจิตนี้ไปสัมพันธ์กับโพธิสัตต์ภูมิ ในเมื่อพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะมิใช่พระโพธิสัตต์ คำตอบดูเหมือนจะมีว่า ทฤษฎี “เอกยาน” ของศรีมาลาฯ มีความจำเป็นต้องใช้โพธิสัตต์ภูมิเข้าร่วมด้วยในการพัฒนาของพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะ ไม่ว่าพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะจะอยู่ที่ใด นั่นคือ ในภูมิที่ 6ตามรัตนโคตรวิภาค ถือว่าพระโพธิสัตต์สูงกว่า เพราะมีโพธิสัตต์ปณิธาน แต่เนื่องจากพระโพธิสัตต์ผู้มีพลังอยู่ในภูมิที่ 8 มีสมควรที่จะจัดให้พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะอยู่ในภูมิที่ 6และ 7 ตามลำดับ
เพื่อการอธิบายให้กระจ่าง พุทธศาสนาสมัยแรกถือว่า พระอรหันต์เป็นผู้บรรลุอาสวักขยะแล้ว ขณะที่ตามหลักของพระโพธิสัตต์ใน มหาวัสดุ ถือว่าพระโพธิสัตต์จะไม่สามารถก้าวจากภูมิขั้นที่ 6ไปสู่ขั้นที่ 7 ถ้ายังยึดติดในการทำสมาธิเพื่อการขจัดเสียซึ่งความคิดและความรู้สึกโดยย่อ ถ้ายังพึงพอใจในอรหันตภูมิ ตรงกันข้าม หากเผชิญสังสารวัฏต่อไป โดยเหตุแห่งการมีมหากรุณา และก้าวล่วงอรหันตภูมิไปสู่โพธิสัตต์ภูมิขั้นที่ 7 เช่นกันกับพระปัจเจกพุทธะผู้สอนธรรมะโดยมิได้ใช้คำพูด ดูเหมือนจะอธิบายกันว่าเป้นโพธิสัตต์ในภูมินี้ ดายัล อธิบายจาก โพธิสัตตวภูมิ ว่า “คำพูด การกระทำ และความคิดเป็นอิสระจากนิมิต” อย่างไรก็ตาม พระโพธิสัตต์ในภูมินี้ย่อมสูงกว่าพระปัจเจกพุทธะแน่นอน เพราะในมหาวัสดุ นั้น โพธิสัตต์ในภูมินี้จะต้องมีความสามารถและมีพลังในการสอนอย่างคล่องแคล่ว
โดยย่อ ดูเหมือนตรีกายที่เกิดจากจิต หมายถึงการพัฒนาจากภูมิที่ 6 สู่ภูมิที่ 8 ในขณะที่พระโพธิสัตต์ในภูมิที่ 6 และ7มีมโนมยานี้ร่วมกันกับพระอรหันต์ และพระปัจเจกพุทธะแน่นอน บทบาทของภูมิที่ 6 นี้สอดคล้องกับการแบ่งทศภูมิเป็นสองขั้นๆละ 5 ภูมิ การย้ำในภูมิที่ 8 ซึ่งมหายานสูตราลังการ กล่าวถึงอย่างชัดเจน เมื่ออธิบายถึงนิรมาณกาย ซึ่งเป็นกายที่เข้าสู่การตรัสรู้ สอดคล้องกับการแบ่งทศภูมิเป็น 7 ขั้นแรก และ 3 ขั้นหลัง
2 โพธิสัตต์ภูมิ 3 ขั้นหลัง
ภูมิทั้งสามนั้น มีข้อความที่สำคัญยิ่งในมหาวัสดุ ซึ่งควรคัดลอกมาทั้งหมด เพราะเราได้อ้างไว้ว่า ศรีมาลาฯ เป็นงานของนิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งมี มหาวัสดุ เป็นงานหลัก
“เมื่อได้กล่าวแล้ว พระมหากัสสปถามพระมหากัจจายนะว่า ‘โอ พระชินบุตร เรื่องที่พระชินเจ้าตรัสในชาดกเหล่านี้ ควรจะจัดอยู่ในภูมิใด’ พระมหากัจจายนะตอบว่า ‘โอ พระธุตธรรมธร (ผู้มีธรรมชาติอันบริสุทธิ์แล้ว) เรื่องราวในชาดเริ่มจากภูมิที่ 8’ เริ่มจากภูมิใดที่พระโพธิสัตต์สละทรัพย์สมบัติทั้งปวง และทำการบูชายัญครั้งใหญ่” ‘เริ่มจากภูมิที่ 8 พระโพธิสัตต์จะได้รับการยกย่องเยี่ยงพระสัมมาสัมพุทธะ’ ตรงนี้มีกล่าวไว้ว่า ‘เริ่มจากภูมิที่ 8 พระโพธิสัตต์อุบัติจากหทัยของพระชินเจ้า นับได้ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะเพราะหลังจากนั้นจะไม่มีการหวนคืน”
เราจะเห็นว่า ข้อที่กล่าวถึงการสละทรัพย์สมบัติทั้งปวง เริ่มต้นจากภูมิที่ 8 สัมพันธ์โดยตรงกับฐานะของศรีมาลาฯ
รัตนโคตรวิภาค อ้างถึงธารณีศวรราชสูตร เพื่อแสดงถึงการอุบัติขึ้นของพระไตรรัตน์ในชีวิตของพระศากยมุนี ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งของโพธิสัตต์ 3 ภูมิสุดท้าย “พระองค์ทรงรู้แจ้งในความเสมอภาคของธรรมชาติทั้งหลาย ทรงเคลื่อนธรรมจักรแล้ว และทรงเป็นผู้ฝึกสาวกอันนับประมาณมิได้” พระพุทธองค์ประทับใต้ต้นโพธิ์นั้นเป็นการแสดงถึงพระโพธิสัตต์ในภูมิที่ 8 ธรรมจักรเป็นภูมิที่ 9 และคณะสาวกเป็นภูมิที่ 10 อรรถกถา รัตนโคตรวิภาคของ กยาล ซับ เจ ดังที่โอเมอร์มิลเลอร์ อ่างถึงนั้น อธิบายว่าโพธิสัตต์ภูมิ 3 ขั้นสุดท้าย เป็น “ปัจจัยของพระไตรรัตน์” “พระโพธิสัตว์ในภูมิที่ 8 เรียกว่าเป็นพุทธะ โดยสมมุติ อุปจาริโกพุทธะ ตราบเท่าที่พระองค์มีอำนาจในการควบคุมธาตุทั้งหลาย ในภูมิที่ 8 และ 10 ตามลำดับ เป็นปัจจัยแห่งพระธรรมและพระสงฆ์” โพธิสัตต์ภูมิ 3 ขั้นนี้ จึงเป็นสิ่งที่พระนางศรีมาลาฯเทวีรับสั่งถึงกุลบุตรกุลธิดาที่ได้สละ 3 ประการ เพื่อทำให้บุคคลยอมรับในพระธรรมอันประเสริฐ พระนางทรงอธิบายว่า ในกรณีเช่นนั้น การสละกาย เพื่อกายพุทธะ เข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกับสูตราลังการ เรียกว่า “นิรมาณกาย” ในภูมิที่ 8 แม้ว่าทั้งฉบับแปลของคุณภัทรและโพธิรุจิ จะเห็นพ้องกันว่าตรงนี้ควรจะเป็นธรรมกาย การสละพลังชีวิตทำให้โพธิสัตต์ “อยู่ในกิจกรรมอันประเสริฐแห่งพุทธธรรม” นับว่าเป็นภูมิที่ 9 การสละทรัพย์สมบัติทำให้โพธิสัตต์” ได้รับการยกย่องจากสรรพสัตว์ทั้งปวง” สอดคล้องกับภูมิที่ 10 ซึ่งจะได้รับการห้อมล้อมอยู่ในคณะสงฆ์ รัตนโคตรวิภาค สรุปว่า
“จากพระพุทธเจ้าก็มาถึงพระธรรม จากพระธรรมก็มาถึงพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นจุดเริ่มต้น โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำให้อาณาจักรแห่งความรู้ถึงพร้อม และการทำให้ความรู้ถึงพร้อมคือการตรัสรู้ ถึงพร้อมในธรรมชาติแห่งอำนาจของพุทธะ ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของสรรพสัตว์ทั้งปวง”
โพธิสัตต์ภูมิ 3 ขั้นสุดท้ายนั้น รัตนโคตรวิภาค อธิบายว่าเป็นพื้นฐานของคำอธิบายของพระนางศรีมาลาฯ ที่รับสั่งว่า พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะนั้น “ยังห่างไกลจากอาณาจักรนิพพาน” นั่นคือพวกเขายังไม่เห็นในคุณทั้ง 4 ประการ ซึ่งแยกกันไม่ออกจากอาณาจักรนิพพาน คุณทั้ง 4 ประการนี้ได้อธิบายไว้ในศรีมาลาฯ 4 ย่อหน้าต่างอธิบายนิพพาน กล่าวถึงนิพพานเป็นขั้นตอนซึ่งเป็นอุบายของพระตถาคต รัตนโคตรวิภาค อธิบายพื้นฐานของบุญเหล่านี้ตามลำดับขั้นของโพธิสัตต์ภูมิขั้น 8, 9, 10 และพุทธภูมิ ดังนี้ “ภูมที่ 8 เป็นบุญในทุกๆด้าน ภูมิที่ 9 เป็นบุญอันนับมิได้ ภูมิที่ 10 เป็นบุญที่หยั่งไม่ถึง และพุทธภูมิเป็นบุญอันบริสุทธิ์โดยสมบูรณ์ “ จากเนื้อหาที่ได้กล่าวมาแล้วได้จัดพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะอยู่ในโพธิสัตต์ภูมิขั้นที่ 6 และ 7 โดยมีโพธิสัตต์นำอยู่ในทุกภูมิ จึงมีเหตุผลพอที่จะกล่าวได้ว่า พวกเขายังอยู่ห่างจากพุทธภูมิ แต่โพธิสัตต์ที่มีพลังและอยู่ในขั้นที่ 8 และขั้นสูงขึ้นไปนั้นย่อมอยู่ไม่ห่างไกลจากการรู้แจ้งอันประกอบด้วยธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ
3 ภูมิของโพธิสัตต์ฝ่ายหญิง
ศรีมาลาฯ ยกย่องพระนางเป็นพิเศษ เราจึงให้ความสนใจกับการสังเกตถึงฐานะของพระสูตรนี้เมื่อกล่าวถึงความสามารถของสตรีคัมภีร์ของพุทธศาสนาโดยทั่วไปแล้วมักจำกัดความก้าวหน้าทางวิญญาณใรนขั้นสูงของสตรี ตัวอย่างเช่น กมลสูตร (บทที่ 9 ) กล่าวว่า ผู้หญิงไม่สามารถอยู่ในฐานะทั้ง 5 ได้ คือพระพรหม พระอินทร์ จตุโลกบาลจักรวาทิน โพธิสัตต์ขั้นสูง และกล่าวไวในที่อื่นอีกในทำนองเดียวกัน
ทฤษฎีที่กล่าวถึงข้อจำกัดของฝ่ายหญิงนั้น ควบคู่กันไปกับทัศนะที่เชื่อว่า ถ้าผู้หญิงมีศรัทธาและประกอบบุญกุศลก็จะเปลี่ยนเพศเป็นชายได้ และเมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะพัฒนาไปได้จนถึงขั้นสูงสุด ตัวอย่าง เช่นคัมภีร์พระอภิธรรม กล่าวถึงขั้นตอนของนักพรต 4 ขั้นตอน รวมทั้งธรรมชาติโลกีย์อันสูงสุด อภิธรรมโกษา ของวสุพันธุ อธิบายว่าทั้งหญิงและชายสามารถปฏิบัติได้ในขั้นตอนทั้ง 4 เมื่อผู้หญิงปฏิบัติจนครบในธรรมชาติโลกีย์อันสูงสุดแล้ว เพศหญิงจะหายไปและจะกลายเป็นเพศชายแทน วิมลเกียรตินิทเทสสูตร ดูเหมือนจะขัดแย้งกับทฤษฎีดังกล่าวในเรื่องที่พูดถึงนางเทพธิดา เมื่อพระสารีบุตรเสนอให้มีการแปลงเพศนางได้ นางเทพธิดาสอนพระสารีบุตรถึงผู้ที่ปรากฏเพศเป็นหญิงแต่มิได้เป็นชายน้อยกว่าพระสารีบุตร ซึ่งสมัยนั้นนางใช้อำนาจฤทธิ์สลับเพศให้พระสารีบุตรกลายเป็นนาง และนางกลับเป็นพระสารีบุตร
ศรีมาลาฯ ดูจะมีทีท่าเป็นปฏิภาคมากกว่าวิมลเกียรติฯ โดยปฏิเสธทฤษฎีที่จำกัดผู้หญิง และกลายเป็นพระสูตรที่โดดเด่นในประเด็นของผู้หญิง ทั้งนี้จะสังเกตุได้จากคำที่พระนางทรงเรียกผู้หญิงว่า “กุลธิดา”ควบคู่ไปกลับ “กุลบุตร”ในฐานะโพธิสัตต์ในการพัฒนาจิตวิญญาณทุกระดับศัพท์นี้ใช้กับพระโพธิสัตต์ แม้ในระดับที่ได้สละ “ร่างกาย พลังชีวิต และทรัพย์สมบัติ” แล้ว ซึ่งเราได้กล่าวถึงในตอนต้นว่าหมายถึงโพธิสัตต์ใน 3 ภูมิสุดท้าย เมื่อศรีมาลาฯ กล่าวถึงกุลธิดาได้สละทรัพย์สมบัติ(หลังจากที่ได้สละร่างกายและพลังชีวิตแล้ว) ถึงพร้อมด้วยบารมีอันมั่นคงไม่ขาดสายและหาประมาณมิได้ และทำให้ศัพท์คำนี้มีความหมายเทียบเท่าโพธิสัตต์ในภูมิที่ 10 ในพระสูตรอื่น
ถ้าศรีมาลาฯ ยอมรับว่าผู้หญิงสามารถอยู่ในฐานะนั้นได้ เกิดคำถามขึ้นว่า พระสูตรนี้จะให้พระนางศรีมาลาอยู่ในฐานะใด เจ้าชายโชโตกุทรงให้อรรถาธิบายแก่พระสูตรศรีมาลาฯ และอธิบายว่า พระนางเป็นโพธิสัตต์ในภูมิที่ 7 ทรงได้รับพระพรจากพระตถาคตเจ้าให้สามารถแสดงธรรมได้แม้ในภูมิที่สูงขึ้นไปและสามารถอธิบายหลักธรรมในระดับที่ปุถุชนสามารถเข้าใจได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในพระสูตรเองก็มีข้อบ่งชี้ในตอนที่ 13 พระพุทธเจ้ามีพระพุทธดำรัสว่า “เทวี พระนางทรงเป็นเช่นเดียวกับพระโพธิสัตต์ผู้เข้าถึงคำสอนอันยิ่งใหญ่ สามารถรับฟังหลักธรรมทั้งสอง เทวี พวกที่เหลือคือพระสาวก ยอมรับหลักธรรมทั้งสองเพราะศรัทธาในพระตถาคตเจ้า” “พระโพธิสัตต์เข้าถึงธรรมะอันยิ่งใหญ่” นั้นชัดเจนว่าหมายถึงผู้มีอำนาจแล้วซึ่งหมายถึงโพธิสัตต์ในภูมิที่ 8 และสูงขึ้นไป ข้อความตอนนี้แสดงว่าพระนางมิได้อยู่ในกลุ่มนี้และย่อมอยู่ต่ำกว่าภูมิที่ 8
หลักฐานขั้นต่อมาปรากฏในบทที่ 4 เมื่อพระนางรับสั่งถึงกุลบุตรกุลธิดา 3 ประเภท ดูเหมือนจะทรงจัดพระองค์เองอยู่ในประเภทที่ 3 “เป็นผู้ทีไม่กล้าเข้าถึงความรู้อันละเอียดอ่อนในพระธรรมด้วยตนเองด้วยคิดว่า “ฉันคงไม่รู้ได้ในความหมายอันลึกซึ้งเช่นนี้ น่าจะเข้าถึงได้เฉพาะพระตถาคตเจ้าเท่านั้น” และด้วยความยึดมั่นในพระตถาคตเจ้า พระพุทธเจ้าจึงปรากฏในความคิด”
ท้ายที่สุด ในส่วนท้ายของพระสูตรได้แสดงให้เห็นว่าพระนางทรงอยู่ในฐานะที่สอดคล้องกับ “โพธิสัตต์ผู้ที่เพิ่งเข้าสู่มหายาน”ในพระสูตรเองดูเหมือนจะไม่ได้เจตนาที่จะแสดงว่า พระนางศรีมาลาฯทรงมีฐานะในขั้นสูงเป็นพิเศษ ปัญหาในเรื่องโพธิสัตต์ภูมิของพระนางได้รับประทานพรในการแสดงธรรมเกี่ยวกับโพธิสัตต์มรรคทั้งหมด และกล่าวถึง “เอกยาน” ตามความเข้าใจของพระตถาคตเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงปรากฏในความคิดของพระนาง
คำสอนของศรีมาลาฯ
คำสอนของศรีมาลาฯ
ยานและพระนิพพาน เอกยาน
ทฤษฎีเอกยานมีความสำคัญยิ่งในศรีมาลาฯ จนปรากฏว่าในต้นฉบับเดิมก่อนจะมีการแบ่งเป็นบทๆนั้น เนื้อหาครึ่งหนึ่งของพระสูตรทั้งหมด นั่นคือบทที่ 3 ของเราในขณะนี้ ตอนที่กล่าวถึง “อธิบายความหมายสุดท้าย” อาจจัดว่าเป็นการพัฒนาทฤษฎี “เอกยาน”
ในศรีมาลาฯ ทฤษฎี “เอกยาน” เป็นมหายานซึ่งรวมยานทั้งหลายเข้าไว้ด้วยกัน ศรีมาลาฯ เห็นพ้องกับ กมลสูตร ว่า มหายานนั้นเป็น “พุทธยาน” ซึ่งได้ค้นพบและสอนสัจธรรมทั้งปวงของชาวพุทธข้อที่เห็นพ้องกันกับ กมลสูตร ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ การประยุกต์ “เอกยาน” เข้ากับหลักพระนิพพาน พระสูตรทั้งสองต่างเห็นพ้องกันว่า พระนิพพานอันสมบูรณ์นั้นมีเพียงหนึ่ง คือพระนิพพานของพระตถาคตเจ้า แต่มีพระนิพพานตามขั้นตอนซึ่งพระตถาคตทรงแสดงเป็นอุบายในการพัฒนาจิตของบุคคล ศรีมาลาฯ อธิบายว่ “ตถาคตครรภ์” เป็นพื้นฐานของ “เอกยาน” “ครรภ์” หรือ “พีชะ”นี้ มีศักยภาพที่สรรพสัตว์ต่างมุ่งไปสู่การตรัสรู้หรือพระนิพพานเหมือนกันหมด มิใช่การตรัสรู้ที่แตกต่างกัน เพราะแต่ละคนต่างมี “โคตร” ที่เป็น “ตถาคตครรภ์” เช่นกัน ดังนั้น ทฤษฎี่เอกยานจึงเป็นคู่แข่งของ ปรัชญาปารมิตา ซึ่งถือว่าการตรัสรู้ของพระสาวก พระปัจเจกพุทธะ และพระโพธิสัตต์ แตกต่างกัน
ศรีมาลาฯ บทที่กล่าวถึง “เอกยาน”นั้นเจาะลึกเข้าถึงแกนของเรื่องทีเดียว โดยอธิบายด้วยประโยคสำคัญว่า “ธรรมชาติอันเป็นคุณลักษณะของโลกียะและโลกุตระ” และในบทนั้นได้อธิบายถึงความหมายหลายรูปแบบ ศรีมาลาฯ เปรียบเทียบผู้ที่ยึดถือความแตกต่างระหว่างธรรมชาติของโลกียะ และโลกุตระ (และผู้ที่ไม่อยู่ในอาณาจักรพระนิพพาน) กับผู้ที่เข้าถึงปัญญาและความเป็นอิสระ (และผู้ที่เข้าถึงอาณาจักรนิพพาน) ศรีมาลาฯมใช่คำว่า “ความรู้แห่งโลกุตระ” สำหรับรูปแบบที่ไม่ก้าวหน้าของอริยสัจ 4 และโดยทางอ้อมจัดให้ “ความรู้แห่งโลกียะ” เป็นรูปแบบที่ก้าวหน้าของอริยสัจ 4 ซึ่งทำให้บุคคลสามารถเข้าใจธรรมชาติของที่สูงกว่า ตรงกลาง และต่ำกว่า เมื่อกล่าวถึงสรณะ ศรีมาลาฯ กล่าวถึงสรณะ 4 ประการที่พระพุทธองค์ทรงว่างแนวทางไว้ให้ผู้เริ่มปฏิบัติเพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง และเปรียบเทียบสรณะแห่งโลกุตระว่าเป็นนิโรธ นั่นคือสิ้นสุดแห่งทุกข์
คำว่า “โลกียะ” และ “โลกุตระ” เป็นคำศัพท์เดิมในรูปแบบภาษาบาลี อย่างไรก็ตาม การใช้ศัพท์นี้ในฝ่ายเถรวาท และในระบบโยคาจารของอสังคะ ซึ่งมีพื้นฐานของนิกายมหาสังฆิกะนั้น มีความหมายแตกต่างกันไปจากที่ศรีมาลาฯ ใช้ ตัวอย่างเช่น ในสัมธินิรโมจนะสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรหลักของโยคาจาร บทที่ว่าด้วย “เมตตรัย” มีข้อความว่า “เมตตรัย บุคคลพึงทำความเข้าใจว่าธรรมชาติทั้งปวง โลกียะและโลกุตระไม่ว่าจะเป็นของพระสาวก พระโพธิสัตต์ หรือพระตถาคต ล้วนเป็นผลจากสมถวิปัสสนา” ในคำอธิบายของอสังคะ ผละของสมถะคือ การบรรลุในฌาน 4 ผลจากวิปัสสนาคือการพิจารณาในอริยสัจ 4 ความขัดแย้งปรากฏชัด กล่าวคือ อสังคะถือว่าการพิจารณาอริยสัจ 4 เป็นโลกุตรมรรค ในขณะที่ศรีมาลาฯ กล่าวถึงอริยสัจ 4 ทั้งในโลกียะและโลกุตระ นอกจากนั้น ศรีมาลาฯ ถือว่าพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะยังไม่สามารถขจัดอาสวะละเอียดในสมถะและวิปัสสนา ดังนั้นในกรณีของพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะ ทั้งสองขั้นตอนนี้ยังไม่บริสุทธิ์ทีเดียว และยังไม่จัดเป็นโลกุตระ
ความแตกต่างในท่าทีทั้ง 2 รูปแบบนี้ ขึ้นอยู่กับการที่อสังคะและประเพณีโบราณใช้คำว่า “โลกียะ” และ “โลกุตระ” ในขอบข่ายความหมายต่างๆกันไปในฐานะที่เป็นกรรม ขณะที่ศรีมาลาฯใช้ในความหมายของการรู้ของประธานตามขีดคั่นต่างๆ เมื่อนำคำนี้ไปใช้ในระดับกรรม จึงมีการใช้ภาษาเช่น “ฉันจะไปทางโลกียะหรือโลกุตระ” “ทางโลกียะ”ถูกนำมาใช้ในความหมายถึง “อิสระจากตัณหา” โดยการทำสมาธิผ่านฌาน 4สามารถมีหูทิพย์ตาทิพย์ ฯลฯ “ทางโลกุตระ หมายถึงการเข้าถึงอริยสัจ โดยการพิจารณาธรรมะลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งและสามารถเข้าถึงอาสาวักขยญาณ คือญาณแห่งการทำลายอาสวะ ทางตรงกันข้า ศรีมาลาฯ รวมมรรควิธีทั้งหลายเข้าเป็นหนึ่งคือ “เอกยาน” ไม่มีวิธีใดสุงกว่าหรือต่ำกว่า เมื่อพิจารณาจากแง่มุมของอาณาจักรพระนิพพาน หรือการตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า ติดตามด้วยพุทธภาวะ และจากแง่มุมของพระนิพพานนี้ วิธีทั้งสองที่กล่าวถึงข้างต้นล้วนเป็นโลกุตระ หากพิจารณาจากแง่มุมของสังสารวัฏ ซึ่งติดตามด้วยธรรมชาติที่ยังมีกิเลส วิธีทั้งสองเป็นโลกียะ และเมื่ออธิบายตามแนวทางของคัมภีร์มหาวัสดุ ของมหาสังฆิกะ ทุกอย่างที่พระตถาคตทรงกระทำนั้น ไม่ว่าจะเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่ง ล้วนเป็นโลกุตระ
พระนิพพานและการตรัสรู้
พระนิพพานและการตรัสรู้
มีวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในการทำความเข้าใจพระนิพพาน “นิพพาน”เป็นภาษาบาลี ตรงกับภาษาสันกฤตว่ “นิรวาณ” ในพระอภิธรรมอธิบายนิพพานในลักษณะตรงข้ามกับสังสารวัฏ มักอธิบายว่าเป็นปฏิสังขยานิโรธ (พ้นทุกข์โดยการทำความเข้าใจในธาตุแต่ละชนิด) ซึ่งอภิธรรมโกษา ของวสุพันธุ อธิบายว่าเป็นอสังขตะ (ไม่ประกอบขึ้นด้วยสิ่งใด) เป็นผลจากการใช้ชีวิตเป็นสมณะ เป็นอิสระจากเครื่องเกาะเกี่ยวทางโลกทั้งปวง และเป็นอิสระจากพลังอันละเอียดอ่อนที่เกิดจากสมาธิเองด้วย เรียกว่าเป็นนิพพานที่ไร้ร่องรอย ผู้เข้าถึงพระนิพพานเรียกว่าเป็นอรหันต์
การพัฒนาแนวความคิดมหายานช่วงแรก รูปแบบคำสอนของปรัชญาปารมิตาสูตร ทำให้เกิดการเปรียบเทียบอย่างเห็นได้ชัดระหว่างนิพพานและสังสาร ดังนั้น นาคารชุน (คริสต์ศตวรรษที่2) ได้เขียนไว้ในมัธยมิกะการิกา ใจความว่า
“ที่ใดเป็นขอบเขตแห่งสังสาร
ที่นั่นเป็นขอบเขตแห่งพระนิพพาน
ไม่มีสิ่งใดแม้แต่น้อย
ที่ขวางกั้นระหว่างทั้งสอง”
ความหมายของศรีมาลาฯ ดังที่ รัตนโคตรวิภาค อธิบายไว้ว่าพยายามอธิบายพระนิพพานและสังสารวัฏในลักษณะที่สามารถผสมผสานกันได้ใน “ภาวะที่บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์” ขณะที่ความบริสุทธิ์เป็นฝ่ายพระนิพพาน และความไม่บริสุทธิ์เป็นฝ่ายสังสาร การอธิบาย ถึงขั้นต่างๆ ของร่างกายที่เกิดจากจิต เราสังเกตได้ว่าทฤษฎเรื่องโพธิสัตต์ภูมิในภูมิที่ 6, 7 ,8 นั้น แต่ละภูมิแต่ละบุคคลอยู่อย่างหมิ่นเหม่ระหว่างนิพพานและสังสารวัฏ ตามความหมายที่ว่า เขาสามารถเข้าสู่ความเงียบสงบและสันโดษของพระนิพพาน แต่กลับคงอยู่ในสังสารวัฏ เพื่อปฏิบัติตามปณิธานของโพธิสัตต์ พระโพธิสัตต์กลับหลีกมาตั้งต้นชีวิตทางวิญญาณใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายที่อาณาจักรพระนิพพานซึ่งเป็นสัมมาสัมโพธิญาณ
ศรีมาลาฯ มิได้ปฏิเสธทัศนะดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาว่า พระอรหันต์เข้าถึงพระนิพพานอันเป็นอสังขาร แต่ปฏิเสธว่าการเข้าถึงนี้สมบูรณ์ หรือเป็นการหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงจากสังสารวัฏ เราได้ทราบว่าตอนท้ายของพระสูตร ผู้ที่มี “ความรู้เรื่องธรรมะนั้น” มี “ภาพแห่งการหลับของพระอรหันต์” เป็นการกล่าวที่สัมพันธ์กับข้อมูลตอนแรกว่า พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะและแม้กระทั่งพระโพธิสัตต์ในชาติสุดท้ายยังมีอาสวะที่ยังหลงเหลืออยู่ที่จะต้องขจัดในการพัฒนามรรควิถีมุ่งสุ่การดับทุกข์ พระอรหันต์จึงยังมีการเกิดอีก พระตถาคตเจ้าเท่านั้นที่ทรงเข้าถึงอาณาจักรแห่งพระนิพพานในความหมายสูงสุด
ศรีมาลาฯ เน้นว่าสิ่งที่พระอรหันต์เชื่อว่าเป็นพระนิพพานนั้น แท้จริงเป็นอุบายของพระตถาคตเจ้า รัตนโคตรวิภาค (หน้า 56) กล่าวว่า ข้อความดังกล่าวใน ศรีมาลาฯ หมายถึงนิพพานของพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะ เป็นวิธีการช่วยมิให้ต้องหวนคืนกลับ เป็นอุบายที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงอยู่เหนือธรรมะทั้งปวงทรงใช้ เปรียบได้กับเมืองมายาที่อยู่ท่ามกลางป่า ปรากฏแก่สายตาของผู้ที่เดินทางมาไกลคำอธิบายนี้สอดคล้องกับทฤษฎี “เอกยาน” ของพระเทวี และในเมื่อชาวพุทธผู้ปฏิบัติตามมรรคทั้งปวงล้วนอยู่ในมหายาน และมีความจำเป็นเพียงตั้งปณิธานพระโพธิสัตต์ในการบำเพ็ญต่อไปจากจุดที่พระอรหันต์บรรลุแล้วนั้น ในฐานะของพระโพธิสัตต์ผู้ที่ได้เลื่อนกำหนดระยะเวลา การที่จะเข้าสู่พระนิพพานอันเงียบสงบ ทฤษฎีใหม่ในเรื่องนิพพานนี้ จำเป็นต้องใช้รูปแบบอภิปรัชญา และศรีมาลาฯ อาจจะเป็นพระสูตรเล่มแรกที่กล่าวถึในลักษณะนี้
ศรีมาลาฯ ได้สรุปทัศนะเรื่องนิพพานและสังสาร โดยกล่าวถึงพระนิพพานในลักษณะที่เป็นทั้งสังขารและอสังขาร และกล่าวถึงสังสารในลักษณะเดียวกัน รัตนโคตรวิภาค(น.8) อธิบายว่า “อสังขารหมายถึงตรงกับข้ามกับสังขาร ในที่นี้สังขารหมายถึงสิ่งใดที่มีการเกิด การตั้งอยู่และดับไป” จุดใกล้ที่สุดที่ ศรีมาลาฯ อธิบายข้อความถึงพระนิพพานและสังขาร คือตอนที่กล่าวถึงตถาคตครรภ์อยู่เหนืออสังขาร และเป็นพื้นฐานของธรรมชาติแห่งพุทธะที่เป็นสังขาร และเป็นพื้นฐานแห่งธรรมชาติของสังขารภายนอกอันเป็นที่สั่งสมอาสวะ นี่เป็นการยืนยันว่าสังขารนิพพานนั้นคือธรรมชาติแห่งพุทธะที่เป็นสังขารและสังขารสังสารเป็นสังขารของอาสวะที่สั่งสมนั่นเอง ศรีมาลาฯ ถือว่า นิโรธสัจนั้นเป็นอสังขาร ซึ่งหมายความว่า อสังขารนิพพานก็คือนิโรธสัจนั่นเอง ศรีมาลาฯ ไม่ได้อธิบายถึงอสังขารสังสาร แต่พระสูตรนี้อ้างถึงความสัมพันธ์กับตถาคตครรภ์ซึ่งเป็นผู้รับความทุกข์อยู่ในที
รัตนโคตรวิภาค (น.50) อ้างถึงข้อความจาก ศรีมาลาฯ ถึงลักษณะทั้งสองของนิพพานและสังขาร แต่ดูจะทึกทักเอาว่าผู้อ่านมีความเข้าใจในระดับเบื้องต้นนี้แล้ว เพราะได้อธิบายถึงกายทั้งสามอันเกิดจากจิตทีเดียว เป็นการแสดงถึง “สังขาร” และ “อสังขาร” ในลักษณะที่หมายถึงตัวกลางซึ่งกายที่เกิดจากจิตเป็นทั้งบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์จากสังสาร และความบริสุทธิ์จากนิพพาน ดังนั้น จึงอธิบายถึงกายทั้งสามซึ่งมีสังสารด้วยเหตุที่ถูกบังคับเพราะมีรากที่ไม่เปลี่ยนแปลง และพระนิพพานก็ด้วยเหตุแห่งการที่ไม่ถูกบังคับด้วยกรรมที่เปลี่ยนแปลงและกิเลส
ศรีมาลาฯ หมายความว่า อสังขารนิพพานมากับสังขารนิพพานและอสังขารสังสารมากับสังขารสังสาร มีกรณีพิเศษที่เกี่ยวกับกายที่เกิดจากจิตของพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะ และพระโพธิสัตต์ผู้มีอำนาจ สังขารสังสารของพวกเขาก่อตัวขึ้นด้วยอาสวะที่ตกค้าง อันเกิดจากกิเลสและด้วยกรรมที่เปลี่ยนแปลง อสังขารนิพพานหมายถึงอิสรภาพจากกิเลสที่คงอยู่ 4 ประการ แต่ยังเป็นเพียงส่วนเดียว เป็นภาพที่มีขอบเขตจำกัด เพราะบุคคลเหล่านี้ยังมิได้เข้าถึงธรรมชาติแห่งพุทธะอันมีปริมาณอันหยั่งไม่ได้และรวมเป็นสังขารนิพพาน
เมื่อเราเข้าใจว่า ศรีมาลาฯ อธิบายเรื่องนิพพานแล้ว เราจึงจะสามารถชื่นชมกับลักษณะของพระนิพพานที่เป้นอันหนึ่งอันเดียวกับการตรัสรู้ รัตนโคตรวิภาค อ้างถึงพระสูตรนี้ในการอธิบายเรื่องเพชรในบทที่ 5 ของเนื้อหาทั้งหมดที่มี 7 บท พระเทวีทรงอธิบายการตรัสรู้นั้นไว้ว่า “พระผู้มีพระภาค” สัมมาสัมโพธิญาณอันประมาณมิได้ “นั้นเป็นการอธิบายถึงอาณาจักรแห่งพระนิพพาน” ตรงนี้คำว่าการตรัสรู้ ;หัวข้อที่ห้าของเรื่องเพชร – เป็นอสังขารนิพพานซึ่งประกอบด้วยธรรมชาติแห่งพุทธะ – หัวข้อที่หกเรื่องเพชร รัตนโคตรวิภาค (น56) อธิบายว่า การตรัสรู้นั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระนิพพาน โดยอธิบายว่า “ที่เรียกว่า พุทธภาวะ คือการเผยแสดงการตรัสรู้ในธรรมะทั้งปวงในทุกแง่มุม และที่เรียกว่า นิพพาน คือการขจัดอาสวะทั้งปวงรวมทั้งการยึดติด นั่นคือการเผยแสดงการตรัสรู้ที่ยิ่งใหญ่ทั้งสองไม่สามารถแยกจากกันได้เพราะมีลักษณะเป็นอทวิธรรมในอาณาจักรแห่งการไม่ยึดติด”
ศรีมาลาฯ มิใช่พระสูตรของมหายานเพียงพระสูตรเดียวที่อธิบายว่า พระนิพพานเป็นอย่างเดียวกับการตรัสรู้ อีกพระสูตรหนึ่งที่เกี่ยวพันกับวรรณคดีตถาคตครรภ์ ชื่อญานาโลกาลังการสูตร ถือคติเดียวกัน เมื่อบรรยายว่า “มัญชุศรี การตรัสรู้เป็นบานที่แยกออกจากกันมิได้” อะไรเป็น “ฐาน” และอะไรเป็น “สิ่งที่แยกออกไม่ได้” ข้อความนี้ กล่าวต่อไปถึงธรรมชาติที่มีลักษณะเหมือนกัน 13 คู่ ดังนั้น เมื่อพระนิพพานเป็น “ฐาน” ในความสงบจึง “แยกกันไม่ได้” และเมื่อตรัสรู้จึงไร้กรรมและเมื่อไม่เป็นอสังขาร จึงแตกแยก เมื่อเป็นตถตา จึงไร้นามและเมื่อเป็นธรรมธาตุ จึงไร้ที่อาศัย และเมื่อเป็นภูตกฏิ จึงไม่มีความแตกต่าง
การย้ำในเรื่อง “ฐานอันไม่มีการแบ่งแยก” สอดคล้องกับข้อความใน ศรีมาลาฯ ที่ว่า “ดังนั้น อาณาจักรพระนิพพานจึงเป็นเอกรส เป็นรสเดียว กล่าวคือ รสแห่งปัญญาและความเป็นอิสระนั้นเหมือนกัน”
ตถาคตครรภ์
ตถาคตครรภ์
ทฤษฎีตถาคตครรภ์และพระสูตร
ทฤษฎีตถาคตครรภ์ปรากฏในหลักคำสอนเดิมที่มีนิกายบางนิกายยึดถือ โดยเฉพาะนิกายมหาสังฆิกะที่ถือว่า จิตรู้นั้น มีความบริสุทธิ์มาตั้งแต่ดั้งเดิม และแปดเปื้อนด้วยกิเลศที่จรเข้ามา และเชื่อว่ามีจิตที่เป็นรากฐานเรียกว่า มูลวิญญาณ ขั้นต่อมาของการพัฒนาทฤษฎีนี้พบได้ในพระสูตรมหายาน เช่น อวตังสกะ ซึ่งสอนว่า ทิพย์ญาณของพระพุทธองค์นั้นแผ่คลุมสรรพสัตว์ทั้งหลาย และปรากฏในปัจเจกบุคคลในมูลวิญญาณ เมื่อจิตรู้ภายในอันบริสุทธิ์ นับเป็นธาตุที่สามารถเติบโตเข้าสู่พุทธภาวะ มีหลักคำสอนเรื่อง “ครรภ์แห่งพุทธะ” โดยอาจจะไม่ได้ใช้ศัพท์เหมือนกันทีเดียว
ในวินัยของมหาวัสดุ นิกายที่แยกไปจากมหาสังฆิกะ ได้เขียนไว้เกี่ยวกับพุทธมารดาว่า “โอ รานี วันนี้ พระนางจะทรงให้กำเนิดแก่สุกุมารแห่งอมรครรภ์ ผู้เอาชนะความชราและความเจ็บไข้ เป็ที่ชื่นชมทั้งในสวรรค์และบนพื้นพิภพ ทรงเป็นที่พึ่งแก่เทวดาและมนุษย์”
พระสูตรที่กล่าวถึงทฤษฎี “ตถาคตครรภ์” ในพระพุทธศาสนานั้น เป็นที่รู้จักกันดีในพระสูตรที่รวบรวมโดย อีเอช จอห์นสตัน ภายใต้ชื่อ รัตนโคตรภาคมหายาโนตตรตันตรศาสตร์ และในฉบับแปลภาษาธิเบตได้อ้างถึง่าวนหนึ่งของงานนั้นโดยชื่อมหายาโนตตรตันตรศาสตร์ หรือใช้ชื่อย่อว่าอุตรตันตระ มีพระสูตรเดียวที่กล่าวถึงหลักคำสอนนี้โดยใช้ชื่อตรงกับหลักธรรมคือ ตถาคตครรภ์สูตร มีงานอื่นที่กล่าวถึงคำสอนของทฤษฎีนี้คือ อารยศรีมาลาสูตรมหาปรินิรวาณสูตร (ในบทตถาคตธาตุ) อารยอุคุลิมาลียสูตร อนูนัตวาปูรณัตวนิเทศปริวรรตและมหาเภรีหารกสูตร นอกจากนั้น ยังมีงานบางเรื่องที่เนื้อหาใกล้เคียงกัน แม้จะมได้ใช้ศัพท์ว่า “ตถาคตครรภ์” เหมือนกันก็ตามก็มีปรากฏอยู่ใน รัตนโคตรวิภาค เช่น ธารณีศปริราชปฤจศ (คือตถาคตมหากรุณานิเทศสูตร ญาณโลกาลังกาสูตร และ สาครมติปริปฤจฉา
ตถาคตครรภ์สูตร เองนั้ ไม่มีอรรถกถาที่เป็นงานของอินเดียที่เป็นที่รู้จักกัน เป็นฉบับแปลของจีนหรือธิเบต แม้ว่าปรมารถจะนับว่าอรรถกถานั้นเป็นงานของวสุพันธุก็ตาม ดูเหมือนจะไม่มีพระสูตรใดในกลุ่มนี้ที่จะนับได้ว่า เสนอภาพรวมของหลักธรรมเรื่องตถาคตครรภ์ ดังนั้นผู้รจนา รัตนโคตรวิภาค จึงเห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องรจนาคัมภีร์ที่อธิบายเรื่องนี้โดยละเอียด มากกว่าที่จะเขียนอรรถกถาอธิบายพระสูตรใดพระสูตรหนึ่ง
มิใช่เฉพาะพระสูตรเหล่านั้นเท่านั้นที่ใช้คำว่า “ตถาคตครรภ์”ทั้งลังกาวตารสูตร และคณวยุหสูตร ก็ใช้คำนี้ แต่ใช้ในความหมายเดียวกับ “อาลยวิญญาณ” ซึ่งใน รัตนโคตรวิภาค หลีกเลี่ยงไม่ใช้ เข้าใจว่า เป็นแพราะเหตุนี้ พระสูตรทั้งสองจึงมิได้นับรวมอยู่ในตถาคตครรภ์สูตร นอกจากนั้น ทั้งจันทโรตตราทาริกาสูตร และสมาธิราชสูตร ก็กล่าวถึงตถาคตครรภ์แต่ไม่ได้เน้นมากพอจึงมิได้นับรวมอยู่ในพระสูตรกลุ่มนี้
นอกจากนั้น หลักคำสอนเรื่องตถาคตครรภ์ยังมีความสัมพันธ์ กับทฤษฎีเรื่องบารมี โดยเฉพาะที่กล่าวไว้ในมหาวัสดุ และใน ทศภูมิกสูตร นั้นหมายความว่า ศรีมาลาฯ และมหาเภรีหารกสูตร ได้กล่าวถึงภูมิที่ 7, 8 และ9 ชัดเจน
คำศัพท์ที่ใช้แทนตถาคตครรภ์
อภยากรคุปต์ ได้จัดหาศัพทฺเหมือนกับคำว่า ตถาคตครรภ์ ได้แก่ ปรกฤต ติสธโคตร นิสสัย และ ปฏิสรณะ เหตุ อาธาระ ปัจจุบันสถาน ปูรวังคมะ ปรติษฐา พีชะ ธาตุ สวภาวะ ศรีมาลาฯ มีการใช้คำว่า “นิสสัย อาธาร ปรติษฐา”
คำศัพท์อื่นในรายชื่อนี้อาจหาดูได้ใน รัตนโคตรวิภาค คัมภีร์นี้อิงอาศัยหัวข้อ 7 ประการ อันได้แก่ 1 พุทธะ 2 ธรรมะ 3 สังฆะ 4 ธาตุ 5 โพธิ 6 คุณ 7 กรรม สามประการแรกคือพระไตรรัตน์ซึ่งในที่นี้นับเป็นผล ประการที่ 4 คือธาตุ เป็นตถาคตครรภ์ และเป็นส่วนที่จะตรัสรู้ นับเป็นเหตุ หรือเป็นพีชะของโลกุตรธรรม อันเป็นรากฐานของพระไตรรัตน์ อีก 3 ประการ โพธิ , คุณ อันเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ และ กรรมของพุทธะ นับได้จำนวน 32 หัวข้อ สามหัวข้อสุดท้ายเป็นปัจจัยเพื่อพระไตรรัตน์ในการทำให้พีชะบริสุทธิ์เมื่อกล่าวถึงหัวข้อทั้ง 7 นี้ อภยากรคุปต์ได้อธิบายว่าเหตุนั้นถืออุปทานการณะและสภาพเป็นสหการีปัจจัย ศัพท์ภาษาสันสกฤตที่ใช้สำหรับ “เหตุ” ใช้ในความหมายของวัตถุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลสำเร็จ(เช่นดินกับหม้อ) ดังนั้น สภาพที่สัมพันธ์กันอาจนับว่าเป็นตัวกลางที่ทำให้วัตถุนั้นบริสุทธิ์
คำว่า “ตถตา” ได้นำมาใช้กับ “ตถาคตครรภ์” เช่นกัน ดังใน รัตนโคตรวิภาค อธิบายว่า ตถตาเมื่อยังแปดเปื้อนอยู่เป็นตถาคตครรภ์ แต่เมื่อบริสุทธิ์แล้วเป็นโพธิ(การรู้แจ้ง) ศรีมาลาฯ อธิบายว่า “สัมมาสัมโพธิญาณอันประมาณมิได้ เป็นการอธิบายอาณาจักรแห่งพระนิพพานอาณาจักรแห่งพระนิพพาน เป็นการอธิบายธรรมกายของพระตถาคต” ในศรีมาลาฯ มีสภาพหลัก 2 ประการสำหรับตถาคตครรภ์ คือยังแปดเปื้อนด้วยกิเลส เมื่อปราศจากกิเลสแล้ว ตถาคตครรภ์ก็ไม่มี “ครรภ์” อีกต่อไป แต่เป็นตถาคต คือเป็นความจริง และมิใช่เพียงศักยภาวะ
มีคำศัพท์หลัก 4 คำที่ใช้กับตถาคตครรภ์ใน ศรีมาลาฯ และพระสูตรที่เกี่ยวเนื่องคือ นิตย์ ชรุวะ(มั่นคง) ศิวะ(สงบ) และศาสวัต(นิรันดร์) คำศัพท์เหล่านี้ใช้เรียกตถาคตครรภ์ในสภาพที่เป็นอิสระจากกิเลส ดังตัวอย่างมหาเภรีหารกสูตร กล่าวว่า “กัสสป ในสมัยเมื่อบุคคลเป็นพระตถาคต พระพุทธเจ้า เขาจะอยู่ในพระนิพพานและอาจจะเรียกได้ว่าเป็น นิตย์ มั่นคง มีความสงบ เป็นนิรันดร และอาตมัน” พระสูตรเล่มเดียวกันกล่าวว่า “สาวกเหล่านี้ พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตต์ที่เพิ่งเข้าสู่มหายาน ยังมิอาจเข้าใจในปรินิพพานของพระพุทธเจ้าว่าเป็น นิตย์ มั่งคง สงบ และนิรันดรได้”
ในอนูนัตวาปูรณัตวนิเทศปริวรรต ได้ให้เหตุผลในการใช้ศัพท์ 4 คำ ดังนี้
“ธรรมกายนี้ สารีบุตร เป็นนิตย์ ด้วเหตุที่เป็นธรรมชาติแท้ของธรรมะอันหาขอบเขตมิได้ ธรรมกายนี้ สารีบุตร มั่นคงด้วยเหตุที่เป็นสรณะอันมั่นคงที่สุด ธรรมกายนี้ สารีบุตร สงบด้วยเหตุที่มีธรรมชาติแท้เป็นอทวิธรรม ธรรมกายนี้ สารีบุตรเป็นนิรันดร์ด้วยเหตุที่เป็นธรรมชาติแท้ของอสังขารธรรม”
พระนางศรีมาลาฯทรงย้ำในเรื่องธรรมกายเช่นกันว่าเป็นตถาคตครรภ์ที่หมดจด มีลักษณะ 4 ประการ คือ เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา และบริสุทธิ์ นับเป็นทัศนะ 4 แบบ ใน รัตนโคตรวิภาค ผลทั้ง 4 นี้เกิดจากการปฏิบัติ 4 อย่างของพระโพธิสัตต์ คือเที่ยงโดยการทำสมาธิในมหากรุณา เป็นสุขโดยการทำสมาธิคคณคัญจาฯลฯ เป็นอัตตาโดยการทำสมาธิในปรัชญาปารมิตา และบริสุทธิ์โดยทำสมาธิในอธิมุกติ ในหลักคำสอนของมหายาน
ความเป็นสากลของตถาคตครรภ์
ลักษณะเด่นของตถาคตครรภ์สุตร คือทฤษฎีที่ว่าด้วยสากลลักษณะแห่งศักยภาวะของพุทธะ ในรัตนโคตรวิภาค(หน้า 25 )กล่าวว่า “เมื่อกล่าวถึงตถตาที่ยังข้องอยู่นั้นอธิบายว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายมีตถาคตครรภ์” รัตนโคตรวิภาค อธิบายว่า สรรพสัตว์มีตถาคตครรภ์ใน3 ลักษณะ คือ 1 ธรรมกายของตถาคตมีอยู่ในสรรพสัตว์ทั้งปวง 2 ตถตาของพระตถาคตนั้นมีอยู่ในทุกกาลในสรรพสัตว์เหล่านั้น 3 โคตรแห่งพระตถาคตปรากฏในสรรพสัตว์เหล่านั้น
ความหมายแรกปรากฏใน ตถาคตโตปัตติสัมภวนิเทศ บทที่กล่าวถึง อวตังสกสูตร ดังที่ รัตนโคตรวิภาค(หน้า22) อ้างถึงว่า “ไม่มีสรรพสัตว์ในบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ญาณของตถาคตแผ่ไปโดยตลอด” ความหมายที่สองปรากฏในมหายานสูตราลังการ (1X 37) “แม้จะไม่มีความแตกต่างในสรรพสัตว์ตถตาบริสุทธิ์ เป็นภาวะแห่งพระตถาคต ดังนั้น ครรภ์จึงปรากฏแก่ผู้มีกายทั้งหลาย” ความหมายที่สามปรากฏใน ตถาคตครรภ์สูตร ที่อ้างถึงใน รัตนโคตรวิภาคว่า “กุลบุตร นี่เป็นธรรมชาติแท้ของธรรมะ ไม่ว่าพระตถาคตจะบังเกิดขึ้นหรือไม่ สรรพสัตว์เหล่านี้ล้วนมีตถาคตครรภ์อยู่เสมอ”
