พระพุทธศาสนา

     พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวัชรยานพุทธประวัติโดยย่อพระพุทธเจ้าประสูติในอินเดียตอนเหนือ (ชายแดนเนปาลในปัจจุบัน) เมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว พระองค์เป็นโอรสกษัตริย์สุโทธนะ มีพระนามว่าสิทธัตถะ พระราชบิดาทรงเตรียมโอรสไว้เพื่อสืบทอดราชสมบัติของพระองค์ ลักษณะในการประสูติและชีวิตในวัยเด็กนั้นมหัศจรรย์ ไม่ธรรมดา และเป็นที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นแล้วว่าเจ้าชายพระองค์นี้ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ธรรมดาชีวิตในวัยเด็ก และวัยหนุ่ม อยู่กับความสมบูรณ์พูนสุขปราศจากความกังวลใดๆทั้งสิ้น กอบกับพระองค์ทรงมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มากด้วยความรู้ความสามารถชำนาญในศิลปะวิทยาการต่างๆ สมกับการเป็นมหาจักรพรรดิในอนาคต แต่สิ่งเหล่านั้นไม่อาจปิดบังความสงสัยในความเป็นแก่นสารของชีวิต ปกติในโลก "ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข" พระองค์จึงได้หนีออกจากพระราชวังเพื่อไปศึกษาหาหนทาง ใช้ชีวิตที่มีค่า มีความหมาย พระองค์ไปศึกษา ปฏิบัติธรรมกับนักปราชญ์ผู้ทรงความรู้ชั้นยอดในยุคนั้น ไม่ว่าเรื่องการทำสมาธิ หรือปรัชญาต่างๆ ด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะหาแก่นแท้ของชีวิต ด้วยสติปัญญาของพระองค์ พระองค์สามารถเรียนรู้ทุกอย่างจากพระอาจารย์จนหมดสิ้นและแตกฉาน แต่ก็ยังไม่ถึงเป้าหมายที่พระองค์พอพระทัย เพราะรู้สึกว่ายังขาดอะไรอยู่ บ้าง ถึงแม้ว่าพระองค์จะปฏิบัติฝึกฝนสู่ปัญญาที่สูงขึ้นด้วยความทุกข์ยากลำบากอย่างที่สุดต่างๆ นาๆ พระองค์ก็พบว่าวิธีการเหล่านั้นไม่สามารถพาพระองค์หลุดจาก "ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข"  ท้ายที่สุดพระองค์ก็ตั้งใจที่จะฝึกฝนปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความพยายามอย่างสูงสุดพระองค์ก็สามารถบรรลุรู้แจ้ง ณ พุทธคยาสิ่งซึ่งพระองค์ท่านได้ค้นพบรู้แจ้งมีความลึกซึ้งยิ่งใหญ่มากจน พระองค์ท่านลังเลใจที่จะสอนคนอื่นต่อ ด้วยกลัวว่าจะไม่มีคนเข้าใจได้เลย แต่ด้วยพระเมตตา อันยิ่งใหญ่ พระองค์ก็ได้ทดลองเริ่มสอน ในเวลาอันรวดเร็วก็สามารถดึงดูดผู้สนใจเข้าเป็นลูกศิษย์ติดตามพระองค์เพื่อเรียนรู้หนทางแห่งการรู้แจ้งเป็นจำนวนมากและก็มีจำนวนมากเช่นกันที่ปฏิบัติจนรู้แจ้งบรรลุอรหันต์ผล เนื่องด้วยมีผู้คนจำนวนมากที่เข้ามาเป็นศิษย์เพื่อรับคำสอนและวิธีปฏิบัติ จากคนจำนวนมากและมาจากสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน สติปัญญา ภูมิหลัง ที่ต่างกันทำให้พระองค์ทรงสอนแต่ละกลุ่มแต่ละบุคคลต่างกันไปตามสภาพ ภูมิปัญญาของกลุ่มคนหรือบุคคลนั้นๆ โดยให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาและความตั้งใจ

  

 

พระพุทธศาสนา

     พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวัชรยานพุทธประวัติโดยย่อพระพุทธเจ้าประสูติในอินเดียตอนเหนือ (ชายแดนเนปาลในปัจจุบัน) เมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว พระองค์เป็นโอรสกษัตริย์สุโทธนะ มีพระนามว่าสิทธัตถะ พระราชบิดาทรงเตรียมโอรสไว้เพื่อสืบทอดราชสมบัติของพระองค์ ลักษณะในการประสูติและชีวิตในวัยเด็กนั้นมหัศจรรย์ ไม่ธรรมดา และเป็นที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นแล้วว่าเจ้าชายพระองค์นี้ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ธรรมดาชีวิตในวัยเด็ก และวัยหนุ่ม อยู่กับความสมบูรณ์พูนสุขปราศจากความกังวลใดๆทั้งสิ้น กอบกับพระองค์ทรงมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มากด้วยความรู้ความสามารถชำนาญในศิลปะวิทยาการต่างๆ สมกับการเป็นมหาจักรพรรดิในอนาคต แต่สิ่งเหล่านั้นไม่อาจปิดบังความสงสัยในความเป็นแก่นสารของชีวิต ปกติในโลก "ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข" พระองค์จึงได้หนีออกจากพระราชวังเพื่อไปศึกษาหาหนทาง ใช้ชีวิตที่มีค่า มีความหมาย พระองค์ไปศึกษา ปฏิบัติธรรมกับนักปราชญ์ผู้ทรงความรู้ชั้นยอดในยุคนั้น ไม่ว่าเรื่องการทำสมาธิ หรือปรัชญาต่างๆ ด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะหาแก่นแท้ของชีวิต ด้วยสติปัญญาของพระองค์ พระองค์สามารถเรียนรู้ทุกอย่างจากพระอาจารย์จนหมดสิ้นและแตกฉาน แต่ก็ยังไม่ถึงเป้าหมายที่พระองค์พอพระทัย เพราะรู้สึกว่ายังขาดอะไรอยู่ บ้าง ถึงแม้ว่าพระองค์จะปฏิบัติฝึกฝนสู่ปัญญาที่สูงขึ้นด้วยความทุกข์ยากลำบากอย่างที่สุดต่างๆ นาๆ พระองค์ก็พบว่าวิธีการเหล่านั้นไม่สามารถพาพระองค์หลุดจาก "ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข"  ท้ายที่สุดพระองค์ก็ตั้งใจที่จะฝึกฝนปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความพยายามอย่างสูงสุดพระองค์ก็สามารถบรรลุรู้แจ้ง ณ พุทธคยาสิ่งซึ่งพระองค์ท่านได้ค้นพบรู้แจ้งมีความลึกซึ้งยิ่งใหญ่มากจน พระองค์ท่านลังเลใจที่จะสอนคนอื่นต่อ ด้วยกลัวว่าจะไม่มีคนเข้าใจได้เลย แต่ด้วยพระเมตตา อันยิ่งใหญ่ พระองค์ก็ได้ทดลองเริ่มสอน ในเวลาอันรวดเร็วก็สามารถดึงดูดผู้สนใจเข้าเป็นลูกศิษย์ติดตามพระองค์เพื่อเรียนรู้หนทางแห่งการรู้แจ้งเป็นจำนวนมากและก็มีจำนวนมากเช่นกันที่ปฏิบัติจนรู้แจ้งบรรลุอรหันต์ผล เนื่องด้วยมีผู้คนจำนวนมากที่เข้ามาเป็นศิษย์เพื่อรับคำสอนและวิธีปฏิบัติ จากคนจำนวนมากและมาจากสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน สติปัญญา ภูมิหลัง ที่ต่างกันทำให้พระองค์ทรงสอนแต่ละกลุ่มแต่ละบุคคลต่างกันไปตามสภาพ ภูมิปัญญาของกลุ่มคนหรือบุคคลนั้นๆ โดยให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาและความตั้งใจ

  

หมวดคำสอน

           คำสอนของพระพุทธเจ้าในช่วงที่พระ องค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ๆ     

1 กลุ่มคำสอนซึ่งถูกจารึกไปเป็นภาษาบาลี อันเป็นพื้นฐานสำคัญของ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งเน้น หนักทาง ด้านวินัย     

2 กลุ่มคำสอนของฝ่ายมหายาน ซึ่งถูกจารึกเป็นภาษาสันสกฤต เน้นหนักใน ความเมตตา และห่วงใยผู้ อื่น     

3 กลุ่มคำสอนตันตระ อันเป็นพื้นฐานสำคัญของวัชรยานหรือมนตรยานหรือตันตรยาน ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ มีคุณสมบัติพิเศษและสามารถนำไปสู่การรู้แจ้งในเวลาอันสั้น คำสอนในกลุ่มวัชรยานพระพุทธเจ้าได้สอนไว้แก่กลุ่มศิษย์ในแวดวงอันจำกัด แต่พระองค์ท่านก็ได้มีพุทธทำนายว่า คำสอนวัชรยานจะมีการเผยแพร่ในอนาคตกาล ซึ่งจะมีบุคคลรู้แจ้งบรรลุเกิดขึ้นในกาลข้างหน้า สั่งสอนอบรม ฉะนั้นคำสอนวัชรยานจึงไม่ได้มีความเป็นพุทธะน้อยกว่าคำสอนอีก 2 กลุ่ม แม้จะ แพร่หลายไม่มากนักในสมัยนั้น     

          หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพานไปแล้ว ความแตกต่างในการตีความคำสอนและคิดเห็นซึ่งเกิดจากการรับคำสอนซึ่งต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยตามกลุ่มตามสภาพ จึงเป็นที่มาของความขัดแย้งในปรัชญาแนวความคิด ความขัดแย้งเริ่มมากขึ้นตามเวลาจนทำให้มีนิกายต่างๆเกิดใหม่ขึ้นมา มีแนวทางการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ตัวอย่าง เช่นในฝ่ายเถรวาทในยุคนั้นแบ่งเป็น18 นิกาย มหายานก็มีการแบ่งเป็นนิกายต่างๆ แบ่งเป็น3สายใหญ่ และเมื่อมหายานเข้าสู่ประเทศจีนก็แบ่งเป็นนิกายต่างๆมากมาย ในแต่ละนิกายก็มีข้อแตกต่างในเชิงปรัชญา ซึ่งในวัชรยานก็เช่นกัน แนวปรัชญาและแนวปฏิบัติหลายอย่าง เริ่มต้นเกิดขึ้นจากบุคคลเพียงคนเดียว เท่านั้น

     ในยุคหลังต่อมาคำสอนที่แตกต่างกันเหล่านี้ได้มีการเผยแพร่ออกไปทั่วอินเดียและต่างประเทศที่อิทธิพลของพุทธศาสนาแพร่ไปถึงเช่นอาเซียกลาง อาเซียตะวันออก อาเซียใต้ ไปไกลสุดถึงอินโดนีเซียบางนิกายก็สูญหายไปไม่เหลือ บางนิกายก็เข้ารวมกับนิกายอื่นเกิดเป็นนิกาย ใหม่ขึ้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่13การมาเยือนของศาสนาอิสลามและการเปลี่ยนแปลงในเชิงการเมืองในคาบสมุทรอินเดียทำให้พุทธธรรมมีอันต้องหายไปจากประเทศผู้ให้กำเนิด กลับกลายเป็น ประเทศอื่นๆที่ได้รับคำสอนเก็บรักษาไว้ เช่นเถรวาทเก็บรักษาไว้ในลังกา พม่า ไทย กัมพูชา มหายานเก็บรักษาใน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีประเทศในกลุ่มอินโดจีน วัชรยานส่วนใหญ่เก็บไว้ในประเทศทิเบตและแถบหิมาลัย ประเทศทิเบตถือว่าเป็นโชคดี 2 ชั้น ทิเบตถือว่าเป็นหนึ่ง ในไม่กี่ประประเทศที่มีการปฏิบัติคำสอนวัชรยานอยู่อย่างสมบูรณ์แบบและทิเบตเป็นประเทศเดียวที่มีการเก็บรักษาคำสอนทั้งหมดอย่างสมบูรณ์(ทั้งหมดคือทั้งเถรวาท มหายานและวัชรยาน)

  จากช่วงศตวรรษที่ 8 เป็นต้นมาคำสอนของพุทธศาสนาได้มีการเผยแพร่และถ่ายทอดจาก อาจารย์สู่ศิษย์ในนิกายต่างๆ ผู้ปฏิบัติตามคำสอนเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นผู้มีความรู้แจ้งในเชิงวิชาการปรัชญา ยังเป็นผู้ปฏิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริงสามารถปฏิบัติตามคำสอนอย่างถูกต้องและยังสามารถเผยแพร่คำสอนออกไปได้อย่างไม่ผิดพลาดนิกายใหญ่ที่เกิดขึ้น อาทิ ณิงมาปะ กากจูปะ  สักเจียปะและเกลุกปะ พุทธศาสนาในทิเบตเริ่มต้นจากในศตวรรษที่ 8 ณิงมาปะ โดยอาจารย์ จากอินเดียเช่นวิมลมิตร คุรุปัทมะสมภพหรือชาวทิเบตเรียกว่ากูรูรินโปเช่ได้ถ่ายทอดสู่อาจารย์ชาวทิเบตเช่น ลองเชนปะ จิกเมลิงปะ จัมยังเฉนเซวังโป ฯลฯ เป็นต้น สามนิกายต่อมาได้เผยแพร่ เข้าสู่ทิเบตช่วงหลังศตวรรษที่ 10 ซึ่งก็เช่นเดียวกับศาสนาพุทธในที่ต่างๆซึ่งมีการปรับตัวให้เข้า กับวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละประเทศ 4 นิกายในทิเบตก็เหมือนกัน มีการปรับตัวเข้ากับสภาพประวัติศาสตร์ ภูมิประเทศและการเมือง

