- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์, 10 พฤศจิกายน 2555 13:44
- เขียนโดย gonghoog
สัทธรรมปุณฑรีกสูตร
คำนำนี้ คัดลอกมาจาก หนังสือสัทธรรมปุณฑรีกะสูตร ของ อ.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ซึ่งเป็นการพิมพ์ในครั้งที่สี่
คำนำนี้เขียนโดย ส.ศิวรักษ์ เมื่อ 1 มีนาคม 2537
สัทธรรมปุณฑรีกะสูตรนั้น ถือกันว่าเป็นพระคัมภีร์ที่สำคัญและมีอิทธิพลมากสำหรับมหายาน แทบทุกลัทธินิกายในฝ่ายนั้นพากันเคารพนับถือพระสูตรนี้เป็นอย่างยิ่ง มีผู้ศึกษาค้นคว้า จนเขียนเป็นอรรถกถาและฎีกาขยายความจากพระสูตรมากมาย นี่ในระหว่างผู้รู้ สำหรับคนธรรมดาสามัญก็พากันท่องบ่นหรือสวดและทรงจำกันไว้ได้มาก แทบตลอดทั้งเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะก็จีน เกาหลี และญี่ปุ่น
พระสูตรนี้รจนาขึ้นเมื่อไร เป็นภาษาอะไร ไม่มีใครทราบเข้าใจก็น่าเดิมคงเขียนขึ้นเป็นภาษาพื้นเมืองในชมพูทวีปหรือในเอเชียกลาง ต่อมาจึงประพันธ์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์
ทราบแน่ว่า เมื่อ พ.ศ. 798 นั้น มีการแปลออกจากสันสกฤตเป็นภาษาจีนแล้ว และต่อมามีคำแปลเป็นภาษาจีนหลายสำนวน แต่สำนวนที่สำคัญสุดนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ.949 โดยท่านกุมารชีวะ สำนวนนี้แพร่หลายที่สุดในเมืองจีนและได้ถ่ายทอดออกสู่ ประเทศอื่นๆที่รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนอีกด้วย
ต้นฉบับภาษาเดิมนั้นไม่ปรากฏ แม้ฉบับภาษาสันสกฤตก็อันตรธานไปนาน จนเพิ่งค้นพบได้เมื่อเร็วๆ นี้เองที่เนปาล ที่เอเชียกลางและที่กัษมีระ แต่ฉบับภาษาสันสกฤตที่ว่านี้ดูเหมือนจะจารลงไว้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 หรือพุทธศตวรรษที่ 17 นี่เอง หรือหลังจากนั้นเสียด้วยซ้ำ แต่บางฉบับก็ถือว่าจารลงไว้แต่ คริสต์ศตวรรษที่ 5 หรือ 6 ฉบับสันสกฤตที่ว่านี้ผิดแผกแตกต่างไปจากฉบับที่ท่านกุมารชีวะแปลเป็นอันมาก มีการแต่งเติมเสริมต่อแสดงโวหารยิ่งๆขึ้น แสดงว่าฉบับที่ท่านกุมารชีวะแปลนั้นเก่าแก่กว่าภาษาสันสกฤตทุกฉบับที่เพิ่งค้นพบได้
นอกจากแปลเป็นภาจีนดังกล่าวแล้ว ได้มีการแปลเป็นภาษาธิเบต และต่อมาแปลเป็นภาษามงโกล แมนจู เกาหลี และญี่ปุ่นด้วย โดยที่ทางอัษฎงคตประเทศนั้น ในไม่กี่ปีมานี้ มีฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งอื่นๆอีกด้วย แต่ดูเหมือนคนไทยโดยทั่วๆไปแทบจะไม่รู้จักพระสูตรนี้กันเอาเลยก็ว่าได้ จึงใคร่ขอทำคำอธิบายไว้ หวังจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง
ท่านกุมารชีวะผู้แปลพระสูตรนี้เป็นภาษาจีนนั้น มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ. 887-956 บิดาท่านเป็นชาวภารตประเทศ แต่มารดาเป็นเจ้าหญิงเมืองกุชา (ซึ่งปัจบันนี้อยู่ในแคว้นซินเกียง) ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนา จนพระเจ้ากรุงจีนต้องยกกองทัพไปตีกุชา เพื่อได้ตัวท่านมาเป็นปราชญ์ของราชสำนักเมืองเชียงอาน
ตามประวัตินั้นท่านและพระมารดาออกบวชด้วยกันทั้งคู่ ได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่แคว้นกัษมีระ ท่านกุมารชีวะนั้นนอกจากศึกษาทางพระศาสนาแล้ว ยังเชี่ยวชาญวิชาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์และไสยศาสตร์ด้วย เมื่อไปอยู่ประเทศจีน ท่านรู้จักภาษาจีนดี สำหรับการแปล พระสูตรจากภาษาสันสกฤตเป็นจีนนั้น ท่านกุมารชีวะใช้วิธีอธิบายความหมายให้พระจีนฟัง 2 ครั้งก่อน แล้วพระนักแปลเหล่านั้นอภิปรายกันจนเข้าใจชัดเจน จากนั้นจึงแปลออกเป็นภาษาจีนอย่างไพเราะ โดยท่านกุมารชีวะจะนำคำแปลมาเทียบกับต้นฉบับเดิมและแก้ไขซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเป็นที่พอใจอย่างที่สุดจึงยุติได้
นี้นับว่าผิดกับนักแปลอื่นๆ ที่มุ่งการแปลคำต่อคำ ท่านกุมารชีวะมุ่งให้ได้สาระแห่งพระสูตร แม้จะตันทอนให้สั้นลง ท่านก็กล้าทำ และปรุงสำนวนโวหารให้เข้ากับจารีตของฝ่ายจีนด้วย ฉบับแปลที่ท่านบัญชาการแปลจึงเป็นที่นิยมและแพร่หลายมาก จนภายหลังมีพระจีนที่มีความสามารแปลได้เองโดยตรง เช่น พระตรีปิฎก (ถังซำจั่ง) จึงเกิดอีกโวหารการแปลที่เทียบได้ถึงสำนวนของท่านกุมารชีวะ
สัทธรรมปุณฑรีกะสูตร ตามฉบับของท่านกุมารชีวะนั้น แบ่งออกเป็น 28 บรรพ และทุกบรรพมีทั้งคาถาที่เป็นคำร้อยกรอง และมีความเรียงร้อยแก้วกำกับไปด้วย ที่มีคาถาตามกำหนดท่านฉันทลักษณ์นั้นก็เพื่อให้ง่ายแก่การท่องบ่น สะดวกสำหรับทรงจำเข้าใจว่าเดิมคงมีแต่คาถา ต่อภายหลังจึงเขียนความเรียงประกอบขึ้น ออกจะเป็นการกล่าวซ้ำ คือความเรียงนั้นรจนาขึ้นเพื่อดำเนินเรื่องให้อ่านเข้าใจง่าย ขยายความจากคาถาเดิมอีกที
พระสูตรเริ่มดังพระสูตรอื่นๆในพระไตรปิฎก ดังทางบาลีประเดิมด้วยคำว่า เอวม.เม สุตํ เอวมฺเม สุตํ เอกํสมยํ ภตวา กล่าวคือ เอาคำไปถวายให้พระอานนท์นำมาบรรยายว่า "ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วดังนี้"
สำหรับพระสูตรนี้อ้างว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าหรือพระสมณโคดมพุทธเจ้า เสด็จประทับ ณ ยอดภูเขาคิชกูฏ (ท่านกุมารชีวะแปลเป็นจีนว่า ยอดเขานกอินทรี คงเกรงว่าจีนจะรังเกียจนกแร้ง) นอกกรุงราชคฤห์ แล้วทรงแสดงธรรม หากผิดไปจากการแสดงธรรมตามพระสูตรของฝ่ายบาลี ที่มีแต่พระสาวกสดับพระธรรมเทศนา อย่างดีก็เมื่อทรงแสดงจบ เทวดา มาร พรหม จึงอนุโมทนาด้วย ดังตอนแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรหรือปฐมเทศนาเป็นอาทิ
โดยที่พระสูตรของทางมหายานนั้น นอกจากพระสาวกที่เป็นมนุษย์แล้ว ยังมีเทวดา มาร พรหม มาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาอีกเป็นอันมาก ที่สำคัญคือพระโพธิสัตว์หรือมหาสัตว์ต่างๆ
เราต้องเข้าใจว่าในทางมหายานนั้น ต้องการพรรณนาด้วยการใช้โวหาร พ้นภาษาคนออกไป ถ้าเราเข้าใจในทางภาษาธรรมจึงจะได้ถึงเนื้อหาสาระของพระสูตรตามนิกายฝ่ายเหนือ และถ้าไม่ใจกว้าง จะเกิดอาการชนิดที่บันดาลโทสะได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะพระสูตรนี้ ฟังดูเผินๆ ออกจะเป็นการเหยียดหีนยานหรือสาวกยานของฝ่ายเถรวาท ด้วยการดำเนินความว่าในสมัยปฐมโพธิกาล พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้พระสาวกได้บรรลุอรหันตผลเพื่อเข้าถึงพระนิพพานเป็นประการสำคัญ หากมาถึงสมัยที่ตรัสเทศนาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ในตอนปัจฉิมโพธิกาล คือเมื่อทรงจาริกสั่งสอนเวไนยสัตว์อยู่กว่า 40 พรรษาแล้ว จึงทรงเน้นที่เอกยานอันเป็นจุดสุดยอดหนึ่งเดียว กล่าวคือ ประการแรกหรือชั้นแรกได้แก่สาวกยานหรือหีนยานดังกล่าวแล้ว เพราะในชั้นนั้นการสอนพระสัทธรรมให้สูงไปกว่านั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ขยับขึ้นจากสาวก จึงถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้ได้เอง หากไม่ทรงสั่งสอนผู้อื่น หรือเพราะไม่มีเวไนยสัตว์จะให้ตรัสสอนได้ ต่อขึ้นที่สามจึงถึงโพธิสัตวยาน หรือมหายาน คือสรรพสัตว์อาจบรรลุได้ถึงการเป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกันทั้งสิ้น
แม้พระอรหันตสาวกและพระอรหันตสาวิกาก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกันทั้งสิ้น รวมถึงพระนางมหาปชาบดีโคตรมีพระแม่น้าผู้เป็นปฐมภิกษุณี และพระนางยโสธราพิมพา ซึงก็ออกบวชเป็นพระภิกษุณีด้วยเช่นกัน มิใยต้องเอ่ยถึงพระอรหันตสาวกอย่างพระอัญญาโกณฑัญญะ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลาน์ที่สุดจนพระเทวทัต ซึ่งถูกแผ่นดินสูบลงไปตกนรกอเวจีอันต่ำใต้และร้ายแรงที่สุด ต่อไปในอนาคตก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพราะในอดีตชาติ พระเทวทัตเคยมีบุญคุณกับพระศากยมุนีพุทธเจ้า กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือแม้คนเลวสุด ก็สามารถเข้าถึงจุดสูงสุดในทางพระศาสนาได้
ที่เคยกล่าวกันว่าสตรีไม่อาจตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้นั้นพระสูตรนี้ก็ปฏิเสธโดยสิ้นเชิง จนถึงกับกล่าวว่าพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ได้ลงไปยังนาคบาดาล เทศนาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรแก่พญานาค ชื่อสาคร แล้วธิดาพญานาคอายุเพิ่งจะเข้าแปดขวบย่างก็สามารถตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
ประเด็นคือ อย่างว่าแต่สตรีเพศเลย แม้เด็กและผู้ซึ่งไม่ใช่มนุษย์ก็อาจตรัสรู้อย่างสูงสุดได้ ทั้งๆที่ในทางตรรกวิทยา พระอนุตรสัมมาสัมพุทะเจ้าน่าจะต้องทรงค้นพบพระสัทธรรมเองหากนี่ได้ฟังจากพระโพธิสัตว์อีกที แต่เราต้องทำความเข้าใจไว้ว่า พระมัญชุศรีโพธิสัตว์นั้นถือได้ว่าเป็นพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า ในทางบุคคลาธิษฐาน กล่าวคือธิดาพญานาคใคร่ครวญพระสัทธรรมตามพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า แล้วก็อาจตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การตรัสรู้ทางฝ่ายมหายานนั้น ไม่ขีดวงจำเพาะบรรพชิต แต่ที่ว่านี้ไม่ทั่วไปในทุกนิกายของฝ่ายมหายาน หากเน้นจำเพาะพวกที่ยึดถือตามพระคัมภีร์นี้เท่านั้น
อนึ่ง พระสูตรนี้เอง มีข้อความที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าตรัสยืนยันว่าพระองค์มิได้ทรงตรัสรู้ในพระชาตินี้ ดังที่ทางฝ่ายสาวกยานเข้าใจ หากได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณมานับได้อสงไขยแสนกัลปแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งคือพุทธภาวะนั้นเป็น สภาวะแห่งนิรันดร บางครั้งทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์มาช่วยสรรพสัตว์ บางครั้งเสด็จหลีกออกจากโลกไปเลย เพื่อให้เป็นประหนึ่งว่าโลกว่างจากพระพุทธเจ้า เวไนยสัตว์จะได้ไม่ประมาทเร่งประพฤติธรรม หาไม่จะนึกว่ามีพระโพธิสัตว์มาคอยเกื้อหนุนตนอยู่ตลอดเวลา ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธบารมีกล่าวอีกนัยหนึ่งคือทรงใช้อุปายะ ที่ว่าวิธีหนึ่งใดจะมีคุณในการเอื้อหนุนสรรพสัตว์เป็นที่สุดนั้นแลเป็นประการสำคัญ
พระสูตรนี้เน้นให้เห็นว่าเราต้องไม่คำนึงถึงพระพุทธเจ้าในฐานะพระมนุษยพุทธที่ประสูต ณ สวนลุมพินี ตรัสรู้ที่พุทธคยา ทรงแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิบตนมฤคทายวัน และเสด็จดับขันธ์ที่นอกเมืองกุสินารา เพราะนั่นเป็นเพียงการแสดงออกทางประวัติเท่านั้น แท้ที่จริงพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอยู่เหนือกาล เหนือสถานที่ เหนืออวกาศ ทรงเป็นสภาวะสัจและทรงเป็นมหากรุณาคุณอันดำรงคงอยู่ทุกแห่งหนและในทุกๆสรรพสัตว์
เนื้อหาประการหลังนี้คือหัวใจของมหายาน อาการที่ทรงแสดงสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ณ ภูเขาคิชกูฎนั้น ถือได้ว่าแสดงออกทางพระธรรมกาย อันสุดวิสัยที่ปุถุชนจะรับรู้ได้ ทรงนำเอานิทานต่างๆ มาเล่าไว้ในพระสูตรนี้ และพรรณาอย่างไพเราะลึกซึ้งและอย่างน่าเห็นคล้อยตาม หากไม่เป็นไปตามนัยแห่งตรรกะหรือปรัชญาแบบตะวันตก แม้คำสอนหลักในทางพระศาสนา เช่น เรื่องอริยสัจและปฏิจจสมุปบาท ก็เอ่ยไว้อย่างผ่านๆไปเท่านั้น เพราะถือว่าพุทธศาสนาย่อมรู้จักหัวข้อคำสอนหลักเหล่านั้นอยู่แล้ว หากความในพระสูตรนี้เน้นในเรื่องที่ไม่มีปรากฏในพระสูตรอื่นๆ
พระสูตรนี้เน้นว่าพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้านั้นลึกซึ้งละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ อย่างยากที่สามัญมนุษย์จะเข้าได้ถึงจึงเสนอให้ท่องบ่นพระสูตรนี้ แม้ไม่เข้าใจ หากอาศัยศรัทธาปสาทะก็จะตรัสรู้โดยใช้อธิษฐานบารมี มุ่งที่โพธิสัตวธรรม เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลสรรพสัตว์ ให้พากันเข้าถึงพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
ถ้าใช้วิชาการอย่างฝรั่งจะหาบทสรุปจากพระสูตรนี้ไม่ได้เลยดัง ยอช ทานาเบ หัวหน้าแผนกวิชาศาสนาของมหาวิทยาลัยฮาวาย(อเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น) ถึงกับกล่าวว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ "ว่าด้วยพระสูตรแต่ไม่มีคำสอนในพระสูตรเลย....เป็นดังคำนำอย่างยาว หากไม่มีเนื้อเรื่อง"
เราต้องไม่ลืมว่า ทางมหายานถือว่าปรมัตถสัจนั้นไม่อาจใช้ถ้อยคำแสดงออกได้ เพราะภาษามีขอบเขตอันจำกัด หากใช้ภาษาพรรณนาปรมัตถสัจก็เท่ากับทำลายสภาวะของศูนยตานั่นเอง ฉะนั้น ถ้อยคำในพระสูตรจึงตีวงกรอบไว้รอบๆ เพื่อให้ปรมัตถสัจอยู่ตรงกลาง โดยไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึง หรือเอ่ยถึงไม่ได้ หากให้เวไนยสัตว์อาจตรัสรู้ได้เอง
ก็ในเมื่อปรมัตถสัจเข้าถึงไม่ได้ด้วยถ้อยคำหรือด้วยการใช้ความคิด พระสูตรนี้จึงเน้นให้แต่ละคนเข้าหาพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้าด้วยศรัทธาปสาทะและการปฏิบัติตามเท่านั้นเอง
อิทธิพลของพระสูตรนี้ในแง่ที่เน้นเรื่องศรัทธาและภาวนานั้นจึงมีคุณอนันต์ แม้คนที่ไร้การศึกษาก็เข้าหาพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้าได้ ด้วยการยึดตามพระสูตร ด้วยวิธีอ่าน ด้วยการท่องบ่น ด้วยการคัดลอก และด้วยการสอนข้อความตามพระสูตรนี้
ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นบุญกิริยา ซึ่งสามารถเอาชนะอกุศลและความชั่วร้ายต่างๆได้
นอกจากสวดสังวัธยาย ฯลฯ แล้ว ยังควรทำพิธีบูชาด้วย ธูปเทียน ดนตรี แก้วแหวนเงินทองต่างๆอีกด้วย ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่ายิ่งถวายของมีราคามากจักได้บุญกุศลมาก หากขึ้นอยู่กับศรัทธาปสาทะที่แนบแน่นและจริงใจต่างหาก แม้ยากจก ถ้าจิตเป็นกุศล แม้ของที่ถวายจะน้อยค่าทางทรัพย์สินก็อาจได้อานิสงส์ยิ่งกว่าเศรษฐีที่ถวายมาก หากไม่ศรัทธาจริงหรือหวังผลตอบแทนจากการถวายนั้นๆ
อนึ่ง การสวดสังวัธยายนั้น ให้มั่นในพระพุทธคุณ โดยเฉพาะก็พระกรุณาคุณอันแสดงออกทางบุคคลาธิษฐาน เป็นองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งตามพยัญชนะหมายถึง พระองค์ผู้ทรงรับเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากชาวโลกนั่นเองชาวโลกในที่นี้อาจเป็นสัตว์นรกก็ได้ ใครก็ตามที่เชื่อมั่นในพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ พระองค์จะทรงแผ่กรุณยภาพไปถึงตลอดเวลา ขอให้มั่นในศรัทธาปสาทะเท่านั้น
พระสูตรนี้เอ่ยถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งทรงเนรมิตพระกาย ออกเป็นถึง 33 พระรูป ทรงเป็นทั้งเพศหญิง เพศชายเป็นมนุษย์และอมนุษย์ สูงส่ง ยิ่งใหญ่ และต่ำต้อย
จากพระสูตรนี้เองที่พระโพธิสัตว์พระองค์นั้นกลายสภาพเป็นเจ้าแม่กวนอิมในเมืองจีน และแคนนอนในญี่ปุ่น แม้จนบัดนี้พระโพธิสัตว์พระองค์นี้ก็ทรงเกื้อหนุนจุนเจือให้ผู้คนเป็นอันมากได้รับความสุข โดยทรงช่วยขจัดความทุกข์ให้นานาประการ
ถ้าเข้าใจพระสูตรนี้จากแง่มุมของมหายาน ก็จะเห็นได้ว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรประมวลไว้ทั้งคำเทศน์ นิทาน และการแนะนำช่วยเหลือให้สาธุชนเกิดศรัทธาปสาทะในสถานะต่างๆกัน นี้แลคือหัวใจสำคัญอันเป็นเหตุให้พระสูตรนี้แพร่หลายในโลกของฝ่ายมหายานมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
สัทธรรมปุณฑรีกสูตร
คำนำนี้ คัดลอกมาจาก หนังสือสัทธรรมปุณฑรีกะสูตร ของ อ.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ซึ่งเป็นการพิมพ์ในครั้งที่สี่
คำนำนี้เขียนโดย ส.ศิวรักษ์ เมื่อ 1 มีนาคม 2537
สัทธรรมปุณฑรีกะสูตรนั้น ถือกันว่าเป็นพระคัมภีร์ที่สำคัญและมีอิทธิพลมากสำหรับมหายาน แทบทุกลัทธินิกายในฝ่ายนั้นพากันเคารพนับถือพระสูตรนี้เป็นอย่างยิ่ง มีผู้ศึกษาค้นคว้า จนเขียนเป็นอรรถกถาและฎีกาขยายความจากพระสูตรมากมาย นี่ในระหว่างผู้รู้ สำหรับคนธรรมดาสามัญก็พากันท่องบ่นหรือสวดและทรงจำกันไว้ได้มาก แทบตลอดทั้งเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะก็จีน เกาหลี และญี่ปุ่น
พระสูตรนี้รจนาขึ้นเมื่อไร เป็นภาษาอะไร ไม่มีใครทราบเข้าใจก็น่าเดิมคงเขียนขึ้นเป็นภาษาพื้นเมืองในชมพูทวีปหรือในเอเชียกลาง ต่อมาจึงประพันธ์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์
ทราบแน่ว่า เมื่อ พ.ศ. 798 นั้น มีการแปลออกจากสันสกฤตเป็นภาษาจีนแล้ว และต่อมามีคำแปลเป็นภาษาจีนหลายสำนวน แต่สำนวนที่สำคัญสุดนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ.949 โดยท่านกุมารชีวะ สำนวนนี้แพร่หลายที่สุดในเมืองจีนและได้ถ่ายทอดออกสู่ ประเทศอื่นๆที่รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนอีกด้วย
ต้นฉบับภาษาเดิมนั้นไม่ปรากฏ แม้ฉบับภาษาสันสกฤตก็อันตรธานไปนาน จนเพิ่งค้นพบได้เมื่อเร็วๆ นี้เองที่เนปาล ที่เอเชียกลางและที่กัษมีระ แต่ฉบับภาษาสันสกฤตที่ว่านี้ดูเหมือนจะจารลงไว้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 หรือพุทธศตวรรษที่ 17 นี่เอง หรือหลังจากนั้นเสียด้วยซ้ำ แต่บางฉบับก็ถือว่าจารลงไว้แต่ คริสต์ศตวรรษที่ 5 หรือ 6 ฉบับสันสกฤตที่ว่านี้ผิดแผกแตกต่างไปจากฉบับที่ท่านกุมารชีวะแปลเป็นอันมาก มีการแต่งเติมเสริมต่อแสดงโวหารยิ่งๆขึ้น แสดงว่าฉบับที่ท่านกุมารชีวะแปลนั้นเก่าแก่กว่าภาษาสันสกฤตทุกฉบับที่เพิ่งค้นพบได้
นอกจากแปลเป็นภาจีนดังกล่าวแล้ว ได้มีการแปลเป็นภาษาธิเบต และต่อมาแปลเป็นภาษามงโกล แมนจู เกาหลี และญี่ปุ่นด้วย โดยที่ทางอัษฎงคตประเทศนั้น ในไม่กี่ปีมานี้ มีฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งอื่นๆอีกด้วย แต่ดูเหมือนคนไทยโดยทั่วๆไปแทบจะไม่รู้จักพระสูตรนี้กันเอาเลยก็ว่าได้ จึงใคร่ขอทำคำอธิบายไว้ หวังจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง
ท่านกุมารชีวะผู้แปลพระสูตรนี้เป็นภาษาจีนนั้น มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ. 887-956 บิดาท่านเป็นชาวภารตประเทศ แต่มารดาเป็นเจ้าหญิงเมืองกุชา (ซึ่งปัจบันนี้อยู่ในแคว้นซินเกียง) ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนา จนพระเจ้ากรุงจีนต้องยกกองทัพไปตีกุชา เพื่อได้ตัวท่านมาเป็นปราชญ์ของราชสำนักเมืองเชียงอาน
ตามประวัตินั้นท่านและพระมารดาออกบวชด้วยกันทั้งคู่ ได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่แคว้นกัษมีระ ท่านกุมารชีวะนั้นนอกจากศึกษาทางพระศาสนาแล้ว ยังเชี่ยวชาญวิชาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์และไสยศาสตร์ด้วย เมื่อไปอยู่ประเทศจีน ท่านรู้จักภาษาจีนดี สำหรับการแปล พระสูตรจากภาษาสันสกฤตเป็นจีนนั้น ท่านกุมารชีวะใช้วิธีอธิบายความหมายให้พระจีนฟัง 2 ครั้งก่อน แล้วพระนักแปลเหล่านั้นอภิปรายกันจนเข้าใจชัดเจน จากนั้นจึงแปลออกเป็นภาษาจีนอย่างไพเราะ โดยท่านกุมารชีวะจะนำคำแปลมาเทียบกับต้นฉบับเดิมและแก้ไขซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเป็นที่พอใจอย่างที่สุดจึงยุติได้
นี้นับว่าผิดกับนักแปลอื่นๆ ที่มุ่งการแปลคำต่อคำ ท่านกุมารชีวะมุ่งให้ได้สาระแห่งพระสูตร แม้จะตันทอนให้สั้นลง ท่านก็กล้าทำ และปรุงสำนวนโวหารให้เข้ากับจารีตของฝ่ายจีนด้วย ฉบับแปลที่ท่านบัญชาการแปลจึงเป็นที่นิยมและแพร่หลายมาก จนภายหลังมีพระจีนที่มีความสามารแปลได้เองโดยตรง เช่น พระตรีปิฎก (ถังซำจั่ง) จึงเกิดอีกโวหารการแปลที่เทียบได้ถึงสำนวนของท่านกุมารชีวะ
สัทธรรมปุณฑรีกะสูตร ตามฉบับของท่านกุมารชีวะนั้น แบ่งออกเป็น 28 บรรพ และทุกบรรพมีทั้งคาถาที่เป็นคำร้อยกรอง และมีความเรียงร้อยแก้วกำกับไปด้วย ที่มีคาถาตามกำหนดท่านฉันทลักษณ์นั้นก็เพื่อให้ง่ายแก่การท่องบ่น สะดวกสำหรับทรงจำเข้าใจว่าเดิมคงมีแต่คาถา ต่อภายหลังจึงเขียนความเรียงประกอบขึ้น ออกจะเป็นการกล่าวซ้ำ คือความเรียงนั้นรจนาขึ้นเพื่อดำเนินเรื่องให้อ่านเข้าใจง่าย ขยายความจากคาถาเดิมอีกที
พระสูตรเริ่มดังพระสูตรอื่นๆในพระไตรปิฎก ดังทางบาลีประเดิมด้วยคำว่า เอวม.เม สุตํ เอวมฺเม สุตํ เอกํสมยํ ภตวา กล่าวคือ เอาคำไปถวายให้พระอานนท์นำมาบรรยายว่า "ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วดังนี้"
สำหรับพระสูตรนี้อ้างว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าหรือพระสมณโคดมพุทธเจ้า เสด็จประทับ ณ ยอดภูเขาคิชกูฏ (ท่านกุมารชีวะแปลเป็นจีนว่า ยอดเขานกอินทรี คงเกรงว่าจีนจะรังเกียจนกแร้ง) นอกกรุงราชคฤห์ แล้วทรงแสดงธรรม หากผิดไปจากการแสดงธรรมตามพระสูตรของฝ่ายบาลี ที่มีแต่พระสาวกสดับพระธรรมเทศนา อย่างดีก็เมื่อทรงแสดงจบ เทวดา มาร พรหม จึงอนุโมทนาด้วย ดังตอนแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรหรือปฐมเทศนาเป็นอาทิ
โดยที่พระสูตรของทางมหายานนั้น นอกจากพระสาวกที่เป็นมนุษย์แล้ว ยังมีเทวดา มาร พรหม มาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาอีกเป็นอันมาก ที่สำคัญคือพระโพธิสัตว์หรือมหาสัตว์ต่างๆ
เราต้องเข้าใจว่าในทางมหายานนั้น ต้องการพรรณนาด้วยการใช้โวหาร พ้นภาษาคนออกไป ถ้าเราเข้าใจในทางภาษาธรรมจึงจะได้ถึงเนื้อหาสาระของพระสูตรตามนิกายฝ่ายเหนือ และถ้าไม่ใจกว้าง จะเกิดอาการชนิดที่บันดาลโทสะได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะพระสูตรนี้ ฟังดูเผินๆ ออกจะเป็นการเหยียดหีนยานหรือสาวกยานของฝ่ายเถรวาท ด้วยการดำเนินความว่าในสมัยปฐมโพธิกาล พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้พระสาวกได้บรรลุอรหันตผลเพื่อเข้าถึงพระนิพพานเป็นประการสำคัญ หากมาถึงสมัยที่ตรัสเทศนาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ในตอนปัจฉิมโพธิกาล คือเมื่อทรงจาริกสั่งสอนเวไนยสัตว์อยู่กว่า 40 พรรษาแล้ว จึงทรงเน้นที่เอกยานอันเป็นจุดสุดยอดหนึ่งเดียว กล่าวคือ ประการแรกหรือชั้นแรกได้แก่สาวกยานหรือหีนยานดังกล่าวแล้ว เพราะในชั้นนั้นการสอนพระสัทธรรมให้สูงไปกว่านั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ขยับขึ้นจากสาวก จึงถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้ได้เอง หากไม่ทรงสั่งสอนผู้อื่น หรือเพราะไม่มีเวไนยสัตว์จะให้ตรัสสอนได้ ต่อขึ้นที่สามจึงถึงโพธิสัตวยาน หรือมหายาน คือสรรพสัตว์อาจบรรลุได้ถึงการเป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกันทั้งสิ้น
แม้พระอรหันตสาวกและพระอรหันตสาวิกาก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกันทั้งสิ้น รวมถึงพระนางมหาปชาบดีโคตรมีพระแม่น้าผู้เป็นปฐมภิกษุณี และพระนางยโสธราพิมพา ซึงก็ออกบวชเป็นพระภิกษุณีด้วยเช่นกัน มิใยต้องเอ่ยถึงพระอรหันตสาวกอย่างพระอัญญาโกณฑัญญะ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลาน์ที่สุดจนพระเทวทัต ซึ่งถูกแผ่นดินสูบลงไปตกนรกอเวจีอันต่ำใต้และร้ายแรงที่สุด ต่อไปในอนาคตก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพราะในอดีตชาติ พระเทวทัตเคยมีบุญคุณกับพระศากยมุนีพุทธเจ้า กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือแม้คนเลวสุด ก็สามารถเข้าถึงจุดสูงสุดในทางพระศาสนาได้
ที่เคยกล่าวกันว่าสตรีไม่อาจตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้นั้นพระสูตรนี้ก็ปฏิเสธโดยสิ้นเชิง จนถึงกับกล่าวว่าพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ได้ลงไปยังนาคบาดาล เทศนาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรแก่พญานาค ชื่อสาคร แล้วธิดาพญานาคอายุเพิ่งจะเข้าแปดขวบย่างก็สามารถตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
ประเด็นคือ อย่างว่าแต่สตรีเพศเลย แม้เด็กและผู้ซึ่งไม่ใช่มนุษย์ก็อาจตรัสรู้อย่างสูงสุดได้ ทั้งๆที่ในทางตรรกวิทยา พระอนุตรสัมมาสัมพุทะเจ้าน่าจะต้องทรงค้นพบพระสัทธรรมเองหากนี่ได้ฟังจากพระโพธิสัตว์อีกที แต่เราต้องทำความเข้าใจไว้ว่า พระมัญชุศรีโพธิสัตว์นั้นถือได้ว่าเป็นพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า ในทางบุคคลาธิษฐาน กล่าวคือธิดาพญานาคใคร่ครวญพระสัทธรรมตามพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า แล้วก็อาจตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การตรัสรู้ทางฝ่ายมหายานนั้น ไม่ขีดวงจำเพาะบรรพชิต แต่ที่ว่านี้ไม่ทั่วไปในทุกนิกายของฝ่ายมหายาน หากเน้นจำเพาะพวกที่ยึดถือตามพระคัมภีร์นี้เท่านั้น
อนึ่ง พระสูตรนี้เอง มีข้อความที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าตรัสยืนยันว่าพระองค์มิได้ทรงตรัสรู้ในพระชาตินี้ ดังที่ทางฝ่ายสาวกยานเข้าใจ หากได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณมานับได้อสงไขยแสนกัลปแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งคือพุทธภาวะนั้นเป็น สภาวะแห่งนิรันดร บางครั้งทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์มาช่วยสรรพสัตว์ บางครั้งเสด็จหลีกออกจากโลกไปเลย เพื่อให้เป็นประหนึ่งว่าโลกว่างจากพระพุทธเจ้า เวไนยสัตว์จะได้ไม่ประมาทเร่งประพฤติธรรม หาไม่จะนึกว่ามีพระโพธิสัตว์มาคอยเกื้อหนุนตนอยู่ตลอดเวลา ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธบารมีกล่าวอีกนัยหนึ่งคือทรงใช้อุปายะ ที่ว่าวิธีหนึ่งใดจะมีคุณในการเอื้อหนุนสรรพสัตว์เป็นที่สุดนั้นแลเป็นประการสำคัญ
พระสูตรนี้เน้นให้เห็นว่าเราต้องไม่คำนึงถึงพระพุทธเจ้าในฐานะพระมนุษยพุทธที่ประสูต ณ สวนลุมพินี ตรัสรู้ที่พุทธคยา ทรงแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิบตนมฤคทายวัน และเสด็จดับขันธ์ที่นอกเมืองกุสินารา เพราะนั่นเป็นเพียงการแสดงออกทางประวัติเท่านั้น แท้ที่จริงพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอยู่เหนือกาล เหนือสถานที่ เหนืออวกาศ ทรงเป็นสภาวะสัจและทรงเป็นมหากรุณาคุณอันดำรงคงอยู่ทุกแห่งหนและในทุกๆสรรพสัตว์
เนื้อหาประการหลังนี้คือหัวใจของมหายาน อาการที่ทรงแสดงสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ณ ภูเขาคิชกูฎนั้น ถือได้ว่าแสดงออกทางพระธรรมกาย อันสุดวิสัยที่ปุถุชนจะรับรู้ได้ ทรงนำเอานิทานต่างๆ มาเล่าไว้ในพระสูตรนี้ และพรรณาอย่างไพเราะลึกซึ้งและอย่างน่าเห็นคล้อยตาม หากไม่เป็นไปตามนัยแห่งตรรกะหรือปรัชญาแบบตะวันตก แม้คำสอนหลักในทางพระศาสนา เช่น เรื่องอริยสัจและปฏิจจสมุปบาท ก็เอ่ยไว้อย่างผ่านๆไปเท่านั้น เพราะถือว่าพุทธศาสนาย่อมรู้จักหัวข้อคำสอนหลักเหล่านั้นอยู่แล้ว หากความในพระสูตรนี้เน้นในเรื่องที่ไม่มีปรากฏในพระสูตรอื่นๆ
พระสูตรนี้เน้นว่าพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้านั้นลึกซึ้งละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ อย่างยากที่สามัญมนุษย์จะเข้าได้ถึงจึงเสนอให้ท่องบ่นพระสูตรนี้ แม้ไม่เข้าใจ หากอาศัยศรัทธาปสาทะก็จะตรัสรู้โดยใช้อธิษฐานบารมี มุ่งที่โพธิสัตวธรรม เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลสรรพสัตว์ ให้พากันเข้าถึงพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
ถ้าใช้วิชาการอย่างฝรั่งจะหาบทสรุปจากพระสูตรนี้ไม่ได้เลยดัง ยอช ทานาเบ หัวหน้าแผนกวิชาศาสนาของมหาวิทยาลัยฮาวาย(อเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น) ถึงกับกล่าวว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ "ว่าด้วยพระสูตรแต่ไม่มีคำสอนในพระสูตรเลย....เป็นดังคำนำอย่างยาว หากไม่มีเนื้อเรื่อง"
เราต้องไม่ลืมว่า ทางมหายานถือว่าปรมัตถสัจนั้นไม่อาจใช้ถ้อยคำแสดงออกได้ เพราะภาษามีขอบเขตอันจำกัด หากใช้ภาษาพรรณนาปรมัตถสัจก็เท่ากับทำลายสภาวะของศูนยตานั่นเอง ฉะนั้น ถ้อยคำในพระสูตรจึงตีวงกรอบไว้รอบๆ เพื่อให้ปรมัตถสัจอยู่ตรงกลาง โดยไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึง หรือเอ่ยถึงไม่ได้ หากให้เวไนยสัตว์อาจตรัสรู้ได้เอง
ก็ในเมื่อปรมัตถสัจเข้าถึงไม่ได้ด้วยถ้อยคำหรือด้วยการใช้ความคิด พระสูตรนี้จึงเน้นให้แต่ละคนเข้าหาพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้าด้วยศรัทธาปสาทะและการปฏิบัติตามเท่านั้นเอง
อิทธิพลของพระสูตรนี้ในแง่ที่เน้นเรื่องศรัทธาและภาวนานั้นจึงมีคุณอนันต์ แม้คนที่ไร้การศึกษาก็เข้าหาพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้าได้ ด้วยการยึดตามพระสูตร ด้วยวิธีอ่าน ด้วยการท่องบ่น ด้วยการคัดลอก และด้วยการสอนข้อความตามพระสูตรนี้
ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นบุญกิริยา ซึ่งสามารถเอาชนะอกุศลและความชั่วร้ายต่างๆได้
นอกจากสวดสังวัธยาย ฯลฯ แล้ว ยังควรทำพิธีบูชาด้วย ธูปเทียน ดนตรี แก้วแหวนเงินทองต่างๆอีกด้วย ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่ายิ่งถวายของมีราคามากจักได้บุญกุศลมาก หากขึ้นอยู่กับศรัทธาปสาทะที่แนบแน่นและจริงใจต่างหาก แม้ยากจก ถ้าจิตเป็นกุศล แม้ของที่ถวายจะน้อยค่าทางทรัพย์สินก็อาจได้อานิสงส์ยิ่งกว่าเศรษฐีที่ถวายมาก หากไม่ศรัทธาจริงหรือหวังผลตอบแทนจากการถวายนั้นๆ
อนึ่ง การสวดสังวัธยายนั้น ให้มั่นในพระพุทธคุณ โดยเฉพาะก็พระกรุณาคุณอันแสดงออกทางบุคคลาธิษฐาน เป็นองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งตามพยัญชนะหมายถึง พระองค์ผู้ทรงรับเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากชาวโลกนั่นเองชาวโลกในที่นี้อาจเป็นสัตว์นรกก็ได้ ใครก็ตามที่เชื่อมั่นในพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ พระองค์จะทรงแผ่กรุณยภาพไปถึงตลอดเวลา ขอให้มั่นในศรัทธาปสาทะเท่านั้น
พระสูตรนี้เอ่ยถึงพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งทรงเนรมิตพระกาย ออกเป็นถึง 33 พระรูป ทรงเป็นทั้งเพศหญิง เพศชายเป็นมนุษย์และอมนุษย์ สูงส่ง ยิ่งใหญ่ และต่ำต้อย
จากพระสูตรนี้เองที่พระโพธิสัตว์พระองค์นั้นกลายสภาพเป็นเจ้าแม่กวนอิมในเมืองจีน และแคนนอนในญี่ปุ่น แม้จนบัดนี้พระโพธิสัตว์พระองค์นี้ก็ทรงเกื้อหนุนจุนเจือให้ผู้คนเป็นอันมากได้รับความสุข โดยทรงช่วยขจัดความทุกข์ให้นานาประการ
ถ้าเข้าใจพระสูตรนี้จากแง่มุมของมหายาน ก็จะเห็นได้ว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรประมวลไว้ทั้งคำเทศน์ นิทาน และการแนะนำช่วยเหลือให้สาธุชนเกิดศรัทธาปสาทะในสถานะต่างๆกัน นี้แลคือหัวใจสำคัญอันเป็นเหตุให้พระสูตรนี้แพร่หลายในโลกของฝ่ายมหายานมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
คำนำ อ.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์
คำนำ
จากหนังสือ สาระสำคัญแห่งสัทธรรมปุณฑรีกสูตร
ฉบับภาษาจีนของพระกุมารชีพ
สุรพล เพชรศร เรียบเรียง
ข้าพเจ้าได้นำเอาเนื้องหาสาระของ สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับแปลจากภาษาจีนของพระกุมารชีพมาเล่าโดยย่อแต่ละบท ทั้ง 28 บท แล้วให้ชื่อว่า สาระสำคัญแห่งสัทธรรมปุณฑรีกสูตร เพราะมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่านได้ทราบเค้าเรื่องของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรโดยย่อก่อน และในเวลาเดียวกันก็พยายามจะนำเสนอความหมายของพระสูตรตามที่อรรถกถาจารย์ต่างๆได้แสดงไว้ เพื่อให้ท่านได้เห็นความเป็นที่หนึ่งของพระสูตรนี้ตามคำกล่าวของพระสูตรเอง อันจะเป็นการดึงดูดใจให้ท่านได้อ่านและได้ทราบความจริงอันยิ่งใหญ่ของสัทธรรมปุรฑรีกสูตร ที่สมบูรณ์ด้วยตนเอง และถ้าท่านเข้าใจและศรัทธาในพระสูตรที่เข้าใจได้ยากและเชื่อได้ยากนี้แล้ว ท่านก็จะพบแหล่งบุญอันยิ่งใหญ่ที่จะให้ท่านสามารถขุดเอาออกมาใช้ได้โดยไม่ยาก และจะทำให้ท่านได้มาซึ่งผลบุญอันเต็มไปด้วยความโชคดีไม่มีที่สิ้นสุด
เนื่องจากในปัจจุบันนี้ สัทธรรมปุณฑรีกสูตรฉบับภาษาไทย ได้มีการพิมพ์ออกเผยแพร่ในประเทศไทยแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัทธรรมปุณฑรีกสูตรฉบับที่แปลจากฉบับภาษาจีนที่พระกุมารชีพแปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นฉบับที่ได้รับความเคารพนับถือและนิยมศึกษากันทั่วไปในหมู่ผู้ที่นับถือพุทธศาสนามหายานในเอเชียตะวันออกมานานหลายศตวรรษ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนามหายานตามคำสอนของพระนิชิเร็นได้โชนินซึ่งยึดถือสัทธรรมปุณฑรีกสูตรฉบับนี้เป็นหลัก ขณะนี้ได้แพร่หลายไปในทุกประเทศทั่วโลก และในการศึกษาคำสอนของพระนิชิเร็นได้โชนิน ถ้าท่านได้รู้จักสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอันเป็นหลักพื้นฐานแห่งคำสอนของท่านแล้ว ท่านก็จะเข้าใจความยอดเยี่ยมของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร และการตรัสรู้ธรรมของพระนิชิเร็นได้โชนินด้วย
ส่วนเรื่องราวของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันขอเล่าโดยย่อดังต่อไปนี้
สัทธรรมปุณฑรีกสูตรในประเทศอินเดีย
สัทธรรมปุณฑรีกสูตรจะต้องมีต้นกำเนิดในประเทศอินเดียแน่นอน เพราะเป็นคำสอนของพระศากยมุนีพุทธเจ้า แต่คำสอนต่างๆทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ก็ใช่ว่าจะปรากฏในรูปพระสูตรทันที ในช่วงเวลาหลายร้อยปีหลังพุทธกาล คำสอนของพระองค์ได้ท่องจำกันไว้โดยศิษย์สาวกหมู่เหล่าต่างๆ และได้ถ่ายทอดจากอาจารย์สู่ศิษย์ต่อๆกันมาหลายชั่วคน จนกว่าจะได้รวบรวมรจนาออกมาเป็นคัมภีร์รูปพระสูตร ในราวๆก่อนคริสตกาลไม่นาน
สัทธรรมปุณฑรีกสูตรก็เช่นกัน คงจะได้ท่องจำกันมาด้วยภาษาท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่งมาก่อน ต่อมาเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มชาวพุทธที่มีแนวคิดใหม่ที่แตกต่างไปจากหลักนิยมของพุทธศาสนาเดิมซึ่งมีพระภิกษุสงฆ์เป็นแกน คนกลุ่มใหม่นี้มีทั้งภิกษุแลฆราวาสเป็นแกนนำ และเรียกชื่อกลุ่มของตัวว่า มหายาน มีอุดมการณ์ พระโพธิสัตว์ เป็นหลักและเรียกคำสอนที่เป็นแนวทางนี้ว่า โพธิสัตวยาน แล้วเรียกคำสอนที่เป็นแนวทางพุทธศาสนาเดิมว่า สาวกยาน บ้าง และปัจเจกพุทธยาน บ้าง หรือรวมเรียกสองยานนี้ว่า หีนยาน เมื่อเป็นเช่นนี้ความขัดแย้งก็เกิดขึ้น มีการกล่าวหาคำสอนอีกฝ่ายหนึ่งว่าไม่ใช่พุทธพจน์ ของฝ่ายตนถูกของอีกฝ่ายผิด ในสถานการณ์นี้เองที่สัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้ปรากฏออกมา เอกยาน หรือ พุทธยาน หรือ เอกพุทธยาน เท่านั้น อันเป็นความพยายามที่จะประสานพุทธศาสนาให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระสูตรนี้จึงได้เน้นว่าในพุทธศาสนามีเพียงยานเดียว เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารปฏิบัติและบรรลุเป้าหมายได้อย่างเท่าเทียมกัน คำสอนอื่นหรือยานอื่นก็ใช่ว่าพระพุทธเจ้าสอนผิด แต่เป็นคำสอนที่เป็นอุบายวิธีชั่วคราวเพื่อนำประชาชนไปสู่วัตถุประสงบค์ที่แท้จริงของพระองค์ คือการที่จะช่วยให้ประชาชนได้บรรลุพุทธภาวะกันทุกคน และด้วยเอกพุทธยานแห่งสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้เท่านั้น ที่ทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้อย่างเสมอภาคกัน
สัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้แต่งขึ้นที่ไหน เมื่อใดและด้วยภาษาอะไรยังไม่เป็นที่แน่ชัด บ้างว่าเดิมคงรวบรวมมาจากภาษาท้องถิ่นบางแห่งของอินเดีย แต่ต่อมาเมื่อเป็นรูปพระสูตรที่แน่นอนจึงได้แต่งด้วยภาษาสันสกฤตเพื่อความน่านับถือในฐานะเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ตามค่านิยมสมัยนั้น ท่านผู้รู้เช่น ดร.เอดเวิด คอนซ์ กล่าวว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้ถูกรวบรวมออกเป็นรูปพระสูตรราว 80 ปีก่อน คริสตกาลหรือพุทธศตวรรษที่5 แต่อย่างไรก็ตามสัทธรรมปุณฑรีกสูตรฉบับภาษาสันสกฤตได้หายสาบสูญจากอินเดียไปนานแล้ว
เมื่อไม่นานมานี้ไม่มีการค้นพบสัทธรรมปุณฑรีกสูตรภาษาสันสกฤตชื่อ “สทฺธรฺมปุณฺฑรีกสูตฺร” ในประเทศเนปาลซึ่งประมาณว่าเป็นฉบับคัดลอกในพุทธศตวรรษที่ 17 อีกฉบับที่เอเชียกลางซึ่งเป็นฉบับคัดลอกในราวพุทธศตวรรษที่ 13 หรือ 14 และค้นพบที่กิลกิจในแคว้นแคชเมียร์เมื่อปี พ.ศ.2474 เป็นฉบับคัดลอกที่เก่ากว่าคือในราวพุทธศตวรรษที่ 11 หรือ 12 แต่ก็มิใช่เป็นฉบับดั้งเดิม เพราะมีข้อแตกต่างจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตที่พระกุมารชีวะใช้เปลเป็นภาษาจีน ในพ.ศ.949 ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามพอสรุปได้ว่า แม้สัทธรรมปุณฑรีกสูตรจะมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย แต่ได้หายสาบสูญจากอินเดียไปนาน เพิ่งกลับมาปรากฏเมื่อไม่นานมานี้เองแต่มิได้เป็นของดั้งเดิมเสียแล้ว
สัทธรรมปุณฑรีกสูตรในประเทศจีน
พระพุทธศาสนาคงได้เริ่มแผ่เข้าสู่ประเทศจีนผ่านทางเอเชียกลางบ้างแล้ว ตั้งแต่ตอนปลายราชวงศ์จิว แต่มาเริ่มเป็นทางการเมื่อพระเจ้าฮั่นเม่งเต้แห่งราชวงศ์ตังฮั่น ได้ส่งราชทูตไปสืบพระพุทธศาสนาจากอินเดีย เมื่อเดินทางไปได้สองปีถึงแคว้นยิวฉีในเอเชียกลางได้พบพระภิกษุสองรูป คือพระกาศยปมาตังคะ กันพระธรรมรักษ์ จึงได้นิมนต์พระภิกษุทั้งสองไปประเทศจีนพร้อมด้วยพระพุทธรูปและคัมภีร์สันสกฤตจำนวนมาก และมาถึงเมืองโลยาง (ลกเอี๋ยง) ในปี พ.ศ.610 ซึ่งได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าจักรพรรดิจีน และได้สร้างอารามให้เป็นที่พำนักของอาจารย์ทั้งสองรวมทั้งหอเก็บพระคัมภีร์ และพระราชทานนามว่า แป๊ะเบ๊ยี่ (วัดม้าขาว) นับเป็นวัดพระพุทธศาสนาแห่งแรกในประเทศจีน และเป็นการเริ่มการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศจีน หลังจากนั้นพระภิกษุสงฆ์ที่มีความรู้พุทธธรรมแตกฉานและนักแปล จากอินเดียและเอเชียกลางก็ได้เดินทางมาจีนพร้อมด้วยคัมภีร์พุทธศาสนามากขึ้น และนักศึกษาจีนเองก็ได้เดินทางไปศึกษาในอินเดียและเอเชียกลางด้วยเช่นกัน จะเห็ได้จากการที่ภายในเวลาไม่ถึงพันปีได้มีนิกายที่ยึดถือพระสูตรหรือศาสตร์ต่างๆกันเกิดขึ้นมากมาย
ในประเทศจีนสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ได้ถูกแปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน 6 ครั้งคือ ในปี พ.ศ.798 , 829, 833, 878, 949, และ1144 แต่เวลานี้มีอยู่เพียงสามฉบับเท่านั้นคือ
1 เจ็งฝ่าฮั่วจิ๊ง ฉบับแปลของพระธรรมรักษ์ในปี พ.ศ.829
2 เหมียวฝ่าเหลียนฮั่วจิ๊ง (เหมียวฮวบเน้ยฮั่วเก็ง) หรือ เมียวโฮเร็งเงเคียว ฉบับแปลของ พระกุมารชีวะในปี พ.ศ.949
3 เทียนเป็นเหมียวฝ่าเหลียนฮั่วจิ๊ง ฉบับแปลของพระญาณคุปต์และพระธรรมคุปต์ในปี พ.ศ.1144
เวลานี้ต้นฉบับภาษาสันสกฤตของทั้งสามฉบับนี้สูญหายไปหมดแล้ว สำหรับสัทธรรมปุณฑรีกสูตรหรือเหมียวฝ่าเหลียนฮั่วจิ๊ง ฉบับแปลของพระกุมารชีวะเป็นฉบับที่ได้รับความนิยมและยอมรับของชาวพุทธมหายานทั่วไปมากที่สุด ทั้งในเรื่องความถูกต้องทางธรรมและความสละสลวยทางภาษาที่ใช้
ตรงนี้ของแทรกประวัติของพระกุมารชีวะไว้ด้วยเพราะท่านเป็นนักแปลคัมภีร์พุทธศาสนาที่ยอดเยี่ยมที่สุด ท่านเป็นชาวเมืองแคว้นกุฉาในเอเชียกลางมีชีวิตอยู่ระหว่าง 887-957 มารดาของท่านเป็นพระขนิษฐาของพระมุขแห่งแคว้นกุฉา ส่วนบิดาของท่านชื่อ กุมารยาน เป็นชาวอินเดียแห่งตระกูลมีชื่อ ท่านกุมารชีวะได้ออกบวชตั้งแต่อายุ7ขวบ พร้อมกับมารดาของท่าน และทั้งสองได้ออกจาริกท่องเที่ยวไปศึกษาพระพุทธศาสนาทั่วประเทศอินเดียและอีกหลายประเทศ ด้วยเหตุนี้ทำให้ท่านมีความรู้หลายภาษา เมื่อท่านกลับแคว้นกุฉาท่านได้เผยแผ่พระพุทธศาสนามหายานทำให้ชื่อเสียงของท่านเลื่องลือไปไกลถึงประเทศจีน จนเป็นที่ต้องการของจักพรรดิจีน และในที่สุดโดยการเชิญของจักรพรรดิเหยาชิงแห่งราชวงศ์จิ้นหลัง พระกุมารชีวะได้มาถึงเมืองเชียงอานในปี พ.ศ.944 ท่านได้รับตำแหน่งพระอาจารย์แห่งชาติและเริ่มงานการแปลคัมภีร์พุทธศาสนาในทันทีโดยการสนับสนุนของปราชญ์จีนอีกหลายร้อยคน ท่านดับขันธ์ในปี พ.ศ. 957 ในชั่วเวลากว่าสิบปีท่านได้สร้างงานแปลชั้นเยี่ยม 35 เรื่อง เป็นหนังสือ 294 เล่ม และเรื่องยอดเยี่ยมสร้างชื่อเสียงโด่งดังให้แก่ท่านมากที่สุดคือ สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับสันสกฤตที่ท่านแปลว่า เหมียวฝ่าเหลียนฮั่วจิ๊ง หรือ เมียวฮวบเน้ยฮั่วเก็ง หรือ เมียวโฮเร็งเงเคียว จากประวัติของท่านมีเรื่องเล่าว่าหลังจากท่านดับขันธ์ได้มีพิธีการฌาปนกิจศพของท่าน ปรากฏว่าร่างของท่านถูกไฟไหม้หมดเหลือเพียงลิ้นเท่านั้นที่ไม่ไหม้ตามที่ท่านได้ประกาศไว้ก่อนดับขันธ์ และเกิดมีดอกบัวสีน้ำเงิน บนลิ้นนั้นเปล่งรังสีสว่างไสวไปทั่วปริมณฑล อันเป็นการพิสูจน์ว่าคำสอนพุทธธรรมที่ท่านได้อธิบายและได้แปลมาแล้วทั้งหมดถูกต้องไม่มีผิด
สัทธรรมปุณฑรีกสูตรในประเทศจีนมีชื่อเสียงเด่นขึ้นมาเมื่อพระฉีอี้ หรือ ตีเจี้ย (พ.ศ.1081-1140) แห่งภูเขาเทียนไท้ ได้รู้แจ้งสารัตถธรรมของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร และต่อหน้าพระที่นั่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ท่านได้ชี้ให้คณาจารย์แห่งสามนิกายใต้และเจ็ดนิกายเหนือยอมรับสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ว่าเป็นคำสอนสุดท้ายและสูงสุดของพระพุทธเจ้า คำสอนของท่านจึงได้ตั้งขึ้นเป็นนิกายธรรมปุณฑรีก (ฮวบฮั่วจง) หรือเรียกตามชื่อสำนักบนเขาเทียนไท้ว่า นิกายเทียนไท้และท่านเองได้สมศักดิ์เป็นพระปฐมาจารย์เทียนไท้ คำบรรยายธรรมที่ถือเป็นงานสำคัญของท่านได้รวบรวมโดยพระเจียงอังเป็นอรรถกถาปกรณ์สำคัญ 3 เรื่อง รวม 30 เล่มคือ
1 ความหมายลึกซึ้งของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร (เมียวโฮเร็งเงเคียวเง็นงิ) มี 10 เล่ม อรรถกถาเรื่องนี้ท่านได้แสดงในปี พ.ศ. 1136 โดยได้อธิบายความหมายอันลึกซึ้งของชื่อ สัทธรรมปุณฑรีกสูตร หรือ เมียวโฮเร็งเงเคียว ตามหลักสำคัญห้าประการแห่ง ชื่อ ตัวตน คุณภาพ หน้าที่ และการสอน ในอรรถกถาเรื่องนี้ท่านยังได้ประมวลหลักพุทธธรรมที่เรียกว่า คำสอนห้าสมัยและคำสอนแปดอย่าง คำสอนตามลำดับห้าสมัยได้แก่ สมัยอวตังสก สมัยอาคม สมัยไวปูลย์ สมัยปรัชญา และสมัยสัทธรรมปุณฑรีก-นิรวาณ เป็นสมัยสุดท้าย ส่วนคำสอนแปดอย่างแบ่งออกเป็นสองประเภท คือแบ่งตามลักษณะหลักธรรมที่สอนมี 4 ชนิดได้แก่ คำสอนในไตรปิฎกหินยาน คำสอนต่อเนื่อง (มหายานเบื้องต้น) คำสอนเฉพาะ(มหายานชั่วคราว) และคำสอนสมบูรณ์ ส่วนที่แบ่งตามวิธีการสอนมี 4 ลักษณะได้แก่ การสอนทันที การสอนตามลำดับ การสอนเร้นลับ และการสอนไม่กำหนดแน่นอน จากการจัดระบบหลักพุทธธรรมดังนี้ ท่านได้แสดงให้เห็นว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเหนือกว่าพระสูตรอื่นทั้งหมด และเป็นคำสอนสมบูรณ์สุดท้ายที่สุดของพระพุทธเจ้า
2 คำอธิบายศัพท์สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (เมียวโฮเร็งเงเคียว มงงุ) มี 10 เล่ม อรรถกถาเรื่องนี้ท่านอธิบายบทต่างๆโดยการแบ่งพระสูตรออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนการเตรียมการ ส่วนการเปิดเผย และส่วนการถ่ายทอด อีกตอนหนึ่งท่านอธิบาย 4 แนวทางในการแปลความคำศัพท์ของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันได้แก่ 1) เหตุและสภาพการณ์แวดล้อม 2) คำสอนที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน 3) คำสอนภาคทฤษฎีธรรมและภาคสารัตถธรรม 4)การเห็นความจริงภายในจิตของตนเองโดยการปฏิบัติสมาธิ
3 มหาสมถวิปัสสนา (มะคะ ชิคัน) มี 10 เล่ม ท่านได้แสดงเรื่องนี้ในปี พ.ศ.2237 ซึ่งได้อธิบายการทำสมาธิโดยแนะนำวัตถุสมาธิ 10 อย่างและการทำสมาธิ 10 อย่าง และอธิบายหลักการแห่งหนึ่งขณะจิตสามพัน (อิจิเน็น ซัมเซ็น) โดยอาศัยวลีที่ว่า “ลักษณะที่แท้จริงหรือตัวตนแท้ของปรากฏการณ์ทั้งหลาย” หนึ่งขณะจิตหรืออิจิเน็น ตรงกับ “ลักษณะที่แท้จริงหรือตัวตนแท้” นั่นคือธรรมชาติแท้หรือความเป็นจริงที่สุดของชีวิต ส่วนสามพันตรงกับ “ปรากฏการณ์ทั้งหลาย” คำว่า “สามพัน” เป็นจำนวนที่เกิดขึ้นจาก สิบภูมิ/โลก/ธาตุ (โลกนรก เปรต เดรัจฉาน อสูร มนุษย์ เทวะ สาวก ปัจเจกพุทธะ โพธิสัตว์ และโลกพุทธะ) สิบภูมซ้อนสิบภูมิ สิบลักษณะเช่นนั้น(ทศตถตา= จับยู่สี) และสามภาวะ (ปัญจขันธภาวะ สัตวภาวะและเทศภาวะ) หรือ ได้แก่จำนวน 10 x 10 x 10 x 3 =3,000 โลก/ภูมิ/ธาตุ
ต่อมาท่านปรมาจารย์เมียวล้อ (พ.ศ.1254-1325) สังฆนายกนิกายเทียนไท้ลำดับที่หก และเป็นเจ้าอาวาสวัดเมียวล้อซือจึงได้นามว่าเมียวล้อ ได้ฟื้นฟูนิกายให้รุ่งเรืองขึ้นอีกครั้ง ท่านได้แต่งคำอธิบายเพิ่มเติมประกอบอรรถกถาแต่ละเรื่องทั้งสามเรื่องของท่านเทียนไท้ เพื่อแก้การตีความหมายที่ผิดและการเข้าใจที่ผิดของนิกายใหม่ต่างๆ และภายในนิกายเทียนไท้เอง เป็นหนังสือเรื่องละ 10 เล่ม รวม 30 เล่ม เมื่อรวมกับท่านเทียนไท้ 30 เล่มจึงรวมเรียกว่า คัมภีร์ 60 เล่ม ของนิกายเทียนไท้
สัทธรรมปุณฑรีกสูตรในประเทศญี่ปุ่น
ตามประวัติศาสตร์ถือว่า พระพุทธศาสนาได้ถูกนำเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นเป็นทางการ ในปี พ.ศ.1095 โดยกษัตริย์แห่งแคว้นแปกเซในคาบสมุทรเกาหลีได้ส่งคณะทูตนำพระพุทธรูปของพระศากยมุนีพุทธเจ้าและคัมภีร์พุทธศาสนาไปถวายจักรพรรดิคิมเมอิ รัชกาลที่ 30 เรื่องการรัรบศาสนาใหม่ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างขุนนางสองตระกูลอย่างรุนแรงอยู่หลายปี คือตระกูลโชงะกับตระกูลโมโนดนเบะ แต่ในที่สุดตระกูลโชงะอันมีเจ้าชายอูมายาโดะหรือเจ้าชายโชโทกุไทชิโอรสของจักรพรรดิโยเมอิเป็นผู้นำก็สามารถเอาชนะตระกูลโมโนโนโนเบะได้อย่างเด็ดขาดในรัชสมัยของจักรพรรดินีซุยโด เจ้าชายโชโทกุโทชิได้เป็นผู้สำเร็จราชการ เจ้าชายโชโทกุมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก เป็นที่ยอมรับกันว่าพระองค์เป็นผู้วางรากฐานที่มั่นคงให้แก่พระพุทธศาสนาของประเทศญี่ปุ่น จนได้ชื่อว่าเป็น พระเจ้าอโศกแห่งประเทศญี่ปุ่น พระองค์ได้เผยแพร่สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ในชื่อเมียวโฮเร็งเงเคียว ฉบับภาษาจีนของพระกุมารชีวะ โดยทรงแต่งอรรถกถาสัทธรรมปุณฑรีกสูตร 4 เล่ม อรรถกถาศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร 1 เล่ม และอรรถกถาวิมลเกียรตินิทเทสสูตร 2 เล่มตั้งแต่เริ่มต้นมาทั้งพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงความรุ้และคัมภีร์พุทธศาสนาจากจีนก็หลั่งไหลผ่านเกาหลีสู่ญี่ปุ่นตลอดเวลา ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากราชสำนัก จึงทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว
ในร้อยปีหลังสมัยเจ้าชายโชโทกุ ถึงรัชสมัยของจักรพรรดิโชมุ (พ.ศ.1244-1299) ได้สั่งให้สร้างวัดจังหวัดละสองวัดใน 66 จังหวัด วัดหนึ่งสำหรับพระภิกษุให้อ่านและท่องสุวรรณประภาสอุตตเมนทรราชาสูตร เพื่อความสงบของประเทศและความสุขของประชาชน ส่วนอีกวัดหนึ่งสำหรับภิกษุณีหรือนาชีให้อ่านและท่องสัทธรรมปุณฑรีกสูตรและให้อธิษฐานเพื่อการชำระบาปในอดีตและเพื่อความสุข ทั้งนี้เนื่องจากมีเพียงสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเท่านั้นที่กล่าวอย่างชัดแจ้งว่าผู้หญิงสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ สมัยที่ผ่ามาเรียกว่าสมัยนาระ
สัทธรรมปุณฑรีกสุตรได้มาปรากฏเด่นดังขึ้นอีกโดยพระไชโช (พ.ศ.1310 – 1365) ในรัชสมัยของจักรพรรดิคัมมุ รัชกาลที่ 50 (จักรพรรดิย้ายราชสำนักจากเมืองนาระไปสร้างเมืองหลวงใหม่ในปี พ.ศ.1336 คือเมืองเกียวโต อันเป็นการเริ่มต้นสมัยเฮอิอัน) พระไชโชเป็นชาวจังหวัดชิงะปัจจุบัน ท่านออกบวชแต่อายุ 12 ปี และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดโทไดจิ เมื่ออายุ 19 ปี หลังจากนั้นในปี พ.ศ.1238 ท่านได้ไปตั้งสำนักสงฆ์ที่ภูเขาฮิเออิซึ่งภายหลังได้ยกขี้นเป็นวัดเอ็นเรียกุจิ ที่นั่นท่านได้ศึกษาพระสูตรและนิพนธ์ทั้งหมดเท่าที่พอจะหาได้ โดยเฉพาะท่านได้ทุ่มเทเวลาให้กับการศึกษาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรประกอบกับอรรถกถาสัทธรรมปุณฑรีกสูตร 3 เรื่องของท่านเทียนไท้ ซึ่งพระภิกษุจึนชื่อกันจิน (ฉินเฉียนเฉิน พ.ศ.1231-1306) แห่งนิกายวินัยนำเข้ามาในปี พ.ศ.1297 อันเป็นผลทำให้ท่านได้เห็นแจ้งว่า สารัตถะแห่งพระพุทธศาสนามีอยู่ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเท่านั้น และท่านได้ขอตั้งนิกายเท็นได-ธรรมปุณฑรีกขึ้นในประเทศญี่ปุ่น
ในปีพ.ศ. 1345 เมื่อท่านอายุ 36 ปี ท่านได้บรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรที่วัดทากะโอะเดระในเมืองเกียวโต แก่พระคณาจารย์ชั้นนำแห่งหกนิกายเมืองนาระ อันได้แก่ นิกายอภิธรรมโกษะ (กุษะ)นิกายสัตยสิทธิ์(โยยิตสึ) นิกายตรีศาสตร์(ซันรน) นิกายวินัย (ริตสึ) นิกายธรรมลักษณ์(ฮสโช) และนิกายอวตังสก(เคงน) โดยท่านแสดงให้เห็นว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเป็นคำสอนสูงสุด และคณาจารย์ทุกคนยอมรับโดยไม่มีใครโต้แย้ง จากชัยชนะครั้งนี้ทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับในฐานะผู้มีความรู้พระพุทธศาสนาแตกฉานที่สุด
ในปี พ.ศ. 1347 ท่านได้เดินทางไปประเทศจึนดูกิจการพุทธศาสนาที่เขาเทียนไท้และได้ศึกษากับพระอาจารย์เต้าสุยและพระชิงมัน และกลังมาประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ.1348 ต่อมาท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น พระปรมาจารย์เด็งเงียว หรือเด็งเงียวไดชิ ท่านได้ขอพระบรมราชานุญาตตั้งอุปสัมปทาสถานของมหายาน และได้รับราชานุญาตเจ็ดวันหลังจากท่านดับขันธ์ในปี พ.ศ.1365 และศูนย์กลางอุปสมบทแห่งภาคทฤษฎีธรรมของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ได้สร้างเสร็จ 5 ปีต่อมมาในปี พ.ศ.1370 นับเป็นอุปสัมปทาสถานของมหายานแห่งแรก และวัดเอ็นเรียกุจิ บนเขาฮิเออิได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา แต่นิกายเทนได-ธรรมปุณฑรีกตอนหลังในสมัยท่านจิกะกุไดชิสังฆนายกลำดับที่สามก็ถูกนำเข้าผสมกับนิกายมนตรยาน สัทธรรมปุณฑรีกสูตรก็หมดความสำคัญลงไปกลายเป็นเพียงคัมภีร์พุทธศาสนาที่น่าอ่านเล่มหนึ่งเท่านั้น และวงการพุทธศาสนาเริ่มยุ่งเหยิงสับสนเสื่อมลงไปมากในราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 ประกอบกับมีนิกายใหม่เกิดขึ้นหลายนิกายเช่น นิกายเซ็น นิกายสุขาวดีหรือโจโดะหรือเน็มบุตสึที่นับถือพระอมิตาภพุทธะเป็นต้น การทะเลาะเบาะแว้งกันในวงการพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ซึ่งเป็นการสนับสนุนความเชื่อที่ว่าพระพุทธศาสนาได้เข้าสู่สมัยปัจฉิมธรรมแล้ว
ตรงนี้ขออธิบายเรื่องสมัยของพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าศากยมุนีตามที่ได้กล่าวไว้ในพระสูตรดังนี้
1 การแบ่งสมัยตามมหาสันนิบาตสูตร สูตรนี้แบ่งพุทธศาสนาเป็นห้าสมัยๆละ 500 ปีคือ
1.1 500ปีที่หนึ่ง เป็นสมัยแห่งการปฏิบัติธรรมบริสุทธิ์ เพื่อความหลุดพ้น
1.2 500ปีที่สอง เป็นสมัยแห่งการบำเพ็ญฌานและการทำสมาธิ
1.3 500ปีที่สาม เป็นสมัยแห่งการแต่งคัมภีร์และศึกษาคัมภีร์
1.4 400ปีที่สี่ เป็นสมัยแห่งการสร้างวัด วิหาร สถูป เจดีย์ และพระพุทธรูป
1.5 500ปีที่ห้า เป็นสมัยแห่งการทะเลาะวิวาทและสมัยชั่วร้าย
2 การแบ่งตามลักษณะอิทธิพลของพระพุทธศาสนา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 สมัยคือ
2.1 สมัยปฐมธรรมหรือสมัยธรรมต้นหรือสมัยวิสุทธิธรรม (โชโฮ) มีระยะ 1000ปี ตรงกับสมัย 500 ปีที่หนึ่งและที่สอง
2.2 สมัยมัชฌิมธรรมหรือสมัยธรรมกลางหรือสมัยปฏิรูปธรรมหรือสมัยรูปธรรม (โชโฮ) มีระยะ 1000 ปี ตรงกับสมัย 500 ปีที่สามและที่สี่
2.3 สมัยปัจฉิมธรรมหรือสมัยธรรมปลายหรือสมัยวิประลาป (มัปโป) เริ่มต้นตรงกับ สมัย 500 ปีที่ห้าหรือห้าร้อยปีสุดท้าย มีระยะเวลาหมื่อปีและต่อไปในอนาคต
การแบ่งพระพุทธศาสนาทั่วไปแบ่งเป็น 3 สมัยอย่างนี้ แต่ระยะเวลาของแต่ละสมัยมีหลายความเห็นแตกต่างกัน เช่นว่าสมัยวิสุทธิธรรมมีระยะเวลาเพียง 500 ปีบ้างเป็นต้น และในสัทธรรมปุณฑรีกสูตร เราจะพบว่า ได้สั่งให้เผยแพร่พระสูตรนี้ในสมัยห้าร้อยปีสุดท้ายบ้าง ในสมัยชั่วร้ายที่พระธรรมใกล้จะอันตรธานบ้าง ในสมัยแห่งการทะเลาะวิวาทบ้าง ในประเทศญี่ปุ่นพระพุทธศาสนาตกอยู่ในสภาพนี้ราวศตวรรษที่ 18 และ 19 ซึ่งเป็นมาแต่ปลายสมัยเฮอิอันจนถึงสมัยคามาคูระเป็นสมัยที่ตกอยู่ในความยุ่งเหยิงวุ่ยวายทั้งในศาสนจักรและอาณาจักรในเวลาเดียวกันภัยพิบัติธรรมชาติก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยังความทุกข์ยากลำบากแก่ประชาชนทั่วประเทศ ท่ามกลางความสับสนนี้ สัทธรรมปุณฑรีกสูตร หรือ เมียวโฮเร็งเงเคียว ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาเผยแผ่อีกครั้งหนึ่งในลักษณะใหม่โดยพระภิกษุนิชิเร็น ในปี พ.ศ.1796 (ค.ศ.1253)
ประวัติและงานของพระนิชิเร็นไดโชนิน
พระนิชิเร็นเกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.1765 (1222) ในครอบครัวชาวประมงที่ตำบบโดมินาโตะ มณฑลอาวะ คือจังหวัดชิบะปัจจุบัน เมื่อตอนเด็กท่านมีชื่อว่า เช็นนิชิมาโร อายุ 12 ปี ท่านได้เรียนเขียนอ่านหนังสือทั้งภาษาญี่ปุ่นและจีนที่วั้ดเชอิโช-จิ บนเขาคิโยซูมิ ซึ่งเป็นวัดประจำตำบล วัดนี้เดิมเป็นวัดของนิเกายเท็นได ต่อมาได้นำพิธีการของนิกายมนตรยานหรือชินงนมาปฏิบัติ และต่อมาก็มาปฏิบัติตามนิกายโจโดะ(สุขาวดี) ซึ่งเปลี่ยนไปตามอิทธิพลของอำนาจทางโลกและทางศาสนา จึงอาจกล่าวได้ว่าเวลานั้นวัดเชอิโช-จิ เป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาของท้องถิ่น และพระนิชิเร็นท่านก็ได้ศึกษาคำสอนต่างๆเหล่านี้และเกิดความสงสัยขึ้นในใจตลอดเวลา เมื่อท่านอายุได้ 16 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นนักบวชมีฉายานามว่า เชโชโบ เร็นโช เมื่ออายุได้ 18 ปี ท่านเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่เมืองคามาคุระ 3 ปี เมื่ออายุ 21 ปีท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อที่วัดเอ็นเรียกุ-จิ บนเขาฮิเออิ เมืองเกียวโตอีก 4 ปี หลังจากนั้นได้ไปศึกษาและปฏิบัติหลักธรรมคำสอนของวัดและนิกายต่างๆในมณฑลใกล้เคียงอีก 5 ปี จึงกลับวัดเอ็นเรียกุ-จิ ในปีพ.ศ.1794 และหลังจากท่านได้ศึกษาต่อที่วัดอนโย-จิ จนได้เกิดความมั่นใจในการศึกษาแล้วท่านจึงได้เดินทางกลับวัดเชอิโช-จิ ในปีพ.ศ. 1795 เมื่อท่านอายุได้ 31 ปี
จากการศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนาของท่านในระยะเวลากว่า10 ปี ท่านได้สรุปลงด้วยความมั่นใจว่า คำสอนของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร หรือ เมียวโฮเร็งเงเคียว เป็นพระธรรมคำสอนพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องแท้จริง พระสูตรนี้เป็นสารัตถธรรมแห่งการตรัสรู้ของพระศากยมุนีพุทธเจ้า พระสูตรอื่นทั้งหมดล้วนเป็นคำสอนที่เป็นอุบายชั่วคราว เพื่อนำประชาชนมาสู่เอกพุทธยานแห่งสัทธรรมปุณฑรีกนี้เท่านั้น
ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.1796 ทางวัดเชอิโช-จิ โดยท่านโดเช็น-โบ เจ้าอาวาสจึงได้จัดการประชุมขึ้นที่ห้องประชุมใหญ่ของที่พักสงฆ์ (โชบุตสึ-โบ) เพื่อให้พระเชโชโบ-เร็นโช ได้แสดงธรรมที่ท่านได้ศึกษามา ดังนั้นในตอนเช้าตรูของวันนั้น ท่านได้ขึ้นไปบนเขาที่คาซางะโมริขณะที่ดวงบอาทิตย์โผล่ขึ้นจากขอบฟ้าในมหาสมุทรแปซิฟิค ท่านได้สวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ด้วยเสียงดังก้องอันเป็นการประกาศต่อฟ้าและดินโดยมีพระอาทิตย์เป็นพยาน ครั้นแล้วในตอนเที่ยงของวันนั้นต่อหน้าผู้ฟังที่เป็นทั้งพระสงฆ์และนักศึกษาในวัด รวมทั้งประชาชนที่มาจากหมุ่บ้างใกล้เคียง พระเร็นโชโดยมีลูกประคำอยู่ในสองมือที่ประนมท่านได้เริ่มต้นด้วยการสวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว สามคำแล้วประกาศว่า “คำสอนในพระสูตรต่างๆที่สอนมาก่อนสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ไม่มีคำสอนในพระสูตรใดได้เปิดเผยการตรัสรู้อันสมบูรณ์สูงสุดของพระพุทธเจ้าเลย เพราะฉะนั้นนิกายทั้งหลายที่ยึดถือพระสูตรเหล่านั้นล้วนเป็นการสอนที่ผิด มีสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเพียงสูตรเดียวเท่านั้นที่สูงสุด และ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว คือสารัตถธรรมของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอันเป็นคำสอนหนึ่งเดียวเท่านั้นที่สามารถนำประชาชนแห่งสมัยปัจฉิมธรรมไปสู่การตรัสรู้ได้” นอกจากนี้ท่านยังได้ประกาศความไม่ถูกต้องของสี่นิกายสำคัญในเวลานั้น คือนิกายเน็มบุตสึ นิกายเซ็น นิกายชินงน (มนตรยานหรือสัจพจน์) และนิกายริตสึ(วินัย) และต่อที่ประชุมครั้งนี้ท่านได้ประกาศเปลี่ยนชื่อของท่านจาก “เชโชโบ เร็นโช” เป็น “นิชิเร็น” (ดวงอาทิตย์และดอกบัว) เวลานั้นท่านมีอายุ 32 ปี ส่วนคำว่า “ไดโชนิน” เป็นคำยกย่องให้เกียรติแปลว่า “มหาสมณะ”
สำหรับคำสวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวที่พระนิชิเร็นได้ประกาศตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 1796 นั้นถือว่าท่านเป็นคนแรกและคนเดียวในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่ได้ประกาศสอนการปฏิบัติสัทธรรมปุณฑรีกสูตรโดยตรง ความหมายของคำนี้สรุปได้ดังนี้คำว่า นัม หรือ นามุ เป็นคำมาจากสันสกฤตว่า นมะ หรือ นมัส หรือ นโม ซึ่งแปลว่า “ข้าพเจ้าของนอบน้อมแด่ “ ส่วน นัมหรือนามุเขียนเป็นอักษรจีนสองตัวอ่านว่า คิเมียว ซึ่งแปลว่า การอุทิศชีวิตของตน การอุทิศนี้มีสองลักษณะคืออุทิศตนแก่บุคคลและธรรมะ บุคคลหมายถึงพระพุทธะแท้ดั้งเดิม และธรรมะคือพระบรมสัจธรรม ซึ่งก็คือ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว การกระทำแห่งการอุทิศตน (นามุ) มีความหมายสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นการอุทิศชีวิตของเราให้แก่ หรือ หลอมชีวิตของเราเข้ากับสัจจะอันถาวรชั่วนิรันดร์ อีกความหมายหนึ่งคือโดยการหลอมชีวิตของเราเข้ากับบรมสัจธรรมนั้น ในเวลาเดียวกันเราก็ดึงเอาปัญญาอันมีไม่สิ้นสุดออกมาซึ่งจะทำหน้าที่ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนอักษรห้าตัวของ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว เป็นภาษาจีน คำว่า เมียวโฮ คือพระสัทธรรม หรือพระธรรมมหัศจรรย์ เมียว หรือ สัท แปลว่า หยั่งรู้ไม่ได้ หรือ เกินที่จะคิดนึกได้ ซึ่งหมายถึงตัวตนแท้แห่งชีวิต และคำว่า โฮ หรือ ธรรม คือการแสดงตนให้เห็นทางปรากฏการณ์ของมัน ในแง่ของอิจิเน็น ชันเซ็น (หนึ่งขณะจิตสามพัน) เมียว หมายถึง แก่นชีวิต(หนึ่งขณะจิต) และโฮ คือ สามพันธาตุ เนื่องจาก เมียว หมายถึง ตัวตนแท้แห่งชีวิต จึงแปลความได้ว่าเป็น ความรู้แจ้งพื้นฐาน (มูลวิชชา) หรือ ธรรมธาตุ ส่วนโฮ ซึ่งตรงกับอาณาจักรทางปรากฏการณ์ อันหมายถึงความืดหรือความหลงผิดพื้นฐาน (มูลอวิชชา) คำว่า เร็งเง แปลว่า ดอกบัวขาว หรือปุณฑรีก ดอกบัวและเมล็ดบัวมีอยู่ในเวลาเดียวกันอันเป็นการแสดงแทนการเกิดขึ้นพร้อมกันของเหตุและผล ซึ่งเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของพระสัทธรรมหรือเมียวโฮ อนึ่งดอกบัวเกิดขึ้นจากหนองบึงที่เต็มไปด้วยโคลนตม ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คำว่า เคียว ของ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวจึงหมายความว่า นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวเองเป็นสัจจะถาวรชั่วนิรันดร์หรือความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลตลอดกาล คำว่า สัท ในภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า เมียว หรือมหัศจรรย์ ถูกแปลว่า การให้อันสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นพระนิชิเร็นไดโชนินจึงสอนว่า พระสัทธรรมหรือธรรมมหัศจรรย์ รวมเอาธรรมทั้งหลายและคำสอนทั้งมวลเข้ามาไว้หมด และดังนั้นผลบุญของการสวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว จึงรวมเอาผลบุญแห่งการประกอบกรรมดีทั้งหลายเข้าไว้ทั้งหมด คำสวด “นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว” จึงเป็น สัทธรรมปุณฑรีกสูตร หรือ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ภาคปฏิบัติโดยตรงซึ่งแปลว่า “ข้าพเจ้าขออุทิศชีวิตแด่สัทธรรมปุณฑรีกสูตร”
สำหรับพระนิชิเร็นได้โชนินตั้งแต่ท่านได้ประกาศตั้ง นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ในครั้งนั้นแล้ว ทุกเวลาและทุกโอกาสท่านได้ทำการอธิบายความถูกต้องของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร และอธิบายการสวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ด้วยความศรัทธาว่าเป็นการปฏิบัติพระสัทธรรมที่ถูกต้องในนิพนธ์เรื่อง ว่าด้วยการปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ท่านเขียนในปี พ.ศ. 1816 ตอนหนึ่งท่านกล่าวว่า “เวลานี้เป็นเวลาที่น่ากลัวจริงๆที่จะอาศัยอยู่ในประเทศนี้ แต่เพราะพระพุทธองค์ได้ทรงบัญชาให้อาตมามาเกิดในยุคนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่อาตมาจะไปฝ่าฝืนพระบัญชาของพระองค์ และเพราะเหตุนั้นอาตมาจึงได้ทุ่มเทความศรัทธาให้แก่พระสูตรนี้อย่างเต็มที่ และได้เริ่มการรบระหว่างคำสอนชึ่วคราวกับคำสอนแท้ สวมเกราะแห่งความอดทนและสะพายดาบแห่งคำสอนแท้ อาตมาได้ชูธงแห่ง นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว สารัตถธรรมแห่งสัทธรรมปุณฑรีกสูตร 8 ม้วนหรือเล่ม ครั้งแล้วโดยการขึ้นสายธนูแห่งคำประกาศของพระพุทธเจ้าที่ว่า “เรายังมิได้เปิดเผยความจริงเลย” และตั้งลูกธนูแห่ง “จงใจสลัดคำสอนชั่วคราวทิ้งไป” อาตมาได้ขึ้นขี่รถศึกลากโดยโคขาวใหญ่ แล้วพุ่งเข้าทำลายประตูแห่งคำสอนชั่วคราวจนพังทลายลง ทำการโจมตีคำสอนแรกและคำสอนอื่นต่อไป อาตมาได้หักล้างนิกายเน็มบุตสึก (สุขาวดี) นิกายชิงน(มนตรยาน) นิกายเซ็น นิกายริตสึ (วินัย) และนิกายอื่นๆ ฝ่ายตรงข้ามของอาตมาบางพวกหนีหัวซุกหัวซุนขณะที่บางพวกล่าถอย และบางพวกถูกจับได้และกลายเป็นศิษย์ของอาตมา อาตมายังคงทำให้การโจมตีของพวกเขาต้องล่าถอยและบางทีทำให้พวกเขายอมจำนน อย่างไรก็ตามในขณะที่พระธรรมราชามีเพียงองค์เดียวกับผู้ติดตามไม่กี่คน แต่ทหารข้าศึกที่ทำการต่อต้านกลับมีมากมายหลายพัน ดังนั้นการต่อสู้จึงยังคงดำเนินอยู่ต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้”
การเผยแพร่ของท่านกระทำโดยการแนะนำส่วนตัว โดยการเขียนเป็นจดหมายอธิบายธรรมแก่ลูกศิษย์ และเขียนเป็นนิพนธ์ตักเตือนผู้มีอำนาจทางการเมืองและการศาสนา และโดยเฉพาะการที่ท่านได้หักล้างนิกายสำคัญและชี้ให้เห็นความผิดของคณาจารย์ทั้งอดีตและปัจจุบันของนิกายเหล่านั้น ทำให้ท่านถูกทำร้ายหลายครั้งจนเกือบถูกประหารและถูกเนรเทศสองครั้ง นอกจากตัวท่านเองแล้วพวกลูกศิษย์ยังถูกกดขี่ข่มเหงบ่อยๆอีกด้วย หลังจากท่านได้ต่อสู้เผยแผ่นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว อยู่ข้างนอก และเมื่อท่านได้รับอภัยโทษจากการถูกเนรเทศ กลับจากเกาะซาโดะในปี พ.ศ.1817 ท่านได้รับอภัยโทษจากการถูกเนรเทศ กลับจากเกาซาโดะในปี พ.ศ. 1817 ท่านได้ปลีกตัวไปอยู่ที่เขามิโนบุทำการฝึกสอนศิษย์เพื่อการเผยแพร่ธรรมในอนาคต รวมทั้งการบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรด้วย ความพยายามของท่านทำให้นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ได้เป็นที่รู้จักกันในความหมายใหม่ทั่วประเทศทั้งในทางบวกและทางลบ ซึ่งพระนินิเร็นกล่าวว่าท่านได้เผยแผ่ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ไปได้ทั่วประเทศแล้ว พระนิชิเร็นได้โชนินได้ดับขันธ์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.1825 ลูกศิษย์ของท่านได้พยายามเผยแผ่นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวต่อมา ครั้นแล้วนิกายนิชิเร็นก็ได้แตกแยกออกไปเป็นนิกายย่อยต่อไปอีก พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและทางสังคมในยุคมืดของสังคมญี่ปุ่นหลายร้อยปี ทางศาสนาได้เกิดลัทธินิกายต่างๆ หลากหลายทั้งที่เป็นพุทธและไม่ใช่พุทธ
สัทธรรมปุณฑรีกสูตร หรือ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว หรือพุทธศาสนาของพระนิชิเร็นได้โชนินในประเทศญี่ปุ่นได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยสมาคมโชคางังไกร่วมกับนิกายนิชิเร็นโชชิวแห่งวัดใหญ่ไทเชคิ-จิ จน นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ได้มีการปฏิบัติกันแพร่หลายในประเทศ และต่อมาในปี พ.ศ. 2503 สมาคมนี้ก็ได้เริ่มเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระนิชิเร็นไดโชนินนี้ต่อไปยังต่างประเทศอย่างจริงจัง อันเป็นผลให้ในชั่วเวลา 40 ปีมานี้ได้มีผู้นับถือศรัทธาปฏิบัติพระสัทธรรมนี้ทั้งเพื่อตัวเองคือการสวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว และเพื่อผู้อื่นด้วยการเผยแผ่แนะนำ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว แก่ผู้อื่นอย่างกระตือรือร้นอยู่ในทุกประเทศเกือบทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 เป็นต้นมาจนถึงเวลานี้ ได้มีสมาคมและกลุ่มของผู้นับถือศรัทธาในพระสัทธรรมนี้ ทำการศึกษาและเผยสัทธรรมปุณฑรีกสูตรและปฏิบัติ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว อย่างเข้าแข็งแพร่กระจากอยู่เกือบทั่วประเทศแล้ว
สัทธรรมปุณฑรีกสูตร 3 สูตร
ก่อนถึงคำส่งท้ายใคร่กล่าวถึงสัทธรรมปุณฑรีกสูตร 3 สูตร (The Threefold Lotus Sutra ) ไว้เพื่อเป็นความรู้ของท่านผู้อ่านเนื่องจากบัณฑิตพุทธธรรมในประเทศจีนและญี่ปุ่นยอมรับเรื่องสัทธรรมปุณฑรีกสูตร 3 สูตร อันประกอบด้วย อมิตอรรถสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และโพธิสัตวสมัตภัทรธยานสูตร ในที่นี้จะกล่าวถึงแต่ละสูตรโดยย่อตามลำดับดังนี้
พระสูตรที่หนึ่ง อมิตอรรถสูตร แปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนในรัชสมัยของจักรพรรดิเกาตี่แห่งราชวงศ์ฉี (พ.ศ.1022-1045) โดยพระธรรมชาตยศ ให้ชื่อว่า วู่ เหลียง อิ จิ๊ง ขนาด 1 เล่ม มี3บท บทที่ 1 ว่าด้วยคุณธรรม กล่าวว่าเมื่อพระพุทธเจ้าประทับบนเขาคิชกูฏ พระโพธิสัตว์ 80,000 องค์ได้สดุดีเป็นคาถาว่า พระกายของพระพุทธเจ้าไม่ใช่อย่างนั้นไม่ใช่อย่างนี้ อันเป็นการปฏิเสธทั้งหมด 34 อย่าง และทรงมีมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ บทที่ 2 ว่าด้วยการแสดงธรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่า หลักการและความหมายมากมายหาที่สุดมิได้ล้วนมีกำเนิดมาจากธรรมหนึ่งเดียว ธรรมหนึ่งเดียวพระองค์ยังมิได้บอกให้ชัด กับทั้งได้ตรัสว่า “ในเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมานี้เรายังมิได้เปิดเผยความจริงเลย” แสดงว่าคำสอนที่แล้วมาเป็นเพียงคำสอนที่เป็นอุบายชั่วคราว บทที่ 3 ว่าด้วยคุณความดี 10 ประการพระสูตรนี้คณาจารย์รุ่นหลังๆ รวมทั้งท่านเทียงไท้ยอมรับว่าถูกต้องและถือว่าอมิตอรรถสูตร หรือ มูเรียวงิเคียว เป็น “บทกล่าวนำ” ของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร หรือที่รู้จักในนาม “พระสูตรเปิด”
พระสูตรที่สอง เป็นพระสูตรกลางและเป็นพระสูตรหลักคือ สัทธรรมปุณฑรีกสูตร เป็นพระสูตรที่เปิดเผย “ธรรมหนี่งเดียว” และ”ความจริงที่ยังไม่เคยเปิดเผยมาเลยในระยะเวลากว่า 40 ปี” ที่กล่าวถึงใน “อมิตอรรถสูตร” สัทธรรมปุณฑรีกสูตร มี 28 บท แบ่งเป็น 2 ภาคคือครึ่งแรกจากบทที่ 1 ถึงบทที่ 14 เรียกว่าภาคทฤษฎีธรรม (ภาคคำสอนที่เป็นเพียงทฤษฎีหรือเพียงหลักการ) ครึ่งหลังจากบทที่ 15 ถึงบทที่ 28 เรียกว่าภาคสารัตถธรรม (ภาคคำสอนที่เป็นความจริงแท้หรือแก่นแท้) อนึ่งใน 28 บทยังแบ่งออกเป็น 8 ม้วน หรือ 8 เล่ม มัวนที่ 1 มีบทที่ 1-2 ม้วนที่ 2 มีบทที่ 3-4 ม้วนที่ 3 มีบทที่ 5-6-7 ม้วนที่ 4 มีบทที่ 8-9-10-11 มัวนที่ 5 มีบทที่ 12-13-14-15 ม้วนที่ 6 มีบทที่ 16-17-18-19 ม้วนที่ 7 มีบทที่ 20-21-22-23-24 ม้วนที่ 8 มีบทที่ 25-26-27-28 ภาษาจีนมีทั้งหมด 67,384 ตัวอักษร สัทธรรมปุณฑรีกสูตรหรือนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวฉบับแปลของพระกุมารชีวะจะขึ้นต้นแต่ละบทด้วยคำว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรบทที่...ว่าด้วย...เช่นสัทธรรมปุณฑรีกสูตรบทที่สองว่าด้วยกุศโลบาย หรือนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวโฮเบ็นเปนไดนิ เป็นต้น ส่วนเนื้อหาสาระมีกล่าวใน สาระสำคัญแห่งสัทธรรมปุณฑรีกสูตร นี้แล้ว
พระสูตรที่สามคือ โพธิสัตวสมันตภัทรธยานสูตร แปลเป็นภาษาจีนโดยพระธรรมมิตร (พ.ศ.899-985) ในสมายราชวงศ์หลิวซ่ง ให้ชื่อว่า กวน ผู่ เสียน ผู่ สะ สิง ฝ่า จิ๊ง และภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าคันฟุเง็น โบสัตสึ เงียวโฮ เคียว หรือเรียกย่อว่า ฟุเง็นเคียว พระสูตรนี้มีบทเดียวแต่งขึ้นตามหลังบทที่ 28 ของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรบทว่าด้วย “การสนับสนุนของพระโพธิสัตว์สมันตภัทร” พระสูตรนี้จึง ถูกถือว่าเป็น บทส่งท้ายของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร หรือเรียกว่า “พระสูตรเปิด”
พระสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่มหาวนาราม เมืองเวสาลีสามเดือนก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ครั้งนั้นพระอานนท์ พระมหากัสสปะและพระโพธิสัตว์มหาสัตว์เมตไตรย์ ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ข้าแต่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ภายหลังการเสด็จเข้สู่ความดับของพระตถาคตเจ้า สรรพสัตว์สามารถยกชั้นขึ้นสู่จิตของพระโพธิสัตว์ปฏิบัติมหายานสูตร และพิจารณาโลกแห่งความเป็นจริงหนึ่งเดียวด้วยความคิดที่ถูกต้องได้อย่างไร พระเจ้าข้า พวกเขาสามารถรักษาไม่ให้สูญเสียจิตแห่งพุทธภาวะอันสูงสุดได้อย่างไร พระเจ้าข้า พวกเขาสามารถที่จะทำอวัยวะสัมผัสทั้งหกให้บริสุทธิ์และทำลายบาปทั้งปวงของพวกเขาได้อย่างไร โดยที่พวกเขาไม่ต้องตัดความห่วงใยทางโลกและไม่ต้องละกามคุณห้า พระเจ้าข้า อนึ่ง ด้วยตาบริสุทธิ์ธรรมดาที่เขาได้รับมาจากบิดามารดาแต่กำเนิดและโดยไม่ต้องละทิ้งกามคุณห้า พวกเขาสามารถเห็นสิ่งทั้งหลายโดยปราศจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้นใดๆได้อย่างไร พระเจ้าข้า คำตอบอันเป็นใจความสำคัญคือการแนะนำให้ปฏิบัติการสำนึกผิด โดยเฉพาะจะเน้นที่เรียกว่า การสำนึกผิดแห่งความเป็นจริงหรือการทำสมาธิต่อความเป็นจริง การปฏิบัตินี้ในพระสูตรเรียกว่า “การสำนึกผิดแห่งลักษณะไม่มีบาป” หมายความว่าการสำนึกผิดนี้ทำให้เกิดความคิดแห่งความว่างหรือไม่มีอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นท่านปรมาจารย์เทียนไท้ให้ความสำคัญการสำนึกผิดนี้มาก และสนับสนุนให้ปฏิบัติในฐานะที่เป็น “ธรรมปุณฑรีกสมาธิ” ตั้งแต่นั้นมา “การสำนึกผิดแห่งความเป็นจริง” จึงเป็นที่นิยมปฏิบัติกันทั้งในประเทศจีนและญี่ปุ่น