ศรีมาลาฯ เน้นถึงความยากลำบากในการทำความเข้าใจว่าครรภ์มีอยู่ “ตถาคตครรภ์ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นหรือเข้าใจได้โดยพระสาวกหรือพระปัจเจกพุทธะ แต่จะเห็นได้รู้ได้โดยตรง โดยพระพุทธเจ้า” รัตนโคตรวิภาค อธิบายถึงสาเหตุว่า การที่ครรภ์อยู่ในสภาพที่ยังข้องอยู่ในกิเลส และอ้างถึงข้อความจากพระสูตรอยู่ 2 ตอนที่ยังค้นไม่พบ คือ
“ดุจดังทองคำที่มองไม่เห็นเพราะถูกบดบังด้วยก้อนกรวดและทราย แต่เมื่อชำระล้างแล้วก็เห็นได้ชัดเจน พระตถาคตก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ‘มีความบริสุทธิ์ภายใน ถึงพร้อมอยู่ในความมั่นคง ภายนอกนั้นห่อหุ้มด้วยความไร้จุดกำเนิด แม้ไม่มีความจริงก็มีขอบเขต มองไม่เห็นได้ดุจเดียวกับทองคำที่ถูกบดบังด้วยก้อนกรวดและทราย”
อารยองคุลิมาลียสูตร อธิบายว่า สามารถมองเห็นได้ โดยเริ่มจากพระโพธิสัตต์ในภูมิที่ 10 “ดังนั้น พระโพธิสัตต์ที่บรรลุถึงภูมิที่ 10 แล้วเท่านั้น จึงจะเห็นได้เองว่า ธาตุแห่งอัตตานั้นมีอยู่ในตน” แต่ในศรีมาลาฯ กล่าวว่า เฉพาะพระพุทธองค์เท่านั้นจึงจะทรงหยั่งเห็นได้
เป็นธรรมดาที่หลักคำสอนเรื่องธาตุแห่งพุทธะในสรรพสัตว์ทั้งหลาย ในบางกลุ่มย่อมนำไปสู่ทัศนะที่ถือว่า สรรพสัตว์ทั้งปวงเป็นพุทธะอยู่แล้ว ดังนั้น เราจึงพบข้อความใน อารยองคุลิมาลียสูตร ที่กล่าวว่า
“พระมัญชุศรี กุมารภูต รับสั่งข้อความนี้แก่องคุลิมาล กุลบุตร ว่า ‘ตถาคตครรภ์อธิบายว่าอย่างไร ถ้มีครรภ์ของพระตถาคตในสรรพสัตว์ทั้งปวง สรรพสัตว์เหล่านั้นมิเนพระพุทธเจ้าทั้งหมดหรือ โดยไม่ต้องพิจารณาว่า สรรพสัตว์เหล่านั้นอาจจะถูกฆ่า กล่าวคำเท็จ ดื่มน้ำเมา ล่วงในกาม และประกอบกรรมชั่วทั้งหลาย’ พระพุทธองค์จึงรับสั่งว่า ‘แน่นอน สรรพสัตว์ทั้งปวงมีครรภ์แห่งพระตถาคต แต่ยังห้อมล้อมด้วยกิเลสทั้งหลายดุจเดียวกับตะเกียงที่ถูกครอบด้วยกระจก”
นิกายเกลุกปะของธิเบต ทำความเข้าใจกับข้อความตอนนี้ว่า เป็นความแตกต่างระหว่างพระพุทธเจ้าและพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเรียกให้แตกต่างกันว่า พุทธะและวิพุทธะ ถ้าตถาคตครรภ์มีความหมายอย่างเดียวกับ “ธรรมกาย” และอยู่ในครรลองแห่งวิญญาณของสรรพสัตว์ทั้งปวง นั่นย่อมเป็นวิพุทธะ ตรงกันข้าม หากไม่มีตถาคตครรภ์ในครรลองแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มีเหตุที่จะต้องทำให้ถึงพร้อม(วิพุทธะ)เมื่อถึงโพธิ หรือถึงซึ่งความแจ้ง(พุทธะ)แล้ว
ดังที่ได้อธิบายมาแล้วในเบื้องต้นว่า ตถาคตครรภ์เป็นวัตถุปัจจัยซึ่งบางครั้งก็เป็นผลิผลสำเร็จรูป เช่นที่ดินเหนียวเป็นดินเหนียวและบางครั้งก็เป็นหม้อ และในขณะที่ครรภ์เป็นเหตุของพระไตรรัตน์ แต่ตนเองมิได้ถึงจุดสมบูรณ์ เพราะสภาพสัมพันธ์ทั้ง 3 ไม่จำเป็นจะต้องปรากฏเสมอไป คือ โพธิ บารมี และกรรม
ความเป็นศูนย์แห่งตถาคตครรภ์
ตอนนี้เป็นลักษณะที่ยากที่สุดของหลักธรรมเรื่องตถาคตครรภ์และบทสรุปของเราในขณะนี้มีอิทธิพลต่อการแปลข้อความที่ขัดแย้งกันในศรีมาลาฯ
ดังที่ช่วงแรกได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า เมื่อตถาคตครรภ์เป็นอิสระจากกิเลสจร เรียกว่า ธรรมกาย เมื่ออภยากรคุปต์กล่าวถึงคำอธิบายของวสุพันธุว่า ธรรมกายนั้นเป็น 2 แบบคือ สังขตะ และ อสังขต นอกจากนั้น สองขปะยังได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง “อสังขตะธรรมกาย” และ “ธรรมกายแห่งความรู้” ตามศัพท์ที่ใช้ในหลักคำสอนของตถาคตครรภ์นั้น อสังขตะธรรมกายเป็นตถตาบริสุทธิ์ และสังขตะธรรมกายรวมทั้งธรรมกายแห่งความรู้ เป็นธรรมชาติพุทธะ ซึ่งมีทศบารมีปณิธาน 4 ฯลฯ ศรีมาลาฯ ใช้คำว่าธรรมกายสำหรับอสังขตะ พระเทวีรับสั่งว่าธรรมกายนั้นห้อมล้อมด้วยสังขตะพุทธภาวะ มีจำนวนมากมายกว่าเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา แต่ไม่เรียกว่า “สังขตธรรมกาย” หรือ “ธรรมกายแห่งความรู้” เราได้เห็นแล้วในตอนต้นว่า พระนางทรงใช้คำว่า “สังขตนิพพาน”
ทั้งตถาคตครรภ์ และสภาพปรมัตถ์ของธรรมกาย มีลักษณะเป็นการรู้ในลักษณะของการประสบ ลักษณะเช่นนี้ ศรีมาลาฯ สอนว่าตถาคตครรภ์ประสบกับความทุกข์ และเป็นผู้เดียวที่ “รับความทุกข์ มีความคิดถึง มีความกระตือรือร้น และมีความปรารถนาพระนิพพาน” มหาเภรีหารกาสูตร ถือว่า “กิเลสทำให้พลังในการสัมผัสนี้ ผิดแปลกไปเหมือนกันเป็นม่านในลูกตาที่ทำให้เห็นภาพเป็นสีฟ้าหรือสีเหลือง กิเลสก็เป็นเช่นนั้น ตถาคตครรภ์ เปรียบได้ดุจนัยน์ตา”
อนูนัตวาปูรณัตวนิเทส แนะนำปัจจัยแห่งความรู้ว่า
“สารีบุตร สิ่งที่พระตถาคตทรงสอนว่าเป็นธรรมกายนั้น ถือเป็นอทวิธรรม มีปัญญาบารมีที่มิได้แยกจากตถาคตภาวะมีจำนวนมากมายดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา”
ประเด็นของข้อความนี้คือ ธรรมกายนั้นไม่เพียงแต่ไม่แยกจากธรรมชาติของตถาคต แต่ยังรู้ด้วยว่า มันมิได้แยกจากกัน ลักษณะที่ไม่แยกออกจากกันพร้อมทั้งความรู้นี้ ปรากฏในข้อความที่เป็นที่ถกเถียงกันใน ศรีมาลาฯ ปัญหาการแปลโดยเฉพาะ 2 ประโยคที่ปรากฏใน ศรีมาลาฯ ตอนที่ 8-9 “ธรรมกายและความหมายของสุญญตา”ปรากฏว่าอ้างมาจากรัตนโคตรวิภาค ซึ่งขัดกันกับฉบับ ภาษาธิเบตของ ศรีมาลาสูตร
ศรีมาลาฯ ฉบับรัตนกูฎ ทั้งฉบับธิเบต และฉบับจีนของโพธิรุจิมีข้อความเหล่านี้ในรูปแบบที่แสดงว่า ฉบับเดิมในภาษาสันสกฤตใช้คำว่า อมุกตไญห์ และมุกตไญห์ ซึ่งหมายถึง รู้ว่าเป็นอิสระ และรู้ว่าไม่เป็นอิสระ
การแก้ความยุ่งยากและปัญหานี้ สังเกตได้จากคำภาษาสันสกฤตว่า มุกตะนั้น ฉบับของคุณภัทร และโพธิรุจิ แปลต่างกัน อุยได้ชี้ว่า ศรีมาลาฯ ฉบับภาษาจีนของคุณภัทรนั้นแปลว่า มุกตะว่า “หลุดออก” ในขณะที่ฉบับของโพธิรุจิแปลคำว่า มุกตะ ว่า “เป็นอิสระ” เช่นเดียวกับฉบับธิเบต อุยจึงเสนอแนะว่าฉบับคุณภัทรเห็นพ้องกับ รัตนโคตรวิภาค ในการใช้คำในประโยค เราจึงแปลประโยคทั้งสองว่า
“ตถาคตครรภ์เป็นสูญจากอาลยกิเสลทั้งหลาย ซ่อนเร้นและรู้ว่าหลุดไป ตถาคตครรภ์มิได้เป็นสูญจากธรรมชาติแห่งพุทธะ ซึ่งเปิดเผยหยั่งไม่ได้ มีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา และรู้ว่ามิได้หลุดไป”
เราจึงแปลประโยคใน รัตนกูฏ ดังนี้
“ตถาคตครรภ์เป็นสูญจากอาลยกิเลสทั้งหลาย ซึ่งซ่อนเร้นและรู้ว่าไม่เป็นอิสระ
“ตถาคตครรภ์มิได้เป็นสูญจากธรรมชาติแห่งพุทธะซึ่งเปิดเผยหยั่งไม่ได้มีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา และรู้ว่าเป็นอิสระ”
ที่จริงแล้ว การแปลทั้ง 2 ฉบับ ยังเป็นที่กังขาในวลีที่ว่า
“รู้ว่าหลุดไป” และ “รู้ว่าไม่เป็นอิสระ”
เราอ้างถึง รัตนโคตรวิภาค (II 23) ซึ่งกล่าวถึงความรู้ของพระตถาคตเป็น 2 ระดับ ดังนี้
“พระญาณของพระองค์ไมม่มีการแปรเปลี่ยนด้วยเหตุที่หมดสิ้นจากกิเลสและเครื่องหมักดอง ทั้งไม่ยึดติดและทั้งไม่ละวาง”
ดังนี้ ในรูปแบบการแปล รัตนโคตรวิภาค ข้างต้น ที่แปล มุกตะว่า “หลุดออก” นั้น มีความหมายว่า พระญาณหรือความรู้ของพระตถาคตเจ้านั้น ครอบคลุมอาลยกิเลสทั้งปวง โดยรู้ว่ากิเลส เหล่านั้นหลุดออกแล้วจากตถาคตครรภ์ และครอบคลุมธรรมชาติแห่งพุทธะด้วยความรู้ที่ว่ามิได้หลุดออกจากตถาคตครรภ์ ในการแปล รัตนกูฏ ตามแบบข้างต้นนั้นอีกแง่มุมหนึ่งแปลมุกตะว่า “เป็นจริง” นั้น มีความหมายว่า พระญาณแห่งพระตถาคต ครอบคลุมอาลยกิเลส ด้วยความรู้ว่า มิได้อยู่ในภาวะแห่งความหลุดพ้น และครอบคลุมธรรมชาติแห่งพุทธะด้วยความรู้ว่า อยู่ในสภาวะแห่งความหลุดพ้น โดยนัยนี้ แม้ว่า รัตนโคตรวิภาค และ รัตนกูฏ จะใช้ศัพท์ที่ขัดแย้งกัน ก็สามารถจะทำความเข้าใจได้ว่ามีความหมายสอดคล้องกัน ความแตกต่างที่แท้จริงอยู่ที่การแปลคำว่า “มุกตะ” นั่นเอง
แต่อาจเกิดคำถามว่า รูปประโยคแบบใดเก่ากว่ากัน ของรัตนกูฏ หรือ รัตนโคตรวิภาค คำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบได้ยาก แต่พอจะมองเห็นวิธีตอบได้ 2 แบบ ถ้าจะพิจารณาจากบริบทของเนื้อหา เราจะเห็นว่ารัตนโคตรวิภาค มิได้อ้างถึงประโยคทั้งสอง ในการอธิบายมุกตะและอมุกตะ นั่นคือ ได้อ้างถึงประโยคหนึ่งเพื่อแสดงว่า “ความหมายแห่งธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นเปิดเผย” และอ้างถึงทั้งสองประโยคในการอธิบายถึงกิเลสและสุญญตา อย่างไรก็ตาม ศรีมาลาฯ เองได้กล่าวถึงสุญญตาญาณของพระตถาคต 2 แบบ พระนางทรงอธิบายว่าญาณหรือความรู้ดังกล่าวมิใช่เป็นสมบัติของตถาคตครรภ์ แต่เป็นของพระตถาคตผู้ทรงหยั่งรู้ในตถาคตครรภ์เท่านั้น ประโยคทั้งสองอธิบายญาณทั้ง 2แบบนี้ วลีที่ถกเถียงกันนั้นเป็นเพียงการอธิบายคำที่หมายถึง “ความรู้” หรือ “การรู้” ดังนั้นในบริบทของ ศรีมาลาฯ ซึ่งค่อนข้างคลุมเครือจริงๆ แล้วมิได้กล่าวถึงวลีที่ถกเถียงกันและแสดงว่าความข้อนี้มีมาก่อน รัตนกูฏ เมื่อพิจารณาถึงหลักคำสอน ดูเหมือนว่า การที่ รัตนกูฏ ตีความ “มุกตะ” ว่า “เป็นอิสระ” มุ่งเน้นคุณค่าทางศาสนา ในขณะที่ฉบับที่แปล “มุกตะ” ว่า “หลุดออก” นั้น ขัดแย้งกับข้อความที่รู้จักกันดีที่ปรากฏใน รัตนโคตรวิภาค (หน้า 76)
“ดังนั้นจึงไม่มีอะไรที่จะต้องขจัดออก
และไม่มีอะไรเพิ่มเติม
ความจริงแท้ย่อมเห็นเป็นความจริงแท้
และผู้ที่เข้าถึงความจริงแท้คือผู้เป็นอิสระ”
ดังนั้น เราจึงใช้การอ่านตามแบบของ รัตนกูฏ ในฉบับแปล ศรีมาลาฯ ของเรา
ตถาคตครรภ์และอาลยวิญญาณ
พระสูตร 2 เล่มที่มีอิทธิพลยิ่งในพุทธศาสนาฝ่ายจีนคือ ลังกาวตารสูตร และ วิสุทธิมรรค ซึ่งถือว่าตถาคตครรภ์เป็นอันเดียวกับอาลยวิญญาณ ใน ลังกาวตารสูตร (หน้า 222-223) มีข้อความตอนหนึ่งที่อ้างถึงบารมีของพระนางศรีมาลา
“มหามติ หากไม่มีตถาคตครรภ์ที่กล่าวถึงว่าเป็นอาลยวิญญาณ ดังนั้น เมื่อไม่มีตถาคตครรภ์ที่กล่าวถึงว่าเป็นอาลยวิญญาณ ไม่มีวิวัฒนาการก็จะไม่มีความเสื่อมเกิดขึ้น แต่ทั้งวิวัฒนาการและความเสื่อมเป็นทั้งของปุถุชนและอริยะ ดังนั้น ในชาตินี้ และชาติหน้า เมื่ออยู่ในสภาพที่สุขสบาย เพราะมีวิญญาณรู้ภายใน ผู้บำเพ็ญโยคิย่อมไม่ละวางภาระของตนและเป็นผู้สั่นคลอนได้ยาก มหามติในอาณาบริเวณแห่งตถาคตครรภ์นั้น อาลยวิญญาณวิญญาณมีความบริสุทธิ์ภายใน แต่แปดเปื้อนด้วยอาสวะกิเลสที่จรเข้ามา ปรากฏในทัศนะที่หลงผิดของพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะ และเดียรถีร์ แต่มิเป็นเช่นนั้นในพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย พระองค์ย่อมมีทัศนะที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาณาบริเวณนั้น ดุจเดียวกับที่เห็นผลไม้บนฝ่ามือ ดังนี้ มหามติ พระตถาคตได้แสดงให้ปรากฏในกรณีของพระนางศรีมาลา และตถาคตได้ให้พลังแก่พระโพธิสัตต์ทั้งหลายให้มีปัญญาเฉลี่ยวฉลาด และมีความสามารถแยกแยะที่บริสุทธิ์ หยั่งรู้ว่า มีตถาคตครรภ์ที่เรียกว่าเป็นอาลยวิญญาณ รวมทั้งวิญญาณทั้ง7 ประการ เพื่อที่จะแสดงให้ปรากฏในความไม่มีตัวตนของธรรมะทั้งหลาย แก่บรรดาสาวกที่ยังยึดติดอยู่ในวิวัฒนาการของมัน อาณาจักรแห่งพระตถาคตที่แสดงให้ปรากฏ เมื่อตถาคตให้พลังแก่พระนางศรีมาลานั้น มิใช่อาณาจักรที่เปิดให้เห็นในหมู่พระอรหันต์พระปัจเจกพุทธเจ้า เดียรถีย์และนักตรรกศาสตร์ทั้งหลาย”
แม้คำศัพท์ทั้งสองคำนี้จะมีความหมายเดียวกัน แต่ในอินเดียการใช้คำศัพท์นี้ ปรากฏในนิกาย 2 นิกายที่แข่งขันกัน ศรีมาลาฯ อธิบายว่า ตถาคตครรภ์ที่เที่ยงแท้นั้น เป็นทั้งปัจจัยในแก่สังสารวัฏ และเป็นทั้งพลังไปสู่พระนิพพาน อสังคะและสาวกในนิกายโยคาจารสอนว่าอาลยวิญญาณเป็นปัจจัยต่อสังสารวัฏ และหมดหน้าที่ลงเมื่อบรรลุพระนิพพานอันปราศจากสิ่งตกค้าง อสังคะกล่าวว่า ผู้ที่ไม่มีอาลยวิญญาณ ได้แก่พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะ พระโพธิสัตต์ผู้ไม่หวนคืน และพระตถาคต สำหรับ ศรีมาลาฯ อธิบายว่าบุคคลเหล่านี้ ล้วนมีตถาคตครรภ์ เพียงมีความแตกต่างที่พระตถาคตเท่านั้น ที่ทั้งทรงหยั่งเห็นและเข้าพระทัย สำหรับ ลังกาวตารสูตร เป็นที่ชัดเจนว่าใช้คำทั้งสองในความหมายเดียวกัน พระสูตรนี้ใช้ศัพท์แตกต่างไปจากความหมายของตถาคตครรภ์ที่ปรากฏใน ศรีมาลาฯ ทั้งแตกต่างไปจากอาลยวิญญาณที่นิกายโยคาจารใช้ในสมัยต่อมา จอห์นสตันได้กล่าวไวในบทนำ รัตนโคตรวิภาค กล่าวถึงข้อความจาก ลังกาวตารสูตรว่า “อิงอยู่บนพื้นฐานจากอารยศรีมาลาสูตร” และทำให้เราต้องสรุปว่า “ความแตกต่างระหว่างคำสอนทั้งสองมีอยู่ชัดเจน พอๆกับที่มีความสัมพันธ์กันในแง่ของกาสืบทอด”
ความสัมพันธ์โดยตรงในคำสอนทั้งสองนั้น ปรากฏจากหลักฐานที่พระสูตรทั้งสองอ้างถึงข้อความที่มาจาก มหายานอภิธรรมสูตร ซึ่งสูญหายไปแล้ว
“ธาตุจากกาลเวลาอันหาจุดเริ่มต้นมิได้เป็นรากฐานแห่งธรรมะทั้งปวง ด้วยความมีอยู่นี้ จึงมีทั้งสังสารวัฏ และการบรรลุพระนิพพาน”
รัตนโคตรวิภาค อธิบายคำว่า ธาตุ คือ ตถาคตครรภ์ ในขณะที่นิกายโยคาจารของอสังคะ อธิบายว่าเป็นอาลยวิญญาณ
ประโยคที่มีความท้าทายอย่างยิ่งจาก ลังกาวตารสูตร กล่าวว่า “ตถาคตครรภ์กล่าวว่าเป็นอาลยวิญญาณ พร้อมทั้งวิญญาณทั้ง 7 “ ข้อความดังกล่าวมุ่งแก้ปัญหาข้อความที่คลุมเครือใน ศรีมาลาฯ เมื่อกล่าวถึงวิญญาณทั้ง 6 และวิญญาณที่ยิ่งไปกว่า โดยในพระสูตรมิได้กล่าวถึงชื่อ ทั้งหมดรวมกันเป็นธรรมชาติชั่วขณะ 7 แบบ คำศัพท์ของโยคาจารที่ปรากฏใน ลังกาวตารสูตร เรียกว่า ปรวฤตติ วิญญาณ นั่นคือ อายตนะ 6 อายตนะ 7 คือ กิเลสมนัส คือจิตที่ยังมีกิเลสอยู่ ก่อนหน้านี้ เราได้กล่าวถึงปฏิจจสมุทปบาท ว่าเป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญยิ่งในการทำความเข้าใจกับคำสอนใน ศรีมาลาฯ ตอนนี้เราจะได้แนะนำต่อไปว่าคำศัพท์ที่พระนางใช้ในเรื่องกิเลสมนัส สอดคล้องกับคำศัพท์ที่ใช้ในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีจิตที่ไม่แปดเปื้อน เป็นเหตุประการที่ 3อรรถกถาทั้งฝ่ายจีนและญี่ปุ่นที่ใช้ประกอบในการค้นคว้านี้ มิได้หาทางออกให้กับข้อความที่เป็นข้อสงสัยดังกล่าว แต่เราแน่ใจว่า พระนางจัดให้วิญญาณที่ 7 นั้น อยู่ในปฏิจจสมุปบาทด้วยเช่นกัน โดยใช้กับปุถุชนและจัดให้วิญญาณทั้ง 6 อยู่ในขอบข่ายของวิญญาณอันเป็นหนึ่งในเบญจขันธ์
อย่างไรก็ตาม ไม่มีเหตุผลใดที่จะบ่งชี้ว่า ตถาคตครรภ์เป็นเหตุประการที่ 3 ในปฏิจจสมุปบาท และไม่มีเหตุผลใดที่จะยืนยันว่าเป็นอาลยวิญญาณ เช่นนิกายโยคาจารกระทำ ถ้าเป็นเช่นนั้น อาลยวิญญาณจะต้องแตกต่างไปจากตถาคตครรภ์แน่นอน ในนิกายโยคาจารอาลยวิญญาณ หมายถึงอาทานวิญญาณ ซึ่งปรากฏใน สันธินิรโรจนสูตร
“อาทานวิญญาณ ละเอียดและสุขุม ดำเนินไปพร้อมด้วยพีชะดุจสายน้ำหลาก ตถาคตมิได้สอนสิ่งนี้แก่ผู้ที่ยังมีจิตวิญญาณไม่แก่กล้า ด้วยเกรงว่าเขาจะยึดติดว่าเป็นอัตตา”
ในขณะที่อสังคะมิได้จัดอาลยวิญญาณว่าอยู่ในปฏิจจสมุปบาท แต่นิกายของเขาในสมัยต่อมา แสดงออกอย่างชัดเจนว่า ได้จัดอาลยวิญญาณอยู่ในปฏิจจสมุปบาท และไม่มีข้อแตกต่างไปจากตถาคตครรภ์ถ้าโยคาจารนับเหตุประการที่ 3 ในปฏิจจสมุปบาท ว่าเป็นกิเลสมนัสก็ย่อมทำให้พวกเขาสามารถใช้อาลยวิญญาณได้ในความหมายเหมือนตถาคตครรภ์ บางที โยคาจารอาจจะเหมือนกับนิกาย ลังกาวตารสูตร ที่ยึดในทัศนะนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคำสอนทั้งสองเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม ลังกาวตารสูตร และ รัตนโคตรวิภาค ไม่จำเป็นว่าจะขัดแย้งกันในการใช้ศัพท์ไม่เหมือนกัน พระสูตรแรกใช้คำว่า “อาศัยปราวฤตติ” และเล่มหลังใช้ “อาศัยปริวฤตติ” ลังกาวตารสูตร สอนว่ามีอาศัยปราวฤตติ คือวิวัฒนาการของพื้นฐาน โดยหมายถึงอาลยวิญญาณในโพธิสัตต์ภูมิขั้นที่ 8 ซึ่งในภูมินี้ ศรีมาลาฯ อธิบายว่ามีกายพุทธะแล้ว รัตนโคตรวิภาค สอนว่ามีการถอยกลับของพื้นฐาน คืออาศัยปริวฤตติ โดยหมายถึงตถาคตครรภ์ในขั้นพุทธะ ในขณะที่ ศรีมาลาฯ นั้น ตถาคตครรภ์พร้อมอยู่ในธรรมชาติแห่งพุทธะจำนวนนับไม่ถ้วน ศรีมาลาฯ มิได้ใช้ศัพท์ทั้งสองคำนี้ และมิได้กล่าวตรงๆว่า ตถาคตครรภ์เปลี่ยนไปสู่สภาพธรรมกาย ความลึกลับของตถาคตครรภ์ตรงนี้ ศรีมาลาฯ อธิบายว่า “พระพุทธองค์เท่านั้นที่ทรงหยั่งเห็น”