    คำสอนในทิเบตที่เก็บรักษาไว้ถูกแบ่งออกเป็น2 กลุ่ม คือ กาจูร ซึ่งมีอยู่มากกว่า 100 ธรรมบทซึ่งเป็นคำสอนดั้งเดิมจากพุทธกาล แบ่งเป็นพระวินัย พระสูตร(เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิ)พระอภิธรรม(เกี่ยวข้องกับปรัชญา) คำสอนอีกกลุ่ม คือคำสอนจากคำวิจารณ์หรือคำอธิบายจากอาจารย์ในยุคต่างๆ กลุ่มนี้เก็บอยู่ในกลุ่มของ เตนจูร มีทั้งหมด 200 ธรรมบท กาจูรกับเตนจูร แต่เดิมแปลจากภาษาสันสกฤตเกือบทั้งหมด ขณะนี้ถูกเก็บรักษาไว้เกือบสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีคำสอนของเถรวาท มหายาน และวัชรยานซึ่งพระอาจารย์ชาวทิเบตได้แปล อีกทั้งยังได้เขียนอรรถกถาฎีกาอีกมากมาย คำสอนที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีจำนวนมากที่สามารถพบในพุทธศาสนาแบบทิเบตสามารถสรุปอยู่ในอริยะสัจจ์ที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้หลังจากที่พระพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้ไม่นาน ข้อแรกของอริยะสัจ สี่ พูดถึงความเป็นอยู่ที่มีอยู่ในโลกไม่สามารถหลุดพ้นจาก ความทุกข์ ไม่สามารถที่จะมีความสุขอย่างถาวรได้ความสุขทุกอย่างที่มีอยู่ก็อยู่ชั่วขณะเท่านั้น สุดท้ายก็ต้องหลีกทางให้กับความทุกข์ที่ต้องย่างเข้ามาเหตุผลอธิบายอยู่ในข้อที่2ของอริยะสัจ สี่ ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า การกระทำทุกอย่าง ไม่ว่าการกระทำ คำพูดหรือความคิดทุกอย่างจะให้ผล จากการกระทำเหล่านั้น ในกาลข้างหน้า ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติหน้าต่อไปซึ่งการเกิดใหม่ก็เป็นผล จากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ลักษณะของการเกิดใหม่หรือชีวิตนี้ก็เป็นผลจากการกระทำ ต่างๆในชีวิตที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องของความตั้งใจ หรือแรงดลใจต่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง นี่คือกฎแห่งกรรม ซึ่งจะอธิบายได้ว่า ทำไมบางคนยากจนตลอดชีวิตแม้ได้พยายามทำทุกอย่าง เพื่อความร่ำรวย บางคนก็มีทุกสิ่งทุกอย่างพร้อม โดยที่เจ้าตัวเกือบจะไม่ต้องทำอะไรเลย จาก อริยะสัจ สี่ข้อที่ 2 นี้ก็ได้อธิบายและชี้ให้เห็นถึงพลังที่อยู่เบื้องหลังสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นอารมณ์ใน ทางลบ เช่นความโลภ โกรธ หลง หยิ่ง ริษยา อวิชชา โดยเฉพาะอวิชชาซึ่งถือเป็นรากของสิ่ง เหล่านี้ทั้งหมด อวิชชาไม่ได้เกี่ยวข้องกับยาเพียงอย่างเดียว ยังเป็นพื้นฐานของการมองโลก ทำให้เรายึดติดตัวเองว่าตัวเราและโลกภายนอกทั้งหมดเป็นแกนสารจริงๆและยั่งยืนไม่มีทาง สลาย ไม่มีการสิ้นสุดแห่งการกระทำของเรา ทำให้เราต้องเกิดใหม่อย่างต่อเนื่องในวัฏฏะสงสาร นี้ ถ้าเราสามารถหยุดการกระทำที่ไม่รู้อันเกิดจากการกระทำของอวิชชา ถ้าเราสามารถหยุด อวิชชาได้วัฏฏะจักรแห่งการเกิดก็จะถูกทำลายลงได้ ซึ่งก็อธิบายอยู่ในอริยะสัจ สี่ข้อที่ 3 ซึ่งพูด ถึงการหยุดของทุกข์การเป็นอิสระจาก "ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข" อริยะสัจ สี่ ข้อที่ 4 ได้อธิบาย ถึงวิธีการที่จะปฏิบัติให้สำเร็จในการหลุดพ้นได้อย่างไร ซึ่งหลักใหญ่ๆจะต้องมีการสะสมการกระ ที่เป็นกุศล เช่น การให้ความเคารพถวายให้แก่พุทธะ ธรรมะ สังฆะ ในการปฏิบัติความเมตตา สงเคราะห์ต่างๆ และอีกวิธีหนึ่งโดยการปฏิบัติสมาธิเพื่อที่จะสามารถขุดทำลายทิ้งอวิชชา ซึ่ง เป็นรากแห่งทุกข์ผู้ที่ปฏิบัติวิธีการนี้เพื่อที่จะหลุดพ้นด้วยตนเองสามารถที่จะปฏิบัติจนบรรลุรู้แจ้ง สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์จึงเป็นผู้ที่สามารถชนะอารมณ์ในทางลบได้สมบูรณ์แต่ก็ยังไม่ ไม่เป็นการบรรลุรู้แจ้งอย่างสมบูรณ์ เฉพาะสำหรับผู้มีอุดมการและตั้งปณิธานที่จะปฏิบัติเพื่อการ แจ้งของผู้อื่นเท่านั้นที่จะบรรลุสู่พุทธภูมิได้ ผู้ปฏิบัติเหล่านี้ ซึ่งเดินสายมหายานยึดเอาความ เมตตาเป็นหลักซึ่งเราเรียกว่าพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่สามารถปฏิบัติตามคำสอนของวัชระ ยาน สามารถบรรลุรู้แจ้งในเวลาอันสั้น 

     ในพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้จัดตั้งองค์กรพระภิกษุ ภิกษุณีขึ้น เพื่อเป็นแกนนำในการเผยแพร่คำสอน แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ยกเว้นฆราวาสทั้งชาย หญิง ที่มีจิตปฏิบัติอย่างจริงจังเรื่องนี้ สามารถเห็นได้ในทิเบตซึ่งมีคณะสงฆ์อันเข็มแข็งยิ่งใหญ่ แต่ก็มีกลุ่มฆราวาสที่ใช้ชีวิตปกติธรรมดา และได้ปฏิบัติตามคำสอนอย่างเข้มแข็งจนบรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก โดยที่ไม่ได้เป็นพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติและบรรลุในสายณิงมาปะมีทั้งที่เป็นพระสงฆ์และโยคีฆราวาส การได้เข้าสู่คณะสงฆ์เป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะนำไปสู่การรุ้แจ้งได้ในเชิง สมาธิ ปัญญา นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าสู่ คณะสงฆ์ได้ แต่มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติตามคำสอนอย่างจริงจัง

       อัลเบิร์ตไอสไตร์ได้กล่าวไว้ว่า คำสอนของพุทธศาสนาสามารถปรับเข้าได้กับยุคศตวรรษที่ 20 นี้ได้เป็นอย่างดีในปัจจุบัน ฟิสิกซ์สมัยใหม่ได้ข้อสรุปต่างๆตรงกับคำสอนที่พุทธศาสนาได้อธิบายไว้ ตั้งแต่ 2500กว่าปี ที่แล้ว ปัจจุบันในแถบเอเชีย เนื่องจากวัตถุนิยมเฟื่องฟู ทำให้การปฏิบัติสมาธิจิตย่อหย่อนลง ตรงกันข้ามกับประเทศในแถบตะวันตก ที่มีผู้หันมาศึกษาและปฏิบัติพุทธศาสนาอย่างจริงจัง  เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาทิเบตได้ถูกคุกคามอย่างมากจากการเมืองได้มีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ต่างๆได้ลี้ภัยไปยังอินเดีย อาจารย์เหล่านี้นอกจากได้รับถ่ายทอดคำสอนอย่างสมบูรณ์มาแล้ว ยังได้ปฏิบัติจนรู้แจ้งในขณะเดี่ยวกันก็มีชาวต่างประเทศในโลกตะวันตกมาเยือนอินเดียและได้พบอาจารย์หรือพระลามะเหล่านั้นเกิดความสนใจเกิดความศรัทธาอย่างจริงจังและได้เชื้อเชิญ อาจารย์เหล่านั้นไปเผยแพร่คำสอนในโลกตะวันตก ซึ่งองค์กูรูรินโปเช่ได้เคยกล่าวไว้ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะวัชรยานเป็นคำสอนที่มีพลังมากและให้ผลต่อผู้ฝึกปฏิบัติทุกๆคนได้อย่างชัดเจน ในยุคที่ผู้คนมีอารมณ์รุนแรงในกลียุค พุทธศาสนาวัชรยานจะทรงพลังอย่างมาก มีผลให้อารมณ์ที่รุนแรงสงบลงได้ คำสอนวัชรยานเป็นคำสอนที่มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถปรับสภาพให้เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ทุกรูปแบบที่มนุษย์ในโลกครุ่นเคย โดยที่ไม่ทำให้คำสอนแท้ๆต้องผิดเพี้ยนไป ฉะนั้นคำสอนพุทธศาสนาวัชรยานกำลังเผยแพร่ไปทั่วโลก

     เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุกศาสนาใหญ่ๆที่มีอายุยาวนาน ได้มีการแบ่งแยกนิกายย่อยๆทั้งสิ้น กาลเวลา ความเปลี่ยนแปรงของสังคมโลก จำนวนผู้เข้าร่วมจำนวนมากหลากหลายภูมิภาคหลาก ความเชื่อหลากความคิดหลากความเป็นอยู่ศาสนาทุกศาสนาในปัจจุบันได้ห่างไกลแปรเปลี่ยน ไปจากครั้งแรกกำเนิด ศาสนาที่ไม่แปรเปลี่ยนก็ไม่เจริญไม่แพร่ขยายและต้องสูญสลายไป พุทธศาสนาก็เช่นกันความเจริญแพร่กว้างไพศาล ทำให้พุทธศาสนาต้องแปรเปลี่ยนไปบ้างแต่ อย่างไรก็ตามชาวพุทธทั้งปวงแม้ต่างนิกายก็ถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกันประกอบศาสนกิจร่วมกัน ได้ นับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน แม้บางคนจะนับถือสิ่งอื่นด้วย เช่นไหว้เจ้า ไหว้เทวดา หรือ ภูติผี ก็ยังคงถือเป็นชาวพุทธด้วยกัน ตราบใดที่ยังคงยอมรับพระไตรปิฎกร่วมกันก็ไม่ถือว่าแตกแยกกัน พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า ผู้คนในโลกเปรียบดังเม็ดทรายในมหาคงคา ผู้รู้แจ้งเปรียบดังเม็ดทรายในมหาคงคาที่อยู่บนฝ่ามือ แม้แต่เม็ดทรายบนฝ่ามือก็ยังคงต่างกัน ทั้งรูปลักษณ์ ขนาดและสีสัน

 

นิกายต่างๆในพระพุทธศาสนา

 

นิกายต่างๆในพระพุทธศาสนา

เสถียร โพธินันทะ ได้กล่าวถึงกายแยกนิกายโดยอ้างคาถาจาก ทีปวังสะว่า “คัมภีร์ทีปวังสะซึ่งเป็นปกรณ์สำคัญเล่มหนึ่ง อันนักศึกษาจักมองข้ามไม่ได้ ในคัมภีร์นี้ได้ให้ความละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์แยกนิกายของสังฆมณฑลยุคพุทธศตวรรษที่ 2 อย่างพิสดารดีมาก ได้กล่าวไว้ดังนี้

1          ภิกษุลามกเหล่าวัชชีบุตร ถูกพระเถระขับออกจากหมู่แล้ว ได้พวกอื่นอีก รวมกันเป็นฝ่ายอธรรมวาที มีจำนวนมาก

2          ภิกษุเหล่านั้นประมาณหมื่นรูป ได้ประชุมกันทำสังคายนาพระธรรม(วินัย) ครั้งนี้ว่า “มหาสังคีติ”

3          ภิกษุเหล่ามหาสังคีติกะ ได้ทำความขัดแย้งไว้ในพระศาสนานี้ ได้ทำลายสังคายนาเดิมเสีย แล้วจัดทำสังคายนาอื่น

4          ภิกษุเหล่านั้นได้แต่งพระสูตรอื่นจากที่ท่าน(พระเถระครั้งปฐมสังคายนา) ไว้อีกเล่า ได้ตัดทอนอรรถธรรมในพระวินัยและพระสูตรทั้ง 5 นิกาย

5          ภิกษุเหล่านั้นมิได้รู้ธรรมอัน(พระศาสดา)ทรงแสดงไว้เป็นปริยาย ทั้งธรรมอัน(พระศาสดา)ทรงแสดงไว้เป็นนิปปริยาย  มิได้รู้ทั้งอรรถที่ท่านได้ชี้แนะไว้ชัดเจน ทั้งอรรถที่ความอนุมานเอา

6          แล้วได้กำหนดอรรถอย่างอื่น ซึ่งท่านกล่าวหมายเอาอีกอย่างหนึ่ง(ไม่ต้องกัน) ภิกษุเหล่านั้น ได้ยังอรรถให้เสียไปด้วยฉายาพยัญชนะมากหลาย

7          ภิกษุเหล่านั้นทอดทิ้งพระสูตรบางเอกเทส และพระวินัยอันลึกซึ้งเสีย ได้แต่งพระสูตรเทียม พระวินัยเทียม  พระสูตรอื่น พระวินัยอื่นไว้

8          คัมภีร์ปริวารที่สังเขปความก็ดี พระอภิธรรมทั้ง 6 ปกรณ์ก็ดี ปฏิสัมภิทามรรคก็ดี นิทเทสก็ดี ชาดกบางส่วนก็ดี

9          เหล่านี้ ล้วนถูกภิกษุเหล่านั้นจำแนกไว้ต่างๆ แล้วแต่งเป็นอย่างอื่น ทั้ง นาม เพศ บริขาร และอากัปปะที่สมควร

10        (คัมภีร์)นั้นๆอันเป็นดั้งเดิม ก็ถูกภิกษุเหล่านั้นละทิ้งเสียแล้ว ได้กระทำสิ่งที่เป็นอย่างอื่น ภิกษุเหล่ามหาสังคีติได้มีวาทะแตกต่างเป็นตัวอย่างก่อน

11        และโดยการทำตามภิกษุเหล่านั้น ได้มีภิกษุที่มีวาทะแตกต่างกันเป็นจำนวนมากมายหลังแต่นั้นมา ได้เกิดการแตกแยกขึ้นในวาทะ (มหาสังฆิกะ) นั้นคือ

12        ภิกษุทั้งหลายแตกออกเป็น 2 ฝ่าย เป็นโคกุลิกวาทและเอกัพโยกหาริกวาท ต่อมาฝ่ายโคกุลิกแตกกันเป็น 2 พวก คือ

13        ภิกษุทั้งหลายแตกกันเป็นพหุสสุติกวาท และปัญญัติกวาท กับทั้งเจติกยวาทอีกพวกหนึ่ง ได้แตกมาแต่มหาสังคีติวาท

(ข้อ14-15 ใจความคล้ายกับข้อ 9-10 เสถียร โพธินันทะ)

16        ในระหว่างเถรวาทอันบริสุทธิ์แท้ ได้เกิดการแตกแยกกันอีกคือ ภิกษุทั้งหลายได้แตกเป็น 2 ฝ่าย เป็นมหิสาสกวาทและวัชชีปุตตกวาท

17        ในวัชชีปุตตกวาทได้เกิดการแตกแยกกันอีกเป็น 4 พวกคือธรรมุตตริกวาท ภัทรยานิกวาท ฉันนาคาริกวาท และสมิตียวาท

18        ในกาลต่อมา ฝ่ายมหิศาสกะแตกกันอีก2 พวกคือ ภิกษุทั้งหลาย(ในฝ่ายมหิศาสกะ) แตกออกเป็น 2 คือ สัพพัตถิกวาท กับ ธรรมคุตตวาท

19        พวกสัพพัตถิกวาท ยังแตกเป็นกัสสปิกวาทอีกเล่า และจากกัสสกิกวาทได้เกิดสังกันติกวาทขึ้น จากสังกันติกวาทยังแตกออกเป็นสุตตวาทอีกโดยลำดับ

20        วาทะ (หรือนิกาย) ทั้ง 11 นี้ แตกไปจากเถรวาท ภิกษุเหล่านั้นได้ทำลายอรรถและธรรมกับสังคหะ (ข้อที่สังคายนาครั้งปฐม)บางส่วน ได้ทอดทิ้งคัมภีร์บางเอกเทสเสียด้วยแล้วแต่งอย่างอื่นไว้

(ข้อ21 คล้ายข้อ 10 เสถียร โพธินันทะ)

22        วาทะที่แตก 17 วาทะ  ที่ไม่แตก 1  รวมที่ได้แตกแยกกันนั้นทั้งหมดเป็น 18

23        พระศาสนาแห่งพระชินพุทธเจ้า ที่ล้วนๆไม่หย่อนและไม่ยิ่งของฝ่ายเถรวาทเป็นที่สูงสุด ดุจต้นไทรใหญ่ฉะนั้น (ข้อนี้ย่อมเป็นความจริงอย่างยิ่ง)

24        “วาทะทั้งหลายที่เหลือ เป็นประดุจกาฝากซึ่งเกิดที่ต้นไทร ในศตวรรษแรกมิได้มีการแตกแยกกัน ในระหว่างศตวรรษที่ 2 วาทะที่แตก  17  ได้เกิดขึ้นในศาสนาแห่งพระชินเจ้าแล”

            อันที่จริงการแตกแยกของพระพุทธศาสนาอันดั้งเดิม โดยการกระทำสังคายนาครั้งที่ 2 นี้ เมื่อกล่าวโดยส่วนใหญ่แล้ว มีเพียง 2 นิกายเท่านั้นคือ เถรวาท (สถวีรวาทิน) และอาจาริยวาท(มหาสังฆิกะ) ครั้นกาลต่อมาจึงได้แตกนิกายย่อยไปอีกเป็น 18 นิกาย คือที่แตกไปจากเถรวาท11 นิกายจากมหาสังฆิกะ 5 นิกาย นิกายต่างๆที่แตกไปจากเถรวาทนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 2 เป็นต้นไป ส่วน 5 นิกายที่แตกจากมหาสังฆิกะนั้นได้เกิดขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 1 เป็นต้นมาแล้ว