คำส่งท้าย
สุดท้ายนี้ใคร่สรุปเรื่องของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ให้เป็นดังคัมภีร์พยากรณ์ เพื่อให้ใช้ช่วยเหลือประชาชนในสมัยปัจฉิมธรรม หรือสมัยชัวร้ายที่พระธรรมอื่นๆใกล้จะอันตรธาน พระสูตรนี้จึงเข้าใจยากและเชื่อได้ยาก ทั้งไม่ได้บอกวิธีปฏิบัติไว้ชัดเจน เพียงแต่สั่งให้น้อมรับและเทิดทูน อ่านและท่องสอนและคัดลอก โดยไม่ได้บอกชัดเจนว่าให้ปฏิบัติไตรสิกขาตามหลักการเดิมอย่างไร แต่นับว่าโชคดีที่ได้มีผู้ปฏิบัติตามคำสั่งในพระสูตรดังกล่าวจนสืบทอดต่อมาและเผยแพร่ไปถึงเมืองจีน จนได้แปลเป็นภาษาจีนที่ยอดเยี่ยมโดยพระกุมารชีวิ ในสมัยมัชฌิมธรรมท่านปรมาจารยเทียนไท้ (พ.ศ.1081-1140) ได้เห็นแจ้งในปรัชญาธรรมของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร แล้วได้เปิดเผยปรัชญาธรรมแห่งสัทธรรมปุณฑรีกสูตรไว้ในอรรถกถาปกรณ์ 3 เรื่อง 30 เล่ม รวมกับคำอธิบายเพิ่มเติมของพระเมียวล้ออีก 30 เล่ม เป็น 60 เล่มของปรัชญาธรรมแห่งสัทธรรมปุณฑรีกสูตรดังได้กล่าวมาแล้ว ที่กล่าวเช่นนี้เพราะยังไม่มีการปฏิบัติสัทธรรมปุณฑรีกสูตรโดยตรง จนลุถึงสมัยห้าร้อยปีสุดท้ายอันเป็นเวลาเริ่มต้นสมัยปัจฉิมธรรม พระนิชิเร็นได้โชนินจึงได้สถาปนาภาคปฏิบัติแห่งสัทธรรมปุณฑรีกสูตร โดยท่านได้ตรัสรู้สารัตถธรรมของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร หรือ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวคือ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของบทที่ 16 บทว่าด้วยความยาวแห่งอายุของพระตถาคต และนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว นี่เองที่เป็นคาถาเดียวหรือวลีเดียวที่พระสูตรกล่าวถึง ดังนั้นการสวดนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ด้วยความศรัทธาต่อสิ่งสักการบูชา (โงะฮนซน) อันเป้นภาพพิธีกลางอากาศ (จากบทที่ 11- บทที่ 22) และสถานแห่งการปฏิบัติธรรมนี้ ที่เรียกว่า ธรรมเร้นลับอันยิ่งใหญ่สามประการ (ดูบทที่21) จึงเป็นการปฏิบัติสัทธรรมปุณฑรีกสูตรโดยตรง ที่กล่าวมานี้น่าจะเจข้าใจคำสอชั่วคราวและคำสอนแท้ว่า ต้องบใช้ให้ถูกกับเวลา สำหรับสมัยปัจฉิมธรรมอันเป็นเวลาปัจจุบันนี้ การปฏิบัติพระพุทธศาสนาให้ได้บุญจริงก็มีเพียงการปฏิบัติสัทธรรมปุณฑรีกสูตรหรือนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวเท่านั้นที่เป็นนาบุญที่ให้ผลจริง เพราะพระพุทธแห่งอนาทิกาลและพระธรรมแห่งนิรันดรกาล อันเป็นนาบุญที่อุดมสมบูรณ์แท้จริงนั้นอยู่ในตัวเรานี้แล้ว
เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธะและพระธรรมอยู่ในตัวเรา ใคร่นำเอาคำสอนของพระนิชิเร็นไดโชนินตอนหนึ่งในบทธรรนิพนธ์เรื่อง ว่าด้วยการบรรลุพุทธภาวะ มาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบด้วย ซึ่งท่านกล่าวไว้ว่า “อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ท่านจะสวดและเชื่อสัทธรรมปุณฑรีกสูตร แต่ถ้าท่านคิดว่าพระสัทธรรมนั้นอยู่ภายนอกตัวของท่านแล้วละก้อ ท่านหาได้ยึดถือพระสัทธรรม (ธรรมมหัศจรรย์) ไม่แต่ท่านกำลังยึดถือคำสอนชั้นต่ำต่างหาก คำว่า “คำสอนชั้นต่ำหมายถึงคำสอนอื่นๆที่ไม่ใช่พระสูตรนี้ ซึ่งคำสอนเหล่านั้นเป็นคำสอนขั้นเตรียมการและชั่วคราว ไมม่มีคำสอนชั่วคราวใดสามารถนำไปสู่การตรัสรู้โดยตรงได้ และเมื่อไม่มีทางตรงสู่การบรรลุการตรัสรู้แล้วท่านก็ไม่สามารถบรรลุพุทธภาวะได้ ไม่ว่าท่านจะได้ปฏิบัติชาติแล้วชาติเล่าตลอดกัปนับไม่ถ้วนก็ตาม ยิ่งการบรรลุพุทธภาวะในชาตินี้ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้เพราะฉะนั้นท่านจะต้องรวบรวมพลังความเชื่อให้แน่วแน่ว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรหรือนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวคือชีวิตของท่านเอง ท่านจะต้องไม่ไปเที่ยวแสวงหาคำสอนใดๆของพระศากยมุนีพุทธเจ้า หรือแสวงหาพระพุทธะและพระโพธิสัตว์แห่งจักรวาลภายนอกตัวของท่านเอง เพราะความเชี่ยวชาญในพุทธธรรมของท่านจะไม่ช่วยให้ท่านหลุดพ้นจากความทุกข์แห่งการต้องตายได้เลย นอกจากว่าท่านได้สำนึกรู้ธรรมชาติแห่งชีวิตของท่านเอง ถ้าท่านไปแสวงหาการตรัสรู้ภายนอกตัวของท่านแล้ว การปฏิบัติศีลวินัยหรือการทำกรรมดีก็ไม่มีความหมายใดๆ ซึ่งจะเป็นดังเช่นคนยากไร้ที่ไม่สามารถหาทรัพย์ได้แม้สตางค์เดียว ด้วยการที่เขาเพียงแต่เฝ้าคอยนับสมบัติของเพือนบ้าน แม้ว่าเขาจะนับอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืนก็ตาม”
ด้วยเหตุนี้สำหรับพวกเรา เราจึงมีหน้าที่เพียงปฏิบัติความศรัทธาคือสวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว เช้าเย็นทุกวัน และแนะนำ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวแก่ผู้อื่นด้วยความปรารถนาที่จะให้เขาได้สร้างบุญโดยตรงกับพระพุทธะที่แท้จริง ผลบุญอันยิ่งใหญ่ก็จะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวนี้จึงถูกเรียกว่า พระสัทธรรม หรือ พระธรรมมหัศจรรย์ และนี่คือการยึดถือพระธรรมเป็นที่พึ่ง อันเป็นการพึ่งตนเองและการช่วยตนเองและการช่วยผู้อื่นที่แท้จริง
อีกเรื่องหนึ่งอยากเรียนท่านผู้รู้ว่า นอกจากผู้นับถือพุทธธรรมของพระนิชิเร็นได้โชนินแล้ว ไม่มีสาวกนิกายใดที่นับถือยกย่องสัทธรรมปุณฑรีกสูตรจริง เช่นบางท่านว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเป็นพระสูตรหลักของนิกายสุขาวดีก็ไม่จริง เพราะนิกายนี้ยึดถือพระสูตรสุขาวดีสามสูตรเป็นหลัก และคณาจารย์ของนิกายยังสอนให้ละทิ้งสัทธรรมปุณฑรีกสูตรด้วยซ้ำ นิกายมนตรยานก็นับถือมหาไวโรจนสูตรเป็นหลัก นิกายเซ็นก็ไม่ยึดถือคำสอนในพระสูตร เป็นต้น และบางท่านกล่าวว่าท่านเลื่อมใสทุกนิกาย นิกายมหายานเลื่อมใสปรัชญานาคารชุน ทางเวทมนตร์เลื่อมใสธารณีของมนตรยาน ที่กล่าวอย่างนี้เพราะท่านแยกไม่ออกว่าคำสอนใดเป็นคำสอนชั่วคราว คำสอนใดเป็นคำสอนแท้ คำสอนใดเป็นคำสอนสมบูรณ์และสุดท้ายของพระพุทธเจ้า เพราะถ้าพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนยาแล้ว ยาก็มีอายุของยาใช้ยาหมดอายุก็ให้โทษ ใช้ยาผิดโรก็เกิดโรค ยาของพระพุทธเจ้ามีมากมายซึ่งพระองค์ได้กำหนดเวลาที่จะให้และคนที่จะนำไปใช้ไว้แล้ว ยาของพระพุทธเจ้าที่จะใช้รักษาโรคของชาวโลกสมัยปัจฉิมธรรมนี้คือ สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและยาสำเร็จรูปของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรก็คือ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ที่พระนิชิเร็นไดโชนินท่านแนะนำให้กินนั่นเอง ปัญหาเหล่านี้น่าจะได้ช่วยกันพิจารณา โดยเฉพาะในสาระสำคัญแห่งสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอมานี้
สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าขอย้ำว่าท่านผู้อ่านที่ได้พบสัทธรรมปุณฑรีกสูตรและนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวจากหนังสือเล่มนี้แล้วมีความเชื่อและความเข้าใจ นั่นหมายถึงท่านได้พบแหล่งบุญอันยิ่งใหญ่ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้ว และด้วยบุญอันมีไม่สิ้นสุดอันเกิดจากความเชื่อความศรัทธาของท่านนั้น ขอให้ท่านประสบแต่ความโชคดีและมีความสุขตลอดสามชาติและหากการยกย่องเทิดทูนสัทธรรมปุณฑรีกสุตรเป็นบุญกุศลดังที่พระสูตรกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าขอให้บุญที่จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าจงมีแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย ขอให้สรรพสัตวย์ทั้งหลายจงได้บรรลุพุทธภาวะอุดมด้วยความโชคดีและปัญญาอันจะนำมาแต่ความสุขโดยทั่วหน้ากันเทอญ
สุรพล เพชรศร
คำนำ สุรพล เพชรศร
คำนำจากนายทรงวิทย์ แก้วศรี บรรณาธิการ
หนังสือสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับของวัดโพธิ์แมนคุณาราม
สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือเป็นพระสูตรชั้นเอกอุหนึ่งในเก้าพระสูตรสำคัญของมหายาน ในเนปาล ถึงในจีนและญี่ปุ่นก็ให้ความสำคัญแก่พระสูตรนี้ทัดเทียมกัน เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของนิกายเทียนไท้ทั้งในจีนและญี่ปุ่น และของนิกายนิชิเรนในญี่ปุ่น ต้นฉบับสันสกฤตที่เป็นต้นแบบใช้แปลเป็นภาษาไทยเล่นนี้ เกิดจากฉบับเก่าก่อน 3 ฉบับคือ
ฉบับแรก ศาสตราจารย์ H.Kern และ B.Nanjo นำลงตีพิมพ์ในวารสาร Bibliotheca Buddhica เล่มที่ 10 จัดพิมพ์ที่เซนต์ปิเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ระหว่างปี พ.ศ.2451-2455 ฉบับนี้เป็นอักษรเทวนาครี ประมวลและชำระจากต้นฉบับ 6 ฉบับ จากลอนดอน 2 ฉบับ จากเคมบริดจ์ ฉบับหนึ่ง Ekai Kawaguchi ค้นพบที่เนปาล และอีก 1 ฉบับ จาก Mr.Watters อดีตเจ้าหน้าที่กงสุลอังกฤษประจำไต้หวัน นอกจากนี้คณะบรรณาธิการยังสอบทานกับต้นฉบับที่ชำรุดเหลือเพียงบางส่วนที่เป็นสมบัติส่วนตัวของ Mr.NF Petrovskij อนึ่ง คณะบรรณาธิการยังเทียบเคียงกับฉบับพิมพ์ด้วยอักษรเทวนาครี ที่จัดพิมพ์โดย Faucaux ในชื่อ "Parabole de l'Enfant egare" ที่ปารีส เมื่อ พ.ศ.2397 ซึ่งฉบับนี้มีหลายตอนของพระสูตรที่ได้ค้นพบที่เมืองกาษการ์ ในเอเชียกลาง
ฉบับที่สองเป็นอักษรโรมัน ตรวจสอบชำระโดย Prof. U. Wogihara และ C.Tsuchida จัดพิมพ์ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2477 บรรณาธิการทั้งสองท่านนี้เพียงแต่ชำระสอบทานฉบับแรกและอาศัยต้นฉบับเดิมที่ H.Kern และ B.Nanjo เคยใช้มาแล้ว
ฉบับที่สามเป็นอักษรเทวนาครี Dr. Nalinaksa Dutt เป็นบรรณาธิการ จัดพิมพ์โดย Asiatic Society of Bengal ที่กรุงกัลกัตตา เมื่อ พ.ศ.2496 Dr. Nalinaksa Dutt ใช้สองฉบับแรกเป็นหลัก โดยชี้ประเด็นแตกต่างที่สำคัญไว้ในบางแห่ง และบางครั้งก็เทียบเคียงกับต้นฉบับ บางส่วนที่ค้นพบจากเอซียกลาง ในห้องสมุดของมหาวิทยาลักโอตานี ในญี่ปุ่น ตามที่ Mironv เคยเข้าไปศึกษา นอกจากนี้บรรณาธิการยังใช้บางส่วนจากต้นฉบับของ Gilgit แต่น่าเสียดายว่า Dr. Nalinaksa Dutt ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า มีอะไรแตกต่างจากต้นฉบับของ Gilgit
ต้นฉบับสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเล่มนี้ เป็นการประมวลต้นฉบับเก่าก่อนทั้ง 3 ฉบับมาเป็นแบบสอบทานเป็นฉบับเดียวกัน โดยมี P.C. Vaidya เป็นบรรณาธิการ เป็นความจริงที่ว่าภาษาในภาคโศลกเป็นภาษาเก่ากว่าที่เป็นส่วนร้อยแก้ว และโศลกก็มักจะกล่าวย้ำซ้ำกับเนื้อความของภาคที่เป็นร้อยแก้ว ถึงกระนั้น ก็อาจไม่เป็นการถูกต้องเสียทีเดียวที่จะกล่าวว่า ส่วนที่เป็นโศลกมีอายุเก่ากว่าส่วนที่เป็นร้อยแก้ว
ในส่วนของธิเบต สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ได้รับการแปลเป็นภาษาธิเบตโดยท่านสุเรนทรโพธิ และ นา นัม เยเศ โด ในจีนก็มีฉบับแปลถึง 6 ฉบับ โดย 3 ฉบับแรกแปลเมื่อประมาณ พ.ศ. 796 พศ. 813 และ พ.ศ. 929 ตามลำดับ ทั้ง 3 ฉบับนี้ ปัจจุบันต้นฉบับสูญหายแล้ว ส่วน 3 ฉบับหลังที่ยังหลงเหลืออยู่ เป็นฉบับเก่าแก่ที่สุดเมื่อ พ.ศ. 878 และฉบับล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 1144 ในจำนวน 3 ฉบับหลังนี้ ฉบับแปลของกุมารชีพ เป็นที่นิยมมากที่สุด และมีเนื้อหาใกล้เคียงกับฉบับแปลของธิเบตมากที่สุด ในฐานะที่สัทธรรมปุณฑรีกสูตร เป็นพระสูตรสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของผู้นับถือนิกายเทียนไท้ทั้งในจีนและญี่ปุ่นและของนิกายนิชิเรนในญี่ปุ่น จึงมีคัมภีร์ประเภทอรรถกถาหรืออรรถาธิบายรวมทั้งฉบับย่อเกิดขึ้นอีกมากมาย รวมแล้วถึง 60 เรื่อง พิมพ์เผยแพร่อยู่ในประเทศเหล่านี้ในปัจจุบัน
ต้นฉบับสัทธรรมปุณฑรีกสูตรคงจะได้มีการชำระสอบทานมาแล้ว 2 ครั้ง เดิมทีน่าจะเป็นฉบับย่อบรรจุเนื้อหาเพียงปริวรรตที่1-20 และ 27 ตามที่ปรากฏในเล่มนี้ และเล่มก่อนๆ ส่วนปริวรรตที่ 21-26 ค่อนข้างจะมีปัญหา เพราะประการแรก ฉบับแปลจีนปริวรรตที่ 27 (ซึ่งเป็นบทส่งท้ายของเรื่อง) กลับมาอยู่หลังปริวรรตที่ 20 และประการที่ 2 เนื้อหาของบทที่21-26 มุ่งเน้นไปที่ธารณีและพระโพธิสัตว์สำคัญบางองค์ เช่น พระไภษัชยราช (ปริวรรตที่ 22) พระคัทคททัสวร (ปริวรรตที่ 23) พระสมันตมุขอวโลกิเตศวร (ปริวรรตที่ 24 ) พระศุภวยูหราช (ปริวรรตที่ 25) และพระสมันตภัทร (ปริวรรตที่ 26)
ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นแล้วว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรเคยมีการชำระต้นฉบับจัดพิมพ์มาแล้ว 2 ครั้ง ฉบับสั้นมีเพียงปริวรรตที่ 1-20 และ27 ฉบับยาวมีทุกปริวรรตตั้งแต่ 1-27 แต่แม้ว่าฉบับสั้นก็ยังมีส่วนที่เป็นภาคโศลกหรือร้อยกรอง ซึ่งพิจารณาจากภาษาศาสตร์จะเห็นว่ามีความเก่าแก่กว่า และเป็นที่ยอมรับกันว่า ส่วนที่เป็นภาษาร้อยแก้วดูเหมือนจะเป็นภาษาบรรยายธรรมดาตื้นกว่า อนึ่ง ในกรณีส่วนใหญ่ ส่วนที่เป็นโศลกก็มักจะกล่าวซ้ำเนื้อความในภาคร้อยแก้วซึ่งปรากฏความนำมาก่อนโดยไม่พรรณนารายละเอียดมากนัก และในปริวรรตที่ 21-26 แทบจะไม่มีโศลกเลย หรือมีแต่น้อยมาก ซึ่งก็ไม่ได้พรรณนาซ้ำข้อความร้อยแก้วที่เป็นความนำมาก่อน อย่างไรก็ดี ก็เป็นการยากที่จะโต้แย้งว่า ส่วนที่เป็นโศลกอายุเก่าแก่กว่า ส่วนที่เป็นร้อยแก้ว และส่วนที่เป็นร้อยแก้วนั้นแต่งเพิ่มเติมเต้ามาในภายหลัง เพราะโครงสร้างของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรไม่ได้ใช้กับโศลกและร้อยแก้วตามที่ปรากฏในปริวรรตที่1 เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปได้ และน่าจะถูกต้องที่จะลงความเห็นว่าเป็นธรรมเนียมนิยมที่ยุคสมัยนั้นจะแต่งเป็นร้อยแก้วก่อนแล้วจึงกล่าวซ้ำความเป็นโศลก เพื่อช่วยให้จดจำง่าย รูปแบบของภาษาที่ดูเก่าแก่กว่าในโศลกอาจเป็นเพียงลักษณะของคำประพันธ์ที่ต้องการจะใช้คำเก่าแก่เท่านั้น
ความหมายของชื่อ สัทธรรมปุณฑรีกสูตร Mr.Anesaki อธิบายไว้ว่า "ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์และความสมบูรณ์ เพราะเจริญจากโคลนตม แต่ไม่แปดเปื้อนด้วยโคลนตมนั้น เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นในโลกนี้แต่ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่เหนือโลกนี้ (โลกุตตระ) และเพราะเมล็ดบัวนั้นจะแก่เต็มที่ได้ก็ต่อเมื่อดอกบัวบานแล้ว เช่นเดียวกับสัจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนจะในผลดีคือการตรัสรู้ทันที" อธิบายง่ายๆว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกับปุณฑรีกหรือดอกบัว พระสูตรนี้มีชื่อเช่นนี้ก็เพราะทรงไว้ซึ่งอรรถาธิบายแห่งคำสอนนั้น
สัทธรรมปุณฑรีกสูตร แบ่งออกเป็น 27 บท ซึ่งเรียกว่า ปริวรรต โดยส่วนใหญ่แล้วจะแสดงพระสูตรในลักษณะที่ให้ผู้ศรัทธามีความเคารพยำเกรงในพระพุทธเจ้า และในตัวของพระสูตรเอง มีจ้อความพรรณนาโวหารถึงอิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าทั้งในส่วนที่เป็นโศลกและเนื้อความร้อยแก้ว ถ้าผู้ศึกษาจะมองข้ามส่วนนี้เสียถือเอาแต่การวิเคราะห์เนื้อหาก็จะได้พบวัตถุประสงค์สำคัญของพระสูตรนี้ว่าต้องการจะกล่าวย้ำถึงคำสอนของเอกยานกล่าวคือพุทธยานซึ่งนอกเหนือไปจากตรียาน คือสาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตว์ยาน อย่างไรก็ดี เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเผชิญกับความขัดแย้งของคำสอนของพระองค์ในที่อื่นๆ ก็จะทรงอธิบายว่า พระองค์ทรงสอนแต่เพียงเรื่องเอกยานเท่านั้น พระธรรมเทศนาที่ทรงเอ่ยอ้างถึงตรียานเป็นเพียงนำผู้ปฏิบัติที่หลงทางให้เข้าสู่เอกยาน ข้อนี้เป็นคุณลักษณะของอุปายโกศล หรือ "วิธีการที่ฉลาดแยบยล" เพื่อแสดงมรรคาที่ถูกต้องแก่สาวกของพระองค์ ผู้อ่านมักจะพบคำว่าอุปายโกศลน้อยมากในพระสูตรฝ่ายมหายาน เช่นดังที่ปรากฏในอาษฏาสาหัสริกาศาสตร์ ว่ามีข้ออุปมาเปรียบเทียบและนิทานสาธกที่วิเศษยิ่งเกี่ยวกับอุปายโกศลของพระพุทธเจ้า ในปริวรรตที่ 3,4 และ 5 ของพระสูตรเล่มนี้ และผู้อ่านคงจะเห็นพ้องกับ วินเตอร์นิตซ์ ที่ว่า อุปมาอุปไมยและนิทานสาธกเหล่านี้เป็นเรื่องที่คงความงดงาม ถ้าหากว่าจะไม่ทำให้เรื่องต้องยึดยาดเยิ่นเย้อออกไปจนกระทั่งว่าประเด็นสำคัญของข้ออุปมาอุปไมยต้องมีผลกระทบไปด้วย ความเยิ่นเย้อ เช่นนี้เป็นลักษณะของสัทธรรมปุรฑรีกสูตรนี้ ข้อความที่วกวนเช่นนี้อาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนงุงงงได้ และแนวคิดหลักจริงๆ ก็มักอยู่ในกระแสคำบรรยายดังว่านี้
เป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไปในแน่นอนว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรมีการจารึกขึ้นเมื่อไร ต้นฉบับเนปาลที่ใช้เป็นต้นฉบับพิมพ์เล่มนี้ล้วนมีอายุเหลังพุทธกาล 1500ปี ทั้งสิ้น ฉบับแปลของธิเบตซึ่งปรากฏก่อนหน้านี้ ก็ตกอยู่ในประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 และฉบับแปลจีนของท่านกุมารชีพ ก็มีเนื้อความคล้ายคลึงกันกับฉบับของธิเบต เมื่อมีการสอบทานชำระอาจจะเกิดฉบับที่มีข้อความสั้นเพียงบทที่ 1-20 และ 27 ก่อนฉบับสมบูรณ์ 27 บทปัจจุบัน หากไม่พิจารณาถึงการสอบทานฉบับเก่าๆ หันมาพิจารณาเฉพาะฉบับแปลแรกๆของจีน จะมีอายุในช่วง พ.ศ.776-998 วินเตอร์นิตซ์ ให้ความเห็นว่า ท่านนาคารชุนได้ยกข้อความไปจากนี้ เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมคงจะมีขึ้นแล้วเมื่อประมาณ พ.ศ.693 เพราะฉะนั้น ไม่น่าจะผิดพลาดนักถ้าเราจะกำหนดว่าสัทธรรมปุณฑรีกสูตรจารึกไว้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 6 ลักษณะของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรแสดงให้เห็นพัฒนาการอันสุกงอมของพระพุทธศาสนามหายาน โดยเฉพาะในแง่ของการอุทิศตนเพื่อพระพุทธเจ้า ความเชื่อในการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูป และพัฒนาการก้าวหน้าแห่งพุทธศิลป์
เฉพาะในประเทศจีน สัทธรรมปุณฑรีกสูตรมีการแปลถ่ายทอดเป็นภาษาจีนถึง 6 ครั้งด้วยกัน แต่ 3 ฉบับแปลแรกได้สูญหายไปแล้วเมื่อประมาณ พ.ศ. 1273 เมื่อมีการจัดทำบัญชีรายชื่อคัมภีร์พระพุทธศาสนาขึ้นโดยท่านจื้อเซิง อีก 3 สำนวนแปลหลังที่ยังหลงเหลืออยู่เป็นของท่านธรรมรักษ์ พ.ศ.829 ท่านกุมารชีพ พ.ศ.934 และท่านชญานคุปตะร่วมกับท่านธรรมคุปตะ พ.ศ.1144 ฉบับแปลล่าสุดจะมีเนื้อความสอดคล้องกับต้นฉบับภาษาสันสกฤตมากที่สุด ฉบับแปลของท่านกุมารชีพ ทั้งที่มีในจีนและญี่ปุ่นมีขนาดยาว 8ผูก มีรวม 28 ปริวรรต โดยเพิ่ม "เทวทัตปริวรรต" คือบททีว่าด้วยพระเทวทัตเข้ามาอีกหนึ่งบท พระสูตรนี้เป็นที่เคารพนับถือมากในหมู่ผู้นับถือนิกายเทียนไท้ (เทนได) ทั้งในจีนและญี่ปุ่น โดยเฉพาะนิกายนิชิเรนถือเป็นพระสูตรสำคัญมากที่สุดพระสูตรหนึ่งของมหายาน ซึ่งมีหลักคำสอนว่า แม้แต่สาวกของยานอื่นๆก็สามารถบรรลุความตรัสรู้อันสมบูรณ์ได้ และสอนว่าความตรัสรู้อันสมบูรณ์นั้น พระพุทธเจ้าได้บรรลุมาเนิ่นนานหลายกัลปหลายกัลป์จนนับมิได้แล้ว
ในส่วนของอรรถกถาพระสูตรนี้ ท่านวสุพันธุ ได้รจนาเป็นฉบับย่อในชื่อว่า "สัทธรรมปุณฑรีกสูตรอุปเทศ" ในจีนมีคัมภีร์ชั้นฎีกาเกิดขึ้นมากมาย เช่นของท่านเต้าเซิง, ฝ่าอวิ่น, จื้ออี, จี้จ้าง, และกุยจี เป็นต้น แม้แต่ท่านจื้ออี(มหาคุรุเทียนไท้) ผู้สถาปนานิกายเทียนไท้ ก็อาศัยมูลฐานจากพระสูตรนี้ ในญี่ปู่น เจ้าชายโชโตกุ ก็ทรงแต่งอรรถาธิบายพระสูตรฉบับสันสกฤตและฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ ก็มีปราชญ์ตะวันตกจัดพิมพ์เผยแพร่ดังกล่าวแล้วข้างต้น
อนึ่ง มีข้อที่ควรทราบถึงความสำคัญของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ว่า ในกลุ่มประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนามหายาน เช่นจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน เวียตนาม และแม้แต่นิกายมหายานในประเทศไทย เมื่อมีพิธีเกี่ยวกับการบูชาพระอวโลกิเตศวร(กวนอิม)ก็จะนิยมสวดบท "สมันตมุขปริวรรต" โดยมิได้ขาด อันเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า พระสูตรนี้เป็นบ่อเกิดแห่งศิลปกรรมและพิธีกรรมต่างๆ มากมายนอกเหนือไปจากหลักธรรมและปรัชญาอันลึกซึ้ง
ในการศึกษาวิเคราะห์ด้านเนื้อหาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนั้น บทที่ 2 คืออุปายโกศลปริวรรต มีอิทธิพลต่อแนวคิดของท่านจื้ออีหรือเทียนไท้มาก เพราะถือว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าก่อนหน้านี้เป็นเพียงอุบายเทศนาวิธี แต่สัทธรรมปุณฑรีกสูตรคือแก่นแท้ของพระสัทธรรม ซึ่งสรุปเป็นเอกพุทธยาน
ในส่วนของท่านนิชิเรน ก็ได้รับแรงบันดาลใจจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะบทที่ 15 ตถาคตายุษประมาณปริวรรต ท่านถือว่าพระศรีศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นเพียงนิรมานกายของพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ซึ่งตรัสรู้มาแล้วเนิ่นนานจนนับกาลไม่ได้แล้วและสุดท้ายท่านสรุปว่า ตัวท่านเองคือผู้สำแดงร่างของพระพุทธเจ้าองค์ล่าสุด ถึงกับตั้งสมญานามตนเองว่า ไดโชนิน"ซึ่งแปลว่า "พระมหามุนี" นอกจากนี้บทท้ายๆคือ บทที่26-27 ซึ่งท่านนิชิเรนนำแนวคิดซึ่งพระสูตรไปใช้เป็นบทสัมภาวนา "นามเมียวโฮเรงเงเกียว" [นโม สทฺธรฺมปุณฺฑรีกสฺย]และสร้างมณฑลสัญลักษณ์ ซึ่งเรียกว่า "ไดโมกุ" เป็นวัตถุแห่งการบูชาผู้ศึกษาวิจัยควรอ่านประวัติของท่านจื้ออีผู้สถาปนานิกายเทียนไท้ของจีนและประวัติของท่านนิชิเรน ไดโชนิน จะได้ทราบแนวคิดที่ท่านทั้งสองได้ไปจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ และน่าจะเพียงพอแล้วสำหรับความเลิศล้ำของพระสูตรนี้
ในประเทศไทย มีผู้แปลพระสูตรนี้จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยหลายสำนวนต่างกรรมต่างวาระ มีจำหน่ายเผยแพร่อยู่โดยทั่วไปแล้ว สัทธรรมปุณฑรีกสูตรเล่มนี้แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตโดยตรงโดยผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤตของกรมศิลปากรคือ อาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย โดยใช้ต้นฉบับของสถาบันมิถิลา ประเทศอินเดีย ซึ่งมี ดร.พิ แอล ไวทยะ เป็นบรรณาธิการ จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2503 ข้าพเจ้ามีส่วนช่วยขัดเกลาสำนวนภาษาไทยบ้างเล็กน้อย และตรวจสอบคำแปลบางศัพท์ให้ตรงกับหลักธรรมและคติมหายาน
ทรงวิทย์ แก้วศรี
บรรณาธิการ
คำนำ ทรงวิทย์ แก้วศรี
พระสูตรสัทธรรมปุณฑรีกะ
วัดโพธิ์แมนคุณาราม
นายชะเอม แก้วคล้าย แปลจากต้นฉบับสันสกฤต
โอม ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระตถาคต พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกทั้งปวง และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่มีในอดีตอนาคตและปัจจุบัน ข้าพเจ้าจักพรรณนา สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ซึ่งเป็นสูตรที่สมบูรณ์และสำคัญ เป็นสูตรที่แสดงการจุติ (อวตาร) เพื่อแนะนำประโยชน์สูงสุด และเป็นแนวทางอันยิ่งใหญ่แก่สัตว์ทั้งหลาย
บทที่1
นิทานปริวรรต
บทนำ
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฎ ในเมืองราชคฤห์ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก คือพระภิกษุ 1200 รูป ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ หมดทุกข์ ปราศจากกิเลส มีจิตและปัญญาหลุดพ้นแล้ว เป็นบุรุษอาชาไนย ได้กระทำกิจอันความกระทำแล้ว เหมือนพญาช้างผู้มีภารกิจที่ได้ทำสำเร็จแล้ว เพราะความรู้ชอบในการควบคุมความคิดทั้งปวง ได้ฌานอภิญญา พระมหาสาวกเหล่านั้น อาทิ ท่านอัชญาตเกาณฑินยะ ท่านอัสวชิตะ ท่านวาษปะ ท่านมหานามะ ท่านภัทริกะ ท่านมหากาศยปะ ท่านอุรุวิลวกาศยปะ ท่านนทีกาศยปะ ท่านคยากาศยปะ ท่านศาริบุตร ท่านมหาเมาทคัลยายะ ท่านมหากาตยายนะ ท่านอนิรุทธะ ท่านเรวตะ ท่านกัปผินะ ท่านความปติ ท่านปิลินทวัตสะ ท่านพักกุละ ท่านมหาเกาษฐิละ ท่านภรทวาชะ ท่านมหานันทะ ท่านอุปนันทะ ท่านสุนทรนันทะ ท่านปูรณไมตรายณีปุตระ ท่านสุภูติ และท่านราหุล พร้อมทั้งมหาสาวกอื่นๆนอกจากที่กล่าวแล้ว อาทิ ท่านอานนท์ผู้เป็นเสขบุคคล พร้อมด้วยพระภิกษุอื่นอีก 2000 รูป บางรูปเป็นพระเสขะ บางรูปเป็นพระอเสขะ ภิกษุณี 6000 รูป มีพระนางมหาประชาบดีเป็นประมุข และท่านภิกษีอโศธรา ผู้เป็นพระมารดาของพระราหุล รวมทั้งบริวารด้วย กับ พระโพธิสัตว์ 80000 องค์ ทุกองค์เป็นผู้ไม่หวั่นไหว มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดเพียงชาติเดียว เป็นผู้ได้ธารณีในการตรัสรู้อันประเสริฐยิ่ง เป็นผู้ดำรงอยู่ มีมหาปฎิภานยิ่ง ผู้ได้เข้าใกล้ พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ ที่ได้หมุนธรรมจักรให้เคลื่อนไป ผู้มีกุศลมูล ที่ได้ทำกับพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ ผู้ได้สดุดีพระพุทธเจ้านับแสนพระองค์มาแล้ว ผู้มีกายและจิตอันเปี่ยมด้วยเมตตา ผู้มีสายสกุลสืบต่อปัญญาของพระตถาคต มีปัญญามาก เข้าถึงคติแห่งปรัชญาปารมิตา เป็นที่รู้จักในหลายแสนโลกธาตุ และเป็นผู้ช่วยเหลือสัตว์จำนวนหลายหมื่นโกฎิ เหมือนอย่างพระโพธิสัตว์มหาสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะ พระอวโลกิเตศวร พระมหาสถามปราปตะ พระสรวารถนามัน พระนิตโยทยุกตะ พระอนิกษิปตธุระ พระรัตนปาณี พระไภษัชยราช พระไภษัชยสมุทคตะ พระวยูหราช พระประทานศูระ พระรัตนจันทระ พระรัตนประภานะ พระสตตสมิตาภิยุกตะ พระธรณีธระ พระอักษยมติ พระปัทมศรี พระนักษัตรราช พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมไตรยะ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์สิงหะ กับสัตบุรุษ16 คน ซึ่งมีภัทรปาละ เป็นผู้น้ำ คือภัทรปาละ รัตนากระ สุสารถวาหะ นรทัตตะ คุยหคุปตะ อรุณทัตตะ อินทรทัตตะ อุตตรมติ วิเศษมติ วรรธมานมติ อโมฆทรรศี สุสัมประสถิตะ สุวิกรานตวิกรามี อนุปมมติ สูรยครรภะ และธรณีนธระ พร้อมกับพระโพธิสัตว์ 80,000องค์ ซึ่งท่านที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นผู้นำ พร้อมด้วยท้าวสักกะ จอมแห่งทวยเทพ ซึ่งมีเทพบุตร 20,000 องค์ เป็นบริวาร อาทิ จันทรเทพบุตร สูรยเทพบุตร สมันตคันธเทพบุตร รัตนประภาเทพบุตร อวภาสประภาเทพบุตร และเทพบุตร 20,000 องค์ ซึ่งมีเทพที่กล่าวมาแล้วเป็นผู้นำ และพร้อมทั้งมหาราชทั้ง 4 ซึ่งมีเทพบุตร 30,000 องค์ เป็นบริวาร คือมหาราชวิรูตกะ มหาราชวิรูปากษะ มหาราชธฤตราษฎระ และมหาราชไวศรวณะ และเทพบุตรอีศวร เทพบุตรมเหศวร ซึ่งทั้งสองมีเทพบุตร 30,000 องค์เป็นบริวาร และพร้อมทั้งสหามบดีพรหม ซึ่งมีเทพบุตรรูปพรหม 12,000 องค์เป็นบริวาร ได้แก่ ศิบิพรหม และชโยติษประภาพรหม เป็นต้น พร้อมด้วยเทพบุตรรูปพรหม 12,000 องค์ ซึ่งมีพรหมที่กล่าวนามมาแล้วเป็นผู้นำ พร้อมด้วยพญานาคราช ทั้งแปด ซึ่งมีพญานาคราชหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร ได้แก่ นาคราชนันทะ นาคราชอุปนันทะ นาคราชสาคระ นาคราชวาสุกี นาคราชตักษกะ นาคราชมนัสวิน นาคราชอนวตัปตะ และนาคราชอุตปลกะ พร้อมด้วยกินนรราชทั้งสี่ ซึ่งมีกินนรหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร ได้แก่กินนรราชทรุมะ กินนรมหาธรรมะ กินนรสุธรรมะ กินนรธรรมธระ และเทพบุตรคนธรรพ์ทั้งสี่ ซึ่งมีคนธรรพ์หลายแสนเป็นบริวาร คืนคนธรรพ์มโนชญ์ คนธรรพ์มโนชญ์สวระ คนธรรพ์มธุระ และคนธรรพ์มธุรสวระ จอมอสูรทั้งสี่ ซึ่งมีอสูรหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร คือจอมอสูรพลี จอมอสูรบรัสกันธะ จอมอสูรเวมจิตรี และจอมอสูรราหู กับจอมครุฑทั้งสี่ ซึ่งมีครุฑหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร คือจอมครุฑมหาเตชะ จอมครุฑมหากายะ จอมครุฑมหาปูรณะ จอมครุฑมหาฤทธิปราปตะ รวมทั้งพระเจ้าอชาตศัตรูราชาแห่งมคธนคร ผู้เป็นโอรสของพระนางเวเทหิด้วย
นัยว่า สมัยนั้นพระผู้มีพระภาค ซึ่งมีบริษัทสี่ แวดล้อม ถวายความเคารพ นบนอบ ยกย่อง นับถือ สรรเสริญ บูชา และนอบน้อมแล้ว หลังจากได้ตรัสพระสูตรธรรมบรรยายที่ซึ่อว่า “มหานิรเทศ” อันเป็นคำสอนที่ไพบูลย์ยิ่ง เป็นคำสอนที่ทรงแสดงแก่พระโพธิสัตว์และเป็นคำสอนที่เกื้อหนุนต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วทรงประทับนั่งบนธรรมาสน์ใหญ่นั้น นั่นแล ทรงเข้าสมาธิที่เรียกว่า “อนันตนิรเทศประดิษฐาน” มีพระวรกายนิ่ง จิตสงบ ก็ในขณะที่พระผู้มีพระภาค ทรงเข้าสมาธินั้น สายฝน ดอกไม้ทิพย์จำนวนมาก คือดอกมณฑารพ ดอกมหามณฑารพ ดอกมัญชูษกะ และดอกมหามัญชูษกะ ได้โปรยลงเหมือนสายฝนตกต้องที่พระผู้มีพระภาค และบริษัททั้งสี่ ทำให้พุทธเกษตรทั้งปวง สั่นสะเทือนเป็นหกจังหวะคือ เคลื่อนไป-เคลื่อนมา ฟูขึ้น-ยุบลง โคลงไป-โคลงมา นัยว่า สมัยนั้น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งอยู่ในที่ประชุมนั้น ทั้งพระราชา พระจักรพรรดิผู้มีพลัง ที่ครองนครทั้งหลายและจักรพรรดิผู้ครองทวีปทั้งสี่ ซึ่งประทับนั่งอยู่ที่นั้น ทั้งหมดพร้อมด้วยบริวาร ได้พากันมองมาที่พระผู้มีพระภาค และได้ถึงความประหลาดใจ อัศจรรย์ใจไปตามๆกัน
ก็ในเวลานั้นแล รัศมีดวงหนึ่งได้ฉายออกมาจากกลุ่มพระอูรณะ (พระโลมารูปวงกลม) ระหว่างพระขนงของพระผู้มีพระภาค พระรัศมีนั้นแผ่คลุมไปทั่ว 18,000 พุทธเกษตร ในทิศบูรพา และพุทธเกษตรทั้งหมดนั้น ได้ปรากฏ สว่างไสวไปด้วยแสงรัศมีนั้น จนถึงอเวจีมหานรก และจรดจุดสูงสุดของขอบจักรวาล อนึ่งในพุทธเกษตรเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มีอยู่ในคติทั้งหก ก็เห็นกันโดยถ้วนทั่ว และในพุทธเกษตรเหล่านั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ที่ทรงประทับยืน นั่ง และดำเนินไปอยู่ ก็ได้เห็นกันทั่ว พระธรรมทั้งหมด ที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย แสดงก็ได้ยินกันอย่างทั่วถึง ในพุทธเกษตรเหล่านั้น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ฝึกโยคะ ผู้บรรลุ และยังไม่ได้บรรลุผลวิเศษทุกคนก็ได้เห็นกันถ้วนทั่ว ในพุทธเกษตรเหล่านั้น พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ ทั้งหมด ที่ประพฤติข้อวัตร ปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ ด้วยความฉลาดในอุบาย อันมีการฟัง การยึดมั่นและการน้อมใจเชื่อเป็นเหตุต่างๆ มิใช่น้อย ก็ได้ปรากฏให้เห็นในพุทธเกษตรทั้งหลายเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวงที่ปรินิพพานแล้ว ก็มาปรากฏให้เห็นในพุทธเกษตรเหล่านั้น แม้พระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายทั้งปวง ที่สร้างด้วยรัตนะต่างๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ดับขันธปรินิพพานนานแล้ว ก็ปรากฏให้เป็นเช่นกัน
ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะ ได้ทรงมีดำริว่า พระตถาคตได้ทรงทำมหานิมิตปาฏิหาริย์นี้ จักมีเหตุอะไรหนอ อะไรเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาค ได้ทรงกระทำมหานิมิตปาฏิหาริย์เห็นปานนี้ และพระผู้มีพระภาค ได้ทรงเข้าสมาธิแล้ว ฤทธิ์ปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่และมหัศจรรย์เห็นปานนี้ จึงเป็นอจินไตย ได้ปรากฏให้เห็นแล้ว เราควรจะถามเนื้อความที่ควรจะถามนี้หรือหนอแล ณ ที่นี้ ใครหนอ พึงเป็นผู้สามารถที่จะทำให้เนื้อความนี้กระจ่างได้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะนั้น ได้ทรงมีดำริต่อไปว่า พระโพธิสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะองค์นี้ผู้มีอธิการได้กระทำแล้วต่อพระชินเจ้าองค์ก่อนๆ มีกุศลมูลอันปลูกฝังไว้แล้ว (ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ)และได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าจำนวนแล้ว อนึ่ง นิมิตเช่นนี้ ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน จักเป็นสิ่งที่พระโพธิสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะนี้ได้เคยเห็นมาแล้ว ก็แล การถามธรรมะอันยิ่งใหญ่ก็เคยมีมาแล้ว เราควรถามข้อความนี้กะท่านพระมัญชุศรีกุมารภูตะ ดีไหมหนอ? บริษัทสี่ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์ และอมนุษย์ ทั้งหลาย จำนวนมากเหล่านั้น เห็นปรากฏการณ์แห่งปาฏิหาริย์ ที่เป็นเช่นนี้ เป็นนิมิตหมายอันยิ่งใหญ่ของผู้มีพระภาค ก็ประหลาด มหัศจรรย์ใจ โกลาหล คิดกันว่า ทำไมหนอ พวกเราจึงไม่ถามปรากฏการณ์แห่งอิทธิปาฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่เห็นปานนี้ของพระผู้มีพระภาค
ขณะนั้นแล พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะ ได้ทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของบริษัทสี่ด้วยจิตเช่นกันและตนเองก็สงสัยในธรรม จึงได้ถามพระโพธิสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระมัญชุศรี ณ ที่นี้ อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์แห่งฤทธิ์ของพระผู้มีพระภาค ที่เป็นมหัศจรรย์ถึงเพียงนี้และพุทธเกษตร 18000 เหล่านี้ ที่มีพระตถาคตซึ่งปรินิพพานแล้ว และพระตถาคตที่กำลังสั่งสอนศาสนาธรรมอยู่ ปรากฏเห็นเป็นวิจิตรสวยงามน่าดูเป็นอย่างยิ่ง
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะ ได้ทรงกล่าวกับพระมัญชุศรีกุมารภูตะ ด้วยคาถาทั้งหลายว่า
1 ข้าแต่พระมัญชุศรี เพราะเหตุใดเล่า พระผู้นำของนรชน (พระผู้มีพระภาค) จึงทรงเปล่งพระรัศมีออกมา และพระรัศมีซึ่งมีแสงประกายนี้ ได้ปรากฏจากกลุ่มพระอูรณะ ซึ่งอยู่ระหว่างพระขนง
2 ทวยเทพทั้งหลาย มีความยินดีได้โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกมัญชูษกะผสมผงผงจันทน์ซึ่งเป็นทิพย์ มีกลิ่นหอมน่ารื่นรมย์ ลงมาเป็นห่าฝน
3 ปฐพีทั้งปวงงามไปทั่วทุกสารทิศ บริษัททั้งสี่ก็ได้รับความปิติ และพุทธเกษตรทั้งปวง ก็สั่นสะเทือนถึงหกจังหวะอย่างน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง
4 ก็แลรัศมีนั้น แผ่ไปทั่วทั้ง 18,000 พุทธเกษตรในทิศบูรพา และพุทธเกษตรทั้งหมด สว่างไสวปานสีทองพร้อมกัน
5 สัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในภูมิทั้ง 6 ทั้งที่ตายและกำลังเกิดอยู่ในสถานที่ต่างๆ ตั้งต้นแต่ อเวจีมหานรกจนถึงพรหมโลก (เราก็เห็นสัตว์เหล่านั้นได้)
6 กรรมชนิดต่างๆ ของสรรพสัตว์ที่มีสุขและมีทุกข์ ที่เลว ประณีต และปานกลาง ที่ปรากฏในคติทั้งหลาย ผู้ยืนอยู่ที่นี่ก็สามารถมองเห็นกรรมทั้งหมดนั้นได้
7 ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นจอมแห่งพระราชา ซึ่งกำลังประกาศและแสดงธรรม ยกอุทาหรณ์ให้ปรากฏแก่สรรพสัตว์จำนวนหลายโกฏิ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ
8 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อประกาศพุทธธรรม ด้วยการแสดงเหตุผลหลายหมื่นโกฏิวิธี ย่อมทรงเปล่งพระสุรเสียงลึกซึ้งไพเราะ และอัศจรรย์ ในพุทธเกษตรของแต่ละพระองค์
9 ก็แลสัตว์ที่โง่เขลาเบาปัญญา ถูกความทุกข์บีบคั้น มีจิตใจเดือดร้อน เพราะการเกิดและความแก่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ทรงประกาศวัตรปฏิบัติเพื่อความสงบสุขแก่สัตว์เหล่านั้น ด้วยพระดำรัสว่า โอ ภิกษุทั้งหลาย นี่คือที่สุดแห่งความทุกข์
10 ส่วนชนที่มีพลังแข็งกล้า ถึงพร้อมด้วยบุญบารมี ประกอบด้วยทัศนะที่ดีต่อพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะทรงแสดงธรรมเครื่องนำทางแก่เขาก็ตรัสยานเฉพาะแก่เขา
11 ส่วนชนเหล่าอื่น ที่เป็นบุตรพระสุคต ที่กำลังแสวงหาญาณอันวิเศษสุด ซึ่งได้ทำงานมาตลอดกาล พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมตรัสสอนพรต เพื่อการตรัสรู้แก่เขา
12 ข้าแต่ท่านมัญชุโฆษะ ข้าพเจ้ายืนอยู่ ณ ที่นี้ย่อมได้ยินและเห็นเรื่องเช่นนี้และเรื่องพิเศษอื่นๆ รวมเป็นจำนวนพันโกฏิเรื่อง จากเรื่องเหล่านั้น ข้าพเจ้าจะเล่าเพียงบางเรื่อง
13 ในพุทธเกษตรจำนวนมากมายนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระโพธิสัตว์จำนวนมากหลายพันโกฏิ มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ที่ได้บรรลุโพธิญาณ ด้วยความเพียรต่างๆกัน
14 พระโพธิสัตว์บางพวกในทาน คือ การบริจาคทรัพย์สมบัติ เงินทอง แก้วมุกดา แก้วมณี สังข์ ศิลา แก่ประพาฬ ทาสชาย ทาสหญิง รถ ม้า และแกะ เป็นต้น
15 พระโพธิสัตว์บางพวกมีจิตเบิกบานทำตนให้เจริญอยู่ เพื่อการตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐในโลก ในทานด้วยการบริจาคควอ และเครื่องประดับที่เป็นรัตนะทั้งหลาย ด้วยคิดว่า เรา เมื่อน้อมใจไปอยู่ พึงได้ยานในพระโพธิญาณอันประเสริฐนี้
16 พระโพธิสัตว์บางพวก ในทานเช่นนี้ ด้วยคิดว่า พุทธยาน ที่พระสุคตทั้งหลายได้แสดงแล้ว เป็นยานที่ประเสริฐและวิเศษสุด ในโลกธาตุทั้งสาม เราจงได้พุทธยานนั้นโดยพลันเถิด
17 พระโพธิสัตว์บางพวก ให้ทาน เช่นรถเทียมม้า 4 ตัว ซึ่งมีที่นั่งประดับด้วยดอกไม้และธงชัยพร้อมทั้งธงเวชยันต์ และบางพวกบริจาควัตถุทั้งหลายที่ทำด้วยรัตนะ
18 พระโพธิสัตว์บางพวก บริจาคบุตรชาย และบุตรหญิงทั้งหลาย บางพวกบริจาคเนื้อหนังอันเป็นที่รักของตน และบางพวกปรารถนาธรรมอันเลิศนี้ ได้บริจาคมือและเท้าทั้งหลาย ที่บุคคลอื่นขอ
19 พระโพธิสัตว์บางพวก บริจาคศีรษะ บางพวกบริจาคนัยน์ตา บางพวกบริจาคร่างกายอันประเสริฐ ก็แล ครั้นบริจาคทานทั้งหลายแล้ว เป็นผู้มีจิตผ่องใส ย่อมปรารถนาการบรรลุญาณของพระตถาคตทั้งหลาย
20 ข้าแต่พระมัญชุศรี ข้าพเจ้าเห็นว่า ในที่บางแห่ง กษัตริย์ทั้งหลาย สละราชสมบัติจำนวนมาก สละถิ่นที่ประทับ ทวีป อำมาตย์ และพระญาติทั้งปวง สละทุกสิ่งทุกอย่าง
21 กษัตริย์เหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้นำของชาวโลกทั้งหลาย (พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย) เพื่อความเป็นสิริมงคล แล้วถามข้อธรรมอันประเสริฐ ทรงตัดพระเกศา พระมัสสุ แล้งครองผ้ากาสาวพัสตร์
22 และข้าพเจ้าได้พบเห็นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายบางพวก ที่เป็นเช่นภิกษุผู้อยู่ในป่าใหญ่ บางพวกอาศัยป่าที่ว่างเปล่า และยินดีในการศึกษาค้นคว้า (พระธรรม)
23 อนึ่งข้าพเจ้าได้พบเห็นพระโพธิสัตว์ของท่านซึ่งมีปัญญา เข้าไปสู่ถ้ำที่ภูเขาเจริญวิปัสสนา ใคร่ครวญพุทธญาณ พิจารณาตนเองอยู่
24 บุตรทั้งหลายเหล่าอื่นของพระสุคต ละกามโดยไม่เหลือ อบรมตนจนมีอารมณ์บริสุทธิ์ ได้บรรลุอภิญญา5 อาศัยอยู่ในป่า
25 บางพวกที่ปราชญ์ ยืนชิดเท้าประคองอัญชลีต่อหน้าพระผู้นำทั้งหลาย (พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย) กล่าวสดุดีพระชิเนนทรราช ที่ก่อให้เกิดความหรรษาด้วยคาถาหลายพัน
26 บางพวกมีสติ ฝึกอินทรีย์ได้แล้ว เป็นผู้คงแก่เรียนและรู้ศิลปะทั้งปวง ถามซึ่งธรรมของพระสุคตผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ และครั้นได้ฟังแล้วก็จดจำธรรมนั้นไว้
27 ข้าพเจ้าได้เห็นพระชิเนนทรบุตรบางพวก ซึ่งได้อบรมตนแล้ว ณ ที่นั้นๆ แสดงธรรมแก่มนุษย์ จำนวนหลายโกฏิ ด้วยการแสดงเหตุผลหลายหมื่นอย่าง
28 พระชิเนนทรบุตรเหล่านั้น เกิดความปราโมทย์ ชักชวนพระโพธิสัตว์จำนวนมากให้เผยแผ่ธรรมอยู่ ท่านเหล่านั้นได้ทำลายมารผู้มีกำลัง พร้อมทั้งเสนามารได้แล้ว จึงลั่นกลองธรรม
29 ข้าพเจ้าได้เห็นบุตรตถาคต บางพวกผู้ไม่เย่อหยิ่ง ถ่อมตน มีจริยวัตรสงบเสงี่ยมในศาสนาของพระตถาคต เป็นที่บูชาของมนุษย์ เทพ ยักษ์ และรากษสทั้งหลาย
30 บางพวกอาศัยอยู่ในป่าทึบ เปล่งรัศมีจากกาย ยกสัตว์ทั้งหลายขึ้นจากนรกให้เตรียมพร้อมเพื่อพระโพธิญาณ
31 พระชินบุตรบางพวกเหล่าอื่น ตั้งอยู่ในความเพียร ละความเกียจคร้านได้โดยสิ้นเชิง ประกอบการเดินจงกรม ตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความเพียร ท่านเหล่านั้น ย่อมบรรลุธรรมอันวิเศษได้
32 และพระชินบุตรบางพวก รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ให้ด่างพร้อยทุกเมื่อ เช่นเดียวกับแก้วมณีและรัตนะทั้งหลาย และมีความประพฤติอันสมบูรณ์แบบ ท่านเหล่านั้นสามารถบรรลุพระโพธิญาณอันประเสริฐได้ด้วยศีลนั้น ณ ที่นั้น
33 พระชินบุตรทั้งหลาย บางพวก มีความอดทนเป็นพลัง ย่อมอดทนต่อภิกษุทั้งหลายที่มีความเย่อหยิ่ง ด่าบริภาษและติเตียน พระชินบุตรเหล่านั้น สามารถบรรลุพระโพธิญาณอันประเสริฐได้ ด้วยความอดทนนั้น
34 ข้าพเจ้าได้พบเห็นพระโพธิสัตว์ บางพวก ละความยินดีในโลกิยสุขทั้งปวง ละทิ้งสหายผู้เป็นพาลทั้งหลายแล้ว ยินดีการสังสรรค์ ดำรงอยู่กับหมู่ชนผู้เป็นอริยะทั้งหลาย
35 พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ละความคิดที่ฟุ้งซ่าน เข้าสมาธิทำจิตให้เป็นอารมณ์เดียวในป่าและถ้ำเป็นเวลาหลายพันโกฏิปี ท่านเหล่านั้น สามารถบรรลุพระโพธิญาณอันประเสริฐได้ด้วยสมาธินั้น
36 พระชินบุตรบางพวก บริจาคสิ่งของที่เป็นขาทนียะ โภชนียะควรเคี้ยว ข้าว น้ำ ยารักษาโรค จำนวนมาก ให้เป็นทาน ณ เบื้องพระพักตร์ ของพระชินเจ้าพร้อมทั้งหมู่ศิษย์
37 พระชินบุตรบางพวก ทำการบริจาคผ้าจำนวนร้อยโกฏิ ซึ่งมีมูลค่าหลายร้อยพันโกฏิ และบางพวกบริจาคผ้าทั้งหลายที่มีค่านับไม่ได้ ณ เบื้องพระพักตร์ พระชินเจ้าพร้อมทั้งหมู่ศิษย์
38 พระชินบุตรบางพวก ให้สร้างวิหารตั้งร้อยโกฏิ ประดับประดาด้วยรัตนะ และไม้จันทน์ ที่นอนที่นั่งมากมาย ให้เป็นทาน ณ เบื้องพระพักตร์ของพระสุคตเจ้าทั้งหลาย
39 พระชินบุตรบางพวก ถวายสวนอันสะอาดและน่ารื่นรมย์ ซึ่งมีผลไม้และดอกไม้หลากสี แด่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย พร้อมด้วยสาวกเพื่อพักผ่อน ในเวลากลางวัน
40 ท่านทั้งหลายเหล่านั้นมีความยินดีปรีดา บริจาคทานหลายอย่างที่วิจิตร ก็แล ครั้นบริจาคแล้ว ได้ทำความเพียรให้เกิดขึ้นเพื่อพระโพธิญาณ ท่านเหล่านั้นย่อมบรรลุธรรมอันวิเศษได้ด้วยทานนั้น
41 พระชินบุตรบางพวก อธิบายธรรมอันเกี่ยวกับความสงบด้วยการแสดงเหตุผลเป็นจำนวนไม่น้อย นับได้หลายหมื่นอย่าง และแสดงธรรมนั้นแก่ประชาชนจำนวนหลายพันโกฏิ ท่านเหล่านั้นย่อมบรรลุธรรมอันวิเศษได้ด้วยญาณนั้น
42 บุตรพระตถาคตเจ้าบางพวก รู้อยู่ ไม่ปรารถนา ไม่ยึดติดสิ่งใด เหมือนความเสมอภาคของพระอาทิตย์ แล้วประพฤติธรรมเป็นทวีคูณ ท่านเหล่านั้นย่อมบรรลุธรรมอันวิเศษได้ ด้วยปัญญา
43 ข้าแต่ท่านมัญชุโฆษะ ยิ่งกว่านั้น ข้าพเจ้ายังได้เห็นพระโพธิสัตว์จำนวนมาก ผู้มั่นคงในพระศาสนาของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ที่ปรินิพพานแล้ว ยังทำการสักการะพระธาตุของพระชินเจ้าทั้งหลาย
44 ข้าพเจ้าเห็นพระสถูปมากมายหลายพันโกฏิ เท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ที่พระชินบุตรทั้งหลาย ให้สร้างขึ้นประดับแผ่นดินเป็นจำนวนหลายโกฏิ
45 พระสถูปอันประเสริฐทั้งหลาย สร้างด้วยวัตถุมีค่า 7 ประการ สูง 5,000 โยชน์ และวัดโดยรอบที่ฐาน 2,000 โยชน์ ที่พระสถูปนั้นมีทั้งฉัตรและธงหลายพันโกฏิ
46 ตลอดเวลา พระสถูปประดับด้วยธงและมีเสียงกลุ่มระฆังดังอยู่เป็นนิจ และงดงามยิ่งนัก มนุษย์ เทวดา ยักษ์ รากษส บูชาพระสถูปนั้นด้วยดอกไม้ ของหอมและดนตรี
47 บุตรทั้งหลายของพระสุคต ให้การะทำการบูชา พระบรมสารีริกธาตุ ของพระชินเจ้าทั้งหลายเช่นนี้อยู่ ประหนึ่งว่าทิศทั้งสิบ สวยงามด้วยต้นปาริชาตทั้งหลาย ที่ออกดอกสะพรั่ง
48 ข้าพเจ้าและสัตว์โลกจำนวนหลายโกฏิเหล่านี้ ซึ่งยืนอยู่ ณ ที่นี่ ได้เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง แม้พระรัศมีหนึ่งเดียวนี้ ที่พระชินเจ้าเปล่งออกสู่โลกนี้ ซึ่งมีดอกไม้เบ่งบาน รวมทั้งเทวโลก
49 โอ อำนาจของพระผู้มีพระภาค โอ พระโพธิญาณของพระองค์บริสุทธิ์ไพบูลย์ยิ่งนั้น พระรัศมีนิดหนึ่งของพระองค์ได้แผ่ไปทั่วโลก ย่อมส่องให้เห็นพุทธเกษตร มากมายหลายพันแห่ง
50 พวกข้าพเจ้าได้เห็นนิมิตนี้ที่ปรากฏ ไม่มีสิ่งใดจะเปรียบได้เช่นนี้แล้ว ได้เกิดความมหัศจรรย์ใจยิ่งนั้น ข้าแต่ท่านพุทธบุตรมัญชุสวระ ขอท่านได้โปรดอธิบาย ข้อความนี้ ของท่านจงกำจัดความสงสัยของพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด
51 ข้าแต่ท่านผู้กล้าหาญ บริษัทที่เหล่านี้ มีจิตผ่องใส กำลังเฝ้ามองดูท่านและข้าพเจ้าอยู่ ณ ที่นี้ ข้าแต่ท่านสุคตบุตร ขอท่านจงทำความรื่นเริงให้เกิดขึ้นขจัดความสงสัย (ของเขาเหล่านั้น)และจงชี้แจงให้ประจักษ์เถิด
52 เหตุใดวันนี้ พระสุคตเจ้าจึงทรงเปล่งพระรัศมีเช่นนี้ โอ อำนาจพระสุคต โอ พระโพธิญาณของพระองค์ บริสุทธิ์ไพบูลย์ยิ่งนัก
53 พระรัศมีนิดหนึ่งของพระองค์แผ่ไปทั่วโลก ส่องให้เห็นไปถึงหลายพันพุทธเกษตร การที่พระองค์ทรงเปล่งรัศมีอันไพบูลย์เช่นนี้ คงจะมีประโยชน์แน่
54 พระสุคตเจ้า ผู้เป็นยอดบุรุษ เป็นนาถะแห่งโลก มีพระประสงค์จะแสดงธรรมอันเลิศที่พระองค์ได้สัมผัส (ตรัสรู้) แล้ว ณ โพธิมณฑลนั้น หรือว่าพระองค์จะทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
55 การที่พุทธเกษตรจำนวนหลายพัน ปรากฏสวยงามด้วยสิ่งวิจิตร ทั้งโศภิต แพรวพราวด้วยรัตนะและพระพุทธเจ้าจำนวนมาก ที่ปรากฏแก่จักษุโดยไม่มีที่สุด เหตุการณ์นี้น่ากลัวมิใช่น้อย
56 ขณะที่ท่านไมเตรยะ กำลังถามพระชินบุตรอยู่นั้น มนุษย์ เทวดา ยักษ์ รากษส และบริษัทสี่ในธรรมสภานั้น กำลังตั้งตารอคอยอยู่ว่า พระมัญชุสวระจะพยากรณ์อย่างไร
นัยว่า ครั้งนั้น พระมัญชุศรีกุมารภูตะ ได้ตรัสกับพระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ และหมู่พระโพธิสัตว์ทั้งปวงว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย วันนี้ พระตถาคตทรงมีพระประสงค์ทำให้ฝน คือหลักธรรมตกลงมา ทำการตีกลองหลักธรรม ทำการชักธงหลักธรรม ทำการจุดประทีปหลักธรรมให้สว่างไสว ทำการเป่าสังข์หลักธรรม ทำการตีกลองเภรีหลักธรรม และทรงการแสดงหลักธรรม ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าเคยรู้และเคยเห็นมา ปุพพนิมิตอย่างนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ก่อนๆ ก็ได้เคยทรงเปล่งพระรัศมีสว่างไสวอย่างนี้ ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่า พระตถาคตคงประสงค์จะทำการสนทนาถึงหลักธรรม ประสงค์ให้ได้ยินเสียงธรรม เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงแสดงปุพพนิมิตเช่นนี้ ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร? พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประสงค์ให้ธรรมบรรยายได้ยินไปถึงฝ่ายตรงกันข้ามในโลกทั้งปวง ฉะนั้นจึงทรงแสดงปุพพนิมิตเป็นมหาปาฏิหาริย์ จึงเปล่งพระรัศมีสว่างไสวอย่างที่เห็นนี้
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ข้าพเจ้าจำได้ว่า สมัยอดีตกาล ที่ล่วงมาแล้วช้านาน หลายกัลป์จนนับไม่ได้ นานเกินกว่าที่จะนับ คำนวณก็ไม่ได้ คิดก็ไม่ได้ ประมาณก็ไม่ได้ กาลสมัยนั้น พระตถาคตอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า จันทรสูรยประทีป ได้อุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นพระสุคต รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ประเสริฐ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่น เป็นผู้มีโชค พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ท่านกลางและที่สุด ได้ทรงประกาศพรหมจรรย์มีเนื้อความงาม มีพยัญชนะงาม อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สะอาดหมดจดโดยสิ้นเชิง กล่าวคือพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมมีอริยสัจสี่ พร้อมกับปฏิจจสมุปบาท โดยลำดับ ตั้งแต่ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะโศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จบลงด้วยนิพพาน แก่พระสาวกทั้งหลาย สำหรับพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่ง ซึ่งประกอบด้วยบารมีหก เริ่มจากสัมมาสัมโพธิ และจบลงด้วย พระสัพพัญญุตญาณ
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ก็แลหลังจากพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยประทีปพระองค์นั้นแล้ว ได้มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง ทรงอุบัติขึ้นในโลก มีพระนามว่า จันทรสูรยประทีปเช่นกัน ดูก่อนอชิตะ ในกาลลำดับต่อมานั้น ได้มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจำนวน 20,000องค์ ที่มีพระนามว่า จันทรสูรยประทีป ซึ่งมีนามเรียกขานตระกูลและโคตรเป็นนามเดียวกัน เหมือนที่มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่มีพระนามว่า ภรัทวาชะ ซึ่งตระกูลและโคตรเป็นนามเดียวกัน ดูก่อนอชิตะ บรรดาพระตถาคต 20,000 องค์เหล่านั้น เริ่มแต่พระองค์แรก จนถึงพระองค์สุดท้าย มีพระนามว่า จันทรสูรยประทีป เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นามว่า ภัทระ ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นพระสุคต เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ประเสริฐ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่น เป็นผู้มีโชค พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ได้ประกาศพรหมจรรย์ มีเนื้อความงาม มีพยัญชนะงามอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ สะอาดหมดจดโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม มีอริยสัจสี่ พร้อมกับปฏิจจสมุปบาท โดยลำดับ ตั้งแต่ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะโศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จบลงด้วยนิพพาน แก่พระสาวกทั้งหลาย สำหรับพระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันซึ่งประกอบด้วย บารมีหก เริ่มจากสัมมาสัมโพธิ และจบลงด้วย พระสัพพัญญุตญาณ
ดูก่อน อชิตะ ก็แล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระนามว่า จันทรสูรยประทีป ขณะที่ยังทรงเป็นราชกุมาร ยังมิได้ทรงสละราชสมบัติ ก่อนออกผนวช ได้ทรงมีพระโอรส 8 พระองค์ คือพระราชกุมารมติ พระราชกุมารสุมติ พระราชกุมารอนันตมติ พระราชกุมารรัตนมติ พระราชกุมารวิเศษมติ พระราชกุมารวิมติสมุทฆาฏี พระราชกุมารโฆษมติ และพระราชกุมารธรรมมติ ดูก่อนอชิตะ ก็นัยว่า พระราชกุมารผู้เป็นพระโอรสของตถาคตพระนามว่า จันทรสูรยประทีป ทั้ง 8 พระองค์เหล่านั้น ทรงมีฤทธิ์มาก แต่ละพระองค์ได้ทรงปกครอง 5 มหาทวีป และทุกพระองค์ได้ทรงครองราชย์ด้วย พระราชกุมารทั้งหมด เหล่านั้น ครั้นทรงทราบว่า พระผู้มีพระภาค (พระบิดา) ได้สละราชสมบัติ ทรงออกผนวชและทรงสดับว่าพระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ได้สละราชสมบัติและการปกครองทั้งปวง ผนวชตามพระบิดาที่เป็นพระผู้มีพระภาคนั้น ทุกพระองค์ทรงสำเร็จพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณและประกาศธรรม พระราชกุมารเหล่านั้นทรงเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์และได้ทรงสร้างบุญกุศลไว้ในพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ในอดีตกาลที่ผ่านมา
ดูก่อนอชิตะ ก็นัยว่าสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยประทีปนั้น ได้ทรงแสดงพระสูตรอันเป็นธรรมบรรยายชื่อว่า “มหานิรเทศ” ซึ่งมีเนื้อความกว้างขวาง เป็นคำสอนที่เหมาะแก่พระโพธิสัตว์ และเป็นที่ยึดถือของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ในขณะเดียวกัน ณ ที่ประชุมบริษัทนั้น (พระองค์) ทรงขึ้นประทับบนธรรมมาสน์ ทรงเข้าอนัตตนิรเทศประดิษฐานสมาธิ ด้วยพระวรกายและจิตที่ตั้งมั่นสงบนิ่ง ก็แลในขณะที่พระผู้มีพระภาคทรงเข้าสมาธิอยู่นั้น ฝนดอกไม้ทิพย์ ดอกมณฑารพ ดอกมหามณฑารพ ดอกมัญชูษกะและดอกมหามัญชูษกะ โปรยลงมา ฝนนั้นได้ถูกต้องพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งเหล่าบริษัทพุทธเกษตรทั้งปวง ก็สั่นสะเทือนเป็นหกจังหวะ คือ เคลื่อนไป-เคลื่อนมา ฟูขึ้น-ยุบลง โคลงไป-โคลงมา ดูก่อนอชิตะ ก็กาลสมัยนั้น ในที่ประชุมนั้น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์ อมนุษย์ รวมทั้งพระราชา พระจักรพรรดิ ผู้มีพลัง ซึ่งครองนครโดยรอบและพระจักรพรรดิผู้ครองทวีปทั้งสี่ ที่นั่งประชุม รวมกันทั้งหมด พร้อมทั้งบริวาร พากันจ้องมองพระผู้มีพระภาค ต่างประหลาดอัศจรรย์ใจไปตามๆกัน ก็แล ในเวลานั้น พระรัศมีดวงหนึ่งได้ฉายออกจากกลุ่มพระจูรณะ ระหว่างพระขนงของพระผู้มีพระภาคตถาคตจันทรสูรยประทีปนั้น พระรัศมีนั้น แผ่คลุมไปทั่ว 18000 พุทธเกษตร ในทิศบูรพา พุทธเกษตรทั้งหมดนั้น ได้ปรากฏสว่างไสวไปด้วยแสงพระรัศมีนั้น ดูก่อนอชิตะปรากฏการณ์นั้นก็เป็นเช่นเดียวกับพุทธเกษตรทั้งหลาย ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้
ดูก่อนอชิตะ ก็โดยสมัยนั้น พระโพธิสัตว์จำนวน 20 โกฏิ ได้ติดตามพระผู้มีพระภาคนั้น ท่านเหล่านั้น ซึ่งฟังธรรมอยู่ในที่ประชุมนั้น ครั้นได้เห็นโลก สว่างไสวด้วยแสงของพระรัศมีนั้น ก็เกิดความประหลาด อัศจรรย์ใจไปตามๆกัน
ดูก่อนอชิตะ โดยสมัยนั้น ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น (จันทรสูรยประทีป) ได้มีพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งมีนามว่า “วรประภา” ซึ่งมีศิษยานุศิษย์ 800 องค์ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงออกจากสมาธิแล้ว ทรงปรารภถึง วรประภาโพธิสัตว์นั้นจึงทรงแสดงธรรมบรรยายที่ชื่อว่า “สัทธรรมปุณฑรีกสูตร” พระองค์ทรงประทับนั่ง ณ ที่ประทับ แห่งเดียว โดยมีพระวรกายไม่ไหวติง และทรงมีพระหทัยจิตตั้งมั่น แสดงธรรมนั้นอยู่เป็นเวลา 60 กัลป์บริบูรณ์ บริษัททั้งหมดที่นั่งอยู่ ณ อาสนะเดียวนั้น ได้ฟังธรรมอยู่ใกล้ๆ พระองค์ตลอด 60 กัลป์ ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากายและใจ จะได้มีแก่ใครสักคนหนึ่ง ในที่ประชุมนั้น ก็หาไม่
ต่อมา พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยประทีปนั้น ครั้น ทรงแสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันเป็นสูตรที่มีเนื้อความกว้างขวาง เป็นคำสอน ที่เหมาะแก่พระโพธิสัตว์ และเป็นที่ยึดถือของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เป็นเวลาถึง 60 กัลป์แล้ว ในชั่วขณะนั้น ก็ได้ทรงประกาศพระนิพพานเบื้องหน้าประชาชน พร้อมทั้งเทพ มาร พรหม และสมณะพราหมณ์พร้อมด้วยเทวดา มนุษย์และอสูรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในมัชฌิมยาม คืนนี้แล ตถาคตจะดับขันธปรินิพพาน โดยอนุปาทิเสสนิพพานแล
ดูก่อนอชิตะ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจันทรสูรยประทีปนั้น ได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นามว่า “ศรีครรภ” ไว้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วได้ตรัสกับบริษัททั้งปวงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ศรีครรภ นี้ จักบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณต่อจากเรา เป็นพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า “วิมลเนตร” ดังนี้
ดูก่อนอชิตะ นัยว่าครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านามว่า จันทรสูรยประทีป ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยอนุปาทิเสสนิพพานในมัชฌิมยาม คืนนั้นแล และพระโพธิสัตว์มหาสัตว์วรประภานั้น ได้ทรงจำธรรมบรรยายที่ชื่อว่า “สัทธรรมปุณฑรีกสูตร” นั้นไว้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์วรประภานั้น ได้ทรงจำ และได้ประกาศคำสอนของพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นเวลา 80 กัลป์ ในขณะนั้น พระโอรสทั้ง 8 พระองค์ของพระผู้มีพระภาคนั้น ซึ่งมีพระราชกุมารมติเป็นประมุข ก็ได้เป็นอันเตวาสิกของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ วรประภานั่นเอง ท่านเหล่านั้นได้สั่งสมบารมีเพื่อตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และหลังจากนั้นท่านเหล่านั้นได้ทรงเห็นและทรงสักการะพระพุทธเจ้าหลายหมื่นแสนโกฏิ ก็แลท่านเหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์สุดท้าย คือพระทีปังกรพุทธเจ้า
บรรดาอันเตวาสิกทั้ง 8 องค์นั้น พระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง เป็นผู้หนักในลาภสักการะ สรรเสริญ และยศ มากยิ่งเหลือประมาณ บทและพยัญชนะทั้งหลาย ที่แสดงแล้วแสดงอีกแก่ท่าน ท่านก็ทำให้ลบเลือนหายไป ท่านมิได้ทรงจำบทและพยัญชนะเหล่านั้น ฉะนั้น ท่านจึงถูกขนานนามว่า “ยศัสกาม” ด้วยกุศลมูลที่ท่านได้เลื่อมใสพระพุทธเจ้าหลายหมื่นแสนโกฏิพระองค์ และเมื่อเลื่อมใสแล้วท่านได้สักการะ เคารพ นบนอบ บูชา นับถือและยกย่องพระพุทธเจ้าหลายหมื่นแสนโกฏิยุตเหล่านั้น ดูก่อนอชิตะ ท่านคงสงสัย คลางแคลง ลังเลใจว่า โดยกาลสมัยนั้น ยังจะมีพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้แสดงธรรม นามว่า วรประภา องค์อื่นอีกหรือ ? ก็แล ท่านไม่ควรคิดเห็นเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะโดยกาลสมัยนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้สอนธรรม นามว่า วรประภา นั้นคือ ข้าพเจ้าเอง ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้เกียจคร้านนามว่า ยศัสกาม นั้นก็คือตัวท่านนั่นเอง
ดูก่อนอชิตะ ด้วยการบรรยายนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นปุพพนิมิตนั้น ของพระผู้มีพระภาคเหมือนกับรัศมีที่แผ่ซ่านไปอย่างนี้ จึงอนุมานว่า พระผู้มีพระภาคทรงปรารถนาจะตรัสพระสูตร ธรรมบรรยายชื่อว่า สัทธรรมปุณฑรีกะ นั้น ซึ่งเป็นสูตรที่ไพบูลย์ยิ่ง เหมาะแก่การศึกษาของพระโพธิสัตว์ และเป็นที่ยอมรับของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ดังนั้นแล พระมัญชุศรีกุมารภูตะ เมื่อจะชี้ให้เห็นข้อความเดียวนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้นจึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้น ว่า
57 ข้าพเจ้าได้ระลึกถึงอดีตกาลในกัลป์ ที่ใครคิดไม่ได้ และนับไม่ได้ ครั้งนั้น พระชินเจ้านามว่า จันทรสูรยประทีป เป็นผู้สูงสุดแห่งชนทั้งหลาย
58 พระองค์เป็นผู้นำของชนทั้งหลาย ทรงแสดงพระสัทธรรม ทรงแนะนำสัตว์ทั้งหลายมากมายนับไม่ได้ว่ากี่โกฏิ ทรงให้พระโพธิสัตว์จำนวนมาก ตั้งมั่นอยู่นพระพุทธญาณ อันสูงสุดและเป็นอจินไตย
59 พระโอรสทั้ง 8 พระองค์ ของพระกุมารภูตะ (จันทรสูรยประทีป) ซึ่งเป็นผู้นำที่วิเศษ เห็นพระมหามุนีนั้น (พระบิดา) ที่ผนวชแล้ว จึงพากันละกามเสีย แล้วทั้งหมดก็พากันผนวชโดยพลัน
60 ก็พระองค์ (จันทรสูรยประทีป) ผู้เป็นโลกนาถนั้น เมื่อประกาศธรรมแก่สรรพสัตว์หลายแสนโกฏิ ทรงแสดงพระสูตร มีชื่อว่า “อนันตนิรเทศวรสูตร” ซึ่งเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “ไวปุลยสูตร”
61 ทันทีที่แสดงจบลง พระมุนีผู้ประเสริฐ ผู้เป็นที่พึ่งของชาวโลก พระองค์นั้น ทรงนั่งขัดสมาธิ บนธรรมมาสน์ เข้าอนันตนิรเทศวรสมาธิ
62 ได้มีสายฝนดอกมณฑารพอันเป็นทิพย์ตกลงมา และกลองทั้งหมดได้ดังขึ้นโดยไม่มีคนตี เทวดาทั้งหลายที่สิงสถิตอยู่ในอากาศ และพวกยักษ์ได้ทำการบูชาพระมุนีผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์นั้น
63 ในขณะนั้น พุทธเกษตรทั้งปวงก็สั่นสะเทือน ได้ปรากฏความอัศจรรย์ยิ่งใหญ่ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ได้ทรงเปล่งพระรัศมีที่งดงามยิ่งดวงหนึ่งออกจากท่ามกลางพระขนงของพระองค์
64 ก็แล พระรัศมีนั้นพุ่งไปสู่ทิศบูรพา แผ่ไปทั่ว 18000 พุทธเกษตรสว่างจ้า ทำให้โลกสว่างไสวไปทั่ว การจุติและการเกิดได้ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย
65 เพราะรัศมีของพระผู้ทรงเป็นผู้นำนั้น ทำให้พุทธเกษตรบางแห่งปรากฏเหมือนประดับด้วยเพชรนิลจินดา บางแห่งมองเห็นเหมือนแสงแก้วไพทูรย์
66 ในโลกธาตุทั้งหลาย เทวดา มนุษย์ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ นางอัปสร กินนร และผู้ใฝ่ใจในการบูชาพระสุคต ย่อมปรากฏเห็นได้อย่างชัดเจน แล้วทำการบูชา (พระตถาคต)
67 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นพระสยัมภู ปรากฏพระรูปสวยงามเหมือนทองคำ แสดงธรรมอยู่ ท่ามกลางบริษัท (ปรากฏเหมือน) พระประติมาทองคำ ในท่ามกลางแก้วไพทูรย์
68 ไม่มีการนับจำนวนพระสาวก เพราะพระสาวกของพระสุคต มีจำนวนมากจนประมาณไม่ได้ แม้กกระนั้นแสงพระรัศมีของพระผู้มีพระภาค ก็ส่องสว่างให้เห็นกันได้ทั่วไปในแต่ละพุทธเกษตร
69 บุตรแห่งพระตถาคต (ผู้นำแห่งนรชน) ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีศีลไม่ด่างพร้อย บริสุทธิ์ผ่องใสเหมือนมณีรัตนะ ได้อาศัยอยู่ที่ถ้ำตามภูเขา
70 พระโพธิสัตว์จำนวนมากดุจเม็ดทราย ในแม่น้ำคงคา แม้ทั้งหมดเป็นปราชญ์ที่กำลังบริจาคทานทุกชนิด มีขันติเป็นพลัง ยินดีในสมาธิ ปรากฏให้เห็นได้ ด้วยพระรัศมีนั้น
71 บุตรทั้งหลายที่เป็นโอรสแท้ๆ ของพระสุคตนั้น มีจิตมั่นคง ไม่เอนเอียงไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นในขันติ ยินดีในสมาธิ เป็นที่ปรากฏ ท่านเหล่านั้นได้บรรลุพระโพธิญาณ อันประเสริฐด้วยสมาธินั้น
72 (พุทธบุตรทั้งหลาย) ย่อมมีความรู้ ประกาศสัจบท อันสงบ และไม่มีอาสวะ แสดงธรรมในโลกธาตุจำนวนมาก การกระทำเช่นนี้ เป็นอานุภาพของพระสุคต
73 บริษัทสี่เหล่านั้น เห็นปรากฏการณ์นี้ของพระสุคตจันทรสูรยประทีป ผู้เป็นเช่นนั้น แล้วมีความปลื้มปิติ ต่างก็ถามกันและกัน ขณะนั้นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเป็นอย่างไร
74 ไม่นานนัก พระสุคตจันทรสูรยประทีปพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้นำของชาวโลกที่มนุษย์ เทวดาและยักษ์บูชาแล้ว ได้ทรงออกจากสมาธิแล้ว ตรัสกับพระโอรสวรประภา ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ที่ฉลาด และเป็นผู้ประกาศธรรมว่า
75 ท่านเป็นจักษุและเป็นคติ (ที่พึ่งที่อาศัย) ของชาวโลก ท่านเป็นผู้มีความรู้ควรแก่การไว้วางใจ และเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมของเรา ก็ ณ ที่นี้ ท่านจะเป็นพยานในหลักธรรม (ธรรมโกศ) ที่เราจักแสดง เพื่อประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย
76 พระชินเจ้าพระองค์นั้น ทรงให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ตั้งมั่นหรรษาสังวรรณนา และสรรเสริญแล้ว ทรงประกาศธรรมอันเลิศทั้งหลาย ตลอด 60 กัลป์บริบูรณ์
77 พระโลกนาถ พระองค์นั้น ซึ่งประทับบนอาสนะเดียว ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐใดไว้ พระชินบุตร วรประภา ผู้ประกาศธรรม ได้ทรงจำธรรมนั้นไว้ได้ทั้งหมด
78 พระชินเจ้าที่เป็นผู้นำพระองค์นั้น ทรงตรัสธรรมอันเลิศ ให้หมู่ชนจำนวนมาก รื่นเริงหรรษา ในวันนั้น ทรงตรัสธรรมต่อหน้าชาวโลก พร้อมทั้งเทวดาว่า
79 “เรา (ตถาคต) ได้ประกาศผู้นำแห่งธรรมแล้ว สภาวะแห่งธรรมเป็นเช่นใด เราก็ได้กล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คืนวันนี้ ในมัชฌิมยาม กาลเป็นที่ดับขันธปรินิพพานของเรา (ได้มาถึงแล้ว)”
80 “ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาท จงตั้งมั่นเพื่อความหลุดพ้น เอาใจใส่ในธรรมคำสอนของเรา พระชินเจ้ามหามุนีทั้งหลาย เป็นผู้ที่หายาก ต้องใช้เวลาหลายหมื่นโกฏิกัลป์กว่าจะอุบัติขึ้น
81 พุทธบุตรจำนวนมาก เกิดความไม่สบายใจและทุกข์ใจยิ่งนัก เมื่อได้ยินคำว่าพระตถาคตจะเสด็จดับขันธปรินิพพานในเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นพระสุรเสียงของพระตถาคต (ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์
82 พระตถาคต ผู้เป็นนเรนทรราช ได้ทรงปลอบโยนสรรพสัตว์ทั้งหลายจำนวนมากหลายโกฏิ ที่คิดคำนวณไม่ได้เหล่านั้นว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ากลัวไปเลย เมื่อเรานิพพานแล้ว ต่อจากเราไปจะมีพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่ง(อุบัติขึ้น)”
83 พระศรีครรภโพธิสัตว์ผู้นี้ มีความรู้ บรรลุคติโนฌานอันปราศจากอาสวะแล้ว จักบรรลุพระโพธิญาณ อันประเสริฐสูงสุด และจักเป็นพระชินเจ้ามีพระนามว่า “วิมลาครเนตร”
84 ในมัชฌิมยามของคืนนั้น พระตถาคตเจ้าก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ดุจดวงประทีปที่ดับลงแล้ว เพราะสิ้นเหตุปัจจัยฉะนั้น พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ ได้รับการแบ่งปันกันไป และพระสถูปสำหรับพระบรมสารีริกธาตุมีอยู่ทั่วไปหลายหมื่นโกฏิ
85 ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายจำนวนไม่น้อย ณ ที่นั้น เท่ากับจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ได้ปฏิบัติตนอยู่ในธรรมคำสอนของพระสุคตพระองค์นั้น จนได้ถึงพระโพธิญาณอันประเสริฐและสูงสุด
86 ภิกษุนามว่า วรประภา ผู้ประกาศธรรมและทรงจำธรรมไว้ ได้แสดงธรรมอันประเสริฐตามคำสอนของพระตถาคตนั้น เป็นเวลานานถึง 80 กัลป์บริบูรณ์
87 ท่าน(วรประภา) มีศิษย์ 800 คน ซึ่งทุกคนท่านได้อบรมดีแล้ว ศิษย์ทั้งหมดนั้นได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าจำนวนมากหลายโกฏิและได้ทำการสักการะพระมหามุนีพุทธเจ้าเหล่านั้น
88 ศิษย์ทั้งหลายเหล่านั้นได้ประพฤติธรรมตามลำดับ จนได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในหลายโลกธาตุ และท่านเหล่านั้นได้สอนธรรมเพื่อพระโพธิญาณอันประเสริฐแก่องค์อื่นๆต่อเนื่องกันตามลำดับ
89 ก็โดยลำดับของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น พระทีปังกรพุทธเจ้า ได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้าย พระองค์ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ทรงเป็นผู้ที่หมู่ฤษียกย่องบูชา ได้ทรงแนะนำพร่ำสอนสรรพสัตว์จำนวนหลายพันโกฏิ
90 พระสุคตบุตร วรประภา ผู้สอนธรรมพระองค์นั้น ได้มีศิษย์คนหนึ่งซึ่งขี้เกียจโลเล และชอบแสวงหาลาภ พร้อมทั้งชื่อเสียงเกียรติยศ
91 (ศิษย์คนนั้น) เป็นผู้ทะเยอทะยานในชื่อเสียงเกียรติยศ ถือตัว จะต้องเกิดอีกหลายชาติ คำสอนที่ได้ฟังและเรียนทั้งหมด ย่อมไม่ติดอยู่ในสมองเขาเลย (ไม่มีเพื่อกล่าว) ในขณะนั้น
92 ศิษย์คนนั้นปรากฏชื่อทั่วไปในทุกทิศว่า “ยศัสกาม” เขาจึงได้มีชื่ออย่างนี้ เขาได้กระทำทั้งกรรมที่เป็นกุศลและอกุศลประปนกันไป
93 เขา (ยศัสกาม) เลื่อมใสพระพุทธเจ้าหลายพันโกฏิพระองค์ และได้ทำการสักการะบูชาอย่างกว้างขวางต่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้รอบรู้ มีความประพฤติคล้อยตามผู้ประเสริฐ และได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าศากยสิงหะนี้ด้วย
94 เขา (ยศัสกาม) ผู้เกิดในไมเตรยะโคตรจะเป็นคนสุดท้าย ที่จะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า สั่งสอนสรรสัตว์จำนวนหลายพันโกฏิ
95 เขา (ยศัสกาม) ผู้เป็นเช่นนี้ที่ถึงเกียจคร้านในคำสอนของพระสุคต ซึ่งเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว (ในกาลครั้งนั้น) คือท่าน (พระไมเตรยะ) ส่วนในขณะนี้ และพระวรประภา ผู้ประกาศธรรม (ในขณะนั้น คือข้าพเจ้า (พระมัญชุศรี)
96 เพราะเหตุการณ์นี้ ข้าพเจ้าได้เห็นนิมิตอย่างนี้ ที่พระองค์ ผู้ทรงญาณแสดง จึงได้กล่าวถึงนิมิต ที่ข้าพเจ้าได้เห็นในครั้งแรก ณ ที่นั้นว่า
97 แน่นอน พระตถาคตผู้เป็นจอมแห่งชินะ ผู้เป็นอธิราชแห่งศากยะ ผู้ทรงมีพระจักษุโดยรอบ (สมันตจักษุ) ผู้ทรงเห็นประโยชน์สูงสุด ปรารถนาจะแสดงธรรมบรรยายอันประเสริฐ ที่ข้าพเจ้าเคยฟังมาแล้ว
98 วันนี้พระศากสิงหะกระทำนิมิตที่บริบูรณ์นี้นั่นแล ให้เป็นข้อกำหนดความฉลาดในอุบาย (อุปายโกศล) ของพระผู้นำแห่งโลกทั้งหลาย (ว่า) พระองค์จะประกาศสภาวธรรมที่สำคัญ
99 ท่านทั้งหลายจงทำจิตให้สงบ ประคองอัญชลีไว้ พระองค์ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์ต่อชาวโลก จักแสดงธรรมดุจสายฝนตกลงอย่างไม่ขาดสาย สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ดำรงอยู่เพื่อเหตุแห่งการตรัสรู้ จักได้เอิบอิ่ม
100 บุตรตถาคตและพระโพธิสัตว์ที่ตั้งอยู่ในโพธิผู้ใด มีความสงสัย ข้องใจ ลังเลใจ ในเรื่องนี้ พระตถาคตผู้ทรงปัญญา ก็จะขจัดความสงสัยข้องใจ และความลังเลใจของผู้นั้นให้หมดไปได้
บทที่1 นิทานปริวรรต ว่าด้วยบทนำ
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่2 อุปายโกศล
บทที่ 2
อุปายโกศลปริวรรต
ว่าด้วยความฉลาดในอุบาย
ครั้งนั้น หลังจากที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงมีพระสติและปัญญา ทรงออกจากสมาธิครั้นออกแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระศาริบุตรว่า ดูก่อน ศาริบุตร พุทธญาณ เป็นสิ่งซึ่งลึกซึ้งเข้าใจยากและรู้ยาก เป็นสิ่งที่พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงก็เข้าใจยาก แต่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายได้รู้แล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร? ดูก่อนศาริบุตร เพราะว่าพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้บูชาสักการะพระพุทธเจ้าจำนวนมาก หลายหมื่นแสนโกฏิมาแล้ว ได้ประพฤติธรรมมากับพระพุทธเจ้าหลายหมื่นแสนโกฏิในถึงพร้อมในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ทำความเพียร จนบรรลุธรรมอันน่าอัศจรรย์และเป็นจริง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่รู้ได้ยากและเข้าใจธรรมที่เข้าใจได้ยาก