***************
ศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร
ศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร
พระสูตรมหายาน
ภาษาอังกฤษแปลจากต้นฉบับเดิม ในภาษาธิเบต จีน ญี่ปุ่น และชิ้นส่วนภาษาสันสกฤต
บทนำ
ตามที่ข้าฯได้สดับมา สมัยที่พระพุทธองค์ประทับ ณ สวนเชตวัน ของอนาถปิณฑิกะเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี พระเจ้าปเสนจิต แห่ง แคว้นโกศล และพระนางมัลลิการ เพิ่งทรงหันมานับถือคำสอนของพระศาสดาได้ไม่นาน และขณะนี้ทรงสนทนากันอยู่
"มหาราช ศรีมาลาเทวี ธิดาของเรานั้น มีปรีชาฉลาดลุ่มลึก หากเธอได้เฝ้าพระพุทธองค์ เธอคงสามารถเข้าใจพระธรรมได้โดยไม่ยากนัก และแน่นอน เธอคงได้เข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ โดยปราศจากข้อสงสัย"
พระเจ้าปเสนจิต ตรัสกับพระนางมัลลิกาว่า
"เราจะส่งข่าวเพื่อให้เธอเกิดความสนใจ"
พระนางมัลลิกาน้อมรับว่า
"ถูกแล้ว สมควรทีเดียว เพคะ"
พระเจ้าปเสนจิตและพระนางมัลลิกา จึงทรงร่างพระราชสาสน์สรรเสริญพระบารมีอันไพศาลมิรู้จบของพระพุทธองค์ และทรงมอบให้จันทร์ผู้เป็นมหาอำมาตย์ เดินทางไปสู่พระราชวังเมืองอโยธยา และเข้าเฝ้าพระนางศรีมาลาฯเมื่อถวายพระพรและรับพรแล้วจึงได้ทูลเกล้าฯถวายพระราชสาสน์
บทที่ 1 ขจัดความสงสัยทั้งปวง
1 สรรเสริญพระบารมีอันไพศาลของพระตถาคตเจ้า
พระนางศรีมาลาฯทรงยกพระราชสาสน์ขึ้นเหนือเศียรเกล้า ทรงระลึกถึงพระราชบิดา และพระราชมารดาโดยคราวะและยินดี เมื่อทอดพระเนตรความในพระราชสาสน์แล้ว ทรงเปล่งวาจาว่า "พระราชสาสน์มีความหมายเป็นมงคลยิ่ง" แล้วทรงยอพระราชสาสน์ขึ้นจบพระเศียรเปี่ยมด้วยความปีติและตรัสแก่มหาอำมาตย์จันทร์ ทั้งข้าราชบริพารอื่นว่า
"กล่าวกันว่า พระสุรเสียงของพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีผู้ใดเทียบในโลก ถ้าจริงเช่นนั้น ข้าฯ ขอรับใช้พระองค์ หากแม้พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์ของชาวโลกด้วยพระเมตตาของพระองค์ ขออัญเชิญพระพุทธองค์เสด็จมาโปรดข้าพระองค์ด้วยเทอญ"
ทันใดนั้น พระพุทธเจ้าทรงปรากฏพระองค์อยู่ในอากาศ ณ เบื้องหน้าและพระนางทรงได้เห็นทิพยกายของพระพุทธเจ้าประทับลอยอยู่ ณ ที่นั้น มีฉัพพรรณรังสีบริสุทธิ์โดยรอบ พระนางศรีมาลาฯ พร้อมข้าราชบริพารต่างพากันน้อมก้มประนมกร และพระนางตรัสสรรเสริญพระผู้ทรงเป็นครูสอนที่ประเสริฐสุด
"พระพุทธองค์ ผู้ทรงมีพระกายและฉัพพรรณรังสีอันหาที่เปรียบมิได้ ข้าฯ ขอถวายสักการะแด่พระโลกนาถ ผู้หาที่เปรียบมิได้
"พระกายและพระญาณของพระองค์มิอาจหยั่งได้ พุทธภาวะของพระองค์ไม่มีวันสูญสลาย สมควรยิ่งที่จะระลึกถึงพระองค์เป็นสรณะพระมุนีเจ้า ด้วยอุปายะอันเปรียบมิได้ พระองค์ทรงชนะกิเลสทั้งในกายและจิต ข้าฯ ขอสักการะพระธรรมราช ผู้ทรงเข้าถึงในภูมิ โดยปราศจากความเสื่อม
"พระองค์ผู้ทรงไว้ด้วยธรรมกาย ผู้ทรงหยั่งถึงในญาณ ข้าฯ ขอสักการะพระธรรมราช ผู้ทรงเข้าถึงในภูมิ โดยปราศจากความเสื่อม
"พระองค์ผู้ทรงไว้ด้วยธรรมกาย ผู้ทรงหยั่งถึงในญาณ ข้าฯ ขอสักการะพระองค์ผู้ทรงเข้าถึงพุทธภาวะอันประเสริฐสุด
"ขอน้อมสักการะต่อพระองค์ผู้ทรงเป็นนิรันดร์ ขอน้อมสักการะต่อพระองค์ผู้หาที่เปรียบมิได้ ขอน้อมสักการะต่อพระองค์ ผู้ทรงมีธรรมชาติอันมิอาจเทียบได้ ขอน้อมสักการะต่อพระองค์ผู้ทรงมีพระกายอันหาขอบเขตมิได้
"ขอพระองค์โปรดพระราชทานความคุ้มครองแก่ข้าฯ ขอพีชะแห่งโพธิจงถึงซึ่งความสมบูรณ์โดยเร็ว ขอพระมหามุนีพระราชทานพรแก่ข้าฯ ทั้งในปัจจุบันชาติ และอนาคตชาติ"
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "เทวี ในอดีตชาติของพระนางนั้นตถาคตได้นำทางให้พระนางได้ปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ และในอนาคตชาติตถาคตจะคอยดูแลพระนางเช่นกัน" พระนางศรีมาลาฯ จึงกราบทูลว่า "กุศลที่ข้าฯ ได้บำเพ็ญแล้วทั้งในปัจจุบันชาติและอดีตชาติ ด้วยกุศลนั้น ขอให้ข้าฯ ได้เฝ้าพระตถาคตเจ้า และขอพระองค์ได้โปรดช่วยข้าฯ ด้วย"
จากนั้น พระนางศรีมาลาฯ พร้อมข้าราชบริพารทั้งปวง ประคองอัญชลีน้อมถวายสักการะแทบเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระราชทานพุทธทำนาย ท่ามกลางธรรมสภาว่า พระนางศรีมาลาฯ จะทรงได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
"เทวี ด้วยปัจจัยแห่งกุศลกรรมที่พระนางได้ทรงสร้างสม โดยการสรรเสริญคุณของพระตถาคตเจ้าในจำนวนกัปป์อันนับไม่ถ้วน พระนางได้ครองบรรลังก์ท่ามกลางทวยเทพ แลมนุษย์ทั้งหลาย และในทุกขาติ พระนางจะได้เฝ้าตถาคตเสมอ เช่นเดียวกับที่พระนางสวดสรรเสริญ ณ เบื้องหน้าตถาคต พระนางจะได้สรรเสริญต่อไป และพระนางจะได้มีโอกาสถวายเครื่องสักการะต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันนับประมาณมิได้
"เมื่อเวลาผ่านไป 20,000กัปป์ พระนางจะได้ตรัสรู้เป็นพระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธสมันตปราปต์ ในสมัยนั้น พุทธเกษตร ของพระนางจะปราศจากมารร้ายทั้งปวง ยิ่งกว่านั้น สรรพสัตว์ทั้งหลายจะบำเพ็ญอยู่ในกุศลกรรมบถทั้ง 10 ประการ สรรพสัตว์เหล่านั้นย่อมปราศจากความเจ็บไข้ ความชรา หรือความกังวลใจ แม้ชื่อของอกุศลกรรมบถจะไม่มีการเอ่ยถึง
"ผู้ใดที่อุบัติในพุทธเกษตรนั้น จะมีความสุขยิ่งกว่าเทวดาในสวรรค์ชั้นปรนิมิตวัสวติน มีรูปวรรณะงดงาม มีอายตนะสมบูรณ์ และมีความสุขอยู่ในประการทั้งปวง
"พระเทวี สรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่อุบัติขึ้นในพุทธเกษตร ย่อมอยู่ในมหายานด้วย และเช่นเดียวกัน พระเทวี ในสมัยนั้น ผู้ที่ได้สร้างสมบารมีจะได้อุบัติในพุทธเกษตร"
เมื่อพระนางศรีมาลาฯ ทรงได้ยินพุทธพยากรณ์ ทั้งทวยเทพและมนุษย์ อันประมาณมิได้ ต่างพากันปรารถนาที่จะไปเกิดในพุทธเกษตรและพระผู้มีพระภาคทรงมีพุทธพยากรณ์ว่า พวกเขาทั้งหลายจะได้ไปเกิดในพุทธเกษตรนั้น
2 มหาทศปณิธาน
จากนั้น เมื่อพระนางศรีมาลาฯ ทรงสดับพุทธพยากรณ์เกี่ยวกับพระนางเองจากพระโอษฐ์พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนางทรงประนมพระหัตถ์น้อมสักการะ และทรงตั้งมหาทศปณิธานว่า
1 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้าฯ จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อแรกว่า ข้าฯ จักไม่ยอมให้เกิดความคิดใดอันเป็นการละเมิดศีล
2 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่สองว่า ข้าฯ จักไม่ยอมให้เกิดความคิดใดอันเป็นการไม่เคารพต่อครูผู้สอน
3 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่สามว่า ข้าฯ จักไม่ยอมให้มีความโกรธ ความมุ่งร้ายแก่สรรพสัตว์
4 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่สี่ว่า ข้าฯ จักไม่มีความริษยาในความเจริญรุ่งเรือง และในบารมีของผู้อื่น
5 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่ห้าว่า ข้าฯ จักไม่มีความมักได้ แม้จะได้อาหารจากการบิณฑบาตเพียงเล็กน้อยก็ตามที
6 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่หกว่า ข้าฯ จักไม่สะสมสมบัติเพื่อตัวข้าฯ เอง แต่จะใช้จ่ายเพื่ออนุเคราะห์คนยากไร้ และอนาถา
7 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่เจ็ดว่า ด้วยปัจจัย 4 แห่งการเป็นพุทธมามกะ ข้าฯ จักใช้เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ โดยมิใช่ชักชวนให้หันมานับถือพุทธศาสนาเพื่อผลประโยชน์แห่งข้าฯ ข้าฯ จักมุ่งชักชวนสรรพสัตว์สู่พุทธธรรม โดยไม่หวังลาภสักการะ อย่างไม่ท้อถอย
8 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่แปดว่า ในอนาคตเมื่อข้าฯ ได้ประสบกับสรรพสัตว์ ผู้ขาดเพื่อน ถูกจองจำ เจ็บไข้ อยู่ในความลำบาก ยากจนและทนทุกข์ ข้าฯจักไม่ละทิ้งเขาแม้ชั่วขณะ จนกว่าเขาจะได้รับความช่วยเหลือ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อได้เห็นเขาทนทุกข์ ข้าฯ จักช่วยให้เขาพ้นจากทุกข์ภัยเหล่านั้น เมื่อเห็นเขามีสุขแล้ว ข้าฯ จึงจะจากไป
9 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่เก้าว่า เมื่อข้าได้เห็นผู้ประกอบมิจฉาชีพ เช่น พ่อค้าสุกร ผู้ละเมิดพระธรรม และพระวินัย อันทรงแสดงแล้วโดยพระตถาคตเจ้า ข้าฯ จักไม่วางเฉย ไม่ว่าข้าฯ จะอยู่ในหมู่บ้าน ตำบล เขตหรือแคว้น จักทำลายสิ่งที่ควรทำลาย และทำนุบำรุงสิ่งที่พึงทำนุบำรุง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยการทำลายแลทำนุบำรุง พระธรรมอันประเสริฐจึงจะสถิตในโลกได้ ทวยเทพและมนุษย์ย่อมคงอยู่ และมารร้ายย่อมมลายหายไป พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อกงล้อพระธรรมจักรเริ่มเคลื่อนแล้ว ย่อมจะได้หมุนต่อไป
10 พระผู้มีพระภาคเจ้า นับแต่นี้ไป จนกว่าข้า จะได้บรรลุพระโพธิญาณ ข้าฯ จะขอยึดมั่นในปณิธานข้อที่สิบว่า เมื่อได้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐแล้ว ข้าฯจักมิมีวันลืมแม้เพียงชั่วขณะความคิด เหตุใดหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หากแม้บุคคลลืมพระธรรมอันประเสริฐได้ เขาย่อมลืมมหายาน และหากเขาลืมมหายาน เขาย่อมลืมบารมี เมื่อลืมบารมีก็จะปล่อยวางมหายาน ข้าแต้พระผู้มีพระภาคเจ้า พระโพธิสัตต์มหาสัตว์ ผู้ยังไม่มั่นใจมหายาน ย่อมละเลยในการปฏิบัติตามพระธรรมอันประเสริฐและหมกมุ่นอยู่กับความฟุ้งซ่านของตน ก็ย่อมเข้าสู่การบรรลุสภาพจิตวิญญาณที่ยังไม่พร้อมเช่นปุถุชนทั่วไป ข้อนี้ ข้าฯ เห็นว่าเป็นข้อด้อยและเป็นอันตรายยิ่ง ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าฯ ได้เห็นว่าบารมีนั้น ยังประโยชน์แก่ข้าฯอย่างมหาศาล และยังประโยชน์ต่อพระโพธิสัตต์ทั้งหลายในอนาคตในการน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ และข้าฯขอยึดมั่นในปณิธานนี้ เพื่อการน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐนั้น
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าฯขอยึดมั่นในมหาทศปณิธานเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเหตุนั้น ขอพระธรรมาจารย์จงทรงเป็นพยานแก่ข้าฯ เถิด แม้ว่าข้าฯ จะตั้งปณิธานเหล่านนี้เฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์ สรรพสัตว์บางพวกที่มีบารมีเพียงเล็กน้อยอาจคิดแย้งว่า "มหาทศปณิธานเหล่านี้ยากในการปฏิบัติ" เกิดความสงสัยและความลังเลใจในข้าพระองค์ โดยความคิดเช่นนั้น เขาย่อมมีอันตราย และมีความยากลำบากเป็นเวลานาน พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประโยชน์ในการช่วยบุคคลเหล่านี้ ข้าฯ ขอพระราชทานสัจพรจากพระผู้มีพระภาค ณ โอกาสนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยสัจจะแห่งการตั้งมหาทศปณิธานนี้ หากจะเป็นจริงตามปณิธานของข้าฯ ไซร้จงบังเกิดดอกไม้โปรยปรายเป็นสายฝนลงมาตกต้องมนุษย์ทั้งหลายและขอเสียงดนตรีทิพย์จงดังขึ้นให้ได้ยินกันทั่วไป"
เมื่อพระนางศรีมาลาฯ รับสั่งถ้อยคำเหล่านี้ ดอกไม้ได้โปรยปรายลงมาต้องบริษัททั้งหลาย และต่างได้ยินเสียงดนตรีทิพย์บรรเลงกันโดยทั่ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "เทวี เป็นเช่นนั้น ทันทีที่เทวีขอ สัจพรก็เกิดขึ้น (ตามคำอธิษฐาน) และมิใช่ด้วยเหตุอื่น" ข้าราชบริพารทั้งหลายที่ติดตามต่างได้เห็นปรากฏการณ์อันเป็นอัศจรรย์ ต่างพากันหมดความสงสัย และประสบความชื่นบานเป็นที่ยิ่ง ข้าราชบริพารทั้งปวงพากันอธิษฐานขอติดตามรับใช้พระนางศรีมาลาฯ และพระพุทธองค์พระราชทานพุทธทำนายว่า พวกเขาจะได้ติดตามพระนางไปตลอด
บทที่ 2 ตัดสินเหตุ
3 ความปรารถนา 3 ประการ
ณ เบื้องพระพักตร์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนางศรีมาลาฯ ทรงตั้งความปรารถนา 3 ประการ
ก. "พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยสัจพร และด้วยกุศลกรรมในการสร้างสมบารมีแห่งการทำประโยชน์ให้แก่สรรพสัตว์อันประมาณมิได้ขอให้ข้าฯ เข้าใจในธรรมอันประเสริฐทุกๆชาติ
ข. "พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อมีความเข้าใจในพระธรรมอันประเสริฐแล้ว ขอให้ข้าฯได้สอนธรรมะแก่สรรพสัตว์โดยไม่รู้เหน็ดเหนื่อย นี้เป็นความปรารถนาประการที่สองของข้าฯ"
3. "พระผู้มีพระภาคเจ้า ในขณะที่สอนพระธรรมอันประเสริฐโดยไม่คำนึงถึงกาย พลังชีวิต หรือทรัพย์สมบัติ ขอให้ข้าฯได้ปกป้องเชิดชูพระธรรมอันประเสริฐ นี้เป็นความปรารถนาประการที่สามของข้าฯ"
จากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเทศนาอธิบายถึงขอบข่ายความปรารถนาของพระนางศรีมาลาเทวี หากรูปกายทั้งหลายจะรวมกันอยู่ในอากาศ ย่อมบรรลุไว้จนล้นออกไปภายนอก เช่นเดียวกัน เมื่อความปรารถนาของพระโพธิสัตต์ทั้งหลายมีจำนวนมากมายดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา รวมกันอยู่ในความปรารถนาทั้งสามประการนี้ และย่อมแผ่กระจากออกมากกว่า
4 การน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ
พระนางศรีมาลาเทวีกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้
"ยิ่งกว่านั้น เมื่อข้าพระองค์ได้สอนขอบข่ายของความปรารถนานี้แล้ว ขอพระองค์โปรดพระราชทานบารมี ให้ข้าฯ มีความคล่องแคล่ว(ในการสอนธรรม)"
สมเด็จพระผู้มีพระภาคมีพระดำรัสว่า "เทวี เป็นเช่นนั้น เทวีจงมีความสามารถในการพูดโน้มใจ"
พระนางศรีมาลาเทวีจึงกราบทูลพระพุทธองค์ด้วยถ้อยคำดังนี้ "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความปรารถนาของบรรดาพระโพธิสัตต์อันมีจำนวนมากมายดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา รวมกันอยู่ในความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ นั่นคือ การรวมพระธรรมอันประเสริฐ การน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐจึงเป็นงานใหญ่"
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า "เทวี ประเสริฐแล้ว ประเสริฐแล้ว บารมีของพระนางลุ่มลึกนัก เทวี ไม่ว่าสรรพสัตว์ใดที่พระนางทรงสอนพระธรรม เป็นการยากที่พวกเขาจะเข้าใจความหมายและจะมีผู้ที่สั่งสมพระธรรม เป็นการยากที่พวกเขาจะเข้าใจความหมายและจะมีผู้ที่สั่งสมกุศลกรรมมาหลายพุทธกาลแล้ว เทวี เช่นเดียวกับที่พระนางน้อมรับ สอน และอธิบายพระธรรมอันประเสริฐ ในลักษณะเดียวกัน พระตาถคตเจ้าทั้งหลายในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตทรงน้อมรับทรงสอน ทรงอธิบายพระธรรมอันประเสริฐมาแล้ว และจะทรงอธิบายต่อไป เทวี แม้ตถาคตเอง บรรลุพระสัมมาสัมโพธิแล้ว ได้น้อมรับได้สอนพระธรรมอันประเสริฐ และได้อธิบายในหลายรูปแบบ เทวี ในขณะที่ตถาคต น้อมรับ สอน และอธิบายพระธรรมอันประเสริฐนี้ในหลายรูปแบบ บารมีในการน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐหาขอบเขตมิได้ และไม่มีวันหมดสิ้น ทั้งบารมีและความสามารถในการพูดโน้มใจของพระตถาคตเจ้าก็มิมีวันหมดสิ้นเช่นกัน ด้วยเหตุใดหรือ เทวี ด้วยการน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐนี้มีความหมายกว้างไกลและมีคุณประโยชน์ใหญ่หลวงนัก"
พระนางศรีมาลาฯ จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระบารมีแห่งพระตถาคตเจ้า จงช่วยข้าพระองค์ให้มีความสามารถในการเทศนาธรรมอันมีความหมายอันลึกซึ้งและไพศาล"
พระพุทธองค์รับสั่งว่า "เทวี พระนางทรงรู้อยู่แล้วว่า เวลานั้นได้มาถึงแล้ว ให้พระนางจงสามารถเทศนาสอนธรรมได้อย่างปรีชาฉลาด"