            เสถียร โพธินันทะ ได้ให้ถ้อยวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องไว้ว่า ตามปกรณ์บาลี และสํสกฤตทั้ง 2 ย่อมเป็นข้อยืนยันกันแน่นอนว่า สังฆมณฑลมีการแตกแยกทิฐิและปฏิปทากัน  ปรากฏโดยเปิดเผยในพุทธศตวรรษที่ 2 แม้ฝ่ายสํสกฤตจะอ้างว่า เกิดขึ้นในแผ่นดินพระเจ้าอโศกมหาราชก็ดี ข้อเท็จจริงในปัญหานี้ข้าพเจ้าก็ได้วินิจฉัยแล้วในตอนต้นเรื่องอโศก-กาฬาโศก อย่างไรก็ตามเป็นอันแน่ใจว่า ในพุทธศตวรรษที่ 2 ได้มีเหตุการณ์ 2 อย่างอุบัติขึ้นคือเรื่องทุติยสังคายนาอันสืบเนื่องมาตาวัตถุ 10 ประการของเหล่าสงฆ์ ภาคตะวันออก ซึ่งสงฆ์ภาคตะวันตกไม่ยอมเห็นด้วย สำหรับวัตถุ10ประการนั้น ถ้าพิจารณาดูโดยเที่ยงธรรมก็จักเห็นได้ว่ามิใช่เป็นครุกาบัติเป็นด้วย ภิกษุชาววัชชีปรารถนาจักเลิกสิกขาเล็กน้อยบางข้อ ตามพระบรมพุทธานุญาตที่ทรงมีไว้สมัยจวนใกล้ปรินิพพานนั่นเอง และท่านเหล่านี้ก็เป็นพระสงฆ์ที่สืบสายปุราณะ ซึ่งมิได้รับรองมติของพระเถระครั้งปฐมสังคายนา ในคัมภีร์มหาวังสะประณามว่า เป็นพวกอลัชชี ก็ดูเกินสมควรไป พวกภิกษุวัชชีบุตร คงจะได้ประชุมปรึกษา อ้างพระพุทธานุญาตแล้วเลยลงมติเห็นว่าสิกขาบท10 ประการ นั้นความจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อยเพิกถอนได้ ฝ่ายสงฆ์ภาคตะวันตกก็ปรากฏว่า เป็นสัทธิวิหาริกอันเตวาสิกของพระมหาเถระครั้งปฐมสังคายนา ย่อมต้องเคารพมติของพระอาหันต์เจ้าผู้เป็นครูบาอาจารย์ ใม่ยอมให้เพิกถอนได้ จึงได้เกิดแตกแยกกันขึ้น และปรากฏว่าภิกษุฝ่ายตะวันออกมีมากกว่า ที่แสดงนี้เป็นเค้าแห่งการแตกนิกายของพระพุทธศาสนาในยุคต้นพุทธศตวรรษที่ 2 ส่วนวิวิฒนาการและหลักธรรมของแต่ละนิกายจะได้บรรยายต่อไปในบทหน้า

 

 

ความคิดเห็นผู้ทำเวป เรื่องการเพิกถอนสิกขาบทเล็กๆน้อยๆ เป็นที่ย่อมรับกันในสงฆ์สาวกทุกรูปว่าได้มีพุทธานุญาตเรื่องการให้ถอนสิกขาบทเล็กๆน้อยๆจริง ไม่เคยพบคำคัดค้านในพระสูตรใดเลย เมื่อมีพุทธานุญาตแล้ว ทำไมพระพุทธองค์จึงมิได้ตรัสให้ชัดเจนว่าอะไรให้ยกเลิกหรืออะไรไม่ให้ยกเลิก ถ้าเรามาดูใน พุทธบัญญัติพระวินัย แม้แต่เรื่องที่เล็กน้อยละเอียดยิบ พระองค์ยังทรงกล่าวถึง แต่ทำไมพุทธานุนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก  พระองค์จึงไม่กล่าวให้ชัดเจน ความเป็นพระสัพพัญญูที่รู้แจ้งแทงตลอดทั้งโลกนี้และโลกหน้า มีหรือที่พระพุทธองค์ท่านจะทิ้งเรื่องที่เป็นปัญหาอันใหญ่โตเช่นนี้ไว้ (ด้วยการกระทำตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ เรื่องเช่นนี้ต้องไม่เกิดขึ้น ถ้าหากจะไม่เป็นการตั้งพระทัยให้เกิดขึ้น) สิ่งหนึ่งซึ่งกระมั่นใจอย่างเต็มที่ก็คือ ความจงใจที่จะไม่ให้รายละเอียดในสิกขาบทที่จะให้ถอน  และผลที่ตามมาก็คือการแตกแยกของคณะสงฆ์ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ด้วยประเด็นนี้ทำให้เกิดข้อมั่นใจอีกประเด็นว่า พระพุทธองค์มิใช่วางปัญหานี้ไว้เพื่อทดสอบหมู่สงฆ์ว่า ศิษย์สาวกของพระองค์จะมีใครบ้างที่จะคงไว้และทำตามซึ่งพุทธวจนะที่เป็นคำสั่งสอนอบรมให้ศิษย์ได้ปฏิบัติทั้งหมด เพราะไม่ว่าข้างจะยกเลิกหรือไม่ยกเลิก ก็ล้วนแสดงถึงความเคารพและปฏิบัติตามคำของพระองค์ท่านทั้งสิ้น จะกล่าวฝ่ายพระเถระในครั้งที่เข้าร่วมปฐมสังคายนา ว่าถูกต้องเป็นเลิศที่ไม่แก้ไขใดๆของพระพุทธบิดา เป็นการเคารพกตัญญูอย่างสูงสุด ก็คงจะกล่าวเช่นนั้นได้ยากยิ่ง เพราะว่า การจะเป็นเช่นนั้นได้จริงๆ เหล่าพระเถระผู้สังคายนาทั้งปวงต้องเป็นสัพพัญญู เสมอด้วยพระพุทธองค์ หรือยิ่งกว่าพระพุทธองค์ เพราะท่านสามารถจะล่วงรู้ถึงผลของพระพุทธานุญาตของพระพุทธองค์ว่าจะต้องเกิดอะไรตามมา และให้ผลต่อพุทธศาสนาอย่างไรบ้างในอนาคตอันยาวไกล พระพุทธเจ้าหรือพระเถระครั้งปฐมสังคายนาใครเป็นสัพพัญญูกว่ากัน ในกลุ่มของฝ่ายมหาสังฆกะ ที่ให้มีการยกเลิกสิกขาบทเล็กน้อยๆ ก็มิได้แสดงออกให้เห็นว่า การขอยกเลิกของท่านที่ยกเลิกตามพุทธานุญาตแล้วอนาคตอันยาวไกล ในภายภาคหน้าสิกขาบทจะไม่ถูกแก้ตามความพอใจของกลุ่มก้อนสาวกอื่น จนหลักการแห่งพระพุทธศาสนาเสียไป ทั้งสองแนวทางจึงให้ทั้งผลดีและผลเสียมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

ฝ่ายอนุรักษ์นิยม พระเถระครั้งปฐมสังคายนา ต้องการป้องกันความไม่ผิดเพี้ยนมิให้เกิดขึ้นแต่ก็แข็งเกินไป ถ้าเราศึกษาในประวัติศาสตร์จริงๆ ไม่มีคณะสงฆ์ใดที่ดำรงอยู่ได้โดยไม่เปลี่ยนแปลงถึงแม้จะได้ชื่อว่า ต้องการดำรงอยู่ทุกอย่างให้เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงก็ตาม ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจริงๆปัจจุบันคงสูญสลายไปหมดแล้ว

ฝายเสรีนิยมความก้าวหน้าความแผ่ไพศาลเกิดอย่างรวดเร็ว แต่ถ้ามิได้มีหลักฐานทางอนุรักษ์นิยมไว้คอยเปรียบเทียบก็คงพูดได้ยากว่าพุทธศาสนาจะเปลี่ยนโฉมไปจนไม่เหลือเอกลักษณ์ของความเป็นพุทธเหมือนอย่างที่พระพุททเจ้าท่านต้องการก็ได้

แต่ที่แน่ๆ ความแตกแยกของพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในระดับที่มิได้ทำให้พระพุทธศาสนาเสียหายนี้ เป็นความจงใจที่จะให้เกิดขึ้น มิใช่เกิดขึ้นอย่างบังเอิญด้วยทิฏฐิของสงฆ์สาวก แต่เกิดเพราะพระพุทธองค์ท่านจงใจให้เกิดทิฏฐินี้ขึ้นพระพุทธเจ้าท่านรู้และเห็นและต้องการให้เกิดขึ้นด้วยซ้ำไป

            ตลอดระยะเวลา กว่า 2500 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติธรรมในสายปฐมสังคายนา หรือทุติยสังคายนา หรือทุกๆการสังคายนา อีกทั้ง ทุกๆนิกายที่แตกแยกออกมา ไม่เคยเลยที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาใหม่ ทั้งปวงล้วนเป็นพุทธบริษัททั้งสิ้น อีกทั้งในทุกสายทุกนิกาย ไม่เคยว่างเว้นในผู้บรรลุมรรคผล รู้แจ้งเห็นจริง บรรลุเป็นพระอรหันต์ บรรลุเป็นพระโพธิสัตว์ บรรลุเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึงแม้ว่าทิฎฐิในตนของบุคคลตั้งแต่หลังพุทธปรินิพานเป็นต้นมากจะเข็มแข็งและวิวัฒนาการมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งเหล่านี้เป็นข้อพิสูจน์ได้โดยมิต้องมาถกเถียงกันเลยว่าแนวคิดของใคร หรือนิกายของใครดีกว่ากัน และก็เป็นข้อยืนยันได้โดยมิต้องสงสัยว่า ไม่มีผู้ใดเป็นสัพพัญญูเทียบเท่าหรือมากไปกว่าพระพุทธองค์ การจะดำรงอยู่ด้วยการแตกแยกทางความคิด หรือการจะดำรงอยู่ด้วยการเห็นพ้องต้องกันของความคิด มิได้ทำให้ เป้าหมายแห่งชัยชนะของผู้ปฏิบัติสูญเสียไปเลย ใครศรัทธาอย่างไร ใครเชื่ออย่างไร ขอเพียงให้ศรัทธาและเชื่ออย่างชาวพุทธ ตามมาด้วยการปฏิบัติตน บำเพ็ญตนด้วยหลักการแบบพุทธ การรู้แจ้งย่อมเกิดขึ้น การกล่าวว่าพุทธศาสนาตกต่ำ พุทธศาสนาสูญหายไปจากสถานที่หนึ่งๆเป็นความผิดของชาวพุทธที่คิดอย่างไม่ถูกต้อง นั่นเป็นความไม่ถูกต้องของผู้กล่าวเองมากกว่า ไม่มีสิ่งใดดีกว่าสิ่งที่ตนเองเชื่อถือศรัทธา เป็นปกติวิสัยแม้แต่ในหมู่พระอรหันต์เองก็มีวิสัยเช่นนี้ นับประสาอะไรกับปุถุชนผู้ยังมิได้รู้แจ้ง ศรัทธาอย่างไรปฏิบัติอย่างนั้น ขอเพียงเป็นหลักการของพุทธ ไม่มีสิ่งใดผิด มุ่งหน้าไป พระนิพพานอยู่ตรงหน้า

 

นิกายต่างๆและหลักธรรมของแต่ละนิกาย

 

นิกายต่างๆและหลักธรรมของแต่ละนิกาย     

            ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าด้วยนิกายต่างๆในพุทธศาสนายุคแรก พระพุทธศาสนาได้แตกแยกออกเป็น18 นิกาย ซึ่งความจริงมีมากกว่านี้ เพราะแต่ละนิกายก็มีนิกายย่อยๆแตกสาขาออกไป บางนิกายก็มีเพียงชื่อ ไม่มีหลักฐานปรากฏถึงคนรุ่นหลัง การที่พระพุทธศาสนาไม่มีการมอบหมายให้มีการสืบต่อบุคคลเป็นศาสดาแทนพระพุทธองค์ และพระพุทธศานาก็ไม่มีศูนย์กลางการดำเนินงานเช่นในศาสนาอื่นๆ พระสงฆ์แต่ละหมู่เหล่าจึงยึดถือประเพณีปฏิบัติต่างๆที่เคยสืบต่อกันมา และด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ คำสอนอาจผิดเพี้ยนไปบ้างตามกาลสมัย

ความเห็นผู้ทำเวปในยุคแรกนิกายต่างๆยังคงมีการติดต่อกันอยู่เสมอ การแลกเปลี่ยนประเพณีปฏิบัติและความเชื่อถือจึงมีเกิดขึ้นทำให้เกิดการผสมผสานกันขึ้นก็มี ปัญหาของแต่ละนิกายที่ถกเถียงกันเป็นเรื่องวิธีการ มิใช่หลักการ ดังนั้นบางครั้งการถกเถียงก็เปลี่ยนเป็นการวิเคราะห์และหาวิธีการร่วมกันก็มี แต่การถกเถียงทำให้เกิดการแตกแยก เกิดแนวคิดใหม่ๆขึ้นก็มี ผู้ชอบก็เชื่อ ผู้ไม่ชอบก็ติเตียนและไม่ร่วมกัน จึงกล่าวได้ว่าความแตกแยกในพุทธศาสนาเป็นเรื่องปกติวิสัยที่หนีไม่พ้นและก็ต้องยอมรับว่าวิธีการแขนงต่างๆของของเป้าหมายเดียวกันได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย        

            เราอาจแบ่งระยะกาลแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในอินเดียออกได้เป็น 3 ระยะกาลใหญ่อย่างหยาบๆ คือ

            1  ใน 5 ศตวรรษแรก เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.1-พ.ศ. 500 พระพุทธศาสนานานานิกายเป็นฝ่ายสาวกยานรุ่งเรือง

            2 ตั้งแต่ พ.ศ. 500 ถึง พ.ศ. 1000 พระพุทธศาสนามหายานรุ่งเรือง

            3 ตั้งแต่ พ.ศ.1000 ถึง พ.ศ.1500 พระพุทธศาสนาตันตรยานรุ่งเรือง

พระพุทธศาสนาเกิดแตกเป็น 18 นิกาย ในแผ่นดินพระเจ้า กาฬาโศก ก็ทั้ง 18 นิกายนั้นยังแตกเป็น สาขาย่อยๆอีกหลายนิกาย ปกรณ์หลักฐานต่างๆแต่ละนิกายมิได้เหลือโดยสมบูรณ์มาถึงปัจจุบัน มีนิกายเถรวาทซึ่งเป็นนิกายดั้งเดิมเท่านั้นที่มีปกรณ์สำคัญๆบริบูรณ์  นอกจากนั้นก็มีนิกายสรวาสติวาทิน ซึ่งโชคดีปกรณ์สำคัญๆส่วนใหญ่มีการแปลออกสู่ภาษาจีน และทิเบต มิฉะนั้นก็คงจะไม่มีโอกาสได้ทราบถึงความสำคัญของนิกายนี้ นิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งเป็นนิกายใหญ่ แต่ก็ปรากฎว่ามีปกรณ์เหลืออยู่จำนวนเล็กน้อยที่แปลออกสู่ภาษาจีนและทิเบต ส่วนนิกายอื่นๆ เราไม่สามารถหาปกรณ์ได้เกินกว่า 2-3 คัมภีร์เลย มีหลายนิกายที่ไม่มีแม้แต่คัมภีร์เดียว ในการศึกษาหลักธรรมของนิกายฝ่ายสาวกยาน เราอาศัยปกรณ์ 2 เล่มเป็นปทัฏฐานคือ “เภทธรรมมติจักรศาสตร์” ในฝ่ายสํสกฤต และกถาวัตถุในฝ่ายบาลี เป็นต้น

 

นิกายเถรวาท หรือสถวีรวาท

 