ดูก่อนศาริบุตร การแสดงธรรมของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยาก เพราะเหตุไร ? เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงประกาศธรรมทั้งหลายที่เป็นเฉพาะพระองค์ เพื่อให้สัตว์ผู้ข้องอยู่ในสิ่งต่างๆ หลุดพ้นไปด้วยกุศโลบายต่าง ๆ คือ ด้วยญาณทัศนะ การแสดงเหตุผล อารมณ์ นิรุกติ และการทำให้เข้าใจ ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ฉลาดในอุบายอันยิ่งใหญ่ ญาณทัศนะและพระบารมีจึงสูงยิ่ง เพราะ(พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย) ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความไม่ข้อง (ในสิ่งต่างๆ) ด้วยความรู้ที่ไม่มีผู้ใดขัดข้องได้ด้วยทัศนะ ด้วยพลัง ด้วยความแกล้วกล้า ด้วยธรรมอันวิเศษ อินทรีย์พละ โพชฌงค์ ฌาน วิมุตติ สมาธิ สมาบัติ และธรรมอื่นๆ ทรางเป็นผู้ประกาศธรรมนานัปการ ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ถึงความมหัศจรรย์ ดูก่อนศาริบุตร เป็นการสมควรที่จะกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ถึงซึ่งความมหัศจรรย์ยิ่ง ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตนั้นแล พึง แสดงธรรมที่พระองค์ทรงรู้แล้ว แก่พระตถาคต ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตนั้น ทรงแสดงธรรมแม้ทั้งปวง พระตถาคตนั้นแลทรงรู้ธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นอะไรเป็นอย่างไร เป็นเช่นไร มีลักษณะอย่างไร มีสภาพอย่างไร พระตถาคตนั่นแล ทรงเป็นผู้รู้ประจักษ์ในธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
ก็แล ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น จึงตรัสคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า
1 สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่อาจจะรู้ได้ว่า ในโลกที่มีเทวดาและมนุษย์ มีพระตถาคตที่กล้าหาญยิ่งอยู่มาก ซึ่งไม่อาจประมาณจำนวนได้
2 ใครๆ ไม่อาจรู้ได้ว่า พระตถาคตทั้งหลายมีพลัง และเป็นผู้หลุดพ้น มีความฉลาด เช่นใด มีพุทธธรรมเป็นเช่นไร
3 ในอดีตกาล พระตถาคต ได้ทรงประพฤติธรรมอยู่ใกล้ๆพระพุทธเจ้าหลายโกฏิพระองค์ ธรรมนั้นลึกซึ้งละเอียดสุขุม ใครๆ รู้ได้ยาก และเห็นได้ยาก
4 ในขณะที่ทรงประพฤติธรรมอยู่หลายโกฏิกัลป์จนจำไม่ได้ ก็บัดนี้ เรา(ตถาคต) ได้เห็นผล ที่มณฑปอันเป็นที่ตรัสรู้
5 เรา ผู้นำแห่งโลกคนอื่นๆ ย่อมรู้ธรรมนั้นว่า เป็นประการใด เป็นอะไร เป็นเช่นไร และมีลักษณะอย่างไร
6 ไม่มีใครสามารถแสดงธรรมนั้นได้ จึงไม่มีโวหารแห่งธรรมนั้นบุคคลใดๆ ที่เป็นเช่นนั้น (คือสามารถกล่าวธรรมนั้นได้) ก็ไม่มีในโลก
7 เว้นจากพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเสียแล้ว ใครจะแสดงธรรมนั้นแก่ผู้ใด ใครจะรู้ธรรมที่แสดงแล้ว และชนเหล่าใดจะเป็นผู้ที่ตั้งมั่นในอธิโมกข์ได้
8 วิสัยในญาณของพระชินเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่มีในชนทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระตถาคต ผู้ปฏิบัติกิจแล้ว ผู้ที่พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว ผู้สิ้นอาสวะแล้วและผู้ดำรงชีวิตเป็นชาติสุดท้าย
9 ถ้าว่าโลกธาตุทั้งปวงพึงเต็มไปด้วยชนทั้งหลาย เช่นกับพระศาริบุตร และชนเหล่านั้นมาร่วมกันคิด เขาเหล่านั้นก็ไม่สามารถรู้ญาณของพระสุคตได้
10 ถ้าว่าทิศทั้งสิบพึงเต็มไปด้วยบัณฑิตทั้งหลายอย่างท่าน โลกก็จะเต็มไปด้วยบัณฑิตผู้เป็นสาวกของเรา (ตถาคต) นั่นเอง
11 และเขาเหล่านั้นทั้งหมดพึงมาประชุมกัน พิจารณาญาณของพระสุคต เขาเหล่านั้นทั้งหมด แม้จะประชุมกันแล้ว ก็ไม่อาจรู้พุทธญาณ ที่ประมาณไม่ได้ของเรา(ตถาคต)
12 ทิศทั้งสิบพึงเต็มไปด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สิ้นอาสวะ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีร่างกายอยู่ในภพสุดท้ายแล้ว ดุจต้นอ้อหรือต้นไผ่ในป่า
13 ก็แลพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด พึงมาประชุมกันพิจารณาธรรมอันประเสริฐของเรา (ตถาคต) เพียงส่วนเดียวตลอดหลายหมื่นโกฏิกัลป์ติดต่อกันไป ท่านเหล่านั้นก็ไม่เข้าใจอรรถอันแท้จริงของธรรมอันประเสริฐนั้นได้
14 พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้อยู่บนยานใหม่ มีกิจอันได้กระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าหลายโกฏิพระองค์ ผู้กล่าวอรรถที่พิจารณาดีแล้ว และกล่าวธรรมจำนวนมาก ทิศทั้งสิบควรเต็มไปด้วยพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น
15 หากโลกทั้งปวงพึงเต็มไปด้วยพระโพธิสัตว์ จนไม่มีที่ว่างเหมือนไม้อ้อและต้นไผ่(ในป่า) พระโพธิสัตว์เหล่านั้น มาประชุมกันพิจารณาธรรมที่พระสุคตเจ้าทรงเห็นแล้วเป็นนิจกาล
16 พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีจิตแน่วแน่ไม่คิตเป็นอื่นด้วยปัญญาอันสุขุม คิดพิจารณาอยู่หลายโกฏิกัลป์จนนับไม่ได้ เหมือนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา แค่คติวิสัยในญาณ ของพระสุคต ย่อมไม่มีแก่พระโพธิสัตว์เหล่านั้น
17 พระโพธิสัตว์จำนวนไม่น้อยดุจเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ผู้ไม่ถอยกลับ และมีจิตแน่แน่ว ไม่คิดเป็นอย่างอื่น พึงคิดพิจารณาญาณ (ของพระสุคต) แต่คติวิสัยในญาณ (ของพระสุคต) ย่อมไม่มีแม้แก่พระโพธิสัตว์เหล่านั้น
18 ธรรมที่ลึกซึ้งสุขุมอย่างไร เช่นไร พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ผู้บริสุทธิ์ ปราศจากอาสวะ และเรา (ตถาคต)หรือพระชินเจ้าทั้งหลาย ในทิศทั้งสิบ ในโลก ก็ย่อมรู้ได้
19 ดูก่อนศาริบุตร พระสุคตตรัสธรรมใดท่านจงเชื่อในธรรมนั้น พระชินเจ้ามหามุนีผู้มีปกติไม่ตรัสเป็นอย่างอื่น ได้ตรัสเนื้อความประเสริฐสุด มาช้านานแล้ว
20 เรา (ตถาคต) ได้เรียกพระสาวกทั้งหมด ที่ปรารถนาจะบรรลุปัจเจกโพธิมา ซึ่งเป็นผู้ที่เราช่วยให้ตั้งอยู่ในนิรวารณธรรม และเป็นผู้ที่เราช่วยให้พ้นแล้วจากความทุกข์ตลอดไป
21 เรา (ตถาคต) ใช้อุบายโกศล อันประเสริฐของเรา กล่าวธรรมหลากหลายวิธีในโลกจนปลดเปลื้องผู้ข้องในพันธะทั้งปวง แล้วแสดงยานทั้งสามให้ปรากฏ
ครั้งนั้นแล ในบริษัทที่ประชุมบริษัทนั้น ได้มีพระอรหันตขีณาสพ มหาสาวกจำนวน 1200
องค์ ซึ่งมีพระอาชญาตเกานฑินยะ (พระอัญญาโกณฑัญญะ) เป็นประมุข ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติในสาวกยาน และ(ชนอื่นๆ) ผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกพุทธยาน ทั้งหมดนั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็นเหตุ ที่ทำให้พระผู้มีพระภาค ตรัสสรรเสริญ อุบายโกศลของพระตถาคตทั้งหลาย เป็นอย่างยิ่ง ตรัสว่า ธรรมอันลึกซึ้งนี้อันเรา (ตถาคต) ได้ตรัสรู้แล้ว และตรัสว่า อันพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง พึงทราบได้โดยยาก เพราะพระผู้มีพระภาคตรัสความหลุดพ้นอย่างเดียวเท่านั้น แม้เราทั้งหลายได้รับพุทธธรรม ก็จักบรรลุพระนิพพาน เราทั้งหลายไม่เข้าใจความหมายพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสครั้งนี้
ครั้งนั้นแล พระศาริบุตรผู้มีอายุ ทราบความลังเลใจ ความสงสัยของบริษัทสี่เหล่านั้น และเข้าใจความปริวิตกที่เกิดขึ้นในจิตของบริษัทเหล่านั้น ด้วยจิต แม้ตนเองก็มีความสงสัยในธรรม จึงทูลกับพระผู้มีพระภาค ในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พระผู้มีพระภาค ทรงสรรเสริญอุบายโกศลญาณทัศนะ และการแสดงธรรมของพระตถาคตทั้งหลายบ่อยๆนัก และพระผู้มีพระภาค ย่อมตรัสเสมอว่า เราได้ตรัสรู้ธรรมอันลึกซึ้ง และธรรมของพระตถาคต เป็นสิ่งที่เข้าใจยากยิ่ง ก็ข้าพระองค์ ไม่เคยฟังธรรมบรรยายเช่นนี้ ในที่ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคมาก่อนเลย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ก็แลบริษัทสี่เหล่านี้มีความลังเลใจ และสงสัยยิ่งนัก ดังข้าพระองค์จะขอโอกาสพระตถาคต พระตถาคตทรงประสงค์สิ่งใดจึงตรัสสรรเสริญธรรมของพระตถาคตซึ่งลึกซึ้งบ่อยๆ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงชี้แจงสิ่งนั้นด้วยเถิด
ก็แล ในเวลานั้นท่านศาริบุตร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ว่า
22 พระสุคตผู้ประเสริฐ แห่งนรชนทั้งหลาย ย่อมตรัสพระดำรัสเช่นนี้ ในวันนี้ เป็นเวลาช้านานว่า เราได้บรรลุพละ วิโมกษะ และญาณ อันหาประมาณมิได้แล้ว
23 พระองค์ตรัสสภาวะแห่งความรู้แจ้ง โดยไม่มีผู้ใดทูลถาม และพระองค์ตรัสพระธรรม โดยปราศจากผู้ทูลถามพระองค์
24 พระองค์ทรงตรัสและพรรณนาจริยาของพระองค์โดยไม่มีผู้ทูลถาม และพระองค์ตรัสอย่างชัดเจนถึงการตรัสรู้ญาณและพระธรรมอันลึกซึ้ง
25 วันนี้ ชนเหล่านี้ ผู้สำรวมตนแล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้จะเข้าถึงพระนิพพานแล้ว มีความสงสัยว่า เพราะเหตุไร พระชินเจ้าจึงตรัสความข้อนี้
26 ภิกษุ ภิกษุณี เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์และพญานาคทั้งหลาย ผู้ปรารถนาปัจเจกโพธิ
27 กำลังสนทนากะกันและกันอยู่ กำลังเฝ้ามองพระองค์ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ เขาเหล่านั้น เป็นผู้มีความคลางแคลงใจ คิดอยู่ว่า ขอพระองค์ผู้เป็นพระมหามุนีได้โปรดพยากรณ์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
28 พระสาวกทั้งปวงของพระสุคต มีจำนวนเท่าใด ข้าพระองค์ คือผู้ที่พระมุนี ผู้ประเสริฐได้พยากรณ์ไว้แล้ว จึงได้สะสมบารมีไว้ในโลกนี้
29 ข้าแต่ผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชน ณ ที่นี้ แม้ข้าพระองค์ยังมีความสงสัยในสถานะของตนว่า ข้อปฏิบัติที่แสดงแล้วแก่ข้าพระองค์นั้น ข้าพระองค์จะตั้งอยู่ในพระนิพพานหรือ
30 ข้อพระองค์ทรงเปล่งพระสุรเสียงว่า นี้คือธรรม ให้กึกก้องดุจเสียงกลองอันประเสริฐ พุทธบุตรเหล่านี้ของพระชินเจ้า ได้ยืนประคองอัญชลีเฝ้าพระชินเจ้าอยู่แล้ว
31 เทวดา นาค ยักษ์ และรากษสทั้งหลาย มีจำนวนหลายพันโกฏิ เสมอเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา แม้ผู้ที่ปรารถนาพระโพธิญาณ ซึ่งมีจำนวน 80,000 คน ก็ยืนพร้อมกันอยู่ที่นี่
32 ราชามหาบดี และพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย ผู้เสด็จมาแล้วจากหลายพันโกฏิ (พุทธ) เกษตร ทุกท่านมีความเคารพ (ในพระองค์) ได้ยืนประคองอัญชลี ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจะประพฤติให้บริบูรณ์ได้อย่างไรหนอ
ครั้นเมื่อ พระศาริบุตรกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระศาริบุตรว่า
พอละ ศาริบุตร ประโยชน์อะไรด้วยการกล่าวอรรถนี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูก่อนศาริบุตร เพราะว่า เมื่อเรา(ตถาคต) กล่าวอธิบายอรรถนี้อยู่ ชาวโลกและเทวดาจะตกใจกลัว
พระศาริบุตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค แม้เป็นคำรบสองว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงตรัสอรรถนี้นั่นแล ของพระสุคตจงตรัสอรรถนั่นแล ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร ข้อแต่พระผู้มีพระภาค เพราะในบริษัท (ที่ประชุม) นั้น มีสรรพสัตว์จำนวนมาก นับเป็นร้อย พัน แสน และหลายหมื่นแสนโกฏิ ที่เคยเฝ้าพระพุทธเจ้ามาแล้ว เป็นผู้มีปัญญา จักมีศรัทธาเชื่อถือและรับเอาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคได้
ครั้งนั้นแล ท่านศาริบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถานี้ ว่า
33 ข้าแต่พระชินเจ้าผู้ประเสริฐสุด ขอพระองค์จงตรัสให้ชัดเจนเถิด บรรดาสรรพสัตว์จำนวนพันในบริษัทนี้ มีความศรัทธา เลื่อมใส เคารพ ในพระสุคต จักเข้าใจธรรมที่พระองค์ตรัสแล้วนั้น
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะพระศาริบุตรผู้มีอายุ เป็นคำรบสองว่า ดูก่อน ศาริบุตร พอละ ไม่มีประโยชน์ ที่จะอธิบายอรรถนี้ ดูก่อนศาริบุตร เพราะว่าเมื่อเรา (ตถาคต ) กล่าวอธิบายอรรถนี้อยู่ ชาวโลกรวมทั้งเทวโลก จะพากันตกใจกลัว และภิกษุทั้งหลายที่มีอภิมานะ (เย่อหยิ่ง) จักต้องอาบัติหนัก
ครั้งนั้น ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
34 อย่าให้เราประกาศธรรม ณ ที่นี้เลย ธรรมนี้สุขุมลุมลึก เข้าใจยาก คนโง่ที่เย่อหยิ่ง มีจำนวนมาก พวกเขาไม่รู้ก็จะใส่ร้ายธรรมที่เราประกาศแล้วนั้น
ท่านศาริบุตร ได้ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคอีก เป็นคำรบสามว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงตรัส ของพระสุคตจงตรัสเนื้อความนี้ นั่นแล ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในบริษัทนี้ บรรดาสรรพสัตว์ผู้เหมือนอย่างข้าพระองค์มีจำนวนหลายร้อย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค และมีสรรพสัตว์จำนวนมากมายนับเป็นร้อย พัน แสน และหลายหมื่นแสนโกฏิ ที่พระผู้มีพระภาคได้อบรมแล้ว ในชาติปางก่อน เขาเหล่านั้น จะมีศรัทธาเชื่อถือและรับเอาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคได้ พระดำรัสนั้นก็จะเป็นเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่เขาทั้งหลายตลอดกาลนาน
ครั้งนั้น ท่านพระศาริบุตรก็ได้กล่าวคาถาอีกหลายคาถาในเวลานั้นว่า
35 ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ ข้าพระองค์เป็นบุตรคนโตได้ทูลขอร้องพระองค์ว่า ขอพระองค์จงแสดงธรรมเถิด ณ ที่นี้ มีสรรพสัตว์จำนวนหลายพันโกฏิ ซึ่งจะศรัทธาเชื่อถือธรรมของพระองค์เช่นกัน
36 และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่พระองค์ได้อบรมแล้ว เป็นนิตย์ตลอดกาลช้านานในชาติปางก่อน บัดนี้ ก็ได้ยืนประคองอัญชลีอยู่แล้ว ณ ที่นี้ สรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จะศรัทธาเชื่อถือธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
37 มีชนอีก 1200 คนที่เป็นเช่นกับข้าพระองค์ คือปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณอันประเสริฐ ขอพระสุคตจงทอดพระเนตรเขาเหล่านั้น ทรงตรัสธรรมยังความหรรษาสูงสุดให้เกิดขึ้น แก่เขาทั้งหลาย
ครั้งนั้นแล ครั้นทรงทราบคำทูลของร้องของท่านพระศาริบุตรตลอดทั้งสามวาระแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะท่านพระศาริบุตรว่า ดูก่อนศาริบุตร ณ บัดนี้ เนื่องจากเธอขอร้องเราถึงสามครั้ง ดูก่อนศาริบุตร เราจะกล่าวอะไรกะเธอ ผู้ขอร้องอยู่ ดูก่อนศาริบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงตั้งใจให้ดี จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวแก่เธอ
เมื่อพระผู้มีพระภาค ครัสถ้อยคำนี้จบลง ลำดับนั้นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ที่มีอภิมานะประมาณ 5,000 ในที่ประชุมนั้น ได้ลุกจากที่นั่งของตนๆ ก้มลงกราบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาค แล้วหลีกออกไปจากที่ประชุมนั้น เพราะเกิดมีอภิมานะและท่านเหล่านั้นคิดว่าตนจะต้องทุกข์ทรมาน จึงออกไปเสียจากที่ประชุมนั้น และพระผู้มีพระภาคก็ทรงยอมรับโดยดุษณีภาพ
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระศาริบุตรว่า ที่ประชุมของเราได้ว่างจากสิ่งที่ไร้ค่า พ้นจากสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ตั้งมั่นอยู่แล้วในศรัทธาสาระ ดูก่อนศาริบุตร ดีละ ผู้มีอภิมานะเหล่านี้ ได้หนีไปแล้ว ดูก่อนศาริบุตร ถ้าอย่างนั้น เราจะกล่าวข้อความนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ดีละ พระศาริบุตรได้ฟังจากพระผู้มีพระภาค เป็นนิจ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนศาริบุตร บางครั้งเท่านั้น ที่ตถาคตแสดงพระธรรมเทศนา อย่างนี้ ดูก่อนศาริบุตร ดอกมะเดื่อย่อมปรากฏเป็นบางครั้ง ฉันใด ดูก่อนศาริบุตร ตถาคต ย่อแสดงธรรมอย่างนี้ เป็นบางครั้ง ฉันนั้น ดูก่อนศาริบุตร เธอจงเชื่อเรา เราย่อมกล่าวคำสัตย์ พูดแต่ความจริง เราไม่กล่าวสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ดูก่อนศาริบุตร วาจาของพระตถาคตนั้น เข้าได้ยาก ข้อนั้น เป็นเพราะอะไร? ดูก่อนศาริบุตร เราได้ประกาศธรรม ด้วยกุศโลบายร้อยพันอย่าง ที่มีการชี้แจง อธิบาย และยกตัวอย่างด้วยศัพท์ต่างๆ ดูก่อนศาริบุตร พระสัทธรรมนั้น เป็นตถาคตญาณ ไม่เป็นไปด้วยเหตุและผลของตรรกะ ข้อนั้น เป็นเพราะอะไร? ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นมาในโลก ด้วยกรณียกิจที่พึงกระทำอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่มาก ดูก่อนศาริบุตร กรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ของพระตถาคตเป็นอย่างไรหนอ ? พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลก ด้วยกิจที่พึงกระทำอย่างหนึ่งคือ แสดงนิมิตที่เป็นเหตุให้สัตว์ได้เข้าถึงตถาคตญาณทัศนะ นิมิตเป็นเหตุให้เห็นตถาคตญาณทัศนะ นิมิตที่เป็นเหตุให้สัตว์ก้าวลงสู่ตถาคตญาณทัศนะ นิมิตที่เป็นเหตุให้สัตว์ บรรลุตถาคตญาณทัศนะ นิมิตที่เป็นเหตุสัตว์ก้าวลงสู่ตถาคตญาณทัศนะ ดูก่อนศาริบุตร นี้คือกรณียกิจที่ควรกระทำอย่างหนึ่ง เป็นมหากรณียกิจที่มีประโยชน์ฝ่ายเดียวซึ่งเกิดขึ้นยากในโลก ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตได้กระทำกรณียกิจอย่างหนึ่ง ที่เป็นมหากรณียกิจอย่างนี้แล ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนศาริบุตร เราเองได้บรรลุตถาคตญาณทัศนะ ได้แสดงตถาคตญาณทัศนะ ได้ก้าวลงสู่ตถาคตญาณทัศนะ ได้รู้แจ้งตถาคตญาณทัศนะ และได้ก้าวลงสู่แนวทางของตถาคตญาณทัศนะ
ดูก่อนศาริบุตร เราอาศัยยานเดียวเท่านั้น แสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย ยานนี้ก็คือพุทธยาน ดูก่อนศาริบุตร ยานที่สองหรือที่สามใดๆนั้นไม่มี ดูก่อนศาริบุตร นี้เป็นธรรมดาทุกที่ในโลกทั้งสิบทิศ ข้อนั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายได้มีแล้วในอดีตกาล ในโลกธาตุทั้งหลาย ที่นับไม่ได้กำหนดไม่ได้ในสิบทิศ เพื่อประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแห่งชนจำนวนมาก เพื่อการอนุเคราะห์ชาวโลกและเพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนส่วนใหญ่ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทั้งหลายเหล่าใด ทรงทราบอารมณ์ต่างๆ (กายและจิต) ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความสนใจมีอารมณ์ต่างๆกัน ได้ทรงแสดงธรรมด้วยอุบายที่ฉลาด คือด้วยอภินิหารต่างๆ การชี้แจงแสดงเหตุผลต่างๆ และด้วยการอธิบายที่มาของคำ ดูก่อนศาริบุตร พระผู้มีพระภาคทั้งปวงแม้เหล่านั้น ได้อาศัยยานเดียวเท่านั้น ทรงแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย นั่นก็คือพุทธยาน อันมีการรู้สิ่งทั้งปวงเป็นที่สุด และนั่นก็คือพระผู้มีพระภาคทั้งปวง ทรงแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเหตุให้ได้รับญาณทัศนะแห่งตถาคต เป็นเครื่องสอนญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเครื่องเปิดเผยญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเหตุให้เข้าใจญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเครื่องชี้ทางแห่งญาณทัศนะแห่งตถาคต ดูก่อนศาริบุตร สัตว์แม้เหล่าใด ได้ฟังพระสัทธรรมจากที่ใกล้แห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ก็จักถึงการตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ดูก่อนศาริบุตร ในอนาคตกาล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จักมีในโลกธาตุทั้งหลาย ซึ่งมีจำนวนที่นับไม่ได้ ที่กำหนดไม่ได้ในสิบทิศ เพื่อประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแห่งชนจำนวนมาก เพื่อการอนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนจำนวนมากและเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ทรงทราบอารมณ์ต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความสนใจมีอารมณ์ต่างๆ กัน จักทรงแสดงธรรมด้วยอุบายที่ฉลาด คือด้วยอภินิหารต่างๆ การชี้แจงแสดงเหตุผลต่างๆ และด้วยการอธิบายที่มาของคำ ดูก่อนศาริบุตร พระผู้มีพระภาคทั้งปวงแม้เหล่านั้น ได้อาศัยยาน เดียวเท่านั้น ทรงแสดงธรรม นั่นก็คือ พุทธยานมีการรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นที่สุด และนั่นก็คือพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งปวง จักทรงแสดงธรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเครื่องสอนญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเครื่องเปิดเผยญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเหตุให้เข้าใจญาณทัศนะแห่งตถาคต ที่เป็นเครื่องชี้ทางแห่งญาณทัศนะแห่งตถาคต แก่สัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนศาริบุตร ลัตว์ทั้งหลายเหล่าใดจักฟังธรรมนั้นจากที่ใกล้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคตนั้น สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ก็จักถึงการตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ดูก่อนศาริบุตร ในปัจจุบันนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย สถิตดำรง ทรงอยู่ ทรงแสดงธรรมอยู่ในโลกธาตุ มีจำนวนที่นับไม่ได้ในสิบทิศ เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นจำนวนมาก เพื่อความสุขแห่งชนจำนวนมาก เพื่อการอนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนส่วนมาก และเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ทรงทราบอารมณ์ต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความสนใจมีอารมณ์ต่างๆกัน ย่อมทรงแสดงธรรมด้วยอุบายที่ฉลาด คือด้วยอภินิหาร การชี้แจง แสดงเหตุผลต่างๆ การอธิบายที่มาของคำ ดูก่อนศาริบุตร พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งปวงเหล่านั้น ได้ทรงอาศัยเพียงยานเดียวเท่านั้น ทรงแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย นั่นคือพุทธยาน ที่มีการรู้สิ่งทั้งปวงเป็นที่สุด กล่าวคือพระผู้มีพระภาคพุทธทั้งปวง ย่อมทรงแสดงธรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเครื่องเปิดเผยญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเหตุให้เข้าใจญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเครื่องชี้ทางแห่งญาณทัศนะของตถาคต แก่สัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนศาริบุตร สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ได้ฟังธรรมอยู่ ณ ที่ใกล้ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบัน สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจักได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ดูก่อนศาริบุตร ณ บัดนี้ แม้เรา ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้อารมณ์ต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความสนใจ มีอารมณ์ต่างๆกัน แสดงธรรมอยู่ ด้วยอุบายที่ฉลาด คือด้วยอภินิหารต่างๆ การชี้แจง แสดงเหตุผลต่างๆ และด้วยการอธิบายที่มาของคำ เพื่อประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์แก่หมู่ชน ส่วนมาก และเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนศาริบุตร แม้เราก็อาศัยเพียงยานเดียว แสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย นั่นคือพุทธยาน ที่มีการรู้สิ่งทั้งปวงเป็นที่สุดกล่าวคือ เราตถาคตแสดงอยู่ซึ่งธรรม ที่เป็นเหตุให้รับญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเครื่องสอนญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเครื่องเปิดเผยญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเหตุให้เข้าใจญาณทัศนะของตถาคต ที่เป็นเครื่องชี้ทางแห่งญาณทัศนะของตถาคต แก่สัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนศาริบุตร สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ได้ฟังธรรมนี้ของเรา ณ บัดนี้ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จักได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดูก่อนศาริบุตร เพราะฉะนั้น พึงทราบตามคำบรรยายนี้อย่างนี้ คือไม่มีการประกาศยานที่สองในโลกทั้งสิบทิศ ไม่ว่าที่ใด ดังนั้น จะมีการประกาศยานทั้งสาม ณ ที่ใดเล่า
ดูก่อนศาริบุตร แม้เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย อุบัติขึ้นในกัลป์ที่หม่นหมอง หรือสรรพสัตว์หม่นหมอง หรือว่าในสมัยที่มี ความหม่นหมองเพรากิเลส หม่นหมองเพราะทิฏฐิ หม่นหมองเพราะอายุ ดูก่อนศาริบุตร เมื่อสัตว์ทั้งหลายจำนวนมาผู้มีกุศลมูลเพียงเล็กน้อย เดือดร้อนใจและหม่นหมองในกัลป์ ถึงปานนี้ ดูก่อนศาริบุตร เมื่อนั้นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมแสดงพุทธยานเพียงหนึ่งเดียว โดยแยกแสดงเป็น 3 ยาน ด้วยอุบายที่ฉลาด ดูก่อนศาริบุตร ณ ที่นั้น ชนเหล่าใด ซึ่งเป็นสาวกอรหันต์หรือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่ได้ฟัง ไม่ไตร่ตรอง ไม่เข้าใจกิริยานี้ ที่เป็นเหตุให้ถึงพุทธยานของตถาคต ดูก่อนศาริบุตร ทุกคนควรทราบเถิดว่า ชนเหล่านั้น ไม่ใช่สาวกของตถาคต ไม่ใช่พระอรหันต์ ไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้า
ดูก่อนศาริบุตร ถ้าหากภิกษุหรือภิกษุณีผู้ใดผู้หนึ่ง พึงปฏิญาณความเป็นอรหันต์พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เป็นผู้ตัดขาดแล้วจากพุทธยาน (และ) พึงกล่าว ถึงพระนิพพานว่า เป็นชาติสุดท้ายของเราเช่นนี้ ดูก่อนศาริบุตร พึงรู้เถิดว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้มีอภิมานะ ข้อนั้น เพราะอะไร ดูก่อนศาริบุตร เพราะไม่ใช่ฐานะและเป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุหรือพระอรหันต์ ที่สิ้นอาสวะแล้ว ฟังธรรมนี้จากพระตถาคต ผู้อยู่เบื้องหน้าแล้ว ไม่มีศรัทธาเชื่อถือ นอกจากพระตถาคตปรินิพพานไปแล้วเท่านั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร ดูก่อนศาริบุตร เพราะว่า เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ในกาลสมัยนั้น สาวกทั้งหลายก็จะไม่อาจทรงจำ หรือแสดงพระสูตรทั้งหลายเห็นปานนี้ได้ ดูก่อนศาริบุตร เขาเหล่านั้นจะหมดความสงสัย ก็ต่อเมื่อมีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าอื่น (อุบัติขึ้นมา) ดูก่อนศาริบุตร ท่านจงเชื่อในพุทธธรรมทั้งหลายเหล่านี้ของเรา จงทำความคุ้นเคยและเข้าใจพุทธธรรมเหล่านี้เถิด ดูก่อนศาริบุตร เพราะว่า ตถาคตไม่ได้พูดโกหก ดูก่อนศาริบุตร มียานอยู่ชนิดเดียวเท่านั้น คือพุทธยาน
ขณะนั้นแล พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงชี้แจงเนื้อความนั้นให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นจึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
38 ก็ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ผู้มีอภิมานะ(ถือตัว) ปราศจากศรัทธา มีจำนวนไม่ น้อยกว่า 5000 คน
39 (เขาเหล่านั้น) เมื่อไม่เห็นโทษอย่างนี้ มีการศึกษาอบรมมาอย่างผิดๆ ทั้งยังรักษาสิ่งที่ผิดไว้ มีความรู้ผิด ได้หลีกออกไปแล้ว
40 พระโลกนาถ ทรงทราบความเศร้าหมองของบริษัท จึงได้ตรัสว่า เขาเหล่านั้น ไม่มี บุญกุศลที่จะฟังธรรมนี้
41 บริษัทของเราบริสุทธิ์แล้ว ปราศจากเครื่องเศร้าหมองแล้ว ปราศจากสิ่งไร้คุณค่าดำรงอยู่ดีแล้ว และบัดนี้สิ่งที่เป็นสาระแก่นสารทั้งหมดได้ตั้งมั่นแล้ว
42 ดูก่อนศาริบุตร เธอจงฟังเราเถิดว่า ธรรมนี้ เป็นธรรมที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เลิศแห่งมนุษย์ ได้ตรัสรู้แล้วอย่างไร และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้นำ ย่อมตรัสด้วยอุบายอันฉลาดหลายร้อยวิธีอย่างไร
43 เรา (ตถาคต) รู้อัธยาศัยจริตและความน้อมนึกแห่งจิตต่างๆ กันของสัตว์จำนวนหลายโกฏิ ณ ที่นี้ ทั้งรู้การกระทำต่างๆ และกุศลกรรมที่สัตว์เหล่านั้นได้กระทำแล้ว ในชาติปางก่อน
44 เราจึงแสดงธรรม แก่สัตว์เหล่านั้น ด้วยการอธิบายเหตุผลต่างๆ การยกอุทาหรณ์หลายร้อยอย่างให้เห็น และสรรพสัตว์ก็ยินดี กับวิธีการนั้น
45 เรา (ตถาคต) จะตรัสพระสูตร คาถา อติวฤตตกะ ชาตกะ อัทภูตะ เคยะ อุปเทศะ พร้อมด้วยนิทานและอุปมาหลายร้อยอย่างต่างๆ กัน
46 เราจะแสงดทางพระนิพพาน แก่ชนทั้งหลาย ผู้ไม่มีความรู้ ยินดีในความเสื่อมข้องติดอยู่ในสังสารวัฏ มีความทุกข์ และไม่ประพฤติธรรมในพระพุทธเจ้าที่มีมากหลายโกฏิ
47 พระสวยัมภู ทรงใช้อุบายนี้เพื่อทำให้สัตว์เข้าใจประโยชน์ของการรู้พุทธญาณ แต่พระองค์ก็มิได้ตรัสกะชนทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย จงอย่ากังวล ท่านทั้งหลายจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลกนี้ ณ สมัยใดสมัยหนึ่ง
48 เหตุใด พระสวยัมภูตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพิจารณากาลเวลาแล้ว และทรงพบโอกาสแล้ว จึงตรัสในภายหลังว่า ได้เวลานี้แล้ว เราจะกล่าข้อความตามที่เป็นจริง ณ ที่นี้
49 เรา (ตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า) ได้ประกาศนวังคศาสน์แล้ว ตามกำลังน้อยใหญ่ของสัตว์ทั้งหลาย เราผู้ให้สิ่งประเสริฐ ได้แสดงอุบายนี้ ก็เพื่อประโยชน์ของสัตว์ที่จะเข้าถึงพุทธญาณ
50 ณ ที่นี้ ชนเหล่าใด เป็นผู้บริสุทธิ์ ฉลาด สะอาด มีใจกรุณา เป็นพุทธบุตร และได้สร้างอธิการไว้ ในพระพุทธเจ้าหลายโกฏิพระองค์มีอยู่ เราก็จะแสดงพระสูตรที่กว้างขวางยิ่งขึ้น แก่ชนเหล่านั้น
51 เพราะเหตุนั้น เรา (ตถาคต) จึงกล่าวถึงชนเหล่านั้น ผู้มีกายบริสุทธิ์ มีใจเบิกบานว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์ (ต่อสรรพสัตว์)
52 เมื่อชนทั้งหมดเหล่านั้น ได้ฟังแล้ว เกิดความยินดีว่า พวกเราจักได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นประธานของชาวโลก เราเมื่อรู้ความประพฤติของพวกขาเหล่านั้น จึงประกาศพระสูครให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
53 พวกเขาเหล่านั้น ซึ่งเป็นสาวกของพระตถาคต ได้เคยฟังคำสอนอันประเสริฐนี้ แม้ได้ฟัง หรือจดจำเพียงคาถาเดียว ก็ไม่น่าจะมีปัญหา (ความสงสัย) ในการตรัสรู้ธรรมทั้งปวง
54 จริงอยู่ ในกาลไหนๆ ก็มีเพียงยานเดียว ยานที่สองไม่มี ยานที่สามก็ไม่มี นอกจากว่า พระผู้มีพระภาค ใช้อุบายจึงแสดงว่า มียานต่างๆ
55 พระโลกนาถ ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นในโลก ด้วยการประกาศพุทธธรรม ภารกิจมีเพียงอย่างเดียว ภารกิจที่สองไม่มี เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่นำสัตว์ไปด้วยหีนยาน
56 พระสวยัมภู (ตถาคต) เองดำรงมั่นแล้ว ในธรรมเช่นใด ที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว พระองค์ยังสัตว์เหล่านั้น ที่มีพลังและอินทรีย์หลุดพ้นแล้วด้วยสมาธิ ให้ตั้งมั่นในธรรมเล่านั้นด้วย
57 ก็แล โทษที่เกิดจากความริษยาจะพึงมีแก่เรา (ตถาคต) ผู้บรรลุโพธิญาณอันปราศจากโทษและประเสริฐสุดแล้ว ถ้าให้สัตว์แม้ผู้หนึ่งดำรงอยู่ในหีนยาน การกระทำอย่างนี้ไม่สมควรแก่เรา
58 ความเลวร้าย ความริษยา ฉันทะ และราคะ ไม่มีแก่เรา ธรรมทั้งปวงของเราก็เป็นธรรมที่ไร้บาป ฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า เพราะให้ชาวโลกตรัสรู้ตาม (ด้วย)
59 เมื่อสรรพสัตว์มิใช่น้อย ได้นับถือเครื่องหมายของสภาวธรรม เป็นเครื่องชี้นำ เราจึงทำโลกนี้ให้สว่างไสว ด้วยลักษณะต่างๆของเรา
60 ดูก่อนศาริบุตร ดังนั้น เรา (ตถาคต) จึงคิดว่า สรรพสัตว์ในโลกนี้ พึงเป็นผู้มีมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ จะเป็นพระสวยัมประภา พระโลกวิทู และพรสวยัมภู ได้อย่างไรหนอ?
61 เรา (ตถาคต) เห็นอย่างไร คิดอย่างไร และความหวังในกาลก่อนของเรามีอย่างไร ประณิธานนั้นของเราบริบูรณ์แล้วทั้งความเป็นพุทธะ และเราจะประกาศพุทธธรรม ต่อไป
62 ดูก่อนศาริบุตร ถ้าเราพึงกล่าวกะสัตว์ทั้งหลายว่า ขอให้พวกเธอจงยังความพอใจ ให้เกิดขึ้น เพื่อการตรัสรู้ พวกเขาทั้งหมดผู้เขลาก็จะไม่เข้าใจคำสอนของเรา พึงเที่ยวไป ณ ที่นี้
63 เราทราบเรื่องราวของเขาเหล่านั้นว่าในชาติปางก่อน พวกเขาไม่ได้ประพฤติธรรม หมกมุ่น ยึดติดในกามคุณทั้งหลาย ถูกกิเลสตัณหาครอบงำ จนมีโมหจิต
64 เพราะกามคุณเป็นเหตุ พวกเขาจึงตกไปสู่ทุคติ ถูกทรมานในภูมิทั้งหก เวียนเกิดอยู่เรื่อยไป พวกเขาเป็นผู้มีบุญน้อย ถูกความทุกข์เบียดเบียนอยู่ร่ำไป
65 พวกเขาจมอยู่กับการยึดทฤษฎีที่ว่า เที่ยง ไม่เที่ยง มี ไม่มี อาศัยทิฏฐิ 62 ดำรงอยู่ด้วยการยึดมั่นในอสันตภาวะ
66 เขาเหล่านั้น เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ เย่อหยิ่ง หัวดื้อ คดโกง หยาบช้า และโง่เขลา พลา จะไม่ได้ยินเสียงของพระพุทธเจ้าแน่นอน แม้ในหลายโกฏิชาติ
67 ดูก่อนศาริบุตร เรากล่าวอุบายแก่สัตว์เหล่านั้นว่า เธอทั้งหลายจงสร้างที่สุดแห่งทุกข์ (ขจัดทุกข์ให้หมดไป) เราเห็นสัตว์ที่ถูกความทุกข์เบียดเบียนแล้ว จึงแสดงพระนิพพาน ณ ที่นั้น (แก่พวกเขา)
68 ก็แล เราแสดงธรรมเหล่านี้ ที่เป็นเครื่องดับทุกข์อยู่เป็นนิตย์ ที่ทำให้สงบในเบื้องต้น ส่วนพุทธบุตรยังวัตรปฏิบัติให้ถึงพร้อม ก็จักเป็นพระชินเจ้าได้ในอนาคต
69 นี้เป็นอุบายที่ฉลาดของเรา ที่เราแสดงยานเป็นสาม ซึ่งที่แท้ยานมีเพียงหนึ่ง เท่านั้น นัยก็มีหนึ่ง และเทศนาของตถาคตทั้งหลายก็มีเพียงหนึ่ง
70 ชนเหล่าใด มีความข้องใจสงสัยอยู่ เธอจงขจัดความข้องใจสงสัยของชนเหล่านั้นเสีย ตามปกติ พระโลกนาถทั้งหลาย ไม่ตรัสเป็นอย่างอื่น ยานมีเพียงหนึ่งเท่านั้น ยานที่สองไม่มี
71 ก็แล ในอดีตกาล พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยก่อน มีจำนวนหลายพันองค์ ไม่สามารถประมาณได้ ที่ได้ปรินิพพานไปแล้ว ในกัลป์อันนับไม่ถ้วน
72 พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษสูงสุดเหล่านั้นทั้งหมด ได้ประกาศธรรมอันบริสุทธิ์หมดจดมากมาย ด้วยการยกตัวอย่าง ด้วยการแสดงเหตุผล และด้วยอุบายที่ฉลาดหลายร้อยวิธี
73 พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ได้แสดงยานเดียว และให้สัตว์หลายพันโกฏิ นัยไม่ได้ เข้าถึงยานเดียว ทั้งอบรมสัตว์เหล่านั้นไว้ในยานเดียว
74 พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศธรรมอันประเสริฐสุด ด้วยอุบายอื่นๆ อีกมากมายของพระชินเจ้า พระองค์ทรงทราบความเป็นไปและอุปนิสัยของสัตว์ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ด้วยอุบายเหล่านั้น
75 สัตว์ทั้งหลายที่กำลังฟังธรรมอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นก็ตาม เป็นผู้เคยฟังธรรมมาแล้ว (ในชาติปางก่อน) ก็ตามได้ให้ทานรักษาศีล และประพฤติดี ปฏิบัติชอบด้วยความอดทน
76 สัตว์ทั้งหลายได้ทำความดีด้วยความเพียร และด้วยสมาธิ ได้ไตร่ตรองพิจารณาธรรมด้วยปัญญา และได้ทำบุญต่างๆ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด มีส่วนได้เพื่อการตรัสรู้
77 สัตว์ทั้งหลายผู้อดทน มีคนฝึกแล้ว ตั้งมั่นในพระศาสนาของพระชินเจ้าทั้งหลายที่ปรินิพพานแล้ว สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
78 สัตว์ทั้งหลาย ผู้ทำการบูชาพระธาตุทั้งหลายของพระชินเจ้า ที่ปรินิพพานไปแล้วและได้สร้างสถูปจำนวนหลายพัน ด้วยรัตนเจ้า ทอง แก้วผลึก
79 พวกเขาได้สร้างสถูปที่สำเร็จด้วย มรกต การเกตน์ มุกดา ไพฑูรย์ นิล ที่มีคุณภาพดียิ่ง สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
80 สัตว์ทั้งหลาย ที่สร้างสถูปด้วยศิลา แก่นไม้จันทน์และกฤษณา ไม่เทพทารุ (ไม้สนหรือไม้ฉำฉา) และด้วยไม้นานาชนิด
81 สัตว์ทั้งหลาย ที่มีความยินดี สร้างสถูปด้วยอิฐ หรือก้อนดินเหนียวปั้น หรือให้ทำกองฝุ่นเป็นสถูป ในป่าและที่เปลี่ยว อุทิศพระชินเจ้าทั้งหลาย
82 แม้เด็กๆ เล่นทำเนินทรายให้เป็นสถูป อุทิศ (เจาะจง) พระชินเจ้าทั้งหลาย เขาเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อการตรัสรู้
83 ชนบางพวกเจาะจงให้สร้างรูปพระชินเจ้าทั้งหลาย ที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะอาการ 32 จากรัตนะ (เพื่อเป็นที่ระลึก) แม้เขาเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้เหมือนกัน
84 ชนบางพวกให้สร้างรูปของพระสุคตทั้งหลาย ด้วยทองแดงบ้าง ด้วยทองเหลืองบ้าง ประดับด้วยรัตนะ 8 ประการบ้าง ไว้ ณ ที่นั้นๆ เขาเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อการตรัสรู้
85 ชนเหล่าใดใช้ตะกั่ว เหล็ก หรือดินเหนียว ทำรูปพระสุคตทั้งหลาย ให้เป็นต้นแบบที่งดงาม ชนเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
86 ชนเหล่าใดกระทำภาพ (พระสุคต) ที่สมบูรณ์ด้วยปุณยลักษณะ 100 ประการบนฝาผนังที่สวยงาม เขาเขียน (ภาพ) เองก็ตาม ให้ผู้อื่นเขียนก็ตาม เขาเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
87 ผู้ใหญ่หรือเด็กก็ตาม ที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ หรือเล่นอยู่ เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เขียนภาพ (ตถาคต) ด้วยเล็บหรือชิ้นไม้ไว้ที่ฝาผนัง
88 เขาเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีความกรุณา ช่วยเหลือสัตว์เป็นจำนวนหลายพันโกฏิ สนับสนุนพระโพธิสัตว์จำนวนมากให้ข้ามพ้น (สังสารวัฏ) เขาเหล่านั้นทั้งหมดก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
89 ชนเหล่าใดถวายดอกไม้และเครื่องหอมทั้งหลาย ไว้ที่พระธาตุทั้งหลาย หรือที่พระสถูปทั้งหลายของตถาคต ที่ปั้นด้วยดินเหนียว หรือรูปวาดของตถาคตที่ฝาผนัง หรือที่สถูปทราย
90 ชนเหล่าใด ที่เป็นนักดนตรี ได้บรรเลง (ดนตรี) ตีกลอง เป่าสังข์ มีเสียงกึกก้องและตีกลองหน้าเดียวดังกึกก้อง เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประเสริฐสุด
91 เด็กหนุ่ม หรือกุมารเยาว์วัย เชื้อสายนักดนตรี ที่สมารถดีดพิณ ตีฉาบ เป่าแตร เป่าปี่ เป่าขลุ่ย ตีกลอง ที่ไพเราะจับใจ (เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า) เขาเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
92 ชนทั้งหลายที่ตีฉิ่ง เป่าปี่ หรือเป่าแตร ร้องเพลงอันไพเราะจับเพื่ออุทิศบูชาพระสุคตทั้งหลาย
93 เขาเหล่านั้นทั้งหมด กระทำการบูชาพระบรมธาตุชนิดต่างๆในโลก ให้บรรเลงเครื่องดนตรีชิ้นเล็กๆ เพียงชิ้นเดียว ร ที่ใกล้พระบรมธาตุของพระสุคต ก็ได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
94 แม้ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน บูชาพระตถาคต ด้วยดอกไม้เพียงดอกเดียว และให้เขียนภาพพระตถาคตบนผนัง แล้วบูชา ก็ได้ได้เฝ้าพระพุทธเจ้าหลายโกฏิพระองค์ตามกาลอันควร
95 บางพวกเพียงประนมมือไหว้ บางพวกทำความเคารพอย่างสมบูรณ์แบบ คือยกศีรษะชั่วครู่แล้วน้อมกายลงครั้งหนึ่ง ที่พระสถูปนั้นๆ
96 ในเวลานั้น แม้พวกที่มีจิตฟุ้งซ่าน กล่าวครั้งหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า” ที่พระสถูปอันเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุทั้งหลาย เขาเหล่านั้นทั้งหมด ก็จักได้บรรลุโพธิญาณอันประเสริฐนี้
97 สัตว์เหล่าใด แม้ได้ฟังชื่อพระธรรมของพระสุคตทั้งหลาย ผู้ปรินิพพานไปแล้วหรือทรงดำรงอยู่ในกาลนั้น สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดก็มีส่วนได้เพื่อตรัสรู้
98 พระพุทธเจ้าหลายโกฏิพระองค์ในอนาคต มีจำนวนที่กำหนดไม่ได้ ประมาณมิได้ พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้เป็นพระชินเจ้า เป็นที่พึ่งของชาวโลกที่ประเสริฐสุดจักประกาศอุบายเช่นนี้
99 พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้แนะนำชาวโลก ก็จะมีความฉลาดในอุบายอันหาที่สุดมิได้ ด้วยความฉลาดในอุบาย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็จะแนะนำสัตว์จำนวนหลายโกฏิในพุทธภาวะ และญาณอันไม่มีอาสวะ
100 ไม่มีสัตว์แม้ผู้เดียวที่ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ว่าเวลาใด จะไม่ได้เป็นพุทธะ พระตถาคตมีพระประณิธานอย่างนี้ว่า “เราประพฤติธรรมแล้วจะต้องให้ผู้อื่นประพฤติธรรม เพื่อตรัสรู้ด้วย”
101 ในอนาคตกาล พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักประกาศแนวทางแห่งการบรรลุธรรมมากมายหลายพันโกฏิ พระองค์เมื่อประกาศยานหนึ่งนี้ ก็จักแสดงธรรม (เพื่อบรรลุ) ความเป็นพระตถาคตด้วย
102 พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ ทรงทราบว่า หัวข้อและกฎแห่งธรรมที่มั่นคงนี้ ย่อมส่องประกาย (รุ่งเรือง) อยู่เสมอ จึงได้ประกาศเอกยานของเรา
103 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ประกาศความมั่นคงแห่งธรรม กฎแห่งธรรม ที่ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นในโลกเป็นนิจ และพระโพธิญาณบนพื้นดิน
104 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีจำนวนเท่าเมล็ดทราย ในแม่น้ำคงคา ที่มนุษย์และเทวดาบูชาแล้วทั้งสิบทิศ ทุกๆ พระองค์ย่อมแสดงพระโพธิญาณอันประเสริฐนี้ เพื่อประโยชน์สุขของสัตว์ทั้งมวลในโลกนี้
105 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงประกาศความฉลาดในอุบาย ทรงแสดงยานต่างๆ แต่จะประกาศยานหนึ่งเท่านั้นว่า เป็นพื้นฐานของความสงบสูงสุด
106 พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ครั้นทรงทราบจริต และอุปนิสัยที่เคยปฏิบัติ กำลังและความเพียรของสัตว์ทั้งหลายแล้ว ย่อมแสดงธรรมเครื่องหลุดพ้น
107 พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เป็นผู้นำ ย่อมชี้อุทาหรณ์เหตุแลผลมากมาย ด้วยกำลังแห่งพระญาณ พระองค์ทรงทราบว่า สัตว์ทั้งหลายมีอุปนิสัยต่างๆกันแล้ว จึงแสดงอภินิหารต่างๆ
108 แม้เราเอง เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของพระชินเจ้า ย่อมแสดงพุทธโพธิญาณนี้ ด้วยอภินิหารหลายพันโกฏิวิธี ก็เพื่อประโยชน์สุขของสัตว์ทั้งหลาย
109 เราทราบพฤติกรรมและอุปนิสัยของสัตว์ทั้งหลายแล้ว จึงแสดงธรรมหลายประการ เราให้สัตว์แต่ละผู้แต่ละคนรื่นเริงหรรษาด้วยอุบายหลายอย่าง นี้คือ กำลังแห่งญาณของเรา
110 เรามองเห็นสัตว์ผู้ยากไร้ ผู้เสื่อมจากปัญญาและบุญ ผู้ตกอยู่ในความทุกข์ลำบากในสังสารวัฏ ทั้งยังจมอยู่ในกองทุกข์อย่างต่อเนื่อง
111 คนพาล ผู้หมกมุ่นอยู่ในตัณหาเหมือกับจามรี มืดมนตลอดเวลาเพราะกามเป็นเหตุ เขาเหล่านั้นไม่แสวงหาพุทธะและธรรมะ ที่มีอานุภาพมาก สามารถให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้
112 เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีจิตยินดีอยู่ในภูมิทั้งหก ตั้งมั่นในมิจฉาทิฏฐิอย่างเหนียวแน่นวิ่งหาทุกข์อยู่ร่ำไป เรามีความการุณต่อพวกเขาเหลือกำลัง
113 เราหลังจากตรัสรู้แล้ว ประทับอยู่โพธิมณฑลสามสัปดาห์เต็ม เพ่งมองต้นไม้พิจารณาเรื่องนี้อยู่
114 เราเพ่งมองต้นไม้นั้นและเดินจงกรมอยู่ภายใต้ต้นไม้นั้น พลางคิดว่านี้คือญาณที่อัศจรรย์และประเสริฐสุด สัตว์เหล่านี้ ช่างโง่เขลาและมืดบอดเหลือเกิน
115 ในกาลนั้น พระพรหม ท้าวศักระ ท้าวโลกาบาลทั้งสี่ พระมเหศวร พระอิศวร และคณะมรุตเทพ จำนวนหลายพันโกฏิมาขอร้องเรา
116 เทพเหล่านั้นทั้งหมด ยืนประคองอัญชลี แสดงความเคารพ เรา (ตถาคต) คิดถึงเรื่องนี้ว่า จะทำอย่างไรดี (ตัดสินใจว่า) เราจะแสดงธรรมอันประเสริฐแก่สัตว์ (ชนชั้น) ทั้งหลาย เพราะสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ถูกความทุกข์ครอบงำ
117 ถ้าพวกเขาจะเพิกเฉยธรรมของเราที่กล่าวเพื่อคนพาล ครั้นพวกเขาเพิกเฉยก็จะเข้าถึงอบายภูมิ จึงเป็นการดีที่เราไม่แสดงธรรมแม้ในกาลไหนๆ ขอให้เราจงนิพพานด้วยความสงสัยเสียในวันนี้เถิด
118 แต่ว่า เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน และอุบายอันฉลาดของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น (เราจึงคิดได้ว่า) เราควรแสดงพุทธโพธิญาณนี้ โดยแบ่งเป็นสามภาค
119 ขณะที่เราคิดข้อธรรมอยู่อย่างนี้ พระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ ที่ประทับอยู่ในทิศทั้งสิบก็มาปรากฏพระกายต่อหน้าเรา และเปล่งพระสุรเสียงว่า “สาธุ” (แล้วกล่าว่า)
120 ข้าแต่พระมุนี ผู้นำที่ประเสริฐของชาวโลก ดังข้าพเจ้าทั้งหลายจะขอโอกาสพระองค์เมื่อตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ พิจารณา ศึกษากุศโลบายของพระผู้นำแห่งโลกอยู่
121 แม้ข้าพเจ้าทั้งหลาย หลังจากตรัสรู้แล้วในครั้งนั้น ได้แสดงธรรม (บท) แบ่งเป็นสามภาค เพราะว่า ชนทั้งหลายที่ไม่มีความรู้ และมีอุปนิสัยต่ำทราม จะไม่เชื่อ(คำพยากรณ์ที่ว่า) “พวกเธอจะได้เป็นพระพุทธเจ้า (ในอนาคต)
122 แต่นั้น ด้วยความอนุเคราะห์เป็นเหตุ เราจึงใช้ความฉลาดในอุบาย กล่าวสนับสนุนเรื่องความปรารถนาในอริยผล กะพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
123 เราได้ฟังพระสุรเสียงอันไพเราะจับใจของพระตถาคตทั้งหลายแล้ว มีปิติปลาบปลื้มใจ เราจึงกล่าวว่า ท่านมหาฤษีทั้งหลาย (พระพุทธเจ้าทั้งหลาย) ผู้ประเสริฐ พระดำรัสของท่านผู้มั่นคง เป็นพระดำรัสที่ไม่มีโมหะ
124 เราจะประพฤติเหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้ เพราะว่า เราบังเกิดในท่ามกลางแห่งความเสื่อมของสัตว์ที่ปวดร้าวและทารุณนี้
125 ดูก่อนศาริบุตร เราครั้นทราบอย่างนี้แล้ว ก็ได้ออกเดินทางไปยังเมืองพาราณสี ในเวลานั้น และได้ประกาศธรรมอันเป็นรากฐานแห่งความสงบ แก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ด้วยอุบายอันฉลาด
126 แต่นั้น ธรรมจักรของเราตถาคตได้หมุนไป ศัพท์ว่า นิพพาน อรหันต์ ธรรมะ สังฆะ ก็ได้บังเกิดขึ้นในโลก
127 เรากล่าวเรื่องนิพพานเป็นเวลาหลายปี และชี้ว่า พระนิพพานเป็นที่สุดแห่งความทุกข์ในสงสาร เรา (ตถาคต) กล่าวอย่างนี้เป็นนิจกาล
128 ดูก่อนศาริบุตร ในเวลานั้น เราได้เห็นบุตรของชนชั้นสูง จำนวนมากมายหลายพันโกฏิ ที่เข้าใกล้พระโพธิญาณอันประเสริฐและสูงสุด
129 ทุกคนเหล่านั้น เข้ามาสู่ที่ใกล้เรา (ตถาคต) ยืนประคองอัญชลีเคารพเรา เขาเหล่านั้นเคยฟังธรรมของพระชินเจ้าทั้งหลายมาแล้ว และได้ฟังกุศโลบาย ประการต่างๆมาแล้ว
130 แต่นั้นเราได้มีความคิดครู่หนึ่งว่า นี้เป็นกาลสมัยแห่งเรา ที่จะประกาศธรรมอันประเสริฐ(เพราะว่า) เราอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ ก็เพื่อประกาศพระโพธิญาณ อันประเสริฐนั้นและเป็นประโยชน์แก่ชาวโลก
131 การเข้าใจนิมิตในวันนี้ เป็นสิ่งที่รับ (เชื่อ) ได้ยาก สำหรับผู้ที่มีความรู้น้อย ถึงพร้อมด้วยอธิมานะ งมงาน แต่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จะพากันฟังธรรม (ของเรา)
132 เรามีความแกล้วกล้าผ่องใส ละความลังเลใจทั้งปวงเสียแล้ว จะกล่าวในท่ามกลางแห่งบุตรพระสุคตทั้งหลาย และเราจะนำเขาเหล่านั้นให้ตรัสรู้ตามด้วย
133 ก็เราครั้นเห็นพุทธบุตรที่เช่นนี้แล้ว (จึงกล่าวว่า) ท่านทั้งหลายจงขจัดความสงสัยออกไป และสาวกอีก 1200รูปเหล่านี้ ก็จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะทั้งหมดจักเป็นพุทธะในโลกนี้
134 ธรรมของมุนีในอดีตทั้งหลายเหล่านั้น และของพระชินเจ้าในอนาคต ย่อมเป็นเหมือนกับธรรมของเรา คือปราศจากมลทิน ซึ่งเราจะแสดงแก่ท่านทั้งหลายในวันนี้
135 ไม่ว่าเวลาใด ที่ใด และอย่างไร พระตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติขึ้นในโลก ครั้นอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ทุกพระองค์ทรงมีจักษุเป็นทิพย์ ย่อมแสดงธรรมเช่นนี้ทุกครั้ง
136 ธรรมอันประเสริฐเช่นนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง ตลอดเวลาหลายหมื่นโกฏิกัลป์ และสัตว์ทั้งหลายผู้เช่นนี้ ซึ่งฟังธรรมอันประเสริฐแล้ว เกิดความเลื่อมใส ก็หาได้ยากยิ่ง
137 เหมือนดอกมะเดื่อเป็นสิ่งที่หาได้ยาก อย่างไรก็ตาม บุคคลย่อมพบเห็นในบางคราวและบางแห่ง มันก็ยังเป็นที่เจริญใจของบุคคล ทั้งยังเป็นที่อัศจรรย์แก่ชาวโลกและเทวดาด้วย
138 ก็แล ธรรมที่เรากล่าวยิ่งอัศจรรย์ไปกว่านั้น บุคคลใดได้ฟังธรรมอันเป็นสุภาษิตนี้ แล้วอนุโมทนายินดีกล่าวถ้อยคำแม้เพียงคำเดียว (เกี่ยวกับธรรมนั้น) เขาเหล่านั้นชื่อว่าได้กระทำการบูชาพระพุทธเจ้าทั้งปวงแล้ว
139 ขอให้เธอจงเลิกละความสงสัย คลางแคลงใจในเรื่องนี้เถิด เราผู้เป็นธรรมราชาขอบอกว่า เราจะให้เขาเข้าถึงโพธิญาณอันประเสริฐนี้ ณ ที่นี้ เรายังไม่มีสาวกเลย
140 ดูก่อนศาริบุตร เธอจงทราบความลึกลับนี้ของเราไว้เถิด แม้สาวกทั้งปวงของเรามีพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นประธานเหล่านี้ ก็จงจำความลึกลับของเรา (ตถาคต)ไว้
141 เพราะเหตุไร ในสมัยแห่งความเสื่อมทั้งห้าสัตว์ทั้งหลายผู้ชั่วช้าและต่ำทรามถูกครอบงำด้วยกามทั้งหลาย เป็นผู้โง่เขลาเบาปัญญาในกาลไหนๆ ย่อมมีความคิดเพื่อการตรัสรู้
142 แลสัตว์ทั้งหลายได้ฟังเพียงยานเดียวของเรา ที่พระชินเจ้าประกาศแล้วท่องเที่ยวไปในอนาคตกาล สลัดพระสูตรทิ้งเสีย ก็จะพึงถึงนรก
143 สัตว์ทั้งหลาย ผู้สงบเสงี่ยม สะอาดหมดจด พยายามเข้าถึงพระโพธิญาณอันประเสริฐสูงสุด เรากล้าจะพรรณนาลักษณะอันไม่สิ้นสุดของเอกยานนั้นแก่เขาทั้งหลาย
144 เทศนาของผู้นำ (ตถาคต) ทั้งหลายเป็นเช่นนี้ นี้คือความฉลาดในอุบาย ที่ประเสริฐสุด เราได้กล่าวด้วยถ้อยคำอันลึกหลากหลาย ยากที่ผู้ไม่ได้รับการศึกษาจะเข้าใจได้
145 เพราะฉะนั้น เธอควรเข้าใจถ้อยคำอันลึกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สั่งสอนโลกผู้มั่นคงเถิด จงขจัดความสงสัย จงละความคลางแคลงใจเสีย ก็จะเป็นพุทธะ ยังความหฤหรรษ์ให้เกิดขึ้น
บทที่2 อุปายโกศลปริวรรต ว่าด้วยความฉลาดในอุบาย
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่3 อุปมาเปรียบเทียบ
บทที่3
เอาปัมยปริวรรต
ว่าด้วยอุปมาการเปรียบเทียบ
ก็ในเวลานั้น ท่านพระศาริบุตร มีความร่าเริง ยินดี ปราโมทย์ ปีติโสมนัส เลื่อมใส ประคองอัญชลี ไปทางพระผู้มีพระภาค ณ เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เพ่งมองพระผู้มีพระภาคอยู่พร้อมกับกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ได้ฟังพระสุรเสียงเห็นปานนี้ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคแล้ว ไม่มีความอัศจรรย์ใจและประหลาดใจ เป็นอย่างมากข้อนั้น เพราะเหตุไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะว่า ข้าพระองค์ไม่ได้ฟังธรรมเห็นปานนี้ จากที่ใกล้พระผู้มีพระภาคมาก่อนเลย ข้าพระองค์ได้เห็นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น และได้ยินว่าพระโพธิสัตว์เหล่านี้ จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตด้วยแล้ว ยิ่งเสียใจเป็นที่สุด และขัดเคียงใจที่ผิดหวังจาการรู้เห็นวิสัยญาณของพระตถาคต ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บ่อยครั้ง เมื่อใดที่ข้าพระองค์เดินไปตามซอกเขา ป่าลึก สวนที่สวยงาม ที่ฝั่งแม่น้ำและที่โคนต้นไม้ เพื่อจะพักผ่อนในเวลากลางวัน ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ย่อมพักด้วยอาการอย่างนี้เป็นส่วนมากแต่พระองค์ได้มอบ หีนยาน ให้แก่พวกข้าพระองค์ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แต่ว่าขณะนี้ข้าพระองค์สำนึกได้แล้วว่า นั่นเป็นความผิดของพวกข้าพระองค์เอง ไม่ใช่ความผิดของพระผู้มีพระภาคข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะว่า ถ้าข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้พบพระผู้มีพระภาคตอนที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอันประเสริฐ ปรารภอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอยู่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย ก็จะได้ชื่อว่า พระองค์ได้ประทานธรรมทั้งหลายเหล่านั้นให้แล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระโพธิสัตว์ทั้งหลายไม่อยู่ด้วย เพราะข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เข้าใจคำสอนอันลึกซึ้งของพระผู้มีพระภาค ฟังธรรมเทศนาของพระตถาคต ที่ทรงแสดงเบื้องต้นเท่านั้น ก็ต่วนยึดถือ ทรงจำไว้ เจริญ คิดและกระทำไว้ในใจ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์นั้นจึงให้เวลาทั้งกลางคืนและกลางวัน โดยส่วนใหญ่ให้ล่วงไปด้วยการบริภาษตนเองอยู่เสมอ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค วันนี้ข้าพระองค์ได้ถึงความสงบแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาควันนี้ข้าพระองค์หลุดพ้นแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค วันนี้ข้าพระองค์ได้บรรลุอรหัตผลแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค วันนี้ ข้าพระองค์เป็นบุตรผู้ประเสริฐของพระตถาคต ผู้เกิดแล้ว ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค คือผู้เกิดจากธรรม ผู้ได้รับการนิรมิตจากธรรม ผู้เป็นธรรมทายาท และผู้สมบูรณ์อยู่ในธรรม ข้าแต่พระผู้มีพระภาค วันนี้ข้าพระองค์ได้ฟังธรรมอันประเสริฐที่ยังไม่เคยฟังมาก่อน เห็นปานนี้ อย่างชัดเจน (กึกก้อง) จากที่ใกล้ๆ ของพระผู้มีพระภาค ได้เป็นผู้หมดความรุ่มร้อนแล้ว
ในขณะนั้นแล ท่านศาริบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค เป็นคาถาทั้งหลายว่า
1 ข้าแต่พระผู้นำ (แห่งโลก) ผู้ยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์ ครั้นได้ฟังพระสุรเสียงนี้แล้ว ก็เกิดอัศจรรย์และตื่นเต้น ข้าพระองค์หมดความสงสัยใดๆ ในใจแล้ว และเป็นผู้มีอุปนิสัยแก่กล้าในยานอันประเสริฐนี้
2 พระสุรเสียงของพระสุคตทั้งหลายอัศจรรย์ยิ่งนัก ย่อมทำลายความสงสัย และความเศร้าโศกของสัตว์ทั้งหลายได้พินาศสิ้น ข้าพระองค์สิ้นอาสวะและปราศจากความเศร้าโศกทั้งปวง ก็เพราะได้ฟังพระสุรเสียงนั้นแล
3 ข้าพระองค์พักผ่อนในเวลากลางวัน และเดินจงกรม เข้าไปสู่ป่า สวน โคนต้นไม้และซอกเขา ย่อมครุ่นคิดอยู่อย่างนี้นั่นแล
4 ข้าพระองค์ถูกความคิดเลวทราบครอบงำ ในธรรมที่บริสุทธิ์(ไร้อาสวะ) เป็นธรรมที่มีความเสมอภาค (แก่มนุษย์ทุกคน) แล้วในอนาคต ข้าพระองค์ จะไม่สอนธรรมอันประเสริฐนี้ในโลกทั้งสามละหรือ
5 ข้าพระองค์สูญสิ้นมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการและฉวีวรรณดุจสีทอง พลังและโมกษะทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ก็จะหายสิ้น ข้าพระองค์ เป็นผู้มีโมหะ ในธรรมทั้งหลายที่เสมอภาค(แก่มนุษย์ทุกคน)
6 ข้าพระองค์สูญสิ้น ความสมบูรณ์แห่งอณุพยัญชนะ ที่ประเสริฐ แห่งมหามุนีอณุพยัญชนะ และอาเวณิกรรม (ธรรมอันประเสริฐ) 18 ประการ เพราะข้าพระองค์ถูกโมหะครอบงำแล้ว
7 ข้าพระองค์ขณะพักผ่อนตอนกลางวัน และได้เห็นพระองค์ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกแล้ว คิดอยู่แต่ผู้เดียวว่า ข้าพเจ้านี้ ได้เสื่อมจากอสังคธรรม(โลกุตตรธรรม)และอจินตธรรมเสียแล้ว
8 ข้าแต่พระผู้มีพระภาค (นาถ) เมื่อข้าพระองค์คิดอยู่อย่างนี้ วันคือทั้งหลายก็หมดสิ้นไป ข้าพระองค์ขอทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระองค์เป็นผู้หมดโอกาสแล้วหรือไม่
9 ข้าแต่พระผู้เป็นจอมแห่งพระชินเจ้า เมื่อข้าพระองค์คิดอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา กลางคืนและกลางวันผ่านพ้นไป ข้าพระองค์ได้เห็นพระโพธิสัตว์อื่นๆ จำนวนมากที่พระองค์ทรงสรรเสริญ
10 (ข้าพระองค์) ฟังพุทธธรรมนั้นแล้วคิดว่า นัยว่าธรรมนั้นเป็นภาษิตลุ่มลึก สุขุม ปราศจากอาสวะ ซึ่งพระชินเจ้าได้ทรงประกาศแล้วที่โพธิมณฑล
11 ในอดีต ข้าพระองค์ได้หมกมุ่นอยู่กับทิฏฐิ(ความเห็น) ที่เป็นเดียรถีย์ปริพาชก หลังจากนั้น พระองค์ผู้เป็นนาถะ(แห่งโลก) ได้ทรงทราบอัธยาศัยของข้าพระองค์แล้ว ทรงแสดงพระนิพพาน เพื่อความหลุดพ้นจากทิฏฐินั้น
12 ข้าพระองค์ครั้นพ้นจากทิฏฐิ โดยประการทั้งปวง และได้สัมผัสกับศูนยตาธรรมทั้งหลายแล้ว จากนั้น ข้าพระองค์ จึงทราบว่า ข้าพระองค์ได้ถึงความดับแล้ว แต่ยังไม่เรียกว่า นี้คือนิพพานที่แท้จริง
13 แต่ว่า เมื่อใด สัตว์ผู้ประเสริฐได้เป็นพุทธะ มีมนุษย์ เทวดา ยักษ์ และรากษส บูชาแล้ว ถึงพร้อมด้วยรูปมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ เมื่อนั้นและที่นั้น เขาจึงชื่อว่าเป็นผู้มีนิพพานโดยสิ้นเชิง
14 ในวันนี้ พระองค์ทรงพยากรณ์ธรรม ในพระโพธิญาณอันประเสริฐ ณ เบื้องหน้าชาวโลก พ้อมทั้งเทวโลก ข้าพระองค์ได้ดับ (กิเลส) สิ้นแล้ว เพราะได้ฟังพระสุรเสียง (ของพระองค์) ความกังวลใจทั้งปวงก็ดับไปด้วย
15 ตอนแรกเมื่อได้ฟังพระสุรเสียงของพระองค์ผู้เป็นใหญ่แล้ว ข้าพระองค์ได้ตกใจกลัวยิ่งนัก ด้วยคิดว่า ขออย่าให้มารร้าย ผู้เบียดเบียน แปลงเพศมาเป็นองค์พุทธะเลย
16 แต่เมื่อพระองค์ ได้ทรงแสดงพุทธโพธิญาณอันประเสริฐ ให้ปรากฏ ด้วยเหตุผลและอุทาหรณ์มากมายหลายหมื่นโกฏิแล้ว ครั้นข้าพระองค์ ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ก็หมดข้อสงสัย
17 เมื่อพระองค์พรรณนาถึงพระชินพุทธเจ้าทั้งหลายพันโกฏิ ที่ดับขันธปรินิพพานไปแล้ว แก่ข้าพระองค์ว่า ท่านเหล่านั้น ได้แสดงพระธรรมนี้ ให้ตั้งมั่นด้วยความฉลาดในอุบายอย่างไร
18 และพระพุทธเจ้าในอนาคตอีกจำนวนมาก ที่แสดงธรรมอันลึกซึ้งนี้(ที่จะบังเกิด) ในโลก ท่านเหล่านั้น ก็จักชี้แจง แสดงธรรมนี้ ด้วยความฉลาดในอุบายหลากหลายวิธีเช่นกัน
19 ความประพฤติที่พระองค์ได้เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ได้รับการสดุดีเช่นไร การตรัสรู้ และพระธรรมจักร เป็นเช่นไร พระองค์ได้แสดงธรรมเทศนาไว้แล้วอย่างนั้น
20 ตั้งแต่นั้น ข้าพระองค์จึงทราบว่า ผู้นี้ต้องไม่ใช่มาร (แต่) เป็นพระโลกนาถผู้แสดงธรรม (ข้อปฏิบัติ) แก่สัตว์ทั้งหลายอยู่ คติแห่งมารทั้งหลายย่อมไม่มีในที่นี้ (ไม่มีมารใดทำเช่นนี้ได้) จิตของข้าพระองค์ก็ได้ถึงวิจิกิจฉา (ยังสงสัย)
21 แต่ข้าพระองค์รู้สึกปลื้มปีติ เมื่อได้ฟังพระสุรเสียงขององค์พระพุทธเจ้า อันไพเราะที่ลึกซึ้งและอ่อนโยนแล้ว ความสงสัยลังเลใจทั้งปวงของข้าพระองค์ ก็พินาศสูญหายสิ้น และข้าพระองค์ก็ได้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม
22 ข้าพระองค์แน่ใจว่า จะได้เป็นพระตถาคต อันเป็นที่เคารพบูชาทั้งในโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก ข้าพระองค์จักรวบรวมแสดงธรรม ให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจำนวนมากเข้าถึงพุทธโพธิญาณ
เมื่อท่านพระศาริบุตรกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระศาริบุตรว่า ดูก่อนศาริบุตร เราขอประกาศแก่เธอ ต่อหน้าชาวโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ต่อหน้าประชาชนพร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย ดูก่อนศาริบุตร เราได้อบรมเธอให้พร้อมในอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ที่ ใกล้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จำนวนยี่สิบหมื่นแสนโกฏิ ดูก่อนศาริบุตร เธอได้ศึกษา(คำสอน) ของเรา มาเป็นเวลาช้านานแล้ว ดูก่อนศาริบุตร เธอนั้นได้มาเกิดในศาสนาของเราในโลกนี้ โดยการปรึกษาหารือและเห็นพ้องของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนศาริบุตร โดยการอธิฐานของพระโพธิสัตว์ เธอจึงมิได้ระลึกถึงประณิธานแห่งการประพฤติธรรมในอดีตของเธอ การปรึกษาหารือและการเห็นพ้องต้องกันของพระโพธิสัตว์ เธอเข้าใจว่า เธอดับสนิทแล้ว ดูก่อน ศาริบุตรเรานั้น ใคร่จะให้เธอระลึกถึงประณิธานแห่งการประพฤติกรรม และการรู้ธรรม ในอดีต จึงขอประกาศ พระสูตรที่สมบูรณ์และยิ่งใหญ่ ชื่อ สัทธรรมปุณฑรีก ธรรมบรรยายนี้ ซึ่งเป็นโอวาทของพระโพธิสัตว์ และเป็นข้อปฏิบัติของพระพุทธเจ้าทั้งปวง แก่สาวกทั้งหลาย
ดูก่อนศาริบุตร ในอนาคตกาล เมื่อเธอได้ธำรงพระสัทธรรมของพระตถาคตหลายหมื่นแสนโกฏิ ด้วยจำนวนกัลป์ ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ คำนวณไม่ได้ และได้ทำการบูชาต่างๆ ทั้งประพฤติข้อปฏิบัติของพระโพธิสัตว์นี้ให้สมบูรณ์ จักได้เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในโลก นามว่า ปัทมประภา ที่ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถึงฝึกบุรุษที่ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้เบิกบานและเป็นผู้จำแนกธรรม
ดูก่อนศาริบุตร สมัยนั้นแล พุทธเกษตรของพระตถาคตพระผู้มีพระภาค ปัทมประภา พระองค์นั้น มีชื่อว่า วิรชะ เป็นสถานที่ราบเรียบ น่ารื่นรมย์ น่ายินดี และน่าดูอย่างยิ่ง เป็นสถานที่บริสุทธิ์ กว้างขวาง สมบูรณ์ (ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร) เป็นแดนเกษตร อุดมสมบูรณ์ด้วยภักษา มีหมู่ชนมากมาย ทั้งชายหญิง เต็มไปด้วยทวยเทพ มีแก้วไพฑูรย์ เป็นสถานที่ต่อเนื่องกันเป็นตาหมากรุก มีแนวเป็นทอง และในตาหมากรุกเหล่านั้น ดารดาษไปด้วยต้นรัตนพฤกษ์ทั้งหลาย ซึ่งผลิตดอกออกผล เป็นรัตนะ 8 ประการ อย่างไม่ขาดสาย
ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปัทมประปา พระองค์นั้น อาศัยยานทั้งสามนั้นแล้ว จักประกาศพระธรรม ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตนั้นไม่บังเกิดในกัลป์ที่เสื่อมโทรมก็จริง ถึงกระนั้น (พระองค์) ก็จักแสดงธรรมด้วยอำนาจแห่งประณิธาน ดูก่อนศาริบุตร กัลป์นั้น มีชื่อว่า มหารัตนประติมัณฑิต ดูก่อนศาริบุตร ท่านเข้าใจสิ่งนั้นว่า เป็นอย่างไร เพราะเหตุไร กัลป์นั้นจึงเรียกว่า มหารัตนประติมัณฑิต ดูก่อนศาริบุตร พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ในพุทธเกษตร ถูกเรียกว่า รัตนะ ในสมันนั้น ในโลกธาตุชื่อว่า วิรชะ นั้น มีพระโพธิสัตว์จำนวนมาก จนประมาณไม่ได้ นับไม่ได้ คิดคำนวณไม่ได้ กำหนดไม่ได้ เกินกว่าที่จะนับพระตถาคตด้วยวิธีอื่นๆ เพราะฉะนั้น กัลป์นั้นจึงเรียกว่า มหารัตนประติมัณฑิต แล
ดูก่อนศาริบุตร ก็โดยสมัยนั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ในพุทธเกษตรนั้น ได้ก้าวก้าวไปบนดอกบัวแก้วทุกก้าว ก็พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น มิใช่เป็นผู้เริ่มต้นการทำกรรม แต่เป็นผู้มีกุศลมูลสะสมมาแล้วเป็นเวลาช้านาน ได้ประพฤติพรหมจรรย์กับพระพุทธเจ้าจำนวนหลายแสงองค์ ได้รับการสรรเสริญจากพระตถาคต เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยพุทธญาณ เป็นผู้รู้มหาอภิญญาบริกรรมฉลาดในธรรมทั้งปวง มีความชื่อตรงและมีสติ ดูก่อนศาริบุตร โดยมากพุทธเกษตรจะเต็มไปด้วยพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเช่นนี้
ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคต ปัทมประภา นั้น จะมีพระชนมายุ 12 กัลป์ โดยไม่ยกเว้นช่วงเวลาที่ทรงเป็นพระกุมาร ส่วนสัตว์ทั้งหลายจะมีอายุ 8 กัลป์ ดูก่อนศาริบุตร พอล่วงเลยไปได้ 8 กัลป์ พระตถาคต ปัทมประภา นั้น หลังจากได้ทรงพยากรณ์ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ นามว่า ธฤติปริปูรณะ ไว้ในพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ ธฤติปริปูรณะ นี้จักตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณต่อจากเรา พระองค์จักเป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นามว่า ปัทมวฤษภิกรามี ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดีแล้ว ผู้รู้แจ้ง ผู้เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ไม่มีใครอื่นยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้บุกเบิกและเป็นผู้จำแนกธรรมในโลก ดูก่อนศาริบุตร พุทธเกษตรของพระปัทมวฤษกวิกรามี จักเป็นเช่นนี้
ดูก่อนศาริบุตร ก็แลพระตถาคต ปัทมประภา ที่ปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมของพระองค์จะดำรงอยู่ต่อไปถึง 33 กัลป์ และเมื่อพระสัทธรรมของพระองค์สิ้นไป สัทธรรมปฏิรูปก็จะดำรงอยู่ได้ถึง 32 กัลป์
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
23 ดูก่อนศาริบุตร ในอนาคต เธอจักเป็นชินตถาคต นามว่า ปัทมประภา ผู้หยั่งรู้ธรรมทุกประการ (สมันตจักษุ) จักแสดงพุทธญาณ แก่สัตว์หลายพันโกฏิ
24 เธอ เมื่อได้ทำสักการะพระพุทธเจ้าหลายโกฏิพระองค์แล้ว ได้ปฏิบัติจรรยาพละ ณ ที่นั่น และยังทศพลญาณให้เกิดขึ้น แล้วจักบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
25 ในกัลป์ที่กำหนดไม่ได้ นับไม่ได้ จักมีอยู่กัลป์หนึ่งชื่อว่า ประภูตรัตนะ (มีรัตนะมาก) ณ สมัยนั้น มีโลกธาตุชื่อว่า "วิรชะ" เป็นเขตที่บริสุทธิ์ ของพระชินเจ้า (ผู้ประเสริฐสุดกว่าชนทั้งหลาย
26 พื้นแผ่นดินเต็มไปด้วย แก้วไพฑูรย์ และประดับด้วยเส้นด้ายทอง มีต้นไม้แก้ว เป็นจำนวนหลายร้อย ซึ่งผลิดอกออกผลสวยงามยิ่งนัก
27 พระโพธิสัตว์จำนวนมาก ที่มีความทรงจำ เชี่ยวชาญในข้อวัตรปฏิบัติ และอภินิหาร ได้ศึกษาข้อปฏิบัติจากกพระพุทธเจ้าหลายร้อยพระองค์ จะไปบังเกิดในพุทธเกษตรนั้น
28 พระชินเจ้าพระองค์นั้น ในพระชาติสุดท้าย เมื่อพ้นวัยเด็กแล้ว จักสละกาม ออกบวชแล้วจักบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
29 ในกาลนั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้น จะมีพระชนมายุ 12 กัลป์ ส่วนมนุษย์ผู้เกิดในสมัยนั้น จะมีอายุ 8 กัลป์
30 เมื่อพระชินเจ้าพระองค์นั้น ดับขันธปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมของพระองค์จักดำรงอยู่ 32 กัลป์บริบูรณ์ เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก รวมทั้งเทวาทั้งหลายในกาลนั้น
31 ครั้นเมื่อพระสัทธรรม (ของพระองค์) เสื่อมสิ้นไป ธรรมปฏิรูปก็จะดำรงอยู่ถึง 32 กัลป์ พระบรมสารีริกธาตุของพระชินเจ้าพระองค์นั้นผู้มั่นคง จักได้รับการสักการะ บูชาจากมนุษย์และเทวดา เป็นนิจนิรันดร์
32 พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นเช่นนี้ ดูก่อนศาริบุตร ขอเธอจงร่าเริงเถิด เธอนั้นแล จักเป็นพระชินเจ้าองค์นั้น ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ที่ไม่มีใครเทียบได้
ในขณะนั้นแล บริษัทสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์ และอมนุษย์ทั้งหลาย ได้ยินคำพยากรณ์ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระศาริบุตร จะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณพากันชื่นชม ยินดี ปราโมทย์ เกิดปีติโสมนัส ได้ทอดผ้าของตนๆ ไปยังพระผู้มีพระภาค และ ท้าวสักกะ จอมเทพ พระพรหม พร้อมทั้งสหัมบดีพรหม และเทพบุตรจำนวนหลายแสนโกฏิ ก็ได้ทอดผ้าทิพย์ไปยังพระผู้มีพระภาค และโปรยปรายดอกมันทารพน้อยใหญ่อันเป็นทิพย์ ทั้งได้ทอดผ้าทิพย์เป็นสายยาวเหยียด พากันประโคมดนตรีทิพย์หลายแสนชนิด ดีกลองไม่ขาดระยะ ทำให้ฝนคือดอกไม้จำนวนมาก โปรยปรายลงมา แล้วเปล่งถ้อยคำวาจาว่า ครั้งแรก พระผู้มีพระภาค ได้ทรงยังพระธรรมจักรให้หมุนไป ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ก็แล บัดนี้ พระผู้มีพระภาคได้ทรงยังพระธรรมจักร อันประเสริฐ ให้หมุนไป เป็นครั้งที่สอง ในเวลานั้น เทวบุตรทั้งหลายได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
33 ข้าแต่พระมหาวีระ (พระผู้มีพระภาค) ซึ่งหาบุคคลผู้เปรียบเสมอมิได้ พระองค์ทรงหมุนธรรมจักร (ล้อแห่งธรรม) อันเป็นที่เกิดและดิบแห่งขันธ์ทั้งหลายในโลก ณ เมืองพาราณสี
34 ข้าแต่พระนายกะ (ผู้นำแห่งโลก) พระองค์ทรงแสดงพระธรรมจักร ณ ที่นั่น (เมืองพาราณสี) เป็นครั้งแรก และครั้งที่สอง พระองค์ทรงแสดง ณ ที่นี้ ข้าแต่พระนายกะ วันนี้พระองค์ทรงแสดงธรรม ที่รับได้ยากยิ่ง
35 ข้อพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังธรรมมามาก ณ เบื้องพระพักตร์ของพระโลกนาถ ธรรมที่ฟังแล้วครั้งก่อนๆไม่เหมือนกับครั้งนี้เลย
36 ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขออนุโมทนาพระดำรัสอันลึกซึ้งของพระองค์(มหาฤษี) ที่พระองค์ทรงพยากรณ์ ท่านพระศาริบุตร ผู้กล้าหาญนี้ว่า จะได้เป็นพระอารยเจ้า
37 แม้ข้าพระองค์ทั้งหลาย พึงได้เป็นพระพุทธะ ผู้ประเสริฐเช่นนี้ ผู้แสดงพุทธโพธิญาณ อันประเสริฐ ด้วยถ้อยคำอันลึกซึ้งด้วยเถิด
38 กุศลมูล ที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟัง และได้กระทำทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า หรือได้บูชาพระพุทธเจ้าแล้ว ของความปรารถนาในพระโพธิญาณ (ของข้าพระองค์) จงสำเร็จด้วยเถิด
ครั้งนั้นแล ท่านพระศาริบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคข้าพระองค์หมดข้อสงสัย คลางแคลงใจแล้ว เพราะได้ฟังคำพยากรณ์เรื่องพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ของตน (ที่พระองค์ตรัส) ณ เบื้องพระพักตร์อันใกล้ชิดพระองค์ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แต่ว่า พระอรหันต์ 1200 รูป ที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในเสขะภูมิ ทรงโอวาทและตรัสสอนในกาลก่อนว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระธรรมวินัยของเราได้สิ้นสุดลง ด้วยเรื่องนี้ คือ การเข้าถึงพระนิพพานที่ล่วงพ้นชาติ ชรา พยาธิ มรณะ และโศกะ" ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ก็แลภิกษุ 2,000 รูป แห่งสาวกของพระผู้มีพระภาค ทั้งที่เป็นพระเสขะและอเสขะทั้งหมด ซึ่งเป็นผู้ปราศจาก อัตตทิฏฐิ ภวทิฏฐิ วิภวทิฏฐิ และทิฏฐิทั้งปวง ที่สำคัญตนว่า พวกเราได้ตั้งอยู่ในภูมิแห่งพระนิพพานแล้ว ดังนี้ ภิกษุเหล่านั้น ครั้นได้ฟังธรรมซึ่งไม่เคยฟังมาก่อนเห็นปานนี้จากที่ใกล้พระผู้มีพระภาค ได้เกิดความสงสัยขึ้นแล้ว ดีละ ขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรดตรัสเพื่อบรรเทาความกังวลใจของภิกษุเหล่านี้ โดยประการที่บริษัทสี่ พึงเป็นผู้หมดความสงสัย ความคลางแคลงใจด้วยเถิด
เมื่อพระศาริบุตรกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระศาริบุตรว่า ดูก่อนศาริบุตร เราเคยบอกแก่เธอแล้วมิใช่หรือว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้อุปนิสัยและอารมณ์ของสัตว์ทั้งหลาย จึงแสดงธรรมด้วยอุบายที่ฉลาด คือด้วยอภินิหารต่างๆ การชี้แจงเหตุผลต่างๆ และด้วยการอธิบายที่มาของคำ พระตถาคตปรารภอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณจึงอบรมให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย มีอุปนิสัยแก่กล้า ด้วยธรรมเทศนา ทั้งปวง ดูก่อนศาริบุตร เพื่อกระทำความข้อนี้ให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เราจะเปรียบเทียบให้ท่านฟัง ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เพราะว่า ด้วยการเปรียบเทียบ คนที่มีความรู้ดี ย่อมเข้าใจเนื้อความของคำ ที่เรากล่าวนั้นได้ดี