ก.การสอนในมหาปณิธาน
โดยพระพุทธานุญาต พระนางศรีมาลาเทวีจึงกราบทูลว่า
"พระผู้มีพระภาคเจ้า การน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ ย่อมทำให้ธรรมชาติแห่งพุทธะอันมีจำนวนประมาณมิได้นั้นถึงพร้อม การน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ หมายรวมพระธรรม 84.000ธรรมขันธ์ ตัวอย่างเช่นในแยกโลกธาตุใหม่นั้น มีเมฆก้อนใหญ่ที่กลายเป็นสายฝน โปรยปรายเป็นสีต่างๆ และรัตนมณีนานาชนิด ในทำนองเดียวกันการน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐนั้น เปรียบดั่งสายธารแห่งบารมีทีหลั่งมาเป็นรัตนมณีแห่งความรู้อันหาค่ามิได้ ในเวลาที่แยกโลกธาตุใหม่มีอาณาจักรใหม่เกิดขึ้น มีทวีปทั้งสี่ที่มีรูปสีและดาวเคราะห์จำนวนมากมาย เป็นครรภ์ธาตุที่เป็นบ่อเกิดแห่งงานอันวิเศษทั้งหลายทั้งปวงของพระโพธิสัตต์ และมรรควิถึอันนำเข้าสู่พระธรรม เช่นเดียวกับโลกียบารมีทั้งปวง รวมทั้งพระธรรมอันประเสริฐในโลกุตระ ที่ทั้งเทวดา และมนุษย์ไม่เคยประสบมาก่อน
"พระผู้มีพระภาคเจ้าโลกนี้เป็นที่รองรับภาระที่สำคัญ 4ประการ คือ มหาสมุทร ต้นหญ้า พุ่มไม้ ต้นไม้ พืชพันธุ์ธัญญาหาร และสรรพสัตว์ทั้งปวง ทำนองเดียวกัน กุลบุตรกุลธิดา ผู้ที่น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐย่อมรองรับภาระสำคัญ4 ประการ อันมีความสำคัญยิ่งกว่าภาระของโลกเสียอีก ภาระทั้ง 4 นั้นคืออะไร
"1 กุลบุตรธิดาจะต้องช่วยเหลือสรรพสัตว์ผู้ขาดการชี้นำทางวิญญาณ ไม่เคยได้ยินและไม่รู้ในพระธรรม ให้หันมาสู่การปฏิบัติธรรมเป็นการสร้างสมบารมีของทวยเทพและมนุษย์ ภาระนี้เป็นภาระที่หนักหนายิ่งกว่าภาระของโลกเสียอีก
"2 กุลบุตรกุลธิดาผู้ชักนำสรรพสัตว์เข้าสู่สาวกยาน เป็นภาระที่หนักยิ่งกว่าภาระของโลก
"3 กุลบุตรกุลธิดาผู้ชักนำสรรพสัตว์เข้าสู่ปัจเจกพุทธยาน รับภาระหนักยิ่งกว่าภาระของโลก
"4 กุลบุตรธิดาผู้ชักนำสรรพสัตว์เข้าสู่มหายาน รับภาระหนักยิ่งกว่าภาระของโลก
"ทั้ง 4 นี้เป็นภาระสำคัญ กุลบุตรธิดาผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐและรับภาระที่สำคัญทั้ง 4 ประการอันหนักยิ่งกว่าภาระโลกนั้น นับเป็นภาระอันประมาณมิได้ เป็นผู้มีมิตรภาพ มีเมตตากรุณา และปลอบโยนสรรพสัตว์ทั้งหลาย เรียกได้ว่าเป็น โลกมาตาแห่งธรรมะ
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หากเปรียบแม้นว่า โลกนี้เป็นปัจจัยแห่งรัตนชาติ 4 ประการ ทั้ง 4 ประการนี้มีอะไรบ้าง เป็นปัจจัยแห่งรัตนมณีอันหาค่ามิได้ เป็นรัตนมณีชั้นสูง เป็นรัตนมณีที่มีค่าปานกลางและเป็นรัตนมณีที่มีค่าด้อย โลกนี้เป็นปัจจัยแก่รัตนชาติทั้ง 4ประการฉันใด สรรพสัตว์ต้องพึ่งพาอาศัยกุลบุตรกุลธิดา ผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ ผู้มีคุณสมบัติยิ่งกว่ารัตนชาติทั้ง 4 ประการฉันนั้น คุณสมบัติ 4 ประการนี้คืออะไร สรรพสัตว์ยังต้องพึ่งพาอาศัย ในฐานะผู้นำทางวิญญาณเพื่อบำเพ็ญกุศลเป็นการสะสมบารมีแห่งทวยเทพ และมนุษย์ สร้างสมคุณธรรมโดยการบำเพ็ญตามแนวทางของสาวกยาน สร้างสมคุณธรรมโดยการบำเพ็ญตามนาวทางของพระปัจเจกพุทธยาน สร้างสมบารมีโดยการบำเพ็ญตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นนี้สรรพสัตว์ผู้ยังพึ่งพาอาศัยกุลบุตรกุลธิดา ผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ ย่อมมีคุณสมบัติอันประเสริฐ 4 ประการ มีค่า ยิ่งกว่ารัตนชาติทั้ง 4 ชนิด การกล่าวว่า 'ปัจจัยแห่งรัตนสมบัติ หมายถึงการน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐนั่นเอง'
ข. การสอนความหมายอันไพศาล
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐเรียกได้ว่าผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ พระธรรมอันประเสริฐและผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐมิได้แยกออกจากกัน ผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐคือพระธรรมอันประเสริฐนั่นเอง เขามิได้มีความแตกต่างไปจากบารมี หรือแตกต่างจากพระธรรมอันประเสริฐนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐนั้นเองคือบารมี ด้วยเหตุใด"
"เมื่อกุลบุตรกุลธิดา ผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ ถึงพร้อมในทานบารมี ถึงพร้อมในการบริจาคอวัยวะใหญ่น้อยในร่างกาย ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมในลักษณะนี้ ผู้ถึงพร้อมย่อมถึงในธรรมอันประเสริฐนั้น นับเป็นทานบารมี
"และเมื่อเขาโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงพร้อมในศีล หากสรรพสัตว์มีความเจริญในการระมัดระวังอายตนะทั้ง 6 และรักษากายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม ให้บริสุทธิ์ นับว่าได้น้อมนำสรรพสัตว์ให้มีจิตถึงพร้อมนับว่าเป็นผู้ถึงพร้อมในพระธรรมอันประเสริฐนั้น นับเป็นศีลบารมี
"เมื่อเขาโปรดสรรพสัตว์ด้วยขันติ หากเขาเหล่านั้น ถูกดุด่า ดูถูกหรือข่มขู่ เขาพึงไม่แสดงความมุ่งร้าย และพยายามอดทนเพื่อแสดงถึงอำนาจของขันติ การรักษาสีหน้าท่าทางให้มั่นคงเป็นการรักษาและพัฒนาจิตใจ เมื่อถึงพร้อมย่อมอยู่ในธรรมอันประเสริฐ นับเป็นขันติบารมี
"เมื่อเขาโปรดสรรพสัตว์ให้มีวิริยะ เขาจะช่วยนำสรรพสัตว์ให้ถึงพร้อมด้วยการที่ตนเองจะต้องปราศจากจิตใจที่ง่วงซึม ไม่เกียจคร้านมีความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ มีความมุมานะพยายาม ด้วยการควบคุมตนเอง เขาป้องกันและพัฒนาจิต เมื่อถึงพร้อมย่อมเข้าถึงธรรมอันประเสริฐ นับเป็นวิริยะบารมี
"เมื่อเขาโปรดสรรพสัตว์ให้เข้าถึงฌาน ช่วยพัฒนาพวกเขา โดยการมีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีจิตที่ไม่ซัดส่าย และมีสติ ไม่คิดวอกแวกแม้จะทำหรือพูดอยู่เป็นเวลานาน เขารู้จักปกป้องและพัฒนาจิต เมื่อถึงพร้อมย่อมเข้าถึงธรรมอันประเสริฐ นับเป็นฌานบารมี
"เมื่อโปรดสรรพสัตว์ในปัญญา เขาพัฒนาผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยการโต้ตอบคำถามอย่างมั่นใจ อธิบายอรรถกถา ศาสตร์ และศิลป์ ในกลวิธีต่างๆ เขาปกป้องและพัฒนาจิตโดยเข้าถึงปัญญาแห่งศาสตร์และศิลป์ ในกลวิธีต่างๆ เขาปกป้องและพัฒนาจิตโดยเข้าถึงปัญญาแห่งศาสตร์และศิลป์ เมื่อถืงพร้อมย่อมอยู่ในธรรมอันประเสริฐ นันเป็นปัญญาบารมี"
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บารมีจึงมิใช่สิ่งหนึ่งและผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐคือบารมีนั่นเอง
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขออำนาจแห่งพระตถาคตเจ้า จงช่วยข้าฯ ให้มีความสามารถในการอธิบายความหมายโดยแจ่มแจ้ง"
จากนั้น พระนางศรีมาลาเทวีได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ นับเป็นการรับพระธรรมอันประเสริฐ ผู้รับและการรับพระธรรมอันประเสริฐ มิได้มีความแตกต่างกัน ผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ คือการรับพระธรรมนั้น ด้วยเหตุใด กุลบุตรกุลธิดา ผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ ได้สละทรัพย์ทั้งสามประการเพื่อน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ ทรัพย์ทั้งสามประการนั้นคือ ร่างกาย พลังชีวิต และทรัพย์สมบัติ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า กุลบุตรกุลธิดาที่ได้สละร่างกายนั้น ย่อมเข้าถึงกายแห่งพุทธะ เป็นที่สุดแห่งสังสาร ย่อมเป็นอิสระจากความชรา ความเจ็บไข้ และความตาย ไม่มีใครทำลายได้ จึงเป็นผู้มีความมั่นคงสงบนิ่ง เป็นอมตะ เป็นอิสระจากการตาย และถึงพร้อมด้วยบารมีอันมหาศาล เข้าถึงธรรมกายแห่งพระตถาคตเจ้าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า กุลบุตรกุลธิดาแห่งตระกูล เมื่อได้สละพลังชีวิต ย่อมคงอยู่ในกิจกรรมแห่งคำสอนของพระพุทธองค์ เป็นที่สุดแห่งสังสาร เป็นอิสระจากการตาย และถึงพร้อมด้วยบารมีมหาศาล เป็นนิตย์และหาขอบเขตจำกัดมิได้ เข้าถึงพระพุทธธรรมอันประเสริฐ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า กุลบุตรกุลธิดาแห่งตระกูล เมื่อได้สละทรัพย์สมบัติ ได้รับการยกย่องจากสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นที่สุดแห่งสังสาร ไม่มีใครทำลายได้ ปราศจากความคิดผิด และถึงพร้อมด้วยบารมีอันหาขอบเขตมิได้ ไม่มีสรรพสัตว์อื่นใดเสมอเหมือน เป็นที่สรรเสริญของสรรพสัตว์ทั้งปวง ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า กุลบุตรกุลธิดาแห่งตระกูล ผู้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ และละวางจากทรัพย์ทั้งสามประการนี้ ย่อมเข้าถึงมหาบารมีทั้งสามประการนั้น และนอกจากนั้นยังได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าทั้งปลาย
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในสมัยที่พระธรรมเสื่อมลง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทะเลาะเบาะแว้งกันและกัน และแตกแยกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย กุลบุตรกุลธิดาแห่งตระกูล ผู้มีความชื่นชมในพระธรรม โดยปราศจากความเห็นผิด เพื่อการตั้งมั่นในพระธรรมอันประเสริฐ ก่อตั้งกลุ่มพระโพธิสัตต์ เพราะผู้ที่ถึงธรรมะ ย่อมเป็นกุลบุตรกุลธิดาแห่งตระกูล ที่จะได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยกิจกรรมนั้น
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เข้าใจว่า การน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐนั้นเป็นมหาวิริยะ ในกรณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเองทรงเป็นดวงตา ทรงเป็นญาณ และรากฐานแห่งธรรมะทั้งปวง พระองค์ทรงสถิตอยู่ทั่วไป และทรงเป็นบ่อเกิด"
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโสมมนัสที่พระนางศรีมาลาตรัสอธิบายว่า การน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐเป็นมหาวริยะ จึงมีพุทธดำรัสว่า
"เทวี เป็นจริงเช่นนั้น เทวี การน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐนับเป็นมหาวิริยะ
"เทวี อุปมาดังผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง หากถูกตีจุดอ่อนย่อมเจ็บปวดได้ฉันใด แม้การน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐเพียงน้อยนิด ย่อมทิ่มแทงพญามารและทำให้เขาเจ็บปวดครวญครางได้ฉันนั้น เทวี ตถาคตยังไม่เห็นการน้อมรับคำสอนอื่น ที่จะทิ่มแทงพญามารให้เจ็บปวดคราญคราง เท่ากับการน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐนี้เพียงน้อยนิด
"เทวี เปรียบดังจ่าฝูง พ่วงพี และสูงใหญ่ มีพละกำลังเป็นเลิศกว่าโคทั้งฝูง ในลักษณะเดียวกัน แม้การน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐแห่งมหายานเพียงน้อยนิด แต่เพราะความไพศาล ย่อมประเสริฐกว่า การน้อมรับคำสอนในสาวกยานและปัจเจกพุทธยาน
"เทวี ดุจเดียวกันพระสุเมรุ อันเป็นราชาแห่งสิงขร ทั้งสูงเยี่ยมและมหึมา ย่อมเป็นเลิศกว่าเทือกเขาทั้งหลาย ดุจเดียวกัน ผู้ที่ปฏิบัติในมหายาน ปราศจากความกังวลในร่างกายของตนเอง แม้พลังชีวิตและทรัพย์สมบัติก็ยอมสละได้ ด้วยจิตเปี่ยมเมตตา น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ และด้วยความมหาศาล จึงเป็นเลิสกว่าคุณธรรมทั้งหลายของผู้ที่เพิ่งเข้ามาสู่มหายาน ที่ยังยึดติดในร่างกายและพลังชีวิต เขาจึงประเสริฐยิ่งกว่าในยานอื่น
"เทวี เมื่อเป็นเช่นนี้ พระนางควรส่งเสริมให้สรรพสัตว์ได้น้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ ทำให้เขายึดมั่นเป็นสรณะ เกิดศรัทธาปสาทะและน้อมเข้ามาปฏิบัติตาม เทวี การน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ มีผลมหาศาล และมีคุณอนันต์ เทวี แม้ว่าตถาคตจะได้อธิบายมาแล้วหลายกัปป์จนนับไม่ได้ ในบารมีและคุณแห่งการน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ ตถาคตก็ยังอธิบายได้ไม่ครบถ้วน เทวี การน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ จึงมีบารมีอันประมาณมิได้
บทที่ 3 ทำความกระจ่างกับความหมายสุดท้าย
5 เอกยาน
"เทวี พระนางจงได้แสดงธรรมในการน้อมรับพระธรรมอันประเสริฐ ซึ่งเป็นที่ยึดมั่นในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังที่ตถาคตได้อธิบายไปแล้วโดยแคล่วคล่อง" พระนางศรีมาลาทรงน้อมรับพระพุทธบัญชา แล้วกราบทูลพระพุทธองค์ว่า
(อ้างถึงสาวกยานและปัจเจกพุทธยาน)
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เรียกว่า หลักธรรมอันประเสริฐนั้นหมายถึง มหายาน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะบรรดายานทั้งหลายของพระสาวก พระปัจเจกพุทธะ และคุณธรรมทั้งโลกียะและโลกุตระล้วนรวมอยู่ในมหายาน เปรียบได้ดั่งมหานทีทั้ง 4 ที่แยกออกมาจากทะเลสาบอนวตัปตะ(*) ในลักษณะเดียวกัน ยานทั้งหลายของพระสาวก พระปัจเจกพุทธะ และคุณธรรมทั้งโลกียะและโลกุตระ ล้วนเกิดจากมหายาน ดังเมล็ดพืช พันธุ์ไม้ ต้นไม้ ล้วนถือกำเนิดจากพสุธา หยั่งรากแล้วเจริญงอกงามขึ้น ในลักษณะเดียวกัน ยานทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นสาวกยานหรือปัจเจกพุทธยาน รวมทั้งคุณธรรมทั้งโลกียะและโลกุตระล้วนมีพื้นฐานจากมหายาน งอกและเติบโตขึ้นจากมหายานทั้งสิ้น ดังนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อบุคคลตั้งมั่นในมหายาน และน้อมรับหลักธรรมอันประเสริฐ เขาย่อมน้อมรับยานทั้งหลายแห่งสาวกยานและปัจเจกพุทธยาน รวมทั้งคุณธรรม ทั้งโลกียะและโลกุตระด้วย
* มหานทีทั้ง 4 อธิบายว่า คือ คงคา สินธุ วักสุ และสีตา ทะเลสาบนี้ คือสระอโนดาษ ซึ่งอยู่ที่เทือกเขาหิมาลัย
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงได้อธิบายหัวข้อพื้นฐานทั้ง 6 การรักษาหลักธรรมอันประเสริฐ การเสื่อมของหลักธรรมอันประเสริฐ พระปาฏิโมกข์ พระวินัย การเข้าสู่ชีวิตทางศาสนา การบรรพชาอุปสมบท นอกจากนั้น หัวข้อทั้ง 6 นี้ ล้วนมากจากการน้อมรับมหายานนั่นเอง ด้วยเหตุใดหรือข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าการกล่าวว่า "การรักษาหลักธรรมอันประเสริฐ" นั้นหมายถึงมหายาน เพราะการรักษามหายานคือการรักษาหลักธรรมอันประเสริฐนั่นเอง การพูดว่า การเสื่อมของหลักธรรมอันประเสริฐ หมายถึงมหายาน เพราะการเสื่อมของมหายานคือการเสื่อมของหลักธรรมอันประเสริฐ ธรรมะทั้งสองที่เรียกว่า ปาฏิโมกข์และพระวินัย ต่างกันเฉพาะศัพท์ แต่ในความหมายแล้ว หมายถึงอย่างเดียวกัน ที่เรียกว่า พระวินัย คือเครื่องมือในการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติตามมหายาน โดยมีไว้สำหรับความเป็นพระตถาคต และการใช้ชีวิตในทางศาสนาเป็นพระสงฆ์ เมื่อเป็นเช่นนั้น สิ่งที่เรียกว่าพระวินัย และการใช้ชีวิตทางศาสนา รวมทั้งการบรรพชา อุปสมบท นับรวมหมายถึงการรักษาศีลโดยเคร่งครัดรักษาศีลโดยเคร่งครัดในมหายาน ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การใช้ชีวิตในพระศาสนา และการบรรพชาอุปสมบทนั้น มิใช่อยู่ในขอบข่ายของสาวกยานและปัจเจกพุทธยานทำไม่จึงเป็นเช่นนั้น เพราะการใช้ชีวิตในพระศาสนาและการบรรพชาอุปสมบท มิใช่จุดประสงค์ของสาวกยานและปัจเจกพุทธยาน อย่างไรก็ตาม เพราะมีตถาคตภาวะ พระสาวกและพระปัจเจกพุทธะจึงใช้ชีวิตในพระศาสนาและเข้ารับการบรรพชาอุปสมบท"
(เกี่ยวกับพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะ)