1   นิกายเถรวาท หรือสถวีรวาท

            นิกายเถรวาท หรือสถวีรวาท นี้เป็นนิกายดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา มิได้ถูกผันแปร  แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปจากที่พระมหาเถระทั้งหลายได้เคยปฏิบัติกันมาก่อน นับเป็นนิกายที่สามารถรักษาพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าได้บริบูรณ์กว่านิกายอื่นๆ เป็นนิกายที่เคารพมติของพระเถระทั้งหลายในครั้งปฐมสังคายนา  จึงเป็นนิกายซึ่งสืบเนื่องมาจากพระเถระ จึงเรียกว่า “เถรวาท”

            นิกายนี้รุ่งเรืองในภาคกลางของอินเดีย ภายใต้พระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอชาติศัตรู และจนถึงพระเจ้าอโศกมหาราช นับเป็นเวลากว่า 300 ปี นิกายนี้ในเบื้องแรกจะตกเป็นรองนิกายอื่นอยู่บ้าง แต่เมื่อนิกายนี้ได้รับความเลื่อมใสจากพระเจ้ากาฬาโศก แห่งสุสูนาควงศ์ ซึ่งครองแคว้นมคธอยู่ในเวลานั้น จึงทำให้นิกายรุ่งเรืองขึ้น ไปจนถึง พุทธศตวรรษที่ 3สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชและความสามารถของพระอรหันต์โมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ทำให้นิกายนี้แพร่ขยายออกไปทั่วทั้งชมพูทวีป และนานาประเทศนอกชมพูทวีป แต่ก็เป็นที่น่าประหลาดใจว่า นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 แล้วนิกายเถรวาทแม้จะมีอยู่ประปรายในอินเดีย เราก็ไม่อาจทราบความเป็นไปได้โดยละเอียด แหล่งความเจริญของพระพุทธศาสนากลับอยู่ในประเทศศรีลังกา ตลอดเวลา 2000 ปีเศษ

            ในคราวที่ทำสังคายนาครั้งที่3 พระเถระทั้งหลาย ได้กำหนดหลักธรรมเรียกนิกายนี้ว่า “วิภัชชวาทะ” หรือ “วิภัชชวาทิน”ในคัมภีร์มิชณิมนิกาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นวิภัชชวาทิน คือพระพุทธองค์ทรงจำแนกข้อธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์เป็นข้อๆไป ให้เหมาะสมกับอุปนิสัยของแต่ละบุคคล หาใช่เอกังสวาทินไม่ คือมิได้สั่งสอนโดยวิธีกล่าวรวมๆกัน นักปราชญ์จึงเห็นพ้องกันว่านิกายนี้เป็นนิกายเดียวกันกับนิกายวิภัชชวาท ซึ่เป็นนิกายฝ่ายใต้ (สาวกยาน) รับสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ หลักธรรมของนิกายนี้มีอยู่ในคัมภีร์ภาษาบาลีทั้งสิ้น

            นิกายเถรวาท ถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ ไม่ใช่พระเจ้าหรือเทวดา แต่พระพุทธองค์ทรงมีคุณสมบัติเหนือมนุษย์ธรรมดา คำสอนของนิกายนี้เป็นสิ่งที่ไม่ลึกลับ เหมาะแก่ที่ทุกคนจะปฏิบัติตามได้ หลักธรรมที่สำคัญก็คือ ให้ละเว้นความชั่วทำความดี และชำระจิตให้บริสุทธิ์ ผู้ปฏิบัติต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา ปรากฏการณ์ของโลกทั้งมวลย่อมต้องตกอยู่ในสามัญญลักษณ์ 3 ประการคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และอนัตตา

ความเห็นผู้ทำเวป ในประวัติศาสตร์ที่แท้จริงถึงแม้จะเริ่มแต่ปฐมสังคายนา แต่หลักธรรมทั้งปวงเพิ่งเป็นหลักฐานทางจารึกที่ลงในใบลาน ในราวพ.ศ.400 นี้เอง และสถานที่จารึกก็มิใช่ในอินเดีย แต่เป็นที่ลังกา อีกทั้งผู้จารึกก็มิใช่คณะสงฆ์ที่ทำสังคายนาส่วนของใบลานก็เป็นวัตถุที่สลายได้ง่าย จึงเชื่อว่าความในพระไตรปิฎกยังคงมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง และในปัจจุบันถึงแม้จะมีหลักฐานพระธรรมวินัยอยู่แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้าง(ตามหลักอนิจัง)แต่ก็จัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยที่สุด)

 

2 นิกายมหาสังฆิกวาท

 

2 นิกายมหาสังฆิกวาท

            นิกายนี้เป็นนิกายใหญ่ ซึ่งได้แตกมาจากพระพุทธศาสนาดั้งเดิม อันสืบเนื่องมาจากทุติยสังคายนา ด้วยการทำสังคายนาต่างหาก และเรียกการสังคายนานี้ว่า “มหาสังคิติ” แปลว่าสังคายนาของพวกมาก และเรียกพวกตนว่า “มหาสังฆิกะ” แปลว่าสงฆ์หมู่ใหญ่ นักปราชญ์ทางพุทธศาสนาฝายมหายานถือว่า นิกายมหาสังฆิกะเป็นนิกายใหญ่ เป็นต้นนิกายอื่นๆ มหาสังฆิกะเปรียบเหมือนลำต้น ส่วนสำนักอื่นเปรียบเหมือนกิ่งก้านสาขา

            นิกายนี้ ได้แตกนิกายออกไปอีกหลายนิกาย คือ นิกายโคกุลิกะ ,เอกโพธหาริกะ, ปัณณัตติกะ, พหุสสุติกะ และเจติยะ

            ในสมัยแรกๆนิกายมหาสังฆกะไม่ค่อยมีความสำคัญ และเจริญรุ่งเรืองเท่าไร่เพราะนิกายนี้ขัดแย้งกันกับนิกายเถรวาทอย่างรุนแรง ไม่อาจที่จะขยายตัวออกไปได้โดยสะดวก เพราะเถรวาทยังแข็งแรงอยู่มาก ต่อมาภายหลังนิกายนี้ เริ่มมีอิทธิพลขึ้นที่เมืองปาฐลีบุตรและเวสาลี  ได้แผ่อิทธิพลไปในแคว้นมคธ วัชชี จนกระทั่งถึงอินเดียตอนใต้

            ท่านหลวงจีนเฮี่ยงจัง กล่าวว่า “นิกายมหาสังฆิกะ”นี้ มีคัมภีร์สมบูรณ์ของตนเอง ซึ่งแบ่งเป็น5หมวด คือพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม ธารณีและปกิณกะ เหมือนกับพระธรรมวินัยที่ได้รวบรวมไว้ในคราวสังคายนาครั้งที่ 1

            บันทึกของหลวงจีนเฮี่ยงจัง มีความที่ขัดแย้งกันกับคัมภีร์ฝ่ายบาลีของนิกายเถรวาท หลวงจีนเฮี่ยงจังกล่าวว่า  เมื่อพระเถระทั้งหลายประชุมทั้งสัง่คายนาครั้งที่ 1 ได้กำหนดหลักธรรมไว้อย่างใด ภิกษุในนิกายมหาสังฆกะได้ได้ปฏิบติตามนั้น โดยที่ยอมสละทิ้งข้อธรรมที่แตกต่างจากนิกายเดิมเสีย

            แต่คัมภีร์บาลีฝ่ายอื่นกล่าวว่า พวกภิกษุมหาสังฆิกะแม้จะแพ้แก่หลักธรรมของพระเถระแล้ว ก็ยังไม่ปฏิบัติตาม ทั้งยังได้จัดทำสังคายนาขึ้นใหม่อีก

            หลวงจีนเฮี่ยงจังกล่าวไว้ว่า ภิกษุที่มีความประพฤติย่อหย่อนในพระวินัย ได้สมัครตัวเข้าอยู่ในสังกัดของภิกษุฝ่ายนิกายมหาสังฆิกะ”

            นิกายนี้ได้ยอมรับหลักธรรมที่สำคัญของพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับเถรวาท หลักธรรมสำคัญคือ อริยะสัจ 4 มรรค 8 สามัญลักษณะ3 กฎของกรรม ปฏิจจสมุปบาท โพธิปักขิยธรรม 37 และสมาบัติ8 เป็นต้น

            นิกายมหาสังฆิกะถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ พ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวง มีอานุภาพไม่มีที่สิ้นสุด พระองค์ไม่หลับ ไม่ฝัน มีสติ อยู่ในสมาธิ ทรงทราบทุกสิ่งทุกอย่างในขณะจิตเดียวกัน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์ ล้วนแต่เป็นโลกุตตระทั้งสิ้น พระพุทธองค์ทรงประกอบด้วยพระกาย3 ที่เรียกว่าตรีกาย คือธรรมกาย สัมโภคกายและนิรมานกาย

            เมื่อถือว่า พระพุทธองค์เป็นโลกุตตระเช่นนี้ จึงทำให้เกิดการนับถือพระโพธิสัตว์ขึ้น และถือว่า พระโพธิสัตว์ก็เป็นโลกุตตระเช่นกัน ตามหลักมีว่า พระโพธิสัตว์จุติเป็นมนุษย์สามัญไม่เกิด4 ครั้ง เมื่อจุติลงสู่ครรภ์มารดาย่อมมีช้างเผือกเป็นนิมิต ออกจากครรภ์มารดาทางสีข้างเบื้องขวา ไม่มีความรักใคร่ ไม่มีความพยาบาท ไม่มีความเบียดเบียน จะอฐิษฐานเกิดเป็นอะไรก็ได้ เพื่อช่วยสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์

            นิกายนี้ ยังมีความเชื่อถือที่สำคัญอีก ดังต่อไปนี้คือ

            1 วิญญาณ 5 มีทั้งที่เป็นสราคะ และวิราคะ

            2 รูปอินทรีย์เป็นเพียงกายเนื้อไม่สามารถจะมีวิญญาณได้

            3 บุคคลกำจักทุกข์ และบรรลุความสุขที่สูงสุดได้ด้วยปัญญา

4 พระโสดาบันยังเสื่อมได้ พระอรหันต์ไม่เสื่อม พระอรหันต์ย่อมรู้สภาวะของตน          

    ด้วยจิต และเจตสิกธรรม พระโสดาบันยังอาจทำบาปชนิดอื่น         ๆ เว้น 

    แต่อนันนริยกรรม 5 คือ ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำพระโลหิตของ

    พระพุทธเจ้าให้ห้อขึ้น และทำลายสงฆ์

            5 ไม่มีสิ่งใดเป็นอัพยากฤต คือสิ่งทั้งหลายต้องดีหรือชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง จะไม่ 

               ดีไม่ชั่วไม่ได้

            6 ธรรมชาติของจิตย่อมผ่องใส แต่จิตนั้นเศร้าหมองเพราะอุปกิเลสอันจรมา         

    (ทรรศนะของมหาสังฆิกะตอนนี้ อาจถือว่า เป็นต้นเหตุของปรัรชญาจิตนิยม

    โยคาจารย์ก้ได้ เพราะนิกายโยคาจารย์เชื่อว่า อาลยวิญญาณ เป็นที่อยู่แห่ง

    จิตอันบริสุทธิ์แต่จิตนั้นกลายเป็นสิ่งไม่บริสุทธิ์ไป เพราะเกลือกกลั้วกับโลกิยา

    รมณ์)

             7 ไม่มีอันตรภพ ระหว่างชาตินี้ และชาติหน้า

            นิกายมหาสังฆิกะนี้ มีผู้สันนิษฐานกันว่า ได้สืบเนื่องมาจากท่านปูราณะ ผู้ได้แสดงตนคัดค้านการประชุมสนังคายนาครั้งที่ 1 หรือได้แก่ภิกษุชาววัชชีนั่นเองและภิกษุในนิกายนี้ได้สืบเนื่องมาจากมหาเทวะ ผู้ที่ได้แสดงมติไว้ 5 ข้อ ดังได้กล่าวมาแล้ว.

            กล่าวกันว่านิกายนี้ มีข้อวัตรปฏิบัติผิดแผกแตกต่างจากนิกายอื่นมากทั้งในด้านธรรมวินัย ภิกษุนิกายนี้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แต่นุ่งโจงกระเบนชายข้างซ้ายขึ้นสั้นมาก เช่นกับที่แขกฮินดูนุ่งผ้าโธตีกันอยู่ทุกวันนี้

            เสถียร โพธินันทะ ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับปัญหาเรื่องพระมหาเทวะผู้เป็นต้นกำเนิดของนิกายนี้ไว้ว่า “พระมหาเทวะผู้เป็นต้นกำเนิดแห่งนิกายนี้ ซึ่งตามปกรณ์ฝ่านสํสฤตอรรถกถาของนิกายสรวาสติวาท กล่าวถึงความชั่วร้ายของมหาเทวะนี้นานาประการ ซึ่งถ้าจะวิเคราะห์โดยยุติธรรมแล้วเข้าใจว่าเป็นการกล่าวเกินความจริงมากกว่า เพราะต่างเป็นนิกายตรงข้าม พระมหาเทวะ ถ้าจักชั่วร้ายจริง ไฉนจึงยังคงตั้งนิกายอยู่ได้ และมีอิทธิพลแผ่ไพศาลลงมาถึงอินเดียฝ่ายใต้ อนึ่ง คติธรรม 5 ข้อ ที่ตั้งขึ้นนั้นเล่าบางข้อก็เป็นการไม่ขัดต่อหลักความจริงเลย และกลืนกันได้กับในพระบาลีก็มี ข้าพเจ้าไม่ขอเชื่อเรื่องราวที่พระมหาเทวะทำอนันตริยกรรม และความชั่วร้ายอื่นๆดังฝ่ายสรวาสติวาทินกล่าวหาเลย และแม้บัณฑิตโบราณ เช่น สมณะเกี่ยเซี้ยง ,สมณะซืออึงของจีนก็พยายามคัดค้านเรื่องนี้ว่า ไม่เป็นความจริงในคัมภีร์คุณวิภังคนิทเทศศาสตร์กล่าวยกย่องพระมหาเทวะว่า “มีแต่ท่านมหาเทวะเท่านั้นที่เป็นมหาบุรุษ ส่วนคนนอกนั้นเป็นแต่คนเล็กๆน้อยๆ” เราสรุปบุคลิคภาพของพระมหาเทวะได้ว่า เป็นนักคิดที่เฉียบแหลมคมคนหนึ่งและได้พยายามจะเพื่มเติมสร้างหลักธรรมใหม่ๆ ตามความเห็นของตนออกมา เช่นเดียวกับบรรดาคณาจารย์ของนิกายอื่น และดูเหมือนว่าจะเป็นคนแรกที่กล้ากระทำอย่างนั้น คือถึงกับลงมือแก้ไขตัดทอนข้อความในพระสูตรพระวินัยให้บิดเบือนตามทัศนะของตน ในปิฎกของมหาสังฆิกะจึงไม่มีคัมภีร์ปริวาร ปฏิสัมภิทา นิทเทศ ชาตกะ และอภิธรรมแบบของเถรวาท นิกายนี้ได้ใช้ภาษาปรากฤตจารึกพระธรรมวินัยและนับถือพระมหากัสสปะว่าเป็นต้นนิกาย ซึ่งทำนองลากความเข้าหาเพื่อให้เห็นว่ามีเชื้อสายสืบเนื่องมาแต่พระมหาสาวก สมณะอี้จิงกล่าวว่า พระไตรปิฎกของมหาสังฆิกะมีจำนวน3แสนโศลก

            ส่วนหลักธรรมของมหาสังฆิกะที่ถือคติ 5 ข้อของมหาเทวะพอจะเทียบกับคำบาลีดังต่อไปนี้

            1 พระอรหันต์อาจถูกมารยั่วยวนในทางความฝันจนน้ำอสุจิเลื่อนได้

            2 พระอรหันต์อาจมีอัญญาณได้

            3 พระอรหันต์อาจมีกังขาได้

            4 พระอรหันต์จะรู้ว่าตนบรรลุอรหัตตผลก็ โดยการแนะนำพยากรณ์ของผู้

    อื่น

            5 มรรคผลจะปรากฏต่อเมื่อบุคคลผู้บำเพ็ญเปล่ง คำว่าทุกข์หนอ

            นอกจากนี้ยังมีหลักธรรมข้ออื่นอีก ในเภทธรรมมติจักรศาสตร์กล่าวว่า นิกายมหาสังฆิกะ และนิกายเอกวยหาริกะ (เอกัพโยหาริกะ) นิกายโลโกตตรวาทนิกายโคกุลิกะ มีทัศนะเกี่ยวกับบุคลิกภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าร่วมกันดังนี้