ดูก่อนศาริบุตร สมมติว่า มีคหบดีคนหนึ่ง ในหมู่บ้าน เมือง นิคม ชนบท สถานที่ อันเป็นส่วนชนบท แคว้น หรือราชธานีแห่งหนึ่ง แต่เป็นคนแก่เฒ่า หง่อมชรา มีอายุมาก เป็นผู้ร่ำรวยมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก บ้านของเขาสูงใหญ่โต กว้างขวาง สร้างมานานแล้ว และเก่าคร่ำคร่า เป็นทีอาศัยของคนได้ถึง200 คน 300 คน 400 คน หรือ 500 คน ก็แล บ้านหลังนั้นมีประตูเดียว มุ่งด้วยหญ้า หรืออาคารก็สั่นคลอน โคนเสาก็ผุ ปูนฉาบฝากะเทาะหลุดออก วันหนึ่ง บ้านหลังนั้น ถูกไฟไหม้อยู่รอบๆ อย่างรวดเร็ว คหบดีคนนั้น มีลูกหลายคนจะเป็น 5 คน 10 คน 20 คนก็ตาม (อยู่ในบ้าน) ส่วนเขาอยู่นอกบ้าน
ดูก่อนศาริบุตร ครั้งนั้นแล บุรุษ(คหบดี) ผู้นั้น เห็นบ้านของตนกำลังถูกกองไฟใหญ่ไหม้อยู่โดยรอบ ตกใจ สะดุ้งกลัว หวาดผวา คิดว่า เรามีพลังมาก สามารถจะวิ่งออกจาก บ้านหลังนี้ ซึ่งกองไฟใหญ่กำลังลุกไหม้อยู่ ได้อย่างเร็วและปลอดภัย ทางประตูบ้าน แต่ลูกเล็กทั้งหลายเหล่านี้ของเราสิ ขณะที่บ้านถูไฟไหม้อยู่ กำลังเล่นสนุกสนาน เพลิดเพลินกับของเล่นอยู่ เข้าไม่รู้ ไม่ทราบ ไม่เข้าใจ ไม่คิดและไม่เฉลียวใจว่า ไฟกำลังไหม้บ้านอยู่ เด็กทั้งหลายเหล่านี้ แม้จะถูกกองไฟใหญ่ลวก และได้รับทุกข์ทรมานอยู่ ก็มิได้ใส่ใจความทุกข์นั้นเลย พวกเขา ไม่ได้คิดถึงแม้แต่การจะหนีออกมา
ดูก่อนศาริบุตร บุรุษนั้น เป็นผู้มีพลัง มีท่อนแขนกำยำล่ำสัน เขาคิดว่า เรามีพลัง มีท่อนแขนล่ำสัน เราจะรวบรวมเด็กทั้งหมดนั้น เราจะรวบรวมเด็กทั้งหมดนั้น พากออกมาจากบ้าหลังนี้ และเขาก็คิดอีกว่า ได้ยินว่า บ้านหลังนี้มีประตูเข้าออกทางเดียว และประตูก็ปิดอยู่ พวกเด็กก็วิ่งไปมาอยู่ ทั้งตัวเราและเด็กๆ จงอย่างคิดถึงความพินาศเพราะไฟกองใหญ่นี้เลย เราจะเตือนเขาได้อย่างไรหนอ เมื่อคิดดังนี้แล้ว บุรุษนั้น ก็ได้บอกเด็กเหล่านั้นว่า ดูก่อนกุมารผู้เจริญทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงมาทางนี้ ขอให้เธอทั้งหลายออกมาข้างนอก ไฟกำลังไหม้บ้านอยู่ เธอทั้งหลาย จะถูกไฟกองใหญ่นี้ครอกถึงแก่ความตาย แต่ว่า เด็กเหล่านั้น ไม่เข้าใจ ไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ คำพูดของบุรุษผู้หวังดีนั้น และไม่กลัว ไม่สะดุ้งกลัว ไม่คิด ไม่วิ่งออกไป ทั้งนี้ เพราะเด็กเหล่านั้น ไม่รู้ ไม่เข้าใจว่า ไฟไหม้คืออะไร ตรงกันข้าม เด็กเหล่านั้นกลับวิ่งไปมา มองดูบิดาครั้งแล้วครั้งเล่า ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เป็นเพราะความโง่เขลานั่นเอง
ต่อแต่นั้น บุรุษนั้นคิดว่า บ้านหลังนี้ถูกไฟไหม้อย่างหนัก ขออย่างให้เราและเด็กๆ ต้องถึงความพินาศเพราะกองไฟใหญ่นี้เลย อย่างไรก็ตาม เราจะต้องนำพวกเด็กเหล่านี้ออกจากบ้านให้ได้ด้วยกุศโลบายสักอย่างหนึ่ง ก็แล บุรุษนั้น เป็นผู้รู้อัธยาศัย ใจคอของเด็กเหล่านั้นเป็นอย่างดี พวกเด็กมีของเล่นมากมาย ซึ่งเป็นของที่สวยงาม น่าปรารถนา น่าใคร่เป็นที่รัก เป็นที่พอใจและหาได้ยาก
ครั้งนั้น บุรุษนั้น ทราบอัธยาศัยของเด็กๆ อยู่ จึงได้พูดกะเด็กๆ ดูก่อนกุมารทั้งหลาย พวกเธอจงมาเอาของเล่นทั้งหลาย อันมีสีสรรสวยงามมากมาย น่าชมยิ่งนัก มีทั้งเกวียนเทียมโค เกวียนเทียมแพะ และเกวียนเทียมกวาง ทุกอย่างล้วนแต่น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจทั้งนั้น เราได้วางไว้ภายนอกประตู เพื่อให้พวกเธอได้เล่นกัน กุมารผู้เจริญทั้งหลาย จงพากันรีบออกมานอกบ้านนั้นเถิด เราจะให้เล่นของเล่น ที่พวกเธออยากได้กัน จงวิ่งออกมาเอาของเล่นกันเร็วๆ เด็กเหล่านั้น เพราะอยากได้ของเล่น เมื่อได้ยินชื่อของเล่นเหล่านั้น ซึ่งเป็นของเล่นที่สวยงาม น่ารัก น่าชื่นชม น่าปรารถนา ได้พยายามพากันวิ่งออกจากบ้าน ที่ไฟไหม้อย่างรวดเร็ว โดยไม่รอกันและกัน ด้วยหวังว่า ใครจะวิ่งถึงก่อนกัน
ครั้นบุรุษนั้น เห็นกุมารทั้งหลายเหล่านั้น วิ่งออกมาข้างนอกอย่างปลอดภัย ทราบว่าเขาเหล่านั้นปลอดภัย จึงออกมานอกหมู่บ้าน มีจิตใจปลาบปลื้ม ปรีดาปราโมทย์ หมดความข้องใจ ไร้ความเคลือบแคลงสงสัยและหวาดกลัว ก็แลกุมารเหล่านั้นได้เข้าไปหาบุรุษ ผู้เป็นบิดานั้นจนถึงที่(บิดานั่ง) ครั้นเข้าไปหาแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่บิดา ขอบิดาให้ของเล่นคือเกวียนเทียมโค เกวียนเทียมแพะ และเกวียนเทียมกวางต่างๆ ที่สวยงามเหล่านั้นแก่ลูกๆเถิด ดูก่อนศาริบุตร หลังจากนั้น บุรุษนั้น ได้ให้เกวียนเทียมโคทั้งหลาย ที่มีความเร็วปานลมพัดแก่บุตรของตนเหล่านั้น (เขา) ให้เกวียนเทียมโคทั้งหลาย ที่ประดับด้วยแก้ว 7 ประการ มีเบาะนั่ง มีกระดิ่งเล็กๆ ห้อยเรียงราย มีบังเหียนสูง ประกอบด้วยรัตนะอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง มีพวงมาลัยแก้ว และพวงมาลัยดอกไม้อันสวยงาม มีพรมปู มีเพาะรองนั่ง บุด้วยขนสัตว์ทั้งสองข้าง คลุมด้วยผ้าขาว อันเป็นเกวียนเทียมโคที่มีโคสีขาวและสีนวลวิ่งเร็วลากอยู่ พร้อมทั้งหมู่ชนจำนวนมากร่วมขบวนด้วย (เกวียนเทียมโคนั้น) มีรูปร่างลักษณะต่างๆกัน มีธงปักอยู่และวิ่งได้เร็วดุจลมพัด ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูก่อนศาริบุตร ที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่า บุรุษนั้นเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มียุ้งฉางมาก เขาคิดอย่างนี้ว่า เราให้ยานอื่นแก่เด็กๆ ทั้งหลาย เหล่านี้ไม่มีประโยชน์อะไร ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะว่า เด็กเหล่านี้ทั้งหมด เป็นบุตรของเรา ทุกคนเป็นที่รักใคร่ และปรารถนาของเรา เกวียนใหญ่ๆ เห็นปานนี้ของเรามีอยู่ เด็กเหล่านี้ทั้งหมดไม่ควรคิดว่า แตกต่างจากเรา แม้เรามียุ้งฉางมากมาย เรายังให้เกวียนใหญ่ๆ เห็นปานนี้แก่สัตว์ทั้งหลายได้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงบุตรของเราเล่า ในตอนนั้น พวกเด็กเหล่านั้นได้ขึ้นไปบนเกวียนใหญ่เหล่านั้นแล้ว รู้สึกประหลาดมหัศจรรย์ใจมาก ดูก่อนศาริบุตร เธอมีความคิดเห็นในเรื่องนี้เป็นอย่างไร บุรุษนั้น เป็นผู้กล่าวเท็จหรือไม่ โดยที่ตอนแรกนั้น เขาได้ชี้ให้กุมารดูเกวียนสามชนิด แต่ภายหลังเขาให้เกวียนใหญ่ที่สวยงามชนิดเดียว แก่เด็กทั้งหมดนั้น
พระศาริบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค หามิได้ ข้าแต่พระสุคต หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุรุษนั้นไม่เป็นผู้กล่าวเท็จ ด้วยเหตุนี้ เพราะว่า นั่นเป็นกุศโลบายที่บุรุษนั้นให้เด็กออกมาจากเรือน ที่กำลังไฟไหม้อยู่ได้ และเป็นการป้องกันชีวิตเด็กด้วย ข้อนั้น เป็นเพราะอะไร ข้อแต่พระผู้มีพระภาค เพราะว่า เด็กได้ทั้งชีวิต และของเล่นทุกอย่างแล้วข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าว่าบุรุษนั้น ไม่ให้เกวียนสักเล่มแก่เด็กทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เขาก็ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จ ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะว่า ครั้งแรก บุรุษนั้นคิดว่า เราจะปลดเปลื้องพวกเด็กให้พ้นจากกองทุกข์อันยิ่งใหญ่ ด้วยกุศโลบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ด้วยเหตุนี้คำพูดของเขา จึงไม่เป็นคำเท็จ จะป่วยกล่าวไปไย ในเมื่อบุรุษนั้นคิดว่า ตนมีทรัพย์สินมากมาย ทั้งเห็นว่า เรื่องความรักลูกเป็นสิ่งสำคัญ จึงได้มอบเกวียนใหญ่ชนิดเดียวให้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุรุษนั้น มิได้เป็นผู้กล่าวเท็จเลย
ครั้นพระศาริบุตรกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะพระศาริบุตรว่า ดูก่อนศาริบุตร ดีละ ดีละ ดูก่อนศาริบุตร ข้อนั้นเป็นอย่างที่เธอกล่าวนั่นแล ดูก่อนศาริบุตร เป็นอย่างนั้นแล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้พ้นจากภัยทั้งปวงแล้ว พ้นแล้วจากความท้อแท้ ความตรอมใจ อุปสรรค ทุกข์ โทมนัส และเครื่องกั้นคือความมืดมนอนธการ กล่าวคือ อวิชชาทั้งปวง โดยประการทั้งปวง และทุกเมื่อ พระตถาคตถึงพร้อมแล้วด้วยพลังแห่งพระญาณ ความแกล้วกล้าและพุทธธรรมอันวิเศษ มีพลังเกินกว่าพลังแห่งฤทธิ์ เป็นบิดาของชาวโลก มีบรมบารมีคือความรู้ในกุศโลบายที่ยิ่งใหญ่ มีมหากรุณาธิคุณ มีจิตใจผ่องใสเป็นผู้มุ่งประโยชน์ และอนุเคราะห์ชนทั้งปวง พระตถาคตอุบัติขึ้นมาในไตรโลกธาตุ อันเช่นกับ ที่อยู่อาศัย อันคร่ำคร่า ผุพัง กำลังถูกเผาด้วยกองทุกข์และโทมนัส อันใหญ่หลวง ด้วยประสงค์จะปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส และเครื่องกั้นคือความมืดมนอนธการ กล่าวคือ อวิชชา (ให้ออกจาก) จากราคะ โทสะ และ โมหะที่กำลังเบียดเบียนอยู่ โดยให้เข้าให้ถึงอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เมื่อพระตถาคตอุบัติขึ้นมา ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย กำลังถูกชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปยาส เผาไหม้จนเดือดร้อน เพียงเพื่อความสุขสนุกสนานในกามสัตว์ทั้งหลาย ย่อมได้รับความทุกข์อเนกประการ สัตว์ทั้งหลาย จะได้ความรับทุกข์อเนกประการในนรก กำเนิดดิรัจฉาน และยมโลกในอนาคต เนื่องจากกรรมที่ได้สะสมไว้ ทั้งในปัจจุบันและอดีต สัตว์ทั้งหลาย ย่อมประสบกับความยากไร้ ในเทวโลกและมนุษย์โลก ความทุกข์อันเกิดจากการพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ ณ สถานที่นั้นนั่นแล สัตว์ทั้งหลายจะจมอยู่ในกองทุกข์ ด้วยการเล่น ยินดี ท่องเที่ยวไป ไม่รู้สึกสะดุ้งหวาดกลัว ไม่หาสิ่งที่ป้องกัน ไม่รู้ ไม่คิด ไม่แสวงหาที่พึ่ง ยังยินดีในไตรโลกธาตุ ที่เป็นเหมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้ วิ่งพล่านไปมาอยู่ ทั่วทุกสารทิศ ก็แลสัตว์เหล่านั้น แม้ถูกกองทุกข์ใหญ่นั้นครอบงำ ก็ยังไม่ถึงมนสิการญาณ ในทุกข์นั่นเลย
ดูก่อนศาริบุตร ณ ที่นั่น พระตถาคตเห็นอย่างนี้ว่า ก็แลเรา (ตถาคต) ผู้เป็นบิดาของสัตว์เหล่านี้ ฉะนั้น เราต้องปลดเปลื้องสัตว์เหล่านี้ ให้พ้นจากกองทุกข์อันใหญ่หลวงนี้ และ เราจะต้องให้ความสุข คือพุทธญาณ ที่หาประมาณมิได้ เป็นอจินไตย แก่สัตว์เหล่านั้น โดยประการที่สัตว์เหล่านั้น ยังเล่น ยินดีเที่ยวไป และมีความสนุกสนานได้
ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตเห็นว่า ถ้าเราเข้าใจว่า เรามีพลังญาณและพลังฤทธิ์อยู่เรากล่าวสอนญาณ พละและความแกล้วกล้าแห่งตถาคต แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ โดยไม่มีอุบาย(ในการกล่าสอน) แล้ว สัตว์ทั้งหลายจะไม่พ้นทุกข์ด้วยธรรมเหล่านี้ ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เพราะว่า สัตว์เหล่านี้ ยังข้องอยู่ในกามคุณห้า เพราะความยินดีในไตรโลก ยังไม่หลุดพ้นไปจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปยาส เขาทั้งหลายยังถูกเผาไหม้อยู่ ยังไม่วิ่งออกจากไตรโลกธาตุ อันเปรียบเสมือนเรือนที่มีห้องเก่าคร่ำคร่า ที่ถูกไฟไหม้ จะบรรลุพุทธญาณได้อย่างไร
ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตก็เช่นกับบุรุษผู้นั้น คือบุรุษนั้น มีแขนที่แข็งแรง แต่ไม่ใช้แขนที่แข็งแรงทรงพลังนั้นเลย เขาช่วยเด็กเหล่านั้นให้ออกจากอาคาร ที่ไฟไหม้นั้นได้ ด้วยอุบายที่ชาญฉลาด และครั้นให้ออกมาได้แล้ว ภายหลังได้ให้เกวียนใหญ่ ที่สง่างาม แก่เด็กเหล่านั้นอีกด้วย ดูก่อนศาริบุตร ในทำนองเดียวกันนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เพียบพร้อมไปด้วยพลังญาณและความแกล้วกล้าแห่งตถาคต แต่ก็ไม่ใช้พลังแห่งญาณและความกล้าหาญแห่งตถาคตนั้นเลย ด้วยเหตุที่จะให้สัตว์ทั้งหลายออกจากไตรโลกธาตุ อันเปรียบเหมือนเรือนที่มีห้องเก่าคร่ำคร่า ที่กำลังถูกไฟไหม้ให้ได้ จึงแสดงยานสาม คือสาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตว์ยาน ด้วยความเข้าใจในกุศโลบาย พระตถาคตให้สัตว์ทั้งหลาย ปรารถนายานทั้งสามนั้น และตถาคตก็กล่าวกับสัตว์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงอย่ายินดีในโลกธาตุทั้งสาม อันเช่นกับเรือนที่กำลังถูกไฟไหม้ในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสที่เลว เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายยินดีแล้วในโลกธาตุทั้งสาม ก็จะถูกเผาไหม้ด้วยตัณหาที่มาคู่กับ (สหรคต) กามคุณห้า ซึ่งจะทำให้เดือดร้อนอยู่เสมอ ท่านทั้งหลายจงหนีออกจากโลกธาตุทั้งสามนี้เสีย จงยึดเอายานสามนี้ คือ สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตว์ยาน เราเป็นประกันในเรื่องนี้ เราจะให้ยานทั้งสามเหล่านี้ ท่านทั้งหลาย จงพยายามหนีออกจากโลกธาตุทั้งสามเถิด เราได้พูดปลอบใจเขาเหล่านั้นว่า ดูก่อนสรรพสัตว์ผู้เจริญ ยานทั้งสามเหล่านี้ เป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ เป็นสิ่งที่น่ารื่นรมย์ยิ่ง ท่านทั้งหลาย จักสนุกสนานรื่นเริงพอใจกับยานเหล่านี้อย่างสมบูรณ์ ท่านทั้งหลาย จักได้รับความยินดีมากมาย ด้วยสิ่งเหล่านี้คือ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ ญาณ วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ท่านทั้งหลาย จะได้รับความสุข โสมนัส อย่างยิ่งใหญ่
ดูก่อนศาริบุตร สัตว์เหล่าใด เป็นผู้มีปัญญา ชาญฉลาด สัตว์เหล่านั้น ย่อมศรัทธาต่อพระตถาคต ผู้เป็นบิดาของชาวโลก และครั้นมีศรัทธาแล้ว ย่อมพอใจ กระทำความเพียรพยายามในคำสอนของตถาคต บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์พวกหนึ่ง หวังจะฟังคำสอนอันประเสริฐสุด พอใจปฏิบัติตามคำสอนของตถาคต เพื่อบรรลุอริยสัจสี่ อันเป็นเหตุแห่งการได้พระนิพพาน สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้มุ่งหวังสาวกยาน แล้ววิ่งออกจากโลกธาตุทั้งสามเหมือนเด็กที่ปรารถนาเกวียนเทียมกวาง พากันวิ่งออกมาจากเรือนที่ไฟกำลังไหม้นั้น
สัตว์จำพวกหนึ่ง หวังจะได้ญาณทมะและความสงบสุข อันปราศจากผู้เป็นครูอาจารย์ พยายามปฏิบัติตามคำสอนของพระตถาคต เพื่อรู้เหตุและปัจจัยทั้งหลาย เพราะเหตุที่จะทำให้ตนบรรลุพระนิพพาน สัตว์เหล่านั้นเรียกว่า เป็นผู้มุ่งหวังปัจเจกพุทธยาน พากันวิ่งออกจากโลกธาตุทั้งสาม เหมือนพวกเด็ก ที่ปรารถนาเกวียนเทียมแพะ พากันวิ่งออกมาจากเรือนที่ไฟกำลังไหม้นั้น และสัตว์อีกจำพวกหนึ่งหวังสัพพัญญูตญาณ พุทธญาณ สยัมภูญาณ อันเป็นญาณที่ปราศจากครูผู้สอน พยายามปฏิบัติตามคำสอนของพระตถาคต เพื่อรู้ญาณพละและความแกล้วกล้าแห่งพระตถาคต เพราะเหตุที่ทำให้สัตว์ทั้งปวงบรรลุพระนิพพาน เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของชนหมู่ใหญ่ รวมทั้งเทวดาและมนุษย์ สัตว์จำพวกนี้เรียกว่า เป็นผู้มุ่งหวังมหายาน พากันวิ่งหนีออกจากโลกธาตุทั้งสาม ด้วยเหตุนั้น สัตว์จำพวกนี้จึงถูกเรียกว่า พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ เปรียบเหมือนพวกเด็กปรารถนา เกวียนเทียมโค พากันวิ่งออกมาจากเรือนที่กำลังไฟไหม้นั้น
ดูก่อนศาริบุตร บุรุษนั้น เห็นพวกเด็กเหล่านั้น วิ่งออกมาจากเรือนที่ถูกไฟไหม้นั้นได้ด้วยความเกษมสำราญ และรู้แล้วว่า พวกเด็กเหล่านี้ พ้นจากอันตรายและได้ถึงความปลอดภัยแล้ว ทั้งยังทราบว่า ตนเองเป็นผู้มีทรัพย์มาก จึงให้เกวียนที่สวยงาม เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแก่เด็กเหล่านั้น ฉันใด ดูก่อนศาริบุตร เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นว่าสัตว์จำนวนหลายโกฏิ เป็นผู้พ้นแล้วจากโลกธาตุ และพ้นแล้วจากทุกข์ภัยอุปัทวันตราย ได้หนีออก(จากทุกข์ทั้งปวง) ทางประตูคือคำสอนของตถาคต และหลุดพ้นแล้วจากภัยอุปัทวันตราย และสิ่งที่ทุรกันดาร เป็นผู้ถึงความสุขสงบแล้ว ดูก่อนศาริบุตร เมื่อนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประภูตะ ทราบว่า ตนเป็นคลังแห่งญาณอันยิ่งใหญ่ พละและความแกล้วกล้ามากมาย ทั้งยังทราบว่า สัตว์ทั้งปวงเป็นบุตรของตน จึงให้สัตว์เหล่านั้นนิพพาน (ดับ) ด้วยพุทธยานเท่านั้น ฉันนั้น ก็แล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไม่กล่าวนิพพาน เฉพาะอย่าง แก่สัตว์แต่ละคน แต่ว่า พระตถาคตจะให้สัตว์ทั้งหมด ปรินิพพาน ด้วยนิพพานของตถาคต ที่เป็นมหาปรินิพพาน ดูก่อนศาริบุตร สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นแล้วจากไตรโลกธาตุพระตถาคตให้ของเล่นทั้งหลาย ที่วิเศษในรูปของฌาน โมกษะ สมาธิ และสมาบัติ ที่น่ารื่นรมย์และเป็นบรมสุข (แต่) ของเล่นเหล่านั้นทั้งหมด เป็นชนิดเดียวกัน ดูก่อนศาริบุตร ฉันใด ก็ฉันนั้น บุรุษนั้น ไม่ใช่มุสาวาที (ผู้กล่าวเท็จ) ในข้อที่เขาบอกว่า จะให้เกวียนสามชนิด แล้วให้เกวียนใหญ่ชนิดเดียวแก่เด็กเหล่านั้น เขาให้เกวียนชนิดเดียว ที่ทำด้วยรัตนะ 8 ประการ ตกแต่งประดับประดาสวยหรู เป็นเกวียนที่ดีเลิศ ดูก่อนศาริบุตร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไมได้เป็นมุสาวาที (ผู้กล่าเท็จ) ในข้อที่พระตถาคต ชี้แจง แสดงยานสามอย่าง ด้วยกุศโลบายในตอนแรก แล้วภายหลังให้สัตว์ทั้งหลายปรินิพพานด้วยมหายาน ข้อนั้น เป็นเพระเหตุไร ดูก่อนศาริบุตร เพราะว่า พระตถาคต มีญาณพละและความแกล้วกล้ามากมาย มีพลังพอที่จะแสดงธรรม ที่สหรคตด้วยญาณทั้งปวง แก่สัตว์ทั้งหมด ดูก่อนศาริบุตร โดยปริยายนี้ เธอพึงทราบอย่างนี้ว่า พระตถาคต ชี้แจ้ง แสดงมหายานอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยกุศโลบายและอภินิหารที่มีอยู่
ก็ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระคาถาเหลานี้ว่า
39 สมมติว่า บุรุษผู้หนึ่ง มีบ้านหลังใหญ่ ที่เก่าแก่และทรุดโทรม ตัวอาคารชำรุด โคนเสาก็ผุกร่อน
40 หน้าต่างและห้อง (ของบ้านหลังนั้น) ก็เอนเอียง ปูนที่ฉาบผนังก็ผุกร่อน อันแสดงว่าสร้างต่อเติมมาช้านานแล้ว หลังคาที่มุงด้วยหญ้า ก็หลุดร่วงลงมาทุกด้าน
41 ในบ้านหลังนั้น มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า 500 คน ห้องพักจำนวนมากเต็มไปด้วยอุจจาระ น่ารังเกียจยิ่ง
42 ณ บ้านนั้น จันทันก็หัก กำแพงและฝากั้นหลุดร่วงลงมา มีนกแร้ง นกพิราบ นกฮูก และนกอื่นๆ จำนวนมากอาศัยอยู่
43 ณ บ้านนั้น ตามซอกมุม มีงูพิษร้ายกาจ น่าสะพึงกลัวจำนวนมาก อาศัยอยู่แม้แมลงป่องและหนูชนิดต่างๆ ก็มีมาก บ้านนั้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้ายหลายชนิด
44 (ในบ้านนั้น) มีอมนุษย์จำนวนไม่น้อยก็อาศัยอยู่ ที่นั่นที่นี้มีกองอุจจาระปัสสาวะอยู่เกลื่อนกลาด เต็มไปด้วยตัวหนอน แมลงเม่าและแมลงอื่นๆ มีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเห่าหอนอยู่เป็นนิจ
45 ณ ที่บ้านนั้น มีสุนัขป่าที่น่ากลัว กำลังกินซากศพมนุษย์เป็นอาหาร สุนัขบ้าน และสุนัขจิ้งจอกจำนวนมาก คอยจ้องมองหาซากศพของมนุษย์เหล่านั้น
46 สัตว์เหล่านั้นหิวโหยโรยแรง เที่ยวหากินไปตามที่ต่างๆ ทั้งทะเลาะกันเอง เสียงดังลั่น บ้านหลังนั้นมีสภาพเป็นเช่นนี้
47 แม้ยักษ์ร้ายใจโหด ซึ่งคอยขบเคี้ยวกินซากศพมนุษย์จำนวนมาก ก็มีที่บ้านนั้น ณ ซอกต่างๆ ในบ้านนั้น ยังมีทั้งตะขาบ โคถึก และสัตว์ร้ายหลายชนิด
48 สัตว์ทั้งหลาย เข้าไปอยู่ในจุดต่างๆ กระทำที่อยู่อาศัยและตกลูก และพวกยักษ์ เหล่านั้น ก็จับกินลูกของมันอยู่บ่อยๆ
49 ก็แล ณ บ้านนั้น เมื่อใดยักษ์ร้ายใจโหดเหล่านั้น กินเนื้อสัตว์อื่นๆ จนมีร่างกายอ้วนพีแล้ว เมื่อนั้น (มัน)ก็จะต่อสู้กัน อย่างน่าสะพรึงกลัวยิ่ง
50 ณ ซอกที่เปลี่ยว มีพวกยักษ์แคระมากมาย ซึ่งมีจิตโหดร้ายทารุณ อาศัยอยู่ พวกยักษ์แคระเหล่านี้ สูงขนาด 1 คืบบ้าง 1 ศอกบ้าง 2ศอกบ้าง เคลื่อนไหวไปมาอยู่ ณ ที่นั้น
51 ณ ที่นั่น ยักษ์แคระเหล่านั้น จับสุนัขทั้งหลายฟาดลงกับพื้นบ้าง หยิกและทุบที่คอสุนัขบ้าง ทรมานสุนัขให้เกิดความเจ็บปวดบ้าง (แล้วตนเอง)ก็ชอบใจ
52 ณ ที่นั่น มีเปรตนานาชนิดจำนวนมาก อาศัยอยู่ เปรตเหล่านั้น มีรูปร่างใหญ่โต สูง ดำ ทุพพลภาพ อดโซ เที่ยวแสวงหาอาหาร ส่งเสียงโหยหวน ไปมาที่นั่นที่นี่
53 (เปรต) บางพวก มีปากเท่ารูเข็ม บางพวกมีหน้าเหมือนวัว บางพวกมีขนาดเท่ามนุษย์ และบางพวกเท่าสุนัข มีผมยาวรุงรัง มีความทุกข์และอดอยากอาหาร กำลังร้องโหยหวนอยู่
54 ยักษ์ เปรต ปีศาจ และแร้งทั้งหลาย ซึ่งอาศัยอยู่ที่นั่น มองหาอาหารทางช่องโหว่และหน้าต่าง ทั้งสี่ทิศตลอดเวลา
55 บ้านหลังนั้นสูงใหญ่ ไม่มั่นคง น่ากลัวอย่างนี้ เป็นบ้านที่เก่าคร่ำคร่า ปรักหักพังและมีช่องโหว่(แต่) เป็นสมบัติ ของบุรุษหนึ่ง
56 ก็แล ขณะที่บุรุษนั้น อยู่นอกบ้าน ได้เกิดไฟไหม้บ้านหลังนั้นขึ้น เปลวไฟเป็นพันๆได้ลุกลามไปรอบๆทั้งสี่ทิศอย่างรวดเร็ว
57 คานและไม้(เครื่องบนของเรือน)ทั้งหลาย ที่ถูกไฟลุกเผาไหม้ ส่งเสียงปะทุรุนแรงน่าสะพรึงกลัวยิ่ง ไฟลุกลามติดเสาและฝาเรือนไปจนทั่ว ยักษ์และเปรตส่งเสียงร้องโหนหวนงะงมไปทั่ว
58 แร้งจำนวนหลายร้อย และพวกกุมภัณฑ์ไม่ใช่น้อย ที่ถูไฟลวก หน้าตาไหม้ เกรียมพากันวิ่งพล่าน สัตว์หลายร้อยรอบๆนั้น ถูกไฟลวกพากันร้องระงม
59 ณ ที่นั้น ปีศาจจำนวนมาก ที่โชคร้าย ถูกไฟลวกพากันวิ่งพล่าน ปีศาจเหล่านั้น ขณะที่ถูกไฟลวกอยู่ ได้กัดซึ่งกันและกัน จนเลือดไหลโซม
60 สุนัขป่าจำนวนมากได้ตายไป และสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็เคี้ยวกินซึ่งกันและกันอุจจาระเมื่อถูกไฟไหม้มีกลิ่นเหม็น ฟุ้งกระจายไปในโลก ทั่วทุกสารทิศ
61 ตะขาบทั้งหลาย ที่วิ่งหนีไปมา ก็ถูกพวกกุมภัณฑ์จับกิน พวกเปรตที่ถูกความหิวกระหาย และความร้อนแผดเผาอยู่ ถูกไฟไหม้เส้นผมพากันวิ่งพล่าน
62 บ้านหลังนั้น มีเปลวไฟจำนวนพันลุกลามไปทั่ว ตกอยู่ในสภาพอันน่ากลัวเช่นนี้ และบุรุษผู้เป็นเจ้าของบ้านนั้น ได้ยืนมองดูอยู่ที่ภายนอกประตู
63 และเขาได้ยิน(เสียง)บุตรของตน ซึ่งมีจิตใจจดจ่ออยู่กับการเล่น กำลังเล่นกันอยู่อย่างสนุกสนาน เหมือนกับคนโง่ที่ไม่รู้อะไรเลย
64 บุรุษนั้น ครั้นได้ยินแล้วก็เข้าไปช่วยบุตรโดยเร็ว ด้วยเกรงว่าเด็กน้อยทั้งปวงของเขา ซึ่งยังโง่เขลาเบาปัญญา จะถูกไฟไหม้ แล้วจะต้องตายโดยเร็ว
65 เขา (บุรุษนั้น) ได้บอกถึงอันตรายที่เกิดจากบ้านหลังนั้นแก่เด็กทั้งหลาย โดยร้องตะโกนว่า ดูก่อนกุลบุตรผู้เจริญ อาคารหลังนี้มีอันตรายใหญ่หลวง ที่จะก่อให้เกิด ความทุกข์ สัตว์นานาชนิด มีอยู่ในอาคารหลังนี้ และไฟก็กำลังลุกไหม้อาคารอยู่ จะก่อให้เกิดทุกข์ยิ่งขึ้น
66 ในบ้านหลังนี้มีงูพิษ ยักษ์กุมภัณฑ์ เปรต ทีมีจิตใจโหดร้ายจำนวนมาก ทั้งยังเป็นที่อาศัยของหมู่สุนัขป่า สุนัขจิ้งจอก และนกแร้งทั้งหลาย ที่กำลังบินหาเหยื่ออยู่
67 ในบ้านหลังนี้ มีสัตว์ทั้งหลายจำนวนมากเห็นปานนี้ อาศัยอยู่ แม้จะไม่มีไฟ(ลุกไหม้) มันก็น่ากลัวยิ่งแล้ว แต่บัดนี้มีไฟลุกอยู่รอบด้าน รังแต่จะก่อให้เกิดความทุกข์ยิ่งขึ้นแต่อย่างเดียว
68 เด็กเหล่านั้น ผู้โง่เขลาเบาปัญญา ซึ่งเพลิดเพลินอยู่กับการเล่น แม้บิดาจะตะโกนบอกอยู่อย่างนั้น ก็มิได้คิดถึงคำพูดของบิดาและมิได้ใส่ใจ (มนสิการ) ในคำพูดของบิดา
69 ณ ที่นั้น ในขณะนั้น บุรุษนั้นได้คิดว่า เรามีทุกข์มาก เพราะคิดถึงเรื่องลูก ณ ที่นี้ จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา ที่มีลูกแล้วกลับไม่มี ฉะนั้น ลูกของเราจะต้องไม่ถูกไฟไหม้
70 ที่นั้น เขา (บุรุษนั้น) คิดว่า เด็กเหล่านี้ ชอบของเล่น ที่เด็กชอบของเล่นนั้น ก็เพราะความโง่เขลาเบาปัญญานั่นเอง
71 บุรุษนั้น จึงกล่าวกับเด็กเหล่านั้นว่า ดูก่อนกุมาร พวกเธอจงฟัง เรามีเกวียนหลายชนิด เทียมด้วยกวาง แพะและโค สูงใหญ่ ตกแต่งไว้สวยงามมาก
72 เกวียนเหล่านั้นอยู่ข้างนอกบ้าน ขอให้พวกเจ้าทั้งหลาย จงวิ่งออกมาข้างนอกบ้านเถิด แล้วรับเอกเกวียนไปเล่นกัน พ่อได้ให้เขาทำไว้สำหรับพวกเจ้า ขอให้ออกมาพร้อมกัน และเล่นของเล่นนั้นให้สนุกเถิด
73 เด็กทั้งเหล่านั้น พอได้ยินว่า เกวียนเท่านั้น ก็รีบวิ่งออกมาโดยเร็ว เพียงชั่วขณะเดียวเท่านั้น ทุกคนก็มายืนข้างนอกบ้าน อย่างปลอดภัย
74 บุรุษนั้น ซึ่งนั่งอยู่ที่ตั่ง ณ สี่แยกท่ามกลางหมู่บ้าน ครั้นเห็นเด็กทั้งหลายออกมานอกบ้านแล้ว จึงกล่าวกะเด็กเหล่านั้นว่า ดูก่อนนรชนทั้งหลาย ขณะนี้เราสบายใจแล้ว
75 บุตรคือโอรสที่น่ารักทั้งยี่สิบคนของเรา กำลังประสบความทุกข์ พวกเขากำลังอดทนอยู่ในเรื่องที่น่าสยดสยอง น่าสะพรึงกลัวและมีสัตว์ร้ายมากมาย
76 ขณะที่ไฟจำนวนพันกำลังลุกไหม้อยู่นั้น เด็กทั้งหลาย กำลังร่าเริงสนุกสนานอยู่กับการเล่น ขณะนี้เราได้ทำให้พวกเขาทั้งหมด พ้นจากความเดือดร้อนแล้ว ฉะนั้น เราจึงรู้สึกปลาบปลื้มใจมาก
77 เด็กทั้งหลายทราบว่า บิดานั่งอยู่อย่างสบายใจ จึงเข้าไปหาและพูดว่า ข้าแต่บิดาขอท่านจงให้เกวียน ที่สวยงาม ทั้งสามชนิด (แก่ลูก)ตามที่ท่านให้คำสัญญาไว้ด้วยเถิด
78 ข้าแต่บิดา ถ้าคำพูดทั้งหมด ที่ท่านจะให้เกวียนสามชนิด ซึ่งท่านพูดที่เรือนหลังโน้นเป็นจริงละก็ ขอท่านจงให้เกวียนสามชนิดนั้นแก่ลูกเถิด บัดนี้ถึงเวลาแล้ว
79 บุรุษนั้น เป็นผู้มั่งคั่ง มีทอง เงิน แก้วมณี แก้วมุกดา ทองแท่ง และข้าทาสบริวารจำนวนมาก (แต่ให้) เกวียนชนิดเดียวเท่านั้นแก่ลูก
80 คือเกวียนเทียมโคอย่างดี ประดับด้วยวัตถุมีค่า มีที่นั่ง มีกระดิ่งติดเป็นทิวแถว ประดับตกแต่งด้วยสัปทน และธง คลุมด้วยตาข่ายมุกดาและมณี
81 (เกวียนเหล่านั้น) ประดับด้วยพวงมาลัย ที่ทำด้วยดอกไม้ทองคำ ห้อยย้อย ณ ที่ต่างๆ ประดับด้วยผ้าสวยงาม คลุมด้วยเนื้อดีสีขาว
82 (เกวียนเหล่านั้น) มีเบาะทำด้วยผ้าที่อ่อนนุ่ม ปูพรม มีรูปนกยางและหงส์สวยงาม มีมูลค่านับหลายพันโกฏิ
83 โคทั้งหลายที่เทียมเกวียนประดับรัตนะนั้น เป็นโคร่างใหญ่ สีขาว อ้วนพี มีพลังสง่างามและมีบุรุษผู้ดูแลมากมาย
84 บุรุษนั้น (บิดา) ได้ให้เกวียน อันสวยงาม ประเสริฐยิ่งเช่นนั้น แก่บุตรทั้งหมดและบุตรเหล่านั้น มีใจบิติยินดีขับเกวียนเหล่านั้น เล่นสนุกสนานไปทั่วทุกสารทิศ
85 ดูก่อนศาริบุตร ในทำนองเดียวกัน เราเป็นผู้รอบรู้ เป็นผู้คุ้มครองรักษา และเป็นบิดาของสัตว์ทั้งหลาย และสัตว์ทั้งปวงซึ่งมีปัญญาน้อย ข้องติดอยู่ในกามคุณ ในโลกทั้งสามนั้น ก็เป็นบุตรของเรา
86 โลกทั้งสามนั้นเปรียบเหมือนบ้านหลังนั้น ซึ่งเป็นสถานที่อันน่ากลัว เต็มไปด้วยความทุกข์หลายร้อยประการ ถูกไฟคือ ชาติ ชรา และพยาธิ หลายร้อยชนิดเผาไหม้ไปทั่ว
87 ส่วนเราได้หลุดพ้นแล้วจากโลกทั้งสาม เพียงผู้เดียว มีความสงบ อาศัยอยู่ในป่า โลกทั้งสามนี้ เป็นอาณาจักรของเรา สัตว์ทั้งหลายที่ถูกแผดเผาอยู่ในโลกนั้น คือบุตรของเรา
88 ณ ที่นั้น เราเอง ได้ชี้โทษและบอกเครื่องป้องกัน แก่สัตว์เหล่านั้น แต่สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้โง่เขลา เบาปัญญา มีจิตหมกมุ่นในกามคุณ ไม่ฟังคำของเรา
89 เราจึงใช้ความฉลาดในอุบาย แสดงยานสามแก่พวกเขาเหล่านั้น และให้พวกเขาได้รู้จักทุกข์นานัปการ ในโลกธาตุทั้งสาม แล้วแสดงอุบาย เพื่อการหนีออก (จากทุกข์)
90 บุตรทั้งหลาย (สัตว์ทั้งหลาย) ที่เชื่อฟังเรา จักตั้งอยู่ในฐานะต่างกันคือจักได้อภิญญาหก วิชชาสาม และมีอานุภาพมาก เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระโพธิสัตว์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง
91 เราแสดงพุทธยานอันเลิศนี้ ด้วยอุทาหรณ์ (ตัวอย่าง) อันประเสริฐ แก่บุตรทุกคนว่า ท่านทั้งหลาย จงรับเอาพุทธยานที่เป็นเลิศนี้ ท่านทั้งหมดจักเป็นพระชินเจ้า
92 ญาณ (ธรรม) ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ เป็นสิ่งวิเศษสุด น่าปรารถนา เป็นสิ่งที่ดีงาม และน่ากราบไหว้บูชาในโลกนี้
93 พละทั้งหลาย ฌานทั้งหลาย วิโมกษ์ทั้งหลายและสมาธิ จำนวนร้อยโกฏิใช่น้อย นี้คือยาน (เกวียน) อันประเสริฐยิ่งที่พุทธบุตรทั้งหลายพึงพอใจทุกเมื่อ
94 เมื่อพุทธบุตรพอใจอยู่อย่างนี้ เวลาได้ผ่านพ้นไปเป็นวัน คืน ปักษ์ เดือน ฤดู ปี กัลป์ และพ้นโกฏิกัลป์
95 ยานนี้เป็นรัตนยาน อันประเสริฐสุด ที่พระโพธิสัตว์ผู้ยินดี และสาวกทั้งหลายของพระสุคตไปฟัง ที่โพธิมณฑลนี้
96 ดูก่อนติษยะ (ศาริบุตร) เธอจงเข้าใจอย่างนี้ว่า ในโลกนี้ ไม่ว่าจะไปแสวงหา ณ ที่ใดในสิบทิศนี้ ยานที่สองนั้นไม่มี เว้นเสียแต่เป็นอุบายของพระตถาคตเท่านั้น
97 เธอทั้งหลาย เป็นบุตรของเรา เราเป็นบิดาของพวกเธอ เราเป็นผู้นำของพวกเธอ ซึ่งกำลังเร่าร้อนอยู่เพราะความทุกข์ เป็นระยะเวลาหลายโกฏิกัลป์ ให้ออกจากโลกที่น่ากลัวทั้งสาม
98 เรากล่าวถึงพระนิพพาน ณ ที่นี้อย่างนี้ แต่พวกเธอยังไม่บรรลุพระนิพพานอย่างนั้น แม้พวกเธอได้พ้นทุกข์ในสังสารวัฏ ณ ที่นี้ แต่พวกเธอ ก็ควรแสวงหาพุทธยานเท่านั้น
99 พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ณ ที่นี้ ทั้งหมดไดฟังกฎเกณฑ์แห่งพุทธธรรมของเรา นี้คือกุศโลบายของพระชินเจ้า ที่ได้แนะนำพระโพธิสัตว์จำนวนมาก
100 ในเวลาใด สัตว์ทั้งหลาย ในโลกนี้ เป็นผู้ยินดีในกามทั้งหลาย ที่เลวทราม น่ารังเกียจ ในเวลานั้น พระผู้นำแห่งโลก ผู้ไม่มีวาทะเป็นอย่างอื่น จะกล่าวถึงทุกข์ที่เป็นอริยสัจ
101 ก็แล แม้ชนเหล่าใด ที่ไม่รู้และโง่เขลาเบาปัญญา ไม่เห็นมูลเหตุแห่งความทุกข์ เราก็จะชี้ทางให้แก่ชนเหล่านั้นว่า "ตัณหาที่เกิดขึ้นเป็นเหตุแห่งความทุกข์"
102 การดับตัณหาโดยไม่เหลือทุกเมื่อ ชื่อว่านิโรธสัจ ซึ่งเป็นสัจที่สามแห่งเรา บุคคลผู้ปฏิบัติตามมรรคนั้น จักเป็นผู้หลุดพ้นได้อย่างแน่นอน
103 ดูก่อนศาริบุตร ชนทั้งหลายหลุดพ้นจากอะไรเล่า เขาทั้งหลายจะหลุดพ้นจากการยึดมั่นในสิ่งที่ไม่เป็นจริง แต่พวกเขายังไม่หลุดพ้นโดยสิ้นเชิง ตถาคตจึงเรียกพวกเขาว่า ผู้ยังไม่นิพพาน
104 เพราะเหตุไร เราจึงไม่เรียก ผู้ทียังไมบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณว่า เป็นผู้หลุดพ้น ข้อนี้เป็นประสงค์ของเรา เราเป็นธรรมราชา อุบัติขึ้นมาเพื่อความสุขของชาวโลก
105 ดูก่อนศาริบุตร นี้คือธรรมอันประเสริฐแห่งเรา ที่แสดงในวันนี้ เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก พร้อมทั้งเทวดา ของเธอจง(นำไป)แสดงให้ทั่วทุกสารทิศด้วยเถิด
106 เมื่อเธอแสดงแล้ว หากผู้ใดผู้หนึ่งรับเอาพระสูตร ด้วยความเคารพ แล้วพึงกล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอรับเอาด้วยความยินดี" เธอจงเข้าใจผู้นั้นว่า จะไม่เปลี่ยนแปลงอีกแล้ว
107 ผู้ที่เชื่อในพระสูตรนี้ คือผู้ที่ได้พบ พระตถาคตทั้งหลายในอดีตมาแล้ว ได้สักการะพระตถาคตทั้งหลายมาแล้ว และได้ฟังธรรมอย่างนี้มาแล้ว
108 คนที่ศรัทธาในคำสอนของเรา คือผู้ที่เคยเห็นเรา เห็นเธอ เห็นภิกษุสงฆ์ทั้งปวงของเรา และเห็นพระโพธิสัตว์ทั้งปวงเหล่านี้มาแล้ว
109 เราแสดงพระสูตรนี้ แก่ผู้ที่มีความรู้เป็นเลิศ พระสูตรนี้อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดสำหรับชนผู้มีปัญญาน้อย ที่จริงแล้ว พระสูตรนี้ก็มิใช่วิสัยของสาวกทั้งหลายและมิใช่คติของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ณ ที่นี้ด้วย
110 ดูก่อนศาริบุตร ท่านเข้าถึงพระนิพพาน แต่สาวกรูปอื่นๆ ของเราละ พวกเขาศรัทธา ดำเนินตามเรา แต่พวกเขายังไม่ถึงญาณวิเศษอะไรเลย
111 เธอจงอย่าแสดงธรรมนี้แก่คนหัวดื้อ คนมีทิฏฐิมานะ และพวกโยคีผู้ไม่สำรวม เพราะพวกเขาเป็นผู้โง่เขลา มัวเมาในกามทั้งหลาย เป็นคนเบาปัญญา จะดูหมิ่นธรรมที่แสดงนั้น
112 คนที่ดูหมิ่นอุบายโกศลและพุทธธรรมของเรา ที่มีอยู่ในโลกนี้ และแสดงอาการหน้านิ่วคิ้วขมวด ดูหมิ่นยาน (ธรรม) ของเรา เธอจงฟังวิบากกรรมของเขา (ผลที่เขาได้รับนั้น) ต่อไป
113 ไม่ว่าเรายังมีชีวิตอยู่หรือนิพพานไปแล้ว ผู้ที่ดูหมิ่นพระสูตรเช่นนี้ หรือดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย เธอจงฟัง วิบากกรรมของเขา จากเรา (ซึ่งจะเล่าต่อไป)
114 เข้าทั้งหลาย เคลื่อน(จุติ) จากมนุษย์โลกแล้ว จะไปเกิดในอเวจีมหานรก เป็นเวลาหนึ่งกัลป์บริบูรณ์ พวกเขาผู้โง่เขลา เมื่อเคลื่อนจากอเวจีมหานรกนั้นแล้ว ก็จะไปตกอเวจีมหานรกครั้งแล้ว ครั้งเล่า เป็นเวลาหลายกัลป์
115 ก็แล ในเวลาที่พวกเขาเคลื่อนจากนรกแล้ว ส่วนมากจะไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานคือ เป็นสุนัขบ้านบ้าง สุนัขจิ้งจอกบ้าง เป็นผู้ไม่แข็งแรง กลายเป็นเครื่องเล่นของผู้อื่น
116 ณ ที่นั้น พวกเขา (สัตว์ทั้งหลาย) ผู้ที่รังเกียจโพธิญาณอันประเสริฐของเราย่อมเป็นผู้มีร่างกายด่างดำ เต็มไปด้วย แผล ฝี หิด ไม่มีขน และมีกำลังอ่อนแอ
117 พวกเขาจะถูกผู้อื่นรังเกียจเป็นนิจ จะถูกทำร้ายด้วยอาวุธ ร้องคร่ำครวญ ถูกโบยด้วยท่อนไม้ หิว กระหาย ผอมโซ ในที่ทุกนั้นๆ
118 พวกเรา ที่โง่เขลาเบาปัญญา ดูถูก กล่าวร้ายพุทธธรรม ย่อมไปเกิดเป็นอูฐบ้าง ลาบ้าง ต้องบรรทุกของหนัก ถูกโบยตีด้วยแซ่และท่อนไม้ คิดถึงแต่เรื่องอาหาร
119 แลบางคราว พวกเขา ผู้โง่เขลา ไปเกิดเป็นสุนัข รูปร่างน่าเกลียด ตาบอด พิการ(ต่ำทราม) ถูกเด็กชาวบ้านโบยตี และทำร้ายด้วยอาวุธ
120 หลังจากตายไปแล้ว พวกเข้าผู้โง่เขลา จะไปเกิดเป็นสัตว์ มีร่างกายสูงห้าร้อยโยชน์โง่เง่า ทึมทึกมากยิ่งขึ้น
121 (บางคราว เขาเหล่านั้น ผู้ดูหมิ่นพระสูตรเห็นปานนี้ ย่อมไปเกิดเป็นสัตว์ไม่มีเท้า ต้องเลื้อยคลาน แตะถูกสัตว์อื่นจำนวนหลายโกฏิ กัดกิน ย่อมประสบเวทนา อย่างทารุณยิ่ง
122 แลเขาทั้งหลาย ผู้ซึ่งไม่ศรัทธาในพระสูตรของเรา เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นคนพิการ เป็นง่อย ค่อม ตาบอด โง่ และต่ำทราม
123 เขาทั้งหลาย ซึ่งไม่เชื่อในพุทธโพธิญาณ จะเป็นผู้ที่ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย ในโลกนี้ เป็นคนมีกลิ่นปากเหม็น มีวิญญาณร้าย (ยักษ์) สิ่งอยู่ในร่างกายของเขา
124 เขาทั้งหลาย จะเป็นคนยากจน ทำงานขั้นต่ำ อาศัยผู้อื่นเป็นนิจ มีกำลังอ่อนแอ มีโรคภัยมากมาย อยู่ในโลกนี้ อย่างผู้อนาถา
125 เขาทั้งหลาย จะเป็นคนรับใช้ในที่นั้นๆ เป็นผู้ไม่ปรารถนาจะให้แก่ใคร และของที่คนอื่นให้มาแล้วก็จะสูญหายไปอย่างรวดเร็ว ผลแห่งบาปกรรมมีถึงเพียงนี้
126 ณ ที่นั้น เขาทั้งหลาย แม้จะได้ยาดีที่หมอปรุงให้ด้วยจิตกุศล แม้กระนั้นโรคของพวกเขา ก็มีอาการรุนแรงขึ้น เขาจะไม่มีวันสงบจากโรคได้เลย
127 เข้าเหล่านั้น บางพวกไปทำโจรกรรมจากผู้อื่น เช่นทำร้าย ขู่เข็ญ ฉกชิง วิ่งราว ทรัพย์สินของผู้อื่น พวกเขาย่อมตกอยู่ภายใต้อำนาจบาปกรรมนั้น
128 เพราะเหตุที่ พวกเขาดูหมิ่นพุทธธรรมนี้ของเรา พวกเขาจะไม่ได้พบพระโลกนาถ และพระผู้เป็นจอมราชันแห่งนรชน ผู้สอนธรรมบนแผ่นดินนี้ เพราะพวกเขาจะเกิดในสถานที่เสื่อมโทรมเท่านั้น
129 คนพาล ที่ดูหมิ่นพุทธธรรมอย่างนี้ จะไม่ได้ฟังธรรม เป็นคนหูหนวก ไร้ความคิด และจะไม่มีโอกาสพบกับความสงบสุขเลย แม้ในกาลไหนๆ
130 คนที่ดูหมิ่นพระสูตร (ธรรม) จะกลายเป็นคนโง่ วิกลจริต เป็นเวลาเกินพันหมื่นโกฏิกัลป์ เท่ากับจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา นี้คือผลของบาปกรรม
131 นรกเป็นสถานที่เล่น อันสนุกสนานของเพวกเขา (ผู้ดูหมิ่นพุทธธรรม) ที่อยู่ของพวกเขาคืออบายภูมิ ซึ่งมีทั้ง ลา สุนัขป่าและสุนัขบ้าน พวกเขา(ผู้ดูหมิ่นพุทธธรรม) ก็จะอยู่ร่วมกับสัตว์เหล่านั้นเป็นนิจ
132 พวกเขา (ผู้ดูหมิ่นพุทธธรรม) เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นคนตาบอด หูหนวก โง่เขลา เป็นคนรับใช้ผู้อื่น และยากจนเป็นนิจ คุณสมบัติเหล่านี้ (มีตาบอดเป็นต้น) เป็นอาภรณ์ของเขา ในกาลนั้น
133 โรคภัยไข้เจ็บ แผลมากมาย (หลายหมื่นโกฏิ) บนร่างกาย พุพอง หิด โรคผิวหนัง โรคเรื้อน โรคกลากเกลื้อน และกลิ่นเหม็น เป็นเครื่องนุ่งห่มของเขา (ผู้ดูหมิ่นพุทธธรรม)
134 พวกเขา (ผู้ดูหมิ่นพุทธธรรม) มีสายตามืดมัว มีความโกรธแรงกล้า มีราคะจัด และเป็นผู้ยินดี ในกำเนิดของสัตว์เดียรัจฉาน
135 ดูก่อนศาริบุตร ถ้าเราจะกล่าวถึงโทษของผู้ที่ดูหมิ่นพระสูตร (พุทธธรรม)ของเราตลอดกัลป์บริบูรณ์ โทษของผู้ดูหมิ่นพุทธธรรมนั้น ก็ยังไม่หมด
136 ดูก่อนศาริบุตร เราเห็นเนื้อความอย่างนี้ จึงขอสั่งเธอว่า ขอเธอจงอย่าแสดงพระสูตร (ธรรม) เห็นปานนี้ ต่อหน้าคนพาลเลย
137 แต่ว่า ชนเหล่าใด มีปัญญา เป็นพหูสูตร มีสติ เป็นบัณฑิต มีญาณ เป็นผู้ตั้งมั่นมุ่งตรงต่อพระโพธิญาณ อันประเสริฐ ขอเธอจงให้ชนเหล่านั้น ได้ฟังธรรม อันประเสริฐนี้เถิด
138 แลชนเหล่าใดได้เฝ้าพระพุทธเจ้ามาแล้วหลายโกฏิพระองค์ ได้สร้างกุศลไว้มากมาย จนประมาณมิได้ และมีอัธยาศัยมั่นคง ขอเธอจงให้ชนเหล่านั้น ได้ฟังธรรมอันประเสริฐนี้เถิด
139 ชนเหล่าใด มีวิริยะ มีจิตเมตตา ได้เจริญเมตตามาช้านาน มีความเสียสละ ร่างกาย และชีวิต เธอควรแสดงพระสูตร (ธรรม) อันประเสริฐแก่ชนเหล่านั้นด้วยเถิด
140 เหล่าชนที่มีความรักและเคารพซึ่งกันและกัน ชนที่ไม่ฝักใฝ่คนโง่เขลา ยินดีอยู่ตามซอกเขา เธอควรให้ชนเหล่านั้นได้ฟังพระสูตร (ธรรม) อันประเสริฐนี้ด้วย
141 ถ้าเธอเห็นพุทธบุตรผู้เป็นเช่นนี้ คือ คบแต่กัลยาณมิตร และละบาปมิตร ขอให้เธอแสดงพระสูตร (ธรรม)นี้ แก่พุทธบุตรเหล่านั้นด้วย
142 ถ้าเธอเห็นพุทธบุตรผู้เป็นเช่นนี้ คือ เป็นผู้มีศีลไม่ขาด บริสุทธิ์ดุจแก้วมณี ตั้งมั่นในการศึกษาไวปุลยสูตร (ปุณฑรีกสูตร) เธอควรแสดงพระสูตร (ธรรม) นี้แก่พุทธบุตรเหล่านั้นด้วย
143 ชนเหล่าใด เป็นผู้ไม่โกรธ มีความชื่อตรง มีความกรุณาต่อสัตว์ทั้งปวง และเคารพใกล้ชิดพระสุคตศาสดา เธอควรแสดงพระสูตร (ธรรม) นี้ แก่ชนเหล่านั้นด้วย
144 ผู้ใดพ้นจากกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง (กับสิ่งทางโลก) แล้ว มีจิตตั้งมั่นในสมาธิ กล่าวธรรมในท่ามกลางชุมชน เธอจงแสดงพระสูตร (ธรรม) นี้ ด้วยการยกตัวอย่างหลายหมื่นโกฏิ แก่ผู้นั้นเถิด
145 ก็แลผู้ใด ผูกพัน แสวงหาภาวะแห่งสัพพัญญุตญาณ ประคองอัญชลีไว้เหนือศีรษะและแม้ผู้ใด ไปแสวงหาภิกษุ ผู้กล่าวสอนดีในทิศทั้งปวง
146 ผู้ใดพึงทรงจำไวปุลยสูตร ผู้ไม่ชอบใจคำสอนผู้อื่น และไม่ทรงจำคาถาแม้หนึ่งคาถาจากคัมภีร์อื่น เธอควรแสดงพระสูตร(ธรรม)อันประเสริฐนี้ แก่พวกเขาด้วยเถิด
147 บุคคลที่แสงหาพระสูตร(ธรรม)อันประเสริฐเช่นนี้ ครั้นได้แล้วเทิดทูนไว้เหนือศีรษะนั้น เทียบได้กับคนที่แสวงหาพระธาตุของพระตถาคต ครั้นได้แล้วย่อมเก็บไว้เป็นอย่างดี ก็ปานกัน
148 อย่าใฝ่ใจในสูตรอื่นและศาสตร์อื่น ที่เป็นโลกายัต สูตรและศาสตร์เช่นนี้ เป็นสิ่งที่คนโง่เท่านั้นสนใจกัน เธอควรละสูตรและศาสตร์เหล่านั้นเสีย แล้วแสดงพระสูตร (ธรรม)นี้
149 ดูก่อนศาริบุตร เรา (ตถาคต) สามารถกล่าวถึงเรื่องอื่นๆ ได้อีกหลายพันโกฏิ ตลอดกัลป์เต็ม ชนเหล่าใด เป็นผู้ปรารถนาธรรมอันประเสริฐสุด เธอจงกล่าวพระสูตรนี้ ต่อหน้าชนเหล่านั้น
บทที่ 3 เอาปัมยปริวรรต ว่าด้วยอุปมาการเปรียบเทียบ
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่4 น้อมใจเชื่อ
บทที่4
อธิมุกติปริวรรต
ว่าด้วยการน้อมใจเชื่อ
ครั้งนั้น พระสุภูติ พระมหากาตยายนะ พระมหากาศยปะ และพระมหาเมาทคัลยานะ ผู้มีอายุ ได้ฟังธรรมที่ยังไม่เคยฟังมาก่อนอย่างนี้ และได้ฟังคำพยากรณ์ว่า พระศาริบุตรผู้มีอายุ จักบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ (ในอนาคตกาล) ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ได้เกิดอัศจรรย์ตื่นเต้น ปลาบปลื้ม ลุกขึ้นจากอาสนะแล้ว ในเวลานั้น ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค จนใกล้ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปแล้ว ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งคุกเข่าลงกับพื้นดิน ประคองอัญชลีเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เพ่งมองพระผู้มีพระภาค น้อมกายก้มลงกราบ แล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นผู้เฒ่า ชรา มีอายุมากแล้ว เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นเถระในหมู่ภิกษุทั้งหลายนี้ เป็นผู้คร่ำคร่าเพราะชรา เป็นผู้ได้บรรลุพระนิพพานแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย เมื่อคิดอย่าง(ที่กราบทูล)นี้แล้ว จึงไม่มีกำลัง (ใจ) ที่จะประกอบความเพียร เพื่อบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แม้ในสมัยใด พระผู้มีพระภาค ทรงประทับนั่งแสดงธรรมอยู่นานๆ ข้าพระองค์ทั้งหลายก็เข้าไปฟังธรรมนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในสมัยนั้น เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งอยู่นานๆ และรับใช้พระองค์เป็นเวลานาน อวัยวะน้อยใหญ่และข้อต่อ แขน ขาก็เจ็บปวด ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ตั้งแต่นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมอยู่ ข้าพระองค์ทั้งกลาย ก็ไม่เข้าใจความจริงที่ว่า ทุกสิ่งเป็นศูนยตา (ว่างเปล่า) อนิมิตตา (ปราศจากสภาพ) และอัปรณิหิตา (ไม่มั่นคง) ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่มีความปรารถนาพุทธธรรม พุทธเกษตรงอนของพระโพธิสัตว์ หรืองานของพระตถาคต ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นผู้แก่เฒ่าแล้ว มีความเชื่อว่าข้าพระองค์ทั้งหลาย พ้นแล้วจากโลกทั้งสาม ถึงพระนิพพานแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะว่าข้าพระองค์ทั้งหลายได้กล่าวสอนและแนะนำพระโพธิสัตว์อื่นๆ ไว้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แต่จิตของข้าพระองค์ทั้งหลาย มิได้สัมผัสกับการบรรลุญาณแม้แต่น้อย
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อพระองค์ทั้งหลาย ได้ยินได้ฟังมาว่า เหล่าพระสาวกก็จะได้รับพุทธพยากรณ์ ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณจากพระผู้มีพระภาค จึงเกิดอัศจรรย์ใจ และนับว่าเป็นลาภอันใหญ่หลวง ข้าแต่พระผู้มีพระภาค วันนี้ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังพระสุรเสียงของพระตถาคต ซึ่งไม่เคยฟังอย่างนี้มาก่อนเลย นับว่า (ข้าพระองค์) ได้รัตนะอันยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค การได้รัตนะนั้น ไม่มีสิ่งใดจะเปรียบได้ เป็นรัตนะใหญ่ที่ได้มาอย่างไม่ต้องแสวงหา ไม่ได้คาดหวังและไม่ได้ปรารถนา ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นที่กระจ่างแจ้งแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายแล้ว ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นที่กระจ่างแจ้งแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายแล้ว
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นก็เหมือนกับบุรุษผู้หนึ่งที่จากบิดาไป ครั้นไปแล้ว ไปอยู่ที่ในชนบทอื่น และอยู่ที่นั่นหลายปี คือ 20 ปี 30 ปี 40 ปี หรือ 50 ปี ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมัยก่อน เขาเป็นบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ แต่ขณะนี้ เขากลายเป็นคนยากจน เขาแสวงหางาน จึงเที่ยวไปทุกสารทิศ เพื่อให้ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มดำรงชีพ และเขาเที่ยวไปในชนบทอื่นๆ อีกต่อไป ส่วนบิดาของเขา ก็ได้ย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านอื่น จนร่ำรวย มีทรัพย์ ข้าวเปลือก ทองแท่ง ยุ้งฉางจำนวนมาก มีทองเงิน มณี มุกดา ไพฑูรย์ สังข์ศิลา ประพาฬ ทองเงินสำหรับใช้สอย มีทาสทาสี กรรมกร และคนใช้จำนวนมาก มีช้าง ม้า รถ วัว แกะ มากมาย มีบริวารมากมาย และเป็นผู้มีทรัพย์มากกว่าใครในชนบททั้งหลาย เขาทำกิจกรรมมากมาย ทั้งทางเกษตรและทางพาณิชย์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขณะนั้น บุรุษผู้ยากจนผู้นั้น เที่ยวไปแสวงหาอาหารและเครื่องนุ่งห่มในหมู่บ้าน นคร นิคม ชนบท เมืองใหญ่และราชธานี จนถึงนครที่บิดาของเขา ซึ่งเป็นผู้ร่ำรวย ทรัพย์ ทอง และยุ้งฉาง อาศัยอยู่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บิดาของบุรุษนั้น เป็นผู้มีทรัพย์สินเงินทอง และยุ้งฉางมากอยู่ในนครนั้น (เขา) คิดถึงบุตรชายผู้ที่จากไป เป็นเวลา 50 ปี อยู่ตลอดเวลา ก็แล เมื่อเขาคิดถึงอยู่นั้น ก็มิได้เอ่ยปากบอกแก่ผู้ใด เพียงแต่คิดอยู่ผู้เดียวว่าเราชรา มีอายุมาก แก่เฒ่าแล้ว เงินทอง ทรัพย์สิ้น ข้าวเปลือกยุ้งฉาง ของเราก็มีมาก แต่เราไม่มีบุตร เมื่อเราไม่มีบุตรเช่นนี้ เราตายไป ทรัพย์สมบัติทั้งปวงนี้ ก็จะพินาศไป โดยไร้ประโยชน์ เขาระลึกถึงบุตรชายนั้นอยู่บ่อยว่า โอ้ เราคงจะได้รับความสงบสุข หากลูกของเราได้ใช้กองทรัพย์สมบัตินี้
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขณะนั้นแล บุรุษผู้ยากจนผู้นั้น กำลังเดินแสวงหาอาหารและเครื่องนุ่งห่มอยู่ ได้เดินเข้าไปสู่บ้านของบุรุษผู้เฒ่าผู้หนึ่ง ซึ่งมีทองแท่ง ทองรูปพรรณ เงิน ข้าวเปลือก ยุ้งฉางมากมาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขณะนั้น ที่ใกล้ประตูบ้าน บิดาของบุรุษผู้ยากจนนั้นได้นั่งตระหง่านอยู่ บนที่นั่งรูปสิงห์ใหญ่โต มีตั่งรองเท้า ประด้วยด้วยทองคำ และเงิน มีพวกพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทรหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว กำลังนับทองจำนวนหลายแสนโกฏิ มีคนถือพัดวีอยู่เขานั่งบนที่นั่งใหญ่โต ตั้งอยู่ในที่มีเพดาน กว้างขวาง ประดับด้วยดอกไม้มุกดา มีมาลัยแก้วห้อยระย้าอยู่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุรุษยากจนนั้น ได้เห็นบิดาของตนเอง นั่งอยู่ใกล้ประตูบ้าน ด้วนความสง่างาม แวดล้อมด้วยชนจำนวนมาก กำลังทำการค้าขายอยู่ บุรุษผู้ยากไรนั้น ครั้นเห็นแล้วก็ตื่นตระหนกตกใจกลัว เกิดขนลุกชูชันไปทั่วทั้งร่างมีจิตใจสับสน ได้คิดว่า เราเข้ามาสู่ (บ้าน) พวกราชาหรือขุนนางผู้ใหญ่ ด้วยความรีบร้อน หน้าที่การงานของเราไม่มีในที่นี้ เราจะไปตามถนนคนยากไร้ ซึ่ง ณ ที่นั้น คงไม่ยากจนเกินไปที่เราจะหาอาหารและเครื่องนุ่งห่ม เราจะรอช้าอยู่ไม่ได้ มิฉะนั้น เราจะถูกจับขัง หรือไม่ก็จะได้รับโทษอย่างอื่น
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในขณะนั้น บุรุษผู้ยากจนนั้นเดือดร้อนใจ กลัวภัยจะมาถึงตน จึงสาวเท้าก้าวหนีออกไปโดยเร็ว ไม่ยอมยืนอยู่ ณ ที่แห่งนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุรุษผู้มั่งคั่งนั้น ซึ่งนั่งอยู่บนที่นั่งรูปสิงห์ ใกล้ประตูบ้านของตน เมื่อเห็นบุตรชายของตนก็จำได้ ก็แล ครั้นเห็นแล้ว เขาก็พอใจ ยินดี ปลื้มใจ มีปีติโสมนัส คิดว่า ช่างอัศจรรย์เสียนี่กระไร ลูกของเราจะได้ใช้สอยทองแท่ง ทองรูปพรรณ ทรัพย์ ข้าวเปลือก และยุ้งฉางแล้ว เราระลึกนึกถึงเขาอยู่เนืองนิจ ก็แล เขาได้มาที่นี่ด้วยตนเองแล้ว ขณะนี้ เราก็แต่เฒ่าชราภาพแล้ว
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค กาลครั้งนั้น บุรุษ ผู้นั้น กระวนกระวายใจ ปรารถนาจะพบบุตรมาก จึงส่งชายมีฝีเท้าเร็วหลายคน ไปในทันทีว่า ดูก่อนสหายทั้งหลาย พวกท่านจงรีบไปนำชายผู้นั้นมาเร็ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขณะนั้น ชายเหล่านั้นวิ่งไปโดยเร็วตามไปนำบุรุษยากจนนั้นมา ในตอนนั้น บุรุษผู้ยากจน เกิดความกลัว ตัวสั่นงันงก ชนลุกชันไปทั่วทั้งร่างกายจิตใจไม่เป็นปกติสุข คร่ำครวญร้องไห้ออกมาดังๆ ราวกับถูกทำร้ายอย่างทารุณ เขากล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทำความผิดอะไรต่อท่านทั้งหลาย นัยว่า ชายทั้งหลายได้ฉุดคร่าบุรุษยากจน ที่กำลังร้องครวญครางอยู่นั้นไปด้วยพละกำลัง ณ ที่นั่น ชายผู้ยากจนนั้น เกิดความกลัว ตัวสั่นงันงก จิตใจไม่เป็นปกติสุข คิดรำพึงว่า ขอให้เรา จงอย่าถูกฆ่าเลย เราคงจะมีโทษทัณฑ์ เราคงจะพินาศดังนี้ เขาได้เป็นลม ล้มลงบนดิน ตนสิ้นสติ บิดาของชายยากจนนั้นยืนอยู่ ณ ที่ใกล้เขา จึงกล่าวกะชายเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย จงอย่าฉุดเขาอย่างนั้น เขา(บิดา) เอาน้ำเย็นประพรมบุตรของตนแล้ว ไม่กล่าวอะไรอีกเลย ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะว่า คหบดีผู้นั้น รู้ความต่ำต้อยของชายผู้ยากจนนั้น และรู้ฐานะอันโอฬารแห่งตน ทั้งรู้ว่าผู้นั้นเป็นลูกของตน
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในขณะนั้น คหบดีนั้น เพราะกุศโลบายของตน จึงไม่ได้บอกแก่ใครๆ ว่า นั่นคือบุตรของตน ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คหบดีนั้น ได้เรียกขานคนหนึ่งมา(พูดว่า) ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไป จงบอกแก่ชายผู้ยากไร้นั้นว่า ดูก่อนผู้เจริญ ท่านจงไปตามทางที่ต้องการเถิด ท่านมีอิสระแล้ว ชายผู้นั้น ได้ฟังคหบดีกล่าวอย่างนั้นแล้ว ก็เข้าไปหาชายผู้ยากไร้ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้พูดกับเขาว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านมีอิสระแล้ว ท่านมีปรารถนาจะไปทางไหน ก็ไปได้ตามปรารถนาเถิด ในตอนนั้น ชายผู้ยากไร้นั้น ได้ฟังคำนั้นแล้วรู้สึกอัศจรรย์ใจ เขาได้ลุกจากที่นั้น แล้วเดินไปตามถนนแห่งคนยากไร้ เพื่อแสวงหาอาหารและเครื่องนุ่งห่ม เพื่อจะดึงบุรุษผู้ยากไร้นั้นไว้ คหบดีจึงใช้กุศโลบายอย่างหนึ่ง เขา จ้างชายสองคน รูปร่างหน้าตาไม่ดีพร้อมกับสั่งว่า ท่านผู้เจริญทั้งสอง จงไปตามชายผู้นั้นมาที่นี่ ท่าน ทั้งสองจงให้เงินแก่เขาสองเท่า ว่าจ้างให้เขามาทำงานในบ้านของฉัน ก็เขาถามว่าจะให้เขาทำงานอะไร ขอให้ท่านตอบเขาว่า จะให้เขากวาดขยะ หลังจากนั้น ชายสองคนนั้น ก็ออกตามหานำบุรุษยากจนนั้นมาและว่าจ้างให้ทำงานดังกล่าวนั้น ตั้งแต่นั้นมา ชายสองคน พร้อมกับบุรุษยากจนนั้น ก็ได้ทำงานกวาดขยะในบ้านของคหบดี โดยรับจ้างจากคหบดีผู้ร่ำรวยนั้น ชายทั้งสามคนนั้น อาศัยอยู่ที่กระท่อมเล็กๆ ที่มุงด้วยฟางใกล้ๆบ้านของคหบดี บุรุษผู้มั่งคั่งนั้น มองดูลูกชายของตนที่กำลังกวาดขยะอยู่ทางหน้าต่าง ครั้นเห็นแล้วเขาก็เกิดความสะเทือนใจขึ้นมาอีก
ขณะนั้น คหบดี ได้ลงจาบ้านของตน ถอดมาลาและเครื่องประดับ ถอดเครื่องนุ่งห่มอันอ่อนนุ่ม แล้วสวมเสื้อเก่าขาดๆ มือขวาถือตะกร้า เอาฝุ่นมาทาตัว ร้องทักมาแต่ไกล เข้าไปหา ชายผู้ยากไร้ (ลูกชาย) จนถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ จงเอาตะกร้าใบใหม่นี้ไป จงอย่ามัวยืนอยู่ จงปัดฝุ่นออกเสีย" ด้วยอุบายนี้ คหบดี(จึงโอกาสได้) พูดคุยกันบุตรของตน เขาพูดว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ เธอจงทำงานที่นี่เถิด อย่าไปที่อื่นอีกเลย ฉันจะให้ค่าจ้างแก่เธอเป็นพิเศษ เธอต้องการอะไรขอให้บอกฉัน ไม่ว่าจะเป็นหม้อใหญ่ หม้อเล็ก เตา ฟืน หรือเงินสำหรับซื้อสิ่งของ มีเกลือ หรือเสื้อผ้า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ฉันมีเสื้อคลุมเก่าๆอยู่ตัวหนึ่ง ก็เธอต้องการก็บอกนะ ฉันจะให้เธอ ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ เธอต้องการวัตถุอะไร ก็ขอให้บอก ฉันจะให้ ขอย่างได้คิดอะไรอื่น จงคิดเสียว่า ฉันเหมือนพ่อของเธอก็แล้วกัน เพราะเหตุไร เพราะว่าฉันแก่กว่า เธออ่อนกว่า เธอได้ช่วยงานฉันมากในการกวาดขยะ ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ขณะทำงานอยู่ที่นี่ เธอมีความบริสุทธิ์ ไม่คตโกง ไม่ยโสโอหัง ไม่สะสม ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ฉันไม่เห็นเธอประพฤติชั่ว อย่างคนใช้อื่นเลย ตั้งแต่นี้ไป ขอให้เธอจงเป็นเหมือนลูกชายฉันเถิด
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น คหบดีนั้น เรียกชายผู้ยากจนว่าลูก และชายยากจนก็เรียกคหบดีว่า พ่อ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คหบดีที่ปรารถนาบุตร และให้บุตรนั้นทำงานกวาดขยะอยู่ถึง 20 ปี ครั้งนั้น ชายผู้ยากจนนั้น สามารถเข้าออกภายในบ้านของเศรษฐี ได้เป็นเวลา 20 ปี แต่เขาก็ยังพักอยู่ที่กระท่อมฟางนั่นเอง
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ต่อมา คหบดีล้มป่วยลง เขา(คหบดี) เห็นว่า มรณะกาลใกล้เข้ามาแล้ว เขาจึงพูดกับบุรุษผู้ยากจนว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจงมานี่ชิ ฉันมีทองคำ ทองรูปพรรณ ข้าวเปลือก ยุ้งฉาง มากมาย ฉันไม่สบายมาก ฉันปรารถนาจะให้ทรัพย์สมบัตินี้แก่คนที่ควรรับและรักษาทรัพย์นี้ไว้ ท่านจงรับเอาทั้งหมด ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เพราะต้องการให้ท่านเป็นเจ้าของทรัพย์ เหมือนอย่างที่ฉันเป็นอยู่ ขอท่าน จงอย่าทำให้ทรัพย์นี้สูญหายแม้แต่น้อย
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น ชายผู้ยากจนนั้น รับเอาทองคำแท่ง ทองรูปพรรณ ทรัพย์ ข้าวเปลือก ยุ้ง ฉาง จำนวนมาก ของคหบดีนั้นโดยปริยายนี้ แต่ตัวเขาเองไม่ติดข้องในสิ่งเหล่านั้น เขาไม่ปรารถนาอะไร แม้เพียงข้าวสาลีกำมือหนึ่ง ตัวเขาเอง ยังคิดว่า ตนเป็นคนยากจนอยู่ และยังอยู่ในกระท่อมมุงฟาง ณ ที่นั้นนั่นแล
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในกาลครั้งนั้น คหบดี เห็นว่าบุตร (ของตน) นั้น เป็นผู้สามารถเก็บรักษาทรัพย์สมบัติได้ เป็นผู้ใหญ่พอควรแล้ว เมื่อคิดถึงความทุกข์ ความอดสูใจ และความยากจน ที่มีใดที่มีในสมัยก่อน และรู้ว่าความเสื่อมสลายจะต้องมีแก่ตน ครั้นเวลาใกล้จะตาย จึงเรียกชายผู้ยากไร้นั้นมา ให้อยู่ข้างหน้าหมู่พวกพ้อง พระราชา มหาอำมาตย์ ตลอดจนชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย แล้วประกาศว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงฟังชายผู้นี้คือบุตรที่เกิดจากข้าพเจ้าในเมืองโน้น และเขาได้สูญหายไปจากเมืองโน้นมาเป็นเวลา 50 ปี เขามีชื่ออย่างนั้น และแม้ข้าพเจ้าก็มีชื่ออย่างนั้น ตั้งแต่เขาสูญหายไป ข้าพเจ้าได้เที่ยวตามหาเขา จากเมืองนั้นจนมาถึงที่นี่ ผู้นี้เป็นบุตรของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นบิดาของเขา ทรัพย์สินใดๆ ทั้งหมดที่เป็นขอข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอมอบให้แก่ชายผู้นี้ และทรัพย์สินใดๆอันเป็นของข้าพเจ้า ชายผู้นี้ก็รู้หมดแล้ว
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขณะนั้น ชายผู้ยากไร้นั้น ครั้นได้ยินเสียงประกาศกึกก็องอย่างนี้แล้ว รู้สึกตระหนกตกใจ และคิดว่าเราได้ทองแท่ง ทองรูปพรรณ ทรัพย์สิน ข้าเปลือก ยุ้งฉางทั้งหลาย โดยมิได้คิดมาก่อนเลย
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในทำนองเดียวกัน ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นเหมือนบุตรของพระตถาคต พระตถาคต ย่อมตรัสกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า "เธอทั้งหลายเป็นบุตรของเรา" เหมือนอย่างคหบดี (พูดกะบุตร) ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ก็แล ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ถูกความทุกข์ 3 ประการบีบคั้นแล้ว ทุกข์3 ประการคืออะไรบ้าง ทุกข์3ประการคือ ทุกขทุกข์ (ทุกข์ขณะเจ็บป่วย) สังสการทุกข์ (ทุกข์เกิดจากผลของกรรมในอดีต) และปรณามทุกข์ (ทุกข์เกิดจากความเปลี่ยนแปลง) และข้าพระองค์ทั้งหลาย พิจารณาธรรมทั้งปวงมากมาย เปรียบเหมือนกองขยะ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พิจารณาธรรมทั้งปวงแล้ว พยายามอย่างต่อเนื่องอยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ปรารถนาพระนิพพาน ที่เปรียบเหมือนทรัพย์อันประเสริฐ ซึ่งได้แสวงหาตลอดวันเวลา ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ยินดีกับพระนิพพานที่ตนได้รับแล้วนั้น และข้าพระองค์ทั้งหลายได้พิจารณาธรรมทั้งปวงเหล่านี้ พยายามอย่างต่อเนื่องใกล้องค์พระตถาคตแล้ว คิดว่า ตนเองได้อะไรต่างๆ จำนวนมาก ก็แล พระตถาคต คงทราบความคิดต่ำๆ ของข้าพระองค์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงทรงวางเฉย มิได้ตรัสว่า "ตถาคตญาณ จักมีแก่เธอทั้งหลาย" แต่พระผู้มีพระภาค ทรงสถาปนาทายาทในตถาคตญาณนี้ แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยกุศโลบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย พอใจในตถาคตญาณ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ทราบว่า พวกข้าพระองค์ ได้นิพพานอันเสมือนทรัพย์ที่ประเสริฐ ที่จะจับจ่ายประจำวัน จากพระตถาคต ข้อนั้นนับว่ามากยิ่งแล้วสำหรับพระองค์ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักแสดงธรรมอันเกี่ยวกับญาณทัศนะของพระตถาคต แก่พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นผู้ปราศจากความอยากแล้ว จะพรรณนาแสดง ชี้แจงตถาคตญาณ (นั้น)ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะพระตถาคต ทรงทราบความเป็นไปของข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยกุศโลบาย ข้าพระองค์ ทั้งหลาย ไม่รู้ ไม่เข้าใจข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นบุตรของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงระลึกถึงความเป็นทายาทแห่งตถาคตญาณ ของข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นบุตรของพระตถาคตก็จริง ถึงกระนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ยังเป็นผู้มีความนึกคิดต่ำอยู่ ก็ว่า พระผู้มีพระภาค ทรงทราบพลังแห่งความนึกคิดของข้าพระองค์ ทั้งหลาย แล้วทรงแสดงญาณของพระโพธิสัตว์ แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายไซร้ พระผู้มีพระภาคชื่อว่า ให้ข้าพระองค์ทั้งหลาย ทำงานสองหน้าที่ คือต่อหน้าพระโพธิสัตว์ ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นผู้มีฐานะต่ำกว่า แต่ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้สอนพวกเขา ให้เข้าถึงพระโพธิญาณอันประเสริฐ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรงทราบพลังแห่งความนึกคิดของข้าพระองค์ทั้งหลายแล้ว ทรงมอบฐานะนี้อีกหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้โดยปริยายว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้เป็นบุตรแห่งพระตถาคต ผู้สิ้นความอยาก ได้รัตนะคือความรู้ทุกอย่างที่ไม่ได้หวังไว้ ที่ไม่ได้แสวงหา ที่ไม่ได้ปรารถนาและไม่ได้คิด โดยพลันนั่นเทียว
ในกาลครั้งนั้น ท่านพระมหากศยปะ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
1 เราทั้งหลาย ได้ฟังพระสุรเสียงแล้ว รู้สึกประหลาดใจ อัศจรรย์ใจ และปลาบปลื้มใจยิ่งนัก วันนี้ เราทั้งหลาย ได้ฟังพระสุรเสียง อันน่าพึงใจนี้ ของพระตถาคต โดยพลันแล
2 วันนี้ เพียงครู่หนึ่งเท่านั้น เราทั้งหลายได้รัตนะอันประเสริฐกองใหญ่ ที่เราทั้งหลายไม่ได้คิด และไม่ได้ปรารถนา ข้าพระองค์ทั้งปวงได้ฟังพระสุรเสียงนั้นแล้วอัศจรรย์ยิ่งนัก
3 เหมือนคนโง่ถูกคนโง่หลอกลวง (เขา) ได้หนีไปไกลจากบิดา เขาไปยังที่อื่นอันไกลแสนไกล
4 ในเวลานั้น ครั้นบิดาทราบว่า บุตรชายของตนหนีไป ก็เศร้าโศกถึงเขา เขา(บิดา) ผู้เศร้าโศกได้เที่ยวเร่ร่อนไปในทุกทิศ ไม่น้อยกว่า 50 ปี
5 เขา (ผู้เป็นบิดา) ตามหาบุตรชาย จนไปถึงเมืองใหญ่ และได้สร้างที่อยู่อาศัย ณ เมืองนั้น จนสมบูรณ์ด้วยกามคุณ 5 ประการ
6 (เขามี) ทองแท่ง ทองรูปพรรณ ข้าวเปลือก ทรัพย์ สังข์ แก้วประพาฬ ช้าง ม้า ข้ารับใช้ วัว ปศุสัตว์ และแกะทั้งหลายจำนวนมาก
7 เขามีรายได้จากดอกเบี้ย และค่าเช่า เขามีนา ทาส ทาสี คนรับใช้มากมาย คนหลายพันโกฏิ ยกย่องให้เกียรติเขา และเขายังได้เป็นที่โปรดปรานของพระราชาตลอดกาลด้วย
8 ชาวพระนครและชนบทก็ก้มประนมกรให้แก่เขา พ่อค้าวาณิชทั้งหลายจำนวนไม่น้อย มาติดต่อธุรกิจการค้าจำนวนมากกับเขา
9 นรชนที่มั่งคั่งผู้นี้ เป็นคนแก่เฒ่า ชรา มีอายุมาก วันคืนล่วงไป เขามีแต่ความโศก เศร้า เพราะคิดถึงบุตรชายอยู่ตลอดเวลา (ว่า)
10 "บุตรชายของเรา ผู้ประพฤติเช่นนั้น เป็นการคิดผิด ได้หนีไปเป็นเวลา 50 ปี ขณะนี้ทรัพย์สินของเรามีพร้อมบริบูรณ์ และเราใกล้จะตายอยู่แล้ว"
11 บุตรชายของเขานั้นปัญญาน้อย ยากจน มีความเป็นอยู่อย่างทุกข์ทรมานตลอดเวลาในกาลครั้งนั้น (เขา) ได้ท่องเที่ยวไปจากหมู่บ้านหนึ่งไปสู่หมู่บ้านอื่นเพื่อแสวงหาอาหารและเครื่องนุ่งห่ม
12 เขา (บุตรชาย) ขณะที่เที่ยวแสวงหาอยู่ บางครั้งก็ได้ของเล็กน้อย และบางครั้งก็ไม่ได้อะไรเลย เขาเป็นคนโง่เขลา มีพลังน้อย มีร่างกายเต็มไปด้วยผื่นคัน ผอมโซ ดำรงชีพด้วยการอาศัยผู้อื่น
13 เขาเร่ร่อนไปจนถึงเมืองที่บิดาของเขาพำนักอยู่ และไปขออาหารเครื่องนุ่งห่มที่เรือนบิดาของเขาเอง
14 บุรุษ (บิดา) ผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก ได้นั่งอยู่บนที่นั่งรูปสิงห์ ภายใต้สัปทนที่ตั้งตระหง่านอยู่ใกล้ประตู มีประชาชนหลายร้อยคนนั่งแวดล้อมแล้ว
15 มีคนที่เขา(บุรุษนั้น)ไว้ใจยืนอยู่รอบๆ บางคนกำลังนับเงินและทอง บางคนกำลังเขียนบัญชี และบางคนกำลังจัดการเรื่องดอกเบี้ยอยู่
16 ก็แล ชายผู้ยากไร้นั้น เห็นที่อยู่อาศัย ประดับตกแต่งอย่างดีของคหบดีแล้ว (จึงคิดว่า) ขณะนี้ เรามาที่นี่ ที่นี่คือที่ไหนกันหนอ ชายผู้นี้ต้องเป็นพระราชาหรือไม่ก็ขุนนางผู้ใหญ่แน่
17 ขอให้เราอย่าได้รับโทษอะไรเลย และอย่าได้ถูกจับตัวไว้ทำงานที่นี่เลย ชายผู้นั้นเมื่อคิดอยู่(อย่างนี้)ได้ถามถึงถนนที่คนจนอาศัย แล้วรีบเดินออกไป
18 ฝ่ายบุรุษผู้มีทรัพย์ (บิดา) ซึ่งนั่งอยู่บนที่นั่งรูปสิงห์นั้น ครั้นเห็นบุตรชายของตนก็ดีใจ เขาได้สั่งพนักงานทั้งหลาย ไปนำชายยากไร้นั้นมา "พวกท่านจงไปนำชายยากไร้นั้นมา"
19 จากนั้นพนักงานทั้งหลาย ก็ไปจับเขา (ผู้ยากจน) พอถูกจับตัวเท่านั้น เขาก็หมดแรง (คิดว่า) คนพวกนี้คงจะฆ่าเราแน่นอน เครื่องนุ่งห่มและอาหารจะมีประโยชน์อะไรแก่เราอีกเล่า
20 บุรุษผู้มีทรัพย์ (บิดา) นั้น ซึ่งเป็นผู้ฉลาด ครั้นเห็นชายยากไร้นั้น (คิดว่า) คนต่ำต้อย โง่เขลา เบาปัญญานี้ คงไม่ศรัทธาในความมั่งคั่งของเราและคงไม่เชื่อว่าเราเป็นบิดา
21 บุรุษ (บิดา) นั้น จัดชายผู้ต่ำต้อย ร่างดำ หลังค่อม นัยน์ตามืดมัว ร่างพิการ สวมเสื้อผ้าเก่าๆ ให้ไปนำชายผู้ยากไร้นั้น (บุตรชาย) มาทำงาน
22 (บุรุษนั้น) กล่าวว่า "เธอจงทำงานกวาดขยะ ขนของเน่าเสียไปทิ้ง ทำความสะอาดต่างๆในฉัน ฉันจะให้ค่าจ้างแก่เธอเป็นทวีคูณ"
23 ชายยากไร้ ครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว ก็มาทำความสะอาดที่นั้น และเขาได้พักอาศัยอยู่ในกระท่อมฟางใกล้คฤหาสน์ ณ ที่นั้น
24 เศรษฐี (บิดา) เฝ้ามอง ชายผู้ (บุตร) นั้น ทางหน้าต่างอยู่เป็นประจำ ได้คิดว่าบุตรชายของเรานี้ มีความคิดต่ำ กำลังกวาดขยะ ทำความสะอาดอยู่
25 เศรษฐีนั้น เดินลง (จากคฤหาสน์) ถือตะกร้า นุ่งผ้าเก่าๆ เข้าไปหาชายผู้ (บุตร) นั้น พร้อมกับกล่าวดุว่า "เธอยังไม่ทำงานอีกหรือ"
26 ฉันจะให้ค่าจ้างทวีคูณแก่เธอ ให้น้ำมันทาเท้ามากยิ่งขึ้นเป็นสองเท่า จะให้อาหารพร้อมกับเกลือ และจะให้ผักและเครื่องนุ่งห่มแก่เธอ
27 เศรษฐีผู้บัณฑิต ในตอนแรกดุเขา (บุตร) อย่างนั้น ภายหลัง ได้พูดปลอบชาย (ผู้บุตร) นั้นว่า เธอจงทำงานให้ดีเถิด เธอเป็นบุตรชายของฉัน อย่างไม่ต้องสงสัย
28 เศรษฐีนั้น ใช้ชายผู้ (บุตร) นั้น ให้เข้าไปภายในบ้านทีละเล็กทีละน้อย และให้เขา ทำงานอยู่ 20 ปีเต็ม ด้วยระยะเวลาเช่นนั้น เขา (เศรษฐี) สามารถทำให้ชายผู้นั้นเชื่อมั่นได้
29 เศรษฐีเฝ้าคำนึงถึง ทอง ไขมุก แก้วผลึก ภายในบ้านนั้น คำนวณมูลค่าของสิ่งต่างๆ และคิดถึงผลประโยชน์ทั้งปวงอยู่เสมอ
30 ชายผู้เบาปัญญา ซึ่งอาศัยอยู่ในกระท่อม มุงด้วยฝา ภายนอกคฤหาสน์นั้น ครุ่นคิดถึงแต่ความยากจนว่า เราไม่มีสมบัติใดๆเช่นนั้นเลย
31 เศรษฐีทราบว่า บุตรชายของเรา เป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ เขา (เศรษฐี) จึงเรียกเพื่อนๆ และญาติๆ มาแล้ว (กล่าวว่า) ข้าพเจ้าขอมอบสมบัติทั้งหมดนี้แก่บุรุษผู้นี้ (บุตรชาย)
32 เศรษฐี ให้เชื้อเชิญ พระราชา ชาวนิคม ชาวพระนคร และพ่อค้าทั้งหลายมา แล้วประกาศในท่ามกลางประชาชนเหล่านั้นว่า ผู้นี้คือบุตรชายของข้าพเจ้า ซึ่งได้จากกันไปนานแล้ว
33 เป็นเวลา 50 ปีเต็ม กับ 20 ปีที่ได้พบเขา บุตรชายของข้าพเจ้าผู้นี้ ได้หายไปจากเมืองนั้น และข้าพเจ้าได้ตามหาเขาจนหาถึงที่นี่
34 บุตรชายผู้นี้คือเจ้าของทรัพย์ ข้าพเจ้าขอมอบทรัพย์ทั้งหมดแก่เขา เขาจงทำกิจการด้วยทรัพย์ของบิดา ข้าพเจ้าขอมอบทรัพย์สมบัติในครอบครัวทั้งหมดนี่แก่เขา
35 ชาย (ผู้ยากจน) นั้นรู้สึกอัศจรรย์ใจ ระลึกถึงความยากจนในอดีต และฐานะอันต่ำต้อย (เมื่อ) ได้รับสมบัติทั้งหลายเหล่านั้นของบิดาแล้ว จึงคิดว่า "บัดนี้เรามีความสุขแล้ว"
36 ในทำนองเดียวกัน พระผู้นำแห่งโลก (พระตถาคต) ทรงทราบฐานะอันต่ำต้อยของเรา จึงมิได้ประกาศว่า "เธอทั้งหลายจักเป็นพระพุทธเจ้า" แต่ (ประกาศว่า) เธอทั้งหลายเป็นสาวกและเป็นบุตรของเรา
37 พระโลกนาถ ได้ตรัสกะพวกเราว่า "ดูก่อนกาศยปะ ชนทั้งหลายเหล่าใดพยายามที่จะบรรลุโพธิญาณอันสูงสุด เธอจงสอนอริยมรรค ท่านที่ชนทั้งหลายจะบรรลุเป็นพุทธะได้ แก่ชนเหล่านั้น3
38 เราทั้งหลาย ผู้อันพระตถาคตตรัสสั่งแล้ว แสดงมรรคอันประเสริฐ แก่พระโพธิสัตว์ผู้ทรงพลังจำนวนมาก ด้วยการยกอุทาหรณ์และแสดงเหตุผลมากมายหลายหมื่นโกฏิ
39 บุตรของพระชินเจ้าทั้งหลาย ครั้นได้ฟังพวกข้าพระองค์แล้ว ก็แจ่มแจ้งในอริยมรรคเพื่อโพธิญาณ และเขาเหล่านั้น (ชินบุตร) ได้รับการพยากรณ์ในขณะนั้นว่า เธอทั้งหลายจะเป็นพุทธะในโลกนี้
40 ข้าพระองค์รักษาและแสดงธรรมแก่เหล่าพระชินบุตรอยู่ กระทำหน้าที่อย่างเข็มแข็ง เหมือนกับบุคคลผู้เป็นที่ไว้ใจของคหบดีนั้น
41 แม้พวกข้าพระองค์เผยแผ่พุทธธรรมอยู่ ก็ยังรูสึกว่ายากจนอยู่ พวกข้าพระองค์ไม่ปรารถนาชินญาณ แต่ก็ยังประกาศชินญาณอยู่
42 พวกเราพอใจพระนิพพานอันเป็นเฉพาะตน ญาณ (ความรู้) มีเพียงเท่านี้ ไม่มากขึ้นเลย ในเมื่อฟังเรื่องราวมากมายของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในพุทธเกษตร พวกเราไม่มีความพอใจเลย
43 ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นธรรมสงบ ไม่มีโทษ ปราศจากการเกิดดับ ในธรรมเหล่านั้น ไม่มีกฎใดๆ อย่างไรก็ตาม พวกข้าพระองค์เมื่อคิดอย่างนี้แล้ว จึงไม่ศรัทธา
44 พวกข้าพระองค์ ละพุทธธรรมอันประเสริฐ เป็นเวลาช้านาน ความตั้งใจจริง (ในพระธรรม) ของพวกข้าพระองค์ก็ไม่เคยมี นี้คือพระดำรัสอันประเสริฐ ครั้งสุดท้าย ที่พระชินเจ้าได้ตรัสแล้ว
45 ในชีวิตอันใกล้จะถึงนิพพานนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พิจารณาศูนยตาธรรมเป็นเวลาช้านาน (จากความทุกข์) และพวกข้าพระองค์ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระชินเจ้าแล้ว
46 ก็แล ข้าพระองค์ทั้งหลาย ประกาศธรรมใดแก่พระชินบุตรทั้งหลาย ผู้ตั้งอยู่ในพระโพธิญาณ อันประเสริฐธรรมในโลกนี้ และแสดงธรรมใดก็ตาม แก่ชินบุตรทั้งหลายเหล่านั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยมีความต้องการในธรรมนั้นเลย
47 พระผู้ตรัสสอนชาวโลก ผู้เป็นพระสยัมภู ทรงรอเวลาอยู่ ทรงวางเฉยต่อพวกเรา พระองค์มิได้ตรัสความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลาย (เพราะ) พระองค์กำลังทรงทดสอบอุปนิสัยของพวกเราอยู่
48 พระองค์ทรงใช้กุศโลบายเช่นเดียวกับในสมัยของมหาเศรษฐีนั้น ที่ตรัสว่า ท่านจงอดทนต่อจิตที่น้อมไป ในทางเสื่อมอย่างต่อเนื่อง แล้วจึงประทานสมบัติ แก่ผู้ที่มีความอดทน
49 พระโลกนาถ เมื่อประกาศอุบายโกศล ฝึกบุตรผู้น้อมจิตไปในทางเสื่อม ชื่อว่าทำสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง ครั้นฝึกจิตได้แล้ว พระองค์จึงมอบความรู้นี้ให้
50 วันนี้ ข้าพระองค์ได้ประสบกับความอัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง เหมือนกับบุรุษผู้ยากจนได้รับสมบัติ เป็นครั้งแรก ที่ข้าพระองค์ได้รับผลอันประเสริฐ และบริสุทธิ์ ในพุทธศาสนานี้
51 ข้าแต่พระผู้เป็นที่พึ่ง ข้าพระองค์ได้รักษา ศีล ในศาสนาของพระผู้รู้แจ้งโลก มาเป็นเวลาช้านาน วันนี้ ข้าพระองค์ได้ผลของศีล ที่ได้ปฏิบัตินั้นแล้ว
52 พรหมจรรย์ที่ประเสริฐ บริสุทธิ์ ที่เราเคยปฏิบัติในศาสนาของพระผู้นำ วันนี้ เราได้รับผลอันประเสริฐ สงบ ยิ่งใหญ่ และไม่มัวหมอง ของพรหมจรรย์ นั้นแล้ว
53 ข้าแต่พระผู้เป็นที่พึ่ง บัดนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เป็นสาวก จักประกาศโพธิญาณอันประเสริฐ พวกข้าพระองค์ผู้เป็นสาวก ที่เคร่งครัด จักประกาศคำว่า พระโพธิญาณ ให้ปรากฏ
54 ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่พึ่ง ขณะนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เป็นพระอรหันต์ สมควรได้รับการบูชาจากชาวโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และจากสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทุกแห่งหน
55 ใครเล่า ผู้พยายามหลายโกฏิกัลป์ ที่สามารถเปรียบกับพระองค์ได้พระองค์เป็นผู้เห็นสิ่งที่กระทำได้ยาก และได้กระทำสิ่งทำได้ยาก ในมนุษย์โลกนี้
56 ผู้ใด แม้ดำรงอยู่หลายกัลป์ เท่ากับจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ก็นับว่ายากที่จะกระทำแทน (งานที่พระตถาคตได้ทรงกระทำแล้ว) ด้วยมือทั้งสอง เท้า ศีรษะและบ่า
57 (บางคน) อาจบริจาคอาหารคาวหวาน ขาทนียะ โภชนียะ) ผ้า น้ำ ที่นอน ที่นั่ง และผ้าห่มที่สะอาดเป็นทาน (บางคน) สร้างวัดด้วยไม้จันทร์ ครั้นเสร็จแล้วก็ถวาย พร้อมทั้งผ้าไหม
58 (บางคน) อาจบริจาคยารักษาโรคต่างๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการบูชา พระตถาคต เป็นนิตย์ เขา (แม้) บริจาคเป็นเวลาหลายกัลป์ เท่ากับจำนวนเมล็ดทราบในแม่น้ำคงคา ก็ไม่สามารถตอบแทน (งานที่พระตถาคตทรงกระทำ)ได้เลย
59 พระชินะพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงมีธรรมเป็นมหาตมัน มีอานุภาพอันหาที่เปรียบมิได้มีฤทธิ์มาก และทรงตั้งมั่นในพลังแห่งขันติ เป็นพระมหาราชา เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมอดทนต่อพฤติกรรมเช่นนี้ของคนพาลทั้งหลาย
60 พระตถาคต เสด็จกลับมาเป็นนิตย์ เพื่อแสดงธรรม แก่ผู้ประพฤติตามพระองค์ พระองค์ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง เป็นผู้ยิ่งใหญ่และเป็นจอมผู้นำของโลก
61 พระตถาคต ทรงทราบสถานะของสัตว์ทั้งหลาย ได้แสดงธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติที่มีอุปการะมาก พระองค์ครั้นทรงทราบอุปนิสัยต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลายแล้ว จึงได้แสดงธรรมด้วยเหตุผล หลายพันอย่าง