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น มิได้ยึดพระตถาคตเป็นสรณะเท่านั้น หากยังไม่หลุดพ้นจากความกลัว ทั้งนี้เป็นเพราะทั้งพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะ ยังยึดอยู่ในความคิดในความกลัวแห่งสังขาร ดุจเดียวกับการที่ต้องเผชิญหน้ากับเพชฌฆาตที่เงื้ออาวุธในมือ ด้วยเหตุนั้น จึงยังไม่บรรลุความเป็นอิสระ ที่เป็นอมตะสุข แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ที่เป็นสรณะย่อมไม่ต้องแสวงหาสรณะ สรรพสัตว์ผู้ไร้ที่พึ่งเป็นสรณะย่อมมีความเกรงกลัว และพยายามมหาทางหลุดพ้นจากสิ่งนั้นสิ่งนี้ พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะพึงแสวงหาสรณะในพระผู้มีพระภาคเจ้า
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า มิใช่พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะยังมีความกลัวเท่านั้น หากยังต้องกลับมาเกิดอีกด้วย เขายังมีอาสวะที่ตกค้าง จึงยังไม่บริสุทธิ์ ยังไม่พ้นจากกรรมทีเดียว จึงยังมีความต้องการต่างๆ นอกจากนั้น เขาก็ยังมีธรรมชาติอื่นๆ ที่ยังต้องขจัดเสียให้สิ้น และเพราะอาสวะเหล่านั้นยังไม่หมดไป พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะจึงยังอยู่ห่างไกลจากอาณาจักรพระนิพพาน
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เรียกว่าพระนิพพานนั้น เป็นมรรคแห่งพระตถาคตเจ้า เหตุผลคือ พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงบรรลุพระนิพพาน และทรงถึงพร้อมด้วยพระบารมีทั้งปวงในขณะที่พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะยังไม่เปี่ยมด้วยบารมีดังกล่าว
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เรียกว่าพระนิพพานนั้น เป็นมรรคแห่งพระตถาคตเจ้า เหตุผลคือ พระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงเข้าถึงพระนิพพาน ทรงถึงพร้อมในพระบารมีอันประมาณมิได้ ในขณะที่พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะยังมีบารมีอันประมาณ
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เรียกว่าพระนิพพานนั้น เป็นมรรคแห่งพระตถาคตเจ้า เหตุผลคือ พระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงเข้าถึงพระนิพพาน ทรงถึงพร้อมในพระบารมีอันมิอาจเข้าใจได้ ในขณะที่พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะยังมีบารมีที่ยังเข้าใจได้
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เรียกว่าพระนิพพานนั้น เป็นมรรคแห่งพระตถาคตเจ้า เหตุผลคือ พระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงเข้าถึงพระนิพพาน ทรงขจัดอาสวะทั้งปวงให้สิ้น ทรงบริสุทธิ์โดยสมบูรณ์ ในขณะที่พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะยังมีอาสวะตกค้าง และยังไม่บริสุทธิ์โดยแท้
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เรียกว่าพระนิพพานนั้น เป็นมรรคแห่งพระตถาคตเจ้า เหตุผลคือ พระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงเข้าถึงพระนิพพาน ในขณะที่พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะยังอยู่ห่างไกลจากอาณาจักรพระนิพพาน
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเรื่องที่พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะได้เข้าถึงความหลุดพ้น และเข้าถึงความรู้ที่ 4 และเข้าถึงขึ้นที่สามารถหยุดลมหายใจได้ และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายว่า 'เข้าถึงโดยยังมีอาสวะตกค้าง' และ 'ยังมิใช่ความหมายสุดท้าย' นั้นหมายความว่าอย่างไร เพราะมีการตาย 2 ชนิด ตายธรรมดากับการตายที่ไม่สามารถหยั่งถึง การตายที่หมายถึงการตัดขาดนั้น เป็นการตายของสรรพสัตว์ปุถุชนโดยทั่วไป ส่วนการตายที่ไม่สามารถหยั่งถึงนั้น เป็นการดับขันธ์ของมโนมยากายของพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะ และพระโพธิสัตต์ผู้มีพลัง ขึ้นไปจนถึงการตรัสรู้"
("การเข้าถึงด้วยอาสวะ" และ "มิใช่ความหมายสุดท้าย")
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การดับขันธ์ 2 ประเภทนั้น เป็นความรู้ในการควบคุมการดับขันธ์ ที่เกิดขึ้นกับพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะ และเขาคิดว่า 'การเกิดของข้าได้สิ้นสุดลงแล้ว' ด้วยความเข้าใจเช่นนี้ จึงดับขันธ์ทั้งที่ยังมีอาสวะ ทั้งพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะคิดว่า 'เป็นด้วยพรหมจรรย์' ด้วยความยึดถือว่า ได้ขจัดกิเลสทั้งปวงอันสืบเนื่องในกรรมที่ปรากฏในปุถุชนผู้ยังไม่บรรลุ รวมทั้งเทวดาแลมนุษย์ และได้ขจัดแล้วซึ่งกิเลสอันปรากฏในบุคคลทั้ง 7 ประเภท ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่เข้าถึง พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะจึงคิดว่า 'ได้ทำหน้าที่สำเร็จสมบูรณ์แล้ว'
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เขาคิดว่า 'ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องเรียนรู้มากไปกว่านี้ เพราะพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะสามารถควบคุมกิเลสทั้งปวงอันเกี่ยวเนื่องในสังสาร จึงทำให้เขาคิดว่า 'ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องเรียนรู้มากไปกว่านี้' แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ยังคิดว่า 'ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องเรียนรู้มากไปกว่านี้' ยังมิได้ขจัดกิเลสทั้งปวงโดยสิ้นเชิง กับทั้งยังต้องกลับมาเกิดอีก ทำไมเป็นเช่นนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะยังมีอาสวะที่ยังตกค้างและยังมีปัจจัยแห่งการเกิดที่ยังขัดไม่หมดโดยแท้
อาสวะนั้นมี 2 ประเภท อาสวะสถิต อาสวะเคลื่อนที่ อาสวะสถิดนั้นจำแนกได้ 4 ชนิด คือความถือมั่นในทัศนะบางประการ ยังมีความต้องการ ยังยึดติดในรูป และยังยึดติดในโลกียะ อาสวะสถิตเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นอาสวะเคลื่อนที่ให้ทำงาน อาสวะเคลื่อนที่นั้นเกิดขึ้นชั่วขณะในรู้และความสัมพันธ์กับธรรมะ
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อาสวะตกตะกอนที่นอนเนื่องอยู่ตั้งแต่กาลอันหาจุดเริ่มมิได้นั้น ไร้สำนึก พลังที่ปรากฏในอาสวะสถิตทั้ง 4 ชนิดนั้น เป็นพื้นฐานแก่อาสวะชั้นรองทุกประเภท แต่อาสวะสถิตทั้ง 4 ชนิดนั้น ไม่อาจเปรียบได้กับอาสวะตกตะกอน ในปริมาณขนาดตัวอย่างหรือปัจจัย เมื่อเป็นเช่นนี้ อาสวะตกตะกอนจึงมีพลังที่สุด เรียกว่าอาสวะสถิตที่ดึงดูดเพื่อการฟักตัวในระดับโลกุตระ เปรียบเช่นพญามารนั้นเป็นเทวดาประเภทปรนิมมิตวศวารทิน เลิศกว่าเทวดาทั้งปวงในรูปสี รัศมี อำนาจ บริวาร และความเป็นใหญ่ ในลักษณะเดียวกันอาสวะตกตะกอนนี้เรียกว่า 'อาสวะสถิตที่ดึงดูดเพื่อการฟักตัวในระดับโลกุตระ' มีอำนาจเหนืออาสวะสถิตทั้ง 4 ชนิด เป็นรากฐานที่มหาศาลยิ่งกว่าจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา มีความเป็นมาร่วมกับอาสวะสถิตทั้ง 4 ชนิดเป็นเวลาช้านาน มิสามารถขจัดได้ด้วยปัญญาญาณของพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะ จะขจัดได้โดยเฉพาะแต่พระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้าเท่านั้น
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อาสวะตกตะกอนนั้นมีพลังมหาศาล ตัวอย่างเช่น ด้วยเหตุพื้นฐานแห่งสภาวะและกรรมที่เปลี่ยนแปลงได้นั้นทำให้มีการก่อตัว 3 แบบ ในลักษณะเดียวกัน เมื่ออาสวะตกตะกอนเป็นปัจจัยแห่งสภาวะและกรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นเหตุให้เกิดมโนมยากายขึ้น 3 ชนิด เป็นของพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะ และพระโพธิสัตต์ผู้บรรลุวศิตา(*) (พลัง) อาสวะตกตะกอนเป็นสภาพที่ทำให้เกิดการปรากฏในกรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลและทำให้เกิดมโนมยากายทั้งสามขึ้นใน3 ขั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อมีสภาพเช่นนี้ จึงมีสภาพเกิดขึ้นตามมา เมื่อเป็นเช่นนั้น อาสวะตกตะกอนจึงเป็นสภาพของกรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง และทำให้เกิดมโนมยากายทั้งสามขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีชื่อเดียวกับอาสวะสถิตที่ดึงดูดการก่อนตัวในระดับโลกียะ อย่างไรก็ตามการกระทำนี้มิได้เป็นสามัญ เช่นเดียวกับอาสวะสถิตที่ดึงดูดการก่อตัวในระดับโลกียะ เพราะอาสวะตกตะกอนนั้นต่างจากอาสวะสถิตทั้ง 4 ชนิด สามารถขจัดได้โดยภาวะพุทธะ และสามารถขจัดได้อย่างสิ้นเชิงโดยปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะขจัดอาสวะสถิตทั้ง 4 ชนิดแล้ว เขาก็ยังมิสามารถเอาชนะการเปลี่ยนแปลงและยังไม่สามารถบรรลุได้โดยตรง
*อยู่ในโพธิสัตต์ภูมิที่ 8 ขึ้นไป เป็นผู้ไม่หวนคืน
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การยุติการเปลี่ยนแปลงเป็นคำที่ใช้กับอาสวะตกตะกอน เมื่อเป็นดังนั้น แม้พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะและพระโพธิสัตต์ในชีวิตสุดท้าย ยังไม่แจ่มชัด ยังถูกบดบัง ยังถูกปกคลุม และทำให้มืดบอดอยู่ในอาสวะตกตะกอนนี้ ด้วยเหตุนี้เขาจึงไม่แสวงหา และไม่เข้าใจธรรมชาติของธรรมะนี้ เพราะเขาไม่แสวงหาและไม่เข้าใจในธรรมชาติของธรรมะ เขาจึงไม่ขจัดธรรมชาติของธรรมะนี้ซึ่งควรขจัดและทำให้บริสุทธิ์ และเพราะเขาไม่ขจัดธรรมชาติของธรรมะนี้ ทั้งไม่ทำให้บริสุทธิ์ขึ้น จึงเข้าถึงสภาพความหลุดพ้นทั้งที่ยังมีความหลงผิด จึงนับว่ายังไม่เป็นอิสระจากความหลงผิดอย่างแท้จริง เขายังไม่เข้าถึงความบริสุทธิ์โดยแท้ กุศลของเขาจึงเป็นกุศลที่ยังมีอาสวะตกค้างเพราะยังเป็นกุศลที่ไม่สมบูรณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ใครก็ตามที่เข้าถึงความหลุดพ้นโดยยังมีความหลงผิด ยังเป็นอิสระจากความหลงผิดทั้งปวง ผู้ที่ยังข้องอยู่กับความบริสุทธิ์ยังไม่ถึงความบริสุทธิ์โดยแท้ผู้ที่ยังมีกุศลตกค้างและยังมีกุศลไม่สมบูรณ์ นับว่าเป็นผู้ที่ยังมีความทุกข์หลงเหลืออยู่ ยังมีเหตุแห่งทุกข์ที่จะต้องขจัด ยังมีสมุทัยที่จะต้องบรรลุโดยตรง และยังมีมรรคอันจะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ที่ต้องพัฒนาอีกต่อไป
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ใดที่ยังมีทุกข์หลงเหลืออยู่ มีสมุทัยที่จะต้องขจัด มีนิโรธที่จะต้องเข้าถึงโดยตรง และมีมรรคอันจะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ที่จะต้องพัฒนา เป็นบุคคลที่เข้าถึงพระนิพพานเพียงเสี้ยวเดียว ผู้ที่เข้าถึงพระนิพพานเพียงเสี้ยวเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าเรียกว่า 'อยู่ในทางเข้าสูอาณาจักรพระนิพพาน' ผู้ที่ได้พบทุกข์ทั้งปวงได้ขจัดสมุทัยโดยสิ้นเชิง และได้รู้แจ้งในนิโรธ เป็นผู้ที่ได้พัฒนามรรคอันนำไปสู่ความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงโดยสมบูรณ์แล้ว ได้เขาถึงพระนิพพานอันเป็นอมตะ เป็นความสงบ และเป็นความร่มเย็น พระนิพพานอันทำลายแล้วซึ่งความเป็นอนิจจัง ความเจ็บไข้ และเป็นสรณะแห่งโลก ในโลกที่ปราศจากการคุ้มครองและปราศจากสรณะ ด้วยเหตุใดเล่า เพราะพระนิพพานนั้นมิอาจเข้าถึงได้โดยบุคคลผู้ยังมีการแยกแยะธรรมชาติอันประเสริฐและปุถุชน เป็นที่เข้าถึงแล้วโดยผู้มีความรู้อันสมดุลย์ เข้าถึงแล้วโดยผู้ที่มีความหลุดพ้นอย่างเท่าเทียม เข้าถึงแล้วโดยผู้ที่มีความรู้บริสุทธิ์และทัศนะอันเท่าเทียม ด้วยเหตุนี้ อาณาจักรแห่งพระนิพพานจึงเป็นเอกรส นั่นคือ รสแห่งความรู้และความเป็นอิสระเป็นหนึ่งเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลใดยังมิได้ขจัดและทำอาสวะตกตะกอนให้บริสุทธิ์ ยังเข้าถึงเอกรสแห่งอาณาจักรพระนิพพาน นั่นคือสำหรับบุคคลนั้น ความรู้และความเป็นอิสระยังมิได้เป็นรสเดียวกัน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เพราะเขายังมิได้ขจัดเสียให้สิ้น ทั้งยังมิได้ทำให้อาสวะตกตะกอนนั้นบริสุทธิ์ ยังมิได้ขจัดหรือทำให้ธรรมชาติอันพึงขจัดซึ่งมีจำนวนมากมายดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาเสียให้สิ้น และเมื่อเขามิได้ขจัด หรือทำให้ธรรมชาติอันมีจำนวนมากมายดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคานั้นบริสุทธิ์ เขาจึงยังไม่เข้าถึง และยังไม่ประสบโดยตรงกับคุณธรรมทั้งหลาย อันมีจำนวนมากมายดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อาสวะตกตะกอนเป็นปัจจัยซึ่งทำให้เกิดกิเลสขั้นแรกและขั้นรอง ซึ่งควรขจัดได้ด้วยสมาธิ ด้วยอาสวะตกตะกอนเหล่านั้น ทำให้เกิดกิเลสขั้นรองขึ้นในความคิด ความสงบ ความมีทัศนะที่ชัดเจน และความมีสมาธิในโยคะ ในความรู้ ในผล ในความเข้าใจ ในพละ ในความกล้า
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า กิเลสขั้นรองซึ่งมีจำนวนมากมายดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา ย่อมสามารถขจัดได้โดยสิ้นเชิง โดยพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า ทั้งหมดนั้นเกิดจากอาสวะตกตะกอนอันเป็นทั้งเหตุและปัจจัยให้เกิดกิเลสขั้นรองรวมทั้งการปรากฏทั้งปวงการแสดงออกของกิเลสนั้นเป็นไปเพียงชั่วครู่ ในขณะของรู้และความสัมพันธ์กับธรรมะนับแต่กาลอันนานประมาณไม่ได้ อาสวะตกตะกอนนี้อยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นธรรมชาติที่พึงขจัดเสียให้สิ้น อันมีจำนวนมากมายดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา สามารถขจัดเสียได้โดยพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า ล้วนเป็นธรรมชาติแห่งพื้นฐานของอาสวะตกตะกอนนี้ทั้งสิ้น อุปมาเมล็ดพืชไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ใด จะเป็นต้นหญ้าหรือต้นไม้ ย่อมพินาศไป สลายไป และไม่มีตัวตนฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ในลักษณะเดียวกัน ธรรมชาติเหล่านั้นพึงขจัดไปอัน มีจำนวนมากมายดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา อันขจัดเสียได้โดยพระปัญญาตรัสรู้แห่งพระตถาคตเจ้า พบได้ในอาสวะตกตะกอน มีอยู่ในอาสวะตกตะกอน เกิดขึ้นและเจริญเติบโตอยู่ หากอาสวะตกตะกอนถูกขจัดไปหรือทำให้บริสุทธิ์ และสูญสลายไป ก็จะขจัดธรรมชาติเหล่านั้นที่ มีจำนวนมากมายดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา อันสามารถขจัดให้สิ้นไปได้ด้วยพระปัญญาตรัสรู้แห่งพระตถาคตเจ้า ย่อมขจัดได้ ทำให้บริสุทธิ์และสลายไปในที่สุด"
("ความหมายสุดท้าย" และ "เอกยาน")
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่ออาสวะกิเลสทั้งมวล และกิเลสชั้นรอง ถูกขจัดออกไปเสียแล้ว บุคคลย่อมเข้าถึงพุทธภาวะอันมิอาจหยั่งถึงได้ มีจำนวนมหาศาลกว่าเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา เมื่อนั้นพระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมเข้าถึงธรรมชาติทั้งปวงโดยไม่มีอุปสรรคทรงเป็นผู้รู้รอบและทรงเป็นสัพพัญญู ทรงเป็นอิสระจากความเห็นผิด ทรงถึงพร้อมอยู่ในกุศลอันสมบูรณ์ ทรงเป็นพระธรรมราชเจ้า ผู้เข้าถึงสถานะอันเป็นใหญ่เหนือธรรมชาติทั้งปวง ทรงเปล่งพระสุรสีหนาทว่า 'การเกิดได้ยุติลงแล้ว ถึงซึ่งชีวิตอันบริสุทธิ์เป็นที่สุดแล้ว หน้าที่ได้สำเร็จแล้ว ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้' เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสุรสีหนาทแห่งพระตถาคตเจ้าย่อมเป็นความหมายสุดท้าย และได้อธิบายความหมายนี้โดยเที่ยงตรงแน่วแน่
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า มีความรู้ 2 ชนิดที่บ่งชี้ เมื่อพูดว่า 'ไม่มีอะไรที่จะต้องเรียนรู้มากไปกว่านี้'