1 พระพุทธเจ้าทั้งหลายล้วนมีโลกุตตระสภาวะ          

2 พระพุทธเจ้าทั้งหลายล้วนปราศจากอาสวธรรม

3 พระพุทธวจนะทั้งปวงล้วนเป็นธรรมจักร

4 ถือว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์สามารถเทศนาประมวลคำสอนลงได้ในคำๆเดียว

5 ถือว่าพุทธวจนะ ทุกคำล้วนเป็นหิตประโยชน์

6 ถือว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระรูปกายและพระชนมายุไพศาลอนันตกาล

    ปราศจากขอบเขต

7 ถือว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มิได้มีพระหฤทัยเหนื่อยหน่ายต่อการโปรดสัตว์

8 พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีความหลับและพระสุบิน

9 ถือว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายตอบปัญหาโดยไม่ต้องตรึกนึก

10 ถือว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายในขณะจิตเดียวอาจรู้ชัดธรรมทั้งปวง

11 ถือว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเมื่อสู่ครรภ์ไม่ต้องผ่านความเป็นกลละ อัมพุทะ  

      เปสิ และฆนะ

12 ถือว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเมื่อจะถือปฏิสนธิในครรภ์แห่งมารดาย่อมปรากฏ

      ในรูปแห่งช้างเผือก

13 ถือว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เมื่อประสูติล้วนออกมาทางปรัศว์เบื้องข้างขวา

14 ถือว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลายไม่มีกามวิตก พยาบาทวิตกและ วิหิงสาวิตก

15 ถือว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลายอาจไปเกิดในทุคติได้ตามปรารถนาเพื่อโปรดสัตว์

16 ถือว่าขณะจิตเดียวแทงตลอดอริยสัจ 4 ได้

17 ถือว่ารูปภพอรูปภพล้วนมีฉวิญญาณ6

18 ถือว่าในสมาบัติวจีเภทได้

19 ถือว่าทุกข์เป็นอาหารชนิดหนึ่ง

20 ถือว่าพระโสดาบันอาจเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ แต่พระอรหันต์ไม่มีการ

      เสื่อม

21 ถือว่าไม่มีโลกิยะสัมมมาทิฎฐิและโลกิยะสัทธินทรีย์

22 ถือว่าไม่มีอพยากตธรรม

23 ถือว่าพระโสดาบันยังทำบาปทั้งปวงได้ ยกเว้นอนันตริยกรรม

24 ถือว่าจิตมีสภาวะเดิมบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

25 ถือว่าอนุสัยไม่ใช่จิตและไม่ใช่เจตสิกและไม่มีอารมณ์

26 ถือว่าอนุสัยต่างจากสังโยชน์ๆสัมปยุตกับจิต

27 ถือว่าปัญจวิญญาณ 5 มีทั้งสราคะและวิราคะ

28 ถือว่าพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ล้วนเป็นนิปปริยาย

29 ถือว่าอสังขตธรรมมี 9 ชนิด

30 ถือว่าศีลไม่เป็ตเจตนิกและไม่แปรไปตามจิต

31  ถือว่าวิญญัติก็เป็นศีล

32 ถือว่าสังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเท่านั้น ไม่พึงถือว่าอวิชชาเกิด แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

33 ถือว่ารูปของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรคก็นับว่าเป็นมรรค

34 ถือว่าปัญจวิญญาณเป็นกุศลก็มีเป็นอกุศลก็มี และปัญจวิญญาณมีความผูก

      ใจ

35 ถือว่าอนุสัยเป็นอัพยากตะ

36 ถือว่าเสียงเป็นวิบาก

หลักธรรมต่างๆของนิกายมหาสังฆิกะโดยสังเขปก็มีเพียงนี้

 

นิกายเอกัพโยหาริกวาท หรือ เอกวยหาริกะ

 

3 นิกายเอกัพโยหาริกวาท หรือ เอกวยหาริกะ

            นิกายนี้ บาลีเรียกว่า เอกพฺยหารี อรรถกถาแห่งเภทธรรมมติจักรศาตร์ของกุยกีกล่าวว่า เนื่องจากนิกายนี้ ถือว่า โลกิยธรรมและโลกุตตรธรรมไม่มีสภาวธรรมอยู่โดยแท้จริงเลย มีสักแต่ว่าเป็นบัญญัติโวหารเท่านั้น ทั้งนี้ย่อมขัดแย้งกับ ฝ่ายมหาสังฆิกะ จึงแยกตัวไปเป็นนิกายหนึ่ง มติส่วนใหญ่คงเหมือนกับฝ่ายมหาสังฆิกะ

 

นิกายโลโกตตรวาทิน

 

4 นิกายโลโกตตรวาทิน

            ไม่ปรากฏชื่อในปกรณ์ฝ่ายบาลี มีคติว่าโลกิยะธรรมเท่านั้นที่ไร้แก่นสารปราศจากสภาวธรรมอยู่จริง แต่โลกุตตรธรรมเป็นของมีจริงเป็นจริง หรืออาสวธรรมทั้งปวงล้วนไม่มีภาวะปรมัตถ์เลย มีอยู่สักแต่ว่าบัญญัติเท่านั้น ส่วนในอนาสวธรรมมีภาวะปรมัตถ์ มตินอกนั้นคงเหมือนกับฝ่ายมหาสังฆิกะ

 

นิกายโคกุลิกวาท

 

5 นิกายโคกุลิกวาท

            นิกายนี้นับถืออภิธรรมปิฎกมากเป็นพิเศษ โดยถือว่าเป็นพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งอย่างจริงแท้ ส่วนวินัยปิฎกและสุตตันตปิฎกนั้นเป็นเพียงอุบายธรรม ซึ่งพระพุทธองค์สอนสัตว์โดยลำดับ เพื่อให้เข้าถึงอภิธรรม เพราะฉะนั้นเลยเกิดความหย่อนยานในเรื่องวินัยปฏิบัติถึงกับเกิดวาทะว่า ภิกษุจะมีไตรจีวรนุ่งห่มก็ได้  พระพุทธองค์ทรงอนุญาต ภิกษุจะไม่มีไตรจีวรนุ่งห่มก็ได้ พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตสุดแล้วแต่จะพอใจ สะดวกเอาอย่างไรก็ได้ ภิกษุจะอยู่วัดก็ได้ จะไปอยู่ที่อื่นไม่ใช่วัดก็ได้ จะขบฉันจังหันในกาลก็ได้ หรือขบฉันจังหันวิกาลก็ได้ ข้อสำคัญอยู่ที่ทำอย่างไรจะสามารถเอาชนะกิเลสตัณหาโดยเร็วที่สุด จึงไม่ต้องไปยึดถือติดในเรื่องวินัยสิกขาบทอะไรให้มันรุงรังนักตามประวัติเล่าว่า คณาจารย์ผู้ต้นนิกายอยู่ในวรรณะพราหมณ์มีทิฎฐิเป็นอันเดียวกับนิกายแม่ แต่ที่แยกออกมาเป็นนิกายหนึ่งต่างหาก เพราะต้องการแผ่เฉพาะอภิธรรมปิฎกเท่านั้น

 

นิกายพหุสสุติกวาท หรือ พหุศฺรุติยะ

 

6 นิกายพหุสสุติกวาท หรือ พหุศฺรุติยะ

            นิกายนี้บาลีเรียกว่า พหุสสุติกวาท ในเภทธรรมมติจักรศาสตร์แตกออกมาจากนิกายมหาสังฆิกะโดยตรง แต่ในมัญชุศรีปุจสูตรว่า แตกมาจากนิกายโคกุลิก มติหลังนี้ตรงกับในอรรถกถากถาวัตถุว่า  แตกแยกมาจากนิกายโคกุลิกะตามประวัติของนิกายนี้เล่าว่า ในครั้งพุทธกาล มีพระอรหันต์รูปหนึ่ง เข้าฌานสมาบัติอยู่ ณ ภูเขาหิมาลัยเป็นเวลาช้านาน จนพระพุทธปรินิพพานไปแล้ว 200 ปี จึงออกจากสมาบัติจาริกมาสู่แคว้นอังคุตตระ พิจารณาเห็นว่าหลักธรรมฝ่ายมหาสังฆิกะซึ่งกำลังเผยแผ่ในแคว้นนั้นยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ พระอรหันต์รูปนั้นจึง แสดงข้อธรรมอันลึกซึ้งสมบูรณ์ตามที่ได้สดับจากพระบรมศาสดาเพื่อเติมลงไป ภายหลังคณะศิษย์จึงแยกออกไปตั้งอีกนิกายหนึ่งต่างจากนิกายมหาสังฆิกะ กล่าวกันว่าหลักธรรมที่เพิ่มเติมใหม่นั้น มีคติของลัทธิมหายานเจือปนแทรกอยู่ นอกจากนี้ยังมีอาคตสถานอื่นเล่าว่า แท้จริงนิกายพหุสสุติกะ เป็นนิกายสืบมาแต่พระอานนท์เถระเจ้าผู้ได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะทางสดับฟังมาก และเป็นกิ่งนิกายสรวาสติวาทินก็มี นิกายนี้มีหลักธรรมว่า พระดำรัส 5 ประการของพระพุทธเจ้า คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ศูนยตา นิพพาน จัดเป็นโลกุตตร ข้อนี้แตกต่างจากนิกายมหาสังฆิกะ นิกายโลโกตตร วาทิ นิกายโคกุลิกะ ซึ่งถือว่าพระพุทธวจนะล้วนเป็นโลกุตตระ

            ส่วนหลักธรรมอื่นๆ คงคล้ายกับนิกายมหาสังฆิกะ ในหนังสือ “ซาหลุงเฮี่ยงหงี่” ของคณาจารณ์เกี่ยเซี้ยงบันทึกว่า “คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ของพระหริวรมันเป็นปกรณ์แห่งนิกายพหุสสุติกะ แต่ข้อกล่าวนี้ยังมีปัญหาซึ่งจะต้องพิจารณา หากเป็นจริงก็หมายความว่า นิกายพหุสสุติกะเป็นนิกายที่มีหลักธรรมสมบูรณ์กว้างขวางนิกายหนึ่ง

            “ท่านหริวรมัน ผู้แต่งคัมภีร์ “สัตยสิทธิศาสตร์” ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่สำคัญของนิกายนี้ เชื่อความไม่มีอัตตา (วิญญาณ) ในบุคคล เชื่อในความเป็นอนัตตาของสิ่งทั้งหลาย เห็นว่าจักรวาลประกอบด้วยธาตุ 84 ชนิด และเห็นว่า ความจริงมีอยู่ 2อย่าง คือสมมติจัจะ และปรมัตถสัจจะ ว่าอัตตาหรือธ่าตุ 84 ชนิด ที่ประกอบกันเป็นโลกนั้นมีอยู่ แต่ตามปรมัตถสัจจะว่า มีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีตัวตน ท่านหริวรมันเชื่อในทฤษฎีพุทธกายและธรรมกาย ซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา  แม้ว่าท่านจะไม่ยอมรับว่า พระพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระแต่ก็ยังเชื่อว่าพระพุทธองค์ ทรงมีอานุภาพพิเศษเหนือสามัญชนทั่วไป เช่นพระองค์ทรงไว้ซึ่งทศพลญาณ(บารมี10) และเวสารัชชธรรม4  ท่านได้ให้ความเห็นต่อไปว่า ปัจจุบันเท่านั้นเป็นเรื่องจริง ส่วนอดีตอนาคตไม่มี

 

นิกายบัญญัติติกวาท หรือปฺรชญาปฺติวาทิน

 

7 นิกายบัญญัติติกวาท หรือปฺรชญาปฺติวาทิน

            นิกายนี้บาลีเรียกว่า “บัญญัติวาท” มีประวัติว่า สืบสายมาแต่พระมหากัจจานะ มีหลักธรรมว่า ทุกข์ไม่มีขันธ์ สฬายตนนะ 12 เป็นมายา ไม่มีอกลามรณกรรมเป็นเหตุเป็นอธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัยแก่วิบาก บุญกุศลเป็นเหตุปัจจัยให้ได้บรรลุอริยมรรค นอกนั้นคงเหมือนนิกายมหาสังฆกะ

8 นิกายมหิสาสกวาท หรือ มหิศาสกะ

            ในปกรณ์ฝ่ายบาลีกล่าวว่า นิกายนี้แยกมาจากเถรวาทโดยตรง แต่ในปกรณ์ฝ่านสํสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายสรวาสติวาทิน ในบันทึกของภิกษุปรมัตถ์เล่าว่า ผู้เป็นต้นบูรพาจารย์เป็นพราหมณ์ มีความแตกฉานเจนจบในพระเวทจนได้รับยกย่องขึ้นเป็นปุโรหิต ภายหลังเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงออกอุปสมบท และได้นำหลักธรรมในพระเวทปรุงแต่งผสมกับพระพุทธวจนะ ตั้งเป็นนิกายขึ้นชื่อว่า “นิกายมหิศาสกะ” แต่บันทึกของกุยกีเล่าว่า คณาจารย์ผู้ให้กำเนิดนิกายเป็นพระราชา ภายหลังเสด็จออกผนวชตั้งเป็นนิกายใหม่ จากการสอบสวนทางประวัติศาสตร์ ปรากฎว่านิกายนี้มีหลักแหล่งที่ลุ่มแม่น้ำมหิและทางภาคตะวันตกและภาคใต้ของอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีอิทธิพลอยู่ในอวันตี วนวาสี มหสมณฑล และแคว้นเกรละแล้วข้ามฝั่งทะเลไปแพร่หลายอยู่ในเกาะลังกา

            ในพุทธศตวรรษที่ 9 สมณะฟาเหียน ได้มาพบคัมภีร์วินัยปิฎกและคัมภีร์สังยุกตาคมของนิกายนี้ที่ลังกา และได้อัญเชิญกลับสู่ประเทศจีนด้วยแต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ท่านมิได้แปลด้วยตนเอง เพราะมัจจุราชได้คร่าชีวิตไปเสียก่อน การแปลวินัยปิฎกจึงตกเป็นหน้าที่ของพระพุทธชีวะชาวแคว้นกาศมีระซึ่งเดินทางมาสู่ประเทศจีน ได้ลงมือแปลสู่พากย์จีน ณ วัดเล่งกวงยี่ สำเร็จเป็นหนังสือ 30 ผูก ให้ชื่อว่า “โหงวฮุงลุก” “ปัญจอัธยายมหิศาสกวินัย”

            นิกายนี้เชื่อว่า บุคคลอาจตรัสรู้อริยสัจ 4 ได้ในขณะเดียวกัน และถือว่า อดีต และอนาคตไม่มี มีแต่ปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยอสังขตธรรม 9 และมีหลักธรรมดังนี้

            1 ถือว่าอดีต อนาคต ไม่มีสภาวะอยู่จริง แต่ปัจจุบันมีอยู่

            2 ถือว่าการแทงทะลุอริยสัจ 4เป็นไปในขณะเดียว

            3 ถือว่าปุถุชนไม่สามารถละราคุ โทสะได้

            4 ถือว่าพาหิรศาสดาไม่สามารถบรรลิอภิญญา 5 ได้

            5 ถือว่าไม่มีพรหมจริยวาสในเทวโลก

            6 ถือว่าไม่มีอันตรภาวะ

7 ถือว่าพระอรหันต์ไม่สร้างสมบุญสมภาร

8 ถือว่าปัญจวิญญาณมีทั้งวิราคะและสราคะ

9 ถือว่ามีโลกิยะสัมมาทิฎฐิ

10 ถือว่าไม่มีโลกิยสัทธินทรีย์

11 ถือว่าอนุสัยไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่มีอารมณ์ต่างจากสังโยชน์