62 พระตถาคต ทรงทราบจรรยาแห่งสัตว์และบุคคลทั้งหลาย ดังนั้น เมื่อจะแสดงพระโพธิญาณ อันประเสริฐ จึงทรงแสดงธรรมที่มีอุปการะมากนี้
บทที่4 อธิมุกติปริวรรต ว่าด้วยการน้อมใจเชื่อ
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่5 ต้นไม้นานาพรรณ
บทที่ 5
โอษธีปริวรรต
ว่าด้วยต้นไม้นานาพันธุ์
ในกาลครั้ง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสเรียกพระมหากาศยปะ ผู้มีอายุ และพระมหาสาวกเถระรูปอื่นๆ มาแล้ว (ตรัสว่า) ดูก่อนมหากาศยปะ ดีละ ดีละ เป็นความดีของพวกเธอที่ได้กล่าวพรรณนาคุณอันแท้จริงของพระตถาคต ดูก่อนกาศยปะ เหล่านี้ คือคุณอันแท้จริงของพระตถาคต แต่พระตถาคต มีคุณอีกมากมาย จนนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แม้จะกล่าวอยู่เป็นเวลาหลายกัลป์ติดต่อกันไป ก็ยากที่จะพรรณนาให้หมดได้ ดูก่อนกาศยปะ พระตถาคต เป็นธรรมสวามี เป็นพระราชาแห่งธรรมทั้งปวง ดูก่อนกาศยปะ พระตถาคตแสดงธรรมใด ณ ที่ใด ธรรมนั้น ย่อมเป็นเช่นนั้น ดูก่อนกาศยปะ ก็แลพระตถาคต ได้แสดงธรรมทั้งปวงอย่างเหมาะสม พระตถาคต ย่อมเห็นแจ้งอรรถแห่งธรรมทั้งปวง ดูก่อนกาศยปะ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เข้าถึงอรรถแห่งธรรมทั้งปวง เป็นผู้มีอัธยาศัยในธรรมทั้งปวง เป็นผู้มีปรมัตถบารมีในญาณ อันเป็นกุศโลบาย ในการวินิจฉัยธรรมทั้งปวง เป็นผู้ชี้สัพพัญญุตญาณ เป็นผู้หยั่งลงในสัพพัญญุตญาณ และเป็นผู้แสดงสัพพัญญุตญาณ
ดูก่อน กาศยปะ เปรียบเหมือนเมฆฝนที่แผ่ขยายไปเหนือสามพันโลกธาตุน้อยใหญ่ตลอดทั้งต้นหญ้า ไม้เล็ก ไม้ใหญ่นานาพรรณ นานาประการ และไม้บ้าน ที่มีชื่อต่างๆ กัน ทั้งที่เกิดบนพื้นที่ราบ ขนภูเขา อยู่ที่ซอกเขา เมฆนั้น ครั้นขยายกว้างออกไป ก็คลุมพื้นที่โลกธาตุสามพันน้อยใหญ่ทั้งหมด แล้วหลั่งเป็นฝนลงมาในพื้นที่ทั้งปวงในเวลาพร้อมกัน ดูก่อนกาศยปะ ณ ที่นั้นในโลกธาตุสามพันน้อยใหญ่นั้น ต้นหญ้า ไม้เลื้อย ไม้ใหญ่ รวมทั้งไม้อ่อนก็จะแตกหน่อ กิ่งก้านและใบ ไม้เล็ก ไม้ใหญ่ ทั้งหมดเหล่านั้น จะดูดน้ำ ที่ตกมาจากเมฆตามกำลังและความจำเป็น และด้วยน้ำที่มีสภาพเช่นเดียวกัน ซึ่งตกมาจากเมฆนั้น ไม้ก็จะเจริญเติบโตขึ้น ตามกำลังความสามารถของแต่ละชนิดพันธุ์ แล้วก็ผลิดอกออกผล และได้ชื่อต่างๆกัน แต่ละอย่าง แต่ละชนิด พันธุ์ไม้ต่างๆทั้งหมดเหล่านั้น หยั่งรากลงสู่พื้นดิน เดียวกันได้ รับความชุ่มชื้นด้วยน้ำที่มีสภาพเช่นเดียวกัน
ดูก่อนกาศยปะ ในทำนองเดียวกัน พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกซึ่งก็เหมือนมหาเมฆบังเกิดขึ้น พระตถาคตอุบัติขึ้นมาแล้ว ได้เตือนชาวโลก พร้อมกับเทวดา มนุษย์และอสูรให้สำนึก ดูก่อนกาศยปะ ข้อนั้นก็เหมือนกับเมฆใหญ่ปกคลุมโลกธาตุสามพันน้อยใหญ่ทั้งปวงไว้ ดูก่อนกาศยปะ ทำนองเดียวกัน พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศก็อง ต่อหน้าชาวโลก เทวดา มนุษย์และอสูรว่า ดูก่อนเทวดา และมนุษย์ผู้เจริญทั้งหลาย เราเป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เราข้าม (สงสารสาคร) ได้แล้ว ปรารถนาให้ผู้อื่นข้ามด้วย เราพ้นแล้ว ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นด้วย เราสงบแล้ว ปรารถนาให้ผู้อื่นสงบด้วย เราเป็นผู้ดับสนิทแล้ว ปรารถนาให้ผู้อื่นดับสนิทด้วย ก็แล เราเป็นสัพพัญญู(ผู้รู้ทุกอย่าง) เป็นสัพพวิปัสสี (ผู้เห็นทุกอย่าง) ย่อมรู้โลกนี้และโลกอื่น ตามความเป็นจริงด้วย ปัญญา อันชอบ ดูก่อนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงเข้ามาใกล้เรา เพื่อฟังธรรมเราเป็นผู้บอกทางแห่งความหลุดพ้น เป็นผู้ชี้ทาง เป็นผู้รู้ทางและชำนาญทาง ดูก่อน กาศยปะ ณ ที่ นั้นสรรพสัตว์หลายหมื่นแสนโกฏิ เข้ามาใกล้ๆ เพื่อฟังธรรมของพระตถาคต ครั้งนั้น แม้พระตถาคต จะทราบประมาณมากน้อยแห่งพลังอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย จึงแสดงธรรมบรรยายทั้งหลายเหล่านั้น ได้แสดงธรรมกถาเหล่านั้นมากมาย แตกต่างกันออกไป มีทั้งเรื่องชวนหรรษา น่ารื่นเริงบันเทิงใจ และเรื่องที่ก่อเกิดประโยชน์และความสุข สัตว์ทั้งหลายผู้ยินดีแล้วย่อมมีความสุขในธรรม และครั้นตายไป ก็จะได้ไปบังเกิดในสุคติ อันเป็นถิ่นที่เขาทั้งหลายจะได้บริโภคกาม (ความสุข) มากมาย และจะได้ฟังธรรม ก็แลเมื่อฟังธรรมนั้นแล้ว ก็จะหลุดพ้นจากนิวรณธรรม และจะตั้งมั่นอยู่ในธรรมของพระสัพพัญญู โดยลำดับไป ตามสมควรแก่กำลัง วิสัย และสถานที่
ดูก่อนกาศยปะ เมื่อมหาเมฆปกคลุมโลกธาตุสามพันน้อยใหญ่ทั้งปวงแล้ว ได้หลั่งน้ำฝน พรมต้นหญ้า ไม้เล็ก ไม้ใหญ่ ต้นหญ้า ไม้เล็ก ไม้ใหญ่เหล่านั้น ได้ดูดซับน้ำตามสมควรแก่กำลัง วิสัยและสถานที่ ย่อมแพร่พันธุ์ ไปตามชนิดของตน ฉันใด ดูก่อนกาศยปะ ฉันนั้นเหมือนกัน พระตถาคตอรหันตสัมมาสัพพุทธเจ้า แสดงธรรมใด ธรรมนั้นทั้งหมด มีรสเดียวกันคือ วิมุกติรส วิราครส และนิโรธรส ที่มีสัพพัญญุตญาณเป็นที่สุด
ดูก่อนกาศยปะ ณ ที่นั้น เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ฟัง ทรงจำและปฏิบัติอยู่ (แต่) พวกเขาไม่รู้ ไม่เข้าใจ กำหนดไม่ได้ ซึ่งตนเอง ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร ดูก่อนกาศยปะ เพราะเหตุว่า พระตถาคตเท่านั้น ย่อมรู้ว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เป็นอย่างไร เป็นเช่นไร คิดสิ่งใด อย่างไร และเพราะเหตุอะไร จึงคิด เจริญอะไร อย่างไร และเพราะเหตุไรจึงเจริญ ได้รับอะไร ได้รับอย่างไร และเพราะเหตุไร จึงได้รับ ดูก่อนกาศยปะ พระตถาคตเท่านั้น ณ ที่นั้น เป็นผู้เห็นประจักษ์ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ทั้งผู้ที่ต่ำทราม ผู้สูงส่ง และผู้ระดับกลาง เหมือนเห็นไม้เล็ก ไม้ใหญ่ ไม้เจ้าป่า ซึ่งยืนต้นอยู่บนพื้นดินถิ่นต่างๆ
ดูก่อนกาศยปะ เรารู้ว่า ธรรมมีรสเดียวคือ วิมุกติรส นิรวฤติรส ซึ่งมีนิพพานเป็นที่สุด เป็นธรรมที่ดับนิรันดร์ มีฐานะเดียวคือน้อมไปสู่ความเป็นศูนยตา เมื่อรักษาสัตว์ทั้งหลายอยู่ จึ่งไม่ประกาศสัพพัญญุตญาณ โดยเร็ว ดูก่อนกาศยปะ ท่านทั้งหลาย ย่อมอัศจรรย์ใจ ประหลายใจ ที่ไม่สามารถ หยั่งลงสู่ธรรมที่เราแสดงแล้ว ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร ดูก่อนกาศยปะ เพราะว่า ธรรมที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแล้วนั้น เป็นสิ่งที่เข้าใจยากยิ่ง
เวลานั้น พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงแสดงข้อความนั้นให้พิสดารยิ่งขึ้น จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
1 เราเป็นธรรมราชา อุบัติขึ้นมาในโลก เพื่อทำลายภพ เราตรวจอุปนิสัยของสัตว์ทั้งหลายแล้ว จึงแสดงธรรม
2 นักปราชญ์ ผู้มีความรู้และกล้าหาญ ย่อมรักษาธรรมที่เรากล่าวแล้ว ให้คงอยู่ ตลอดไป ย่อมรักษาความลึกล้ำ (ของธรรมไว้) ไม่แสดงแก่ชนทั่วไป
3 ญาณ (ธรรม) นั้นเป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก สามัญชนหากได้ฟังโดยฉับพลัน ก็จะงุนงง เพราะความไม่เข้าใจนั้น พวกเขาผู้มีปัญญาน้อย ก็จะเกิดผิดทาง (ปฏิบัติผิด)
4 เรากล่าวตามความเหมาะสม (วิสัย) และตามพละกำลังของเขา เราแสดงธรรมที่เหมาะสมด้วยอรรถ (ความหมาย)ต่างๆ
5 ดูก่อน กาศยปะ เปรียบเหมือนเมฆที่เกิดขึ้นเหนือโลกธาตุ ห่อหุ้มวัตถุทั้งปวงและปกคลุมโลกธาตุไว้
6 มหาเมฆนั้นชุ่ม (สมบูรณ์) ด้วยน้ำ ประกอบกับสายฟ้ากำลังคำรามอยู่ พึงทำให้สัตว์ทั้งปวง ยินดี ด้วยเสียงคำรามนั้น
7 เมฆนั้น กั้นแสงพระอาทิตย์ ทำพื้นที่ให้เย็นลง ลอยลงมาแทบจะเอามือเอื้อมถึงพึงปล่อยน้ำ (ฝน) ลงมาโดยรอบ
8 ก็แล เมฆนั้นนั่นเอง ที่ทำให้ฟ้าแลบ แล้วหลั่งฝนลงมา เป็นจำนวนมากจนทำให้ภาคพื้นเมทินีชุ่มฉ่ำโดยทั่วไป
9 ไม้ล้มลุกทั้งหลายก็ผุดขึ้นบนพื้นดิน รวมทั้งหญ้า พุ่มไม้ ป่าไม้ และต้นไม้ใหญ่ ทั้งหลาย
10 พืชชนิดต่างๆ ก็จะกลายเป็นเขียวชอุ่มขึ้น แม้ที่เนินเขา ท้องทุ่ง และหมู่บ้าน
11 เมฆนั้น ทำให้หญ้า พุ่มไม้ และต้นไม้ทั้งปวง สดชื่น ทำให้แผ่นดินที่แตกระแหงชุ่มชื่น จึงให้(อาหาร)แก่พืช
12 หญ้าและพุ่มไม้ ต่างก็ซึมซับน้ำที่มีคุณสมบัติอย่างเดียวกัน ที่ตกจากเมฆ และขังอยู่ในที่นี้ ตามกำลังความสามารถของตน
13 ต้นไม้น้อยใหญ่ทั้งปวง เมื่อดูดซึมน้ำตามความสามารถแล้ว ย่อมเจริญขึ้นเร็ว บ้าง ปานกลางบ้าน ข้าบ้าง ตามธรรมชาติ
14 ต้นไม้ใหญ่ ซึ่งมีลำต้น แก่น เปลือก กิ่ง ก้าน ใบ ที่ได้รับน้ำจากเมฆ ย่อมผลิดอกออกผล
15 แม้น้ำที่ตกจากเมฆจะมีรสเป็นเช่นเดียวกัน ต้นไม้เหล่านั้น ก็ย่อมผลิผลแต่ละชนิด ตามกำลัง ตามธรรมชาติ ความเหมาะสม และลักษณะของพันธุ์
16 ดูก่อนกาศยปะ ในทำนองเดียวกัน พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาในโลก เหมือนกับเมฆฝนที่เกิดขึ้นในโลก ครั้นอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งของโลก ก็ได้แสดง(ธรรม) และชี้แนวทางการปฏิบัติที่เป็นจริงแก่สัตว์ทั้งหลาย
17 มหาฤษี ผู้ที่ได้รับการยกย่องในโลกนี้ พ้อมทั้งเทวโลก ประกาศก็องอย่างนี้ว่า เราเป็นพระตถาคต เป็นผู้สูงสุดในหมู่มนุษย์ เป็นพระชินเจ้า อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เหมือนกับเมฆฝน
18 เราจะทำสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ผู้ระโหยโรยรา และหมกมุ่นอยู่ในโลกทั้งสาม ให้สดชื่น เราจะต้องให้ผู้ตรากตรำด้วยความทุกข์ ตั้งอยู่ในความสุข เราจะให้สิ่งที่น่าปรารถนา และพระนิพพาน (แก่พวกเรา)
19 ดูก่อนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังคำของเรา จงเข้ามาใกล้เราเถิด เราคือพระผู้มีพระภาคตถาคต ที่ไม่มีใครยิ่งไปกว่า อุบัติขึ้นมาในโลก เพื่อคุ้มครองภัย
20 เราประกาศธรรมอันบริสุทธิ์และงดงามยิ่ง ที่มีลักษณะบ่งบอกความจริงสิ่งเดียวกันคือ ความหลุดพ้นและนิพพาน แก่สัตว์หลายพันโกฏิ
21 เราประกาศธรรมด้วยเสียงอย่างเดียวกัน เพื่อทำพระโพธิญาณให้เป็นหลักที่เสมอกันเป็นนิจ ไม่มีความลำเอียง ความเกลียดชังและความรัก
22 เราไม่มีความยึดมั่น ไม่มีความรัก ไม่มีความชังในผู้ใดผู้หนึ่ง เราประกาศธรรมเสมอกัน แก่สัตว์ทั้งหลาย คือ (ประกาศ) แก่คนหนึ่งอย่างไร คนอื่นก็อย่างนั้น
23 ไม่ว่าจะเป็นเวลาเดิน ยืน หรือนั่งอยู่ เรามีแต่ประกาศธรรมเท่านั้น ไม่ได้กระทำงานอื่น ตถาคตไม่เยเหน็ดเหนื่อยเพราะการนั่งแสดงธรรมเลย
24 เรา (ตถาคต) เป็นผู้ทำให้โลกทั้งปวงเอิบอิ่มชุ่มชื่นเหมือนเมฆ หลั่งฝนลงมาอย่างเสมอภาคกัน เรามีความรู้สึกเสมอกันในชนผู้ประเสริฐ ผู้ต่ำทราม ผู้ทุศีล และผู้มีศีล
25 ชนเหล่าใด มีความประพฤติไม่ดี มีความประพฤติดี มีทิฏฐิมั่งคง มีทิฏฐิไม่มั่งคง มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นผิด เราประกาศธรรมแก่ชนเหล่านั้นทุกคน
26 เราประกาศธรรมในหมู่ชนทั้งหลาย ผู้มีอินทรีย์หยาบ มีอินทรีย์แก่กล้า และมีอินทรีย์อ่อน เราไม่คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อยทั้งปวง หลั่งฝนคือธรรมเป็นอันดี
27 ชนทั้งหลายผู้ได้ฟังธรรมของเราแล้ว ตามกำลังของตน ย่อมตั้งอยู่ในภูมิต่างกัน คือเป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ประเสริฐ เป็นพระอินทร์ เป็นพระพรหม เป็นจักรพรรดิ
28 ท่านทั้งหลายจงฟัง เราจักอธิบายพันธุ์ไม้นานาชนิด น้อยใหญ่ทั้งปวงในโลกบางชนิดเตี้ย บางชนิดปานกลาง และบางชนิดใหญ่โต
29 พันธุ์ไม้ชนิดเตี้ย ได้แก่ชนทั้งหลายผู้รู้ธรรม ไม่มีอาสวะเจือปน บรรลุพระนิพพาน และผู้บรรลุอภิญญาหก และวิชชาสาม
30 พันธุ์ไม้ชนิดปานกลาง ได้แก่ชนทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในถ้ำ ผู้ปรารถนาจะบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ และมีปัญญาบริสุทธิ์พอสมควร
31 พันธุ์ไม้ชนิดสูง ได้แก่ชนผู้ปรารถนาจะเป็นผู้นำของมนุษย์ โดยคิดว่า ข้าพเจ้าจะเป็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งของมนุษย์และเทวดาและชนที่มีความเพียรและทำสมาธิ
32 ส่วนต้นไม้ทั่วไปนั้น ได้แก่บุตรของพระตถาคต ผู้มีเมตตา ตั้งอยู่ในความประพฤติอันสงบสุข ผู้ตั้งใจแน่วแน่ในความเป็นบุรุษผู้นำ
33 ต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ผู้เป็นปราชญ์ที่หมุนวงล้อแห่งธรรมไปโดยมิให้หวนกลับ ตั้งมั่นอยู่ในพลังแห่งฤทธิ์ และเป็นผู้ปลดเปลื้องสัตว์จำนวนหลายโกฏิ
34 ธรรมที่พระชินเจ้าแสดงเป็นสิ่งเสมอกัน เหมือนกับน้ำฝนที่ตกลงมาจากเมฆ เป็นสิ่งเสมอกัน จะต่างกันก็เพียงปัญญา (ของมนุษย์) เท่านั้น ซึ่งเหมือนกับไม้นานาพันธุ์ ที่เกิดขึ้นบนพื้นปฐพีนี้
35 ด้วยอุทาหรณ์ที่แสดงให้เห็นแล้วนี้ ท่านจงทราบอุบายของตถาคตเถิด ตถาคตแสดงธรรมอย่างเดียวกัน
36 ตถาคตหลั่งฝนคือธรรม โลกทั้งปวงได้รับความชุ่มชื่น ชนทั้งหลายย่อมพิจารณา ธรรมภาษิต ที่มีรสอย่างเดียวกันตามกำลังของตนๆ
37 ต้นหญ้า ต้นไม้เล็ก ต้นไม้ขนาดกลาง ต้นไม้ขนาดใหญ่ และต้นไม้ใหญ่มากทั้งหมด เมื่อฝนตกอยู่ ย่อมงดงามทั้งสิบทิศ ฉันใด
38 สภาวธรรม ก็ฉันนั้น ย่อมเป็นประโยชน์แก่ชาวโลกทุกเมื่อ และทำให้โลกทั้งปวงชุ่มชื่น โลกทั้งปวง ครั้นเอิบอิ่มชุ่มชื่นด้วยธรรมแล้ว ก็จะเจริญขึ้นเหมือนหมู่ไม้เผล็ดดอกออกผลต่างๆนั้แล
39 ส่วนไม้ที่เจริญขึ้นมามีขนาดปานกลาง คือพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะ พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้อาศัยอยู่ในป่าทึบ เป็นผู้บรรลุธรรมอันประเสริฐนั้นแล
40 (แต่) พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติ มีปัญญา เที่ยวไปตามทางแห่งตน ในทุกแห่งในโลกทั้งสาม แสวงหาพระโพธิญาณอันประเสริฐนี้ ย่อมเจริญตลอดกาลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้ใหญ่
41 ผู้ที่มีฤทธิ์ บรรลุฌานสี่ ฟังเรื่องศูนยตาแล้ว เกิดความปีติยินดี เปล่งรัศมี ออกมาจำนวนพันดวง บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นต้นไม้ใหญ่ในโลกนี้
42 ดูก่อนกาศยปะ พระธรรมเทศนาเป็นเช่นนี้เหมือนกับน้ำที่ตกมาจากเมฆ เสมอเหมือนกันหมด ต้นไม้จำนวนมาก มนุษย์ ดอกไม้ ซึ่งนับไม่ก็วน ย่อมเจริญงอกงามขึ้น
43 เรา ย่อมประกาศธรรมอันมีเหตุปัจจัยในตัวมันเอง และตถาคตก็แสดงพุทธโพธิญาณตามกาลอันสมควร นี้คือกุศโลบาย อันประเสริฐของเรา และของพระผู้นำแห่งโลกทั้งปวง
44 สิ่งที่เราได้กล่าวแล้วนั้นเป็นเรื่องจริง สาวกทั้งหลายทั้งปวง ย่อมบรรลุพระนิพพาน สาวกเหล่านั้นทั้งหมด ประพฤติธรรมอันประเสริฐยิ่ง ก็จะได้เป็นพระพุทธเจ้าแล
ดูก่อนกาศยปะ อีกประการหนึ่ง ตถาคตสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายเสมอเหมือนกัน หาได้สอนต่างกันไม่ ดูก่อนกาศยปะ เหมือนแสงจันทร์และแสงอาทิตย์ ส่องสาดมายังโลก ส่องทั่วทั้งคนชั่วและคนดี ที่สูงและต่ำ กลิ่นเหม็นและกลิ่นหอม แสงนั้นสาดส่องไปทั่วทุกหนทุกแห่งเสมอกัน ไม่ได้แตกต่างกันเลย ในทำนองเดียวกัน ดูก่อนกาศยปะ แสงสว่างของดวงจิตที่เป็นสัพพัญญุตญาณของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และการแสดงธรรมย่อมเป็นไปเสมอกันในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ผู้เกิดในภูมิทั้งห้า ผู้อุทิศตนเพื่อ มหายาน เพื่อปัจเจกพุทธยานและเพื่อสาวกยาน ตามอุปนิสัย ความหย่อนหรือความยิ่งแห่งแสงญาณของตถาคต ย่อมไม่มีเพื่อการเข้าถึงญาณอันประเสริฐนั้นแต่อย่างใด ดูก่อนศากยปะ ไม่มีสามยาน แต่สัตว์ทั้งหลายประพฤติต่าง กัน ดังนั้น จึงกล่าวกันว่ามีสามยาน
เมื่อพระผู้มีภาค ตรัสดังนี้แล้ว ท่านพระมหากาศยปะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าไม่มียานทั้งสามแล้ว เพราะเหตุไร ในปัจจุบันนี้จึงกล่าวแยกเป็น สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตวยาน เล่า
ครั้นเมื่อ ท่านพระมหากาศยปะทูล(ถาม)อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะท่านพระมหากาศยปะว่า "ดูก่อนกาศยปะ เหมือนายช่างหม้อ ปั้นภาชนะทั้งหลาย ด้วยดินเหนียวเหมือนกัน ในบรรดาภาชนะเหล่านั้น ภาชนะชนิดหนึ่ง ใช้ใส่น้ำตาล ชนิดหนึ่งใช้ใส่น้ำมันเนย ชนิดหนึ่งใช้ใส่นมเปรี้ยวและนมสด ส่วนบางชนิด ที่มีคุณภาพเลว ก็ใช้ใส่ของที่ไม่สะอาด ไม่มีความต่างกันของดินเหนียว แต่ความต่างกันของภาชนะทั้งหลายปรากฏขึ้น ด้วยมาตรฐานการใช้บรรจุสมบัติ ดูก่อนกาศยปะ ในทำนองเดียวกันนั่นแล ยานมีเพียงหนึ่งเท่านั้น คือ พุทธยาน ยานที่สองและยานที่สามไม่มี
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหากาศยปะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้ถ้าสัตว์ทั้งหลายผู้มีความประพฤติต่างกัน พ้นจากโลกทั้งสามแล้ว เขาทั้งหลายจะมีหนึ่งนิพพาน สองนิพพาน หรือสามนิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนกาศยปะ นิพพานคือความเสมอภาคแห่งธรรมทั้งปวง ในพระโพธิญาณ ฉะนั้นนิพพานจึงมีเพียงหนึ่งเท่านั้น ไม่มีสอง สามนิพพาน ดูก่อนกาศยปะ ถ้าเช่นนั้น เราจะเปรียบเทียบให้เธอฟัง เพราะว่าผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมรู้ เนื้อความของคำสอน ด้วยรูปแบบของการเปรียบเทียบ
ดูก่อนกาศยปะ ข้อนั้นก็เหมือนกาบชายตาบอดแต่กำเนิดนั่นเอง ชายตาบอดกล่าวอย่างนี้ว่า รูปทั้งหลายที่สวยงามและน่าเกลียดไม่มี คนที่เห็นรูปที่สวยงามและน่าเกลียดไม่มี พระอาทิตย์ไม่มี พระจันทร์ไม่มี ดาวฤกษ์ทั้งหลายไม่มี ดาวพระเคราะห์ทั้งหลายไม่มี คนเห็นดาวพระเคราะห์ไม่มี แต่คนพวกอื่น พึงพูดข้างหน้าคนตาบอดแต่กำเนิดนั้นอย่างนี้ว่า รูปทั้งหลายที่สวยงามและน่าเกลียดมี คนที่เห็นรูปที่สวยงามและน่าเกลียดมี พระอาทิตย์มีและพระจันทร์มี ดาวฤกษ์ทั้งหลายมี ดาวเคราะห์ทั้งหลายมี คนที่เห็นดาวเคราะห์ก็มี แต่ชายตาบอดแต่กำเนิดนั้นไม่เชื่อคนเหล่านั้น ไม่ยอมรับความจริงที่คนอื่นกล่าว ต่อมามีแพทย์คนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้รู้โรคทุกอย่าง แพทย์ผู้นั้นมองชายตาบอดแต่กำเนิดนั้น เกิดความคิดขึ้นว่า โรคนี้เกิดขึ้น เพราะกรรมชั่วในชาติปางก่อนของชายผู้นั้น โรคเหล่านั้นคืออะไรบ้าง โรคที่เกิดขึ้นนั้น มีสี่ชนิดด้วยกันคือ โรคไขข้อ โรคอหิวาต์ โรคเฉื่อยชามึนซึม และโรคที่เกิดจากความสับสนของอารมณ์
ครั้งนั้น แพทย์ผู้นั้น คิดแล้วคิดอีก ถึงอุบายที่จะรักษาโรคให้หาย เขามีความคิดอย่างนี้ว่าโรคนี้ไม่สามารถรักษาได้ ด้วยยาชนิดธรรมดา แต่ที่ขุนเขาหิมพานต์มียาอยู่สี่ชนิด ยาสี่ชนิดคืออะไรบ้าง ยาสี่ชนิดคือ ชนิดหนึ่งชื่อว่า "สรววรณรสสถานานุคตา" (ยาเพิ่มสีและรสทั้งปวง) ชนิดที่สองชื่อว่า "สรววยาธิปรโมจนี" (ยาแก้โรคทั้งปวง) ชนิดที่สามมีชื่อว่า "สรววิษวินาศนี" (ยาปราบพิษทั้งปวง) ชนิดที่สี่ชื่อว่า "ยถาสถานสถิตสุขปรทา" (ยาที่ส่งเสริมความสุขให้ดำรงอยู่ตามสถานะ) นี่คือยาสี่ชนิดที่แพทย์เกิดความสงสารในชายตาบอดแต่กำเนิดนั้น จึงคิดอุบายที่ตนอาจไปถึงขุนเขาหิมพานต์ พอไปถึงแล้ว แพทย์ผู้นั้น ก็เดินขึ้นเดินลงและไปตามขวางของภูเขา แสวงหายา เขาแสวงหาอยู่อย่างนี้ก็พบยาสี่ชนิดนั้น ครั้นพบแล้ว จากยาสี่ชนิดนั้น ส่วนหนึ่งเขาเคี้ยวเสียก่อนแล้วจึงให้ ส่วนหนึ่งตำเสียก่อนแล้วจึงให้ ส่วนหนึ่งผสมกับยาอื่นต้มให้เดือดเสียก่อนแล้วจึงให้ ส่วนหนึ่งผสมกับยาดิบเสียก่อนแล้วจึงให้ ส่วนหนึ่งให้ด้วยการฉีดเข้าไปในร่างกาย ส่วนหนึ่งเผาไฟเสียก่อนแล้วจึงให้ ส่วนหนึ่งผสมกับวัตถุอื่นใส่ลงไปในน้ำและอาหารแล้วจึงให้ โดยวิธีนี้ชายตาบอดแต่กำเนิดนั้นได้จักษุกลับคืนมา เขาได้จักษุกลับคือมาแล้ว มองเห็นทั้งภายนอกภายใน ไกลและใกล้ มองเห็นแสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ และรูปทั้งปวง เขากล่าวอย่างนี้ว่า "โอ้ ข้าพเจ้าเป็นคนโง่เขลา เมื่อชนทั้งหลายกล่าวอยู่ในคราวก่อนๆ ข้าพเจ้าไม่เชื่อและไม่ยอมรับสิ่งที่เขากล่าวแล้ว บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ข้าพเจ้าพ้นแล้วจากความเป็นผู้บอด ข้าพเจ้าได้จักษุคืนมา และไม่มีใครวิเศษไปกว่าข้าพเจ้า ก็ในสมัยนั้น ฤาษีทั้งหลายผู้ได้อภิญญาห้า ได้ทิพยจักษุ ทิพยโสต รู้จิต ของผู้อื่น ได้ปุพเพนิวาสาสุสสติญาณ มีฤทธิ์ เป็นผู้หลุดพ้นและมีกุศลสาม ได้กล่าวกับชายผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านได้จักษุคืนมา แต่ท่านไม่รู้อะไร อภิมานะของท่านเกิดจากไหน ปัญญาของท่านไม่มี ท่านยังไม่เป็นบัณฑิต ฤาษีเหล่านั้นพึงกล่าวกับเขาอย่างนี้อีกว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านนั่งอยู่ภายในเรือน ย่อมไม่เห็น ไม่รู้อะไรที่อยู่ภายนอก ย่อมไม่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีจิตเมตตาหรือโหดร้าย ท่านย่อมไม่เข้าใจเสียงของมนุษย์ ซึ่งยืนพูดอยู่ภายในห้าโยชน์และจะไม่รู้ ไม่ได้ยินเสียงกล่องและสังข์ เป็นต้น ท่านไม่ยกเท้าทั้งสองแล้ว ก็ไม่อาจเดินได้เป็นระยะทางหนึ่งโกรศะ (สองไมล์) ท่านเกิดและเจริญเติบโตในท้องมารดา ท่านจำการกะทำนั้นไม่ได้ ฉะนั้น ท่านจะเป็นผู้ฉลาด(บัณฑิต) ได้อย่างไร ท่านจะพูดได้อย่างไรว่า ข้าพเจ้าเห็นทุกอย่าง ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ เพราะท่านเข้าใจความมืดว่า เป็นความสว่าง เข้าใจความสว่างว่าเป็นความมืด
ครั้นนั้น ชายผู้นั้น ได้พูดกะฤาษีทั้งหลายว่า อุบายอะไร หรือกรรมที่งามอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว จะพึงได้ปัญญาเช่นนั้น และจะพึงได้คุณทั้งหลายเหล่านั้น เพราะความเลื่อมใส ท่านทั้งหลาย ครั้งนั้น ฤาษีทั้งหลายกล่าวกะชายนั้นว่า ถ้าท่านปรารถนา ท่านจงไปอยู่ป่า หรือไม่ก็นั่งในถ้ำที่ภูเขาทั้งหลาย พิจารณาธรรม ท่านสละละทิ้งกิเลสทั้งหลายเสีย ท่านก็จะเป็นผู้ประกอบด้วยคุณงามความดีและบรรลุอภิญญา แล้วชายผู้นั้น ก็รับเอาคำนั้น และได้บวชเป็นฤาษี เขาอาศัยอยู่ในป่า มีจิตอันเลิศตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ละตัณหาอันเป็นโลกายัต พึงบรรลุอภิญญาห้า หลังจากบรรลุอภิญญาแล้ว เขาพึงคิดว่า ในกาลก่อน ข้าพเจ้า ได้กระทำกรรมอื่น (อันต่ำทราม) ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ประสบคุณความดี บัดนี้ ข้าพเจ้าได้สิ่งที่ข้าพเจ้าคิดแล้ว ในกาลก่อนข้าพเจ้ามีปัญญาน้อย มีความเข้าใจเล็กน้อยเป็นคนบอด
ดูก่อนกาศยปะ นี้คืออุปมาที่เรา (ตถาคต) แต่งขึ้น เพื่อให้เข้าใจความหมายนี้ เธอฟังเห็นความหมายดังนี้ ดูก่อนกาศยปะ คำว่า "ตาบอดแต่กำเนิด" ก็คือบรรดาสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดในภูมิทั้งหก ที่ไม่รู้พระสัทธรรม เพิ่มพูนความมืดคือกิเลส เป็นผู้บอดเพราะอวิชชา และผู้บอดเพราะอวิชชานั้น สร้างความคิดต่างๆ ขึ้นมา และเมื่อมีความคิด ก็ยึดติดในนามรูป ผลก็คือ ย่อมเกิดกองทุกข์ อันยิ่งใหญ่แต่อย่างเดียวเท่านั้น
สัตว์ทั้งหลาย ผู้บอดเพราะอวิชชา ดำรงตนอยู่ในโลก (สังสารวัฏ) อย่างนี้ ส่วนพระตถาคตพ้นแล้วจากโลกธาตุทั้งสาม เพราะมีความกรุณา เหมือนกับบิดาเกิดความกรุณาในบุตรคนเดียวซึ่งเป็นที่รัก (เรา) จึงมาบังเกิดในสามโลก ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้ท่องเที่ยวไปอยู่ในวัฏฏสงสาร และสัตว์เหล่านั้น ไม่รู้วิถีทางที่จะออกจากวัฏฏสงสาร ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคมองดูสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาจักษุ และครั้นเห็นแล้วก็ทราบว่า ในกาลก่อนสัตว์เหล่านี้กระทำกุศลไว้แล้ว บ้างก็มีโทละเบาบางมีราคะกล้า บ้างก็มีราคะเบาบางมีโทสะกล้า บ้างก็มีปัญญาน้อย บ้างก็เป็นบัณฑิต บ้างก็มีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง และบ้างก็มีมิจฉาทิฏฐิ พระตถาคตจึงเสนอยานสามชนิดแก่สัตว์เหล่านั้น ด้วยกุศโลบาย
ณ ที่นั้น ฤาษีทั้งหลาย ผู้มีอภิญญาห้ามีจักษุหมดจดนั้นแล คือพระโพธิสัตว์ ยังโพธิจิตให้บังเกิดขึ้น จนสำเร็จขันติธรรม ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แล้วจึงตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ
นายแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ในเรื่องนี้ พึงเทียบได้กับพระตถาคตนั่นเอง ชายตาบอดแต่กำเนิดก็คือสัตว์ทั้งหลายที่มืดบอดเพราะโมหะ โรคลมน้ำดี และเสลด ก็เหมือนกับราคะ โทสะ และโมหะ ทิฏฐิหกสิบสอง พึงเห็นว่าเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ยาสี่ชนิด พึงเทียบได้กับ ศูนยตา (ความว่างเปล่า) อนิมิตตา (ความไม่ยึดถือ) อัปปณิหิตา (ความไม่ปรารถนา) และพระนิพพาน (ความดับ) การใช้ยาทั้งหลาย จนสามารถระงังโรคได้ เหมือนกับสัตว์ทั้งหลาย เจริญวิโมกข์สาม คือสุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างเปลา) อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยการไม่ยึดติดนิมิต) อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา) ก็จะดับอวิชชา (ความไม่รู้) ได้ เมื่อดับอวิชชาได้ สังขาร (การปรุงแต่ง) ก็ดับ และในที่สุดก็จะดับกองทุกข์อันยิ่งใหญ่ลงได้ แล้ว จิตก็จะไม่ตั้งอยู่ทั้งในความดีและในความชั่ว (เป็นพระอริยบุคคล)
ผู้มีจักษุบอด แล้วได้สายตาดีคืนมา เปรียบได้กับผู้ควรแก่ สาวกยาน และ ปัจเจกพุทธยาน เขาย่อมตัดกิเลสเครื่องผูกพันของสังสารวัฏเสียได้ พ้นจากกิเลสเครื่องผูกพัน พ้นจากภูมิทั้งหก และโลกทั้งสาม ฉะนั้นผู้สมควรแก่สาวกยาน ย่อมรู้อย่างนี้ และกล่าวถ้อยคำอย่างนี้ว่า ธรรมอื่นที่ทำให้ตรัสรู้นั้นไม่มี ข้าพเจ้าถึงพระนิพพานแล้ว ที่นั้น พระตถาคตจะตรัสธรรมแก่เขาว่า บุคคลใด ไม่บรรลุธรรมทั้งปวงแล้ว เขาจะบรรลุพระนิพพานได้อย่างไร พระผู้มีพระภาคจึงให้เขาเข้าถึงพระโพธิญาณ เขา ครั้นจิตที่น้อมไปสู่พระโพธิญาณเกิดขึ้นแล้วก็จะไม่สถิตในโลก แต่ยังไม่บรรลุพระนิพพาน เขาครั้นรู้แล้ว จะเห็นโลกทั้งสามในทั้งสิบทิศว่าเป็นสิ่งว่างเปล่า เป็นสิ่งที่ต้องสลายไป เป็นมายา เป็นความฝัน เป็นพยับแดด และเป็นเหมือนเสียงสะท้อน เขาย่อมมองเห็นว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่เกิดขึ้น ไม่ดับไป ไม่ถูกผูกพัน ไม่หลุดพ้น ไม่มืดบอด และไม่สว่าง บุคคลที่เห็นธรรมทั้งหลายลึกซึ้งอย่างนี้ ย่อมเห็นโลกธาตุทั้งปวง เต็มไปด้วยสัตว์ ที่มีความนึกคิดและอุปนิสัยต่างกัน เหมือนกับว่า มองไม่เห็น
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงแสดงอรรถให้ยิ่งขึ้น ไป จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า
45 แสงจันทร์และแสงอาทิตย์ ย่อมสาดส่องไปยังโลกมนุษย์ ทั้งที่มีคุณความดีและชั่วช้าเสมอกัน ทั่วทุกแห่งหน ไม่น้อยและไม่มากไปกว่ากันเลย ฉันใด
46 แสงแห่งปัญญาของพระตถาคต ย่อมแนะนำสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่งกว่ากัน เหมือนแสงอาทิตย์และแสงจันทร์ ฉันนั้น
47 ช่างหม้อ ปั้นหม้อด้วยดินเหนียวอย่างเดียวกัน หม้อที่ปั้นนั้น ย่อมเป็นหม้อใส่น้ำตาล หม้อใส่นม หม้อใส่น้ำมันเนย และหม้อใส่น้ำ
48 ภาชนะบางอย่าง ก็ใส่ของไม่สะอาด บางอย่างก็ใส่นมเปรี้ยว เขาปั้นหม้อทั้งกลายด้วยดินเหนียวอย่างเดียวกัน
49 วัตถุที่นำมาบรรจุ ทำให้ภาชนะนั้น ถูกกำหนดแตกต่างกันไป ฉันใด พระตถาคตก็ฉันนั้น ย่อมพิจารณาเห็นความพิเศษของสัตว์และอัธยาศัยที่แตกต่างกัน
50 จึงตรัสยานต่างกันไป แต่พุทธยานเป็นสัจจะที่แน่นอน เพราะไม่รู้สังสารจักรมนุษย์จึงไม่บรรลุพระนิพพาน
51 ส่วนผู้ใด เข้าใจถ่องแท้ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นศูนยตา และไม่เป็นอัตตา ผู้นั้นย่อมเข้าใจพระโพธิญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย
52 เพราะเข้าถึงปัญญาระดับกลาง บุคคลนั้น จึงชื่อว่า พระปัจเจกชินะ และเพราะไม่มีความรู้เรื่องศูนยตา บุคคลนั้นจึงถูกเรียกว่า สาวก
53 เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง บุคคลนั้นจึงชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายเป็นนิตย์ ด้วยอุบายหลายร้อยวิธี
54 เหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด มองไม่เห็นพระอาทิตย์ (พระจันทร์) ดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า รูปทั้งหลายย่อมไม่มีโดยประการทั้งปวง
55 ส่วนนายแพทย์ใหญ่ ผู้มีความกรุณาต่อชายตาบอดนั้น เขาได้ไปยังเขาหิมาลัยเดินขึ้นเดินลง (ภูเขา) อยู่ เพื่อแสวงหายา
56 นายแพทย์นั้น ได้ยาทั้งสี่ชนิดครบถ้วน คือ ต้น (นค) ราก(สถาน) เปลือก(วรณ) และใบ (รส=รับรู้อารมณ์) จากภูเขานั้น แล้วนำมาปรุง
57 นายแพทย์ได้ประกอบยา ให้แก่ชายตาบอดแต่กำเนิดนั้น ดังนี้ คือส่วนหนึ่งเคี้ยวเสียก่อนแล้วจึงให้ ส่วนหนึ่งบดหรือตำเสียก่อนแล้วจึงให้ และอีกส่วนหนึ่งใช้ฉีดเข้าไปในร่างกาย
58 ชายผู้นั้นกลายเป็นผู้มีตาดี ได้เห็นพระอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้งหลาย เขาจึงเข้าว่า ตอนแรกนั้น เขาพูดไปเพราะความไม่รู้
59 ในทำนองเดียวกัน สัตว์ทั้งหลายที่มีอวิชชามาก เหมือนผู้บอดแต่กำเนิด ย่อมท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ เพราะไม่รู้วัฏฏจักรแห่งความทุกข์
60 ในโลก ที่มีความลุ่มหลงเพราะอวิชชาอย่างนี้ พระตถาคตผู้รู้ทุกอย่างเหมือนกับ นายแพทย์ใหญ่ ผู้มีความกรุณา จึงได้อุบัติขึ้น
61 พระตถาคตนั้น เป็นครูที่ฉลาดในอุบาย ได้แสดงพระสัทธรรม และอนุตตรพุทธโพธิญาณ แก่สัตว์ผู้มียานอันประเสริฐ
62 ส่วนผู้มีปัญญาปานกลาง พระผู้นำ ก็แสดงธรรมปานกลาง ส่วนผู้มีความกลัวต่อสังสารวัฏ พระตถาคตก็แสดงพระโพธิญาณอย่างอื่น
63 พระสาวก ผู้พ้นแล้วจากโลกทั้งสาม ผู้มีความรู้ ก็จะคิดอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้บรรลุนิพพาน ที่ไร้มลทินและที่เป็นสิริมงคลแล้ว
64 ในเรื่องนี้ เรา ได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า นั่นไม่เรียกว่านิพพาน แต่เพราะการตรัสรู้ธรรมทั้งปวงต่างหาก จึงบรรลุพระนิพพาน ที่เป็นอมตะ
65 มหาฤาษี (พระสุคต) เพราะความกรุณาต่อเขา จึงได้กล่าวกับเขาว่า เธอเป็นผู้โง่เขลา เรา(ตถาคต) รู้ว่า ภาวะเช่นนั้น แม้น้อยนิดก็ยังไม่มีแก่เธอ
66 เมื่อเธออยู่แต่ภายในห้อง อะไรที่เกิดขึ้นภายนอก เธอไม่รู้ จึงนับว่า เธอมีความรู้ น้อยมาก
67 ก็แลบุคคลที่อยู่ภายในนั้น ย่อมจะไม่รู้ว่า เขาทำอะไร หรือไม่ทำอะไรกันในภายนอก แม้บัดนี้ เขาก็ยังไม่รู้ แล้วเธอ ผู้มีปัญญาน้อย จะรู้ได้อย่างไรเล่า
68 เธอไม่สามารถจะได้ยินเสียง ที่ไกลออกไปจากที่นี้ประมาณ 5 โยชน์ได้ จะป่วยกล่าวไปไย ถึงเสียงที่ไกลเกินไปกว่านั้น
69 ชนเหล่าใด มีจิตใจเลวร้ายต่อเธอหรือกรุณาต่อเธอ เธอไม่อาจรู้จักชนเหล่านั้นได้ เหตุไฉนเธอจึงมีอภิมานะนักเล่า
70 ถ้าเธอ จะต้องเดินทางเป็นระยะ 2 ไมล์ เมื่อไม่มีทางให้เดิน เธอก็จะเดินไปไม่ได้ เรื่องราวที่เธออยู่ในครรภ์ของมารดา เธอก็ลืมหมดแล้ว
71 บุคคลที่ได้อภิญญา 5 เรียกว่า สัพพัญญู ในโลกนี้ เฮยังไม่รู้อะไรเลย ยังจะพูดว่า ข้าพเจ้าเป็น สัพพัญญู เพราะความหลงผิด(ของเธอ)
72 ถ้าเธอปรารถนาจะเป็น สัพพัญญู เธอต้องพยายามบรรลุอภิญญาให้ได้ เธอต้องอยู่ป่า คิดถึงธรรมอันบริสุทธิ์ที่นำไปสู่การบรรลุอภิญญานั้น แล้วเธอก็จะบรรลุอภิญญาด้วยธรรมนั้น
73 ชายผู้นั้น ทราบเนื้อความนั้นได้แล้ว ได้ไปสู่ป่า ตั้งใจมั่นเจริญสมาธิ เนื่องจากเขาเป็นผู้มีคุณงามความดีอยู่แล้ว จึงได้บรรลุอภิญญา 5 โดยไม่นานนัก
74 เช่นเดียวกันนั้น พระสาวกทั้งหลายทั้งปวงสำคัญว่า ตนได้บรรลุพระนิพพานแล้ว แต่พระชินพุทธเจ้าได้ตรัสกะสาวกเหล่านั้นว่า นี้เป็นความสงบระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่พระนิพพาน (ความดับสนิท)
75 นี้เป็นอุบายนัยหนึ่งแห่งการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ว่า เว้นจากความเป็นสัพพัญญุตญาณเสียแล้ว พระนิพพานย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายจงพยายาม
76 ความรู้อันไม่สิ้นสุดแห่งมรรคทั้งสาม บารมีอันประเสริฐหก ศูนยตา การไม่ยึดติดนิมิต และการไม่ตั้งความปรารถนา
77 โพธิจิต และธรรมทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นปัจจัยให้บรรลุพระนิพพาน ทั้งที่เป็นอาสวะและอนาสวะ เป็นธรรมที่สงบ ธรรมเหล่านั้นทั้งปวงเป็น (สิ่งว่างเปล่า) เหมือนท้องฟ้า
78 พรหมวิหารสี่ สังคหวัตถุสี่ และธรรมทั้งหลาย ที่พระมุนีผู้ประเสริฐแสดง เพื่อประโยชน์แก่การแนะนำเวไนยสัตว์ทั้งหลาย
79 ก็แลผู้ใดรู้ธรรมทั้งหลายว่า มีสภาพเป็นมายาและความฝัน ไร้สาระเหมือนต้นกล้วย เป็นเสมือนเสียงที่สะท้อน
80 แลรู้โลกทั้งสามอย่างสมบูรณ์ พร้อมทั้งสภาวะของโลกเหล่านั้น เขาผู้นั้นได้ชื่อว่ารู้แจ้งสิ่งที่ไม่ผูกมัด สิ่งที่ยังไม่ได้หลุดพ้นและพระนิพพาน
81 ผู้ที่ไม่เห็นธรรมทั้งปวงที่เสมอกัน ซึ่งเป็นศูนยตา ปราศจากความแตกต่างกัน ชื่อว่าย่อมไม่เห็นธรรมใดๆ
82 ส่วนบุคคลผู้มีปัญญามากนั้น ย่อมเห็นหมวดธรรมทั้งหมด อย่างแจ้งชัดว่า ไม่มีสามยาน มีเพียงยานเดียวเท่านั้นในโลก
83 พระธรรมทั้งปวง ทัดเทียมกัน เสมอเหมือนกันทุกเมื่อ บุคคลผู้รู้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมรู้พระนิพพาน ที่เป็นอมตะและสูงสุด
บทที่ 5 โอษธีปริวรรต ว่าด้วยต้นไม้นานาพันธุ์
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่6 การพยากรณ์
บทที่ 6 วยากรณปริวรรต
ว่าด้วยการพยากรณ์
ครั้นพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้แล้ว จึงตรัสกะภิกษุสงฆ์ทั้งปวงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอแจ้ง ขอประกาศให้ท่านทั้งหลายทราบว่า ภิกษุกาศยปะ สาวกของเรานี้ จักกระทำสักการะ พระพุทธเจ้าหมื่นโกฏิพระองค์ จักทำการเคารพ นับถือ บูชานอบน้อม และทรงไว้ซึงสัทธรรมของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น กาศยปะนั้นในชาติสุดท้าย ในโลกธาตุ ที่ชื่อว่า อวกาส ใน มหาวยูหกัลป์ จะได้เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า "รัศมีประภาส" ในโลก เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ประเสริฐ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รัศมีประภาส พระองค์นั้น จักมีพระชนมายุสิบสองกัลป์ พระสัทธรรมของพระองค์ จักดำรงอยู่ยี่สิบกัลป์ พุทธเกษตรของพระองค์จักบริสุทธิ์หมดจด ปราศจากหิน กรวด ทราย หลุมบ่อ ไม่มีที่สกปรก เรียบเสมอ น่ารื่นรมย์ น่าเลื่อมใส น่าดู มีแก้วไพฑูรย์ ประดับตกแต่งด้วยรัตนพฤกษ์ มองดูเหมือนตาหมากรุก ซึ่งแต่ละช่วงแบ่งด้วยเส้นด้ายทอง เต็มไปด้วยดอกไม้ มีพระโพธิสัตว์หลายแสนองค์อยู่ที่นั่น พระสาวกอีกหลายหมื่นแสนโกฏิ ประมาณมิได้ ก็มีอยู่ที่นั่น ณ ที่นั่นมารร้ายไม่ได้โอกาสแสดงความชั่ว ความเมตตาของมารร้ายก็ไม่ปรากฏ ถ้ามีมาร และหมู่มาร ณ ที่นั้น มารเหล่านั้น ก็จะได้รับพระสัทธรรม ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า รัศมีประภาส พระองค์นั้น ในโลกธาตุนั่นเอง
ในครั้งนั้นพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมเห็นด้วยพุทธจักษุว่า ในอนาคต พระกาศยปเถระนี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า เพราะได้บูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์ในกัลป์ อันนับไม่ได้
2 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระกาศยปะนี้ จักเฝ้าพระชินเจ้าสามหมื่นโกฏิพระองค์และประพฤติพรหมจรรย์ ณ ที่นั้น เพื่อบรรลุพระโพธิญาณ
3 หลังจากทำการบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์แล้ว และหลังจากได้บรรลุญาณอันประเสริฐนี้แล้ว พระกาศยปะนั้น จะเป็นมหาฤาษี (พุทธะ) เป็นที่พึ่งของชาวโลก ที่หาเปรียบมิได้ ในชาติสุดท้าย
4 พุทธเกษตรของพระองค์ ประเสริฐ วิจิตร บริสุทธิ์ งาม น่าดู เป็นที่รื่นรมย์ใจ น่ารัก ประดับตกแต่งด้วยเส้นด้ายทอง
5 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในพุทธเกษตรที่มีลักษณะเป็นตาหมากรุกนี้ ในแต่ละช่วงมีต้นไม้แก้ว อันวิจิตร ส่งกลิ่นหอมตลบอบอวล
6 พุทธเกษตรนั้น ประดับด้วยดอกไม้ต่างๆ สวยงามด้วยดอกไม้นานาชนิด ไม่มีหลุมพ่อ ณ ที่นั้น เรียบ สวยงาม น่าดูยิ่งนัก
7 มีพระโพธิสัตว์หมายพันโกฏิ ที่ฝึกจิตแล้ว มีฤทธิ์มาก เป็นผู้รักษาไวปุลยสูตร ไว้จำนวนหลายพัน
8 ณ พุทธเกษตรนั้น พระสาวกของพระสุคต ผู้ธรรมมิกราช ที่หมดอาสวะ ดำรงชีพอยู่เป็นชาติสุดท้าย มีมากมายจนนับไม่ได้ แม้จะนับด้วยทิพยญาณติดต่อกันไปหลายกัลป์
9 ในพุทธเกษตรของพระรัศมีประภาสพุทธเจ้านั้น พระองค์จักมีพระชนมายุ 12 กัลป์ พระสัทธรรมของพระองค์จักดำรงอยู่ 20 กัลป์ และพระสัทธรรมปฏิรูปจักดำรงอยู่ 20 กัลป์
ในขณะนั้นนั่นแหละ ท่านพระเมาคัลยายนเถระ ท่านพระสุภูติ และท่านพระมหากาตยายนะ รู้สึกประหม่า (มีกายสั่นเทา) จ้องมองพระผู้มีพระภาค โดยไม่กะพริบตา แต่ละท่าน ก็มีใจตรงกันกล่าวคาถาในขณะนั้นว่า
10 ข้าแต่พระอรหันตมหาวีรศากยสิงหะ ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ ของพระองค์ทรงอนุเคราะห์ ตรัสพระพุทธพจน์ แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด
11 ข้าแต่พระชินเจ้า ผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์ ผู้นำไปสู่ความสุข พระองค์ทรงหยั่งรู้ดินฟ้าที่แปรปรวน ขอให้โปรดประทานน้ำอมฤต พยากรณ์ แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด
12 (เหมือน) บุคคลบางคนที่มา (ขออาหาร) เพราะความหิว ได้อาหารแล้ว แต่ถูกสั่งว่า จงรอก่อน (อย่าเพิ่งรับประทาน) ทั้งๆที่อาหราก็อยู่ในมือแล้ว
13 ข้าพระองค์ก็เช่นเดียวกับสัตว์ทั้งหลาย ในยามทุพภิกขภัย คืออยากได้พุทธญาณ แต่มีความสงสัยใน หีนยาน จึงพยายาม (ศึกษา) อยู่
14 พระมหามุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่พยากรณ์ พวกข้าพระองค์ทั้งหลายเหมือนกับไม่ให้รับประทานอาหาร ที่ตกถึงมือแล้วฉะนั้น
15 ข้าแต่พระมหาวีระ ก็แล ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้มีความขวนขวายอยู่อย่างนี้ ได้ฟังพระสุรเสียงอันกึกก้อง ได้รับพยากรณ์เมื่อใด เมื่อนั้นก็จักเป็นผู้สงบนิ่ง
16 ข้าแต่พระมหามุนี พระมหาวีระ พระองค์ผู้ปรารถนาประโยชน์แก่ชาวโลก ผู้เพียบพร้อมด้วยพระเมตตานุเคราะห์ ขอพระองค์จงพยากรณ์เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักได้ระงับความรู้สึกว่า ยากจนต่ำด้อยเสียที
กาลครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตนั้นของพระมหาสาวก เถระเหล่านั้น ด้วยพระมโนของพระองค์ จึงตรัสกะหมู่ภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสุภูติเถระ มหาสาวกของเรานี้ จักกระทำสักการะ พระพุทธเจ้า จำนวนสามหมื่นแสนโกฏิพระองค์ จักเคารพ นับถือ ยกย่อง บูชา เทิดทูน จักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนานั้น และจักบรรลุพระโพธิญาณ หลังจากบรรลุพระโพธิญาณแล้ว ในชาติสุดท้าย จักได้เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในโลก มีพระนามว่า "ศศิเกตุ" ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว ผู้รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษ ผู้ประเสริฐที่ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครุของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้เบิกบาน และเป็นผู้จำแนกธรรม
พุทธเกษตรของพระองค์ (ศศิเกตุ) มีชื่อว่า "รัตนสมภพ" และมีกัลป์นั้นชื่อว่า "รัตนาวภาส" พุทธเกษตรนั้น เรียบราบ น่ารื่นรมย์ สำเร็จแล้วด้วยแก้วผลิก งดงามไปด้วยรัตนพฤกษ์ ไม่มีหลุมบ่อ และสถานที่อันสกปรก เป็นทีน่าพึงพอใจ อันดาดาษไปด้วยดอกไม้ทั้งหลายมนุษย์ ณ ที่นั้น ก็จะอยู่แต่ในที่อาศัย คือกูฏาคาร (ปราสาท) พระสาวกของพระองค์ มีจำนวนมากเหลือคณานับ พระโพธิสัตว์หลายหมื่นแสนโกฏิ ก็ประทับอยู่ที่พุทธเกษตรนั้น พระผู้มีพระภาค (ศศิเกตุ) มีพระชนมายุยืนนานถึง 12 กัลป์ พระสัทธรรมจะดำรงอยู่ถึง 20 กัลป์ และสัทธรรมปฏิรูปก็จักดำรงอยู่ 20 กัลป์เช่นกัน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จักทรงยืนในท้องฟ้าประกาศธรรมอยู่เนืองๆ และทรงแนะนำพระโพธิสัตว์ และสาวกทั้งหลายหลายแสน
ครั้งนั้นแล ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
17 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันนี้เราจะประกาศ วันนี้เราจะแจ้งให้ทราบ ขอให้เธอทั้งหลายจงฟังเรา พระสุภูติเถระ สาวกของเราจักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล
18 (พระสุภูติ) หลังจากได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้มีอานุภาพมากสามสิบหมื่นโกฏิ บริบูรณ์แล้ว ก็จักประพฤติธรรมตามลำดับเพื่อจักได้บรรลุญาณ
19 พระสุภูตินั้น ในชาติสุดท้าย จักเป็นฤาษีมหาวีระ (พุทธะ) ผู้เพียบพร้อมด้วยลักษณะ 32 ประการ ผู้เปรียบด้วยเสาทองคำ ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลต่อชาวโลก
20 สถานที่ที่พระสุภูติ ผู้เป็นมิตรของชาวโลก ผู้ช่วยเหลือสัตว์หลายหมื่นโกฏิ อาศัยอยู่นั้น เป็นสถานที่สวยงาม น่าปรารถนาและน่าพอใจ ของมหาชน
21 พระโพธิสัตว์จำนวนมาก ณ ที่นั้น เป็นผู้มีอานุภาพ มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้หมุนล้อพระธรรมให้เคลื่อนไป โดยไม่ถอยกลับมาอีก ที่อยู่ในศาสนาของพระชินเจ้านั้น ทำให้พุทธเกษตรนั้นงดงาม
22 ณ ที่นั้น พระองค์ (พระสุภูติ) มีสาวกมากมาย นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ล้วนแต่ได้อภิญญาหก วิชชาสาม มีฤทธิ์ ตั้งมั่นในวิโมกษ์ 8
23 พลังฤทธิ์ของพระองค์ ขณะที่ประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณอยู่นั้น เป็นอจินไตย เทวดาและมนุษย์จำนวนมากเปรียบได้กับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ก็พากันนมัสการประคองอัญชลีต่อพระองค์ตลอดเวลา
24 พระองค์ (พระสุภูติ) นั้นจักดำรงพระชนม์อยู่ 12 กัลป์ พระสัทธรรมของพระองค์จักดำรงอยู่ 20 กัลป์ ธรรมปฏิรูปของพระองค์ผู้เลิศในหมู่มนุษย์ ก็จะคงอยู่ 20 กัลป์เช่นกัน
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสกับหมู่ภิกษุทั้งปวงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอแจ้งให้ทราบ ขอประกาศให้ทราบว่า พระมหากาตยายนเถระ สาวกของเรานี้ จักกระทำสักการะ พระพุทธเจ้าแปดหมื่นแสนโกฏิ จักเคารพ นับถือ ยกย่อง บูชา เทิดทูน พระพุทธเจ้าเหล่านั้น (พระมหากาตยายนะ) จักสร้างสถูปของพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ที่นิพพานแล้ว สูงหนึ่งพันโยชน์ ฐานกว้างห้าสิบโยชน์ ประดับด้วยรัตนะ 7 ประการ คือ ทอง เงิน แก้วไพฑูรย์ แก้วผลึก มุกดาแดง มรกต บุศราคัม เป็นที่เจ็ด จะทำสักการะบูชาพระสถูปเหล่านั้น ด้วยดอกไม้ ธูป พวงมาลัย เครื่องลูบไล้ เจิมทา ผ้าฉัตร ธงริ้ว และธงแผ่นผ้า นอกจากนี้ ยังทำการสักการะ เคารพ นับถือ ยกย่อง บูชา เทิดทูน พระพุทธเจ้าอีกยี่สิบโกฏิ ในชาติสุดท้าย พระกาตยายนะนั้นเกิดเป็นมนุษย์ จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า "ชามพูนทประภาส" ในโลกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสายสารถีฝึกบุรุษ ผู้ประเสริฐไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานและเป็นผู้จำแนกธรรม พุทธเกษตรของพระพุทธเจ้าชามพูนทประภาสนั้น สะอาดบริสุทธิ์ เรียบ น่ารื่นรมย์ สดใส น่าดู มีรัตนพฤกษ์ อันวิจิตรสวยงาม ซึ่งล้วนสำเร็จด้วยแก้วผลีก แต่ละช่วงด้ดด้วยด้ายทอง โปรยด้วยดอกไม้ ไม่มีสัตว์ที่น่ากลัว เปรต และอสุรกาย พรั่งพร้อมด้วยมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย งดงามด้วยสาวกหลายแสนองค์ อลังการไปด้วยพระโพธิสัตว์หลายแสนองค์ พระชนมายุของพระพุทธเจ้าชามพูนทประภาสนั้น ยืนยาวถึง 12กัลป์ พระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ จักดำรงอยู่ยืนยาวถึง 20 กัลป์ สัทธรรมปฏิรูป จังคงอยู่ 20 กัลป์เช่นกัน
ครั้งนั้น ในเวลานั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
25 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายทั้งปวงจงฟังเราซึ่จะกล่าวถ้อยคำอันเป็นสัจในวันนี้ กาตยายนเถระ สาวกของเรานี้ จักทำการบูชาพระผู้นำแห่งโลก (พระพุทธเจ้าทั้งหลาย)
26 พระกาตยายนะ จักถวายสักการะแด่พระผู้นำแห่งโลกทั้งหลาย นานาประการด้วยวิธีต่างๆ จักสร้างพระสถูปทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ที่ปรินิพพานแล้ว และจักบูชาด้วยดอกไม้และเครื่องหอมทั้งหลาย
27 พระกาตยายนะนั้น ในชาติสุดท้าย ก็จักได้เป็นพระชินพุทธเจ้า ในพุทธเกษตรที่สะอาดบริสุทธิ์ และหลังจากตรัสรู้แล้ว ก็จักแสดงญาณนี้นั่นแล แก่หมู่สัตว์จำนวนพันโกฏิ
28 พระกาตยายะนั้น ผู้อันมหาชนสักการแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้า ที่มีรัศมีสดใสในโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มีนามว่า ชามพูนทประภาส เป็นผู้โปรดของเทวดาและมนุษย์หลายโกฏิ
29 ในพุทธเกษตรนั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลายและสาวกทั้งปวงจำนวนมาก จนกำหนดไม่ได้ นับไม่ได้ จักทำให้คำสอนของพระพุทธเจ้าเจริญรุ่งเรือง
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะเหล่าภิกษุอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอแจ้งให้ทราบ ขอประกาศให้ทราบว่า พระเมาทคัลยายนเถระ สาวกของเรานี้ จักเลื่อมใสพระพุทธเจ้ายี่สิบแปดพันองค์ จักทำการสักการะต่างๆ แก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น จักเคารพ นับถือ ยกย่อง บูชา เทิดทูนพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จักสร้างพระสถูปของพระผู้มีพระภาคเหล่านั้นที่นิพพานแล้ว ประดับด้วยรัตนะ 7 ประการ คือ ทอง เงิน แก้วไพฑูรย์ แก้วผลึก มุกดาแดง มรกต สูงพันโยชน์ กว้างห้าร้อยโยชน์ จักทำสักการะบูชาต่างๆ แก่พระสถูปเหล่านั้น ด้วยดอกไม้ ธูป พวงมาลัย เครื่องลูบไล้ เจิมทา ผ้าฉัตร ธงริ้ว และธงแผ่นผ้านอกจากนี้ ยังทำการสักการะ เคารพ นับถือ ยกย่อง บูชา เทิดทูน พระพุทธเจ้าอีกยี่สิบโกฏิ ในชาติสุดท้ายจักเป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า "ตมาลปัตรจันทนคันธะ" ในโลก เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษผู้ประเสริฐไมมีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานและเป็นผู้จำแนกธรรม พุทธเกษตรของพระองค์ ชื่อว่า มโนภิราม กัลป์ในสมัยของพระองค์ชื่อว่า "รติประปูรณะ" พุทธเกษตรของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ บริสุทธิ์ ราบเรียบ น่ารื่นรมย์ น่าเลื่อมใส มองดูงดงาม สำเร็จด้วยแก้วผลีก วิจิตยิ่งด้วยรัตนพฤกษ์ ดาดาษไปด้วยดอกไม้ มุกดา พรั่งพร้อมไปด้วยมนุษย์และทวยเทพ มีมุนีฤาษีจำนวนแสน รวมทั้งสาวกและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย พระชนมายุของพระพุทธเจ้า ตมาลปัตรจันทนคันธะ นั้นยืนยาวถึง 24 กัลป์ พระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ จักดำรงอยู่ยาวนานถึง 40 กัลป์ สัทธรรมปฏิรูปจำดำรงอยู่ 40 กัลป์เช่นกัน
ในเวลานั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
30 พระสาวกเรารูปนี้ ซึ่งเป็นเหล่ากอของเมาทคัลยโคตร ละอัตภาพมนุษย์ไปแล้ว จักได้พบพระชินเจ้าทั้งหลาย ผู้ปราศจากกิเลส จำนวนยี่สิบแปดพันพระองค์
31 ครั้งนั้น (พระเมาทคัลยายนะ) เมื่อแสวงหาพุทธญาณนี้อยู่ จักประพฤติพรหมจรรย์ ณ ที่นั่น และจักกระทำสักการะพระชินเจ้า ผู้สูงสุดในหมู่มนุษย์ และเป็นผู้นำ(ของชาวโลก) เหล่านั้น ด้วยวิธีต่างๆ
32 ในกาลนั้น (พระเมาทคัลยายนะ) จักได้ธำรงพระสัทธรรมอันไพบูลย์ ประณีตของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ตลอดหลายพันโกฏิกัลป์ แล้วบุชาที่พระสถูปทั้งหลายของพระสุคตพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้ปรินิพพานไปแล้ว
33 (พระเมาทคัลยายนะ) จักสร้างรัตนสถูปของพระชินเจ้าทั้งหลาย ผู้ประเสริฐสุด ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก ที่ประดับด้วยธง บูชาด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประโคมดนตรี
34 ณ ชาติสุดท้าย (พระเมาทคัลยายนะ) จักเป็นพระชินเจ้า ผู้ทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก มีพระนามว่า ตมาลปัตรจันทนคันธะ ในพุทธเกษตรที่งดงามน่ารื่นรมย์ยิ่งนั้น
35 พระสุคตศาสดาพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุยืนนาน ประมาณ 24 กัลป์และพระองค์จักแสดงพุทธธรรมในหมู่มนุษย์และเทวดาทั้งหลายทุกเมื่อ
36 ณ ที่นั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักมีสาวกมากมายหลายพันโกฏิ เท่ากับจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ล้วนเป็นผู้ได้อภิญญาหก วิชชาสาม และมีฤทธิ์มาก ในศาสนาของพระสุคต
37 ณ พุทธเกษตรนั้น ในศาสนาของพระสุคต มีพระโพธิสัตว์จำนวนหลายพัน ซึ่งเป็นผู้ปรารถนาความเพียรทุกเมื่อ ไม่ท้อถอย เป็นผู้มีความรู้และเพียรยิ่งขึ้น
38 ณ กาลครั้งนั้น เมื่อพระชินเจ้าพระองค์นั้น ปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมของพระองค์จักดำรงอยู่ 40 กัลป์ และสัทธรรมปฏิรูปก็จักดำรงอยู่เป็นเวลาประมาณเท่ากัน
39 สาวกห้ารูปเหล่านี้ของเรา เป็นผู้มีฤทธิ์มาก ที่เราได้พยากรณ์ไว้ในพระโพธิญาณอันประเสริฐว่า จำได้เป็นพระชินเจ้า ผู้สยัมภูในอนาคต ขอให้พวกเธอจง (ตั้งใจ) ฟังเรื่องราวของสาวกเหล่านั้นจากเราเถิด
บทที่ 6 วยากรณปริวรรต ว่าด้วยการพยากรณ์
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่7 ปุพพโยคกรรม
บทที่ 7
ปูรวโยคปริวรรต
ว่าด้วยปุพพโยคกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องมีมาแล้ว ในอดีตกาล นานจนนับไม่ได้ กำหนดไม่ได้ ประมาณไม่ได้ คำนวณไม่ได้ วัดไม่ได้ ในกาลสมัยนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "มหาภิชญาชญานาภิภู" ได้อุบัติขึ้นในโลก เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดี เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ประเสริฐ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม ในโลกธาตุที่ชื่อว่า "สมภพ" ในสมัย มหารูปกัลป์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงอุบัติขึ้นนานเท่าใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างชายคนหนึ่ง บดดินในโลกธาตุสามพันน้อยใหญ่ ให้เป็นผงปรมาณู ครั้นแล้ว ชายผู้นั้น ก็หยิบเอาปรมาณูหนึ่ง จากโลกธาตุนั้น แล้วเดินไปทางทิศตะวันออก ได้พันโลกธาตุ แล้วว่างปรมาณูหนึ่งนั้นไว้ ครั้นชายผู้นั้นหยิบเอาปรมาณูที่สอง แล้วเดินไปได้พันโลกธาตุถัดไป แล้ววางปรมาณูที่สองไว้ ชายผู้นั้นต้องไปวางดินทั้งหมดนั้นไว้ในทิศตะวันออก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอคิดว่า ข้อนั้นเป็นไฉน สามารถนับจุดจบ หรือที่สุดโลกธาตุนั้นได้หรือไม่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลตอบว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นไปไม่ได้ ข้าแต่พระสุคต เป็นไปไม่ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ว่านักคำนวณ หรือนักคณิตศาสตร์อาจรู้จุดจบของโลกธาตุทั้งหลาย ด้วยการคำนวณ โดยเขาจะเอาปรมาณูนั้นไปวางหรือไม่วางที่ใดก็ตาม แต่เขาไม่อาจรู้ ที่สุดของเวลา หมื่นแสนโกฏิกัลป์เหล่านั้นได้ ด้วยวิธีการคำนวณว่า พระผู้มีพระภาค ตถาคต มหาภิชญาชญานาภิภู ได้ปรินิพพานไปแล้ว เป็นเวลานานที่คิดประมาณมิได้อย่างนี้ เป็นทีกัลป์กาล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เรายังจำพระตถาคตที่ประนิพพานนายแล้วได้ เหมือนกับปรินิพพานวันนี้หรือเมื่อวานนี้ ด้วยอำนาจตถาคตญาณทัศนะ นั่นเอง
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
1 หลายโกฏิกัลป์ล่วงมาแล้ว เราระลึกถึง มหามุนีอภิชญาชญานาภิภู ผู้ประเสริฐในหมู่ชนทั้งหลาย ซึ่งได้เป็นพระชินเจ้า ผู้ประเสริฐที่สุดในสมัยนั้น
2 เหมือนอย่างชายผู้หนึ่ง บดดินในสามพันโลกธาตุให้เป็นผงปรมาณู ครั้นแล้วหยิบเอาปรมาณูหนึ่งจากโลกธาตุนั้น เดินไปประมาณพันเกษตรแล้ววางปรมาณูนั้นลง
3 ชายผู้นั้น วางผงปรมาณูที่สองและสาม วางปรมาณูนั้นทั้งหมด จนเหลือโลกธาตุว่างเปล่า ผงทั้งปวงก็หมดไป
4 ปรมาณูในโลกธาตุทั้งหลาย เป็นสิ่งที่นับไม่ได้ เราได้กระทำปรมาณูนั้นเป็นข้อเปรียบเทียบกับร้อยกัลป์ที่ผ่านไป
5 พระตถาคตนั้นปรินิพพานแล้วหลายโกฏิกัลป์จนนับไม่ได้ กัลป์ทั้งหลายสิ้นไปแล้วมากมาย ปรมาณูก็เปรียบไม่ได้
6 เราจำพระตถาคตที่ปรินิพพานแล้ว และสาวกทั้งหลาย โพธิสัตว์ทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นเวลาช้านานได้เหมือนวันนี้หรือเมื่อวานนี้ ด้วยตถาคตญาณแล
7 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้เช่นนี้ ของพระตถาคต ผู้มีญาณอันไม่สิ้นสุดนี้ เราได้รู้มาแล้ว หลายร้อยกัลป์ เป็นอเนกอนันต์ ด้วยความจำที่ไร้อาสวะ ที่ละเอียดสุขุม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นัยว่า พระชนมายุของพระมหาภิชญาชญานาภิภู อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีประมาณ 54 หมื่นแสนโกฏิกัลป์ ก็แลในตอนแรก พระผู้มีพระภาคตถาคต มหาภิชญาชญานาภิภู ยังไม่ได้ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ประทับที่โพธิมณฑล นั่นแล ปราบเสนามารทั้งปวงได้ชัยชนะ คิดว่า เราครั้นปราบชนะเสนามารได้แล้ว จักได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดังนี้ แต่พระองค์ก็มิได้รู้แจ้งเห็นจริงธรรมทั้งหลาย พระองค์ได้ประทับที่โพธิมณฑล ณ โคนโพธิพฤกษ์ เป็นเวลาหนึ่งกัลป์ แม้ประทับอยู่ตลอดกัลป์ที่สองก็ยังไม่ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ประทับอยู่ทีโพธิมณฑล ณ โคนต้นโพธิพฤกษ์ตลอดกัลป์ที่สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ติดต่อกันไป เป็นคราวเดียวกัน โดยมิได้เสด็จลุกจากที่ประทับเลย พระองค์ได้ประทับด้วยจิตที่สงบนิ่ง พระวรกาย ไม่เคลื่อนไหว แต่ก็ยังมิได้รู้แจ้งเห็นจริง ธรรมทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่โพธิมณฑลนั้น เทวดาชั้นไตรตรึงศ์ ได้จัดสิงหาสน์ (บัลลังก์) สูงแสนโยชน์ถวาย พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ที่นั้นแล้ว ก็ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ต่อมา ขณะที่พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ โพธิมณฑลนั้น พรหมกายิกเทพบุตรทั้งหลาย ได้โปรยฝนดอกไม้ทิพย์ลงมา โดยรอบโพธิมณฑล และทำให้เกิดพายุ แผ่บริเวณไปทั่ว ประมาณร้อยโยชน์ในอากาศให้พัดดอกไม้ที่เหี่ยวแห้งนั้นไป เทพบุตรเหล่านั้นโปรยดอกไม้ลงมาโดยมิขาดสาย ในขณะที่พระผู้มีพระภาค ประทับนั่งที่โพธิมณฑลนั้น และเกลี่ยฝนให้ปกคลุมพระผู้มีพระภาคนั้น ตลอดเวลาสิบกัลป์บริบูรณ์ เทพบุตรทั้งหลายโปรยฝนดอกไม้ลงมา ทำให้ปกคลุมพระผู้มีพระภาคนั้นในขณะที่พระผู้มีพระภาค กำลังจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน จาตุมหาราชกายิกเทพบุตรทั้งหลาย ได้ประโคมกลองทิพย์อย่างไม่ขาดสาย เพื่อสักการะพระผู้มีพระภาค ผู้ประทับที่โพธิมณฑล เมื่อพระผู้มีพระภาค ประทับนั่งอยู่นั้น ตลอดสิบกัลป์ ตั้งแต่นั้น เทพบุตรทั้งหลายเหล่านั้น ได้ประโคมดนตรีทิพย์ทั้งหลายยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องจวบจนพระผู้มีพระภาค เสด็จดับขันธประนิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น เมื่อกาลเวลาล่วงไปสิบกัลป์ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า"มหาภิชญาชญานาภิภู" ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และต่อมาโอรสทั้งสิบหกพระองค์ ซึ่งประสูติแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อครั้งยังเป็นพระกุมารอยู่นั้น ทรงทราบว่าพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว บรรดาโอรสทั้งหลาย โอรสองค์ใหญ่นามว่า "ชญาณกร" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พระราชกุมารทั้งสิบหกพระองค์ แต่ละพระองค์มีของเล่นนานาชนิด อันวิจิตร น่าดู น่าพอใจมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชกุมารเหล่านั้นทั้งสิบหกพระองค์ พากันละวางของเล่นนานาชนิด อันวิจิตร น่าดู น่าพอใจเหล่านั้น เมื่อทราบว่าพระผู้มีพระภาคตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระราชกุมารทั้งหลาย มีมารดา พี่เลี้ยง และนางนมทั้งหลายกรรแสงร่ำไห้ห้อมล้อมไปด้วยกัน มหาจักรพรรดิหมู่ใหญ่และประชาชนหลายหมื่นโกฏิ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ซึ่งประทับอยู่ที่โพธิมณฑล จนถึงสถานที่ประทับ ทั้งหมดเข้าไป เพื่อสักการะ เคารพ นบนอบ บูชา ยกย่อง เทิดทูนพระผู้มีพระภาค ครั้นเข้าไปแล้ว ได้กราบแทบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้ากระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคสามครั้ง ประนมมือ กราบทูลพระผู้มีพระภาค ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ด้วยคาถาที่เหมาะสมว่า
8 พระองค์ทรงเป็นแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ ได้ดำเนินไปหลายกัลป์ไม่มีที่สิ้นสุด ความดำริอันประเสริฐ ที่จะให้สัตว์ทั้งหลายพ้นจากสังสารวัฏนี้ สมบูรณ์แล้ว
9 พระองค์ประทับนั่งบนอาสนะเดียวตลอดสิบกัลป์นั้น นับว่าเป็นสิ่งกระทำได้ยากในระหว่างนั้น พระองค์มิได้ทรงเคลื่อนไหวพระวรกาย พระหัตถ์และพระบาทตลอดจนอวัยวะอื่นๆ เลยแม้สักครั้งเดียว
10 แม้จิตพระองค์ ก็สงบ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่สะเทือน ไม่วอกแวก พระองค์ไม่มีอาสวะ ตั้งอยู่ในความสงบนิ่งยิ่งนักแล
11 ขอแสดงความยินดีว่า พระองค์ทรงบรรลุอัครโพธิญาณ ด้วยความเกษมและสวัสดี ข้าแต่พระนเรนทรสิงหะ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ประสบความสำเร็จ เห็นปานนี้และได้รับความเจริญ
12 ประชาชนทั้งหลาย ที่ไม่มีผู้นำ เป็นทุกข์ มีนัยน์ตามืดมน ไร้ความสนุกสนานไม่รู้หนทางที่นำไปสู่ ที่สุดแห่งทุกข์ไม่มีความพยายามเพื่อถึงความหลุดพ้น
13 อันตรายมีมากขึ้น ร่างกายก็เสื่อมจากธรรม (ความดี) มาช้านาน ไม่เคยได้ยินพระสุรเสียงของพระชินเจ้าทั้งหลาย โลกทั้งปวงก็มืดมนอนธการ
14 ข้าแต่พระองค์ ผู้รู้แจ้งโลก วันนี้และที่นี่ พระองค์ได้บรรลุบทอันอุดม อันเป็นมงคลและเป็นอนาสวะแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลาย และชาวโลกทั้งปวง เป็นผู้ที่พระองค์ทรงอนุเคราะห์แล้ว ข้าแต่พระผู้เป็นนาถะ ข้าพระองค์ทั้งหลาย พากันมาเฝ้าก็เพื่อถึงพระองค์เป็นสรณะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลครั้งนั้น พระราชกุมารทั้งสิบหกองค์ ที่ยังเป็นพระกุมารผู้เยาว์วัยอยู่ สดุดีพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า อภิชญาชญานาภิภู นั้น ด้วยคาถาอันเหมาะสมเหล่านี้แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคนั้นว่า เพื่อยังพระธรรมจักรให้หมุนไป ขอพระผู้มีพระภาค จงแสดงธรรม ขอพระสุคตจงแสดงธรรม เพื่อประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ในสมัยนั้น พระราชกุมารเหล่านั้นทรงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
15 ข้าแต่พระมหาฤษี ผู้เพียบพร้อมด้วยบุณยลักษณะร้อยประการ ทรงเป็นผู้นำ ที่ไม่มีผู้เสมอเหมือน ขอพระองค์จงแสดงธรรม ขอพระองค์ทรงประกาศญาณอันเลิศประเสริฐที่พระองค์ทรงได้แล้วแก่ชาวโลกพร้อมกับเทวดาด้วยเถิด
16 ขอพระองค์จงให้ข้าพระองค์ทั้งหลายและสัตว์เหล่านี้ล่วงพ้น (ทุกข์) ขอพระองค์ทรงแสดงตถาคตญาณทั้งหลาย โดยประการที่พวกข้าพระองค์และสัตว์เหล่านี้จะได้บรรลุพระโพธิญาณด้วยเถิด
17 พระองค์ทรงทราบความประพฤติ ความรู้ อัธยาศัย และบุญที่สัตว์ทั้งหลายได้กระทำแล้วแต่ปางก่อน และพระองค์ทรงทราบอุปนิสัยของสัตว์แต่ละคน (ฉะนั้น)ขอพระองค์ทรงหมุนธรรมจักรที่เลิศประเสริฐด้วยเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเวลานั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทิศทั้งสิบในห้าสิบหมื่นแสนโกฏิโลกธาตุได้ แต่ละทิศ ได้สั่นสะเทือนเป็นหกจังหวะ และสว่างไสวไปด้วยแสงเจิดจ้า ในโลกธาตุทั้งปวงเหล่านั้น โลกธาตุใดมีที่ว่าง และมีความมืดมิด แม้พระอาทิตย์และพระจันทร์ ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก มีความรุ่งโรจน์โชติช่วงมาก ไม่สามารถส่องแสงไปถึงด้วยสีและพลังของตน แต่ที่ว่างนั้นทั้งหมด ก็มีแสงสว่างเจิดจ้าไปทั่วถึง สัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในที่ว่างแห่งโลกธาตุนั้น ย่อมมองเห็นซึ่งกันและกันและจำกันได้ แม้สัตว์ผู้เจริญเหล่าอื่น ที่เกิดในที่นี้ และในโลกธาตุทั้งปวง ภพของเทพ วิมานแห่งเทพ ตลอดถึงพรหมโลก ก็สั่นสะเทือนเป็นหกจังหวะ สว่างไสวไปด้วยแสงอันเจิดจ้า เกินเทวานุภาพของเทพทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลในสมัยนั้น ในโลกธาตุเหล่านั้น ได้ปรากฏแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และมีแสงสว่างโชติช่วง ในเวลาเดียวกัน
ก็แลในทิศบูรพา หรหมวิมานทั้งหลายในโลกธาตุห้าหมื่นแสนโกฏิเหล่านั้น ส่องแสงสว่างโชติช่วงสวยงาม เจิดจ้ายิ่งนัก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาพรหมในโลกธาตุห้าสิบหมื่นแสนโกฏิเหล่านั้น ได้มีความคิดว่า พรหมวิมานเหล่านี้ ไม่เคยส่องแสงโชติช่วงสวยงามเจิดจ้าอย่างนี้มาก่อน คงจะไม่มีอะไรเป็นบุพนิมิตแน่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มหาพรหมในโลกธาตุห้าสิบหมื่นโกฏิทั้งหมด ได้ไปยังที่ประทับของกันและกันได้สนทนากัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จากนั้นมหาพรหมนามว่า สรวสัตตตวัตรตฤ ได้กล่าวคาถาทั้งหลายกับหมู่พรหมนั้นว่า
18 วันนี้ เรามีความหรรษาอย่างยิ่ง วิมานอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้สว่างโชติช่วงสวยงาม น่ายินดี อะไรเป็นเหตุในเรื่องเช่นนี้
19 ดีละ พวกเราจะค้นหา ก็แลวันนี้ คงมีเทพบุตรองค์ใดบังเกิดขึ้น ผู้มีอานุภาพปานนี้ ที่พวกเราเห็นอยู่ขณะนี้ ยังไม่เคยมีมาก่อน
20 หรืออาจเป็นเพราะว่า พระพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมราชาแห่งนรชน ได้อุบัติขึ้น ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งในโลกนี้ นิมิตของพระองค์จึงโชติช่วงสวยงามไปทั้งสิบทิศ ในวันนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หลังจากนั้น มหาพรหมทั้งหลายในโลกธาตุห้าสิบหมื่นแสนโกฏิเหล่านั้นทั้งหมด ขึ้นสู่พรหมวิมานทิพย์ของตน แล้วถึอเอาภาชนะดอกไม้ทิพย์ ใหญ่เท่าเขาพระสุเมรุ ท่องเที่ยวไปในทิศทั้งสี่ จนถึงทิศตะวันตก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาพรหมทั้งหลายในโลกธาตุห้าสิบหมื่นแสนโกฏิ ได้พบพระผู้มีพระภาคตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ประทับบนสิงหาสน์ โคนโพธิพฤกษ์ ณ โพธิมณฑลนั้นมีเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์ อมนุษย์ นั่งแวดล้อมอยู่และมีโอรสราชกุมารทั้งสิบหกพระองค์ กำลังทูลขอให้ประกาศพระธรรมจักรอยู่ ณ ทิศตะวันตกนั้น ครั้นพบแล้ว พรหมทั้งหลายเหล่านั้น ก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค จนถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วได้ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้า ที่แทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคนั้น กระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคหลายแสนครั้ง และได้บูชาพระผู้มีพระภาค ด้วยภาชนะดอกไม้นั้น ซึ่งใหญ่เท่าเขาพระสุเมรุ และได้โปรยดอกไม้เหล่านั้นลงที่ต้นโพธิ์ด้วย เป็นระยะทางห่างออกไป ประมาณสิบโยชน์ ครั้นทำการบูชาแล้ว พรหมทั้งหลายเหล่านั้น ได้มอบวิมานพรหม แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงรับพรหมวิมานเหล่านี้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระสุคต จงใช้พรหมวิมานเหล่านี้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้น มหาพรหมทั้งหมาย ครั้งได้มอบวิมานพรหมของตน แต่พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้สดุดีพระผู้มีพระภาค ณ เบื้องพระพักตร์ ด้วยคาถาอันเหมาะสมเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
21 พระชินเจ้าผู้ประเสริฐ หาผู้เปรียบมิได้ ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์ต่อชาวโลก ได้อุบัติขึ้นแล้ว พระองค์อุบัติมาเพื่อเป็นที่พึ่ง เป็นศาสดา และเป็นครู เป็นผู้อนุเคราะห์ทั้งสิบทิศ ในวันนี้
22 ข้าพระองค์ทั้งหลาย มาจากโลกธาตุห้าหมื่นโกฏิ ไกลจากที่นี้ เพื่อนมัสการพระชินเจ้า ด้วยการถวายวิมานอันประเสริฐ
23 วิมาน อันวิจิตร สวยาม เหล่านี้ บังเกิดแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยบุพกรรมอันดีงาม ขอพระองค์ผู้เป็นโลกวิทู จงรับไว้ใช้สอยตามพระประสงค์ เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นมหาพรหมทั้งหลาย ได้สดุดีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ด้วยคาถาอันสมควร ณ ที่เบื้องพระพักตร์นั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงยังพระธรรมจักร ให้หมุนไป ขอพระสุคต จงยังพระธรรมจักรให้หมุนไป ในโลก ขอพระผู้มีพระภาค จงแสดงพระนิพพาน ขอพระผู้มีพระภาค จงยังสัตว์ให้ข้ามพ้น(ทุกข์) จงสงเคราะห์ชาวโลก ขอพระผู้มีพระภาคจงแสดงธรรม แก่ชาวโลก พรอมทั้งมาร พรหม และแก่ประชาชนพร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดามนุษย์และอสูรทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
หลังจากนั้น พรหมทั้งหลาย ห้าสิบแหมื่นแสนโกฏิ ประชุมกันแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ด้วยคาถาอันไพเราะเหล่านี้เป็นเสียงเดียวกันว่า
24 ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงแสดงธรรม ข้าแต่พระสุคตผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่มนุษย์ ขอพระองค์จงแสดงธรรม จงแสดงพลังแห่งเมตตา และทรงให้สัตว์ทั้งหลายข้ามพ้นจากความทุกข์ด้วยเถิด
25 พระองค์ยังโลกให้สว่างไสว เป็นผู้ที่หาได้ยาก เหมือนต้นมะเดื่อที่มีดอก ข้าแต่พระมหาวีระ พระองค์ได้อุบัติขึ้นมาแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอนมัสการองค์พระตถาคต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงรับคำกราบทูลของมหาพรหมทั้งหลาย ด้วยดุษณียภาพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นัยว่า สมัยนั้นวิมานพรหมทั้งหลายในโลกธาตุห้าสิบหมื่นแสนโกฏิ ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้ส่องแสงโชติช่วงสวยงามอย่างยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จากนั้น พรหมเหล่านั้นได้คิดว่า พรหมวิมานเหล่านี้ ส่องแสงโชติช่วงสวยงามยิ่งนัก สิ่งนี้จักเป็นบุพนิมิตแห่งอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จากนั้น มหาพรหมทั้งหมดในโลกธาตุห้าหมื่นแสงโกฏิ ได้ไปยังวิมานของกันและกันแล้วสนทนากัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น มหาพรหมหนึ่งนามว่า อธิมาตรการุณิก ได้พูดกะเหล่าพรหมนั้นเป็นคาถาว่า
26 ดูก่อนสหายทั้งหลาย เพราะบุพนิมิตแห่งอะไร เราจึงเห็นเหตุเช่นนี้ ในวันนี้ คือ วิมานทั้งปวงส่องแสงโชติช่วงเกินประมาณ
27 หรือว่า เทพบุตรผู้มีบุญได้มาที่นี่ ด้วยอานุภาพของเทวบุตรนั้น วิมานทั้งปวงจึงสวยงามยิ่งนัก
28 หรือว่าพระพุทธเจ้า ผู้เลิศยิ่งในหมู่มนุษย์ ได้อุบัติขึ้นในโลก ด้วยอานุภาพของพระองค์ วิมานทั้งหลายจึงสดใสดังที่เห็นในวันนี้
29 ขอให้พวกเราจงไปตรวจดู เรื่องนี้มิใช่เหตุเพียงเล็กน้อย บุพนิมิตนี้เราไม่เคยเห็นมาก่อน
30 พวกเราควรไปตรวจดูสถานที่หลายโกฏิให้ทั่วทั้งสี่ทิศ พระพุทธเจ้าคงจะอุบัติขึ้นแล้วในโลกเป็นแน่ทีเดียว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พรหมห้าหมื่นแสนโกฏิ ขึ้นสู่พรหมวิมานทิพย์ของตนแล้วถือเอาภาชนะดอกไม้ทิพย์ใหญ่เท่าเขาพระสุเมรุ ท่องเที่ยวไปในทิศทั้งสี่ จนถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ก็เช่นเดียวกัน มหาพรหมเหล่านั้น ได้พบพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ซึ่งประทับบนสิงหาสน์ โคนต้นโพธิ์ ณ โพธิมณฑลนั้น ซึ่งกำลังมีเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์ อมนุษย์แวดล้อมอยู่ และมีพระโอรสราชกุมาร ทั้งสิบหกพระองค์ กำลังทูลขอให้ปะกาศพระธรรมจักรอยู่ ครั้นพบแล้ว พรหมทั้งหลายก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อภิชญาชญานาภิภู จนถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้า ที่แทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาค หลายแสนครั้ง และได้บูชาพระองค์ด้วยดอกไม้ใหญ่ อันเท่าเขาพระสุเมรุนั้น และนำดอกไม้เหล่านั้นไปโปรยลง ที่ต้นโพธิ์เป็นระยะทางกว้างออกไป ประมาณสิบโยชน์ ครั้นทำการบูชาแล้ว พรหมทั้งหลายเหล่านั้น ได้ถวายวิมานพรหมเหล่านั้น แด่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงรับวิมานพรหมเหล่านี้ เพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระสุคตทรงใช้วิมานพรหมเหล่นี้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ในเวลานั้น มหาพรหมทั้งหลาย หลังจากได้ถวายวิมานขอตนแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้สดุดีพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาอันเหมาะสม ณ เบื้องพระพักตร์ว่า
31 ข้าแต่พระมหาฤาษี ผู้ไม่มีใครเทียบได้ ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ผู้มีพระสุรเสียงเยี่ยงนกการะเวก เป็นผู้นำของชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก เป็นผู้อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลต่อชาวโลก ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
32 ข้าแต่พระผู้เป็นนาถะ เป็นระยะเวลายาวนาน จนถึงปัจจุบัน นับได้แปดพันกัลป์ที่ชีวโลกได้เว้นว่างจากพระพุทธเจ้า นับว่าน่าอัศจรรย์อะไรอย่างนี้ ที่พระองค์ทรงอุบัติขึ้นมาในโลก