"พระตถาคตเจ้า ได้ทำลายมารทั้ง 4 ลงด้วยชัยชนะอันประมาณมิได้ของพระพุทธเจ้า ได้เข้าถึงธรรมกายซึ่งประเสริฐกว่าโลกทั้งมวลอันมิอาจเข้าถึงได้โดยสรรพสัตว์ เมื่อได้เป็นพระธรรมราช อันปราศจากอุปสรรคในขั้นตอนทุกขั้นของการรู้ พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นว่าไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากนี้ที่จะต้องทำความเข้าใจอีกต่อไป เสด็จสู่ภาวะสมบูรณ์อันประมาณมิได้ ทรงปราศจากความกลัว ทรงถึงพร้อมในทศพล และทรงเข้าถึงความรู้ทั้งปวงโดยปราศจากอุปสรรค พระองค์จึงทรงเปล่งพระสุรสีหนาทด้วยความรู้ที่ว่า 'ไม่มีอะไรจะต้องรู้อีกแล้วนอกจากนี้'
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะสามารถเอาชนะอันตรายจากสังสาร และเข้าถึงความสุขแห่งการหลุดพ้น ได้เห็นโดยถูกต้องว่า 'ข้าฯเป็นอิสระแล้วจากอันตรายแห่งสังสาร จะไม่ต้องประสบกับความทุกข์ในสังสารอีกต่อไป' พระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะตระหนักว่า 'ไม่มีอะไรที่จะต้องรู้มากไปกว่านี้' จึงได้ตัดสินใจว่าเข้าได้เขาถึงพระนิพพานในขั้นของการหยุดการหายใจได้ นอกจากนั้น เมื่อเขาได้ตระหนักเช่นนี้ เขาก็ย่อมตกอยู่ในความยึดมั่นในความคิดว่า 'ข้าฯ เข้าถึงพระนิพพาน โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น ข้าฯจึงเป็นผู้บรรลุการตรัสรู้โดยไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน'
"ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะสาวกยานและปัจเจกพุทธยานนั้น ล้วนรวมอยู่ในมหายาน พระผู้มีพระภาคเจ้า มหายานนั้นมีความหมายถึงพุทธยาน ในลักษณะนี้ ยานทั้งสามนับรวมกันเป็นหนึ่งคือเอกยานการตระหนักใน 'เอกยาน' คือการเข้าถึงการตรัสรู้สัมมาสัมพุทธญาณโดยสมบูรณ์ การตรัสรู้พระสัมมาสัมพุทธญาณโดยสมบูรณ์คือความหมายของอาณาจักรพระนิพพาน อาณาจักรพระนิพพานหมายถึงธรรมกายของพระตถาคตเจ้า การบรรลุในพระธรรมกายโดยสมบูรณ์ คือการหยั่งรู้ในเอกยาน พระผู้มีพระภาคเจ้า พระตถาคตมิได้ต่างจากพระธรรมกาย พระตถาคตนั่นเองคือพระธรรมกาย การหยั่งรู้พระธรรมกายโดยสมบูรณ์คือการบรรลุในเอกยานโดยสมบูรณ์นั่นเอง โดยปรมัตถ์ของเอกยานคือความหมายของเอกยานสัมบูรณ์นั่นเอง ด้วยเหตุใดเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเหตุที่ว่า พระตถาคตมิได้ทรงจำกัดอยู่ในกาล พระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสถิตอยู่ในกาลอันไม่มีขอบเขตจำกัด พระองค์มิได้ทรงมีขอบเขตจำกัดในพระกรุณาที่จะเยียวยารักษาโรค เมื่อประชาชนอุทานว่า 'พระองค์เปี่ยมด้วยพระกรุณาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกโดยหาขอบเขตจำกัดมิได้' พวกเขาหมายถึงพระตถาคตเองทีเดียว เมื่อประชาชนอุทานว่า 'เพื่อประโยชน์สุขแห่งชาวโลก พระองค์ทรงเป็นสรณะอันมีธรรมชาติที่มิอาจทำลายได้ เป็นนิรันดร์ ทรงมีธรรมชาติอันมั่นคง' เขาพูดถึงพระตถาคตนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเป็นเช่นนี้ พระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าสถิตอยู่ในโลกที่ขาดสรณะ ขาดผู้คุ้มครอง ย่อมทรงเป็นสรณะอันเป็นนิรันดร์ เป็นสรณะที่มั่นคง และไม่มีผู้ใดทำลายได้
"พระผู้มีพระภาคเจ้า 'ธรรม' หมายถึงคำสอนในมรรคแห่งเอกยาน 'พระสงฆ์' หมายถึงที่รวมแห่งยานทั้งสาม สรณะประการที่สองเป็นสรณะที่ขึ้นอยู่กับสรณะประการแรก มิใช่สรณะสูงสุด ด้วยเหตุใดหรือ เพราะพระธรรมซึ่งสอนในมรรคแห่งเอกยานนั้น เป็นความรู้แจ้งแห่งธรรมกาย และนอกเหนือไปจากนั้น ไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะเกี่ยวข้องกับพระธรรมที่สอนมรรคแห่งเอกยาน เจ้าภาพแห่งยานทั้งสามจึงพากันยึดในสรณะ ยึดในพระตถาคตเพราะความกลัว แล้วแสวงหาวิธีการในการเข้าสู่ชีวิตทางศาสนา ศึกษาและปฏิบัติ และมุ่งเข้าสู่วิถีทางแห่งการตรัสรู้โดยสมบูรณ์ ดังนั้น สรณะประการที่สองจึงมิใช่สรณะที่สูงสุด เป็นสรณะที่ยังมีขอบเขตจำกัด
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อสรรพสัตว์ที่พระตถาคตจะกล่อมเกลานี้ เข้าหาพระตถาคตเพื่อยึดเป็นสรณะ เขามีศรัทธาอันเกิดจากธรรมชาติแท้ ดังนั้น เขาจึงยึดในพระธรรมและพระสงค์ด้วยว่าเป็นสรณะ และด้วยศรัทธาอันเกิดจากธรรมชาติแท้นี้เอง ที่เขายึดเอาสรณะทั้งสองว่าเป็นสรณะที่พึ่ง แต่เมื่อเขายึดในพระตถาคตว่าเป็นสรณะนั้น เขามิได้มีศรัทธาอันเกิดจากธรรมชาติแท้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เขายึดในพระตถาคตเป็นสรณะ เป็นการยึดเป็นสรณะโดยแท้ โดยเหตุที่พระตถาคตมิใช่สิ่งหนึ่ง และสรณะทั้งสองเป็นอีกสิ่งหนึ่งต่างกันออกไป พระผู้มีพระภาคเจ้า พระตถาคตนั้นเองทรงเป็นสรณะทั้งสาม ทั้งนี้เพราะพระธรรมซึ่งสอนมรรคแห่งเอกยาน เป็นพระวจนะของพระตถาคต ดุจราชาแห่งโคทั้งปวง และเป็นสุรสีหนาทของพระตถาคตอันเปี่ยมในความมั่นใจทั้ง 4 ประการ(*)และเป็นเพราะว่าไม่ว่าจะด้วยความเชื่อในสิ่งในสิ่งใด เขาก็ถึงพร้อมมนมหายาน เช่นที่พระตถาคตทำให้ถึงพร้อมด้วยมรรคในยานทั้งสอง เมื่อไม่มีศัพท์คำใดสำหรับยานทั้งสองนี้ จึงเป็นที่สุดว่าเอกยานนั้น เป็นยานที่แท้ และเป็นที่รวมของยานทั้งสาม"
* ราชสีห์เป็นเจ้าป่า ย่อมปราศจากความกลัวภยันตรายเป็นที่พึ่งแห่งตนเป็นผู้มั่นคง (ในสมาธิ)และเป็นพระชินะ (คือเอาชนะกิเลสทั้งปวง)
6 พระอริยสัจอันประมาณมิได้
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระอรหันต์และพระปัจเจกพุทธะมีความรู้เพียงด้านเดียวในการทำความเข้ามจในอริยสัจ 4 เขากำจัดอาสวะสถิตบางประเภทออกไปได้ ด้วยความรู้เพียงด้านเดียวนั้น เขาก็เข้าถึงกุศลทั้ง 4 และแยกแยะวัตถุทั้ง 4 ประเภท ตามธรรมชาติที่แท้ของเขา พระผู้มีพระภาคเจ้า ในความรู้ขั้นโลกุตระนั้น จึงไม่มีการก้าวหน้าในความรู้ในอริยสัจ 4 และไม่มีการก้าวหน้าในการแสวงหาความรู้นั้น ในโลกุตรธรรมนั้นมีลักษณะดุจเพชร ไม่มีธรรมชาติในการก้าวหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเป็นเช่นนี้ ทั้งพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะย่อมขึ้งในอริยสัจประการแรก ซึ่งขจัดเสียซึ่งอาสวะสถิต แต่ไม่ได้เข้าถึงอริยสัจประการที่สอง เพื่อขจัดอาสวะอื่นๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอยู่นอกขอบข่ายแห่งประสาทสัมผัสของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะ และทรงขจัดเสียซึ่งอุปกิเลสทั้งหลายด้วยความรู้ในสุญญตาอันประมาณมิได้ ความรู้ขั้นปรมัตถ์ที่ทำลายอุปกิเลสทั้งปวงนั้นเรียกว่า สัมมาญาณ ความรู้ในอริยสัจประการแรกยังมิใช่ความรู้ปรมัตถ์ แต่เป็นความรู้ในมรรคที่มุ่งสู่สัมมาสัมโพธิญาณ
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า คำว่า 'อริยะ' นั้น มิได้หมายถึงพระสาวกหรือพระปัจเจกพุทธะ ทั้งสองยังมีกุศลจำกัด และเพราะกุศลของเขายังขึ้นอยู่กับพระสาวกและพระปัจเจกพุทธ จึงยังเรียกว่า 'อริยะ' อริยสัจมิใช่สัจจะของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะ พระผู้มีพระภาคเจ้า สัจจะเหล่านี้ค้นพบโดยพระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อได้ทรงตรัสรู้โดยถ่องแท้แล้ว จึงทรงนำมาเปิดเผยและโปรดชาวโลกผู้ยังอยู่ในห้วงแห่งอาสวะ นี่เป็นวิธีที่เราควรทำความเข้าใจในอริยสัจ"
7 ตถาคตครรภ์
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การอธิบายความหมายของคำว่า อริยสัจ นั้น ควรจัดเป็นเรื่องสุขุมละเอียดอ่อน ยากที่จะเข้าใจได้ ยากที่จะตัดสิน และมิได้อยู่ในขอบข่ายของตรรกะ ผู้ที่เข้าใจได้ต้องเป็นผู้มีปัญญาญาณ ย่อมไม่ใช่ความสนใจของปุถุชน ด้วยเหตุใดหรือ เพราะคำสอนอันสุขุมนี้ อธิบายถึงตถาคตครรภ์ ตถาคตครรภ์เป็นอาณาจักรของพระตถาคตเจ้า มิใช่อาณาจักรของพระสาวกหรือพระปัจเจกพุทธะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตครรภ์เป็นจุดกำเนิดของการอธิบายความหมายของอริยสัจ เพราะจุดกำเนิดของตถาคตครรภ์สุขุมเช่นนี้ ความหมายของอริยสัจจึงละเอียดอ่อน สุขุม ยากแก่การเข้าใจ ยากแก่การตัดสิน มิได้อยู่ในขอบข่ายแห่งตรรกะ ผู้มีปัญญาญาณเท่านั้นจึงจะเข้าใจได้ มิได้อยู่ในความสนใจของปุถุชน
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ใครก็ตามที่ไม่สงสัยว่าตถาคตครรภ์หุ้มห่ออยู่ในกิเลส ย่อมไม่สงสัยว่า ธรรมกายของพระตถาคตนั้นเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง เมื่อจิตผู้ใดก็ตามที่เข้าถึงปรมัตถ์แห่งตถาคตครรภ์ ธรรมกายแห่งพระตถาคต และอาณาจักรอันประมาณมิได้ของพระพุทธเจ้า เขาย่อมมีความเชื่อมั่นในการอธิบาย 2 แบบ ของอริยสัจ การอธิบาย 2 แบบนี้ ยากที่จะรู้และยากที่จะเข้าใจ
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การอธิบาย 2 แบบในความหมายของอริยสัจนี้ หมายความว่าอย่างไร คือการอธิบายในแบบที่สร้างขึ้นและมิได้สร้างขึ้น (*) ในความหมายของอริยสัจ การอธิบายแบบสร้างขึ้นนั้น อธิบายอริยสัจ 4 ในขอบเขตของปัญญา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อบุคคลยังอาศัยคนอื่นอยู่ เขาย่อมไม่ได้แสวงหาความทุกข์ทั้งปวงขจัดเสียซึ่งเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง เข้าถึงความสิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงโดยตรง และพัฒนามรรคเพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมิได้มีเพียงสังขารสังสารและอสังขารสังสารเท่านั้น หากยังมีทั้งสังขารนิพพาน และอสังขารนิพพานอีกด้วย การอธิบายแบบไม่ได้สร้างขึ้นในความหมายของอริยสัจนั้น เป็นการอธิบายอริยสัจโดยปราศจากขอบเขตจำกัดทางปัญญา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะหากหวังพึ่งตนเองแล้ว บุคคลก็จะแสวงหาความทุกข์ที่รู้สึกได้ลึกที่สุด ขจัดสาเหตุแห่งความทุกข์นั้น ตระหนักในสาเหตุแห่งความทุกข์นั้น และพัฒนามรรคอันนำไปสู่การถึงที่สุดแห่งความทุกข์นั้น เมื่อเป็นดังนี้คำอธิบายในเรื่องอริยสัจของพระตถาคต จึงกลายเป็นอริยสัจ 4 ประการ (คือคำอธิบายสร้างขึ้น 4 และไม่สร้างขึ้นอีก 4)
* สร้างขึ้น "คือการมุ่งที่จะพ้นทุกข์โดยไม่ได้เข้าถึงอย่างแท้จริง" ไม่สร้างขึ้น "คือการพ้นทุกข์ที่ถึงพร้อมด้วยธรรมชาติแห่งพุทธะทั้งหลาย และเข้าถึงโดยสมบูรณ์ด้วย"
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอธิบายความหมายของอริยสัจที่ไม่สร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ ทั้งพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะยังไม่ถึงซึ่งความสมบูรณ์ ด้วยเหตุที่ยังไม่เข้าใจในอาณาจักรของพระนิพพาน โดยการเข้าใจในธรรมชาติว่าเหนือกว่า ปานกลาง และต่ำกว่า ถ้าเช่นนั้นพระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงอธิบายความหมายที่ไม่ได้สร้างขึ้นของอริยสัจให้สมบูรณ์เล่านั้นเป็นเพราะพระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ในความทุกข์ในอนาคต แล้วขจัดเสียซึ่งเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงอันนับเนื่องในอาสวะประเภทแรกหรือประเภทรอง และหยั่งรู้ในการดับทุกข์ ที่เป็นการดับขันธ์เกิดแต่จิตทั้งปวง"
8-9 ธรรมกายและความหมายแห่งสุญญตา
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การพ้นทุกข์มิใช่การสิ้นสุดแห่งธรรมะ ด้วยเหตุใดหรือ เพราะพระธรรมกายของพระตถาคตนั้นได้ชื่อว่า 'เป็นที่สุดแห่งทุกข์' ไม่มีจุดกำเนิด มิได้ถูกสร้างขึ้น ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย เป็นอิสระจากความตาย เป็นนิรันดร์ มั่นคง สงบ อมตะ มีความบริสุทธ์จากภายใน เป็นอิสระจากอาสวะทั้งปวง ถึงพร้อมอยุ่ในธรรมชาติแห่งพุทธะอันมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา มีความเปิดเผย เป็นอิสระและหยั่งมิได้ ธรรมกายแห่งพระตถาคตนี้ เมื่อยังไม่เป็นอิสระจากอาสวะเรียกว่า ตถาคตครรภ์
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความรู้ในตถาคตครรภ์คือ รู้ในสุญญตาแห่งพระตถาคตเจ้า ตถาคตครรภ์เป็นสิ่งที่ไม่เห็น ไม่ได้ยินมาก่อนโดยพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะ เป็นสิ่งที่เข้าใจได้โดยตรง โดยพระผู้มีพระภาคเจ้า ความรู้ในสุญญตาแห่งตถาคตครรภ์นั้นมี 2 ชนิด ดังนี้
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตครรภ์เป็นสูญจากกิเลสทั้งปวงที่ปกปิด และที่รู้ว่ายังไม่เป็นอิสระ
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตครรภ์มิได้เป็นสูญจากธรรมะแห่งพุทธะอันเปิดเผย มิอาจหยั่งได้ มีจำนวนมากกว่าเม็ดทราบในแม่น้ำคงคา และรู้กันว่าเป็นอิสระ
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความรู้แห่งสุญญตาทั้งสองแบบแห่งตถาคตครรภ์นี้ ย่อมทำให้เกิดศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยเฉพาะกันพระสาวกทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความรู้ในสุญญตาของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะยังข้องอยู่ในวัตถุทั้ง 4 (*) เมิ่อเป็นเช่นนั้น ทั้งพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะจึงไม่เห็นไม่เข้าใจมาก่อนในที่สุดแห่งทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงหยั่งถึงโดยตรงและทรงเข้าใจโดยถ่องแท้ และทั้งพระองค์ยังได้เอาชนะกิเลสทั้งปวง และได้พัฒนามรรคอันเป็นหนทางสู่การสิ้นสุดแห่งทุกข์"
* ได้แก่ความยึดมั่นว่าอนิจจังเป็นนิจจัง เป็นต้น
10 เอกสัจ
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อริยสัจทั้ง 4 ประการนี้ สัจจะ 3 ประการยังนับว่าเป็นอนิจจัง มีสัจจะเดียวที่เป็นนิจจัง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะสัจจะทั้ง 3 นั้น ยังมีสังขารลักษณะ และอะไรก็ตามที่ยังมีสังขารลักษณะย่อมเป็นอนิจจัง สิ่งใดก็ตามที่เป็นอนิจจังย่อมมีธรรมชาติมายา ทุกสิ่งที่มีธรรมชาติมายาย่อมไม่เป็นจริง เป็นอนิจจัง และเป็นสรณะมิได้ ดังนั้นอริยสัจแห่งทุกข์ สมุทัย และมรรค นับว่าไม่จริงเป็นอนิจจัง และเป็นสรณะมิได้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ในอริยสัจ 4 นี้ มีเพียงอริยสัจเดียวคือนิโรธ ซึ่งตัดขาดจากอาณาจักรแห่งสังขารลักษณะสิ่งใดที่ตัดขาดจากสังขารลักษณะย่อมเป็นนิจจัง สิ่งใดที่เป็นนิจจังย่อมไม่มีธรรมชาติมายา และสิ่งใดที่ปราศจากธรรมชาติมายาย่อมเป็นจริงเป็นนิจจัง และเป็นสรณะ ดังนั้น อริยสัจคือ นิโรธ จึงมีความจริงเป็นนิจจัง และเป็นสรณะ
11 - 12 เอกสรณะ
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นิโรธอยู่เหนือการสัมผัสของสรรพสัตว์ทั้งหลาย มิอาจหยั่งได้ และทั้งมิได้อยู่ในขอบข่ายของความรู้ของพระสาวก หรือพระปัจเจกพุทธะ เปรียบดังคนตาบอดที่ไม่อาจเห็นรูปหรือทารกอายุ 7 วันที่ไม่เคยเห็นดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกัน นิโรธ มิใช่อริยสัจที่สัมผัสได้โดยปุถุชนผู้ยังไม่เจริญ ทั้งมิใช่ความรู้ในขอบข่ายของพระสาวกหรือพระปัจเจกพุทธะ พระผู้มีพระภาคเจ้า 'ผัสสะของปุถุชนผู้ยังไม่เจริญ' เป็นศัพท์ที่ใช้ในทัศนะสุดขั้ว 2 ประการ 'ความรู้ของพระสาวกหรือพระปัจเจกพุทธะ' เป็นศัพท์ที่ใช้ในความหมายของความรู้บริสุทธิ์ 'ทัศนะสุดขั้ว 2 ประการ' เป็นศัพท์ที่ใช้ในการให้เหตุผลของปุถุชนผู้ยังไม่เจริญ ยังมีตัวตนมีที่ยึดมั่นอยู่ในเบญขันธ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า 'ทัศนะสุดขั้ว' มี 2 ประการนี้คืออะไร คือ อุจเฉททิฏฐิ กับ สัสสตทิฏฐิ ยังมีการมองเห็นว่า 'สังขารนั้นเป็นอนิจจัง' นี่อมเป็นอุจเฉททิฏฐิ และมิใช่ทัศนะที่ถูกต้อง ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งถือว่า 'พระนิพพานเป็นนิจจัง' นี่เป็นสัสสตทิฏฐิ ย่อมมิใช่ทัศนะที่ถูกต้องเช่นกัน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า หากผู้ใดเห็นว่าร่างกาย ประสาทสัมผัส ความรู้สึก และความจำได้หมายรู้ เสื่อมลงในชีวิตปัจจุบัน และไม่สามารถเข้าใจและไม่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ทัศนะของเขาด้วยเหตุผลนั้นย่อมเป็นทัศนะที่สับสน เป็นอุจเฉททิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อบุคคลมีความสับสนในเรื่องวิญญาณ และไม่เข้าใจการสิ้นสุดชั่วขณะของวิญญาณ ทัศนะของเขาด้วยเหตุผลเช่นนั้น เป็นทัศนะแบบสัสสตทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้า ในลักษณะนั้น ทัศนะที่ใช้เหตุผลประกาศว่า ควรจะเป็นเช่นนั้น เขาก็ยึดมั่นในอุจเฉททิฏฐิบ้าง หรือยึดมั่นในสัสสตทิฏฐิบ้าง เพราะทัศนะของเขาไปไกลกว่าความหมาย หรือไม่ถึงความหมาย หรือเป็นทัศนะที่มีลักษณะผสมปะปนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า สรรสัตว์ย่อมหลงไปในเบญจขันธ์ มีความคิดว่า อนิจจังเป็นนิจจัง ความทุกข์เป็นสุขอนัตตาเป็นอัตตา ความไม่บริสุทธิ์เป็นความบริสุทธิ์