12 ถือว่าปุญญาภิสังขาร ไม่เป็นเหตุแห่งภพโดยตรง

13 ถือว่าพระโสดาบันอาจเสื่อมได้แต่พระอรหันต์ไม่เสื่อม

14 ถือว่ามรรคและวิมุตติของพระพุทธเจ้าและพระสาวกเสมอเหมือนกัน

15 ถือว่าพระพุทธเจ้าสงเคราะห์อยู่ในสงฆ์

16 ถือว่าโดยปรมัตถ์ไม่มี “บุคคล” หรือ “อัตตา” เป็นผู้เวียนว่ายต่อชาติต่อภพ

17 ถือว่าไม่มีโลกุตรฌาน

18 ถือว่าสังขารทั้งหลายเกิดดับทุกขณะ

            จำเนียรกาลล่วงมา นิกายนี้ได้เปลี่ยนความคิดหลายอย่าง เช่นถืออดีตภาวะและอนาคตภาวะเป็นของมีจริง มีอันตรภาวะ กรรมคือเจตนาไม่มีกายกรรม และวจีกรรม มหาปฐพีมณฑลตั้งดำรงอยู่ได้ จนสิ้นกัลป์ไม่เปลี่ยนแปลงไป การบูชาพระสถูปเจดีย์มีผลบุญเล็กน้อยเท่านั้น อนุสัยปรากฏอยู่แม้ในปัจจุบันธรรม

นิกายนี้มีความเชื่อถือว่า ผู้ที่สำเร็จพระอรหันต์แล้วไม่มีเสื่อมอีกพระอริยบุคคลชั้นต่ำคือ พระโสดาบันอาจเสื่อมได้อีก เทวดาบรรลุมรรคผลไม่ได้ บุคคลภายนอกศาสนาบรรลุอภิญญาไม่ได้ ไม่มีอันตรภพ คือความเป็นอยู่ในระหว่าชาตินี้และชาติหน้า พระสงฆ์นั้นหมายรวามเอาพระพุทธเจ้าด้วย ฉะนั้น การถวายทานแก่สงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานจึงมีผลมากยิ่งกว่าถวายแก่พระพุทธเจ้าองค์เดียว ในบรรดามรรคมีองค์ 8ประการนั้น สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะนั้นมิได้จัดเป็นองค์ของอริยมรรคอย่างแท้จริง เพราะทั้ง 3 ประการนี้มิได้เกี่ยวเนื่องหรือเกิดมาจากทางจิตใจ จึงได้ตัดมรรคทั้ง3นี้ ออกจากมรรคมีองค์ 8

 

นิกายวัชชีบุตร หรือวาตสีปุตริยวาทิน

 

9 นิกายวัชชีบุตร หรือวาตสีปุตริยวาทิน

            ในปกรณ์ฝ่ายบาลีกล่าวว่า นิกายนี้แตกแยกออกจากเถรวาทในครั้งพุทธศตวรรษที่ 1  มูลเหตุเพราะความขัดแย้งในการปฏิบัติพระวินัย10 ประการ ดังปรากฏพิสดารในเรื่องทุติยสังคายนาแล้ว

            ปกรณ์ฝ่านสํสกฤตของวสุมิตรกล่าวว่า นิกายนี้แยกมาจากนิกายสรวาสติกวาทินครั้งพุทธศาตวรรษที่ 3

            ส่วนคัมภัร์มัญชุศรีปุจฉาสูตรกล่าวว่า แตกมาจากนิกายเหมวันตวาทิน

            เสถียร โพธินันทะ มีความเห็นในเรื่องนี้ว่า “ข้าพเจ้าเชื่อมติฝ่ายบาลี ในยุคแรกพวกวัชชีบุตรมีแหล่งรวมอยู่ที่กรุงเวสาลี และเคารพนับถือ พระสารีบุตรมหาสาวกกับพระราหุลผู้พุทธชิโนรสว่าเป็นพระบูรพาจารย์ ปกรณ์ต่างๆของนิกายนี้ เราไม่มีโอกาสจะได้ศึกษาเลยเพราะสาบสูญไปหมด แต่ปรากฏว่าพวกวัชชีบุตรยกย่องคัมภีร์ “สารีปุตตาภิธรรม” ซึ่งถือว่าเป็นนิพนธ์ของพระสารีบุตรอรหันต์ คัมภีร์เล่มนี้มีลักษณะท่วงทีคล้ายคัมภีร์วิภังคปกรณ์ ข้าพเจ้าเพิ่มความแน่ใจว่า อภิธรรมปิฎกเป็นอาจริยภาษิตขยายความพระพุทธพจน์ และเริ่มมีแล้วแต่ครั้งยุคพุทธกาลเป็นบางส่วนมิใช่ทั้งหมด บุคคลสำคัญผู้ให้กำเนิดแก่คัมภีร์แบบอภิธรรมก็คือท่านสารีบุตรและท่านพระมหากัจจานะ ปกรณ์ของท่านมหาสาวกทั้ง 2 ได้ถูกถ่ายทอดสืบกันมาจนถึงยุคแตกนิกาย แต่ละนิกายก็ได้พยายามอรรถาธิบายความหรือขยายความแต่งเติมเสริมส่งให้เข้ากันได้กับหลักธรรมของตน ฉะนั้น ไม่เพียงเต่นิกายวัชชีบุตรมีคัมภีร์ สารีปุตตาภิธรรมเท่านั้น แม้นิกายอื่นๆเช่นนิกายวิภัชวาทิน นิกายมหิศาสกะ นิกายธรรมคุปตะ ก็นับถือปกรณ์นี้ดุจกัน อนึ่ง สารีปุตตาภิธรรมในพากษ์จีน ก็ปรากฏมีหลักธรรมหลายอย่างแย้งกับมติฝ่ายวัชชีบุตร ฉะนั้นจึงเป็นอันยุติได้ว่า คัมภีร์เล่มนี้ของฝ่ายวัชชีบุตรคงมีอยู่ต่างหาก”

            อิทธิพลของนิกายวัชชีบุตร เจิดจ้าอยู่ในอินเดียเป็นเวลาหลายศตวรรษจากมคธได้แผ่ขยายไปสู่อินเดียสภาคตะวันตกและใต้ แต่เนื่องด้วยนิกายนี้ มีหลักธรรมยอมรับว่า  มีอาตมันหรืออัตตา จึงถูกโจมตีจากนิกายอื่นๆ เช่นนิกายมหาสังฆิกะ นิกายเถรวาท นิกายสรวสติวาท และนิกายเสาตฺรนฺติกวาท มาก

            หลักธรรมของนิกายนี้มือยู่ดังนี้คือ

1 ถือว่ามีบุคคลหรือัตตาปรมัตถ์

2 สังขารทั้งหลายบางเหล่าตั้งอยู่ได้ชั่วคราว บางเหล่าดับทุกขณะไม่เว้นว่าง

3 ถือว่าปัญจวิญญาณเป็นวิราคะและก็ไม่อื่นจากสราคะ

4 ถือว่าพาหิรศาสดาก็อาจบรรลุอภิญญา 5 ได้

นิกายนี้ถือว่า มรรคมีองค์ 5 เช่นเดียวกับนิกายมหิศาสกะ และเชื่อว่ามีบุคคล คือตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวร เพราะถ้าไม่มีบุคคลแล้วการเวียนว่ายตายเกิดก็มีไม่ได้ ภาวะชนิดนี้แยกออกจากขันธ์ ถ้าไม่มีขันธ์ ภาวะนี้ก็ดำรงอยู่ไม่ได้ และภาวะดังกล่าวนี้สิ้นวิบากขันธ์แล้วก็เป็นอันหมดลงเท่านั้น นิกายนี้เจริญในรัชสมัยของพระเจ้าวรรธนะและได้รับอุปถัมภ์จากพระนางราชยาศรี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาภคินีของพระเจ้าวรรธนะ

 

นิกายสัพพัตถิกวาท หรือ นิกายสรวาสติวาทิน

 

10 นิกายสัพพัตถิกวาท หรือ นิกายสรวาสติวาทิน

            ในปกรณ์ฝ่ายสํสกฤตเรียกชื่อนิกายนี้ว่า “สรวาสติวาทิน” ส่วนในปกรณ์ฝ่ายบาลีเรียกว่า “สพฺพมตฺถีติกวาท”  เรื่องราวของนิกายนี้ปรากฏในปกรณ์สํสกฤตมากและเราได้รายละเอียดเกี่ยวกับหลักธรรมของนิกายนี้มากกว่าทุกๆนิกาย ยกเว้นนิกายเถรวาทเท่านั้น ในกรณีที่เราได้เรื่องราวละเอียดเกี่ยวกับนิกายนี้มาก เป็นพิเศษเราจะต้องขอบคุณบรรดานักแปลคัมภีร์ชาวจีนและชาวอินเดียกับชาวเอเชียกลางที่ได้ถ่ายทอดรักษาปกรณ์เหล่านี้ไว้ในภาษาจีนและทิเบต

            ในปกรณ์ฝ่ายบาลีกล่าวว่า นิกายนี้เป็นกิ่งของนิกายมหิศาสกะ แต่ในปกรณ์สํสกฤตว่าเป็นกิ่งนิกายเถรวาท ศาสตราจารย์นลินนักษทัตต์ก็สนับสนุนมติฝ่ายบาลี และกล่าวว่านิกายมูลสรวาสติกวาทินยังต่างจากนิกายสรวาสติวาทินซึ่งได้ขยายปรัชญาของนิกายมูลสรวาสติวาทินให้พิสดารออกไป ศาสตราจารย์ไซรุสกิกล่าวว่า ภิกษุบริษัทครั้งทุติยสังคายนา ปรากฏว่าฝ่ายสรวาทกับฝ่ายสรวาสติวาทินได้ร่วมกันคัดค้านฝ่ายมหาสังฆิกะ

            อิทธิพลของนิกายสรวาสตวาทินได้ครอบงำทั่วไปในอินเดีย ภาคกลางและภาคเหนือ มีแคว้นมถุรา แคว้นกาศมีระ แคว้นคันธาระเป็นศูนย์รวมและได้แผ่ขยายออกไปจากอินเดียสู่ดินแดนเอเชียกลางและจีน ในยุคตติยสังคายนา นิกายนี้ได้รุ่งเรืองมาก แถบอาณาบริเวณมถุรา และได้สะดุดชะงักลงในรัชสมัยพระเจ้าปุษยมิตร แล้วกลับไปเจริญทางอินเดียภาคเหนืออีก ในสมัยที่พวกกรีกและพวกง้วยสีปกครองอินเดียเหนือปรากฏว่ารุ่งโรจน์ที่สุด

            คณะจารย์ผู้เป็นปฐมแห่งนิกายนี้ คือ “ท่านราหุลภัทร” ผู้อยู่ในวรรณะกษัตริย์ เพราะฉะนั้น นิกายนี้จึงเลือกใช้เฉพาะภาษาสํสกฤต ซึ่งเป็นภาษาของผู้ที่เกิดในวรรณะสูงมาเป็นภาษาทางการจดจารึก พระธรรมวินัยในรัชสมัยพระเจ้ากนิษกะมหาราชซึ่งทรงเลื่อมใสนิกายนี้  ได้มีสังคายนาและจารึกพระธรรมวินัยไว้เป็นหลักฐานดีแล้ว ดังความซึ่งกล่าวมาแล้ว และเนื่องจากครั้งนั้น บรรดาคณาจารย์ที่มาประชุมได้ร่วมกันเรียบเรียงคัมภีร์มหาวิภาษา ฉะนั้น นิกายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “นิกายไวภาษิกะ”

            นิกายนี้มีหลักธรรมใกล้เคียงกับนิกายเถรวาทมาก ต่างแต่เรื่องขันธ์ 5 ซึ่งนิกายนี้เห็นว่า สิ่งทั้งปวง (ขันธ์5 )มีอยู่ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ฉะนั้น นิกายนี้จึงได้ชื่อว่า “สรวาสติวาทิน” หรือ “สัพพัตถิกวาท” ซึ่งแปลง่า ผู้มีความเห็นว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีอยู่แท้จริง แต่ฝ่ายเถรวาทว่าไม่มี

            นิกายนี้มีความเชื่อถือที่สำคัญอยู่ 3ข้อคือ

1 พระอรหันต์อาจเสื่อมจากอรหันต์ภูมิได้

2 สิ่งทั้งหลายมีอยู่และเป็นอยู่ในลักษณะสืบต่อ

3 ความที่จิตสืบเนื่องกันอยู่เสมอเป็นสมาธิได้

หลักธรรมของนิกายนี้ “ได้จัดระเบียบแห่งธรรมทั้งปวงเห็น 75 ประการ คือรูปธรรม 11 จิตตธรรม 1 จิตตสัมปยุตตธรรม 46 จิตตวิปยุตตธรรม 14 อสังขตะ 3 รวม 75 ประการ

 

นิกายธรรมคุตตวาท หรือ ธรรมคุปตะ

 

11 นิกายธรรมคุตตวาท หรือ ธรรมคุปตะ

            ในปกรณ์บาลีกล่าวว่า นิกายนี้แยกมาจากนิกายมหิศาสกะ พร้อมกับนิกายสรวาสติวาทิน ในพุทธศตวรรษที่ 2 และเรียกเป็นภาษาบาลีว่า “ธัมมคุตต” เหตุที่แยกออกมาจากนิกายมหิศาสกะ เนื่องมาจากมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องถวายทาน โดยที่นิกายมหิศาสกะเห็นว่า การถวายแก่สงฆ์ซึ่งรวมทั้งพระพุทธเจ้าด้วยนั้นมีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานแด่พระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว แต่นิกายนี้เห็นว่าการถวายทานแด่พระพุทธเจ้ามีผลมากกว่า แม้แต่การบูชาพระพุทธรูป และพระสถูปของพระพุทธเจ้า ก็ยังมีผลมากกว่าการถวายทานแก่สงฆ์  แต่นิกายนี้ ยังมีความเห็นเช่นเดียวกันนิกายมหิศาสกะว่า พระอรหันต์เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง จะไม่เสื่อมหรือตกมาสู่ความต่ำเพราะกิเลสอีก

            ท่านวสุมิตรก็ได้กล่าวตรงกันกับปกรณ์ในบาลีว่า นิกายนี้เป็นสาขาของนิกายมหิศาสกะ แต่ว่าเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 3

            ในบันทึกของจีนเล่าว่า คณาจารย์ต้นนิกายชื่อ “พระธรรมคุปตะ” เป็นผู้เลื่อมในในพระโมคคัลลานะมาก และเป็นผู้นำเอาลัทธิพราหมณ์เข้ามาเจือในนิกาย จัดแบ่งพระธรรมวินัยออกเป็น 5 หมวด คล้ายกับฝ่ายสังฆิกะคือ สูตรปิฎก 1 วินัยปิฎก 1 อภิธรรมปิฎก 1 ธรณี 1และโพธิสัตว์ปิฎก  วินัยปิฎกของนิกายนี้ได้ถูกแปลสู่พากย์จีนโดยพระพุทธยศกับเต็กฮุกเหนียม เมื่อ พ.ศ.953 เป็นหนังสือ 60 ผูก ชื่อว่า “ลี่ฮุงลุก” หรือ”จตุรอัธยายธรรมคุปตวินัย” ปรากฏว่าวินัยปิฎกฉบับนี้สังฆมณฑลจีนนิยมนับถือมาก

            ในพุทธศตวรรษที่ 12 คณาจารย์จีนรูปหนึ่งชื่อ “เต้าชวง” ได้อาศัยธรรมคุปตวินัยนี้ จัดตั้งเป็นนิกายขึ้นเรียกว่า “นิกายวินัย”

            อนึ่ง ศาสตราจายร์ไซรุสกิสันนิษฐานว่า พระธรรมคุปตะรูปนี้ น่าจะเป็นรูปเดียวกับพระโยนกธรรมรักขิตผู้เป็นหัวหน้าคณะธรรมฑูตในครั้งรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และว่าอิทธิพลของนิกายนี้ครอบงำอยู่ทางเหนือ และภาคตะวันอออกเฉียงเหนือของอินเดีย ตลอดจนบางท้องถิ่นของเอเชียกลาง

            หลักธรรมของนิกายนี้ เอียงไปข้างฝ่ายนิกายมหาสังฆิกะมากกว่าเอียงไปข้างนิกายมหิศาสกะซึ่งตนแยกออกมา คือ