33 การเว้นว่างจากพระองค์ ผู้เป็นยอดแห่งมนุษย์ทั้งหลาย เป็นเวลาแปดพันกัลป์เต็มนั้น นรกได้เฟื่องฟู เทวดาทั้งหลายได้ทดถอยเสื่อมลง
34 บัดนี้ พระองค์เป็นดวงตา เป็นคติ เป็นที่พึ่ง เป็นผู้ต้านทาน เป็นบิดาและเป็นพวกพ้อง(ของข้าพระองค์ทั้งหลาย) ข้าแต่พระธรรมราชา พระองค์ผู้ทรงอนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูล ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ นับเป็นบุญของข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ครั้นมหาพรหมทั้งหลายเหล่านั้น ได้สดุดีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามหาภิชญาชญานาภิภู ด้วยคาถาอันสมควร ณ เบื้องพระพักตร์นั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นว่า ขอพระผู้มีพระภาค ทรงยังพระธรรมจักรให้หมุนไป ขอพระสุคตทรงยังธรรมจักรให้หมุนไป ขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงพระนิพพานในโลก ขอพระผู้มีพระภาคจงยังสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้น (จากทุกข์) ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงสงเคราะห์ชาวโลก ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมแก่ชาวโลก พร้อมทั้งมาร พรหม และแก่ประชาชน พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ และอสูรทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
หลังจากนั้น พรหมทั้งหลายสิบหมื่นแสนโกฏิ ประชุมกันแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นด้วยคาถาอันไพเราะสองคาถาเหล่านี้เป็นเสียงเดียวกันว่า
35 ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จงทรงยังพระธรรมจักรอันประเสริฐให้หมุนไป จงทรงประกาศธรรมให้ทั่วทั้งสิบทิศ ขอพระองค์ทรงปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลาย ที่ถูกทุกข์เบียดเบียนแล้ว และขอพระองค์จงยังสัตว์ทั้งหลายให้เกิดความปราโมทย์หรรษาด้วยเถิด
36 สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความปรารถนา เมื่อได้ฟังธรรมแล้ว จงเป็นผู้ตรัสรู้และพึงไปสู่ทิพยสถาน ขอให้สัตว์ทั้งปวงพึงละกาย อันน่าเกลียด และจงมีความสงบสุข
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้นพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ได้ทรงรับคำกราบทูลของมหาพรหมทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยพระอาการดุษฎีภาพ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นัยว่า เวลานั้นพรหมวิมานทั้งหลายในโลกธาตุห้าสิบหมื่นแสนโกฏิ ในทิศใต้ ได้ร้อน ส่องแสงสว่างโชติช่วง งดงามอย่างยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่นั้นมหาพรหมทั้งหลายคิดว่า พรหมวิมานเหล่านี้ ได้ส่องสว่างโชติช่วงงดงามยิ่งนัก สิ่งนี้จักเป็นบุพนิมิตอะไรหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จากนั้นมหาพรหมทั้งหมดจากโลกธาตุห้าสิบหมื่นแสนโกฏิได้ไปยังวิมานของกันและกันแล้วสนทนากัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น มหาพรหมองค์หนึ่งนามว่า "สุธรรม" ได้กล่าวกับหมู่พรหมนั้นด้วยสองคาถาว่า
37 ดูก่อนสหาย เมื่อไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีผล วันนี้วิมานทั้งปวงสว่างโชติช่วง ย่อมแสดงนิมิตอะไรอย่างหนึ่งแน่ ขอให้เราไปตรวจเหตุนั้นกันเถิด
38 เวลาประมาณร้อยกัลป์มาแล้วในอดีต ไม่เคยมีนิมิตเช่นนี้ คงจะมีเทพบุตร หรือไม่ก็พระพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หลังจากนั้น มหาพรหมทั้งหลาย ในโลกธาตุห้าสิบหมื่นโกฏิเหล่านั้น ทั้งหมดขึ้นสู่พรหมวิมานทิพย์ของตน แล้วถือเอาดอกไม้ทิพย์เท่าเขาพระสุเมรุท่องเที่ยวไปในทิศทั้งสี่ จนถึงทิศเหนือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ทิศเหนือนั้นมหาพรหมทั้งหลายได้พบพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ซึ่งประทับอยู่บนอาสนะสิงห์ โคนต้นโพธิ ณ โพธิมณฑลนั้น (พระองค์) ซึ่งกำลังมีเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์อสูร ครุฑ พญานาค มนุษย์ อมนุษย์ แวดล้อมอยู่ และซึ่งมีพระโอรสราชกุมารสิบหกพระองค์ กำลังทูกลขอให้ประกาศพระธรรมจักอยู่ ครั้นเห็นแล้ว พรหมทั้งหลายเหล่านั้น ก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค จนถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าที่แทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น พระทำประทักษิณ พระผู้มีพระภาคหลายแสนครั้งและได้บูชาพระผู้มีพระภาคด้วยภาชนะดอกไม้นั้น ซึ่งใหญ่ประมาณเท่าเขาพระสุเมรุและเอาดอกไม้เหล่านั้นโปรยลงที่ต้นโพธิ์ด้วย เป็นระยะทางกว้างออกไปประมาณสิบโยชน์ ครั้นทำการบูชาแล้ว พรหมทั้งหลายเหล่านั้น ได้ถวายวิมานพรหมเหล่านั้น แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงรับวิมานพรหมเหล่านี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระสุคตจงใช้วิมานพรหมเหล่านี้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น มหาพรหมเหล่านั้น ได้ถวายวิมานของตน แด่พระผู้มีพระภาค แล้วสดุดีพระผู้มีพระภาค ณ เบื้องพระพักตร์ ด้วยคาถาอันสมควรยิ่งเหล่านี้ว่า
39 การได้เฝ้าพระผู้เป็นผู้นำแห่งโลกเจ้า เป็นสิ่งที่ยากอย่างยิ่ง ขอต้อนรับพระองค์ผู้ปราศจากความล่มหลง นานนักที่จะได้เผ้าพระองค์ในโลก เป็นเวลาถึงร้อยกัลป์เต็ม พวกข้าพระองค์จึงได้เฝ้าพระองค์
40 ข้าแต่พระโลกนาถ ขอพระองค์ได้โปรดกระทำหมู่สัตว์ ผู้กระหายให้เอิบอิ่มด้วยเถิด ผู้ที่ไม่เคยเฝ้าพระองค์มาก่อน จะพบพระองค์ได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้นำแห่งโลกการเฝ้าพระองค์นั้นเป็นสิ่งที่หาได้ยาก เหมือนกับต้นมะเดื่อออกดอก
41 ข้าแต่พระผู้นำโลก วิมานเหล่านี้ ของข้าพระองค์ทั้งหลาย ส่องแสงสว่างโชติช่วง เพราะอานุภาพของพระองค์ ข้าแต่พระสมันตจักษุ (ผู้รู้เห็นโดยรอบ) ของพระองค์ทรงรับและใช้สอยวิมานเหล่านี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้น มหาพรหมทั้งหลา ได้สดุดีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ด้วยคาถาอันสมควร ณ เบื้องพระพักตร์นั้นแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงยังพระธรรมจักรให้หมุนไปในโลก ขอพระผู้มีพระภาคจงแสดงพระนิพพาน ของพระผู้มีพระภาค ได้โปรดยังสัตว์ให้ข้ามพ้น(จากทุกข์) ขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรดสงเคราะห์ชาวโลก ขอพระผู้มีพระภาค จงแสดงธรรมแก่ชาวโลก พร้อมทั้งมาร พรหม และแก่ประชาชน พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา มนุษย์ และอสูร ทั้งหลายเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลกเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หลังจากนั้น พรหมทั้งหลายห้าสิบหมื่นแสนโกฏิ ประชุมกันแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ด้วยคาถาอันไพเราะ สองคาถาเป็นเสียงเดียวกันว่า
42 ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นผู้นำ ของพระองค์ได้โปรด แสดงธรรมยังพระธรรมจักรให้หมุนไป ขอพระองค์ได้โปรดลั่นกลองธรรม และเป่าสังข์ธรรมให้ดังกึกก้องด้วยเถิด
43 ขอพระองค์ทรงยังฝน คือ พระสัทธรรมให้ตกลงในโลก และขอจงตรัสสุภาษิตที่มีสำเนียงอันไพเราะ ขอทรงแสดงธรรมที่ชาวโลกปรารถนา เพื่อปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลายหมื่นโกฏิ (จากทุกข์) ด้วยเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นัยว่าพระผู้มีพระภาคนั้น ได้ทรงรับคำทูลของมหาพรหมทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยพระดุษฎีภาพ ฯลฯ เหตุการณ์อย่างนี้ได้เกิดขึ้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศเบื้องล่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นัยว่าครั้งนั้น พรหมวิมานทั้งหลาย ในโลกธาตุห้าสิบหมื่นแสงโกฏิ ในทิศเบื้องล่าง ได้เร่าร้อน ส่องแสงสว่างโชติช่วงสวยงามอย่างยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น พรหมทั้งหลายคิดว่าพรหมวิมานเหล่านี้ ได้ส่องแสงสว่างโชติช่วงสวยงามยิ่งนัก สิ่งนี้จักเป็นบุพนิมิตอะไรหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มหาพรหมทั้งหมดในโลกธาตุห้าสิบหมื่นแสนโกฏิ ได้ไปยังวิมานของกันและกัน แล้วสนทนากัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น มหาพรหมองค์หนึ่ง นามว่า "ศิขี" ได้กล่าวกับพรหมหมู่ใหญ่นั้นด้วยคาถาว่า
44 ดูก่อนสหาย อะไรเป็นเหตุ วิมานของเราจึงมีสีแสงสุขสว่างไสวเช่นนี้ อะไรเป็นเหตุแห่งความเจริญนี้
45 ปรากฏการณ์เช่นนี้ เป็นสิ่งที่ใครไม่เคยเห็นและไม่ได้ยินมาก่อน อะไรเป็นเหตุ วันนี้ วิมานทั้งหลาย จึงมีแสงสดใส และงดงามยิ่งนัก
46 เห็นจะมีเทพบุตรผู้ประกอบกรรมอันงาม บังเกิดขึ้นในโลกนี้ ปรากฏการณ์นี้เป็นอานุภาพของเทพบุตรองค์นั้น หรือมิฉะนั้น ก็จะต้องมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หลังจากนั้น มหาพรหมทั้งหลายในโลกธาตุห้าสิบหมื่นแสนโกฏิเหล่านั้นทั้งหมด ขึ้นสู่วิมานทิพย์ของตน แล้วถือเอาดอกไม้ทิพย์ขนาดใหญ่เท่าเขาพระสุเมรุท่องเที่ยวไปในทิศทั้งสี่ จนถึงทิศเบื้องล่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทิศเบื้องล่างนั้น มหาพรหมเหล่านั้น ได้พบ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ซึ่งประทับอยู่บนอาสนะสิงห์ โคนต้นโพธิ ณ โพธิมณฑลนั้น (พระองค์) กำลังมีเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร พญานาค มนุษย์ อมนุษย์ แวดล้อมอยู่ และมีพระโอรสราชกุมารสิบหกพระองค์ กำลังทูลขอให้ประกาศพระธรรมจักรอยู่ ครั้นพบแล้วพรหมเหล่านั้น ก็เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าที่แทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น กระทำประทักษิณ พระผู้มีพระภาคเจ้าหลายแสนครั้ง และได้บูชา พระผู้มีพระภาค ด้วยภาชนะดอกไม้นั้น อันใหญ่ประมาณเท่าเข้าพระสุเมรุ และเอกดอกไม้เหล่านั้นโปรยลงที่ต้นโพธิ์ด้วย เป็นระยะทางกว้างออกไปประมาณสิบโยชน์ ครั้นทำการบูชาแล้ว พรหมทั้งหลายเหล่านั้น ได้ถวายพรหมวิมานของตน ซึ่งเป็นวิมานทิพย์ แด่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงรับพรหมวิมานเหล่านี้ เพื่ออนุเคราะห์ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระสุคตโปรดใช้สอยพรหมวิมานเหล่านี้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น มหาพรหมเหล่านั้น ได้ถวายพรหมวิมานของตน แด่พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้สดุดีพระผู้มีพระภาค ณ เบื้องพระพักตร์ ด้วยคาถาอันเหมาะสมเหล่านี้ว่า
47 ดีแท้ ที่ได้พบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นที่พึ่งแห่งชาวโลก ผู้มีศักดิ์ในการปลดเปลื้องสัตว์ในไตรโลกให้หลุดพ้น
48 (พระพุทธเจ้าทั้งหลาย) ผู้มีสมันตจักษุ ผู้เป็นใหญ่แห่งโลก ทอดพระเนตรทิศทั้งสิบ พระองค์ทรงเปิดประตูแห่งอมตะแล้ว ทรงยั่งยืนทั้งหลาย จำนวนมากให้ถึงฝั่ง
49 หลายกัลป์ ที่นับไม่ได้ ที่ว่างเปล่า ได้ผ่านพ้นไปในอดีต ทิศทั้งสิบเต็มไปด้วยความมืด เพราะเว้นว่างจากพระชิเนนทระ(ผู้เป็นจอมแห่งพระชินเจ้า)
50 นรก อันน่าสะพรึงกลัว สัตว์ดุร้ายทั้งหลาย และพวกอสูรเจริญขึ้น สัตว์จำนวนหลายพันโกฏิ ไปเกิดในกำเนิดเปรต
51 เหล่าทวยเทพเสื่อมลง จุติแล้วไปสู่ทุคติ เพราะไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าคติของสัตว์ทั้งหลายจึงเลวร้าย
52 ความประพฤติ ความบริสุทธิ์ คติ ปัญญา ของสัตว์ทั้งปวง ก็เสื่อมลง ความสุขก็หมดสิ้นไป ผู้รู้จักความสุขก็ปลาสนาการไปสิ้น
53 สัตว์ทั้งหลายประพฤติอนาจาร ดำรงอยู่ในสัทธรรม ไม่ได้ผู้นำที่เป็นที่พึ่งของโลก ย่อมตกไปสู่ทุคติ
54 พระองค์ทรงประทานความโชติช่วงแก่โลก นับเป็นเวลานานยิ่งที่พระองค์เสด็จมาแล้ว พระองค์ผู้มีความอนุเคราะห์ ทรงอุบัติขึ้น (มาในโลก) เพื่อประโยชน์สุขของสัตว์ทั้งปวง
55 นับเป็นสิ่งประเสริฐ ที่พระองค์ได้บรรลุอนุตตรพุทธญาณ ด้วยความเกษมสำราญ สัตว์โลกพร้อมทั้งเทวดา และข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความยินดีอย่างยิ่ง
56 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยอานุภาพของพระองค์ วิมานทั้งหลายจึงวิจิตรงดงามยิ่ง ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์ทั้งหลายขอถวาย (วิมานทั้งหลาย) ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์ทรงรับ (วิมาน ทั้งหลายเหล่านี้) ด้วยเถิด
57 ข้าแต่พระผู้นำที่วิเศษ เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระองค์จงทรงใช้สอย (วิมานทั้งหลาย) ด้วยเถิด ข้าพระองค์ทั้งหลาย และสัตว์ทั้งปวงจักได้บรรลุโพธิญาณอันประเสริฐด้วย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มหาพรหมได้สดุดี พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ด้วยคาถาอันไพเราะ ณ เบื้องพระพักตร์นั้นแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงยังพระธรรมจักรให้หมุนไป ขอพระสุคตจงยังพระธรรมจักรให้หมุนไป ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงพระนิพพาน ขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรดยังสัตว์ทั้งหลาย ให้ข้ามพ้น(จากทุกข์) ขอได้โปรดสงเคราะห์ชาวโลก ขอพระผู้มีพระภาคจงแสดงธรรมแก่ชาวโลก พร้อมทั้งมารและพรหม และแก่ประชาชน พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ และอสูรทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หลังจากนั้น พรหมทั้งหลาย ห้าสิบหมื่นแสนโกฏิ ประชุมกันแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ด้วยสองคาถาอันไพเราะ เป็นเสียงเดียวกันว่า
58 ขอพระองค์จงยังจักรอันประเสริฐสูงสุดให้หมุนไป ของจงลั่นกลองอมตะ(ธรรม) ของพระองค์จงยังสัตว์ ทั้งหลาย ให้พ้นจากทุกข์หลายร้อยประการ และขอพระองค์แสดงทางแห่งพระนิพพานด้วยเถิด
59 ขอพระองค์จงแสดงธรรม ที่เหล่าข้าพระองค์ปรารถนา ขอพระองค์จงอนุเคราะห์ข้าพระองค์และชาวโลกทั้งปวง ขอพระองค์จงเปล่งพระสุระเสียงอันไพเราะอ่อนหวานที่ทรงเคยเปล่งมาแล้ว หลายพันโกฏิกัลป์ด้วยเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ทรงทราบความปรารถนาของพรหมหนึ่งแสนโกฏิเหล่านั้น และของพระราชกุมาร ผู้เป็นโอรสสิบหกพระองค์ ได้ทรงแสดงธรรมจักร ในเวลานั้น อันเป็นไปสามรอบ และมีอาการสิบสอง (ปริวรรต 3 โดยอาการ 12) ที่สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และชนอื่นๆ ไม่เคยแสดงในโลกว่า นี้คือทุกข์ นี้คือแหตุเกิดทุกข์ นี้คือความดับทุกข์ นี้คือหนทางให้ถึงความดับทุกข์ ทั้งหมดนี้เป็นอริยสัจ และพระองค์ได้ทรงแสดง เรื่องปฏิจจสมุปบาท โดยพิสดารว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะหก อายตนะหกเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปทาน อุปทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และอุปยาส อย่างนี้ เป็นเหตุเกิดความทุกข์อันยิ่งใหญ่อย่างเดียว เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ อายตนะหกจึงดับ เพราะอายตนะหกดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปทานภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับชรามรณะโศกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาสจึงดับ อย่างนี้ คือความดับกองทุกข์อันยิ่งใหญ่อย่างเดียว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนี้พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ทรงแสดงพระธรรมจักรอยู่ เบื้องหน้าชาวโลก พร้อมทั้งเทวดา มารพรหม เบื้องหน้าประชาชน พร้อมทั้งสมณะ และพราหมณ์ทั้งหลาย เบื้องหน้าบริษัท พร้อมทั้งเทวดา มนุษย์และอสูรครั้งนั้น ขณะนั้น ครู่นั้น จิตของสัตว์จำนวนหกสิบหมื่นแสนโกฏิ ได้หลุดพ้นแล้วจากอุปทานและอาสวะ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ได้บรรลุวัชชาสาม อภิญญาหก วิโมกข์แปด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อมา พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หมาภิชญาชญานาภิภู ได้ทรงแสดงธรรมเป็นครั้งที่สอง ครั้งที่สาม และครั้งที่สี่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลแสดงธรรม ของพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ครั้งนั้น จิตของสัตว์หมื่นแสนโกฏิ ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ได้หลุดพ้นจากอุปทานและอาสวะทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหลังจากนั้นหมู่สาวก ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จึงมีจำนวนมากมายเหลือจะคณานับ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้นแลราชกุมารสิบหกพระองค์เหล่านั้น ผู้ยังทรงพระเยาว์อยู่ ทรงมีศรัทธาสละการครองเรือน ทรงบรรพชาเป็นสามเณรทุกพระองค์ ทรงเป็นบัณฑิตแจ่มใส มีปัญญา ชาญฉลาด ทรงเจริญรอยพระยุคลบาท ของพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ มีพระประสงค์จะบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สามเณรสิบหกรูปนั้น ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู นั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สาวกหลายหมื่นแสนโกฏิเหล่านี้ ของพระตถาคต เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก มีศักดิ์มาก เพราะอาศัยพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคข้าพระองค์ขอพระวโรกาส ฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้โปรดอนุเคราะห์แสดงธรรมปรารภอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยเถิด เพื่อข้าพระองค์ทั้งหลาย จักได้ดำเนินรอยตามพระตถาคต ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย ปรารถนาจะเห็นพระตถาคตญาณ พระผู้มีพระภาคท่านนั้น จักเป็นพยานในเรื่องนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย และอัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย และอัธยาศัยของข้าพระองค์ทั้งหลายด้วย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้นแล บริวารของจักรพรรดิราชพระองค์นั้นครึ่งหนึ่ง คือ จำนวนแปดสิบหมื่นแสนโกฏิ ได้เห็นพระราชกุมารผู้ทรงพระเยาว์ สละการครองเรือน ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ก็ได้สละละการครองเรือนด้วย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ได้ทรงทราบอัธยาศัยของสามเณรทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว โดยกาลล่วงไปสองหมื่นกัลป์ จึงได้ตรัสพระสูตรที่มีชื่อว่า สัทธรรมปุณฑรีกะ อันเป็นธรรมบรรยาย ที่ไพศาลเป็นคำสอนพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นที่ยึดถือของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ท่ามกลางบริษัทสี่เหล่านั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลครั้งนั้น สามเณรราชกุมารทั้งสิบหกพระองค์ ได้ทรงศึกษารับทรงจำไว้ และกระทำการบรรยาย สุภาษิตของพระตถาคตพระองค์นั้น โดยเอื้อเฟื้อ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามหาภิชญาชญานาภิภู ได้ทรงพยากรณ์สามเณรทั้งสิบหกรูปว่า จักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็แลขณะที่ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภูตรัสธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อยู่นั้น สาวกทั้งหลายได้ถึงความหลุดพ้นแต่สามเณรสิบหกรูปและเหล่าสัตว์จำนวนหลายหมื่นแสนโกฏิ ยังมีความลังเลสงสัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อมาพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู ได้ทรงแสดงธรรมบรรยายชื่อ สัทธรรมปุณฑรีกสูตร
นี้ ตลอดแปดพันกัลป์ ติดต่อกัน แล้วเสด็จเข้าไปสู่พระวิหารเพื่อทรงเข้าสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตซึ่งเข้าสมาธิอยู่นั้น ได้ประทับอยู่ในพระวิหาร ตลอดแปดหมื่นสี่พันกัลป์นั้นแล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อมาสามเณรสิบหกรูปเหล่านั้น ทรงทราบว่าพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามหาภิชญาชญานาภิภู ทรงเข้าสมาธิ จึงแยกกันประทับบนธรรมาสน์ สิงหาสน์ นมัสการพระผู้มีพระภาคตถาคต มหาภิชญาชญานาภิภู แล้วแสดงธรรมบรรยายชื่อ สัทธรรมปุณฑรีกสูตรโดยพิสดาร ท่ามกลางบริษัทสี่ตลอดแปดหมื่นสี่พันกัลป์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ณ ที่นั้น สามเณรแต่ละรูป ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ ได้ให้สัตว์มากมายหลายหมื่นแสนโกฏิ อันมีจำนวนเท่ากันเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา สำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณให้สัตว์เหล่านั้นผ่องใส ร่าเริง บันเทิง หรรษา และข้าพ้น(ความทุกข์ยาก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อมาพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาภิชญาชญานาภิภู พระองค์นั้น มีพระสติทรงรู้สึกพระองค์ ทรงออกจากสมาธิ เพื่อระยะเวลาล่วงไปสี่หมื่นกัลป์ ครั้นเสด็จลุกขึ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตถาคต มหาภิชญาชญานาภิภู เสด็จไปประทับนั่งบนธรรมมาสน์ที่จัดไว้เพื่อพระองค์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พระผู้มีพระภาคตถาคต มหาภิชญาชญานาภิภู ครั้นประทับนั่งแล้ว ทรงมองดูบริษัททั้งปวงอยู่บนธรรมาสน์ แล้วตรัสกะภิกษุสงฆ์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สามเณรสิบหกรูปเหล่านี้ ผู้ถึงความอัศจรรย์ มีปัญญา เข้าพบพระพุทธเจ้าหลายหมื่นแสนโกฏิ เข้าใกล้พุทธธรรม รับเอาพุทธธรรม หยั่งลงสู่พุทธธรรมแล้ว และประกาศพุทธญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยกย่องสามเณรสิบหกรูปเหล่านี้เนืองๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายชนเหล่าใด ยึดมั่นในสาวกญาณก็ตาม ปัจเจกพุทธญาณก็ตาม โพธิสัตวญาณก็ตาม จะไม่ปฏิเสธ จะไม่คัดค้านธรรมเทศนาของกุลบุตร (สามเณร)เหล่านั้น เขาทั้งหมดเหล่านั้นจักได้รับสัมมาสัมโพธิญาณโดยพลัน และจักบรรลุตถาคตญาณ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลกุลบุตร(สามเณร) สิบหกรูปเหล่านั้น ได้ประกาศธรรมบรรยายชื่อสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคบ่อยๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสามเณรสิบหกรูปเหล่านั้น เป็นโพธิสัตว์มหาสัตว์ แต่ละรูป ได้ส่งเสริมสัตว์หกสิบคูณด้วยหกสิบหมื่นแสนโกฏิ ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา เพื่อให้เข้าถึงพระโพธิญาณ สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดได้บรรพชาในชาติเหล่านั้น พร้อมกับสามเณรเหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นตามเห็นฟังธรรม จากสามเณรเหล่านั้น สัตว์ เหล่านั้นได้บาพระพุทธเจ้าสี่หมื่นโกฏิพระองค์ บางพวกก็ยังบูชาอยู่ในขณะนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา(ตถาคต)ขอป่าวประกาศกะพวกเธอว่า พระราชกุมารผู้เยาว์วัยสิบหกองค์ ผู้เป็นสามเณรในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้กล่าวธรรมทั้งหมดนั้น เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และทั้งหมดนั้น ยังประทับอยู่ ดำรงชนม์อยู่ให้ชนชีพเป็นไปอยู่ ในบัดนี้ ในพุทธเกษตรต่างๆทั้งสิบทิศ ยังแสดงธรรมแก่สาวก และโพธิสัตว์หลายหมื่นแสนโกฏิ กล่าวคือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกธาตุชื่อ "อภิรติ" ในทิศตะวันออกมีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า"อักโษภยะ" และพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า "สิงหโฆษ" และพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า "สิงหธวัช" อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทิศใต้ มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า "อากาศประดิษฐ์ตะ" และพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า "นิตยปรินิวฤตะ" อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทิศตะวันตกเฉียงใต้มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า "อินทรธวัช" และพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า "พรหมธวัช"อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทิศตะวันตก มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า "อมิตายุ" และพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า"สรวโลกธาตูปัทรโวทเวคปรัตยุตตีรณะ" อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า "ตมาลปัตรจันทนคันธาภิชญะ" และพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า "เมฆสวรทีปะ" และพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า "เมฆสวรราช"อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า"สรวโลกภยัจฉัมภิกตววิธิวังสนกระ" และเราตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า "ศากยมุนี" ซึ่งเป็นองค์ที่สิบหก เป็นอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าในท่ามกลางสหโลกธาตุนี้ อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ฟังธรรมของเพวกเรา ผู้เป็นสามเณรแล้วสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นมีจำนวนหมื่นแสนโกฏิ เท่ากับจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ที่พวกเราแต่ละพระองค์ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น สนับสนุนเพื่อบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ตั้งอยู่แล้วในสาวกภูมิ ทุกวันนี้ มีอุปนิสัยแก่กล้าแล้ว ที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ นี้คือ ลำดับแห่งการตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพวกเธอ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า ตถาคตญาณนั้นเป็นสิ่งที่บรรลุได้ยากอย่างยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นคือพวกไหน ซึงมีจำนวนหลายหมื่นแสนโกฏิ จนประมาณไม่ได้ นับไม่ได้ เท่ากับจำนวนเมล็ดทราย ในแม่น้ำคงคา ที่เราผู้เป็นพระโพธิสัตว์ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นให้ฟังสัพพญญุตญาณแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัตว์เหล่านั้นก็คือพวกเธอในกาลสมัยนั้นแล
ก็แล เมื่อเราปรินิพพานแล้วในอนาคตกาล ชนเหล่าใดรักเป็นสาวก และจักฟังจริยาวัตรของพระโพธิสัตว์ แต่รู้ว่าตนเองเป็นพระโพธิสัตว์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขาเหล่านั้นทั้งหมดเข้าใจในเรื่องปรินิพพาน จักปรินิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีก เราอยู่โลกอื่นโดยใช้นามอื่นชนทั้งหลายเกิดในที่นั้น แสวงหาตถาคตญาณอี และเขาเหล่านั้นก็จักได้ฟังคำสอนนั้นอีก พระนิพพานของตถาคตทั้งหลายมีอย่างนี้เอง พระนิพพานชนิดที่สองนอกเหนือไปจากนี้ ไม่มีอีกแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเข้าใจกุศโลบาย และวิธีการแสดงธรรมของพระตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด ตถาคตพิจารณาเห็นกาลเวลา จะปรินิพพานของตนเอง และเห็นบริษัทเป็นผู้บริสุทธิ์ มีศรัทธาตั้งมั่น ถึงคติแห่งศูนยตาธรรม มีความเพียร มีสมาธิยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น ตถาคต ทราบว่า "นี้คือกาลเวลา"แล้วเรียกประชุมโพธิสัตว์และสาวกทั้งหลาย แล้วประกาศให้ทราบคำสอนภายหลังว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในนี้ ยาน หรือปรินิพพานที่ไม่มีสอง จะป่วยกล่าวไปใยถึงยานหรือนิพพานที่สามเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี่คือกุศโลบายของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตถาคตทราบว่าสัตว์ทั้งหลายยังทำลายกิเลสไม่ได้ ฉะนั้น จึงบอกนิพานที่พวกเขาติดข้องอยู่ กับพวกเขาที่ยินดีสิ่งต่ำช้า ทั้งยังจมอยู่ในเปือกตมคือกามอีกด้วย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายที่นี้มีตัวอย่างดังนี้ ฝูงชนหมู่ใหญ่เดินทางไปยังป่าทึบ ที่น่ากลัวอันมีบริเวณถึง5โยชน์ เพื่อจะไปยังรัตนทวีป ในบรรดาชนหมู่ใหญ่นั้น คนหนึ่งเป็นคนนำทาง ซึ่งเป็นผู้มีบริเวณทั้งห้าโยชน์ เพื่อจะไปยังรัตนทวีป ในบรรดาชนหมู่ใหญ่นั้น คนหนึ่งเป็นคนนำทางซึ่งเป็นผู้มีความสามารถ เป็นบัณฑิตหลักแหลม มีปัญหา คุ้นเคยทางในป่าทึบ และเข้าให้ผู้ชนนั้นเดินเข้าป่าทึบนั้นไป ต่อมาฝูงชนใหญ่นั้นเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลียและหวาดกลัว จึงพูดว่าท่านผู้นำทางที่ประเสริฐ ท่านเป็นผู้นำทางของพวกเรา ขอให้ท่านทราบเถิดว่า พวกเราเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย และหวาดกลัว อยากจะกลับป่าทึบนี้กว้างเหลือเกิน ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้นำทางนั้นเป็นผู้ฉลาด ทราบว่า ชนเหล่านั้นอยากจะกลับ จึงคิดอย่างนี้ว่าไม่ควรอย่างยิ่งที่คนซึ่งน่าสงสารเหล่านี้เดินทางไปไม่ถึงรัตนทวีปใหญ่นั้น เพื่ออนุเคราะห์เขาเหล่านั้น ผู้นำทางจึงทำอุบาย เขา (ผู้นำทาง) ได้เนรมิตเมืองขึ้นเมืองเหนึ่งด้วยฤทธิ์ เป็นเมืองที่กว้างใหญ่ หนึ่งร้อย สองร้อย สามร้อยโยชน์ กลางป่าทึบนั้น แล้วกล่าวกับชนเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจงอย่างกลัวเลย จงอย่างกลับเลย ชนบทใหญ่มีอยู่ ท่านทั้งหลายจงพักผ่อนกันที่นี่ จงทำภาระแหละหน้าที่ทุกอย่างขอท่าน ณ ที่นี้เถิด พักผ่อนหลับนอนให้หายเหนื่อยก่อน เมื่อหายเหนื่อยแล้วจะได้เดินทางไปสู่รัตนทวีปต่อไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หลังจากนั้น หมู่ชนเหล่านั้นประหลาดใจ อัศจรรย์ใจ คิดว่าเราออกจากป่าทึบน่ากลัวนั้นแล้ว ได้พักผ่อนอย่างสงบสบายที่นี่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่านั้นเข้าไปยังเมืองเนรมิต พวกเขาเข้าใจว่า มาถึงแล้ว ปลอดภัยแล้ว พากันคิดว่า เราได้พักผ่อนสดชื่นขึ้นแล้ว แต่ผู้นำทราบว่า พวกเขาหายเหนื่อยแล้ว จึงทำให้เมืองเนรมิตนั้นอันตรธานไป แล้วก็กล่าวกับชนเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ทุกท่านจงมา รัตนทวีปอยู่ใกล้นี้เอง ส่วนเมืองนี้ข้าพเจ้าเนรมิตขึ้น เพื่อให้พวกท่านได้พักผ่อนเท่านั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ชนทั้งหลาย ผู้เดินป่า ได้พากันประหลาดใจ อัศจรรย์ใจว่า เราได้ออกจากป่าแล้ว เราได้ถึงสถานที่สงบแล้ว เราจักพักที่นี่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายชนเหล่านั้น ได้เข้าไปนครนิมิตนั้นด้วยสำคัญว่า พวกเขาได้มาถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ได้ปลอดภัยแล้ว และได้ถึงสถานที่สงบสุขแล้ว จากนั้น เมื่อผู้นำทางทราบว่า ชนทั้งหลายหายเหนื่อยแล้ว จึงทำให้นครนิมิตนั้นหายไป เมื่อทำให้หายไปแล้ว จึงกล่าวกับชนเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงมาเถิด เกาะมหารัตนทวีปนี้อยู่ไม่ไกลนัก นครนี้ เรานิรมิตขึ้น เพื่อให้ท่านได้พักผ่อนเท่านั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ชี้ทางแก่พวกเธอ และสัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แท้ที่จริง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นว่า ป่าทึบคือกิเลสอันยิ่งใหญ่นี้ เป็นสิ่งที่ควรข้าม หลีกหนี และละทิ้งไม่ควรที่สรรพสัตว์ ผู้ได้ฟังพุทธญาณแล้ว จะกลับเสียโดยพลัน ไม่ก้าวต่อไปด้วยคิดว่า พุทธญาณ เป็นสิ่งยากจะบรรลุได้ ณ ที่นั้นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทราบว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีความอ่อนแอ จึงชี้แจงประกาศ ภูมิ (ฐานะ) ของพระนิพพานสองอย่างคือ สาวกภูมิ และปัจเจกภูมิ ด้วยกุศโลบาย (อุบายอันฉลาดยิ่ง) เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายได้พักผ่อน เหมือนผู้นำทางนั้น สร่งเมืองเนรมิต เมืองที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ เพื่อให้ชนทั้งหลายเหล่านั้นได้พักผ่อนกัน และแล้วได้บอกแก่ผู้พักผ่อนเหล่านั้นว่าว่า นี้เป็นเพียงเมืองเนรมิต ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในสมัยใด สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น หยุดอยู่ ร ที่นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ณ ที่นั้น พระตถาคตก็จะแสดงอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ยังไม่ได้ทำภารกิจ และหน้าที่ให้แล้วเสร็จ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากลัวเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พุทธญาณอยู่ใกล้เธอแล้วจากนี้ไป พวกเธอจงมองดูพุทธญาณ และพิจารณาว่า นิพพานของเธอ ไม่ใช่นิพพานที่แท้จริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นกุศโลบายของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ประกาศยานเป็นสาม
ครั้นนั้น เพื่ออธิบายความนั้นให้ละเอียดยิ่งขึ้น ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสพระถาคาเหล่านี้ว่า
60 พระอภิชญาชญานาภิภู พระผู้นำแห่งโลก ผู้ทรงเห็นอรรถอันยิ่ง ได้ประทับนั่งที่โพธิมณฑลติดต่อกันถึง10 กัลป์บริบูรณ์ แต่ก็ยังไม่ได้ตรัสรู้
61 ครั้นพระชินเจ้า ผู้นำของนรชน ได้ตรัสรู้แล้ว เทวดา นาค อสูร และมารร้ายทั้งหลาย ได้โปรยฝนดอกไม้ลงมา เพื่อบูชาองค์พระชินเจ้านั้น
62 แลพวกเขาเหล่านั้น และเขาเหล่านั้นมีความขัดเคือง เรื่องที่พระพุทธชินเจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรธรรม ข้าไป
63 เป็นเวลา 10 กัลป์ล่วงไป พระผู้มีพระภาคอภิญาชญา(นาภิภู) จึงได้ตรัสรู้ในสมัยนั้น เทวดา มนุษย์ พญานาค และอสูรทั้งหลายต่างพากันดีใจ รื่นเริงหรรษา
64 ต่อมา พระโอรสราชกุมาร 16 พระองค์ผู้แกล้วกล้า และพรั่งพร้อมด้วยคุณธรรมของพระผู้นำแห่งนรชนพระองค์นั้น พร้อมกับหมู่สัตว์หลายพันโกฏิ ได้เสด็จมาทำการบูชาพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นจอมนรชน ที่เลิศยิ่งนั้น
65 พระโอรสราชกุมารเหล่านั้น ครั้นทรงกราบพระบาทพระผู้นำแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระนเรนทรสิงห์ ขอพระองค์ทรงประกาศธรรม ทำให้ข้าพระองค์ทั้งหลาย และชาวโลก ได้สดชื่นด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะด้วยเถิด
66 ข้าแต่พระผู้นำที่ยิ่งใหญ่ พระองค์อุบัติขึ้นในโลกทั้งสิบทิศ เป็นเวลาช้านาน วิมานแห่งพรหมทั้งหลาย สั่งสะเทือนเป็นเหตุบ่งบอกนิมิตแก่สัตว์ทั้งหลาย
67ในทิศตะวันออก (พุทธ) เกษตรทั้งหลาย ห้าสิบพันโกฏิ ก็สั่นสะเทือน พรหมวิมานอันประเสริฐ ณ ที่นั้นๆมีรัศมีส่องแสงสว่างไสว
68 พรหมทั้งหลายเหล่านั้น เห็นบุพนิมิตเช่นนี้แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้นำแห่งโลกได้โปรยปรายดอกไม้ลงมา บูชาพระองค์และได้ถวายพรหมวิมานทั้งปวงแก่พระองค์
69 พรหมเหล่านั้น ได้ทูลขอพระองค์ ด้วยคาถาและบทสวดทั้งหลาย เพื่อให้พระองค์ทรงยังพระธรรมจักรให้หมุนไป แต่พระองค์ผู้เป็นจอมราชันทรงสงบนิ่ง (ด้วยทรงคิดว่า) นี้ยังไม่ใช่เวลาแสดงธรรมแห่งเรา
70 ในทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน และทิศอันมีในท่ามกลางทั้งหลาย มีพรหมหลายพันโกฏิแล
71 พรหมทั้งหลายได้โปรยปรายดอกไม้บูชาพระผู้ทรงเป็นผู้นำ (พระตถาคต) และกราบพระบาททั้งสองของพระผู้นำมอบถวายวิมานทั้งหลายทั้งปวง กล่าวสดุดีและขอร้องว่า
72 ข้าแต่พระผู้มีจักษุอันหาที่สุดมิได้ ขอพระองค์ทรงให้จักรเป็นไป(ขอจงทรงแสดงธรรม) พะองค์เป็นผู้ที่พบเห็นได้โดยยากเป็นเวลาหลายโกฏิกัลป์ ขอพระองค์ได้โปรดแสดงพลังแห่งพระเมตตาที่พระองค์ทรงเคยแสดงมาแล้วในกาลก่อนขอพระองค์ทรงเปิดประตูแห่งอมตะด้วยเถิด
73 พระผู้มีพระจักษุอันหาที่สุดมิได้ (ผู้เห็นการณ์โลก) ตถาคตเจ้า ครั้นสดับคำทูกลขอแล้ว ทรงประกาศธรรมหลายประการ พระองค์ได้ประกาศอริยสัจสี่โดยพิสดาร พระองค์ทรงแสดงว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยของกันและกัน
74 พระผู้มีพระจักษุ (ตถาคต) ทรงประกาศทุกข์ อันมีมรณะเป็นที่สุด เริ่มต้นจากอวิชชา (พระองค์ทรงประกาศว่า) อกุศลทั้งปวงเหล่านี้ เกิดจากชาติและ(ว่า) ท่านทั้งหลาย จงทราบอย่างนี้ว่า มฤตยู (ความตาย) เป็นสิ่งที่มีแก่มนุษย์(เป็นเป็นของมนุษย์)
75 แลต่อมาพระองค์ทรงประกาศพระธรรมหลายอย่างหลายประการ สัตว์ทั้งหลายประมาณ 80 โกฏิ ฟังแล้วตั้งอยู่ในภาวะแห่งสาวกโดยพลัน
76 วาระที่สอง เมื่อพระชินเจ้าประกาศธรรมจำนวนมาก สัตว์ทั้งหลายที่บริสุทธิ์มีจำนวนเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ก็ได้ตั้งอยู่ในสาวกภูมิ ในขณะนั้น
77 แต่นั้นหมู่สาวกของพระผู้นำแห่งโลกนั้น ในกาลครั้งนั้น ได้มีมากเหลือทีจะคณานับ ไม่มีใครสักผู้หนึ่งในบรรดาท่านทั้งหลายเหล่านั้นจะนับได้ แม้จะนับไปตลอดหลายโกฏิกัลป์
78 เจ้าฟ้าชาย สิบหกพระองค์ อันเป็นพระราชโอรสขององค์พระชินเจ้าทุกพระองค์ซึ่งเป็นนักบวชดำรงภาวะเป็นสามเณร ได้กราบทูลกระพระชินเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้นำแห่งโลก ขอพระองค์ทรงประกาศพระธรรมอันเลิศเถิด
79 ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสุดแห่งพระชินเจ้าทั้งหลาย เพื่อที่ข้าพระองค์ทั้งหลายจะได้เป็นพระสัพพัญญู เช่นเดียวกับพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ผู้ทรงเห็นแจ้งหมดจด เพื่อที่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้จะเป็นอย่างที่พระองค์ได้ทรงเป็น
80 พระชินเจ้าครั้นทรงทราบพระประสงค์ของเจ้าฟ้าชายราชโอรสเหล่านั้นแล้วทรงประกาศธรรมอันสูงสุดด้วยการยกตัวอย่างอเนกประการ (หลายโกฏิยุต มิใช่หนึ่ง)
81 พระโลกนาถ เมื่อจะทรงแสดงและชี้แจงอภิญญาหลายพันวิธี ทรงแสดงหน้าที่อันแท้จริง อย่างที่พระโพธิสัตว์ผู้ฉลาดทั้งหลายปฏิบัติอยู่
82 พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวปุลยสูตร ชื่อว่า สัทธรรมปุณฑรีกนั่นด้วยคาถามากมายหลายพันคาถา อันมีประมาณเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา
83 ก็แล พระชินเจ้าพระองค์นั้น ครั้นตรัสพระสูตรนี้แล้วก็เสด็จเข้าไปสู่วิมานพักผ่อน พระโลกนาถทรงนั่นเข้าสมาธิอยู่บนอาสนะเดี่ยวตลอด 84 กัลป์
84 สามเณรทั้งหลายเหล่านี้ทราบว่า พระผู้ทรงเป็นผู้นำประทับนั่งไม่เสด็จออกไปจึงได้แสดงพุทธธรรม ซึ่งปราศจากอาสวะ อันประเสริฐนี้จำนวนหลายโกฏิ
85 สามเณรทั้งหลายเหล่านั้น แต่ละรูป นั่งบนอาสนะที่ถูกจัดแยกไว้ รูปละที่ ได้แสดงพระสูตรนี้แก่หมู่สัตว์เหล่านั้นในศาสนาของพระสุคต ในกาลนั้น เช่น เดียวกันกับที่แสดงอยู่ในสมัยแห่งเราตถาคต
86 สามเณรเหล่านั้นได้แสดง(ญาณ) แก่สัตว์ทั้งหลายประมาณไม่ได้เหมือนจำนวนเมล็ดทรายในหกหมื่นคงคานที พระโอรสแต่ละองค์ของพระสุคตนั้น แนะนำสัตว์ทั้งหลายมิใช่น้อย
87 เมื่อพระชินเจ้าพระองค์นั้นปรินิพพานแล้ว สามเณรทั้งหลายเหล่านั้นได้ท่องเที่ยวไปเฝ้าพระพุทธเจ้าหลายโกฏิ และทำการบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย พร้อมกับพระสาวกทั้งหลายในกาลนั้น
88 พระราชโอรสทั้ง 16 พระองค์ เหล่านั้น ของพระชินเจ้า ครั้นประพฤติธรรมอันไพบูลย์และสูงส่งและได้ตรัสรู้โพธิญาณในทิศต่างๆ ทั้งสิบทิศแล้ว ได้ทรงเป็นพระชินเจ้า ทรงประทับอยู่เป็นคู่ในทิศทั้งปวง (ทิศละสองพระองค์)
89 ในกาลครั้งนั้น ทุกคนผู้ซึ่งเคยเป็นสาวก (ของพระโอรส) ก็ได้เป็นสาวกของพระชินเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น และได้บรรลุโพธิญาณด้วยอุบายต่างๆโดยลำดับ
90 แม้เราตถาคตก็เป็นผู้หนึ่ง ในจำนวนนั้น แม้ตถาคตก็ได้สั่งสอนเธอทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในบัดนี้ เธอทั้งหลายก็เป็นสาวกของเราตถาคต ณ ที่นี้ เราตถาคตจะนำเธอให้เข้าถึงโพธิญาณด้วยอุบายทั้งหลาย (ของเราตถาคต)
91 เหตุอันนี้ ได้มีแล้วในกาลครั้งกระนั้น นี้คือปัจจัยที่ให้เราตถาคตแสดงธรรมด้วยเหตุปัจจัยนี้แล เราตถาคตจะนำเธอทั้งหลายให้เข้าถึงพุทธญาณอันเลิศของเรา ภิกษุทั้งหลาย ณ ที่นี้ เธอทั้งหลาย จงอย่าได้กลัวเลย
92 เปรียบเหมือนป่าทึบน่ากลัว เวิ้งว้าง ไม่มีที่พักพิงและอาศัย อันเต็มไปด้วยสัตว์ป่ามากมาย และปราศจากน้ำ ป่านั้นพึงเป็นที่น่ากลัว สำหรับผู้คนทั้งหลายที่ขาดความชำนาญป่า
93 ก็แล คนจำนวนหลายพันมาถึงป่า และป่านั้นเป็นป่าที่เวิ้งว้าง มีบริเวณยาวตั้ง 500 โยชน์
94 คนซึ่งเป็นผู้นำทาง ผ่านป่าอันน่ากลัวนี้ไปนั้น เป็นคนมั่งคั่ง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นปราชญ์ เป็นผู้ได้รับการอบรมมาเป็นอย่างดี และกล้าหาญ
95 แม้คนจำนวนหลายโกฏิเหล่านั้นมีความเหน็ดเหนื่อย จึงบอกแก่ผู้นำทางนั้น ในเวลานั้นว่า ท่านผู้เจริญ พวกเราเหนื่อยเหลือเกิน ไม่สามารถจะเดินทางต่อไปได้เราอยากจะกลับจากที่นี่
96 แต่ผู้นำทางนั้น เป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต จึงคิดหาอุบายที่จะพาไปต่อไปในขณะนั้น จึงคิดว่า น่าเสียดาย หากผู้เขลาเบาปัญญาทั้งปวง พาตนเองกลับไปเสียก็จะไม่ประสบรัตนะทั้งหลายเลย
97 ไฉนหนอ ข้าพเจ้า (ผู้นำทาง)พึงนิรมิตนครใหญ่นครหนึ่ง อันกอปรด้วยตึกรามบ้านช่องและวิหารหลายพันโกฏิ พร้อมทั้งสวนอันงดงามด้วยพลังแห่งฤทธิ์ของตนในวันนี้
98 ข้าพเจ้า (ผู้นำทาง) พึงนิรมิตบ่อน้ำ แม่น้ำ สวนและดอกไม้ทั้งหลาย(นคร)ที่มีป้อมปราการและประตูอันสวยงาม เต็มไปด้วยผู้คนทั้งบุรุษและสตรีทั้งหลาย
99 ข้าพเจ้า (ผู้นำทาง) ครั้นทำการนิรมิต พึงกล่าวกะเข้าทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายอย่างกลัวเลย ท่านทั้งหลาย จงรื่นเริงหรรษากันเถิด ท่านทั้งหลายถึงเมืองอันประเสริฐยิ่งแล้ว จงเข้าไปทำธุรกิจของท่านทั้งหลาย โดยเร็วเถิด
100 เพื่อให้คนเหล่านั้นได้พักผ่อน (คนนำทาง)จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายคงหายเหนื่อยแล้ว จงสนทนากันตามสบายใจเถิด เพราะได้ผ่านป่ามาแล้วโดยสิ้นเชิงดังนี้ ซึ่งความก็ทำให้ทุกคนหายเหนื่อยได้
101 (ผู้นำทาง)ครั้นทราบแล้วว่าเขาทั้งหลายพักผ่อนเพียงพอแล้ว ได้เรียกให้พวกเขามารวมกัน แล้วกล่าวอีกว่า "ท่านทั้งหลาย จงมาฟังคำของข้าพเจ้า นครนี้ ข้าพเจ้าสร้างขึ้นมาด้วยฤทธิ์
102 ข้าพเจ้า (ผู้นำทาง)ทราบว่า ท่านทั้งหลายเหน็ดเหนื่อยแล้ว เพื่อไม่ให้ท่านทั้งหลายพากันกลับไป จึงทำกุศโลบายอย่างนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเกิดความกล้าหาญเพื่อเดินทางต่อไปยังเกาะเถิด
103 ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน เราตถาคต ซึ่งเป็นผู้นำทาง นำสรรพสัตว์หลายพันโกฏิ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีความทุกข์ยากและสัตว์ทั้งหลายไม่สามารถจะทำลายกองกิเลสได้
104 แต่นั้น เราตถาคตไตร่ตรองเรื่องนี้ (และทราบว่า) เธอทั้งหลายได้พักผ่อนแล้วมีความสงบแล้ว ความดับแห่งทุกข์ทั้งปวงย่อมมี (และกล่าวว่า) เธอทั้งหลายทำกิจที่พึงกระทำแล้ว พึงตั้งอยู่ในภูมิอรหันต์
105 เมื่อใดเธอทั้งหลายตั้งอยู่ในสภาวะนี้แล้ว (บรรลุอรหันต์) เราตถาคตทราบว่าเธอทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ เมื่อนั้นเราตถาคตก็จะเรียกให้เธอทั้งหลายมาประชุมกันแล้วอธิบายว่า ธรรมอันแท้จริงคืออะไร
106 เป็นอุบายอันฉลาดของพระผู้เป็นผู้นำทั้งหลาย แท้ที่จริงมีเพียงยานเดียวเท่านั้น ยานที่สองไม่มี แต่ท่านแสดงอีกสองยานไว้ก็เพื่อจะให้ได้พักผ่อนเท่านั้นเอง
107 ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราตถาคตจึงกล่าว ณ บัดนี้ว่า เธอทั้งหลายจงก่อให้เกิดความกล้าหาญอันสูงส่งยอดเยี่ยมด้วยสัพพัญญุตญาณทั้งปวงที่ได้ก่อให้เกิดมีขึ้นแล้วนั้น เธอทั้งหลายก็จะบรรลุนิพพานที่ยังไม่บรรลุได้
108 ก็ในกาลที่เธอทั้งหลายจักสัมผัสกับสัพพัญญุตญาณ มีพละสิบ (ทศพละญาณ) ซึ่งเป็นธรรมของพระชินเจ้าทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จักเป็นพุทธะ ทรงไว้ซึ่งมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ และถึงซึ่งพระนิพพาน
109 เทศนาของพระผู้ทรงเป็นผู้นำทั้งหลาย (ตถาคตทั้งหลาย) เป็นเช่นนี้ พระตถาคตทั้งหลาย ตรัสพระนิพพาน เพื่อการพักผ่อน ก็แลครั้นพระตถาคตทราบว่า ทุกท่านได้พักผ่อนแล้วจึงสอน สัพพัญญุตญาณ อันเป็นธรรมให้ถึงพระนิพพาน(ความดับ)แก่ทุกท่านแล
บทที่ 7 ปูรวโยคปริวรรต ว่าด้วยปุพพโยคกรรม
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่8 พยากรณ์ภิกษุห้าร้อยรูป
บทที่ 8
ปัญจภิกษุศตวยากรณปริวรรต
ว่าด้วยการพยากรณ์ภิกษุห้าร้อยรูป
ครั้งนั้นแล ท่านพระปูรณไมตรายณีบุตร ได้สดับการชี้แจงทีตรัสสรุปญาณทัศนะในอุปายโกศล เห็นปานนี้ อย่างใกล้ชิดจากพระผู้มีพระภาค และได้ฟังการพยากรณ์มหาสาวกเหล่านั้น พร้อมทั้งเรื่องราวที่เป็นไปในอดีต ตลอดจนความยิ่งใหญ่ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ถึงความอัศจรรย์ใจ ประหลาดใจมีจิตผ่องใสยินดี ปรีดาปราโมทย์ ท่านพระปูรณไมตรายณีบุตรมีจิต ปรีดาปราโมทย์ เป็นอย่างมาก มีความเคารพยิ่งในพระธรรม ลุกขึ้นจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระสุคต น่าอัศจรรย์ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงกระทำสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง คือทรงทำให้โลก ที่ประกอบด้วยธาตุต่างๆนี้หมุนไป และทรงแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยการแสดงญาณที่เป็นอุบายโกศลต่างๆ ทรงปลดเปลื้องสัตว์ที่ข้องติดในเรื่องต่างๆ ด้วยอุบายโกศล ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหล่าข้าพระองค์ ควรกระทำอะไรในที่นี้ พระตถาคตเท่านั้น ทรงทราบความประสงค์และข้อปฏิบัติในกาลก่อนของเหล่าข้าพระองค์ ท่านปูรณไมตรายณีบุตร ได้อภิวาทพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าแล้วนมัสการ ยืนเพ่งมองพระผู้มีพระภาค ด้วยนัยน์ตาทั้งสองอย่างไม่กระพริบ ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง
ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความประสงค์แห่งจิต ของท่านพระปูรณไมตรายณีบุตร ได้ตรัสกับภิกษุทั้งปวงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงดูปูรณไมตรายณีบุตรผู้นี้ เป็นผู้ที่เรายกย่องว่าเป็นเลิศทางแสดงธรรม ในหมู่ภิกษุ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณความดีทั้งหลาย เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งพระสัทธรรมในศาสนาของเรา โดยหลากหลายประการปูรณตรายณีบุตร เป็นผู้ที่ทำให้บริษัท 4 หรรษา ตื่นเต้น เบิกบาน รื่นเริง เป็นผู้ไม่เหนื่อยอ่อน สามารถแสดงธรรม กล่าวธรรมและปฏิบัติ ร่วมกับสหธรรมจารีทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นอกจากตถาคตแล้ว ไม่มีใครอื่นเว้นปูรณไมตรายณีบุตรเพียงผู้เดียว ที่สามารถในการบรรยายธรรมได้ ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจว่าปูรณไมตรายณีบุตร เป็นผู้ทรงจำพระสัทธรรมของเรา อย่างเดียวหรือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่ควรเข้าใจเช่นนั้น เคยทรงจำพระสัทธรรมในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเก้าสิบเก้าโกฏิพระองค์ เรื่อง ในอดีตกาลนั้นเป็นอย่างไร บัดนี้ ในศาสนาของเราก็เป็นเช่นนั้น ปูรณไมตรายณีบุตร เป็นผู้เลิศทางแสดงธรรมทุกสมัย เป็นผู้เข้าใจเรื่องศูนยตาทุกสมัย เป็นผู้ได้ปฏิบัติปฏิสัมภิทาญาณทุกสมัย เข้าใจถึงอภิญญาแห่งพระโพธิสัตว์ทุกสมัย เป็นผู้แสดงธรรมที่เข้าใจยิ่งดีแล้ว เป็นผู้แสดงธรรมที่ปราศจากข้อสงสัย เป็นผู้แสดงธรรมที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ปูรณไมตรายณีบุตร ได้ประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีพและได้นามว่า "ศราวก" ทุกสมัย ปูรณไมตรายณีบุตร ได้ทำประโยชน์แก่สัตว์ ทั้งหลายหมื่นโกฏิ ซึ่งไม่สามารถประมาณและนับจำนวนได้ ด้วยอุบายนี้ ได้อบรมสัตว์จำนวนมาก ที่ไม่อาจประมาณและนับจำนวนได้ ไว้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อนึ่งปูรณไมตรายณีบุตร ได้ช่วยสัตว์ทั้งหลายด้วยพุทธกิจ ทั้งได้ชำระพุทธเกษตรของตนให้หมดจดทุกสมัย เป็นผู้อบรมสัตว์ทั้งหลายให้มี (อุปนิสัย) แก่กล้าในธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปูรณไมตรายณีบุตรนี้นั้นแล ที่เป็นเลิศทางแสดงของพระตถาคตทั้ง 8 พระองค์ มีพระวิปัศยีเป็นต้น และเราคือตถาคตองค์ที่ 7
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอนาคตกาล ในภัทรกัลป์นี้ จักมีพระพุทธเจ้า 996 พระองค์ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ปูรณไมตรายณีบุตรผู้นี้ จักเป็นเลิศในบรรดาผู้แสดงธรรม ผู้รักษาพระสัทธรรม และจักทรงจำพระสัทธรรมของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่มีจำนวนนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ในอนาคต จักกระทำประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายแก่สัตว์ทั้งหลาย มีจำนวนที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ จักอบรมสัตว์ทั้งหลาย มีจำนวนนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ไว้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นผู้ประกอบกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่ออบรมสัตว์ ในพุทธเกษตรอันบริสุทธิ์ของตน เพื่อให้สัตว์มีอุปนิสัยแก่กล้า ปูรณไมตรายณีบุตรนั้น เมื่อปฏิบัติจริยวัตรของโพธิสัตว์เห็นปานนี้สมบูรณ์แล้ว จักบรรลุอนุตตรสัมมาโพธิญาณ ในกัลป์ทั้งหลาย อันนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ จักเป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "ธรรมประภาส" ในโลก เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว ผู้รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษ ที่ไม่มีใครเปรียบได้ เป็นคุรุของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานและเป็นผู้จำแนกธรรม จักอุบัติขึ้นในพุทธเกษตรนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยสมัยนั้นแล พุทธเกษตรหนึ่งเป็นราวกะว่ามีจำนวนสามพันน้อยใหญ่โลกธาตุ (ตรีสหัสรมหาสหัสรโลกธาตุ) ประมาณเท่ากับจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ที่ราบเรียบดุจฝ่ามือ ตกแต่งด้วยรัตนะ 7 ประการไม่มีภูเขา เต็มไปด้วยกูฏาคาร(เรือนยอด) ที่สร้างด้วยรัตนะ 7 ประการ มีเทพวิมานสถิตอยู่บนอากาศ เทวดาและมนุษย์ ต่างก็มองเห็นซึ่งกันและกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นแล พุทธเกษตรนี้ ไม่มีสิ่งชั่วช้าและปราศจากสตรี สัตว์ทั้งปวงเป็นโอปปาติกะ (คือสิ่งที่ผุดขึ้น) เป็นพรหมจารี(ผู้ประพฤติพรหมจรรย์) มีร่างกายเป็นทิพย์ มีประทีปในตัวเอง มีฤทธิ์ เคลื่อนไหวไปมาในอากาศ มีความกล้า มีสติ มีปัญญา มีร่างกายเป็นสีทอง มีรูปที่เพียบพร้อมด้วยมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นแล สัตว์ทั้งหลาย ในพุทธเกษตรนั้นมีอาหาร 2 ชนิด อาหาร 3 ชนิดคืออะไรบ้าง อาหาร 2 ชนิด ได้แก่ ธรรมปรีตยาหาร(อาหารคือความเอิบอิ่มในพระธรรม) และธยานปรีตยาหาร(อาหารคือความเอิบอิ่มในสมาธิ) จะมีพระโพธิสัตว์หลายหมื่นแสนโกฏิ ประมาณไม่ได้ นับไม่ได้ ที่ได้อภิญญาและปฏิสัมภิทา เป็นผู้ฉลาดในการสอนสรรพสัตว์ พระพุทธเจ้าธรรมประภาสนั้น มีสาวกมากมายเหลือคณานับ ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก มีจิตมั่นคงอยู่ในวิโมกษ์ 8 พุทธเกษตรนั้น เพียบพร้อมไปด้วยคุณงามความดีเห็นปานนี้ และกัลป์ก็จะมีชื่อว่า "รัตนาวภาสกัลป์" ส่วนโลกธาตุนั้นมีชื่อว่า "สุวิศุทธะ" อายุของพระองค์(พระธรรมประภาสพุทธเจ้า) นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ว่ากี่กัลป์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าธรรมประภาสนั้น ปรินิพพานแล้วพระสัทธรรมของพระองค์ก็จักตั้งอยู่ อย่างมั่งคงยั่งยืน โลกธาตุนั้นจะดารดาษไปด้วยพระสถูป ที่สร้างขึ้นด้วนรัตนะทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพุทธเกษตรของพระผู้มีพระภาค (ธรรมประภาส) นั้น จะเพียบพร้อมไปด้วยคุณความดีที่เป็นอจินไตรยอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้ พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสดังนี้แล้วได้ตรัสให้ขึ้นไปอีกว่า
1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังข้อความนี้ของเรา ที่ว่าบุตรของเราได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างไร เขาได้ศึกษาอุบายโกศลดีแล้ว ได้ประพฤติปฏิบัติเพื่อพระโพธิญาณอย่างไร
2 พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นพระสาวก ทราบว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ประพฤติต่ำทราม และสับสนในยานอันวิเศษ แล้วจักแสดงปัจเจกโพธิญาณ
3 พระพุทธทั้งหลาย จักอบรมพระโพธิสัตว์จำนวนมาก ให้มีอุปนิสัยแก่กล้าด้วยกุศโลบายหลายร้อยอย่าง และประกาศอย่างนี้ว่า พวกเราเป็นสาวกพวกเรายังห่างไกลจากพระโพธิญาณที่ประเสริฐสูงสุดยิ่งนัก
4 สัตว์จำนวนหลายโกฏิ ทีมีความประพฤติต่ำทราม และมีความเกียจคร้านในกาลก่อน ได้ศึกษาข้อประพฤตินี้จากพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จนมีอุปนิสัยแก่กล้าพวกเข้าทั้งหมด จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ในกาลภายหลัง
5 สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ผู้ขาดความรู้ ประพฤติตนอย่างโง่เขลา ด้วยคิดว่าพวกเรา เป็นสาวก มีประโยชน์น้อย (มีกิจที่ควรทำเพียงเล็กน้อย) แต่ชำระสถานที่เกษตรของตนๆให้สะอาด.ในการจุติปละเกิดทุกครั้ง
6 พวกเขา ย่อมปรากฏว่า คนเองยังมีราคะ โทสะ และโมหะอยู่ เมื่อเห็นสัตว์ทั้งหลาย ที่ยึดมั่นอยู่ในทิฏฐิ จึงคล้อยตามทิฏฐิของสัตว์เหล่านั้นไปด้วย
7 สาวกจำนวนมากของเรา (ตถาคต) เมื่อประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ ช่วยให้สัตว์ทั้งหลายหลุดพ้น (จากกิเลส) ด้วยอุบาย ส่วนชนทั้งหลายที่โง่เขลาเบาปัญญาอาจจะเป็นบ้าได้ หากสอนให้เขารับรู้ข้อปฏิบัติทั้งหมด
8 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระปูรณ(ไมตรยาณีบุตร) สาวกของเรานี้ได้ประพฤติธรรมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าหลายพันโกฏิพระองค์ แสวงหาโพธิญาณนี้อยู่ ได้รับพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว
9 สาวกผู้ประเสริฐรูปนี้ (พระปูรณไตรยาณีบุตร)เป็นพหูสูต กล่าวกถาได้อย่างวิจิตร เป็นผู้กล้า ในที่ทั้งปวง ร่าเริง หมดกิเลส ได้ยึดมั่นในพุทธกิจ เป็นนิจ
10 เธอ (พระปูรณไมตรยาณีบุตร) ได้บรรลุอภิญญาอันยิ่งใหญ่ ได้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ทั้งรู้อารมณ์ในอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย จึงแสดงธรรมที่บริสุทธิ์ทุกเมื่อ
11 เธอ (พระปูรณไมตรยาณีบุตร) ได้ประกาศพระสัทธรรมอันประเสริฐสุด เป็นผู้อบรมสัตว์หลายพันโกฏิให้มีอุปนิสัยแก่กล้า ในยานอันประเสริฐสุดนี้ ทั้งได้ชำระเกษตรของตนให้สะอาดยิ่งนักอีกด้วย
12 ในอนาคตกาล เธอ (พระปูรณไมตรยาณีบุตร) จักบูชาสักการะพระพุทธเจ้าหลายพันโกฏิพระองค์เหมือนวันนี้ และจักได้รับพระสัทธรรมอันประเสริฐสุด พร้อมกับจักชำระเกษตรของตนให้สะอาดด้วย
13 เธอ (พระปูรณไมตรยาณีบุตร) เป็นผู้ฉลาดหลักแหลม แสดงธรรมด้วยอุบายที่ลาดหลายพันโกฏิวิธีเสมอๆ จักอบรมสัตว์ทั้งหลายจำนวนมากให้มีอุปนิสัยแก่กล้า ในสรรวัชญาชญาณที่ไม่มีอาสวะทั้งปวง
14 เธอ (พระปูรณไมตรยานีบุตร) นั้น หลังจากได้บูชาสักการะพระพุทธเจ้าทั้งหลายและทรงจำพระสัทธรรม อันประเสริฐ ไว้ได้ทุกเมื่อแล้ว จักเป็นพระสยัมภูพุทธเจ้าในโลก มีพระนามปรากฏในทุกทิศว่า "พระสัทธรรมประภาส"
15 ก็แล (พุทธ) เกษตรของ พระธรรมประภาส นั้น จักสะอาด หมดจด งดงาม ด้วยรัตนะ 8 ประการตลอดเวลา กัลป์ของพระองค์มีชื่อว่า "รัตนาวภาส" และโลกธาตุจะมีชื่อวา "สุวิศุทธะ"
16 โลกธาตุที่ชื่อว่า สุวิศุทธะ เพราะมีพระโพธิสัตว์จำนวนมากหลายพันโกฏิที่เป็นผู้แตกฉานในอภิญญา เป็นผู้บริสุทธิ์และมีฤทธิ์มาก
17 ครั้งนั้น พระผู้นำ (พระพุทธเจ้าธรรมประภาส) มีสาวกจำนวนมากหลายพันโกฏิ ซึ่งมีฤทธิ์มาก ได้วิโมกข์8 และได้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
18 สัตว์ทั้งปวงในพุทธเกษตรนั้น เป็นโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้นมาเอง) มีผิวกายสีทองสมบูรณ์ด้วยรูปลักษณะ 32 ประการ เป็นผู้บริสุทธิ์หมดจด และประพฤติพรหมจรรย์ทุกคน
19 ณ ที่นั้น (พุทธเกษตรนั้น) ไม่มีการเรียนรู้เรื่องอาหาร มีแต่ความยินดีในธรรม ความปีติในฌาน ไม่มีมาตุคาม ไม่มีภัยจากทุกข์คติในอบาย
20 (พุทธ)เกษตร ที่ประเสริฐเช่นนี้ ของปูรณไมตรยาณีบุตร (พระพุทธเจ้าธรรมประภาส ผู้มีพระคุณอันไพบูลย์ ย่อมดารดาษไปด้วยสัตว์ผู้เจริญ ดังได้กล่าวมาแล้ว
ครั้นนั้นแล พระอรหันต์ 1200 รูปเหล่านั้น ได้เกิดความคิดขึ้นว่า พวกเราอัศจรรย์และประหลาดใจว่า พระผู้มีพระภาคตถาคตของเรา จะแยกพยากรณ์พวกเรา เหมือนกับทรงพยากรณ์มหาสาวกทั้งหลายเหล่าอื่นหรือไม่หนอ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงทราบข้อปริวิตกแห่งจิตของมหาสาวกทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยพระทัยของพระองค์ จึงได้ตรัสกับท่านมหากาศยปะ ว่า ดูก่อนกาศยปะ เราจะพยากรณ์อรหันต์ 1200 รูปนี้ ซึ่งพร้อมหน้ากันนี้ ณ ที่นี้ ดูก่อนกาศยปะ หลังจากพระพุทธเจ้า 62 หมื่นแสนโกฏิล่วงไป ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหมดนั้น พระมหาสาวกภิกษุเกาณฑินยะ จักเป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก ทรงพระนามว่า "สมันตประภาส" พระองค์ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่หาผู้เปรียบมิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนกาศยปะ ในบรรดาพระตถาคตเหล่านั้น พระตถาคคต 500 รูป จักมีนามอย่างเดียวกัน หลังจากนั้น พระมหาสาวกทั้งหมด อีกจำนวน 500 รูป ก็จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณต่อไป พระตถาคตทั้งหมดจักมีพระนามว่า สมันตประภาส เหมือนกัน พระอรหันต์ 500 รูป ที่เป็นประมุขคือ พระคยากาศปะ พระนทีกศปะ พระอุรุวิลกาศยปะ พระกาละ พระกาโลทายี พระอนิรุทธะ พระเรวตะ พระกัปผิณะ พระพักกุละ พระจุนทะ และสวาคตะ
ก็ในเวลานั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
21 พระสาวกของเรา ซึ่งเป็นกาณฑินยโคตร จักเป็นพระตถาคต เป็นที่พึ่งของชาวโลก ในอนาคตกาล ยุคอนันตกัลป์ จักได้สั่งสอนสัตว์จำนวนหลายพันโกฏิ
22 ในอนาคตกาล ยุคอนันตกัลป์ หลังจากเขา (เกาณทินยะ) ได้เฝ้าพระพุทธเจ้าจำนวนมากแล้ว จำได้เป็นพระชินเจ้าทรงพระนามว่า "สมันประภาส" และพุทธเกษตรของพระองค์บริสุทธิ์ยิ่งนัก
23 พระองค์(สมันตประภาส) นั้นมีเดช ประกอบด้วยพลังแห่งพุทธะ มีพระสุรเสียงก้องกังวาน ไปทั่วทั้งสิบทิศ มีหมู่สัตว์หลายพันโกฏิแวดล้อมติดตาม จักแสดงพระโพธิญาณอันประเสริฐสูงสุด
24 ณ ที่นั้น จะมีพระโพธิสัตว์มากมาย ที่เป็นผู้ประเสริฐ มีศีลบริสุทธิ์ มีอาจาระอันดีงาม ขึ้นนั่งบนวิมานที่ประเสริฐ แล้วพิจารณาข้อธรรมอยู่
25 (พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย) เหล่านั้น ครั้นได้ฟังธรรมของพระตถาคตผู้ประเสริฐกว่า หมู่มนุษย์แล้ว จักไปสู่เกษตรอื่นอยู่เสมอ พระโพธิสัตว์เหล่านั้น เป็นผู้กราบไหว้ พระพุทธเจ้าจำนวนหลายพัน ได้ทำการบูชาอย่างกว้างขวางต่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
26 พระโพธิสัตว์เหล่านั้น จะกลับมายังพุทธเกษตรของพระตถาคตสมันตประภาส ซึ่งเป็นผู้นำนั้น เพียงชั่วขณะหนึ่ง อำนาจจริยาวัตรของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายจะปฏิบัติเช่นนั้น
27 พระสุคต (พระสมันตประภาส) พระองค์นั้น จำมีพระชนมายุหกหมื่นกัลป์บริบูรณ์ หลังจากปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมของพระองค์จะตั้งมั่นอยู่ในโลกนี้เป็นเวลาทวีคูณ
28 สัทธรรมปฏิรูปของพระองค์ จะดำรงอยู่ต่อไปอีกสมัยหนึ่ง เป็นเวลานานถึงสามเท่า หลังจากพระสัทธรรมของพระองค์ได้เสื่อมไปแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักเดือดร้อน
29 ต่อจากนั้น จะมีพระชินเจ้า ผู้นำที่สูงสุดในหมู่มนุษย์ อีก 500 องค์ มีพระนามอย่างเดียวกันคือ "สมันตประภาส" พระชินเจ้าเหล่านั้น จักมีต่อเนื่อง สืบต่อกันไป
30 กระบวนการเช่นนี้ จักเป็นพลังแห่งฤทธิ์ ของพระชินเจ้าทั้งหมด แม้พุทธเกษตรคณะ และพระสัทธรรมก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน เพราะพระสัทธรรมของทุกพระองค์จะทัดเทียมกัน
31 สิ่งของทั้งปวง ที่เป็นของพระสมันตประภาส ผู้สูงสุดแห่งมนุษย์นั้น จะมีชื่ออย่างเดียวกัน ทั้งในโลกนี้และเทวโลก ดังที่เราได้พรรณนาไว้แล้วในตอนต้น
32 พระชินเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูล จักพยากรณ์ซึ่งกันและสืบต่อกันไปว่า ผู้อยู่ใกล้ชิดเรา ในวันนี้ จะสั่งสอนชาวโลกทั้งปวงต่อไปเหมือนเรา
33 ดูก่อนกาศยปะ ณ ที่นี้ ในวันนี้ เธอจงจำไว้ว่า พระอรหันต์ 500 รูป นี้และสาวกอื่นๆ ของเราเป็นอย่างนี้ และเธอจงบอกเรื่องนี้แก่สาวกรูปอื่นๆด้วย
ครั้นได้ฟังคำพยากรณ์ (อนาคต) ของตน จากพระตถาคตแล้ว พระอรหันต์ทั้ง 500 องค์นั้น ก็มีความยินดี พอใจ เบิกบาน เกิดปรีดีใสมนัสสูงสุด พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้น้อมกายถวายอภิวาทพระบาทของพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์ ที่แสดงธรรมอย่างนี้ เพราะเข้าใจผิดว่า จิตที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ คือพระนิพพานของข้าพระองค์ พวกข้าพระองค์สิ้นทุกข์แล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค นี่คือสิ่งที่พวกข้าพระองค์ เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้ระเบียบวิธี เพราะเหตุอะไรเล่า ข้าแตะพระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์ เป็นผู้ยินดีด้วยความรู้ที่มีอย่างนี้ เป็นเหตุให้พวกข้าพระองค์ สละความรู้ของพระตถาคต ที่ทุกคนพึงรู้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษบางคน ที่เข้าไปสู่บ้านของมิตรแล้วเมาหรือหลับไป มิตรคนนั้น ได้ผูกรัตนมณีมีค่าไว้ที่ชายผ้าของเรา ด้วยคิดว่า มณีรัตนะนี้เป็นของเขา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคบุรุษนั้น ได้ลุกจากอาสนะแล้วเดินทางต่อไป เมื่อเขาเดินทางมาถึงชนบทและเมืองอื่นๆ เข้าต้องประสบกับความลำบายในเมืองนั้นๆ เขาต้องประสบกับความลำบาก เพราะต้องแสวงหาอาหารและเครื่องนุ่งห่ม เข้าได้รับอาหารเพียงเล็กน้อย โดยใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก ก็ใครเล่าจะยินดีปรีดาด้วยอาหารของตนเพียงเท่านั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น บุรุษผู้เป็นมิตรเก่าที่เคยผูกรัตนะอันมีค่าไว้ที่ชายผ้าของเขา ได้พบเขาอีกครั้งหนึ่ง จึงกล่าวว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญทำไมท่านต้องลำบาก เพราะเหตุแห่งการแสวงหาอาหารและเครื่องนุ่งห่มอีกเล่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ เราได้ผูกมณีรัตนะอันมีค่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ด้วยการอยู่อย่างมีความสุข จะบันดาลความปรารถนาทั้งปวงให้ได้ ไว้ที่ชายผ้าของท่าน ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ มณีรัตนะนี้ ข้าพเจ้าให้แก่ท่าน ดูก่อนบุรุษผู้เจริญท่านไม่เห็นหรือว่า เพราะเหตุไรและทำไม ข้าพเจ้าจึงผู้มณีรัตนะไว้ และอะไรเป็นปฐมเหตุให้ผูกมณีรัตนะนี้ไว้ ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านที่ยินดีแสวงหาอาหารและเครื่องนุ่งห่ม ด้วยความยากลำบากนั้น ควรจะเป็นผู้โง่เขลา ดูก่อนบุรุษผู้เจริญท่านจงไป จงถือเอามณีรัตนะนี้ ไปสู่มหานคร แล้วขายมัน ท่านจงใช้ทรัพย์นั้น ลงทุนกระทำกิจการทั้งปวง
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในกาลก่อน ครั้งเมื่อพระตถาคต ประพฤติวัตรปฏิบัติของพระโพธิสัตว์อยู่นั้น ได้ยังจิตที่หยั่งรู้ญาณทั้งปวงให้เกิดขึ้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แต่พวกข้าพระองค์ทั้งหลายไม่รู้ ไม่เข้าใจญาณเหล่านั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เหล่านั้น เข้าใจว่า พระอรหันต์คือความสุขสูงสุดในโลกนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลาย จึงอยู่ด้วยความลำบาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ย่อมถึงความยินดีด้วยญาณที่สละทิ้งไป แต่ประณิธานในพระโพธิญาณชั้นสูงสุดทั้งปวง ยังไม่หายไป ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้ที่พระตถาคต ทรงแนะนำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าคิดว่าพระนิพพานเป็นอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลมูลที่เราอบรมให้ในกาลก่อน ย่อมีอยู่ในอุปนิสัยของเธอทั้งหลาย ขณะนี้ ท่านทั้งหลาย ย่อมเข้าใจ กุศโลบายของเราว่า นี่เป็นพระนิพพาน ด้วยคำว่า ธรรมเทศนา ครั้นพระผู้มีพระภาคอบรมให้รู้แจ้งแล้ว จึงได้พยากรณ์พวกข้าพระองค์ในเรื่องอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พระสาวกจำนวน 500 รูปซึ่งมีพระอัชญาตเกาณฑินยะ เป็นประมุข ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า
34 พวกข้าพระองค์ปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้ทราบถึงความสำเร็จอันสูงสุดเช่นนี้ ที่พวกข้าพระองค์ได้กระทำ เพื่อพระโพธิญาณอันประเสริฐยิ่ง ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ ข้าแต่พระตถาคตผู้ประเสริฐ พระองค์เป็นผู้มีจักษุอันหาที่สุดมิได้(อย่างแท้จริง)
35 ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอแสดงความผิด ณ ที่ใกล้ชิดต่อพระองค์ เพราะพวกข้าพระองค์ยังโง่เขลา ไม่ฉลาด ยินดีกับความสุขทั่วไปในศาสนาของพระสุคต
36 เหมือนบุรุษบางคนในโลกนี้ ได้ไปสู่บ้านของมิตร ซึ่งมิตรของเขาเป็นผู้มีทรัพย์และมั่งคั่ง มิตรคนนั้นได้ให้ขาทนียะและโภชนียะจำนวนมากแก่เขา
37 ครั้นเลี้ยงดูด้วยโภชนะแล้ว มิตรคนนั้นรู้สึกยินดีเป็นอย่างมาก ได้มอบรัตนะอันมีค่ามาก โดยใช้ชายผ้าผู้เป็นปมห่อหุ้มไว้ให้แก่บุรุษนั้น
38 บุรุษนั้น เป็นคนโง่ ครั้นลุกขึ้นแล้วก็เที่ยวเดินทางไปสู่เมืองอื่น เขาประสบกับความทุกข์ยาก กลายเป็นคนตกต่ำ เที่ยวขออาหาร(ผู้อื่น)ด้วยความยากลกลำบากยิ่ง
39 เขาพอใจในอาหารที่ขอมาได้ โดยไม่ได้คิดถึงอาหารอื่นที่ดีกว่า แม้รัตนะ(ที่ได้รับ)เขาก็ลืมสนิท ไม่ได้ระลึกถึงรัตนะในห่อผ้านั้นเลย
40 ขณะนั้น เขาได้พบกับมิตรเก่าที่เคยให้รัตนะแก่เขา ที่บ้านของตน มิตรผู้ประเสริฐได้เตือนเขาพร้อมกับชี้ให้ดูรัตนะในห่อผ้านั้น
41 เมื่อเห็นดั้งนั้น เขาจึงมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง อานุภาพของรัตนะเป็นอย่างนี้เอง คือ เขาเป็นผู้มีทรัพย์มาก มีรัตนะและถึงพร้อมด้วยกามคุณทั้ง5
42 ข้าแต่พระผู้มีพระภาค อย่างนี้นั่นเอง พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่ทราบรูปอย่างนี้ ที่เป็นประณิธานในกาลก่อน ที่พระตถาคตประทานแก่พวกข้าพระองค์สิ้นราตรีนานในกาลก่อน
43 ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์เป็นผู้มีความรู้น้อย ในโลกนี้ ไม่ทราบหลักคำสอนของพระสุคต เพราะพวกข้าพระองค์ยินดีด้วยคำว่า พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่น่าปรารถนาและน่ายินดีสูงสุด
44 พวกข้าพระองค์ เป็นผู้ที่พระองค์ผู้เป็นภราดรของชาวโลก ได้อบรมแล้วว่าอย่างนี้ มิใช่ความสุขที่แท้จริง ความรู้อันประณีตของบุรุษผู้สูงสุดเท่านั้น ที่ควรเรียกว่า เป็นความรู้สูงสุด
45 เมื่อได้ฟังคำพยากรณ์ที่ดี มีความสมบูรณ์หลายอย่าง หาที่เปรียบมิได้เช่นนี้ พวกข้าพระองค์จึงเกิดปีติ ที่สมบูรณ์สูงสุด เพื่อพยากรณ์กันและกันสืบไป
บทที่ 8 ปัญจภิกษุศตวยากรณปริวรรต
ว่าด้วยการพยากรณ์ภิกษุ 500 รูป
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่9 พยากรณ์พระอานนท์
บทที่ 9
อานันทาทิวยากรณปริวรรต
ว่าด้วยการพยากรณ์พระอานนท์เป็นต้น
ได้ยินว่า ในขณะนั้น พระอานนท์ ผู้มีอายุ คิดว่า เราจะได้รับการพยากรณ์อย่างนี้ด้วยหรือไม่หนอ? ครั้นคิดรำพึง ปรารถนาอย่างนั้นแล้ว จึงลุกจากอาสนะไปถวายอภิวาทพระบาททั้งสอง ของพระผู้มีพระภาค เช่นเดียวกับพระราหุล ผู้มีอายุ ที่คิดรำพึงอย่างเดียวกัน แล้วถวายอภิวาทพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคขอให้พวกข้าพระองค์ จงมีโอกาสอย่างนั้นบ้าเถิด ข้าแต่พระสุคต ขอให้โอกาสอย่างนั้น จงมีแก่พวกข้าพระองค์บ้างเถิด เพราะว่า พระผู้มีพระภาค เป็นพระบิดา เป็นผู้บันดาลที่อาศัย และเครื่องป้องกันแก่พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะพวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้เปลี่ยนเป็นรูปต่างๆในโลก รวมทั้งเทวดา มนุษย์ และอสูร เช่น คนเหล่านี้ เป็นบุตร เป็นอุปัฏฐาก เป็นผู้รักษาคลังปริยัติ ของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ของพระผู้มีพระภาค พึงพยากรณ์ รูปเฉพาะชื่อนั้น ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แก่พวกข้าพระองค์โดยเร็วเถิด
พระภิกษุ ผู้เป็นสาวกอื่นๆ อีก 2000 รูป ทั้งที่เป็นพระเสขะและอเสขะ ได้ลุกจากอาสนะ ครองจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เพ่งมองพระผู้มีพระภาค คือถึงพุทธญาณด้วยความสงสัยว่า แม้เราทั้งหลาย จะได้รับการพยากรณ์ ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หรือไม่หนอ?