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอบเขตของความรู้อันเป็นธรรมกายของพระตถาคตนั้น ไม่มีใครเห็นมาก่อน แม้โดยความบริสุทธิ์ของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะ เมื่อสรรพสัตว์มีศรัทธาในพระตถาคต และสรรพสัตว์เหล่านั้นเข้าถึงพระองค์ด้วยความมั่นคง ความสุข อัตตา ความบริสุทธิ์ และไม่หลงผิดไป สรรพสัตว์เหล่านั้นมีทัศนะที่ถูกต้องทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะธรรมกายของพระตถาคตมีความสมบูรณ์ในความเป็นนิจจัง มีความสมบูรณ์อยู่ในความสุข มีความสมบูรณ์ในอัตตา และสมบูรณ์ในความบริสุทธิ์ เมื่อใดก็ตามที่สรรพสัตว์เห็นธรรมกายของพระตถาคตในลักษณะนี้ เรียกได้ว่าเขาเห็นถูกต้อง ผู้ใดเห็นถูกต้องนับว่าเป็นพุทธบุตร เกิดจากพระหฤทัย เกิดจากพระโอษฐ์ เกิดจากธรรมะ ผู้ปฏิบัตินี้เป็นเยี่ยงปรากฏของพระธรรมและประดุจเป็นทายาทแห่งพระธรรม
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า 'ความรู้บริสุทธิ์" คือความรู้สมบูรณ์ของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะ จึงนับเป็นความรู้บริสุทธิ์ ในเมื่ออริยสัจคือนิโรธนั้น มิได้อยู่ภายในขอบข่ายหรือเป็นวัตถุแห่งความรู้บริสุทธิ์ อริยสัจคือนิโรธนั้นมิใช่ขอบข่าย มิใช่วัตถุของผู้ที่มีความรู้เพียงอาศัย 4 (*) ด้วยเหตุใดหรือ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่เริ่มต้นในยานทั้งสามจะได้ไม่หลง และเข้าใจในความหมายที่แท้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงอธิบายในอาศัย 4 แล้ว อาศัย 4 นี้เป็นโลกียะ พระผู้มีพระภาคเจ้าสรณะเดียว คืออริยสัจนิโรธ เป็นเลิศในสรณะทั้งหลายในโลกกุตระ นั่น คืออาศัยที่แท้จริง นั่นคือสรณะ"
* สิ่งที่บุคคลพึงพัฒนา โดยยึดในอรรถะและมิใช่พยัญชนะ ยึดในธรรมะมิใช่ตัวบุคคล ยึดในความรู้ (ญาณ) มากกว่าสัมผัส ยึดในคัมภีร์อันมีความหมายเป็นที่สุดมหากกว่าความหมายรอง
13 ความบริสุทธิ์ภายในแห่งจิต
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สังสารนั้นขึ้นอยู่กับตถาคตครรภ์ในความหมายที่เกี่ยวเนื่องในตถาคตครรภ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอธิบายว่า 'มันไม่มีขอบเขตในอดีต' เพราะมีตถาคตครรภ์ จึงเป็นปัจจัยให้พูดถึงเรื่องสังสาร พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยสังสารนี้ไม่ทันที่อายตนะแห่งสัมผัสจะผ่านไป ตถาคตครรภ์ก็ยึดถือในสัมผัสนั้น และนั่นเองคือสังสาร พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมชาติทั้งสองคือการ 'ดับไป' และ 'การเกิด' เป็นศัพท์ที่สมมุติเพื่อใช้กับตถาคตครรภ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า คำว่า 'ดับไป' และ 'เกิดขึ้น' เป็นศัพท์สมมุติที่ใช้ในโลก 'ดับไป' คือการดับของสัมผัส 'เกิดขึ้น' คือการได้สัมผัสอีก แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตครรภ์นั้นไม่มีเกิด ไม่มีตาย ไม่มีการดับสูญ เพื่อมาเกิดอีก ตถาคตครรภ์ไม่มีสังขารลักษณะ(คือไม่ประกอบขึ้น) ตถาคตครรภ์เป็นนิจจังมั่นคงเป็นนิรันดร์ ดังนั้นตถาคตครรภ์จึงเป็นผู้สนับสนุนเป็นผู้รักษา เป็นรากฐานแห่งสังขาร(แห่งธรรมชาติพุทธะ) อันไม่ปกปิดเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง และยิ่งไปกว่านั้น เป็นผู้สนับสนุน เป็นผู้รักษา เป็นรากฐานแห่งสังขารลักษณะภายนอกที่ปกปิด และรู้ว่ายังไม่เป็นอิสระ
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หากไม่มีตถาคตครรภ์ แล้วย่อมไม่มีความต้องการที่จะพ้นทุกข์ ทั้งไม่มีความปรารถนา ความมุ่งมั่น และความศรัทธาในพระนิพพาน ด้วยเหตุไดหรือ ไม่ว่าอายตนะทั้ง 6 จะเป็นอย่างไร ไม่ว่าผัสสะอื่นจะเป็นอย่างไร ธรรมชาติทั้ง 7(*) มิได้คงอยู่เป็นไปเพียงชั่วขณะและไม่รับรู้ทุกข์ ธรรมชาติเหล่านี้จึงไม่สอดคล้องกับการหลีกหนีทุกข์ และไม่แสวงหาไม่ปรารถนาพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตครรภ์มีปรมัตถ์สารรัตถะอันปราศจากจุดกำเนิดและปราศจากจุดจบ มีธรรมชาติที่ไม่มีเกิดไม่มีตาย และรับรู้ในทุกข์ ดังนั้น ตถาคตครรภ์จึงสมควรที่จะหลีกหนีทุกข์ และแสวงหานิพพาน
* คืออายตนะ 6 ได้แก่ วิญญาณที่เกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิญญาณที่ 7 คือวิญญาณที่ควบคุมการทำงานของมโนวิญญาณ และเป็นตัวรับรู้ธรรมะ ทางฝ่ายมหาสังฆิกะ เรียกวิญญาณที่ 7 นี้ว่า มูลวิญญาณ
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตครรภ์ทั้งมิใช่อัตตา หรือสรรสัตว์ มิใช่วิญญาณ มิใช่บุคคล ตถาคตครรภ์มิได้อยู่ในขอบข่ายของสรรพสัตว์ผู้ตกอยู่ในข่ายความเชื่อเรื่องบุคคลก็ดี หรือผู้ที่ยึดอยู่ในทัศนะหนึ่งก็ดี หรือผู้ที่มีความคิดยึดติดอยู่ในสุญญตาก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้า ตถาคตครรภ์นี้ เป็นพีชะแห่งธรรมธาตุอันประเสริฐ เป็นพีชะแห่งธรรมกาย เป็นพีชะแห่งโลกุตรธรรม เป็นพีชะแห่งธรรมะอันบริสุทธิ์ภายใน
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความบริสุทธิ์ภายในแห่งตถาคตครรภ์แปดเปื้อนด้วยกิเลสจรอยู่ในขอบข่ายของพระตถาคต ผู้ทรงเป็นนายอันมิอาจหยั่งได้ ด้วยเหตุใดหรือ วิญญาณบริสุทธิ์ เป็นเพียงชั่วขณะ ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส และวิญญาณที่ไม่บริสุทธิ์ ก็เป็นเพียงชั่วขณะ ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลสเช่นกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อกิเลสมิอาจแปดเปื้อนวิญญาณนั้นได้ ทั้งวิญญาณนั้นก็มิได้สัมผัสกิเลส ในลักษณะนี้วิญญาณซึ่งมีธรรมชาติที่ไม่ติดอยู่จะสัมผัสกิเลสได้อย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่จริงแล้วมีทั้งกิเลสและวิญญาณที่แปดเปื้อน ดังนั้น ความหมายของคำว่ากิเลสที่แปดเปื้อนวิญญาณบริสุทธิ์ภายใน จึงเป็นเรื่องที่ยากแก่การเข้าใจ พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นที่ทรงมีพระเนตรและพระปัญญาหยั่งรู้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นรากฐานแห่งหลักธรรมทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้รู้ทั่ว และทรงเป็นสรณะ"
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงสดับพระนางศรีมาลาตรัสอธิบายเรื่องยากแก่ความเข้าใจ ทรงชื่นชมและมีพุทธดำรัสว่า
เทวี เป็นเช่นนั้น ความหมายแห่งวิญญาณบริสุทธิ์ภายใน ในสภาพที่ยังข้องกิเลสนั้นเป็นเรื่องยากแก่การเข้าใจ หลักธรรมทั้งสองนี้ยากแก่การเข้าใจ วิญญาณที่บริสุทธิ์ภายในก็ยากแก่การเข้าใจ และความแปดเปื้อนของวิญญาณเป็นเรื่องยากแก่การเข้าใจ เทวี พระนางทรงเป็นเช่นเดียวกับพระโพธิสัตต์ ผู้เข้าถึงคำสอนอันยิ่งใหญ่(*) สามารถรังฟังหลักธรรมทั้งสอง เทวี พวกที่เหลือคือพระสาวก ยอมรับหลักธรรมทั้งสองเพียงเพราะศรัทธาในพระตถาคตเจ้า"
*หมายถึงต้องเป็นโพธิสัตต์ในภูมิที่ 8 ขึ้นไป เป็นโพธิสัตต์ที่ไม่หวนคืนแล้ว
บทที่ 4 การเข้าสู่เอกยานมรรค
14 พุทธบุตรแห่งพระตถาคตเจ้า
"เทวี ไม่ว่าสาวกคนใดของพระตถาคตผู้มีศรัทธา และตั่งมั่นอยู่ในศรัทธา และด้วยการตั้งมั่นอยู่ในศรัทธานั้น มีความรู้ในขอบข่ายแห่งธรรมะ ย่อมเข้าถึงฐานะนี้ เทวี 'ความรู้ในขอบข่ายแห่งธรรมนั้น' เป็น ก. ภาพตัวแทนของประสาทสัมผัสในจิต ข. เป็นภาพการเจริญของกรรม ค. เป็นภาพกาหลับของพระอรหันต์ ง. เป็นภาพความปีติและและความสุขในฌานของผู้ที่ควบคุมจิตดีแล้ว จ.เป็นภาพอิทธิฤทธิ์ของพระอริยะ อันเป็นของพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธะ และพระโพธิสัตต์ผู้มีวศิตา เทวี เมื่อมีอำนาจในการเห็นภาพทั้ง 5 นี้แล้ว เขาเหล่านั้น แม้ในขณะนี้ หรือเมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว ในอนาคตย่อมเป็นสาวกผู้มีศรัทธา ตั้งมั่นอยู่ในศรัทธา ยึดมั่นในประทีปแห่งศรัทธา มีความรู้ในขอบข่ายแห่งธรรมะ ที่ทำให้เขาเข้าถึงความบริสุทธิ์ภายใน และเข้าใจในความแปดเปื้อนแห่งวิญญาณ เทวี ด้วยความแน่วแน่ของพวกเขาย่อมเป็นปัจจัยให้เขาอยู่ในมหายานมรรค เมื่อเป็นเช่นนี้ ด้วยศรัทธาในพระตถาคต เขาย่อมไม่ละวางในคำสอนอันสุขุม เขาย่อมยังประโยชน์ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย"
15 สีหนาทแห่งพระนางศรีมาลาเทวี
พระนางศรีมาลากราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ "ขออำนาจแห่งพระตถาคตเจ้า ให้ข้าพระองค์มีความสามารถในการเทศนาโน้มใจเพื่อสามารถอธิบายความหมายอันปราศจากมลทิน" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "เทวี พระนางจงมีความสามารถในการเทศนาเถิด"
พระนางศรีมาลาเทวีจึงกราบทูลพระพุทธองค์ว่า
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า กุลบุตรกุลธิดาแห่งตระกูลนั้นมี 3 ประเภทในการรักษาพระธรรมโดยไร้มลทิน และไม่ให้เสื่อมเสีย ก่อกำเนิดบุญกุศลและเข้าสู่มหายานมรรค ทั้ง3 ประเภทนี้มีใครบ้าง พระผู้มีพระภาคเจ้า ก. กุลบุตรกุลธิดาแห่งตระกูล ผู้มีความรู้ในพระธรรมโดยการพินิจพิจารณา ข. กุลบุตรกุลธิดาแห่งตระกูล ผู้มีความรู้ในขอบข่ายของธรรมะ ค. กุลบุตรกุลธิดาแห่งตระกูลผู้ถดถอยจาการเข้าถึงความรู้ในหลักธรรมอันประเสริฐ โดยคิดว่า 'ฉันไม่เข้าใจดอกความหมายอันลึกซึ้งนี้จะเข้าใจได้โดยพระตถาคตเจ้าเท่านั้น' และด้วยความยึดมั่นในพระผู้มีพระภาคเจ้าเช่นนี้ จนพระพุทธองค์ปรากฏในจิตบุคคลเหล่านี้ เป็นบุคคล 3 จำพวกของกุลบุตรกุลธิดาแห่งตระกูล
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังมีสรรพสัตว์ที่แตกต่างจากกุลบุตรกุลธิดา 3 จำพวกนี้ ที่หมกมุ่นอย่างจริงจังกันพระธรรมอันประเสริฐ แต่ยึดติดอยู่กับความคิดเห็นผิด ตั้งตัวเป็นครูและพูดมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าขอให้ข้าพระองค์สามารถเอาชนะผู้ที่หันหลังให้กับหลักธรรมอันประเสริฐ และผู้ที่มีรากเหง้าอันชั่วร้ายของเดียรถีย์ ขอให้ข้าพระองค์เอาชนะรากเหง้าอันชั่วร้ายนี้โดยบารมีแห่งเทวดา มนุษย์ และอมนุษย์"
เมื่อพระนางศรีมาลาเทวีได้กราบทูลขอพระราชทานเช่นนี้ ข้าราชบริพารของพระนางพากันก้มลงกราบแทบเบื้องพระบาทบงกชสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสแก่พระนางศรีมาลาเทวีว่า "ประเสริฐแท้ ประเสริฐแท้ คำอธิบายของพระนางในวิธีการที่จะคุ้มครองตนเองให้อยู่ในหลักธรรม และคำอธิบายของพระนางในการเอาชนะศัตรูแห่งหลักธรรมอันประเสริฐ เหมาะกับกาลที่เดียว เทวี การถวายสักการะต่อพระพุทธเจ้าจำนวนแสนพระองค์ยังอัศจรรย์น้อยกว่าคำอธิบายของพระนางในความหมายนั้น"
จากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่ฉัพพรรณรังสีต้องข้าราชบริพารทุกคน และส่องสว่างสูงขึ้นไปเทียมต้นตาล 7 ต้น แล้วทรงเหาะไปด้วยปาฏิหาริย์ยังทิศทางกรุงสาวัตถี ขณะนั้น พระนางศรีมาลาเทวีพร้อมข้าราชบริพารพากันประณมหัตถ์น้อมนมัสการตามทิศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป เมื่อส่งเสด็จจนสุดสายตาแล้ว พระนางศรีมาลามีพระพักตร์เปี่ยมด้วยความปีติยินดี เช่นเดียวกับเหล่าข้าราชบริพาร ต่างแซ่ซ้องสาธุการพระพุทธบารมี แล้วคืนสู่กรุงอโยธยา
บทส่งท้าย
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลังถึงสวนเชตวัน ทรงมีพระพุทธดำรัสให้พระอานนท์เถระเข้าเฝ้า และทรงระลึกถึงทิเวนทราสักระ(ท้าวสักกะเทวราช) ในขณะนั้น ทิเวนทราศักระก็ปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์ พรั่งพร้อมด้วยเทพยดาบริวาร เมื่อนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้มีพุทธาธิบายพระสูตรนี้ แก่ทิเวนทราศักระและพระอานนท์เถระ
"เกาศิกะ จงรักษาพระสูตรนี้ไว้ เกาศิกะ จงอธิบายพระสูตรนี้แก่เทวดาทั้ง 33 องค์ อานนท์ เธอจงรักษาพระสูตรนี้ไว้ และอธิบายพระสตูรนี้แก่พุทธบริษัททั้ง 4 ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา"
จากนั้น ทิเวนทราศักระได้กราบทูลสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระสุคตเจ้า พระสูตรนี้จักมีนามว่าอะไร และข้าพระองค์จะรักษาไว้ได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า" พระโลกนาถตรัสตอบว่า "เกาศิกะ พระสูตรนี้ มีกุศลอนันต์ หากพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะ มิอาจหยั่งรู้ มิอาจเข้าใจได้ แล้วสรรพสัตว์อื่นๆเล่า จะมิยิ่งไม่เข้าใจหรือ เกาศิกะ ในลักษณะเช่นนั้น พระสูตรนี้ละเอียดอ่อนและเป็นปัจจัยแห่งมหากุศล ดังนั้น ตถาคตจะให้นามพระสูตรนี้เพื่อแสดงความหมายถึงบารมีแห่งพระสูตร จงตั้งใจฟังและจดจำใส่ใจให้ดี" ทิเวนทราศักระและพระอานนท์เถระพร้อมกันกราบทูลพระพุทธองค์ว่า "ประเสริฐยิ่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์จักตั้งใจฟังพระพุทธบรรหาร" สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพุทธดำรัสว่า "ขอให้รักษาพระสตูรนี้ไว้โดยถือว่าเป็นคำสรรเสริญบารมีอันเที่ยงแท้ และกว้างใหญ่ไพศาลของพระตถาคตเจ้า
จงรักษาไว้ในฐานะที่เป็น 'มหาปณิธาน'
รักษาไว้ในฐานะที่เป็นความปรารถนาอันยิ่งใหญ่อันเป็นที่รวมแห่งความปรารถนาทั้งปวง
รักษาไว้ในฐานะที่เป็นคำสอนของหลักธรรมอันประเสริฐมิอาจหยั่งได้
รักษาไว้ในฐานะที่เป็นคำสอนเพื่อเอกยานมรรค
รักษาไว้ในฐานะที่เป็นอริยสัจอันหาขอบเขตมิได้
รักษาไว้ในฐานะเป็นคำสอนเรื่องตถาคตครรภ์
รักษาไว้ในฐานะที่เป็นคำสอนเรื่องธรรมกาย
รักษาไว้ในฐานะที่เป็นคำสอนลับในความหมายของสุญญตา
รักษาไว้ในฐานะที่เป็นคำสอนเอกสัจ
รักษาไว้ในฐานะที่เป็นคำสอนเรื่องเอกสรณะอันเป็นนิจจัง มั่นคง สงบ และนิรันดร์
รักษาไว้ในฐานะที่เป็นคำสอนเพื่อการก้าวสู่ขั้นสูงขึ้นไป
รักษาไว้ในฐานะที่เป็นคำสอนแก่พุทธบุตรที่แท้แห่งพระตถาคต
เกาศิกะ รักษาไว้ในฐานะที่เป็นศรีมาลาเทวีสีหนาท รักษาคำอธิบายทั้งหลายที่ปรากฏในพระสูตรนี้ อันจะช่วยขจัดความสงสัยตัดสินปัญหา ทำให้ความหมายสุดท้ายชัดเจน และเข้าสู่เอกยานมรรค เกาศิกะ ตถาคตขอมอบพระสูตรอันสอนถึงศรีมาลาเทวีสีหนาทนี้ไว้ในหัตถ์ของท่าน ตราบเท่าที่หลักธรรมอันประเสริฐยังวัฒนาการอยู่ในโลก ขอให้พระองค์ทรงท่องบ่นและสอนโลกทั้งทศทิศ"
ทิเวนทราศักระทรงน้อมรับว่า "ประเสริฐแล้วพระพุทธเจ้าข้า" เมื่อได้น้อมรับพระสูตรนี้ต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและท่องจำจนขึ้นใจ ทิเวนทราศักระ พระอานนท์เถระเจ้า และบริษัทในธรรมสภานั้น ทั้งเทวดา มนุษย์ อมนุษย์ พร้อมคนธรรพ์ พากันโมทนาสาธุการ ต่อพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า
จบ ศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร เพียงนี้