1 ถือว่าทานที่ถวายแก่พระพุทธองค์มีผลานิสงส์มากกว่าถวายในสงฆ์

2 ถือว่าการบูชาพระสถูปเจดีย์มีบุญสมภารโอฬารนักหนา

3 ถือว่าวิมุตติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวกแม้จะเสมอกันแต่มรรคที่ให้

    สำเร็จผิดกัน

4 ถือว่าพาหิรศาสดาไม่มีผู้บรรลุอภิญญา 5

5 ถือว่ารูปกายของพระอรหันต์ก็เป็นอนาสวะ

นิกายนี้ไม่ถือว่า พระวินัยสำคัญยิ่งกว่าพระธรรม เห็นว่าพระธรรมเป็นของสำคัญยิ่งกว่า และว่าการจะหลุดพ้นได้ก็เพราะอาศัยพระธรรม ไม่ใช่พระวินัย

นิกายแพร่หลายอยู่ในเอเชียกลางและประเทศจีน มีพระสูตร พระวินัยและพระอภิธรรมเป็นของตนเอง ปาติโมกข์ของนิกายนี้ยังใช้กันอยู่ในวัดต่างๆของจีน

หมายเหตุ  นิกายวินัยนี้เป็นนิกายที่พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร์ ฯ(โพธิ์แจ้ง) อดีตเจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกาย องค์ที่ 6 ท่านเดินทางไปประเทศจีนอุปสมบทและรับวินัย ปาติโมกข์ เมื่อปี พ.ศ.2477 (ท่านบรรพชาเป็นสามเณรในประเทศไทยที่วัด เช็งจุ๊ยยี่ ที่พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี) และต่อมาในปี พ.ศ.2491 ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเดินทางไปประเทศจีนอีกครั้งตามคำเชิญจาก พระปรมัตตาจารย์เมี่ยวยิ้ว ผู้เป็นประมุขนิกายวินัย องค์ที่18 ให้ท่านไปรับตำแหน่งประมุขนิกายวินัย องค์ที่ 19 สืบต่อ

 

นิกายกัสสปิกวาท หรือกาศยปิยะ

 

12 นิกายกัสสปิกวาท หรือกาศยปิยะ

            นิกายนี้เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 2 บาลีเรียกว่า “กัสสปิกวาท” เป็นสาขาหนึ่งของนิกายสรวาสติวาทิน

            ในปกรณ์สํสกฤตว่า นิกายนี้เกิดขึ้นครั้งปลายพุทธศตวรรษที่ 3บูรพาจารย์ของนิกายกัสสปิกวาท เล่ากันว่า สำเร็จเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ มีชื่อว่า กาศยปิยะหรือกัสสปะ

            ศาสตราจารย์ไซรุสกิ สันนิษฐานว่า ท่านผู้นี้เป็นคนเดียวกับพระกัสสปโคตรตะ ซึ่งเป็นธรรมทูตนำพระศาสนาไปแพร่หลายในหิมวันตประเทศในแผ่นดินพระเจ้าอโศกมหาราช นิกายกัสสปิกวาทมีหลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนกับนิกายธรรมคุตตวาท

            นิกายนี้มีความเชื่อว่า ผลกรรมทำทำไว้ในอดีต ให้ผลในอดีตแล้วก็เป็นอันหยุดอยู่แค่นั้น ไม่ตามมาให้ผลในปัจจุบันและอนาคตอีก แต่ที่ยังไม่ให้ผลก็ยังคงอยู่ตามปกติ

            นิกายนี้มีพระไตรปิฎกเป็นของตนเอง พวกทิเบตเรียกนิกายนี้ว่า “สุวาสกะ”

 

นิกายสังกันติกวาท หรือ เสาตฺรานฺติกะ

 

13 นิกายสังกันติกวาท หรือ เสาตฺรานฺติกะ

            ในปกรณ์บาลีเรียกชื่อนิกายนี้ว่า “สุตตวาที” ว่าแตกออกมาจากนิกายสังกันติกวาท และนิกายสังกันติกกวาทแยกตัวออกมาจากนิกายกัสสปิกวาท ซึ่งนิกายกัสสปิกวาทนี้ แยกมาจากนิกายสรวาสติวาทินอีกต่อหนึ่ง

            แต่ในปกรณ์สํสกฤตกล่าวว่า นิกานเสาตฺรนฺติกวาทิน แยกออกมาจากนิกายสรวาสติวาทินโดยตรง เสถียร โพธินันทะ “สันนิษฐานว่า ความจริงนิกานสังกันติกวาท คงจะเกิดขึ้นในครั้งพุทธศตวรรษที่ 2 แล้วต่อมาค่อยๆขยับขยายหลักธรรมขึ้นทุกที จนถึงในพุทธศตวรรษที่4จึงเกิดเป็น “เสาตฺรนฺติกวาทิน” อย่างโจ่งแจ้งขึ้น

            มติฝ่ายบาลีถือว่าทั้ง 2  นิกายเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งยังเป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัย

            ในปกรณ์ฝ่ายจีนกล่าวว่า เสาตฺรนฺติกวาทิน มีทั้ง “ปุราณเสาตฺรนฺติก” และ”นวเสาตฺรน์ติก” และอธิบาย พวกปุราณเสาตฺรนฺติก มีความคิดผสมระหว่างสรวาสติกวาทิน และนิกายวัชชีบุตร คือถือว่ามีบุคคล ปรมัตถ์หรือปรมัตถ์อัตตา แต่พวกนวเสาตฺรนฺติกปฏิเสธ จากการพิจารณาวิวัฒนาการทางปรัชญาของนิกายเสาตฺรนฺติกวาทินนี้ เสถียร  โพธินันทะ จึงกล่าวอย่างมั่นใจว่า “ข้าพเจ้ามีเความเชื่อโดยปราศจากข้อกังขาเลยว่า นิกายนี้ได้แยกออกมาจากสรวาสติวาทินโดยตรง มิใช่แยกมาจากกัสสปิกวาท (เช่นฝ่ายบาลีกล่าว)เลย”

            แต่ตั้งเดิม ที่พวกเสาตฺรนฺติกก็คงเป็นคณาจารย์อยู่ในนิกายสรวาสติกวาทิน ต่อมาปรากฏว่าเมื่อพระกาตยายนีบุตรรจนาคัมภีร์ชฺญาณปรสฺถานศาสตร์ แล้ว ท่านคณาจารย์ฝ่ายสรวาสติวาทินจึงโน้มเอียงมานิยมนับถือคัมภีร์อภิธรรมกันมากเป็นพิเศษ ถึงกับถือเป็นคัมภีร์สำคัญที่สุด ปรากฏว่ามีคณาจารย์ในนิกายนั้นเอง บางรูปไม่พอใจที่เกิดนิยมอภิธรรมกันขึ้นอย่างนั้น ทั้งนี้เพราะคณาจารย์เหล่านี้ ถือว่าอภิธรรมเป็นเพียงภาษิตของพระสาวกอรรถธิบายพระพุทธเท่านั้นเอง หลักพระพุทธวจนะที่แท้จริงอยู่ที่พระสุตตันตปิฎกต่างหาก อาจารย์พวกนี้จึงแยกตัวออกมาจากฝ่ายนิยมพระอภิธรรมและเผยแผ่พระสุตตันตปิฎกเป็นสำคัญ จึงได้ชื่อว่า “สุตตวาที” ในภาษาบาลี หรือ”เสาต์รนฺติกวาทิน” ในภาษาสํสกฤต

            คณาจารย์องค์สำคัญของฝ่ายเสาตฺรนฺติกวาทินคือ “พระกุมารลัพธะ” ท่านผู้นี้เป็นชาวเมืองตักสิลา ดูเหมือนจะมีชีวิตอยู่ในปลายพุทธศตวรรษที่ 3 หรืออาจจะร่วมสมัยกับพระกาตยายนีบุตรก็ได้

            คณาจารย์รูปนี้เป็นต้นกำเนิฝ่ายนวเสาตฺรนฺติก ว่าเป็นผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลม วันหนึ่งๆสามารถรจนาวลีอักษรได้ถึง 32,000คำ ได้นิพนธ์ปกรณ์วิเศษประกาศคติธรรมฝ่ายเสาตฺรนฺติกวาทินไว้หลายสิบปกรณ์

            อิทธิพลความคิดเห็นของพระกุมารลัพธะมีมากกว่าอิทธิพลความคิดเห็นของพระกาตยายนีบุตรมาก  ดังเราจะเห็นได้ว่า คณาจารย์รูปสำคัญของฝ่ายสรวาสติกวาทิน เช่น พระธรรมตาระ และพระพุทธเทวะ มีทัศนะโน้มเอียงมาทางฝ่ายเสาตรนฺติก เช่นมติของพระพุทธเทวะที่ถือว่า รูปธรรม คือมหาภูติเท่านั้น และเจตสิกก็คือจิตเป็นต้น

            ในคัมภีร์วิภาษาศาสตร์ กล่าวโจมตีคัดค้านทัศนะของเสาตฺรนฺติกวาทินมาก และนั่นก็เป็นเหตุให้เสาตฺรนฺติกวาทินโต้แย้งปรัชญาฝ่ายสรวาสติกวาทินจนถึงพริกถึงขิงอย่างเผ็ดร้อนเป็นปฏิกิริยา สรวาสติกวาทินกับเสาตฺรนฺวาทินเป็นดุจพังพอนกับงูเห่า ต่อสู้กันมาเรื่อยในด้านปรัชญา

            ในบันทึกของกุยกีกล่าวว่าฝ่ายเสาตฺรนฺติกยังแบ่งออกเป็น 2 มติใหญ่คือ มติฝ่ายพระกุมารลัพธะ และมติฝ่ายพระศิริลัพธะ ท่านหลังเป็นผู้แต่งคัมภีร์วิภาษาฝ่ายเสาตฺรนฺติก นิกายนี้แพร่หลายในแถบเหนือของอินเดีย  เป็นที่น่าเสียดายว่า เราไม่มีคัมภีร์ของนิกายนี้เหลือตกค้างอยู่ในปัจจุบัน เราจึงต้องศึกษาความคิดของเสาตฺรนฺติกวาทิน จากปกรณ์สรวาสติกวาทิน ซึ่งกล่าวโจมตีทัศนะของนิกายนี้เท่านั้น

            ตามความเชื่อถือของนิกายนี้เห็นว่า บรรดาขันธ์ทั้ง5 มีอยู่ขันธ์เดียวคือ วิญญาณขันธ์เท่านั้นที่ไปเกิดใหม่ได้ ซึ่งข้อนี้ขัดแย้งกันกับบุคคลในนิกายสมิติยะ

            นิกายนี้เชื่อว่า ทุกคนมีธาตุแห่งพุทธอยู่ในตัว เช่นเดียวกับความคิดเห็นของมหายานนิกายอื่นๆ ที่ว่าพุทธภาวะมีอยู่ในสากล จึงมีคนเห็นกันว่า นิกายนี้เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสาวกยานและมหายาน

หลักธรรมของนิกายนี้ คือ

1 ถือว่ามีขันธมาตร์ เคลื่อนย้ายจากอัตตาภาพหนึ่งสู่อีกอัตภาพหนึ่ง

2 ถือว่าอดีต อนาคต ไม่มีสภาวะอยู่จริง จะมีก็แต่ปัจจุบันเท่านั้น

3 ถือว่าธาตุเท่านั้นที่มีสภาวะอยู่จริง ส่วนขันธ์ อายตนะ ไม่มีจริงเป็นสมมติ

    บัญญัติ

4 ถือว่าวิสัยภายนอกเป็นสภาพมายาไม่มีสภาวะอยู่จริง

5 ถือว่าอสังขตธรรมไม่มีสภาวะอยู่แม้โดยปรมัตถ์

6 ถือว่าจิตกับเจตสิกไม่จำเป็นต้องเกิดดับพร้อมร่วมกัน และเจตสิกก็คือจิต

7 ถือว่าธรรมชาติของจิตเป็นไปทั้งกุศล อกุศล อัพยากตะ

8 ถือว่าในนิโรธสมาบัติและอสัญญีสมาบัติก็มีจิตอยู่

9 ถือว่าไม่มีอวิญญัติรูป

10 ถือว่าดวงจิตอันเกิดดับสืบสันตติเก็บไว้ซึ่งสรรพพีชะ

11 ถือว่าในอรูปก็ยังมีรูปแต่เป็นรูปสุขุมมาก

12 ถือว่าจิตตวิปยุตตธรรมไม่ใช่เป็นสภาวะมีอยู่จริง

13 ถือว่าพระโสดาบันและพระอรหันต์ไม่มีความเสื่อมจากโสดาบัตติผลและ

     อรหัตผล แต่พระสกทาคามีและพระอนาคามี อาจเสื่อมจากสกทาคามิผล

     และอนาคามีผลได้

14 ถือว่าอื่นจากเวจนแล้วไม่มีวิบากเหตุ อื่นจากเวทาแล้วไม่มีวิบากผล

 

นิกายอื่นๆ

 

14 นิกายเจติยวาท

            ชื่อนิกายนี้ มีปรากฏชื่ออยู่ในศิลาจารึกที่เมืองอมราวดี และเมืองนาคารชุโกณฑะ นิกายนี้ ตั้งขึ้นโดยอาจารย์มหาเทวะ ท่านได้อุปสมบทในนิกายมหาสังฆิกะมาก่อน และได้ยอมรับมติของนิกายมหาะเทวะเพียง 5 ข้อ

            ต่อมา เกิดแตกแยกจากนิกายเดิม มาตั้งนิกายขึ้นใหม่ และเนื่องจากที่อาศัยอยู่บนภูเขาซึ่งมีพระเจดีย์มาก จึงได้ให้ชื่อนิกายที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า “นิกายเจติยะ”

            นิกายนี้มีหลักธรรมคำสอนที่สำคัญเหมือนกับนิกายสังฆิกะ คำสอนของนิกายนี้คือ

1 การสร้างพระเจดีย์ การประดับเจดีย์ และการบูชาพระเจดีย์เป็นบุญกุศลอัน

   ใหญ่หลวง

2 การถวายดอกไม้ และเครื่องประดับตกแต่งเป็นต้น แก่พระเจดีย์ถือว่าเป็นการ

   ได้รับบุญกุศลใหญ่หลวงเช่นกัน

3 การให้ทานเป็นบ่อเกิดแห่งบุญกุศล และบุคคลอาจเฉลี่ยส่วนบุญให้แก่บุคคล

   อื่นได้ด้วย

4 พระพุทธเจ้าทรงพ้นจากราคะ โทสะ และโมหะ มีธาตุแห่งความเป็นผู้ประเสริฐ

   เพราะเหตุที่พระองค์ทรงไว้ซึ่งทศพลญาณ

5 ผู้มีความเห็นชอบ ยังไม่พ้นจากโทสะ และไม่พ้นจากบาป ที่ทำไปด้วยอำนาจ

   แห่งโทสะ

6 พระนิพพานเป็นสภาวะที่มีอยู่ เป็นอมตธาตุ

15 นิกายสมิติวาท หรือสมิติยะ

            ในนิกายวัชชีบุตร มีกิ่งนิกายแยกออกมา 4 สาขา คือนิกายัมมุตตริกวาท นิกายภัทรยานิกวาท นิกายฉันนาคาริกวาท และสมิติวาท

            ทั้งสี่นิกายนี้ มีทัศนะคล้ายคลึงกับนิกายแม่ จะแตกต่างกันบ้างก็ในส่วนปลีกย่อย แต่นิกายสมิติยวาทเป็นนิกายที่มีอิทธิพลมกา จนภายหลังกลับรุ่งเรืองเกินหน้านิกายแม่ด้วยซ้ำ และยังได้กลมกลืนนิกายแม่เข้าไว้เป็นอันเดียวกันอีกด้วย ฉะนั้น ในบางแห่งจึงเรียกนิกายนี้ว่า “สมิติยะวัชชีบุตร” เลยทีเดียว

            ในจดหมายเหตุของนักธรรมจาริกจีนเล่าว่า นิกายสมิติยะมีอิทธิพลมากในอินเดียจนถึงพุทธศตวรรษที่ 12