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับพระอานนท์ ผู้มีอายุว่า ดูก่อนอานนท์ ในอนาคตกาล เธอจักได้ตรัสรู้ เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระนามว่า สาครวรธรพุทธิวิกรีฑิตาภิชญะ ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ผู้เสด็จไปดีแล้ว ผู้รู้แจ้งโลก ผู้เป็นนายสารถีฝึกบุรุษ ที่ไม่มีใครเปรียบได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม เมื่อท่านได้ทำสักการะ เคารพ นับถือ และบูชา แก่พระพุทธเจ้า จำนวน 62 โกฏิ ได้จดจำพระสัทธรรมของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น และยึดมั่นในคำสอน ก็จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดุก่อนอานนท์ เมื่อเธอตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จะยังพระโพธิสัตว์จำนวน พันร้อยหมื่นโกฏิ เท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคาทั้ง 20 ให้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อนั้น พุทธเกษตรของเธอ จักสำเร็จเป็นแก้วมณีอันล้ำค่าโลกธาตุนั้น จักได้ชื่อว่า อนวนามิตไวชยันตี กัลป์จักได้ชื่อว่า มโนชญศัพทาภิครรชิตะ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สาครวรธรพุทธิวิกรีฑิตาภิชญะ พระองค์นั้นจักมีอายุนับจำนวนไม่ได้ ที่สุดของกัลป์ทั้งหลาย ไม่สามารถคำนวณได้โดยการนับ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค หลายพันร้อยหมื่นโกฏิแห่งกัลป์เหล่านั้น ที่ไม่สามารถจะนับได้ จักเป็นประมาณแห่งอายุของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ดูก่อนอานนท์ ประมาณแห่งอายุของพระผู้มีพระภาค ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สาครวรธรพุทธิวิกรีฑิตาภิชญะ พระองค์นั้นมีอยู่เพียงใด พระสัทธรรมของพระองค์ ผู้ปรินิพพานแล้ว จักดำรงอยู่เป็นทวีคูณตราบนั้น พระสัทธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จักตั้งอยู่ตราบใด พระสัทธรรมปฏิรูป จักดำรงอยู่เป็นทวีคูณตราบนั้น ดูก่อนอานนท์ ยิ่งกว่านั้น พระพุทธเจ้าจำนวนมาก พันร้อยหมื่นโกฏิพระองค์เท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา จะกล่าวถึงเกียรติยศของพระตถาคต สาครวรธรพุทธิวิกรีฑิตาภิชญะ ทั้ง 10 ทิศ
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
1 โอ เราจะบอกพระภิกษุสงฆ์ว่า อานันทภัทระ จะเป็นผู้รักษาธรรมของเราหลังจากได้บูชาพระตถาคตจำนวน 60 โกฏิแล้ว จักได้เป็นพระชินเจ้า ในอนาคตกาล
2 พระองค์จะปรากฏนามว่า สาครพุทธิธารีอภิชญปราปตะ ในดินแดนที่ สวยงามบริสุทธิ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นธงชัยอันประเสริฐ
3 พระองค์อบรมพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา หรือมากกว่านั้น ให้มีอุปนิสัยแก่กล้า พระองค์จักเป็นพระชินเจ้า ผู้มีฤทธิ์มากกิตติศัพท์ของพระองค์ จะกึกก้องไปทั่วโลกทั้ง 10 ทิศ
4 พระชนมายุของพระองค์ ผู้เกื้อกูลต่อชาวโลก จักดำรงอยู่จนไม่สามารถจะนับได้ และพระสัทธรรมของพระองค์ ผู้ปรินิพพานแล้ว จักดำรงอยู่นานเป็นทวีคูณ
5 สัทธรรมปฏิรูปนั้น ในศาสนาพระชินเจ้า จักตั้งมั่นเพื่อเป็นทวีคูณ สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีประมาณเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา จักเข้าใจเหตุผลในพุทธโพธิญาณ
ได้ยินว่า ในบริษัทนั้น พระโพธิสัตว์จำนวน 8000 รูป ผู้ตั้งอยู่ในยานใหม่ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า การพยากรณ์อันยิ่งใหญ่ ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เราไม่เคยได้ยินมาก่อน แม้วาทะเก่าๆของพระสาวก เราก็ไม่เคยได้ยิน อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น ด้วยจิตของพระองค์ จึงตรัสเรียกพระโพธิสัตว์เหล่านั้นว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เราทัดเทียมกัน คือพระตถาคตและพระอานนท์ยังจิตให้เกิดในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในขณะเดียวกัน ในครู่เดียวกัน ต่อพระพักตร์ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมโพธิญาณ ในขณะเดียวกัน ในครู่เดียวกัน ต่อพระพักตร์ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ธรรมคคนาภยุทคตราช ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ในขณะนั้น พระอานนท์เป็นผู้ประกอบความเพียร เพื่อเป็นพหูสูต ส่วนเรา เป็นผู้ประกอบความเพียร ฉะนั้น เราจึงได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณก่อน ส่วนอานันทภัทระ ได้เป็นผู้ทรงจำคลังพระสัทธรรมของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ประณิธานนี้ของพระอานนท์ เป็นข้อปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
ขณะนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุได้ฟังคำพยากรณ์ของตนเองในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณฟังกระบวนคุณในพุทธเกษตร และการตั้งประณิธานในกาลก่อนของตน ก็เกิดความยินดี ร่าเริงเบิกบาน ปราโมทย์ ปรีติโสมนัส ขณะนั้น พระอานนท์ระลึกถึงพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จำนวนพันร้อยหมื่นโกฏิ และประณิธานในอดีตของตนอยู่
ได้ยินว่า พระอานนท์ ผู้มีอายุ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า
6 พระชินเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้น่าอัศจรรย์และไม่ต้องพิสูจน์ ยังเราให้ระลึกถึงการแสดงธรรม (ในอดีต) ข้าพเจ้าระลึกถึง (พระสัทธรรม) ของพระชินพุทธเจ้าอยู่เสมอ แม้(พระองค์) ปรินิพพานไปแล้ว)ราวกับเหตุการณ์ในวันนี้และพรุ่งนี้
7 ข้าพเจ้าพ้นจากความสงสัย ได้ดำรงอยู่เพื่อพระโพธิญาณ กุศโลบายของข้าพเจ้าเป็นอย่างนี้ ข้าพเจ้าเป็นบริวารของพระตถาคต เพราะพระโพธิญาณเป็นเหตุ ข้าพเจ้าจะดำรงไว้ซึ่งพระสัทธรรม
ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระราหุลภัทระ ผู้มีอายุว่า ดูก่อนราหุล ในอนาคตเธอจักเป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระนามว่า สัปตรัตนปัทมวิกรานตคามี ที่ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสายสารถีฝึกบุรุษที่หาผู้เปรียบมิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม เมื่อได้สักการะ เคารพ นบนอบ นับถือ บูชา พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ซึ่งประมาณเท่ากับอะตอมของปรมาณูในโลกธาตุทั้งสิบ เธอจักเป็นบุตรคนโตของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น ท่านเดียวกับที่เป็นบุตรของเรา ณ บัดนี้ ดูก่อนราหุลภัทระ พระชนมายุของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สัปตรัตนปัทมวิกรานตคามี และคุณสมบัติแห่งกรรมทั้งปวง จักเป็นเช่นเดียวกับกระบวนการเพิ่มขึ้นของพุทธเกษตร ที่ได้เพิ่มกรรมทั้งปวง ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สาครวรธรพุทธิวิกรีฑิตาภิชญะ พระองค์นั้น ดูก่อนราหุล เธอจักเป็นบุตรคนโตของ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สาครวรธรพุทธิวิกรีฑิตาภิชญะ พระองค์นั้น หลังจากนั้น เธอจักตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ได้ยินว่า ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
8 ดูก่อนราหุล บุตรคนโตของเรานั้น คือพระโอรสในสมัยที่ (เรา) เป็นพระราชกุมารบุตรผู้นี้ เมื่อบรรลุพระโพธิญาณแล้ว จักเป็นนักบวชที่ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมทายาท(ของเรา)
9 ในอนาคต เธอจักได้พบพระพุทธเจ้า จำนวนหลายโกฏิพระองค์ ไม่นานนักบุคคลเหล่านี้ทั้งหมด เมื่อแสวงหาพระโพธิญาณ จักได้เป็นโอรสของบพระชินเจ้าเหล่านั้น
10 นี้คือการปฏิบัติที่ราหุลไม่ทราบ แต่เราทราบประณิธานของเธอ เธอตั้งความหวังในโลกธาตุทั้งปวงว่า "ของเราจงได้เป็นบุตรของพระตถาคต"
11 ไม่นานนัก ที่จะพิสูจน์คุณสมบัติหลายหมื่นโกฏิ เพราะพระโพธิญาณเป็นเหตุ ความปรารถนานี้เองของราหุล ผู้เป็นโอรสของเรา จึงยังดำรงอยู่
พระผู้มีพระภาค ได้ทอดพระเนตรพระสาวกจำนวน 2000 รูปเหล่านั้น ทั้งผู้ที่เป็นพระเสขะและอเสขะ ที่มองดูพระผู้มีพระภาค อยู่เฉพาะพระพักตร์ ด้วยจิตเลื่อมใส อ่อนโยนและสงบ พระผู้มีพระภาค จึงตรัสกับพระอานนท์ ผู้มีอายุว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงดูพระสาวกทั้งที่เป้นพระเสขะและอเสขะ จำนวน 2000 รูปเหล่านี้ พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ย่อมเห็น ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ ย่อมเห็นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ พระภิกษุ 2000 รูปทั้งหมดเหล่านี้ ยังคิดถึงวัตรปฏิบัติของพระโพธิสัตว์อยู่เสมอ พระภิกษุเหล่านั้น เมื่อสักการะ เคารพ นับถือ ยกย่อง บูชา สรรเสริญ พระพุทธเจ้าที่มีประมาณเท่ากับปรมาณูใน 50 โลกธาตุ และทรงจำพระสัทธรรมของพระผู้มีพระภาคไว้ชาติสุดท้าย จักบรรลุ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในเวลาเดียวกัน ครู่เดียวกัน ขณะเดียวกันในพุทธเกษตร โลกธาตุอื่นๆทั้งสิบทิศ ภิกษุเหล่านั้น จักได้เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า รัตนเกตุราช หนึ่งกัลป์จักเป็นประมาณอายะบริบูรณ์ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น กระบวนคุณสมบัติของพระพุทธเกษตรเหล่านั้น ก็ทัดเทียมกัน คณะของพระสาวกกับคณะของพระโพธิสัตว์ มีจำนวนเท่ากัน พระสาวกและพระโพธิสัตว์เหล่านั้น จะนิพพานพร้อมกัน พระสัทธรรมของพระสาวกและพระโพธิสัตว์ จะดำรงอยู่ได้นานเท่ากัน
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
12 ดูก่อนอานนท์ พระสาวกทั้ง 2000 รูปเหล่านี้ กำลังยืนอยู่เบื้องหน้าของเรา ณ บัดนี้ เราจะพยากรณ์สาวก ผู้เป็นบัณฑิตเหล่านั้นว่า จักเป็นพระตถาคตในอนาคต
13 หลังจากทำการบูชาต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว เมื่อถือกำเนิดในชาติสุดท้าย พระสาวกเหล่านั้นจะสำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของเราด้วยการแสดงอุปมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
14 ทั้งสิบทิศ พระสาวกเหล่านั้น จะมีพระนามเดียวกัน เมื่อนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ประเสริฐ (พระศรีมหาโพธิ์) ก็จะได้บรรลุญาณเป็นพระพุทธเจ้า ในขณะและเวลาเดียวกัน
15 พระสาวกเหล่านั้นมีพระนามอย่างเดียวกันคือ รัตนเกตุ ซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไปในโลก พุทธเกษตรของพระสาวกเหล่านั้น มีความเป็นเลิศเสมอกันคณะพระสาวกและพระโพธิสัตว์ก็มีจำนวนเท่ากัน
16 พระสาวกและพระโพธิสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้มีฤทธิ์ ได้แสดงธรรมพร้อมกันในโลกทั้ง 10 ทิศ เมื่อนิพพานแล้วพระสัทธรรมของพระสาวกและพระโพธิสัตว์เหล่านั้นจักดำรงอยู่นานเท่ากัน
ได้ยินว่า พระสาวกทั้งหลาย ทั้งที่เป็นพระเสขะและพระอเสขะ ได้ฟังคำพยากรณ์เรื่องของตนๆ ต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ต่างยินดีปรีดา ปราโมทย์ ปีติโสมนัสอย่างสุดซึ้ง จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
17 ข้าแต่พระผู้เป็นแสงสว่างของชาวโลก เมื่อได้ฟังคำพยากรณ์นี้ ข้าพระองค์รู้สึกยินดียิ่งแล้ว ข้าแต่พระตถาคต ข้าพระองค์มีความสุขราวกับถูกรดด้วนน้ำอมฤต
18 ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่มีความสงสัย ไม่มีความกังวลต่อความเห็นต่างกันที่ว่า พวกข้าพระองค์จักได้เป็นผู้ประเสริฐกว่างชนทั้งหลาย วันนี้ พวกข้าพระองค์มีความสุขที่สุด เมื่อได้ฟังคำพยากรณ์นี้
บทที่ 9 การพยากรณ์พระอานนท์และพระราหุล รวมทั้งภิกษุอื่นอีก 2000 รูป
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่10 ผู้สอนธรรม
บทที่ 10
ธรรมภาณกปริวรรต
ว่าด้วยผู้สอนธรรม
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับพระโพธิสัตว์ 8 หมื่นองค์ โดยปรารภพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไภษัชยราชว่า "ดูก่อนไภษัชยราช ในบริษัทนี้ ท่านจงมองดู เทพ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร มโหรคะ มนุษย์ อมนุษย์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นสาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตวยาน จำนวนมาก ใครเล่า ได้ฟังคำบรรยายนี้ ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระตถาคต (พระไภษัชยราชโพธิสัตว์) กราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ย่อมเห็น ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ย่อมเห็น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนไภษัชยราช ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งปวง ที่อยู่ในบริษัทนี้ มีใครบ้าง ที่เคยสดับแม้คาถาหนึ่ง บทหนึ่ง หรือแม้ผู้ที่เคยอยู่มาก่อน ใครบ้างที่ได้สดับพระสูตรนี้แล้วยังจิตดวงหนึ่ง ให้เกิดขึ้นด้วยความยินดี ดูก่อนไภษัชยราย เราจักกระทำบริษัท 4 เหล่านี้ทั้งหมด ไว้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดูก่อนไภษัชยราช เขาทั้งหลายบางพวก จักได้สดับการบรรยายธรรมเช่นนี้ ของบพระตถาคต ผู้เสด็จปรินิพพานไปแล้ว แม้ได้ฟังเพียงคาถาเดียวแล้วยินดี ด้วยจิตที่เกิดขึ้นแม้เพียงครั้งเดียว ดูก่อนไภษัชยราช เราจักกระทำชนเหล่านั้น ผู้เป็นกุลบุตร กุลธิดาไว้ในสัมมาสัมโพธิญาณ ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดาเหล่านั้น จักได้เป็นผู้บูชาพระพุทธเจ้า จำนวนพันร้อยหมื่นโกฏิอย่างสมบูรณ์ ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดาทั้งหลายเหล่านั้น จักตั้งประณิธานต่อพระพุทธเจ้าจำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิ เพราะความอนุเคราะห์ต่อสัตว์ทั้งหลายพึงทราบเถอะว่า เข้าเหล่านั้นจะเกิดเป็นมนุษย์ในชมพูทวีปอีก ถ้าเขาได้ทรงจำ ท่อง เผยแพร่รวบรวม และจารึกไว้แม้เพียงคาถาเดียว จากธรรมบรรยายนี้ ครั้นจารึกแล้วจะระลึกถึงและพิจารณาตามกาลเวลา เขาทั้งหลาย จักยังความเคารพในพระตถาคตให้เกิดขึ้น จักสักการะด้วยความเคารพในพระศาสดา และจักทำความเคารพนับถือบูชาในคัมภีร์เล่มนี้ เขาเหล่านั้นจักบูชาคัมภีร์นั้นด้วยดอกไม้ ธูป พวงมาลัย ผงลูบไล้ จีวร ฉัตร และธงปฏาก เป็นต้น และด้วยกรรมคือการกราบไหว้ ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดาเหล่าใด จักทรงจำหรือยินดีแม้เพียงคาถาเดียว จากธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนไภษัชยราช เราจักกระทำซึ่งกุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ให้ดำรงอยู่ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ดูก่อนไภษัชยราช หากบุรุษหรือสตรีคนใดก็ตามพึงกล่าวว่า "สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นเช่นไร จักเป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดา ที่บุรุษหรือสตรีนั้น พึงดูเป็นตัวอย่างคือ บุคคลใดทรงจำ สวด สอนซึ่งคาถาที่มีเพียง 4 บาท จากธรรมบรรยายนี้ ผู้นั้นเป็นผู้เคารพในคำบรรยายนี้ กุลบุตรหรือกุลธิดานี้นั้นจักได้เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ท่านจงดูเถิด ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูก่อน ไภษัชยราช เพราะกุลบุตรหรือกุลธิดานั้น อันชาวโลกรวมทั้งเทวโลกพึงทราบว่า คือพระตถาคต บุคคลพึงสักการะต่อพระตถาคตด้วยประการฉะนี้ สาวกใดพึงจดจำ แม้เพียงคาถาเดียวจากธรรมบรรยายนี้ ยิ่งกว่านั้น พระสาวกพึงรวบรวม จดจำ ท่อง เผยแพร่ ประกาศ จารึก ให้จารึกซึ่งธรรมบรรยายนี้ ที่เข้าใจแล้วทั้งหมด(ที่บรรลุแล้วทั้งหมด) ครั้นจารึกแล้วพึงพิจารณาอยู่เสมอ เขาพึงทำความเคารพ สักการะ นับถือ บูชา นอบน้อมในพระสูตรนั้น ด้วยการสักการะ ด้วยดอกไม้ ธูป คันธมาลา ผงเครื่องลูบไล้ จีวร ฉัตร ธงปฏาก เครื่องดนตรี และนอบน้อมด้วยการอัญชลี ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดาเช่นนี้พึงทราบว่า เป็นผู้สมบูรณ์(ถึงพร้อม) ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และถึงทราบว่า เป็นผู้พบเห็นพระตถาคคต เขาเป็นผู้อนุเคราะห์ประโยชน์แก่ชาวโลก จึงเกิดในชมพูทวีปนี้ ด้วยอำนาจของประณิธานนั้น เพื่อประกาศธรรมบรรยายนี้ แก่มนุษย์ทั้งหลาย บุคคลใด ยังมีความเอื้อเฟื้อของตน ความเอื้อเฟื้อในการสักการะ ต่อพระธรรมและการเข้าถึงพุทธเกษตรให้เกิดขึ้น ครั้นเมื่อ เราปรินิพพานแล้วพึงทราบว่า เขาเป็นผู้เข้าถึงประโยชน์เกื้อกูลของสัตว์ทั้งหลาย และอนุเคราะห์ประโยชน์แก่มนุษย์โลกนี้ ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรและกุลธิดาเช่นนี้ ที่ควรทราบว่า คือ ตัวแทนของพระตถาคต ดูก่อนไภษัชยราช พึงทราบว่ากุลบุตรและกุลธิดาผู้นั้น เป็นผู้ได้พบพระตถาคต และได้ทำความเคารพพระตถาคตแล้ว ผู้ใดประกาศธรรมบรรยายนี้ ของพระตถาคตผู้ปรินิพพานแล้ว แม้กระทั่ง พึงประกาศหรือกล่าวแก่สัตว์เพียงบางคน ด้วยอาการหลบซ่อนในที่ลับ(ไม่เปิดเผย)
ดูก่อนไภษัชยราช ได้ยินว่า สัตว์บางคนมีจิตทราม ชั่ว และน่ากลัว กล่าวคำคล้ายกับ ดูหมิ่น ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระตถาคต ผู้ใดพึงได้ฟังคำหยาบ (วาจํ+อปริยำ) จะเป็นจริงหรือไม่จริงก็ตาม ของผู้สอนธรรม หรือผู้ทรงจำพระสูตรเหล่านั้น จะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม เรากล่าวว่า "การกระทำอย่างนี้ เป็นบาปอย่างมหันต์ ดูก่อนไภษัชยราช เพราะเหตุไรเล่า เพราะพึงทราบว่า กุลบุตรหรือกุลธิดานั้น เป็นผู้ประดับด้วยเครื่องประดับของพระตถาคต ดูก่อนไภษัชยราช เมื่อเขานำพระตถาคตไปด้วยบ่า เขาได้คัดลอกธรรมบรรยายนี้ ทำให้เป็นหนังสือนำไปด้วยบ่า เขาก้าวไปทางใด สัตว์ทั้งหลายรวมทั้งเทวดาและมนุษย์ควรกราบไหว้เคารพ สักการะ นับถือ ยกย่อง บุชา เทิดทูนเขา ด้วยดอกไม้ ธูป คันธมาลา ผลลูบไล้ จีวร ฉัตร ธงปฏาก ดนตรี ขาทนียะ โภชนียะ ข้า น้ำ ยาน อันเลิศ และรัตนะ อันเป็นทิพย์ เขาซึ่งเป็นผู้บรรยายธรรมที่ทุกคนควรสักการะเคารพนับถือบูชา กองรัตนะอันเป็นทิพย์บุคคลพึงน้อมถวายแก่ผู้กล่าวธรรมนั้น เพราะเหตุไร เพราะผู้ใด ยังสัตว์ทั้งหลายให้ฟังธรรมบรรยายนี้ แม้เพียงครั้งเดียว สัตว์ทั้งหลาย ที่ประมาณไม่ได้ นับไม่ได้ จะตั้งอยู่ในพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างรวดเร็ว
ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
1 สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนา พระสวยัมภูญาณ ด้วยความปรารถนา ที่จะดำรงอยู่ในพุทธภาวะ พึงทำความเคารพ ผู้ทรงจำพระสูตรนี้ด้วย
2 ผู้ใด ปรารถนาพระโพธิญาณ แล้วคิดว่าทำอย่างไรหนอ พวกเราจะบรรลุพระโพธิญาณได้อย่างรวดเร็ว เขาควรท่องจำพระสูตรนี้ และควรเคารพบูชาผู้ทรงจำพระสูตรนี้
3 บุคคลที่พระโลกนาถส่งไป เพราะเหตุแห่งการสอน สรรพสัตว์ พึงท่องจำพระสูตรนี้ ที่มีประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย
4 บุคคลใน พึงทรงจำซึ่งพระสูตรนี้ ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย บุคคลนั้นผู้เป็นปราชญ์ ได้สละการอุบัติที่ดีเสีย แล้วมาสู่โลกนี้
5 บุคคลผู้สอน (กล่าว) พระสูตรอันประเสริฐนี้ ในภายหลังตามความปรารถนาที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นที่ปรากฏในโลกนี้
6 บุคคลพึงสักการะ เคารพ ผู้กล่าวธรรม ด้วยดอกไม้ทิพย์และของหอมทั้งปวงอันเป็นของมนุษย์ พึงประดับด้วยเสื้อผ้าอันเป็นทิพย์และรัตนะทั้งหลาย
7 บุคคล พึงประคองอัญชลีเป็นนิตย์ ต่อผู้ทรงจำพระสูตรนี้ของพระตถาคต ผู้ปรินิพพานแล้ว ในกาลสุดท้ายอันน่ากลัวนี้ ราวกับว่าเขาคือพระชินเจ้าและพระสวยัมภู
8 บุคคลพึงถวายวัตถุเครื่องบูชา คือขาทนียะ โภชนียะ ข้าว น้ำ วิหาร ที่นอน ที่นั่งและผ้า(จีวร) จำนวนโกฏิ แก่พระชินบุตร ผู้กล่าวพระสูตรนี้ แม้เพียงครั้งเดียว
9 ผู้ใดพึงเขียน ท่อง และฟังพระสูตรนี้ในกาลสุดท้าย ผู้นั้น เราได้ส่งมาสู่โลกมนุษย์เพื่อทำงานให้แก่พระตถาคต
10 บุคคล ผู้มีจิตวิปริต ทำหน้านิ่วคิ้วหมวด ยืนอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระชินเจ้า พึงกล่าวคำตำหนิ จะเป็นผู้เสวยบาปกรรมอย่างหนัก ตลอดหนึ่งกัลป์เต็ม
11 บุคคลใดโกรธ พึงกล่าวคำตำหนิ ผู้ทรงจำพระสูตรที่กำลังแสดงพระสูตรนี้อยู่ เรากล่าวว่า บาปกรรมของบุคคลนั้นหนักยิ่งกว่า
12 บุคคล ผู้แสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันประเสริฐนี้ พึงประคองอัญชลีกล่าวสดุดีเราต่อหน้า สิ้นหนึ่งกัลป์บริบูรณ์ ด้วยคาถาจำนวนหมื่นโกฏิมิใช่น้อย
13 บุคคลผู้มีจิตยินดี สรรเสริญเรา พึงได้บุญเป็นอย่างมาก แต่บุคคล (มนุษย์) ผู้กล่าวคำสรรเสริญผู้บรรยายธรรม ย่อมได้บุญมากกว่า
14 บุคคลที่ทำการบูชา ณ ปูชนียวัตถุ ด้วยศัพท์(เสียง) รูป(กาย) รส(ของถวาย)ของหอมอันเป็นทิพย์และสัมผัสอันเป็นทิพย์ตลอด 28000โกฏิกัลป์นั้น
15 แต่ผู้ที่ได้ฟังพระสูตรนี้ แม้เพียงครั้งเดียว จะมีลาภอันประเสริฐ และยิ่งใหญ่กว่า ผู้ทำการบูชา ที่ปุชนียวัตถุสิ้น 18,000โกฏิกัลป์นั้น
ดูก่อนไภษัชยราช เราจะบอกแก่ท่าน เราจะบอกเฉพาะท่านเท่านั้น ดูก่อนไภษัชยราชเพราะว่า เราได้แสดงธรรมบรรยายมาแล้วจำนวนมาก ทั้งที่กำลังแสดงอยู่ และจักแสดงต่อไป ดูก่อนไภษัชยราช ธรรมบรรยายของเราทั้งปวงนั้น ธรรมบรรยายนี้ ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งการคัดค้านของชาวโลกทั้งปวง ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งการไม่ศรัทธาของชาวโลกทั้งปวง ดูก่อนไภษัชยราช นี้คือธรรมอันลึกซึ้งทางจิตของพระตถาคต ต้องรักษาด้วยกำลังของพระตถาคต ซึ่งเป็นสถานะที่ไม่เคยเปิดเผย ไม่เคยของกล่าวมาก่อน ดูก่อนไภษัชยราช ธรรมบรรยายนี้ของพระตถาคต ผู้ดำรงอยู่ประชาชนจำนวนมาก ยังบอกปัด จะป่วยกล่าวไปใยหลังพระตถาคตนิพพานแล้วเล่า ดูก่อนไภษัชยราช ได้ยินว่าพึงทราบว่า กุลบุตรกุลธิดาเหล่านั้น ได้เป็นผู้ครองจีวรของพระตถาคต พลังแห่งกุศลมูล และพลังแห่งประณิธาน ซึ่งเป็นของเฉพาะตนจักมีแก่กุลบุตรกุลธิดาเหล่านั้น ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรกุลธิดาเหล่านั้น จักเป็นผู้อาศัยอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน คือ วิหารของพระตถาคต เขาเหล่านั้นจักเป็นผู้มีศีรษะ อันฝ่าพระหัตถ์ของพระตถาคตลูบแล้ว เขาเหล่านั้น จักเชื่อ อ่าน เขียน สักการะ บูชา และยังชนกลุ่มอื่น ให้ฟังธรรมบรรยายนี้ ของพระตถาคตผู้ปรินิพพานไปแล้ว
ดูก่อนไภษัชยราช ในแผ่นดินและประเทศใดก็ตาม ที่มีการบรรยาย เทศนา คัดลอก เรียน ท่องบ่นธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนไภษัชยราช ในแผ่นดินและประเทศนั้น ควรก่อสร้างเจดีย์ของพระตถาคต ให้สูงใหญ่และประดับด้วยรัตนะอย่างเรียบง่าย ไม่จำเป็นต้องบรรจุพระสรีรธาตุของพระตถาคตไว้ในเจดีย์นั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าในแผ่นดินและประเทศใดก็ตาม ที่มีการบรรยาย เทศนา อ่าน ท่องจำ คัดลอก เขียน และทำเป็นคัมภีร์ ซึ่งธรรมบรรยายนี้ พระสรีรธาตุของพระตถาคต ได้รวมเป็นหนึ่งเดียวอยู่ในแผ่นดินและประเทศนั้น บุคคลควรทำการสักการะเคารพ นับถือ บูชานอบน้อม ที่สถูปนั้น ด้วยดอกไม้ ธูป คันธมาลา ผงลูบไล้ จีวร ฉัตร ธงปฏาก และธงมาลา(ไวชยันตี) ทั้งปวง พึงทำการบูชาด้วยเพลงขับดนตรี การฟ้อน เครื่องดนตรี นักฟ้อน(ตาลาวจซ) การขับลำนำ และการโห่ร้องทั้งปวง ดูก่อนไภษัชยราช สัตว์เหล่าใด ได้สร้างเจดีย์ของพระตถาคตไว้ เพื่อไหว้บูชาหรือชื่นชม ดูก่อนไภษัชยราช สัตว์เหล่านั้นทั้งปวง พึงทราบว่าเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดอย่างยิ่ง ต่ออนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนไภษัชยราช เพราะคฤหัสถ์และบรรพชิตจำนวนมาก ประพฤติวัตรของพระโพธิสัตว์ แต่ไม่ได้เห็น ฟัง เขียน หรือบูชา ธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนไภษัชยราชตราบใด ที่พวกเขาไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ พวกเขาจะไม่ฉลาดในโพธิสัตว์วัตร ตราบนั้น ส่วนชนเหล่าใด ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ครั้งฟังแล้ว ย่อมหลุดพ้น ข้าพ้น รู้แจ้ง น้อมรับไว้ ในสมัยนั้น เขาจักยืนอยู่ใกล้ชิดอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ดูก่อนไภษัชยราช เหมือนบุรุษบางคน เป็นผู้ที่ต้องการน้ำ จึงแสวงหาน้ำ เขาพึงขุดบ่อเพื่อน้ำในที่ดินแห้งแล้ง เขาเห็นทรายที่ขุดออกมานั้น แห้งและเป็นสีแดงเพียงใด เข้าพึงรู้ว่าน้ำยังลึกอยู่ กาลต่อมา เขาเห็นทรายที่ขุดออกมานั้น ผสมน้ำ มีโคลนตม มีหยดน้ำซึมออกอยู่และพึงเห็นบุรุษทั้งหลายผู้ขุดบ่อ มีกายเปื้อนด้วยโคลนตม ดูก่อนไภษัชยราช เมื่อเห็นนิมิตที่เกิดต่อหน้าอย่างนั้น เขาจึงหมดความสงสัยและมั่นใจว่า ใกล้จะถึงน้ำแล้ว ดูก่อนไภษัชยราช พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมห่างไกลอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตราบเท่าที่พวกเขาไม่ได้ฟัง ไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้ยึดถือ ไม่เข้าใจและไม่พิจารณาธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนไภษัชยราช เมื่อใดพระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านี้ ได้ฟัง ปฏิบัติ ท่อง จำ เข้าใจ เรียน พิจารณา เจริญภาวนา เมื่อนั้น พวกเขาชื่อว่าอยู่ใกล้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดูก่อนไภษัชยราชอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ย่อมเกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย จากธรรมบรรยายนี้ เพราะเหตุไร เพราะธรรมบรรยายนี้ ได้อธิบายพระดำรัสที่ตรัสรวมอย่างลึกยิ่ง โดยพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สถานะอันลึกล้ำของพระธรรม พระตถาคตได้ตรัสไว้แล้ว เพื่อให้เป็นเหตุแห่งการบรรลุของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนไภษัชยราช พระโพธิสัตว์ผู้ใด ฟังตระหนกขยาด ถึงความกลัวต่อธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนไภษัชยราช พึงทราบว่า พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้นั้น เพิ่งเข้ามาสู่ยานนี้ ถ้าบุคคลใด ผู้นับถือสาวกยานพึงตระหนก ขยาด และถึงความกลัวต่อธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนไภษัชยราช พึงทราบว่า เข้าผู้นั้น ซึ่งมีความนับถือมาก ยังเป็นบุคคลสาวกยานอยู่
ดูก่อนไภษัชยราช พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้ใด พึงประกาศธรรมบรรยายนี้ แก่บริษัท 4 ในกาลสมัยสุดท้าย ดูก่อนไภษัชยราช พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น พึงเข้าไปสู่ที่ประทับของพระตถาคต พึงครองจีวรของพระตถาคต พึงนั่งบนอาสนะของพระตถาคต แล้งพึงประกาศธรรมบรรยายนี้แก่บริษัท 4 ดูก่อนไภษัชยราช ที่ประทับของพระตถาคตเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนไภษัชยราช วิหารคือความเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง คือที่ประทับของพระตถาคต ในที่นั่นเองที่กุลบุตรพึงเข้าไป ดูก่อนไภษัชยราช จีวรของพระตถาคตเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนไภษัชยราชความพอใจในความอดทนที่ใหญ่หลวง คือจีวรของพระตถาคต สิ่งนั่นเอง ที่กุลบุตรกุลธิดาพึงได้ครอง ดูก่อนไภษัชยราช ธรรมาสน์ของพระตถาคตเป็นอย่างไรเล่า? การเข้าถึงศูนยตาแห่งธรรมทั้งปวงคือธรรมาสน์ของพระตถาคต ซึ่งกุลบุตรพึงนั่งบนธรรมาสน์นั้น ครั้งได้ฟังแล้วกุลบุตรพึงประกาศธรรมบรรยายนี้แก่บริษัท 4 พระโพธิสัตว์ ผู้มีจิตไม่หวั่นไหว พึงประกาศธรรมบรรยายนี้แก่บริษัท 4 ที่ดำรงอยู่ในโพธิสัตวยาน ต่อหน้าคณะของพระโพธิสัตว์ ดูก่อนไภษัชยราช เราผู้ดำรงอยู่ในโลกธาตุอื่น จักยังบริษัททั้งหลาย ให้คล้อยตามด้วยการนิรมิตแก่กุลบุตรนั้น และเราจักส่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่เรานิรมิตแล้วมาเพื่อฟังธรรมชนเหล่านั้น จักไม่เบียดเบียน ไม่ปฏิเสธ คำสอนของผู้บรรยายธรรมนั้น ถ้าหากว่า กาลต่อมาเข้าไปสู่ป่า เราก็จักส่งเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนรและมโหรคะ จำนวนมากไปเพื่อฟังธรรม ดูก่อนไภษัชยราช เราผู้อยู่ในโลกธาตุอื่น จักปรากโอมหน้าต่อกุลบุตรนั้นบทและพยัญชนะเหล่าใดจากธรรมบรรยายนี้ พึงตกหล่นไป เราจะแนะน้ำบทพยัญชนะเหล่านั้นแก่ผู้บรรยายธรรมนั้น ผู้ทบทวนอยู่
ได้ยินว่า ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
16 บุคคลพึงสละความกังวลทั้งปวง แล้วพึงฟังพระสูตรเช่นนี้ เพราะว่า การฟังเป็นสิ่งที่หาได้โดยยาก แต่การหลุดพ้นของเขา เป็นสิ่งที่หาได้โดยยากเช่นกัน
17 เหมือนบุรุษบางคน ผู้ต้องการน้ำ พึงขุดบ่อในที่แห้งแล้ง ในขณะที่ขุดนั้น เข้าได้เห็นทรายแห้งครั้งแล้วครั้งเล่า
18 ครั้นเห็นแล้ว เขาคิดว่า ในที่นี้น้ำยังอยู่ลึกมาก เพราะทรายแห้งที่ขุดออกมานั้น เป็นเครื่องหมายว่าน้ำยังอยู่ลึก
19 ต่อมา เขาได้เห็นทรายเปียกและชุ่ม เขาจึงมีความหวังว่า ในที่นี้น้ำคงอยู่ไม่ลึกนัก
20 บุคคลทั้งหลาย ผู้เช่นนั้นย่อมอยู่ ในที่ห่างไกลจากพระโพธิญาณ เพราะเขายังไม่ได้รับการอบรม ยังไม่ได้ฟังพระสูตรนี้
21 ส่วนชนทั้งหลายได้ฟัง ได้พิจารณาพระสูตรใหญ่นี้เป็นนิตย์ ซึ่งเป็นสูตรที่ลึกซึ้งและสิ้นความสงสัยของพระสาวกทั้งหลาย
22 เข้าเหล่านั้น เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้อยู่ใกล้พระโพธิญาณ เหมือนทรายเปียกที่บ่งบอกว่า น้ำย่อมมีในที่ใกล้
23 ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเข้าไปสู่ที่ประทับของพระชินเจ้า ได้ครองจีวร ได้นั่งบนอาสนะของเรา เป็นผู้ไม่หวั่นไหว เมื่อแสดง(พระสูตรนี้)
24 พลังแห่งเมตตาคือที่ประทับ ความอดทนคือจีวร และศูนยตาคืออาสนะของเราบัณฑิตควรดำรงอยู่ในคุณธรรมนี้แล้ว พึงแสดง(ธรรม)
25 ถ้าหากว่า ก้อนดิน ท่อนไม้ หอก คำสาปแช่ง หรือคำนินทาพึงมีแก่ผู้แสดงธรรม เขาควรระลึกถึงธรรมนั้นของเรา พึงอดทนต่อคำหยาบเหล่านั้น
26 ความเป็นตัวตนของเรา ย่อมมีมากในพันโกฏิกัลป์แห่งดินแดนทั้งหลาย เราย่อมแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายสิ้นโกฏิกัลป์ จนไม่อาจคำนวณได้
27 แม่เมื่อเราปรินิพพานแล้ว เราจะส่งรูปนิมิต จำนวนมากมาให้แก่ผู้กล้าหาญของเรา ที่แสดงพระสูตรนี้
28 บริษัททั้งหลาย คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาจักรวมกันทำการบูชาแก่เรา
29 ถ้าคนทั้งหลายจะทำรายเขา ด้วยก้อนดิน ท่อนไม้ คำสาปแช่ง คำขู่ และคำด่า รูปนิมิตเหล่านั้นจักป้องกันเขาได้
30 ในกาลใด เขาจะอยู่ศึกษาเพียงผู้เดียว ในสถานที่อันสงัดจากบุคคล จะเป็นป่า หรือภูเขาก็ดี
31 ต่อจากนั้น เราจักแสดงตน ที่เลิศด้วยโอภาสแก่เขา จะให้เขาระลึกถึงคำสอนที่เคยจารึกไว้อีกครั้งหนึ่ง
32 เมื่อเขา เที่ยวไปในป่าเพียงผู้เดียว เราจักส่งเทวดาและยักษ์ทั้งหลายมาเป็นสหายของเขา เพื่อเขาจะได้ผู้ไม่เดี่ยวดาย
33 คุณธรรมเช่นนี้ ย่อมมีแก่เขาผู้แสดงธรรมแก่บริษัท 4 เมื่อเขาอยู่ตามลำพังในวิหาร ป่าหรือถ้ำ ทำการศึกษาอยู่ เขาก็จักเห็นเรา
34 ประติภาณของเขา ย่อมไม่ติดขัด เพราะเข้าใจการบรรยายธรรมอย่างหลากหลาย จึงยังสัตว์จำนวนพันโกฏิให้ยินดีได้ เพราะพระพุทธเจ้าให้เขาชำนะ
35 สัตว์ทั้งหลาย ผู้อาศัยอยู่กับเขา ทุกคนจักได้เป็นพระโพธิสัตว์ในไม่ช้า เมื่อใช้การเดินทางร่วมกัน จักเห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประมาณเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา
บทที่ 10 ธรรมภาณกปริวรรต ว่าด้วยผู้สอนธรรม
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่11 สันทัศนาพระสถูป
บทที่ 11
สตูปสันทรรศนปริวรรต
ว่าด้วยการสันทัศนาพระสถูป
ได้ยินว่า พระสถูปที่ประดับด้วยรัตนะทั้ง 7 ได้ผุดขึ้นท่ามกลางบริษัท เบื้องหน้าที่พระทับของพระตถาคต สถูปนั้นมีความสูง 500 โยชน์ มีความกว้างพอสมควร ครั้นผุดขึ้นแล้วสถูปนั้นได้ตั้งตระหง่านอยู่ในอากาศ งดงาม น่าดูยิ่งนัก ประดับด้วยแท่นบูชารับดอกไม้ 5,000 แท่น ตกแต่งด้วยซุ้มประตูหลายพันซุ้ม ประดับด้วยธงปฏากและมาลา จำนวนหลายพัน พวงรัตนะ จำนวนหลายพัน ผ้าแพร และระฆังจำนวนหลายพัน กลิ่นหอมของภาชนะผงเจิมและ ไม้จันทน์ ย่อมกระจายทั่วไป โลกธาตุนี้ทั้งปวงถูกปกคลุมด้วยกลิ่นหอมนั้น ฉัตรของสถูปนั้นประดับด้วยรัตนะทั้ง7 คือ ทอง เงิน ไพฑูรย์ ปะการัง มรกต พลอย และเพชร ส่องแสง ประกายไปถึงภพของเทพมหาราชทั้ง 4 ในสถูปที่ผุดขึ้นนั้น เทวบุตรทั้งหลาย ผู้อยู่ในตรัยตรึงค์ ได้สักการะ เคารพบูชา รัตนสถูปนั้น ด้วยดอกมณฑารพน้อยใหญ่ อันเป็นทิพย์ทั้งหลายจากรัตนสถูปนั้น มีเสียงกล่าวว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคศากยมุนี ดีละ ธรรมบรรยาย คือสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ พระองค์ตรัสดีแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ ข้าแต่ พระสุคต ข้อนั้นเป็นอย่างนี้
ได้ยิน ว่าขณะนั้น บริษัททั้ง 4 ที่ได้เห็นรัตนสถูป ที่ปรากฏขึ้นในท้องฟ้าต่างพากันยินดี มีความปีติปราโมทย์ ในเวลาพร้อมๆกันได้พากันลุกจากอาสนะยืนประคองอัญชลีอยู่
ได้ยิน ว่าขณะนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นามว่า มหาประติภาน ได้ทราบว่า ชาวโลกรวมทั้งเทวดา มนุษย์ และอสูร มีความประหลาดใจ จึงได้กราบทูลถามข้อความนั้น กับพระผู้มีพระภาคว่า "อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการเกิดขึ้นในโลก ของมหารัตนสถูปเห็นปานนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ใครเปล่งเสียงเห็นปานนี้ออกมาจากมหารัตนสถูปนี้? เมื่อมีคำทูลถาม อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกระพระโพธิสัตว์พระมหาสัตว์ "มหาประติภาน" นั้นว่า ดูก่อน มหาประติภาน อาตมภาวะ ซึ่งมีองค์เป็นหนึ่ง ย่อมสถิตอยู่ในมหารัตนสถูปนี้ นี้คือสถูปของพระองค์ พระองค์คือผู้เปล่งเสียง ดูก่อนมหาประติภาน ยังมีโลกธาตุ ชื่อว่า รัตนวิศุทธา มากกว่าพันร้อยหมื่นโกฏิจนไม่สามารถจะนับได้ ในทิศเบื้องล่าง ในที่นั้น มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ประภูตรัตนะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ได้มีประณิธาน ดังนี้ "เรายังไม่ได้ฟังธรรมบรรยายปุณฑรีกสูตรนี้ อันเป็นวาทะของพระโพธิ์สัตว์ตราบใด เราจะปฏิบัติวัตรของพระโพธิสัตว์ต่อไป จะไม่ก้าวลงสู่อนุตตรอรหันตสัมมาสัมโพธิญาณตราบนั้น เมื่อใด เราได้ฟังธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ เมื่อนั้นเราจะเข้าสู่อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในภายหลัง ดูก่อนมหาประติภาน ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประภูตรัตนะ นั้น ได้ตรัสไว้อย่างนี้ แก่ประชาชนและสมณพราหมณ์ของชาวโลก เทวโลก มารโลก รวมทั้งพรหมโลก ในสมัยที่ประนิพพานว่า"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายพึงสร้างมหารัตนสถูปขึ้นองค์หนึ่ง เพื่อบรรจุอาตมภาวะของเรา ผู้เป็นตถาคตที่ประนิพพานแล้ว สถูปอื่นๆ ที่เหลือก็ควรสร้างอุทิศเรา ดูก่อนมหาประติภาน ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตรัตนะนั้น ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า "สถูป อันเป็นที่เก็บอาตมภาวะของเรา พึงผุดขึ้นตั้งตระหง่าน ในโลกธาตุทั้งปวงทั้ง 10 ทิศ ที่มีการประกาศธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ในพุทธเกษตรทั้งมวล ในสถานที่ที่พระผู้มีพระภาค ทั้งหลายเหล่านั้น แสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ขอให้สถูปลอยอยู่บน (ตั้งอยู่ใน) ท้องฟ้าเหนือมณฑลบริษัท ขอให้สถูปอันเป็นที่บรรจุอาตมภาวะของเรานี้ พึงให้เสียงสาธุการ แก่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้แสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้" ดูก่อนมหาประติภานนี้คือสถูปนั้น เป็นสถูปบรรจุพระสรีรธาตุของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นามว่า ประภูตรัตนะ เมื่อเราแสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรในสหาโลกธาตุนี้อยู่ สถูปก็ได้ผุดขึ้นในท่ามกลางมณฑลของบริษัทตั้งลอยอยู่ท่ามกลางอากาศในท้องฟ้าแล้วเปล่งเสียงสาธุการ
ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นามว่า มหาประติภาน ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย ย่อมเห็นรูปของพระตถาคต เพราะอานุภาพของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวดังนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสกระพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ มหาประติภาน ว่า "ดูก่อนมหาประติภาน พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประภูตรัตนะนั้นได้มีประณิธานที่หนักแน่น ประณิธานนั้นของพระองค์ที่ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อใดพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในพุทธเกษตร พึงแสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ เมื่อนั้นขอให้สถูปอันบรรจุอาตมภาวะ ของข้าพระองค์นี้ พึงอยู่ในที่ใกล้พระตถาคต เมื่อฟังธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น มีความปรารถนาจะเปิดเผยรูปแห่งอาตมภาวะของตนแก่บริษัท 4 เมื่อนั้น รูปแห่งพระตถาคตทั้งหลาย ที่พระตถาคตเหล่านั้นนิรมิตอาตมภาวะไว้ในพุทธเกษตรอื่นๆ ทั้งสิบทิศ ซึงมีนามต่างกัน ย่อมแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายในพุทธเกษตรเหล่านั้น สถูปอันบรรจุอาตมภาวะของเรานี้ จงรวมรูปเหล่านั้นทั้งหมด กับรูปของพระตถาคตที่นิรมิตขึ้นจากอาตมภาวะแล้ว เปิดเผยให้บริษัท 4 ได้เห็น ดูก่อนมหาประติภาน เราได้นิรมิตรูปของพระตถาคตไว้จำนวนมาก รูปเหล่าใด ย่อมแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย ในพันโลกธาตุในพุทธเกษตรทั้งหลายเหล่าอื่นทั้งสิบทิศ ขอให้รูปเหล่านั้นทั้งปวง พึงมารวมกันในที่นี้
ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ มหาประติภาน ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอถวายบังคม อาตมภาวะของพระตถาคต และรูปที่พระตถาคตนิรมิตแล้วทั้งหลายเหล่านั้น ได้ยินว่า ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงเปล่งพระรัศมีออกจากอูณณาโกศ (พระอุษณีย์=อุณาโลม) เมื่อพระรัศมีถูกเปล่งออกโดยรอบ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ใน ห้าพันร้อยหมื่นโกฏิแห่งโลกธาตุทั้งหลาย ซึ่งเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ในทิศตะวันออก ก็ปรากฏให้เห็นโดยทั่วกัน พุทธเกษตรเหล่านั้นซึ่งประดับด้วยแก้ว ก็สามารถมองเห็นได้ ความวิจิตรทั้งหลายจักปรากฏด้วยรัตนพฤกษ์ประดับด้วยผ้าไหมแลผ้าแพร พรั่งพร้อมด้วยพระโพธิสัตว์หลายพันร้อยพระองค์ กั้นด้วยตาข่าย ทองเงินทั้งแปด ซึ่งกางออกเป็นเพดาน ในพุทธเกษตรเหล่านั้น ย่อมปรากฏพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กำลังแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายด้วยพระสุระเสียงอันไพเราะอ่อนหวาน พุทธเกษตรทั้งหลายเหล่านั้น จักปรากฏพรั่งพร้อมไปด้วยพระโพธิสัตว์หลายพันร้อยองค์ ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในทิศใต้ ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในทิศตะวันตก ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในทิศเหนือ ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในทิศเบื้องล่างและในทิศเบื้องบน ในทิศทั้ง 10 โดยรอบ ในแต่ละทิศ มีพุทธเกษตรจำนวนพันร้อยหมื่นโกฏิเหมือนกับจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ในโลกธาตุจำนวนพันร้อยหมื่นโกฏิ เปรียบได้กับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคาจักปรากฏ
ได้ยินว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในสิบทิศ ได้ตรัสกะคณะพระโพธิสัตว์ของตนว่า "ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เราทั้งหลาย จักต้องกลับไปสู่สหาโลกธาตุอีกอันเป็นที่ใกล้ชิดของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคศากยมุนี เพื่อนมัสการสถูปแห่งพระสรีรธาตุ ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประภูตรัตนะพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น พร้อมด้วย รูปแห่งตนของพระตถาคต ผู้มีตนเป็นที่สอง มีตนเป็นที่สาม ได้เสด็จมาสู่สหาโลกธาตุนี้อีก ในสมัยนั้น โลกธาตุนี้ทั้งปวง ประดับด้วยต้นรัตนพฤกษ์ สำเร็จจากแก้วไพฑูรย์ ปกคลุมด้วยตาข่ายแห่งรัตนะทั้ง 8 เปล่งประกายด้วยมหารัตนะและธูปหอม กระจายด้วยดอกมณฑารพน้อยใหญ่ ประดับด้วยตาข่ายกระดิ่งเล็กๆที่เชื่อมจุดทั้ง 8 ด้วยสายทองคำ ปราศจากหมู่บ้าน นคร นิคม ชนบท เมือง(ราษฎร) และราชธานี ปราศจากภูเขาที่เกิดตามกาล ปราศจากภูเขามุจลินทรและมหามุจลินทร์ ปราศจากภูเขาในจักรวาลและมหาจักรวาล ปราศจากภูเขาพระสุเมรุ ปราศจากภูเขาอื่นๆ นอกจากนั้นยังปราศจากมหาสมุทร ปราศจากนทีและมหานที ได้ตั้งอยู่โดยปราศจากเทพ มนุษย์และอสุรกาย ปราศจากนรก ดิรัจฉานและยมโลก เพราะว่า ในสมัยนั้น สัตว์ทั้งหลาย ผู้เข้าถึงคติ 6 ในสหาโลกธาตุนี้ ถูกย้ายไปในโลกธาตุอื่นทั้งหมด ครั้นดำรงอยู่แล้วจะไปบังเกิดในบริษัทนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้มีอุปัฏฐากเป็นที่สองบ้าง เป็นที่สามบ้าง ได้เสด็จมาสู่สหาโลกธาตุนี้ พระตถาคตเหล่านั้นผู้มาแล้วๆ ได้เข้าสู่สิงหาสน์ประทับที่โคนรัตนพฤกษ์ ต้นรัตนพฤกษ์แต่ละต้นสูง 500 โยชน์ แผ่กว้างด้วยกิ่งก้านไปพอสมควร สะพรั่งด้วยดอกและผล สิงหาสน์ที่โคนต้นรัตนพฤกษ์ แต่ละต้นทราบกันดีว่าสูง 500 โยชน์ ประดับด้วยมหารัตนะ พระตถาคตแต่ละพระองค์ มิใช่น้อยต่างนั่งขัดสมาธิที่รัตนบัลลังก์นั้น พระตถาคตทั้งหลาย ต่างนั่งขัดสมาธิ ที่โคนต้นรัตนพฤกษ์ทั้งปวงในโลกธาตุทั้งสามพันน้อยใหญ่ (ตรีสหัสรมหาหัสรโลกธาตุ) เหล่านี้ ทั้งปวงโดยปริยายนี้
ได้ยินว่า ในสมัยนั้น โลกธาตุทั้งสามพันน้อยใหญ่ เนื่องแน่นไปด้วยพระตถาคตรูปนิรมิตจากอาตมภาวะ ของพระผู้มีพระภาคศากยมุนีตถาคตทั้งปวงยังไม่ได้มาแม้จากทิศาภาคหนึ่ง ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคศากยมุนีตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ให้โอกาสแก่รูปพระตถาคตเหล่านั้นผู้มาแล้ว จากทิศทั้งแปดโดยรอบมีพุทธเกษตร 20 พันร้อยหมื่นโกฏิทั้งหมดประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ ปกคลุมด้วยตาข่ายรัตนะทั้ง 8 ประดับด้วยตาข่ายกระดิ่ง ดารดาษด้วยดอกมณฑารพน้อยใหญ่ กางด้วยเพดานทิพย์ ห้อยระย้าด้วยพวงดอกไม้ทิพย์ อบอวนด้วยกลิ่นธูปหอมอันเป็นทิพย์ พุทธเกษตร 20 ร้อยพันหมื่นโกฏิเหล่านั้นทั้งหมดปราศจากหมู่บ้าน ฯลฯ พุทธเกษตรเหล่านั้นทั้งหมดได้สรุปให้เป็นพุทธเกษตรเดียว และเป็นภูมิประเทศเดียวเท่านั้น วิจิตรด้วนต้นรัตนพฤกษ์ทั้ง 7 อันน่ารื่นรมย์ยิ่ง ต้นรัตนพฤกษ์เหล่านั้นแต่ละต้นสูงและกว้าง 500 โยชน์สมบูรณ์ด้วยกิ่งก้าน ดอก และผลพอสมควร เป็นที่ทราบว่า ที่โคนต้นรัตนพฤกษ์นั้น มีสิงหาสน์สูงและกว้าง 500 โยชน์ ประดับด้วยทิพยรัตนะ อันวิจิตรนาทัศนายิ่ง พระตถาคตทั้งหลาย ผู้มาแล้วได้ประทับนั่งขัดสมาธิ ที่สิงหาสน์ที่โคนต้นรัตนพฤกษ์ เหล่านั้น โดยปริยายนี้ พระตถาคตศากยมุนี ยังประโยชน์แห่งโอกาสให้บริสุทธิ์โดยรวม เพื่อพระตถาคตทั้งหลายผู้มาแล้วในแต่ละทิศ ตลอด 20 พันร้อยหมื่นโกฏิโลกธาตุอื่นๆ อีก ในแต่ละทิศโลกธาตุ 20 พันร้อยหมื่นโกฏิเหล่านั้น ถูกจัดให้ปราศจากหมู่บ้าน ฯลฯ ปราศจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน และยมโลก สัตว์ทั้งปวงเหล่านั้นถูกจัดไว้ในโลกธาตุอื่น พุทธเกษตรทั้งหลายเหล่านั้น ประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ ฯลฯ งดงามด้วยรัตนพฤกษ์ ต้นรัตนพฤกษ์เหล่านั้น ทั้งปวงสูงประมาณ 500 โยชน์ สิงหาสน์ที่นิรมิตขึ้นสูงประมาณ 5 โยชน์ ถัดจากนั้นพระตถาคตเจ้าเหล่านั้น ประทับนั่งขัดสมาธิที่สิงหาสน์ ที่โคนต้นรัตนพฤกษ์ทั้งหลายติดต่อกัน(โดยไม่เว้นช่องว่าง)
ได้ยินว่า สมัยนั้น ในทิศบูรพา พระตถาคต ที่พระผู้มีพระภาคศากยมุนีนิรมิตขึ้น ได้แสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย ที่มาจาก 10 ทิศ ในร้อยพันหมื่นโกฏิพุทธเกษตรซึ่งเปรียบด้วยเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา พระตถาคตผู้มาแล้ว ได้ประทับนั่งในทิศทั้ง 8 ได้ยินว่าในสมัยนั้นในทิศต่างๆ สามสิบพันร้อยหมื่นโกฏิโลกธาตุ เนืองแน่นไปด้วยพระตถาคตโดยรอบ (ทุกด้าน) ทั้ง 8 ทิศ พระตถาคตเหล่านั้นเสด็จไปในที่ประทับของตน ได้ส่งอุปัฏฐากของตนไปสู่ที่ใกล้พระตถาคตศากยมุนี ได้ถวายถุงรัตนบุปผา แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปสู่ภูเขาคิชกูฏ ครั้นไปถึงแล้ว จงไหว้พระผู้มีพระภาคศากยมุนีตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถามถึงพลังแห่งอาพาธความเหน็ดเหนื่อย ผัสสะและการเป็นอยู่ ตามคำของเรา พร้อมกับคณะพระโพธิสัตว์และคณะพระสาวก ท่านทั้งหลาย จงกระจายกองรัตนะนี้ จงกล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตถาคตย่อมประทาน พอใจในการเปิดมหาสถูปรัตนะนี้ พระตถาคตทั้งหลาย ได้ส่งไปอุปัฏฐากของตน ทั้งปวงไปด้วยประการฉะนี้
ได้ยินว่า ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคศากยมุนีตถาคต ทรงเห็นพระตถาคตที่พระองค์ทรงนิรมิตขึ้นมา ทุกพระองค์ ทรงเห็นพระตถาคตผู้นั่งในสิงหาสน์ต่อๆกัน ทรงเห็นความพอใจที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ยินดีแล้ว ได้เสด็จลุกจากธรรมมาสนะ แล้วประทับยืนในท่ามกลางอากาศ บริษัท 4 ทั้งปวงเหล่านั้น ลุกจากที่นั่ง ประคองอัญชลี เพ่งมองพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค ได้เปิดมหารัตนสถูปนั้น ที่ลอยอยู่ในอากาศด้วยพระองคุลีแห่งพระหัตถ์ข้างขวา ณ จุดกลาง ครั้นเปิด แล้วมหาสถูปแยกออกเป็น 2 ส่วน บานประตูใหญ่ทั้งสอง ที่ประตูของมหานคร ย่อมเปิดออกในเมื่อถอดกลอนฉันใด พระตถาคต ทรงเลือกเปิดมหารัตนสถูป ที่สถิตอยู่ในอากาศ ณ จุดกลางด้วยพระองคุลีแห่งพระหัตถ์ขวาฉันนั้น เมื่อมหารัตนสถูปนั้น เปิดออกโดยรอบ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประภูตรัตนะ ได้เสด็จเข้าไปสู่สิงหาสน์ ประทับนั่งขัดสมาธิ พระวรกายซูบผอม ซีดขาว ปรากฏราวกับอยู่ในสมาธิ พระองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า ดีละ ดีละ พระผู้มีพระภาคศากยมุนี สัทธรรมปุณฑรีตสูตรนี้ เป็นธรรมบรรยายที่พระองค์ตรัสดีแล้ว ดีละ พระผู้มีพระภาคศากยมุนี ที่พระองค์ได้ตรัสธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีตสูตรนี้ ในท่ามกลางบริษัท ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เราเองก็เสด็จมาในที่นี้เพื่อฟังธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีตสูตรนี้เช่นกัน
เมื่อบริษัท 4 เหล่านั้น ได้เห็นพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประภูตรัตนะ ผู้ปรินิพพานไปแล้ว หลายพันร้อยหมื่นโกฏิกัลป์ กำลังตรัสอยู่อย่างนั้น ได้ถึงความมหัศจรรย์ใจและประหลาดใจอย่างยิ่ง ขณะนั้น (บริษัททั้ง 4 ) ได้โปรยกองรัตนะ อันเป็นทิพย์และของมนุษย์ (เพื่อบูชา) พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประภูตรัตนะ และพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ศากยมุนี ได้ยินว่า ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประภูตรัตนะ ได้ประทานสิงหาสน์ครึ่งหนึ่งบนบังลังก์นั้น แก่พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ศากยมุนี ในระหว่างแห่งมหารัตนสถูปนั้นเอง (พระองค์) ได้ตรัสอย่างนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาคศากมุนีตถาคตจงประทับนั่งในที่นี้ ได้ยินว่าขณะนั้นพระผู้มีพระภาคศากยมุนีตถาคตได้ประทับนั่งบนอาสนะครึ่งหนึ่งรวมกับพระตถาคตนั้น พระตถาคตทั้งสองพระองค์นั้นได้เสด็จเข้าไปสู่สิงหาสน์ในท่ามกลางมหารัตนสถูปนั้นที่ปรากฏเด่นในฟากฟ้า
ได้ยินว่า ครั้งนั้น บริษัททั้ง 4 เหล่านั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "พวกเราอยู่ห่างไกลจากพระตถาคตทั้งสองนี้ยิ่งนัก อย่าไรหนอ พวกเราพึงได้ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ด้วยอานุภาพของพระตถาคต ได้ยินว่าครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตศากยมุนี ทรงทราบความปริตกแห่งจิตของบริษัท 4 เหล่านั้นด้วยจิต (ของพระองค์) นั่นเอง จึงยังบริษัท 4 เหล่านั้นให้ดำรงอยู่บนท้องฟ้าด้วยอำนาจแห่งฤทธิ์ ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคศากยมุนีได้ตรัสเรียกบริษัททั้ง 4 เหล่านั้นในเวลานั้นว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาท่านทั้งหลาย ใครสามารถเพื่อประกาศสัทธรรมปุณฑรีตสูตรบรรยายนี้ ในสหาโลกธาตุนั้นคือ กาลสมัยนั้น ณ เบื้องพระพักตร์ พระตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระตถาคตได้มอบธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีตสูตรนี้ แล้วก็ปรารถนาจะเข้าสู่ปรินิพพาน
ได้ยินว่าในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระถาคาเหล่านี้ว่า
1 มหาฤาษีองค์นี้ แม้ปรินิพพาน แล้วยังเป็นผู้นำ ได้เสด็จมาสู่รัตนสถูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครละที่ปรารถนาจะฟังธรรมนี้ จะไม่เกิดความกล้าเพราะเหตุแห่งธรรม
2 พระมหามุนีนั้น แม้ปรินิพพานแล้วหลายโกฏิกัลป์ ยังมาฟังธรรมเห็นปานนี้เป็นเพราะเหตุแห่งธรรม พระองค์จึงได้เสด็จไปในที่นั้นๆ พระธรรมเห็นปานนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง
3 ประณิธานที่ใช้อยู่ของพระผู้นำพระองค์นี้ ซึ่งมีมาแต่ภพก่อนว่า แม้ปรินิพพานแล้วก็จะเที่ยวไปสู่โลกนี้ทั้งปวงทั้ง 10 ทิศ
4 อาตมภาวะ (ร่างกาย) ของข้าพเจ้าทั้งปวงเหล่านี้ มีจำนวนหลายพันโกฏิดุจเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา อาตมภาวะเหล่านั้น มาในรูปที่สร้างขึ้นของการสร้างพระธรรม เพื่อเฝ้าพระผู้เป็นที่พึ่งนี้ แม้ปรินิพพานแล้ว
5 เมื่อได้จัด (พุทธ) เกษตรแต่ละแห่งแล้ว ได้จัดเทพทั้งปวงไว้ในระหว่างสาวกพระสาวกทั้งปวงเหล่านั้น เป็นผู้นำทางธรรม ได้ดำรงอยู่สิ้นกาลนาน เพื่อเหตุแห่งการรักษาพระสัทธรรม
6 พันโกฏิแห่งโลกธาตุจำนวนมาก ที่เราจัดไว้เพื่อให้เป็นที่ประทับนั่งของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น และทำให้สัตว์ทั้งปวงบริสุทธิ์ด้วยอำนาจแห่งฤทธิ์
7 ผู้นำทางธรรมที่เป็นเช่นนี้ ที่ได้ประกาศ(ธรรม) เราได้สร้างไว้ดีแล้ว พระพุทธเจ้าเหล่านี้ มีจำนวนประมาณมิได้ ได้ประทับอยู่ที่โคนต้นไม้ราวกับกองดอกบัว
8 มีกายมิใช่น้อยจำนวนโกฏิ ปรากฏ ณ โคนต้นไม้ เมื่อพระผู้นำประทับนั่งบนสิงหาสน์ งดงามดำรงอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยพระอัคนีเทพราวกับว่าจะกำจัดความมืดฉะนั้น
9 กลิ่นหอมของพระผู้นำแห่งโลก เป็นที่รู้ได้ด้วยใจ ย่อมกระจายไปในทิศทั้ง 10 เมื่อลมพัดพาไป สัตว์ทั้งปวงเหล่านี้ย่อมลุ่มหลงตลอดกาลเป็นนิตย์
10 เมื่อเราปรินิพพานแล้วผู้ใดพึงทรงจำไว้ซึ่งธรรมบรรยายนี้ ผู้นั้นจงเปล่งวาจาต่อเบื้องพระพักตร์พระผู้เป็นที่พึ่งของชาวโลกโดยเร็ว
11 พระพุทธเจ้าประภูตร้ตนมุนี แม้ปรินิพพานแล้ว ยังกระทำความพยายามในการฟังสิงหนาทของพระองค์
12 พระผู้นำจำนวนมากหลายโกฏิ ได้มาที่นี้ เราเป็นที่สอง จำพยายามฟังพระชินบุตร ผู้อดทน เพื่อประกาศพระธรรมนี้
13 เพราะเหตุนั้น เราและพระประภูติรัตนชินสวยัมภู จึงได้รับการบูชาในกาลทุกเมื่อ ผู้เสด็จไปสู่ทิศน้อยใหญ่เป็นนิตย์เพื่อฟังธรรมที่มีลักษณะอย่างนี้
14 พระโลกนาถเหล่านี้ ผู้เสด็จมาแล้ว ผู้ทำให้แผ่นดินนี้วิจิตร งดงาม การบูชาอันไพบูลย์ มิใช่น้อย พึงกระทำแก่พระโลกนาถเหล่านั้น ด้วยการประกาศพระสูตร(นี้)
15 เราปรากฏบนอาสนะนี้และพระผู้มีพระภาคที่ประทับอยู่ในท่ามกลางสถูปและพระโลกนาถจำนวนมากเหล่าอื่น ผู้มาแล้วจากร้อย (พุทธ) เกษตรมิใช่น้อย
16 โอ ดูก่อนกุลบุตร ท่านทั้งหลายจงตั้งใจ ด้วยความเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง พระผู้นำทั้งหลาย ได้อดทนต่อสถานะนี้ที่ทำได้ยากยิ่ง
17 บางคนพึงประกาศพระสูตรจำนวนมากหลายพัน เทียบได้กับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ข้อนั้นไม่ชื่อว่ากระทำได้ยาก
18 บุคคลใดได้รวบเขาพระสุเมรุไว้ด้วยกำมือแล้วขวางไปสิ้นโกฏิ (พุทธ) เกษตรนั้นก็ไม่ชื่อว่าทำได้โดยยาก
19 บุคคลใดพึงยังโลกนี้ใสให้หวั่นไหวด้วยหัวแม่เท้า แล้วพึงทิ้งไปสิ้นหลายโกฏิพุทธเกษตร ข้อนั้นก็ไม่ชื่อว่าทำได้ยาก
20 บางคนในโลกนี้ได้ยืนอยู่ที่ปลายโลกแล้วพึงฟังธรรม สิ้นพระสูตรอื่นๆ จำนวนหลายพัน ข้อนั้นก็ยังไม่ชื่อว่าทำได้โดยยาก
21 เมื่อผู้เป็นใหญ่ในโลกปรินิพพานแล้ว ผู้ใดพึงทรงจำไว้และกล่าวพระสูตรนี้ ในกาลภายหลังที่น่ากลัวยิ่ง ข้อนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง
22 ส่วนบุคคลใดได้วางอากาศธาตุทั้งปวงไว้ในกำมือหนึ่ง แล้วโยนทั้งไป ข้อนั้นก็ไม่ชื่อว่าทำได้ยากยิ่ง
23 ส่วนบุคคลใด พึงคิดคัดลอกพระสูตรนี้ ในกาลภายหลัง เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ข้อนี้ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง
24 บุคคลใดพึงยังปฐวีธาตุทั้งปวงให้เข้าไปสู่ปลายเล็บแล้วสลัดทั้งขึ้นไปถึงพรหมโลก
25 เพราะว่า บุคคลนั้นไม่พึงกระทำสิ่งที่ทำได้ยาก และไม่พึงกระทำความกังวลแห่งความเพียร เมื่อกระทำสิ่งที่ทำได้ยากนั้น จากที่สุดของโลกทั้งปวง
26 ต่อจากนี้ เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ผู้ใดพึงกล่าวพระสูตรนี้ ในกาลภายหลังแม้เพียงครู่หนึ่ง ข้อนี้ชื่อว่ากระทำได้ยากยิ่ง
27 บุคคลใดพึงเข้าไปในท่ามกลางไฟบรรลัยกัลป์ในโลก และพึงนำภาระแห่งหญ้าที่ไฟกำลังเผาไหม้อยู่ออกไป สิ่งนี้ไม่ชื่อว่าทำได้โดยยาก
28 ต่อจากนี้ไป เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ผู้รักษา (ทรงไว้) และยังสัตว์ผู้หนึ่งให้ฟังพระสูตรนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่า
29 บุคคลพึงทรงจำพระธรรมสิ้น 84,000 ธรรมขันธ์ เขาพึงแสดงธรรม ที่ได้รับการแนะนำแล้ว แห่สัตว์จำนวนหลายโกฏิ
30 เพราะว่า สิ่งนี้ไม่ชื่อว่าทำได้โดยยาก คือ พึงแนะนำความเจริญแก่ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น และพึงยังสาวกของเราทั้งหลาย ให้ตั้งอยู่ในอภิญญา 5
31 สิ่งนี้ชื่อว่ากระทำได้ยากกว่า คือบุคคลพึงทรงจำพระสูตรนี้ พึงเชื่อ พึงหลุดพ้น และพึงกล่าวพระสูตรนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า
32 ผู้ใดยังสัตว์ทั้งหลายจำนวนมากหลายพันโกฏิ ดุจเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ผู้ได้อภิญญา 6 เป็นมหัพภาค ให้ดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์
33 บุคคลผู้ประเสริฐนั้นชื่อว่าย่อมกระทำหรรมมากกว่านี้ เมื่อได้ทรงจำพระสูตรอันประเสริฐของเรา ผู้ปรินิพพานแล้ว
34 ธรรมจำนวนมาก ที่เราได้กล่าวแล้วในหลายพันโลกธาตุ แม้ในวันนี้ เราจะกล่าวจากเหตุแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
35 พระสูตรที่ใครๆ ก็กล่าวว่าเป็นยอดของพระสูตรทั้งปวง ผู้ใดย่อมทรงจำไว้ซึ่งพระสูตรนี้ ผู้นั้นชื่อรักษาพระสรีระของพระชินเจ้าด้วย
36 โอ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงกล่าวเฉพาะพระพักตร์พระตถาคตของท่านเถิด บางคนจะพยายามทรงจำเพียงเล็กน้อยในภายหลัง
37 ผู้ใดทรงจำพระสูตรนี้ ที่จำได้ยาก แม่เพียงครู่หนึ่ง พระโลกนาถทั้งปวงก็จะมีความปีติยินดีอย่างใหญ่หลวง
38 พระโลกนาถทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น ในกาลทุกเมื่อ เขาเป็นผู้กล้าที่หยิ่งผยอง เป็นผู้ได้อภิญญาเพื่อพระโพธิญาณโดยเร็ว
39 บุคคลนั้น เป็นผู้นำภาระโอรสของพระโลกนาถ เป็นผู้ถึงภูมิแห่งทาน ย่อมรักษาไว้ซึ่งพระสูตรนี้
40 เมื่อพระผู้นำแห่งนรชน ปรินิพพานแล้ว เขาผู้ประกาศพระสูตรนี้ จักเป็นจักษุของโลกพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
41 บุคคลใดพึงกล่าวพระสูตรนี้แม้ชั่วครู่หนึ่ง ในกาลภายหลัง บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิต เป็นผู้ที่สัตว์ทั้งปวงควรไหว้
ได้ยินว่าครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะคณะของพระโพธิสัตว์ ชาวโลกรวมทั้งเทพและอสูรทั้งปวงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลก่อนซึ่งเป็นกาลเวลาแห่งอดีต เราได้แสวง สัทธรรมปุณฑรีกสูตร สิ้นกัลป์ที่ไม่สามารถประมาณนับได้ โดยเป็นผู้ไม่หวั่นไหวและไม่เหน็ดเหนื่อย ในกาลก่อน เราได้เป็นพระราชา สิ้นกัลป์มิใช่น้อย สิ้นร้อยพันกัลป์มิใช่น้อย ได้ตั้งประณิธานไว้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ความประพฤติของเรา ไม่เปลี่ยนไปจากความหวังที่คิดไว้ เราได้พยายามด้วยการยังบารมี 6 ให้สมบูรณ์ เป็นผู้ให้ทานอันประมาณมิได้ ได้บริจาคทองมณี มุกดา ไพฑูรย์ สังข์ แก้วประพาฬ เงิน ทอง มรกต ปะการัง พลอย หมู่บ้าน เมือง นิคม ชนบท ราษฎร ราชธานี ภรรยา บุตร ธิดา ทาสี ทาสา กรรมกร บุรุษ ช้าง ม้า รถ ได้สละสรีระของตน ได้สละแขน ขา อวัยวยะเบื้องสูง หรือศีรษะ องค์แห่งอินทรีย์ (อวัยวะเครื่องสัมผัส =ตา หู จมูก ฯลฯ) และชีวิต จิตแห่งการยึดมั่น แม้ครั้งหนึ่ง ก็ไม่เกิดขึ้นแก่เรา ก็โดยสมัยนั้น โลกนี้ยังมีอายุยืนยาว ก็เราได้สร้างราชสมบัติตามความถูกต้องแห่งธรรม ตามกาล มิใช่ตามความถูกต้องตามวิสัย ด้วยชีวิตหลายร้อยพันปี เรานั้นได้อภิเกผู้พี่ไว้ ในราชสมบัติแล้ว ก็พยายามแสวงหาพระธรรมอันประเสริฐทั้ง 4 ทิศ คำอย่างนี้ ได้ให้ประกาศแล้วด้วย (การตี) ระฆังว่า ผู้ใดจักให้ธรรมอันประเสริฐแก่เรา หรือจักบอกสิ่งอันเป็นประโยชน์ เราจะยอมเป็นทาสของผู้นั้น โดยกาลนั้น ได้มีฤาษีตนหนึ่ง ท่านได้กล่าวคำนี้แก่เราว่า "ข้าแต่มหาราชมีพระสูตรหนึ่ง ชื่อว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตร เป็นสูตรที่แสดงถึงธรรมอันประเสริฐยิ่ง ถ้าท่านจักเข้าถึงความเป็นทาส (ของข้าพเจ้า) ข้าพเจ้าจักให้ท่านได้ฟังพระธรรมนั้น ข้าพเจ้าครั้นได้ฟังแล้ว เกิดความพอใจยินดีถ้อยคำของฤาษีนั้น มีใจเป็นของตน เกิดปีติโสมนัสอย่างสูง ได้เข้าไปถึงที่อาศัยของฤาษีนั้น ครั้นเข้าไปแล้ว ได้กล่าวว่า งานใดอันทาสพึงกระทำแก่ท่าน ข้าพเจ้าจักกระทำงานนั้น เรานั้น ครั้นเข้าถึงความเป็นทาสของฤาษีนั้นแล้ว ได้กระทำงานคนรับใช้ เช่น การหาหญ้า ไม้ น้ำ ผักกาด และผลไม้เป็นต้น และเราได้เป็นผู้รักษาประตูด้วย ครั้นเราทำงานต่างๆ ในเวลากลางวัน กลางคืนได้ประคองเท้าของท่านผู้นอนอยู่บนเตียงความเหน็ดเหนื่อยทางกายและจิตไม่ได้มีแก่เรา งานอย่างนี้ที่เรากระทำอยู่ถึงพันปีบริบูรณ์
ได้ยินว่า ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาค เพื่อขยายข้อความนี้ให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
42 เราได้ระลึกถึงอดีตกาลล่วงมาแล้วหลายกัลป์ เมื่อครั้งเรายังเป็นธรรมราชา ผู้ประกอบด้วยธรรม เราได้ครองราชสมบัติ เพราะเหตุแห่งธรรม มิใช่เพราะเหตุแห่งความปรารถนา เพราะเหตุแห่งธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสุด
43 เรากระทำการโฆษณานี้ไปสู่ทิศทั้ง 4 ว่าผู้ใดพึงบอกธรรม แก่เรา เราจะยอมเป็นทาสของผู้นั้น โดยกาลนั้น ได้มีฤษีองค์หนึ่ง ผู้เป็นปราชญ์ ได้บอกชื่อพระสูตรว่า สัทธรรม (ปุณฑรีกะ)
44 ท่าน (ฤาษี) ได้บอกแก่เราว่า "ท่านมีความปรารถนาพระธรรม ท่านจงยอมเป็นทาส(ของข้าพเจ้าก่อน) ต่อจากนั้น ข้าพระเจ้าจะบอกธรรมแก่ท่าน
45 ความเหน็ดเหนื่อยทางกายและจิตไม่เป็นอุปสรรคแก่เรา ผู้ยอมเป็นทาสเพราะเหตุแห่งพระสัทธรรม เราอุทิศตนปฏิบัติ มิใช่เพราะเหตุแห่งความเป็นสัตว์ และมิใช่เพราะเหตุแห่งความใคร่
46 พระราชานั้น ได้ประกอบความเพียรแล้ว กรรมอย่างอื่นไม่มีในทิศทั้ง 10 พระองค์มีความทุกข์ สิ้นพันกัลป์เต็มบริบูรณ์ จึงได้รับพระสูตรที่ชื่อว่า "สัทธรรม(ปุณฑรีกะ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายคิดว่า ข้อนั้นเป็นไฉน พระราชาในกาลนั้น คือพระราชาอื่นหรือ? ท่านทั้งหลาย ไม่ควรมีความเห็นอย่างนี้ เพราะเหตุไร? เพราะว่าเราคือพระราชาในสมัยนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายคิดว่า ฤาษีในสมัยนั้นคือบุคคลอื่นหรือได้ยินว่าท่านทั้งหลายไม่ควรเป็นอย่างนี้ เพราะว่า ฤาษีในสมัยนั้น ก็คือภิกษุเทวทัตนี้เอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า พระเทวทัตคือกัลยาณมิตรของเรา บารมี 6 ประการ ที่เราได้สมบูรณ์ได้ก็เพราะอาศัยพระเทวทัต รวามทั้งมหาไมตรี มหากรุณา มหามุฑิตา และมหาอุเบกขา มหาบุรุษลักษณะ 32 ประการอนุพยัญชนะ 80 ผิวสีทอง พละ 10 อภิญญา 4(ไวศารทฺย=ปัญญา) สังคหวัตถุ 4 พุทธธรรมของผู้เกล้าผม (ชฎิล) ทั้ง18 กำลังของมหาอิทธิฤทธิ์ การปกป้องสัตว์ในทิศทั้ง 10 ทั้งหมดนี้ ย่อมมีแก่เรา เมื่อคบกับพระเทวทัต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะบอกกล่าวแก่ท่านว่า ในอนาคต โดยกัลป์อันประมาณมิได้ นับมิได้ภิกษุเทวทัตนี้ จักได้เป็นตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระนามว่า เทวราช ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ผู้เสด็จไปดีแล้ว ผู้เป็นโลกวิทู เป็นนายสารถีฝึกบุรุษ ที่ไม่มีผู้เปรียบได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรมใน เทวโสปานโลกธาตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า อายุของพระเทวราชตถาคต มีประมาณ 20 กัลป์ พระองค์จักได้แสดงธรรมโดยพิสดาร สัตว์ทั้งหลายมีจำนวนเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา จักสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ด้วยการละกิเลสทั้งปวง ณ เบื้องพระพักตร์ สัตว์มิใช่น้อย จักยกจิตขึ้นสู่ปัจเจกโพธิญาณ สัตว์ทั้งหลาย ประมาณเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา จักยกจิตขึ้นสู่อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จึงถึงความอดทนที่ไม่เปลี่ยนแปลง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระตถาคตเทวราชปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมจักตั้งอยู่สิ้น 20 กัลป์ แต่สรีระของพระองค์ จักไม่สลายตามการแตกสลายของพระธาตุ แต่พระสรีระของพระองค์จะรวมเป็นกลุ่มเดียว เข้าไปสู่สัตตรัตนสถูป สถูปนั้นสูง 6 พันโยชน์ กว้าง 40 โยชน์ เทวดาและมนุษย์ทั้งปวงในที่นั้น จักทำการบูชาด้วย ดอกไม้ ธูป มาลัยหอม แป้ง(ผงลูบไล้) จีวร(ผ้า) ฉัตร ธงแถบ ธงปฏาก และคาถาทั้งหลายพวกเขา (เทวดาแลมนุษย์) จักอยู่บูชาด้วยวัตถุเหล่านั้น ส่วนชนเหล่าใด กระทำการนอบน้อมประทักษิณสถูปนั้น บางพวกจำสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งเป็นผลสูงสุดของการสักการะนั้น บางพวกจักเข้าใกล้พระปัจเจกโพธิญาณ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งมีจำนวนที่คำนวณไม่ได้ ประมาณไม่ได้ จักยกจิตขึ้นสู่อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จักเป็นผู้ไม่หวนกลับมาอีก
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุสงฆ์อีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในอนาคตกาล กุลบุตรหรือกุลธิดาบางคน จำได้ฟังความเป็นไปของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ครั้นฟังแล้ว จักไม่สงสัย ไม่ลังเลใจ เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ ย่อมหลุดพ้น ประตูแห่งทุคติทั้งสามจะถูกปิด เขาจะไม่ไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน และยมโลก เขาผู้บังเกิดในพุทธเกษตรทั้ง 10 ทิศ จักได้ยินพระสูตรนี้ ทุกชาติ การถึงฐานะ อันประเสริฐ จักมีแก่เขา ผู้เกิดในโลกของเทวดาและมนุษย์ เมื่อเกิดในพุทธเกษตรใด เขาจักเกิดในสัตตรัตนปัทมะ ที่เกิดขึ้นเองในพุทธเกษตรนั้น เบื้องพระพักตร์ของพระตถาคต
ได้ยินว่า เวลานั้น พระโพธิสัตว์นามว่า ปรัชญากูฎะ ได้มาจากทิศเบื้องล่างพุทธเกษตรของ พระประภูติรัตนตถาคต พระองค์ได้กราบทูลพระประภูตรัตนตถาคตอย่างนี้ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอให้พวกเราทั้งหลาย จงไปสู่พุทธเกษตรของตน ได้ยินว่า ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตศากยมุนี ได้ตรัสกับปรัชญากูฏโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนกุลบุตรท่านจงรอครู่หนึ่งขอให้ท่านกับพระโพธิสัตว์มัญชุศรีกุมารภูตะ ร่วมกันวิจฉัยธรรมบางอย่างก่อน แล้วค่อยไปสู่พุทธเกษตรของตน ในภายหลัง ได้ยินว่า ในเวลานั้น พระมัญชุศรีกุมารภูตะ ได้เสด็จขึ้นจากท่ามกลางของสมุทร อันเป็นที่ประทับของพระสาครนาคราช ได้ประทับนั่งบนดอกบัวที่มี 1,000 กลีบ มีขนาดเท่าล้อเกวียน แวดล้อมด้วยพระโพธิสัตว์มากมาย เหาะขึ้นไปทางอากาศไปสู่ที่ใกล้พระผู้มีพระภาค มีภูเขาคิชฌกูฏ ครั้งนั้น พระมัญชุศรีกุมารภูตะ ได้เสด็จลงจากดอกบัวถวายบังคมพระผู้มีพระภาคศากยมุนี และพระประภูตรัตนตถาคต ด้วยเศียรเกล้าแล้วเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ปรัชญาภูฏะ ครั้นเข้าไปแล้ว ได้กล่าวคาถาต่างๆ อันน่ายินดี น่าประทับใจ ณ เบื้องพระพักตร์พระโพธิสัตว์ปรัชญาภูฏะ แล้วจึงประทับนั่งที่ส่วนข้างหนึ่ง ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระปรัชญากูฏโพธิสัตว์ ได้ตรัสกะพระมัญชุศรีกุมารภูตะว่า "ข้าแต่พระมัญชุศรี ธาตุแห่งสัตว์เท่าใด ที่ท่านผู้ไปสู่ท่ามกลางมหาสมุทรได้แนะนำแล้ว สัตว์ทั้งหลายประมาณมิได้ นับมิได้ คือไม่อาจให้รู้ได้ด้วยวาจา และไม่อาจให้หยั่งรู้ได้ด้วยจิต ดูก่อนกุลบุตรท่านจงรอครู่หนึ่ง ท่านจักได้นิมิตในกาลก่อน ในระหว่างที่ พระมัญชุศรีกุมารภูตะตรัสอย่างนี้ ในเวลานั้นดอกบัวหลายพันดอก ได้ผุดจากท่ามกลางมหาสมุทรขึ้นสู่ท้องฟ้า พระโพธิสัตว์หลายพันพระองค์ ได้ประทับนั่งบนดอกบัวเหล่านั้น พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ได้เสด็จไปสู่ภูเขาศิชฌกูฏ ทางอากาศ ครั้นขึ้นไปแล้ว ได้ประทับยืนปรากฏอยู่บนอากาศ พระโพธิสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้นเป็นผู้ที่พระมัญชุศรี อบรมให้ตั้งอยู่ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระโพธิสัตว์เหล่าใด ดำรงอยู่ในมหายานมาก่อน พระโพธิสัตว์เหล่านั้นจักสรรเสริญคุณของมหายานและบารมี 6 พระโพธิสัตว์เหล่าใด เป็นสาวกยานมาก่อน พระโพธิสัตว์เหล่านั้น จักสรรเสริญคุณของสาวกยาน แต่พระโพธิสัตว์ทั้งหมด ย่อมรู้ธรรมและคุณทั้งปวงของมหายานว่าเป็น ศูนยตา ได้ยินว่าครั้งนั้น พระมัญชุศรีกุมารภูตะ ได้ตรัสกะพระโพธิสัตว์ปรัชญากูฏะว่า ดูก่อนกุลบุตร การอบรมสัตว์ทั้งปวงนี้ อันเราได้กระทำแล้ว ชณะที่อยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร ก็การอบรมนั้นยังปรากฏอยู่ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์ปรัชญกูฏะได้ทูลถามพระมัญชุศรีกุมารภูตะ ด้วยเพลงขับเป็นคาถาว่า
47 ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ พระองค์ได้ชื่อว่าบัณฑิต เพราะปัญญาที่ใช้อบรมสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ซึ่งมีจำนวนนับไม่ได้ สิ่งนี้เป็นอานุภาพของใคร ข้าแต่ผู้เป็นเทพแห่งนรชน พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกเหตุนั้นเถิด
48 ท่านได้แสดงธรรมหรือสูตรใด ที่ชี้ทางแห่งโพธิญาณ แก่สัตว์เหล่านี้ ที่ได้ฟังแล้ว มีจิตน้อมไปเพื่อโพธิญาณ จนได้ฐานะที่มั่นคงในพระสัพพัญญุตญาณ