            ท่านหลวงจีนเฮี่ยงจังกล่าวว่าในแคว้นมาลวะแห่งเดียว มีภิกษุของนิกายนี้ ถึง 20000 รูป นอกจากนี้ยังมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในอินเดีย ภาคตะวันออกอีกด้วย

            พระกนิษฐาองค์หนึ่งของพระเจ้าศีลาทิตย์ หรือหรรษวรรธนะ ทรงเลื่อมใสในนิกายนี้มาก และมีความเจนจบในหลักธรรมแห่งนิกายนี้

            นิกายสมิติยวาทมีปรัชญาทำนองเดียวกับฝ่ายวัชชีบุตร ที่สำคัญคือการรับรองว่ามี “บุคคล” หรือ “อาตมัน” โดยปรมัตถ์ เราไม่ใคร่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับทิฎฐิของนิกายนี้มากนัก

            ในบาลีกถาวัตถุ กล่าวถึงความเชื่อในหลักธรรมของนิกายนี้ว่า

1 ถือว่า มีบุคคลโดยความจริงแท้ในปรมัตถ์

2 ถือว่า มีอันตรภาวะ

3 ถือว่า ไม่มีรูปชีวิตินทรีย์

4 ถือว่า วิญญัติก็เป็นศีล

5 ถือว่า อนุสัยเป็นอัพากตะ

6 ถือว่ามีฌานในระหว่าง

7 ถือว่าการประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในเทวโลก

8 ถือว่าปุถุชนก็ละกามราคะ พยาบาทได้

9 ถือว่าบุคคลละกิเลส ได้เป็นส่วนๆ

10 ถือว่า การที่ความดับของสังขารก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเหมือนกัน

11 ถือว่าอสังขตธรรมไม่มีสภาวะอยู่ด้วยตัวของมันเอง

16 นิกายเหมวันตะ

            นิกายนี้ ปรากฏในปกรณ์สํสกฤตว่า แตกมาจากนิการเถรวาทในพุทธศตวรรษที่ 3 เนื่องจากสำนักนี้ตั้งอยู่แถบภูเขาหิมาลัย จึงมีชื่อว่า เหมวันตะ

            หลักปรัชญาส่วนใหญ่เหมือนกับฝ่ายมหาสังฆิกะ

17 นิกายอันธกะ

            นิกายนี้เป็นนิกายย่อยๆกลุ่มหนึ่งของนิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งปรากฏหลักฐานตามที่ เสถียร โพธินัน่ทะ เล่าไว้ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาว่า “ในพุทธศตวรรษที่ 9 นักธรรมจาริกจีนคือสมณะฟาเหียน ได้นำคัมภีร์มหาสังฆิกะวินัยจากนครปาฏลีบุตรมาสู่ประเทศจีน และได้แปลเป็นภาษาจีน ใช้ชื่อว่า “ม่อฮอเจ็งตีลุก” นอกจากนี้ในบัญชีปกรณ์ศักดิ์สิทธิ์ของจีน ยังมีคัมภีร์มหาสังฆิกภิกษุณีวินัยอีกปกรณ์หนึ่งด้วย นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์มหาวัสดุของนิกายโลโกตตรวาทกิ่งของนิกายมหาสังฆิกะ ก็ยังมีฉบับอยู่มาจนทุกวันนี้

            สำหรับถิ่นฐานตั้งเดิมของมหาสังฆิกะนั้น คงมีหลักแหล่งอยู่ในแคว้นมคธมีนครปาฏลีบุตรเป็นต้น แล้วต่อมาได้ค่อยๆแผ่ขยายไปเรื่อยอยู่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย มีปัญจาปและคันธาระ ส่วนทางใต้นิกายนี้ได้ไปตั้งมั่นที่ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำกฤษณาและโคธาวารี มีนครอมราวดี เป็นต้น นิกายย่อยๆของมหาสังฆิกะโดยมากเจริญอยู่ในแคว้นอันธระ ซึ่งทางลังกาเรียกนิกายเล็กๆเหล่านี้ว่าพวก “อันธกะ” ดังปรากฏในบาลีอรรถกถา กถาวัตถุดังนี้

            ชื่อว่าอันธกะนั้น ได้แก่นิกายปุพพเสลิย1 อปรเสลิยะ1 ราชคิริยะ1 และสิทธิธัตถิกะ1 ทั้งหลายนี้เป็นนิกายอุบัติในภายหลัง

            ในปกรณ์บาลี ได้กล่าวถึงทิฏฐิของนิกายอันธกะที่สำคัญๆ ดังนี้

1 ถือว่าธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน

2 ถือว่าจิตดวงเดียวอาจตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวัน

3 ถือว่าการตรัสรู้ธรรมย่อมเป็นไปโดยลำดับ

4 ถือว่าพระโสดาบันก็ไม่มีปัญจินทรีย์

5 ถือว่ายถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ

6 ถือว่าอสัญญีสัตว์ก็ยังมีสัญญา

7 ถือว่าแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก

8 ถือว่ามีคติ 6

9 ถือว่าทิฏฐิความเห็นเป็นอัพยกตธรรม

10 ถือว่าอากาศอาจเห็นได้ด้วยจักษุ

11 ถือว่าพระอรหันต์ยังมีสะสมบุญสมภารได้

12 ถือว่าอุจจาระปัสสวะของพระพุทธองค์เป็นของหอม

13 ถือว่านิพพานธาตุสงเคราะห์เป็นกุศล

14 ถือว่านายนิรยบาลไม่มีในนรก

15 ถือว่าสัตว์เดรัจแนมีอยู่ในหมู่เทวดา

16  ถือว่าพระอรหันต์ยังละสังโยชน์บางอย่างไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่

17 ถือว่าสามัญญผล 4 ทำให้แจ้งได้ด้วยอริยมรรคอันเดี่ยว

18 ถือว่าบุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้

19 ถือว่าธรรมตัณหาเป็นอัพยากตะ

20 ถือว่า นิโรธสมาบัติก็เป็นอสังขตะ

21 ถือว่าปฐวีธาตเป็นของเห็นได้

22 ถือว่าไม่มีเจตสิกธรรม

18 นิกายอปรเสลิยะ และ นิกายอุตตรเสลิยะ

            นิกายทั้ง 2 นี้ เป็นกลุ่มเดียวกับนิกายเจติยวาท ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว หลักธรรมของนิกายทั้ง 3 นี้มีว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายยัไม่ละทุคติ การบูชาพระสถูปเจดีย์ไม่ได้ผลานิสงส์โอฬาร ทั้งนี้เพราะพระสถูปเจดีย์ ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุหรือพระสาวกธาตุเป็นวัตถุไร้วิญญาณ ไม่อาจทำหน้าที่เป็นทิกขิเณยยบุคคลได้ แต่ก็เป็นบุญเหมือนกัน ถ้าผู้บูชามีใจผ่องแผ้วเคารพจริงๆ

19 นิกายอุตตรปถะ

            นิกายดูเหมือนจะแพร่หลายอยู่ทางเหนือของมคธ และเป็นนิกายซึ่งผสมความคิดระหว่างฝ่ายเถรวาทกับฝ่ายมหาสังฆิกะเข้าไว้ด้วยกัน

            หลักธรรมของนิกายนี้ส่วนใหญ่เราทราบจากกถาวัตถุ มีข้อสำคัญ ดังนี้

1 พระพุทธองค์ไม่มีพระกรุณา

2 ถือว่าบุคคลกิเลสที่เป็นอดีตได้ ละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ ละกิเลสที่เป็นปัจจุบัน 

    ได้

3 ถือว่าคฤหัสถ์ก็เป็นพระอรหันต์ได้

4 ถือว่าบรรลุอรหัตผลพร้อมทั้งการผุดเกิดได้

5 ถือว่าธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์เป็นธรรมปราศจากอาสวะ

6 ถือว่าพระอรหันต์ยังประกอบด้วยผล4

7 ถือว่าบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด7ครั้ง

8 ถือว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ(คือพระโสดาบัน)ละทุคติได้

9 ถือว่าความยินดีในสิ่งไม่ชอบใจมีอยู่

10 ถือว่าท่านบริสุทธิ์ได้ โดยทางฝ่ายทายกข้างเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดยปฏิคาหก

11 ถือว่าบุคคลฆ่ามารดาโดยมิได้เจตนาก็เป็นอนันตริยกรรม

12 ถือว่าการตรัสรู้ก็มีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์

20 นิกายวิภัชวาทิน

            นิกายนี้ไม่ปรากฏในคัมภีร์เภทธรรมมติจักรศาสตร์ของพระวสุมิตร แต่ปรากฏในคัมภีร์มหาวิภาษาศาสตร์หลายสิบแห่ง ทั้งนี้ในฐานะที่ถุกวิพากย์วิจารณ์อย่างหั่นแหลกจากฝ่ายสรวาสติวาทิน

            ในตำนานฝ่ายบาลีวิภัชวาทินคือ นิกายเถรวาท ซึ่งปรากฏชื่อนี้ขึ้นในครั้งตติยสังคายนา ในพระสูตรบาลีกล่าวว่า ความจริงคำนี้เป็นพระพุทธวจนะว่า

            ปัญหาพยากรณ์อย่าง1 พึงแก้ตรง  อีกอย่าง1พึงแก้จำแนก อย่างที่3พึงย้อนถาม ส่วนที่4พึงยกเลิก

            อนึ่ง ในบาลีมัชฌิมนิกาย พระบรมศาสดาตรัสว่า พระองค์เป็นวิภัชวาที แสดงธรรมโดยแยกแยะแจกแจง พระสาวกในนิกายเถรวาทเห็นเป็นมงคลนามพ้องกับจุดประสงค์แห่งนิกายคนจึงรับเอาคำว่า “วิภัชวาทิน” มาเป็นชื่อนิกาย

            แต่ข้อเท็จจริงบอกแก่เราว่า วิภัชวาทินมิใช่จะเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของฝ่ายเถรวาทเท่านั้น ในบันทึกของจีนกล่าวว่า นิกายบัญญัติวาท นิกายมหิศาสกะ นิกายสมิติยะ บางครั้งก็เรียกพวกตนว่าเป็นวิภัชวาทินเหมือนกัน ศาสตราจารย์คิมูระไทเกน ให้ข้อสันนิษฐานว่า บางทีนิกายนี้จะเป็นอีกนิกายหนึ่งซึ่งสามานรวมความคิดของฝ่ายเถรวาทและมหาสังฆิกะ ในตำนานของทิเบตกลับกล่าวว่า วิภัชวาทินเป็นนิกายแยกจากเถรวาท และจากวิภัชวาทินนี้ จึงเกิดนิกายมหิศาสกะ กาศยปิยะ ธรรมคุปตะอีกด้วย

            เสถียร โพธินันทะ มีความเห็นในเรื่องนี้ว่า “ข้าพเจ้าเมื่อพิเคราะห์แล้ว ปรารถนาสันนิษฐานว่า “วิภัชวาทิน” เป็นชื่อซึ่งพวกนิกายในกลุ่มที่แยกจากเถรวาทนิยมใช้เรียกนิกายของตน รวมทั้งนิกายเถรวาทเดิม  และนิกายมหิศาสกะ นิกายกาศยปิยะ นิกายเสาตฺรนฺติกะ และนิกายธรรมคุปตะด้วย”

            ในปกรณ์ฝ่ายสรวาสติวาทินซึ่งเป็นนิกายใหญ่ แม้จะเป็นสาขาของเถรวาทก็ยอมรับเอาคำ วิภัชวาทินมาใช้ มิหนำยังตั้งตนเป็นคู่ปรับกับพวกวิภัชวาทิน ฉะนั้น วิภัชวาทินในทัศนะของฝ่ายสรวาสติวาทินหมายมุ่งไปถึงนิกายมหิศาสกะ นิกายธรรมคุปตะ นิกายกาศยปิยะเป็นพิเศษ และมีหลายแห่งทั้งในคัมภีร์สํสกฤตอื่น รุ่นต่อๆมา เมื่อกล่าวถึงวิภัชวาทิน ก็หมายถึงนิกายเถรวาทและนิกายเสาตฺรนฺติกวาทินอีกด้วย

21 นิกายเวตุลลกะ

            นิกายนี้ยังมีประวัติที่คลุมเครือ ดูเหมือนจะเป็นกิ่งนิกายมหาสังฆิกะรุ่นหลัง แต่ศาสตราจารย์นลินักษทัตต์กล่าวว่า นิกายนี้แพร่หลายลงไปถึงลังกาและมีสำนักอยู่ ณ อภัยคีรีวิหารชั่วระยะหนึ่ง และว่านิกายดังกล่าวนี้จะมีส่วนพัวพันอะไรอยู่บ้างกับลัทธิมหายาน อย่างไรก็ตาม ทัศนะของนิกายเวตุลลกะ เราได้ทราบจากกถาวัตถุแต่เพียงเล็กน้อย คือ

1 ถือว่าไม่พึงกล่าวว่าพระสงฆ์รับประทาน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม อาหารได้

2 ถือว่าไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่สงฆ์มีผลมาก

3 ถือว่าไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระพุทธองค์มีผลมาก

4 ถือว่าไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้

5 ถือว่าไม่พึงกล่าวว่าพระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ได้

6 ถือว่าไม่พึงกล่าวว่า พระพุทธองค์ดำรงอยู่ในมนุษยโลก

7 ถือว่าไม่พึงกล่าวว่า พระธรรมนี้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแต่ควรจะว่า

   เป็นพระพุทธนิรมิตแสดง

ประวัติและหลักธรรมของนิกายต่างๆ ซึ่งได้ยกมาแสดงให้ปรากฏตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อเรียงตามลำดับก็มีถึง 21 นิกายแต่ถ้านับโดยละเอียดจะมีมากกว่า  ซึ่งนิกายเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเป็นนิกายย่อยๆและมีทัศนะเหมือนกับนิกายที่เป็นหลักอยู่ จึงได้กล่าวรวมๆกันไป เมื่อตั้งแต่ต้นจนจบแล้วก็จะพบว่า นิกายสำคัญและเป็นหลักของนิกายอื่นๆมีเพียง 2 นิกาย คือเถรวาทหรือสถวีรวาท และมหาสังฆิกะ  ซึ่งต่อมาได้เป็นเถรวาทและมหายานในปัจจุบัน สาวกยานทุกนิกายที่กล่าวถึงปัจจุบันเหลือแต่เถรวาทเท่านั้น ส่วนนิกายอื่นๆได้เสื่อมไปหมดแล้ว

          นี่คืออนิจจังในหลักการของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบและสั่งสอนอบรม และเป็นสิ่งที่ชาวพุทธต้องยอมรับและเรียนรู้ให้ลึกซึ้ง ไม่มีสิ่งใดในทุกโลกธาตุที่ไม่เปลี่ยนแปลง (นิจจัง) และก็ไม่มีสิ่งใดในทุกโลกธาติที่ไม่ดับสูญสลายไป(อนัตตา) เมื่อมีนิกายเกิดตามอนิจจัง ก็ต้องมีนิกายสูญสิ้นตามอนัตตา ความต้องการรวมนิกายเพื่อตัดอนิจจังและอนัตตา แทนที่จะได้ความมั่นคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกลับเป็นการเพิ่มนิกายใหม่เข้ามา ดังนั้นอนิจจังและอนัตตาจึงเป็นเรื่องที่ต้องเป็นไป ไม่สามารถตัดขาดทำลายมันได้ ทำอย่างไรจึงอยู่ในท่ามกลางความเป็นอนิจจังและอนัตตาได้โดยไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต้องดำรงอยู่ในตถาคต(ความเป็นเช่นนั้น) ด้วยภาวะศูนยตา(ภาวะกึ่งกลาง)

อ้างอิง หนังสือ The Words of My Perfect Teacher  

หนังสือคณะสงฆ์จีนนิกาย

หนังสือของเสถียร โพธินันทะ

ดาวน์โหลดตัวอักษร (ฟ้อนต์) ทิเบตทั้ง ๓ แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการชมเว็บ

actisan.ttf

adtibet.ttf

atibet.ttf


uptime alert service

website monitor

View My Stats