พระมัญชุศรีตรัสตอบว่า เราได้กล่าวสัทธีรรมปุณฑรีกสูตรในท่ามกลางมหาสมุทรเราไม่ได้กล่าวถึงสูตรอื่นใด พระปรัชญากูฎะตรัสว่า "พระสูตรนี้ลึกซึ้ง ละเอียด พิจารณาเห็นได้โดยยาก พระสูตรอื่นใด ที่จะเสมอด้วยพระสูตรนี้ย่อมไม่มี มีสัตว์ผู้ใดบ้างละ ที่สามารถเข้าใจรัตนสูตรนี้เพื่อตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระมัญชุศรีตรัสตอบว่า ดูก่อนกุลบุตร มีพระธิดาของสาครนาคราช ซึ่งมีพระชนมายุ 8 ปี มีปัญญามาก มีอินทรีย์แก่กล้า สมบูรณ์ด้วย กาย วาจา ใจ ที่ได้ฌานมาก่อน เป็นผู้ได้รับธารณี (มนตร์) ด้วยการเรียนทั้งพยัญชนะและอรรถ ที่พระตถาคตทั้งปวงตรัสแล้ว เป็นผู้สามารถเข้าสรรพธรรมสัตวสมาธานสมาธิได้จำนวนพัน เพียงครู่เดียว เป็นผู้น้อมจิตไปสู่โพธิญาณ มีปณิธานอันยิ่งใหญ่ เป็นผู้แทน ความรักของตนให้แก่สัตว์ทั้งปวง เป็นผู้สมควรในการยังคุณธรรมให้เกิดขึ้น พระธิดาย่อมไม่เสื่อมจากคุณธรรมเหล่านั้น พระธิดามีพระพักตร์เบิกบาน ประดับดอกไม้ ลดา สีสวยงามยิ่งเป็นผู้มีจิตเมตตา ทรงกล่าวด้วยวาจา ที่ประกอบด้วยความกรุณา พระธิดาสมควรบรรลุพระโพธิญาณ พระโพธิสัตว์ปรัชญากูฎะตรัสว่า "เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคตถาคตศากยมุนีผู้พยายามอยู่เพื่อพระโพธิญาณ ได้กระทำบุญมิใช่น้อย จนได้เป็นพระโพธิสัตว์ ความเพียรแม้เล็กน้อยก็มิได้ตกหล่น ตลอดหลายพันโกฏิ แผ่นดินและประเทศ แม้ประมาณเมล็ดงาสรรษปะหนึ่ง ย่อมไม่มีในโลกธาตุทั้งสามพันน้อยใหญ่ ที่พระองค์มิได้สละพระสรีระ เพื่อเกื้อกูลแก่สัตว์ภายหลัง เมื่อพระองค์ทรงบรรลุโพธิญาณแล้ว ใครเล่าพึงเชื่อว่าเธอ (ผู้มีทุกข์) จะสามารถบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ ในครู่เดียว ได้ยินว่า ในเวลานั้นพระธิดาของสาครนาคราช ประทับยืนอยู่ข้างหน้า ได้อภิวาทพระบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง เวลานั้น พระธิดาทรงกล่าวคาถานี้ว่า
49 พระสรีระ (ของพระองค์) บริสุทธิ์ ลึกซึ้ง ละเอียดอ่อน ประกอบด้วยลักษณะ32 ประการ เลื่องลือไปทั่วทุกทิศ
50 (สรีระของพระองค์) ประกอบด้วยอนุพยัญชนะที่สมบูรณ์ของความเป็นสัตว์ทั้งปวง จึงเป็นที่สรรเสริญของสัตว์ทั้งปวง ราวกับว่าเป็นตลาดเสื้อผ้า
51 โพธิญาณของข้าพเจ้าได้มาด้วยความปรารถนา ข้อนี้พระตถาคตเป็นพยานของข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้าจักแสดงธรรมที่ปลดเปลื้องความทุกข์ให้พิสดารได้
ได้ยินว่า ในเวลานั้น พระศาริบุตร ผู้มีอายุ ได้กล่าวกับธิดาของพระสาครนาคราชว่า ดูก่อนกุลบุตรี ความคิดในพระโพธิญาณเพียงอย่างเดียวเกิดขึ้นแล้ว (แก่ท่าน) ท่านเป็นผู้มีปัญญาอันประมาณไม่ได้ โดยไม่เสื่อม แต่ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นสิ่งที่ได้โดยยากยิ่ง แต่กุลสตรี ที่ไม่ยอมให้ความเพียรเสื่อมถอย ได้กระทำบุญสิ้นหลายร้อยกัลป์ และหลายพันกัลป์ ได้สร้างบารมี 6 ให้สมบูรณ์ แต่เธอก็ไม่บรรลุพุทธภาวะ แม้ในวันนี้ เพราะอะไร เพราะสตรีย่อมไม่ถึงสถานะ5 แม้ในวันนี้ สถานะ 5 คืออะไรบ้าง? คือที่ 1 สถานะของพรหม ที่2 สถานะของท้าวสักกะ ที่3 สถานะของมหาราช ที่4 สถานะของพระเจ้าจักรพรรดิ และที่5 สถานะของพระโพธิสัตว์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง
ได้ยินว่า เวลานั้น พระธิดาของสาครนาคราช มีแก้วมณีดวงหนึ่ง มีค่าควรแก่หลายพันโลกธาตุ พระธิดาสาครนาคราช ได้ถวายแก้วมณีนั้น แด่พระผู้มีพระภาค เพื่อความอนุเคราะห์ พระผู้มีพระภาคทรงรับแก้วมณีนั้นไว้ พระธิดาสาครนาคราช จึงทรงกล่าวคำนี้กันพระปรัชญากูฏะโพธิสัตว์และพระศาริบุตรเถระว่า "ข้าพเจ้าได้ถวายแก้วมณีนี้ พระผู้มีพระภาคและพระผู้มีพระภาค ทรงรับแก้วมณีนั้นโดยเร็วมิใช่หรือ? พระเถระกล่าวว่า เมื่อท่านถวายโดยพลัน พระผู้มีพระภาค ก็รับโดยพลัน พระธิดาสาครนาคราชจึงตรัสว่า ข้าแต่พระศาริบุตร ผู้เจริญถ้าข้าพเจ้า มีฤทธิ์มาก ข้าพเจ้าพึงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณได้เร็วกว่า ผู้รับแก้วมณีก็จะไม่มี
ในเวลานั้น อินทรีย์แห่งสตรีนั้น ก็อันตรายไปต่อหน้าชาวโลกทั้งปวง และต่อหน้าพระศารีบุตรเถระ อินทรีย์แห่งบุรุษ ก็ปรากฏขึ้น พระธิดาของสาครนาคราช ได้แสดงตนเป็นพระโพธิสัตว์ ในเวลานั้น (พระนาง) ได้เสด็จไปสู่ทิศใต้ ครั้งนั้น ในทิศใต้ มีโลกธาตุ ชื่อว่า วิมล (พระนาง) ได้แสดงตนเป็นองค์พุทธะ ประทับนั่งที่โคนสัตวตรัตนโพธิพฤกษ์ ทรงไว้ซึ่งลักษณะ 32 ประการ ผู้มีรูปประกอบด้วยอนุพยัญชนะทั้งปวง ผู้กำลังแสดงธรรมให้กระจายไปสู่ทิศทั้ง 10 ด้วยพระรัศมี สัตว์เหล่าใด ที่มีอยู่ในสหาโลกเหล่านั้น ย่อมมองเห็นพระตถาคตส่วนเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร มนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย ได้ถวายสักการะบูชาพระองค์ ผู้กำลังแสดงธรรมอยู่ สัตว์เหล่าใด ได้ฟังธรรมของพระตถาคต สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นผู้ไม่เปลี่ยนแปลงในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ วิมลโลกธาตุและสหาโลกธาตุนี้ ได้สั่วไหวเป็น 6 จังหวะ สัตว์ทั้งหลายประมาณสามพันคนในมณฑลบริษัทของพระผู้มีพระภาคศากยมุนี ได้รับขันติธรรมโดยทั่วกัน หมู่สัตว์อีกสามพันคน ได้การพยากรณ์ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ครั้งนั้น พระปรัชญากูฏโพธิสัตว์และพระศาริบุตรเถระได้เป็นผู้สงบแล้ว
บทที่11 สตูปสันทรรศนปริวรรต
ว่าด้วยการทัศนาพระสถูป ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร
อันประเสริฐ มีเพียงเท่านี้
บทที่12 ความเพียรพยายาม
บทที่ 12
อุตสหปริวรรต
ว่าด้วยความเพียรพยายาม
ได้ยินว่า ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ไภษัชยราช กับพระโพธิสัตว์มหาสัตว์มหาประติภาน รวมทั้งพระโพธิสัตว์บริวาร 20 แสนองค์ ได้กล่าววาจานี้ ณ เบื้องพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาคว่า "ขอพระผู้มีพระภาค จงมีความขวนขวายน้อย (อดทน) ในเรื่องนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อพระองค์ทั้งหลาย จักแสดง จักประกาศธรรมบรรยายนี้ ของพระตถาคตผู้ปรินิพพานแล้วแก่สัตว์ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้ว่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้คดโกง จักมีอยู่ในกาลนั้น สัตว์ผู้มีกุศลน้อย มีอหังการมาก ปรารถนาลาภสักการะ อาศัยอกุศลมูล เป็นผู้ฝึกยาก ปราศจากความหลุดพ้น เป็นผู้มากด้วยความยึดมั่น (ไม่หลุดพ้น) ข้าแต่พระผู้มีพระภาคในกาลนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้(พวกเขา) แสดงพลังความอดทน ให้ศึกษา ให้ท่อง ให้อธิบาย ให้เขียน ให้สักการะ ให้เคารพ ให้ยกย่อง ให้บูชา ซึ่งพระสูตรนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักสละกายและชีวิต เพื่อประกาศพระสูตรนี้ ขอพระผู้มีพระภาคจงมีความขวนขวายน้อยเถิด
ในบริษัทนั้น ภิกษุจำนวน 500 รูป ทั้งที่เป็นพระเสขะและอเสขะ ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะพยายาม เพื่อประกาศธรรมบรรยายนี้ แม้ในโลกธาตุเหล่าอื่น ได้ยินว่า พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค ทั้งที่เป็นพระเสขะและพระอเสขะ เป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคได้พยากรณ์ไว้ ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระภิกษุ 8,000 รูปเหล่านั้นทั้งหมด ประคองอัญชลีต่อพระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า "ขอพระผู้มีพระภาค จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักประกาศธรรมบรรยายนี้ เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ในกาลสมัยภายหลัง แม้ในโลกธาตุอื่นข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะในสหาโลกธาตุนี้ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้อหังการมีกุศลน้อย มีจิตวิบัติเป็นนิตย์ เป็นผู้ทุจริต มีธรรมชาติคดโกง
ได้ยินว่า ขณะนั้น พระมหาประชาบดีโคตมี พระภคินีแห่งพระมารดาของพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระภิกษุณี 6,000 รูป กับพระภิกษุณี ที่เป็นเสขะและพระอเสขะลุกจากอาสนะ ประคองอัญชลีต่อพระผู้มีพระภาค แล้วยืนมองพระผู้มีพระภาคอยู่ ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถาม พระมหาประชาบดีโคตมีว่า "ดูก่อนโคตมี ทำไมเธอจึงมีทุกข์ใจยืนมองพระตถาคตอยู่" พระนางกราบทูลว่า "หม่อมฉันไม่ได้รับการเผื่อแผ่ (กระจาย) ไม่ได้รับการพยากรณ์ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ" พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูก่อนโคตมี เธอได้รับคำพยากรณ์พร้อมกับบริษัททั้งปวงแล้ว ดูก่อนโคตมี ต่อไปนี้เธอจักได้รับ จำกระทำการสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ไหว้ แล้วจักได้เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้ประกาศธรรมในสมัยของพระพุทธเจ้า 38 ร้อยพันล้านโกฏิ บรรดาภิกษุณี ที่เป็นเสขะและอเสขะทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่าอื่นอีก 6,000 รูป จักได้เป็นพระโพธิสัตว์ ผู้ประกาศธรรมในสมัยของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น พร้อมกับเธอ จากนั้นเธอ เมื่อยังจรรยาของพระโพธิสัตว์ให้สมบูรณ์ยิ่งๆขึ้น จักได้เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระนามว่า สรรพสัตวปริยทรรศน์ ในโลก เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ไม่มีผู้ใดเปรียบได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนโคตมี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านามว่า สรรพสัตวปริยทรรศน์ นั้น จักพยากรณ์พระโพธิสัตว์ 6พันรูปเหล่านั้น ด้วยการพยากรณ์ที่ยิ่งๆขึ้นในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ภิกษุณี ยโศธรา มารดาของพระราหุล ได้คิดว่า "ชื่อของเรา พระผู้มีพระภาค มิได้แผ่มาถึงเลย พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของภิกษุณียโศธรา (ด้วยจิตของพระองค์) จึงตรัสกับภิกษุยโศธราว่า ดูก่อนยโศธรา เราจักบอกเธอ เราจักประกาศแก่เธอ เธอเมื่อกระทำสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ไหว้ ในสมัยของพระพุทธเจ้าจำนวนหนึ่งหมื่นโกฏิ จักเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประกาศธรรม เมื่อยังจรรยาของพระโพธิสัตว์ให้สมบูรณ์โดยลำดับแล้ว ท่านจักได้เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระนามว่า รัศมีศตสหัสรปริปูรณธวัช ในโลก เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นเสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ไม่มีผู้ใดเปรียบได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม ในภัทรโลกธาตุ ประมาณอายุของพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า รัศมีศตสหัสรปริปูรณธวัช นั้นมีไม่จำกัด
ได้ยินว่า ภิกษุณี มหาประชาบดีโคตมี กับภิกษุณีบริวาร 6.000 รูปและภิกษุณี อโศธรา กับภิกษุณีบริวารอีก 4.000 รูป ที่ได้สดับคำพยากรณ์ของตน ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จากสำนักของพระผู้มีพระภาค ได้ถึงความอัศจรรย์ใจ ประหลาดใจ จึงได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
1 ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์เป็นผู้นำ เป็นผู้แนะนำ เป็นศาสดาของโลก รวมทั้งเทวโลก เป็นผู้ประทานความสำเร็จ เป็นผู้ที่มนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว ข้าแต่พระผู้เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ยินดีแล้วในวันนี้
ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ภิกษุณีเหล่านั้น ได้กล่าวคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้หม่อมฉันทั้งหลาย ก็จักพยายามเพื่อประกาศธรรมบรรยายนี้ ในกาลสมัยภายหลังแม้ในโลกธาตุเหล่าอื่น
พระผู้มีพระภาค ทอดพระเนตรพระโพธิสัตว์เหล่านั้น จำนวนแปดสิบร้อยพันหมื่นโกฏิ ผู้ได้รับความมั่นใจ ผู้หมุนธรรมจักรมิให้หวนกลับ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านั้น ที่พระผู้มีพระภาคทรงเห็นแล้วโดยรอบ ได้ลุกจากอาสนะ ประคองอัญชลีต่อพระผู้มีพระภาคแล้วคิดว่า "พระผู้มีพระภาค คงปรารถนาให้เราทั้งหลาย เพื่อประกาศธรรมบรรยายนี้" พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว เป็นผู้หวั่นไหว ได้กล่าวแก่กันและกันว่า "ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลายเราจะทำอย่างไร พระผู้มีพระภาค ปรารถนาให้พวกเราประกาศธรรมบรรยายนั้นในกาลอนาคต" กุลบุตรเหล่านั้นได้บันลือสีหนาท ด้วยประณิธานจรรยาในกาลก่อนของตน ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ด้วยความเคารพว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในอนาคตกาล เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักไปในทิศทั้ง 10 เพื่อสัตว์ทั้งปวงให้คัดลอก อ่าน พิจารณา ประกาศธรรมบรรยายนี้ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคผู้ประทับในโลกธาตุอื่น ทรงช่วยรักษา คุ้มครอง ป้องกันข้าพระองค์ทั้งหลายด้วย"
พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านั้น ได้กล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
2 ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ในกลียุคสุดท้ายอันน่ากลัว ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักประกาศพระสูตรอันประเสริฐสุดนี้
3 ข้าแต่ท่านผู้นำ ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักอดทน จักอดกลั้น ต่อความพยายามใส่ร้ายจากคำครหา และคำขู่ของคนพาลทั้งหลาย
4 ในปัจฉิมกาล อันน่ากลัว มนุษย์เป็นผู้โง่เขลา คดโกง หลอกลวง อหังการด้วยความเป็นพาล สำคัญตนว่า ได้บรรลุแล้วในสิ่งที่ตนยังไม่บรรลุ
5 ข้าพระองค์ อยู่ป่า นุ่งห่มผ้าขี้ริ้ว ประพฤติไปตามครรลองของชีวิต จักบอกกับคนชั่วอย่างนี้
6 ผู้ที่มีความยึดติด ผู้ปรารถนาในรส แต่เป็นผู้สอนธรรมแก่คฤหัสถ์ จักเป็นผู้ที่คฤหัสถ์ทั้งหลายสักการะราวกับว่าผู้ได้อภิญญา หก
7 คนที่มีจิตโหดร้ายเป็นคนชั่ว คิดถึงแต่ทรัพย์ของคฤหัสถ์ เข้าไปสู่ป่าจักเป็นผู้ปริวาท (ให้ร้าย) พวกข้าพระองค์
8 เดียรถีย์ทั้งหลาย ผู้ปรารถนาลาภสักการะ จักกล่าวถึงพวกข้าพระองค์ว่าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมให้โอวาทว่า ตนมีความรู้
9 ผู้ที่ต้องการลาภสักการะเป็นเหตุปัจจัย ได้แต่งพระสูตรทั้งหลายขึ้นมาเอง ย่อมกล่าวหาพวกข้าพระองค์ ในท่ามกลางบริษัทว่า เป็นผู้ทำลาย
10 (กล่าว) ในทำนองเดียวกันกับพระราชาราชบุตร ราชอำมาตย์ นักบวช คฤหบดี และภิกษุเหล่าอื่น
11 พวกเขาจักกล่าวคำตำหนิพวกเรา ให้ทำตามคำสอนของเดียรถีย์ พวกข้าพระองค์จักอดทนสิ่งทั้งปวง ด้วยความเคารพต่อพระมหาฤษี (พระผู้มีพระภาค)
12 ในกาลนั้น คนโง่ทั้งหลาย จักดูหมิ่นพวกข้าพระองค์ พวกข้าพระองค์จักอดทนโดยประการทั้งปวง จนกว่าคนเหล่านี้จักรู้แจ้ง
13 ในกาลอันเป็นมหาภัยที่ทารุณ ปั่นป่วนและน่ากลัวแห่งกัลป์ ภิกษุจำนวนมากผู้มีรูปดุจยักษ์จักพากันตำหนิพวกข้าพระองค์
14 พวกข้าพระองค์ จักอดทนสิ่งที่กระทำได้ยาก ด้วยความเคารพในพระผู้เป็นใหญ่แห่งโลก จักยับยั้งคำเหยียดหยาม (คำโต้แย้ง) ด้วยขันติแล้วจักประกาศพระสูตรนี้
15 ข้าแต่พระนายกะ (ผู้นำ) ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่มีความต้องการทางกายและชีวิต แต่เป็นผู้มีความปรารถนาในพระโพธิญาณ และจักเป็นผู้รักษามรดกของพระองค์
16 พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ในกาลียุคสุดท้าย ภิกษุชั่วเช่นใดผู้ไม่มีสันธาภาษยะ จักรู้สึกกลัว
17 ข้าพระองค์พึงอดทนต่อการแสดงหน้านิ่ว (คิ้วขมวด) การปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่า การถูกตัดความสัมพันธ์กับอาสนะทองคำ จากวิหารและที่อื่นๆจำนวนมาก
18 ข้าพระองค์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียน ยังระลึกถึงคำสั่งของพระโลกนาถ ในกาลสุดท้ายอยู่ จักประกาศพระสูตรนี้ในท่ามกลางบริษัท
19 ข้าแต่พระนายกะ (พระผู้นำ) ชนเหล่าใด ผู้มีความต้องการ (ธรรม) แต่ยังรู้สึกยังกลัว ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักไปในนคร หมู่บ้านของชนเหล่านั้น ครั้นไปแล้วจักมอบมรดกของพระองค์ (แก่พวกเขา)
20 ข้าแต่พระมหามุนีผู้เป็นใหญ่ในโลก ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักประกาศ หลักธรรมของพระองค์ ของพระองค์ผู้ปรินิพพานแล้ว จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย จงถึงความสงบเถิด
21 พระองค์ทรงหยั่งรู้ความหลุดพ้นของสัตว์ทั้งปวง ผู้เป็นแสงสว่างแห่งโลก ผู้มาแล้วจกาทิศทั้งสิบ และทรงรู้ว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวคำสัตย์จริง
บทที่ 12 อุตสหปริวรรต ว่าด้วยความเพียรพยายาม
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่13 ธรรมเครื่องสุข
บทที่ 13
สุขวิหารปริวรรต
ว่าด้วยธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระมัญชุศรีกุมารภูตะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นสิ่งที่กระทำได้ยากยิ่ง ที่พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านี้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านี้ จะประกาศในกาลสมัยสุดท้าย ได้อย่างไร" เมื่อ พระมัญชุศรีกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับพระมัญชุศรีกุมารภูตะว่า ดูก่อนมัญชุศรี ธรรมบรรยายนี้อันพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมทั้ง 4 พึงประกาศในกาลสมัยสุดท้าย ธรรม 4 คืออะไรบ้าง ดูก่อนมัญชุศรี่ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้ตั้งอยู่ในอาจารโคจร พึงประกาศธรรมบรรยายนี้ในกาลสมัยสุดท้าย ดูก่อนมัญชุศรี พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้ตั้งอยู่ในอาจารโคจร เป็นอย่างไร? ดูก่อนมัญชุศรี พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ เป็นผู้อดทนอย่างไร? เป็นผู้ระงับ เป็นผู้เข้าถึงภูมิแห่งความระงับ เป็นผู้มีใจไม่ตระหนก ไม่วู่วาม ไม่คิดร้าย ดูก่อนมัญชุศรี พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ย่อมไม่ยึดติดในธรรมใดๆ จักพิจารณาเห็นลักษณะของตน ตามความเป็นจริงในธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ไม่วิจารณ์ เป็นผู้ไม่ตรวจสอบในธรรมเหล่านี้ ดูก่อนมัญชุศรี เราเรียกสิ่งนี้ว่า อาจาระ ของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ดูก่อนมัญชุศรี (วิสัย) ของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์เป็นอย่างไร ดูก่อนมัญชุศรี พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ไม่รับใช้ ไม่สามาคม ไม่คบ ไม่เข้าใกล้ ไม่เข้าหาพระราชา ราชบุตร ราชอำมาตย์ ราชบุรุษ ไม่รับใช้เดียรถีย์ อเจลกะ ปริพาชก อาชีวกและนิครนถ์อื่น หรือสัตว์ทั้งหลาย ผู้หลงใหลในกาพย์ศาสตร์ (วรรณคดี) ไม่คบ ไม่เข้าหา ไม่รับใช้ ผู้นิยมมนตร์ของโลกายัต (ของจารวาก) และผู้นับถือลัทธิโลกายัต ย่อมไม่สร้างความสัมพันธ์ กับชนเหล่านั้น ไม่เยี่ยมคนจัณฑาล น้ำมวยปล้ำ คนเลี้ยงสุกร คนเลี้ยงไก่ คนล่ากวาง คนล่าเนื้อ นักฟ้อนระบำ นักกระบี่กระบอง และนักรำดาบ ไม่เข้าไปสู่สถานที่อื่น อันเป็นแหล่งบันเทิงและเล่นกีฬาของชนเหล่าอื่น ไม่ควรสมาคมกับชนเหล่านั้น นอกจากสอนธรรมตามกาลแก่ชนเหล่านั้น ผู้เข้ามาหา ย่อมสอนโดยไม่หวัง(ทรัพย์) ไม่รับใช้ ไม่คบ ไม่เข้าหา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ปฏิบัติตามลัทธิสาวกยาน ไม่สมาคมกับชนเหล่านั้น ไม่ร่วมโคจรด้วยความตั้งใจกับชนเหล่านั้น ในที่เดินจงกรมหรือในที่พัก (วิหาร) นอกจากสอนธรรมตามกาลแก่ชนเหล่านั้น ผู้เข้ามาหา ย่อมสอนโดยไม่หวัง (ทรัพย์) ดูก่อนมัญชุศรี นี่คือโคจรของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์
ดูก่อนมัญชุศรี ยิ่งกว่านั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ย่อมไม่ยึดถือนิมิตความเรียบร้อยอย่างอื่น แล้วแสดงธรรมบ่อยๆ ไม่เป็นผู้ปรารถนาจะพบมาตุคามบ่อยๆ ไม่เข้าไปหาตระกูลทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวกับเด็กหญิงบ่อยๆ ไม่ควรสนิทสนมกับเด็กสาวหรือหญิงสาว ไม่ควรแสดงธรรมแก่กระเทย ไม่ควรสมาคมและสนิทสนมกับกระเทยนั้น ไม่ควรไปบ้านเพียงผู้เดียว เพื่อประโยชน์แก่ภิกษา นอกจากยังภาวนาระลึกถึงพระตถาคตอยู่ ถ้าจะแสดงธรรมแก่มาตุคามอีกในที่สุด เขาไม่ควรแสดงธรรม ด้วยความเสน่หาในธรรม จะป่วยกล่าวไปไย ด้วยความเสน่หาในสตรีอีกเล่า โดยที่สุด แม้วลีแห่งฟัน(หัวเราะ)ก็ไม่ควรแสดง จะป่วยกล่าวไปไย ถึงการแสดงความเปลี่ยนแปลงใบหน้าของผู้พบเห็นกันอีกเล่า ย่อมไม่ใกล้ชิดกับสามเณร สามเณรี ภิกษุ ภิกษุณี กุมารและกุมารี ไม่สมาคมและไม่สนทนากับชนเหล่านั้น ไม่เน้นหนักในการสนทนา โต้ตอบ อมคบหาด้วยการสนทนาโต้ตอบชั่วขณะ ดูก่อนมัญชุศรี นี้แหละที่เรียกว่า โคจรข้อที่หนึ่งของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์
ดูก่อนมัญชุศรี ยิ่งกว่านั้นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ย่อมเห็นธรรมทั้งปวงว่า เป็นศูนยตา ย่อมเห็นธรรมทั้งหลาย ว่าตั้งอยู่ตามความเป็นจริง มีสถานะที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีสถานะที่เป็นจริง ไม่คลอนแคลน ไม่หวั่นไหว ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่ถอยกลับ มีสถานะที่เป็นจริง มีภาวะเป็นอากาศอยู่เหนือคติที่จะกล่าวถึง ไม่เกิด ไม่มี ไม่มีจริง มีรวมกัน ไม่ต่อเนื่องกัน ดำรงอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถจะรวมนำมากล่าวด้วยถ้อยคำที่ไม่ประจักษ์ ซึ่งปรากฏตรงข้ามกับความรู้ (เห็นผิด) ดูก่อนมัญชุศรี พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ย่อมพิจารณาธรรมทั้งปวงบ่อยๆ เมื่ออยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ย่อมตั้งอยู่ในโคจร ดูก่อนมัญชุศรี โคจรนี้เองเป็นฐานะที่สองของพระโพธิสัตว์
ได้ยินว่า ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาค เพื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้ ด้วยมาตราจำนวนมากจึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
1 พระโพธิสัตว์ ผู้ไม่หวั่นไหว ผู้แกล้วกล้า พึงปรารถนาประกาศพระสูตรนี้ ในกาลภายหลังที่โหดร้าย
2 พระโพธิสัตว์ พึงรักษาอาจาระและโคจร พึงสร้างความบริสุทธิ์ พึงงดเว้นการสมาคม (สดุดี) กับพระราชาและราชบุตรเป็นนิตย์
3 ไม่พึงสมาคมกับราชบุรุษทั้งหลาย ไม่ควรคบกับคนจัณฑาลและนักมวย รวมทั้งนักเลงสุราและพวกเดียรถีย์โดยประการทั้งปวง
4 ไม่ควรเป็นคนมีอหังการ ควรตั้งมั่นในคัมภีร์วินัย ควรเว้นจากภิกษุผู้ทุศีล ผู้สมมุติตนว่า เป็นพระอรหันต์
5 พึงหลีกเลี่ยงภิกษุณี ผู้มีโคจรด้วยถ้อยคำร่าเริงเป็นนิตย์ พึงงดเว้นอุบาสิกาผู้มีความเสื่อมเป็นที่ปรากฏ
6 อุบาสิกาเหล่าใด แสวงหาความประพฤติในธรรมที่ประจักษ์ พระโพธิสัตว์ควรสมาคมกับอุบาสิกาเหล่านั้น อย่างนี้เรียกว่าอาจาระของพระโพธิสัตว์
7 บุคคลใดเข้าไปหาพระโพธิสัตว์นี้ แล้วถามธรรมในพระโพธิญาณอันประเสริฐ พระโพธิสัตว์ ผู้เป็นปราชญ์ไม่หวั่นไหว(ลาภ) พึงบอก(ธรรม) แก่ผู้นั้นทุกเมื่อ หลีกเลี่ยงหญิงสาวและกุมารีในตระกูลทั้งหลาย
8 ไม่พึงให้สตรีเหล่านั้น ยินดีว่า ขอกุศลจงเกิดเพื่อถามถึงความสุข พึงเว้นการสมาคมกับคนเลี้ยงหมูและแพะ
9 ชนเหล่าใด เบียดเบียนสัตว์ต่างๆ เพราะต้องการทรัพย์ ชนเหล่าใด ขายเนื้อแก่ร้านค้า พระโพธิสัตว์พึงเว้นการสมาคมกับชนเหล่านี้
10 พระโพธิสัตว์ พึง เว้นจากการสมาคมกับบุคคลเป็นพ่อเล้า (แม่เล้า) (ผู้เลี้ยงดูโสเภณี) นักฟ้อน นักรำกระบี่กระบอง นักรำดาบ และชนเหล่าอื่นที่เป็นที่เป็นเช่นนั้น
11 ชนอื่นใด ที่มีความประพฤติเพื่อทรัพย์ พระโพธิสัตว์ ไม่ควรคบหาชนเหล่านั้น พึงงดเว้นการสนทนาโต้ตอบกับชนเหล่านั้น โดยประการทั้งปวง
12 บัณฑิต เมื่อจะแสดงธรรมแก่มาตุคาม ไม่พึงไปเพียงผู้เดียว ไม่ควรหยอกล้อกับสตรี
13 ถ้ามีความต้องการอาหาร จำเป็นต้องเข้าไปสู่หมู่บ้านบ่อยๆ ภิกษุพึงมีภิกษุรูปที่สองเดินทางไปด้วย หรือพึงระลึกถึงพระพุทธเจ้า
14 ฐานะที่หนึ่ง คืออาจารโคจรนี้ ที่เราแสดงแล้ว ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ที่ทรงจำพระสูตรเช่นนี้ ย่อมดำรงอยู่ด้วยฐานะที่หนึ่ง
15 เมื่อบุคคลไม่ประพฤติธรรม ในชนชั้นต่ำ ชนชั้นสูงและชนชั้นกลาง ที่รวมกันหรือแยกกัน ที่เป็นจริง หรือไม่เป็นจริง โดยประการทั้งปวง
16 ผู้ฉลาด ย่อมไม่จำแนกว่า นี่คือสตรี ไม่กำหนดว่า นี่คือบุรุษ เมื่อแสวงหาธรรมทั้งปวง ย่อมไม่พบจากสิ่งที่ยังไม่เกิด
17 เพราะว่า สิ่งนี้เรียกว่าอาจาระของพระโพธิสัตว์ทั้งปวง โคจรเป็นอย่างไร ขอท่านทั้งหลาย จงฟังโคจรของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จากการประกาศ(ของเรา)
18 ธรรมเหล่านี้ทั้งปวง เราประกาศแล้วว่า ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เกิด ไม่มีความปรารถนา เป็นศูนยตา ตั้งอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ นี้เรียกว่าโคจรของบัณฑิตทั้งหลาย
19 ชนเหล่านี้ ผู้มีความรู้ที่เปลี่ยนแปลง(เห็นผิด) ถูกกำหนดแล้วว่า มีหรือไม่มี จริงหรือไม่จริง เป็นสิ่งตั้งมั่น ธรรมที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้นแล้ว เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดให้เปลี่ยนแปลงไป
20 ผู้มีจิตเลิศเป็นหนึ่ง จิตตั้งมั่นในกาลทุกเมื่อ เป็นผู้มั่นคงราวกับยอดเขาสุเมรุ ผู้ตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ พึงพิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงเหล่านั้นว่าเป็นอากาศธาตุ
21 ธรรมทั้งหลายที่ตั้งอยู่ตลอดกาล เสมอด้วยอากาศ ไร้สาร ไม่เคลื่อนไหว ปราศจากการปรากฏ นี้แลเรียกว่า โคจรของบัณฑิตทั้งหลาย
23 ภิกษุผู้รักษาครรลองความประพฤติอันงดงาม (ในศาสนา) ของเรา เมื่อเรานิพพานแล้วพึงประกาศพระสูตรนี้ในโลก ความเหน็ดเหนื่อยของภิกษุ ก็จะไม่มี
24 บัณฑิต ผู้คิดอยู่ตามกาล พึงเข้าไปสู่ที่อาศัย ครั้นเข้าไปแล้วอย่างนั้น จงพิจารณาธรรมนี้ทั้งปวง ด้วยอุบายอันแยบคาย เมื่อมีจิตไม่หวั่นไหวแล้วจึงลุกขึ้นแสดงธรรม
นอกจากนั้น พระมัญชุศรีโพธิสัตว์มหาสัตว์ เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ในกาลสมัยสุดท้าย เมื่อพระสัทธรรมเสื่อมลง ประสงค์จะประการธรรมบรรยายนี้ จึงดำรงอยู่ด้วยความสุข พระโพธิสัตว์ผู้ดำรงอยู่ด้วยความสุขนั้นจักกล่าวธรรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ (ที่เป็นไปทางกายและเป็นไปทางคัมภีร์) เมื่อจะแสดงธรรม ไม่ควรวิจารณ์คัมภีร์ของบุคคลอื่น ไม่ควรตำหนิภิกษุ ผู้แสดงธรรมรูปอื่นๆ ไม่ควรพูดถึงปมด้อย ไม่พูดถึงเรื่อที่ไม่ดี (ของบุคคลอื่น) เมื่อเอ่ยชื่อของภิกษุสาวกยานเหล่าอื่น ไม่ควรกล่าวถึงเรื่องที่ร้าย ไม่วิจารณ์เรื่องที่ไม่ดี ไม่อาฆาตผู้ที่เป็นปรปักษ์ ในสำนักของนิกายเหล่านั้น เพราะเหตุไร? เพราะสถานการณ์กำลังอยู่ในความสงบสุข พระโพธิสัตว์นั้น ย่อมแสดงธรรมด้วยความอนุเคราะห์แก่ผู้ฟังธรรมที่มาแล้วโดยไม่ให้เกิดเฉพาะ (บุคคล) ที่ไม่โต้แย้ง เมื่อถูกถามปัญหา ไม่ควรตอบตามแบบสาวกยาน แต่ควรหลีกเลี่ยงเหมือนผู้บรรลุพระพุทธญาณแล้ว
ได้ยินว่า เวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
26 ผู้ฉลาด ดำรงอยู่ด้วยความสุข ในกาลทุกเมื่อ กระทำความโอบอ้อมอารีที่ได้มาด้วยปัญญา ให้เป็นอาสนะนั่งอย่างสบาย แล้วกล่าวธรรมในประเทศคือแผ่นดินที่ชำระแล้ว ซึ่งรู้ได้ด้วยใจ
27 ผู้ฉลาดนั้น ครองจีวรที่ชำระแล้ว ย้อมดีแล้ว ด้วยสีอย่างดี สละผ้าสีดำที่ไม่ควรใช้ แล้งครองผ้าสีอันมีประมาณมาก
28 เมื่อนั่งบนอาสนะ ซึ่งมีที่วางเท้าห่อหุ้มด้วยผ้าอันวิจิตร มีศีรษะและใบหน้าที่เบิกบาน ได้ยกเท้าที่ชำระแล้วขึ้น
29 เมื่อนั่งบนอาสนะแล้ว และเมื่อสัตว์ผู้มีความประสงค์อย่างเดียวกันมาพร้อมแล้ว จึงบรรยายธรรมกถา อันวิจิตรจำนวนมาก แก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย
30 บัณฑิตนั้น เมื่อถูกชนทั้งหลายถามปัญหา ย่อมแสดงอรรถนั้น โดยลำดับอีก เขาจะแสดงธรรมที่มีประโยชน์ เพื่อให้ผู้ฟังได้พระโพธิญาณในภพ
32 ผู้เป็นบัณฑิต พึงเว้นจากความเหน็ดเหนื่อย ไม่ยังความรู้สึกอ่อนเพลียให้เกิดขึ้น พึงงดเว้นความไม่ยินดีทั้งปวง พึงยังพลังแห่งเมตตาให้เกิดขึ้นแก่บริษัท
33 บัณฑิตนั้น พึงกล่าวธรรมอันเลิศทั้งกลางวันและกลางคืน ด้วยตัวอย่างหลายหมื่นโกฏิ พึงยังบริษัท ให้ร่าเริง ยินดี โดยไม่คิดและไม่ปรารถนาสิ่งใด
34 บัณฑิต ไม่พึงคิดถึงขาทนียะ โภชนียะ อาหาร เครื่องดื่ม ผ้า ที่นอน ที่นั่ง จีวร และคิลานเภษัช ไม่พึงปรารถนาสิ่งใดจากบริษัท
35 ผู้ฉลาดพึงคิดเสมอว่าเราจะยังสัตว์เหล่านี้ให้เป็นพุทธะได้อย่างไร เราประกาศธรรมใด เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก ธรรมนั้นต้องเป็นที่ตั้งแห่งความสุขของสัตว์เสมอ
36 เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ภิกษุผู้ไม่มีความริษยา พึงประกาศธรรมนี้ เธอย่อมไม่มี ความทุกข์ อันตราย ความเสร้าและความคับแค้นใจใดๆ
37 ใครๆไม่พึงทำให้เธอนั้นสะดุ้ง ไม่พีงทุบตี ไม่พึงกล่าวร้ายเธอ เสียงขับไล่ก็ไม่เกิดแก่เขา เพราะเธอดำรงอยู่ด้วยขันติธรรม
38 บัณฑิตย่อมดำรงอยู่ด้วยความสุข เหมือนอย่างที่เรากล่าวแล้วว่า บัณฑิตผู้ดำรงอยู่อย่างนี้ ย่อมเจริญด้วยคุณหลายร้อยโกฏิ จนไม่อาจจะพรรณาได้ในเวลาร้อยกัลป์
ยิ่งกว่านั้น พระมัญชุศรีโพธิสัตว์มหาสัตว์ เมื่อพระตถาคตพระนิพพานแล้ว ผู้อยู่ในกาลสุดท้ายแห่งความเสื่อมของพระสัทธรรม พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้รักษาพระสูตรนี้ เป็นผู้ไม่ริษยา ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ไม่กล่าวตำหนิติเตียน ไม่ดูหมิ่นบุคคลผู้นับถือโพธิสัตวยานเหล่าอื่น ไม่เปิดเผยความชั่วของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้นับถือสาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตวยานเหล่าอื่นว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลายยังอยู่ไกล จากอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ท่านทั้งหลายย่อมไม่ประจักษ์ในพระโพธิญาณนั้น ท่านย่อมอยู่ในความประมาทอย่างยิ่ง ท่านไม่มีกำลังที่จะตรัสรู้พระโพธิญาณ เขาไม่ควรเปิดเผยความชั่วของผู้นับถือโพธิสัตวยานคนใด เป็นผู้ไม่ยินดีในการวิวาท เพราะธรรมย่อมไม่ก่อธรรมวิวาทกับใครๆ ไม่ละเว้นพลังแห่งเมตตา ในสำนักของสัตว์ทั้งปวง ย่อมยังความรู้คุณบิดา ให้เกิดขึ้นในสำนักของพระตถาคตทั้งปวง ยังการรู้คุณพระศาสดา ให้เกิดขึ้นในสำนักของพระโพธิสัตว์ทั้งปวง พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่าใดในโลกทั้ง 10 ทิศ เขานอบน้อมแสดงธรรมที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ด้วยความเคารพ ด้วยใจเป็นกลางบ่อยๆ เมื่อจะแสดงธรรมเขาย่อมแสดงธรรมที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ด้วยความรักในธรรมที่สม่ำเสมอ เมื่อจะประกาศธรรมบรรยายนี้ เขาย่อมไม่จับเอาเฉพาะตอนที่ดียิ่งเพราะใจรักในธรรมเป็นที่สุด
ดูก่อนมัญชุศรี พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้ประกอบด้วยธรรมข้อที่สามนี้ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ตรงกับกาลที่พระสัทธรรมเสื่อมถอย เมื่อจะประกาศธรรมบรรยายนี้ ย่อมอยู่อย่างมีความสุข เป็นผู้มีจิตที่ไม่ถูกเบียดเบียน ย่อมประกาศธรรมบรรยายนี้ ในการสนทนาธรรมของเธอย่อมมีสหายทั้งหลาย ผู้ฟังธีรรมของเธอก็จักเกิดขึ้น ชนผู้ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ย่อมเกิดศรัทธา ศึกษา ท่องจำ อ่าน เขียน คัดลอก กระทำเป็นคัมภีร์ สักการะ เคารพนับถือ บูชา
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ที่ยิ่งขึ้นว่า
39 บัณฑิต ผู้ปรารถนาจะประกาศพระสูตรนี้ ควรละการคดโกง การถือตัว การหลอกลวงโดยสิ้นเชิง และไม่พึงก่อความริษยาต่อผู้ใด
40 (บัณฑิต) ย่อมไม่กล่าวโทษใครๆ ไม่ก่อนวิวาท เพราะเหตุแห่งทฤษฎี ไม่ควรสร้างปมด้วยแก่ใครๆว่า ท่านยังไม่ได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
41 (บัณฑิต) เป็นผู้มีความชื่อตรง อ่อนโยน มีความอดทน เป็นบุตรของพระสุคต เมื่อแสดงธรรมนี้บ่อยๆ ความเหน็ดเหนื่อยแม้สักนิดย่อมไม่มีแก่ตน
42 พระโพธิสัตว์ในทิศทั้ง 10 ย่อมเที่ยวไปในโลกเพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์ พระโพธิสัตว์ทั้งปวงเป็นศาสดาของเรา บัณฑิตพึงยังความเคารพให้เกิดในพระโพธิสัตว์เหล่านั้น
43 เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เหนือกว่ามนุษย์ พึงสร้างความรู้สึกในพระชินเจ้าทั้งหลายว่า เป็นบิดาอยู่เนืองนิตย์ เมื่อละความรู้สึกอหังการทั้งปวงเสียได้ อันตรายก็จะไม่มีแก่ตน
44 บัณฑิตเมื่อได้ฟังธรรมเห็นปานนี้แล้ว พึงรักษา (ธรรม) บัณฑิตนั้นผู้มีใจตั้งมั่นด้วยการอยู่อย่างมีความสุข สัตว์จำนวนหลายโกฏิย่อมคุ้มครอง
ยิ่งกว่านั้น พระมัญุชุศรีโพธิสัตว์มหาสัตว์ เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว กาลสุดท้ายแห่งการเสื่อมของพระสัทธรรมก็มาถึง ภิกษุผู้ประสงค์จะรักษาพระธรรมบรรยายนี้ ควรอยู่ให้ห่างจากความใกล้ชิดกับคฤหัสถ์และนักบวช(อื่น) ควรอยู่ด้วยวิหารธรรมคือ เมตตา สัตว์เหล่าใดดำรงอยู่เพื่อโพธิญาณ ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นในที่ใกล้ของสัตว์เหล่านั้น ภิกษุนั้นพึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า โอ สัตว์เหล่านี้ มีความรู้ผิดเป็นอย่างมาก เขายังไม่ได้ฟัง ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ถาม ไม่เชื่อ สันธาภาษิต อันเป็นกุศโลบายของพระตถาคต เขาจึงยังไม่หลุดพ้น สัตว์เหล่านี้ย่อมไม่ตระหนัก ไม่เข้าใจ ธรรมบรรยายนี้ เราซึ่งเป็นผู้ดำรงอยู่ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จักยังสัตว์เหล่านั้นให้เลิก ให้ถึง ให้หยั่งลง และให้มีอุปนิสัยแก่กล้า ในพระโพธิญาณนั้น
ดูก่อนมัญชุศรี เมื่อพระตถาคตนิพพานแล้ว พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้ประกอบด้วยธรรมสี่ประการนี้ เมื่อประกาศธรรมบรรยายนี้ ก็จะไม่ถูกเบียดเบียน จะได้รับการสักการะ เคารพนับถือ และบูชา จากภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชบุตร ราชอำมาตย์ มหามนตรีของพระราชา ชาวนิคม ชนบท พราหมณ์ และคฤหัสถ์ทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายผู้เที่ยวไปในท้องฟ้า มีศรัทธาก็จักติดตามมาเพื่อฟังธรรม เทวบุตรทั้งหลาย ก็จักติดตามมาเพื่อรักษาผู้อยู่ในหมู่บ้านหรือวิหาร เขาทั้งหลาย ผู้ถามถึงธรรม ย่อมเข้าไปหาทั้งกลางวันและกลางคืน พวกเขาเป็นผู้มีใจฟูขึ้น ยินดีด้วยคำพยากรณ์ของตถาคต เพราะเหตุไร ดูก่อนมัญชุศรีเพระธรรมบรรยายนี้ ได้ตั้งมั่นเพื่อพระพุทธเจ้าทั้งปวง ธรรมบรรยายนี้ ได้ตั้งมั่นเป็นนิตย์ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในอดีตและปัจจุบัน ดูก่อนมัญชุศรีสัพท์หรือเสียงที่เอ่ยชื่อของธรรมบรรยายนี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยาก ในโลกธาตุทั้งหลายจำนวนมาก
ดุก่อนมัญชุศรี เหมือนพระราชาผู้เป็นจักรพรรดิแห่งกองทัพ ซึ่งได้ราชสมบัติ ด้วยการใช้กำลัง พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูของพระองค์ ได้ก่อสงครามกับพระราชาองค์นั้น มีทหารหน่วยต่างๆในกองทัพ ของพระราชาที่เป็นจักรพรรดินั้น ทหารเหล่านั้นจักต่อสู้กับศัตรูเหล่านั้น พระราชานั้น เมื่อมีใจปีติยินดี จึงพระราชทานรางวัลต่างๆ แก่ทหารเหล่านั้น เช่น บ้าน ที่ดินในหมู่บ้าน เมือง ที่ดินในเมือง เสื้อผ้า หมวก สร้อยมือ สร้อยเท้า สร้อยคอ ตุ้มหู สร้อยทองคำ มุกผสม เงิน ทองคำ มณี มุกดา ไพทูรย์ สังข์ และประพาฬ ช้าง ม้า รถทาส ชาย หญิง ยาน และเกี้ยว แต่พระองค์ มิได้มอบจุฑามณี (เพชรประดับมงกุฎ) แก่ใครๆ เพราะเหตุไร เพราะจุฑามณีนั้นไป กำลังกองทัพทั้ง 4 ของพระราชา จะถึงความอัศจรรย์และประหลาดใจ ดูก่อนมัญชุศรี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นธรรมสวามีผู้เป็นธรรมราชา ทรงครองธรรมราชสมบัติโดยธรรมในโลกธาตุทั้งสาม ที่พระองค์ทรงชนะได้ด้วยกำลังพระพาหาของพระองค์เอง และทรงชนะได้ด้วยกำลังแห่งบุญ มารผู้ชั่วร้าย ย่อมรุกรานโลกธาตุทั้งสามของพระองค์ ทหารชั้นเลิศของพระตถาคตก็ต่อสู้กับมาร ดูก่อนมัญชุศรี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นธรรมสวามี ธรรมราชา ได้เห็นการต่อสู้ของทหารชั้นเลิศเหล่านั้น จึงได้ตรัสพระสูตรต่างๆ จำนวนหนึ่งแสน เพื่อประโยชน์ เพื่อความยินดีของบริษัททั้ง 4 พระองค์ทรงประทานมหานครแห่งธรรมอันเป็นนครแห่งพระนิพพานแก่พวกเขา พระองค์ยังพวกเขาให้ได้ความสุข พระองค์จะไม่ตรัสธรรมบรรยายเห็นปานนี้อีก ดูก่อนมัญชุศรีพระราชานั้น ผู้เป็นจักรพรรดิแห่งกองทัพ ได้ประหลาดใจกับการกระทำอันยิ่งใหญ่ เยี่ยงวีรบุรุษของทหารเหล่านั้น ที่กำลังสู้รบอยู่ จึงได้ประทานทรัพย์ของพระองค์ทั้งปวง ที่สุดแม้จุฑามณีที่รักษาไว้เป็นเวลานาน ยังดำรงอยู่บนพระเศียรของพระราชานั้น ดูก่อนมัญชุศรี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นธรรมราชาในไตรโลก ปกครองราชสมบัติโดยธรรมสมัยใดทรงเห็นพระสาวกพระโพธิสัตว์ กำลังต่อสู้อยู่กับมารแห่งอินทรีย์ 5 หรือมาร 3 คือกิเลส เมื่อต่อสู้อยู่กับมารเหล่านั้น พวกเขาก็สิ้นราคะโทสะ โมหะ สลัดออกจากไตรโลกทั้งปวงได้ทรงฆ่ามารทั้งปวง ได้สร้างมหาบุรุษขึ้น ในกาลนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ปราศจากราคะ เป็นผู้พอพระทัย จักตรัสธรรมบรรยายนี้ ซึ่งเป็นศัตรูของโลกทั้งปวง ไม่เป็นที่ศรัทธาของโลกทั้งปวง ที่ไม่เคยตรัสมาก่อน ไม่เคยแสดงมาก่อน พระตถาคตทรงประทานเพชรประดาบมงกุฎ ที่จะนำมาซึ่งพระสัพพัญญุตญาณแก่พระสาวกทั้งปวง ดูก่อนมัญชุศรี นี้คือ การแสดงธรรมอันประเสริฐของพระตถาคต และนี้คือธรรมบรรยายสุดท้ายของพระตถาคต บรรดาธรรมบรรยายทั้งปวง นี้คือธรรมบรรยายที่ลึกซึ้งกว่าธรรมทั้งปวง เป็นศัตรูของโลกทั้งปวง ดูก่อนมัญชุศรี พระตถาคตก็เหมือนกับพระราชาผู้เป็นจักรพรรดิแห่งกองทัพ ทรงถอดจุฑามณีที่รักษาไว้นานพระราชทานแก่ทหารทั้งปวง ดูก่อนมัญชุศรี พระตถาคตจักแสดงธรรมประเสริฐนี้ซึ่งเป็นธรรมที่ลึกซึ้งเก็บรักษาไว้นาน ดำรงอยู่สูงสุดกว่าธรรมบรรยายทั้งปวง ที่พระตถาคตรู้แจ้ง วันนี้จึงได้ประกาศพระสูตรนี้
45 พระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้โดยมาตราบท จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้แสดงกำลังแห่งเมตตา ผู้มีความกรุณาต่อสัตว์ทั้งปวง พึงประกาศธรรมเห็นปานนี้ ซึ่งเป็นพระสูตรอันประเสริฐ ที่พระตถาคตทั้งหลายสดุดีแล้ว
46 คฤหัสถ์ นักบวชและพระโพธิสัตว์ ผู้อยู่ในกาลสุดท้าย เขาควรเป็นผู้แผ่กำลังแห่งเมตตาในสัตว์ทั้งหลาย เพราะสัตว์เหล่านั้นจะปฏิเสธการฟังธรรม
47 ส่วนเรา แม้มีความกลัวเมื่อบรรลุพระโพธิญาณ ดำรงอยู่ในความเป็นพระตถาคต ก็ยังมุ่งมั่นให้สรรพสัตว์ได้ฟังพระโพธิญาณอันประเสริฐนี้
48 พระราชา ผู้เป็นจักรพรรดิแห่งกองทัพ ผู้มีความยินดี ได้พระราชทานสิ่งของต่างๆมีเงิน ทอง ช้าง ม้า รถ ประชาชน เมือง หมู่บ้าน แก่ทหารทั้งหลาย
49 พระองค์ผู้มีความยินดี ได้พระราชทานเครื่องอาภรณ์ประดับมือ เงินทอง สร้อยทอง มุกดามณี สังข์และประวาฬ แก่ทหารบางพวก พระองค์ผู้ยินดียังได้พระราชทานข้าทาสอีกจำนวนมาก
50 พระองค์ทรงประหลาดใจอย่างยิ่ง กับทหารบางคนผู้มีความโหดเหี้ยมสูงสุด(กล้าหาญอย่างยิ่ง) เมื่อทราบว่า เขาได้ทำสิ่งที่น่าอัศจรรย์ถึงเพียงนี้ จึงทรงถอดมงกุฎพระราชทานมณี(ที่มงกุฎให้แก่เขา)
51 พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชา ผู้มีกำลังแห่งขันติ ผู้เป็นคลังแห่งปัญญา ผู้มีเมตตา กรุณาต่อมิตร
52 เราได้เห็น สัตว์ทั้งหลาย ผู้ถูกเบียดเบียนอยู่ เพื่อยังความกล้าหาญให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ผู้ทำลายกิเลสเสียได้ จึงได้ตรัสพระสูตรจำนวนหลายพันโกฏิ
53 แม้พระธรรมราชา ผู้เป็นแพทย์ที่ยิ่งใหญ่ ได้ตรัสธรรมบรรยายจำนวนหลายพันโกฏิ ทราบว่าสัตว์ทั้งหลาย มีกำลัง มีความรู้ จึงได้แสดงพระสูตรนี้ ซึ่งเป็นดุจจุฑามณี
54 เราจะกล่าวถึงพระสูตรนี้ อันเป็นสูตรสุดท้าย เป็นสูตรที่เลิศกว่าพระสูตรทั้งปวงของเรา แก่ชาวโลก เราจักให้ฟังพระสูตรนั้น ซึ่งเราเก็บรักษาไว้อย่างดี ไมเคยกล่าวมาก่อน ขอท่านทั้งปวงจงตั้งใจฟังพระสูตรนั้นในวันนี้
55 ธรรมทั้งหลายเห็นปานนี้ทั้ง 4 ที่บุคคลควรปฏิบัติ เมื่อเรานิพพานแล้ว ชนเหล่าใดมีความปรารถนา ควรกระทำความพยายามสูงสุดในพระโพธิญาณอันประเสริฐเพื่อเรา
56 พวกเขาย่อมไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีอุปสรรค ไม่มีความเจ็บไข้ที่ทนได้ยาก ผิวพรรณของเขาก็ไม่ดำ เขาไม่อยู่ในเมืองที่เสื่อมโทรม
57 พระมหามุนีพระองค์นั้น ผู้เป็นปริทรรศน์ ได้รับการบูชาราวกับพระตถาคต พระองค์จักมีเทวบุตรทั้งหลาย เป็นอุปัฏฐากอยู่เป็นนิจ
58 ศาสตรา ยาพิษ ท่อนไม้ ก้อนดิน จักไม่ทำอันตรายแก่เขา ปากของผู้ที่กล่าวคำครหาแก่เขาก็จักถูกปิดสนิท
59 เข้าผู้เกิดมาในโลก ได้เป็นเครือญาติของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเที่ยวไปทั่วพื้นพิภพ เป็นผู้ทรงจำพระสูตรนี้ไว้ เมื่อเรานิพพานแล้ว จะเป็นผู้กำจัดความมืดบอดของสัตว์จำนวนหลายโกฏิ
60 เขาได้เห็นพระพุทธรูป ภิกษุ ภิกษุณี อาตมภาวะ(ร่าง) ที่สถิตบนสิงหาสน์ ในสุบินนิมิต เพื่อประกาศธรรมอันมีประการต่างๆ
61 เขาได้เห็นเทวดา ยักษ์ อสูร นาค มีประมาณเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคามีประการต่างๆ เขาย่อมกล่าวธรรมอันประเสริฐแก่ชนเหล่านั้นทั้งหมด ผู้ประคองอัญชลีอยู่ในสุบินนิมิต
62 เขาได้เห็นพระตถาคต ที่ทรงเปล่งพระรัศมีจำนวนหลายพัน ผู้เป็นพระนาถะ ผู้มีวรรณะดุจทอง มีพระสุรเสียงไพเราะ กำลังแสดงธรรมแก่หมู่สัตว์จำนวนหลายพันโกฏิ
63 เขาผู้ยืนประคองอัญชลียกย่องพระมุนีว่า เป็นผู้สูงสุดกว่ามนุษย์ (สัตว์สองเท้า) ขณะที่พระชินเจ้า ผู้เป็นนายแพทย์ที่ยิ่งใหญ่ได้ตรัสธรรมอันเลิศแก่บริษัททั้ง 4
64 เขาเมื่อได้ฟัง (ธรรม) แล้วก็มีความยินดีปราโมทย์ ได้ทำการบูชา(แด่พระตถาคต) เมื่อได้สัมผัสโพธิญาณ อันไม่เสื่อมคลายอย่างรวดเร็ว ชื่อว่าย่อมบรรลุ(การถือเอา)ความฝัน
65 พระโลกนาถทรงทราบว่า เขาเป็นผู้มีใจเป็นกุศล จึงพยากรณ์เขาไว้ในความที่เป็นผู้นำแห่งบุรุษ ดูก่อนกุลบุตร ในอนาคตกาล เขาจักสัมผัสพระโพธิญาณอันเป็นบรมสุขยิ่งกว่า
66 พุทธเกษตรอันกว้างใหญ่และบริษัท จักมีแก่ท่านเหมือนอย่างที่เรามี เขาทั้งหลายจักประคองอัญชลี ด้วยความเคารพ ฟังธรรมอันพิสดารและไม่มีโทษ(จากท่าน)
67 เขาเมื่อเจริญธรรมอยู่ในถ้ำบนภูเขา ก็จะได้เห็นภาวะแห่งตน (อาตมภาวะ) เขาครั้นเจริญ (ภาวนา) แล้วจะได้สมาธิ สัมผัสพระธรรมตามภาวะของธรรมชาติ แล้วจักเห็นพระชินเจ้า
68 เขาได้เห็น (พระพุทธองค์) ผู้มีวรรณะดุจทองมีบุณยลักษณะ 100 ประการในความฝัน ก็จักได้ฟังธรรม ครั้นฟังแล้ว ก็จักได้ประกาศธรรมนั้นแก่บริษัท รูปแบบอย่างนี้เองได้เป็นความฝันของเขา
69 ในความฝัน เขาได้สละราชสมบัติทั้งปวง ในที่สุดแม้เพื่อนและคณะญาติ ครั้นสละบ้านทั้งปวงแล้ว ได้ปลีกตนเข้าไปสู่มณฑลแห่งโพธิพฤกษ์
70 เขาผู้มีความต้องการด้วยพระโพธิญาณ จึงนั่งอยู่บนสิงหาสน์ที่โคนต้นไม้นั้น จนถึงวันที่ 7 จึงเข้าถึงความรู้ของพระตถาคตทั้งหลาย
71 เมื่อบรรลุพระโพธิญาณแล้ว เขาก็ลุกจากที่นั้น เพื่อหมุนวงล้อแห่งความสุข (ไม่มีทุกข์) จึงแสดงธรรมแก่บริษัท 4 ตลอดหลายพันโกฏิจนคำนวณไม่ได้
72 ครั้นประกาศ (ธรรม) แล้ว เขาได้เผยแผ่ธรรมอันเป็นบรมสุขให้แก่หมู่สัตว์จำนวนหลายพันโกฏิ ดุจประทีปที่แพร่ขยายไปในยุคแห่งความมืด (ในยุคเสื่อมเหตุผล) นี้คือรูปแห่งความฝัน (ของเขา)
73 เสียงชักชวนของพระมัญชุศรี มีประโยชน์เป็นอย่างมาก จนหาที่สุดมิได้แก่ผู้ที่ประกาศธรรมอันประเสริฐ ที่เราได้แสดงไว้ดีแล้ว ในกาลสุดท้าย
***********
บทที่ 13 สุขวิหารปริวรรต ว่าด้วยธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่14 พระโพธิสัตว์ผุดขึ้น
บทที่ 14
โพธิสัตวปฤถิวีวิวรสมุทคมปริวรรต
ว่าด้วยพระโพธิสัตว์ผุดขึ้นจากรอยแยกของแผ่นดิน
บรรดาพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ผู้มาจากโลกธาตุอื่น สมัยนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคาทั้ง 8 ได้ผุดขึ้นจากมณฑลของบริษัทนั้น พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ประคองอัญชลี เฉพาะเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค นมัสการพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลพระองค์ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตแก่พวกข้าพระองค์ พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย จักประกาศ อ่าน เขียน และบูชาธรรมบรรยายนี้ในสหาโลกธาตุ เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ข้าพระองค์เพียรพยายามในธรรมบรรยายนี้ เป็นการดีที่พระผู้มีพระภาค ทรงอนุญาตธรรมบรรยายนี้ แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระโพธิสัตว์เหล่านั้นว่า พอละ กุลบุตรทั้งหลาย ประโยชน์อะไรกับการกระทำเช่นนี้ แก่ท่านทั้งหลาย ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ในสหาโลกธาตุ เรามีพระโพธิสัตว์หมายพันองค์ มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายใน 60 คงคานที เป็นบริวารของพระโพธิสัตว์แต่ละองค์ บรรดาพระโพธิสัตว์เหล่านั้น พระโพธิสัตว์หลายพันองค์ มีจำนวนเท่ากันเมล็ดทรายใน 60 คงคานที พระโพธิสัตว์แต่ละองค์ก็มีบริวารเท่านี้เช่นกัน ในกาลสมัยหลัง เมื่อเราปรินิพพานแล้ว พระโพธิสัตว์เหล่านั้น จักรักษา ท่อง และประกาศธรรมบรรยายนี้
ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ สหาโลกธาตุนี้ ได้แยกกว้างออกโดยรอบ พระโพธิสัตว์หลายร้อยพันหมื่นโกฏิ มีผิวกายดุจทองคำ ประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ ผุดขึ้นจากรอยแยกเหล่านั้น พระโพธิสัตว์เหล่านั้น อยู่ในโลกธาตุภายใต้พื้นพิภพนี้ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์เหล่านั้น อาศัยโลกธาตุนี้ เมื่อได้ฟังพระสุรเสียงเห็นปานนี้ของพระผู้มีพระภาค จึงได้ลุกจากภายใต้พื้นพิภพ พระโพธิสัตว์แต่ละองค์ มีพระโพธิสัตว์เท่าจำนวนเมล็ดทรายใน 60 คงคานที เป็นบริวาร เป็นคณะ เป็นมหาคณะ และเป็นคณาจารย์ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่มีคณะ มหาคณะ และคณาจารย์เหล่านั้น ที่ผุดขึ้นจากรอยแยกของธรณีแห่งโลกธาตุนี้ ยังมีพระโพธิสัตว์อีกจำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิเท่ากับเมล็ดทรายใน 60 คงคานที จะป่วยกล่าวไปไย ถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่มีพระโพธิสัตว์เท่าเมล็ดทรายใน 50 คงคานทีเป็นบริวาร จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ที่มีพระโพธิสัตว์เท่าเมล็ดทรายใน 40 คงคานที เป็นบริวาร จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ที่มีพระโพธิสัตว์เท่าเมล็ดทรายใน 30 คงคานทีเป็นบริวาร จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ที่มีพระโพธิสัตว์เท่าเมล็ดทรายใน 20 คงคานทีเป็นบริวาร จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ที่มีพระโพธิสัตว์เท่าเมล็ดทรายใน 10 คงคานทีเป็นบริวาร จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ที่มีพระโพธิสัตว์เท่าเมล็ดทรายใน5,4,3,และ2 คงคานทีเป็นบริวาร จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ที่มีพระโพธิสัตว์เท่าเมล็ดทรายใน1 หรือ 2 คงคานทีเป็นบริวาร จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ที่พระโพธิสัตว์เท่าเมล็ดทรายใน 1 หรือ 2 คงคานที เป็นบริวาร จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ที่มีพระโพธิสัตว์เท่าเมล็ดทรายใน
1/4, 1/6, 1/8, 1/10, 1/20, 1/30, 1/40, 1/50, 1/100, 1/1,000, 1/1,0000, 1/1,000,000, 1/100,000,000, 1/1,000,000,000, 1/100,000*100,000, 1/100,000*10,000*10,0000 คงคานทีเป็นบริวาร จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่มีพระโพธิสัตว์จำนวนมากถึงแสนหมื่นโกฏิเป็นบริวาร จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่มีบริวารหนึ่งโกฏิ จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่มีบริวารจำนวนแสนจะป่วยกล่าวไปใยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่มีบริวารจำนวนพัน จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่มีบริวารจำนวนห้าร้อย จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่มีบริวารจำนวน 400 ,300, 200, จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่มีบริวารจำนวน100 จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่มีบริวารจำนวน50 ฯลฯ จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้มีพระโพธิสัตว์จำนวน 40,30,20,10,4,3,และ2 เป็นบริวาร จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้มีตนเป็นที่สอง (มีบริวาร 1 องค์) จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้อยู่องค์เดียว ไม่มีบริวาร ไม่อาจจะนับ คำนวณ และอุปมาพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่ผุดขึ้นจากรอยแยกของธรณีในสหาโลกธาตุนี้ได้ พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ที่ผุดขึ้นมาตามลำดับ ได้เข้าไปสู่มหารัตนสถูป ที่ตั้งอยู่บนท้องฟ้า ซึ่งเป็นที่พระประภูตรัตนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว ประทับอยู่(พระองค์) ประทับนั่งบนสิงหาสน์ร่วมกับพระผู้มีพระภาคศากยมุนีตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระบาทของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ และรูปของพระตถาคตทั้งหลายอันเป็นนิมิตแทนองค์ทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคศากยมุนีตถาคต ผู้เข้าสู่สิงหาสน์ที่โคนต้นรัตนพฤกษ์ต่างๆ ที่อยู่ในโลกธาตุเหล่าอื่นทั้ง 10 ทิศโดยรอบ เมื่อถวายบังคม นมัสการพระตถาคตทั้งปวง เป็นแสนครั้งมิใช่น้อย ได้กระทำประทักษิณพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สดุดีด้วยบทสรรเสริญพระโพธิสัตว์ต่างๆ แล้วนั่งอยู่ในที่สุดข้างหนึ่ง พระโพธิสัตว์เหล่านั้นได้ประคองอัญชลี กระทำนมัสการ พระผู้มีพระภาคศากยมุนี ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระผู้มีพระภาคประภูตรัตนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อหน้าพระพักตร์
สมัยนั้น ตลอดเวลา 50 กัลป์ผ่านไป ที่พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านั้น ผุดขึ้นจากรอยแยกของพื้นพิภพ และนมัสการพระตถาคต สดุดีด้วยบทสรรเสริญพระโพธิสัตว์ด้วยประการต่างๆ ในระหว่าง 50 กัลป์นั้น พระผู้มีพระภาคศากยมุนี ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับโดยดุษฎี บริษัท 5 เหล่านั้นได้หยั่งลงสู่การดุษฎีโดยภาวะ ตลอด 50 กัลป์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้สร้างรูปอย่างนั้นขึ้น ด้วยจินตนาการแห่งฤทธิ์ ต่อมาบริษัททั้ง4 ยังแต่ละรูปที่ตนภักดีให้เกิดขึ้น เพราะรูปนั้นได้สมบูรณ์ด้วยจินตนาการแห่งฤทธิ์ (บริษัท 4) ได้เห็นสหาโลกธาตุนี้ที่มีรูปเป็นอากาศธาตุจำนวนแสน ที่เต็มไปด้วยพระโพธิสัตว์ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ 4 องค์ คือ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นามว่า วิศิษฏจาริตระ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นามว่า อนันตจาริตระ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นามว่า วิศุทธจาริตระ และพระโพธิสัตว์มหาสัตว์นามว่า สุประติษฐิจาริตระ ได้เป็นประมุขคณะของพระโพธิสัตว์จำนวนมาก และกลุ่มของพระโพธิสัตว์จำนวนมาก พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้ง 4 องค์นั้น ได้เป็นประมุขคณะของพระโพธิสัตว์จำนวนมาก และกลุ่มของพระโพธิสัตว์อีกจำนวนมาก ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้ง 4 ได้ยืนอยู่หน้าคณะของพระโพธิสัตว์จำนวนมาก และหน้ากลุ่มพระโพธิสัตว์อีกจำนวนมาก ได้ประคองอัญชลีต่อเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า อาพาธเพียงเล็กน้อย ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย และผัสสะ ความเป็นของพระผู้มีพระภาคเป็นอย่างไรบ้าง? ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สัตว์ทั้งหลาย มีอาการดี เชื่อฟัง มีวินัย และมีความสุขดีอยู่หรือ? ขอสัตว์เหล่านั้น จงอย่าสร้างความทุกข์ให้แก่พระผู้มีพระภาคเลย
พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้ง 4 ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
1 ข้าแต่พระโลกนาถ ผู้สร้างแสงสว่าง พระองค์ทรงเป็นอยู่ด้วยความสุขหรือพระองค์เป็นผู้พ้นแล้วจากการอาพาธ ผัสสะในพระวรกายของพระองค์ไม่มีความทุกข์หรือ?
2 สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้มีอาการดี มีวินัย และสบายใจดี จงอย่างทำความทุกข์แก่พระโลกนาถ ผู้ตรัสดีแล้ว
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้ง 4 ผู้เป็นประมุขของคณะพระโพธิสัตว์คณะใหญ่ และของกลุ่มพระโพธิสัตว์กลุ่มใหญ่นั้นว่า เป็นเช่นนั้นกุลบุตรทั้งหลาย เป็นเช่นนั้น เราอาพาธเล็กน้อย มีความเหน็ดเหนื่อยบ้าง แต่ร่างกายและความเป็นอยู่สบายดี สัตว์เหล่านั้นก็เหมือนกัน มีอาการดี เชื่อฟัง มีวินัย ชำระใจบริสุทธิ์ สัตว์เหล่านั้น เมื่ออบรมอยู่ก็ไม่สร้างความทุกข์ให้แก่เรา ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร? ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสัตว์เหล่านั้น มีบริกรรมที่ได้กระทำแล้ว ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต เพราะว่าจากการได้เห็น จากการได้ฟัง พวกเขาจะหลุดพ้นก้าวลงสู่และเข้าถึง พุทธญาณของเรา สัตว์เหล่าใดได้ปฏิบัติในสาวกภูมิ หรือปัจเจกพุทธภูมิ เราจะยังสัตว์เหล่านั้นให้หยั่งลงสู่พุทธญาณและได้สดับประโยชน์สูงสุด
ในเวลานั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
3 ดีละ ดีละ พระมหาวีระ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ย่อมยินดีที่ว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นอยู่ปกติดี มีวินัย จิตใจบริสุทธิ์
4 ข้าแต่พระนายกะ พวกเขาทั้งหลาย ญาณอันลึกซึ้งนี้ ของพระองค์ ข้าแต่พระนายกะ พวกเขาครั้นได้ฟังแล้ว ย่อมหลุดพ้น ก้าวลงสู่ (พระโพธิญาณ)
เมื่อกล่าวดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ให้สาธุการแก่พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้ง 4 ผู้เป็นประมุขของคณะพระโพธิสัตว์คณะใหญ่นั้น และผู้เป็นประมุขของพระโพธิสัตว์กลุ่มใหญ่ว่า ดีละ ดีละ กุลบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมยินดีกับพระตถาคต
ได้ยินว่า สมัยนั้น พระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ และพระโพธิสัตว์จำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิ ซึ่งเปรียบได้กับเมล็ดทรายในคงคานทีทั้ง 8 ได้เกิดความคิดขึ้นว่า คณะใหญ่และกลุ่มใหญ่ของพระโพธิสัตว์นี้ เราไม่เคยเห็นเลย เราไม่เคยได้ยินว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผุดขึ้นจากรอยแยกของพื้นพิภพ ยืนอยู่เบื้องหน้าของพระผู้มีพระภาค ทำสักการะ เคารพ นับถือ บูชา พระตถาคต และยินดีกับพระตถาคต พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านั้น มาจากที่ใดหนอ?
พระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ ทรงทราบการสนทนาที่สงสัยกันด้วยพระองค์เอง ทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตด้วยจิตของพระโพธิสัตว์จำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิ มีจำนวนเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ในเวลานั้นเอง จึงประคองอัญชลี แล้วกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยบทเพลงเป็นคาถาว่า
5 พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย มีจำนวนหลายพันหมื่นโกฏิ ไม่มีที่สิ้นสุด ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ ขอพระองค์ทรงเล่าถึงพระโพธิสัตว์เหล่านั้น ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
6 ผู้มีฤทธิ์มากเหล่านี้ มาจากไหน อย่างไร โดยรูปมหาอาตมภาวะ มาจากที่ไหน?
7 พระมหามุนีเหล่านี้ เป็นผู้มีปัญญา มีสติ มีรูปเป็นที่ชื่นชมด้วยความรัก ทั้งปวงมาจากที่ไหน?
8 ข้าแต่พระผู้เป็นใหญ่ในโลก บริวารของพระโพธิสัตว์ผู้ฉลาดแต่ละองค์ ประมาณมิได้ มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา
9 บริวารทั้งหมดของพระโพธิสัตว์มียศสมบูรณ์ทั้งหกสิบ มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำ คงคาทั้งหกสิบ เป็นผู้ดำรองอยู่ในพระโพธิญาณ
10 บริวารเห็นปานนี้ของพระโพธิสัตว์ เป็นผู้กล้าหาญ มีบริษัท 4 จำนวนประมาณเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคาทั้ง 60
11 พระโพธิสัตว์เหล่าอื่น ซึ่งมีมากกว่านี้ พร้อมกับริวารติดตาม มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา50, 40,30
12 บริวารโดยรอบของพระโพธิสัตว์ มีจำนวนเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา 20 พระโพธิสัตว์เหล่าอื่นมีบริวารมากกว่านั้นคือมีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา 10 และ 5
13 ข้าแต่พระนายกะ บริวารของพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นพุทธบุตรแต่ละองค์ มีจำนวนมากในวันนี้ บริษัทที่มีจำนวนเท่านี้ มาจากไหน?
14 บริวารทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ ที่ติดตามของพระโพธิสัตว์แต่ละองค์ มีจำนวนเท่เมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา สี่บ้าง สามบ้าง สองบ้าง
15 ยิ่งกว่านั้น พระโพธิสัตว์เหล่าอื่น ซึ่งมีจำนวนมากกว่า จนนับไม่ถ้วน ไม่สามารถจะเปรียบเทียบได้ ในพันโกฏิกัลป์
16 บริวารของพระโพธิสัตว์ผู้กล้าหาญ ผู้ป้องกันรักษามีจำนวนเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา 1/2, 1/3, 1/10, และ1/20
17 นอกจากนั้น บรรดาพระโพธิสัตว์เหล่านั้น ยังมีพระโพธิสัตว์อื่นอีกจำนวนมากที่ผู้อยู่แต่ละองค์ ไม่สามารถจะทรายได้โดยการประมาณด้วยร้อยโกฏิแห่งกัลป์
18 นอกจากนั้น พระโพธิสัตว์เหล่าอื่นอีกจำนวนมาก พร้อมกับบริวารติดตามจำนวนโกฏิโกฏิกับครึ่งโกฏิ
19 พระโพธิสัตว์เหล่าอื่น เกินกว่าที่จะนับของมหาฤษีจำนวนมาก เป็นผู้มีปัญญาตั้งมั่น ทั้งหมดควรแก่ความเคารพ
20 บริวารจำนวนพัน จำนวนร้อย และจำนวนสิบ ของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น ไม่สามารถจะนับได้ด้วยร้อยโกฏิกัลป์
21 ส่วนบริวารของผู้กล้าทั้งหลาย มีจำนวน 20 ,10, 5,4,3,2 จนไม่สามารถจะทราบได้ด้วยการนับ
22 ส่วนผู้มีตนผู้เดียวเที่ยวไป และคนหนึ่งๆย่อมต้องการความสงบ ไม่สามารถจะนับชนเหล่านั้น ผู้มาในที่นี้ได้
23 แม้บุคคลผู้มีสลากในมือ ก็ไม่สามารจะนับพระโพธิสัตว์เหล่านั้นให้จบสิ้นได้ ตลอดเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา
24 กำเนิดของพระโพธิสัตว์ ผู้กล้า ผู้มีตนเป็นใหญ่ ผู้มีความเพียร และผู้ป้องกันรักษา เหล่านี้ทั้งหมด มาจากที่ไหน?
25 ใครเป็นผู้แสดงธรรมแก่เขา ใครให้เขาตั้งอยู่ในพระโพธิญาณ เขาพอใจคำสอนของใคร และเขาดำรงรักษาคำสอนของใคร?
26 พระมุนีทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์ มีปัญญามาก ผู้ฉลาด ได้ทำลายพื้นพิภพทั้งหมดทั้ง 4 ทิศโดยรอบ ผุดขึ้นมาแล้ว
27 ข้าแต่พระมุนี โลกธาตุนี้ ที่พระโพธิสัตว์ผู้ฉลาดทั้งหลายเหล่านั้น ผุดขึ้นมา ทำให้เป็นรอยแตกโดยรอบ
28 บางครั้งเหตุการณ์เหล่านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยเห็น ข้าแต่พระวินายกะ ขอพระองค์จงบอกชื่อโลกธาตุนี้แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
29 ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้เที่ยวไปสู่ทิศน้อยใหญ่ครั้งแล้วครั้งเล่า ตั้งแต่กาลไหนๆ ข้าพระองค์ไม่เคยพบพระโพธิสัตว์เหล่านี้
30 ใครเป็นบุตรของพระองค์ ที่ข้าพระองค์ไม่เคยเห็นมาก่อน วันนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นพระโพธิสัตว์เหล่านี้โดยพลัน ข้าแต่พระมุนี ขอพระองค์จงเล่าเรื่องนี้ด้วยเถิด
31 พระโพธิสัตว์ทั้งหมดหลายพันร้อยหมื่นต่างประหลาดใจ มองดูพระผู้ประเสริฐเหนือมนุษย์
32 ข้าแต่พระมหาวีระ ที่หาผู้เสมอเหมือนมิได้ ผู้ทรงคุณธรรม ของพระองค์จงอธิบาย ให้แจ่มแจ้งด้วยว่า พระโพธิสัตว์ผุ้กล้า(ฉลาด) ทั้งหลายเหล่านี้ มาจากไหน?
ก็โดยสมัยนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิ ผู้มาจากโลกธาตุอื่น ซึ่งเป็นรูปนิมิตของพระผู้มีพระภาคศากมุนีตถาคต ที่แสดงธรรมแก่สัตว์ในโลกธาตุอื่นอยู่ เข้าไปนั่งสามาธิที่มหารัตนสิงหาสน์ โคนต้นรัตนพฤกษ์จากทิศทั้ง 8 โดยรอบของพระผู้มีพระภาคศากยมุนีตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และอุปัฎฐากของตนๆของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้เห็นคณะพระโพธิสัตว์และกลุ่มพระโพธิสัตว์จำนวนมาก ทีผุดขึ้นจากรอยแยกของพื้นพิภพโดยรอบ แล้วสถิตอยู่ในอากาศธาตุ ได้ถึงความประหลาดใจ ได้ตามพระตถาคตของคนๆว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระโพธิสัตว์มหาสัตว์มากมายเพียงนี้ ประมาณมิได้ นับมิได้ ย่อมมาจากที่ไหน? เมื่อได้ยินดังนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงได้ตรัสกับอปัฏฐากของตนๆว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงรอสักครู่ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นามว่า พระไมเตรยนี้ ได้รับการพยากรณ์ไว้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในอนาคต จากพระผู้มีพระภาคศากยมุนี เขาจะถามข้อความนี้กับพระผู้มีพระภาคศากยมุนีตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระผู้มีพระภาคศากมุนีตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจักพยากรณ์ ท่านทั้งหลายจงฟังในขณะนั้นเถิด
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดีละ ดีละ อชิตะ ดูก่อนอชิตะ ขอท่านจงอย่างถามเรื่องที่ลึกซึ้งอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับพระโพธิสัตว์ทั้งปวงว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งปวงจงตั้งใจ จงนั่งตามสบาย มีกำลังที่แข็งแรง ทั้งหมดนี้คือคณะของพระโพธิสัตว์ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จักประกาศการค้นพบพระโพธิญาณของพระตถาคต ที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว รวมทั้งความทุกข์ กรรม ความร่าเริง ความหงอยเหงา และความกล้าหาญของพระตถาคต
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
33 ดูก่อนกุลบุตร ท่านทั้งปวงจงตั้งใจ เราจะกล่าววาจาอันไม่เปลี่ยนแปลงนี้ ดูก่อนบัณฑิตทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอย่างทะเลาะกันเลย เพราะพระโพธิญาณของของพระตถาคตเป็นอจินไตย
34 ท่านทั้งปวงเป็นผู้มีปัญญา มีสติตั้งมั่นเสมอ มั่นคงในทุกสถาน ทันนี้ท่านจักได้ฟังธรรมที่ยังไม่เคยได้ฟังมาก่อน ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของพระตถาคตทั้งหลาย
35 ท่านทั้งปวงจงอย่างสร้างความสงสัยขึ้นมาเลย เพราะเราจะให้ท่านดำรงอยู่อย่างมั่นคง เราเป็นผู้นำ เป็นผู้มีวาจาที่ไม่เปลี่ยนแปลง ความรู้ของเราไม่สามารถจะนับได้
36 ธรรมทั้งหลายเป็นสิ่งลึกซึ้ง ที่พระสุคตได้ตรัสรู้แล้ว เป็นธรรมที่อยู่เหนือเหตุผลและประมาณการไม่ได้ วันนี้ เราประกาศธรรมนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟังว่าธรรมนั้นเป็นอย่างไร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาเหล่านี้แล้ว ได้ตรัสกาบพระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนอชิตะ เราพอใจท่าน เรารู้ ดูก่อนอชิตะ พระโพธิสัตว์เหล่านี้ ประมาณไม่ได้ นับไม่ได้จินตการไม่ได้ เปรียบเทียบไม่ได้ คำนวณไม่ได้ ที่ท่านไม่เคยเห็นมาก่อน ได้ก้าวขึ้นมาจาก รอยแยกของพื้นพิภพ ดูก่อนอชิตะ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งปวงเหล่านี้ ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมาสัมโพธิญาณ ในสหโลกธาตุนี้ เราเป็นผู้รบเร้าให้พลัง ให้เกิดความพอใจ ให้น้อมไปในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ กุลบุตรเหล่านี้ เราเป็นผู้อบรม ให้ตั้งอยู่ ให้เข้าถึง ให้ตั้งมั่น ให้หยั่งลง ให้รู้แจ้ง และให้บริสุทธิ์ในธรรมของพระโพธิสัตว์นี้ ดูก่อนอชิตะ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านี้ย่อมอาศัยอยู่บนกลุ่มอากาศภายใต้สหาโลกธาตุนี้ กุลบุตรเหล่านี้เป็นผู้คิดและกำหนดใจทบทวนบทเรียนของตน ไม่ยินดีกับการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่ยินดีกับการสมาคม ไม่ละทิ้งหน้าที่ของตน ปรารภความเพียรอย่างยิ่งยวด ดูก่อนอชิตะ กุลบุตรเหล่านี้ยินดีในความวิเวกยินดีในความสงบ กุลบุตรเหล่านี้ ไม่ยินดีในการสมาคม ย่อมไม่อยู่ในที่อาศัยของเทวดาและมนุษย์ กุลบุตรเหล่านี้ พอใจยินดีในธรรม จำกัดตนไว้ในพุทธญาณเท่านั้น ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
37 พระโพธิสัตว์เหล่านี้ เปรียบเทียบมิได้ คำนวณมิได้ ประมาณมิได้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยฤทธิ์ ปัญญา และศรุตะ ปฏิบัติเพื่อพระโพธิญาณอยู่หลายโกฏิกัลป์
38 เราได้อบรมพระโพธิสัตว์เหล่านี้เพื่อพระโพธิญาณ พระโพธิสัตว์หล่านี้ได้อาศัยอยู่ในพุทธเกษตรของเรา เราได้อบรมพระโพธิสัตว์เหล่านี้ทั้งหมด เพราะพระโพธิสัตว์เหล่านี้เป็นบุตรของเรา
39 พระโพธิสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยธุดงควัตร ย่อมหลีกเลี่ยงพื้นที่ของสังคมบุตรของเราเหล่านี้ ไม่จาริกไปกับหมู่คณะ ติดตามศึกษาวินัย (ความประพฤติ) อันสูงสุดของเรา
40 ผู้กล้าเหล่านี้อาศัยอยู่ที่ส่วนหนึ่งของอากาศธาตุ เที่ยวไปภายใต้พุทธเกษตรเพื่อบรรลุพระโพธิญาณอันประเสริฐนี้ จึงไม่ประมาท พยายามทั้งกลางวันและกลางคืน
41 พระโพธิสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้ปรารภความเพียร มีสติ มีพลังแห่งปัญญา ตั้งมั่นในสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ พวกเธอเป็นผู้มีปัญญา ย่อมแสดงธรรม เพราะว่าพวกเธอทั้งหมด เป็นผู้งดงามด้วนแสงสว่างและเป็นบุตรของเรา
42 เราผู้บรรลุโพธิญาณอันประเสริฐนี้ ที่โคนต้นไม้แห่งเมืองคยา ได้หมุนธรรมจักรอันประเสริฐ แล้วอบรมพวกเธอทั้งหมดไว้ในพระโพธิญาณอันประเสริฐนี้
43 คำพูดของเรานี้ไม่คลาดเคลื่อน ท่านทั้งปวงจงฟังและจงเชื่อเราเถิด เราเองได้อบรมท่านทั้งปวงไว้ในพระโพธิญาณอันประเสริฐ ซึ่งเราได้บรรลุมานานแล้ว
ขณะนั้น พระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ และพระโพธิสัตว์อีกจำนวนวนมาก หลายร้อยพันหมื่นโกฏิได้ถึงความอัศจรรย์ ประหลาดใจ สงสัยอยู่ว่า พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เล่านี้มีจำนวนนับไม่ได้ พระผู้มีพระภาคอบรมให้ถึงพร้อมในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยการอยู่เพียงครู่หนึ่ง ซึ่งเป็นเวลาเพียงเล็กน้อย ได้อย่างไร? ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไมเตรยะ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค กาลนี้เป็นอย่างไร? เมื่อพระตถาคตยังเป็นพระกุมาร ได้ออกจานครศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์ ไปสู่หลักชัยอันประเสริฐคือโคนต้นโพธิ์ไกลจากนครคยา แล้วได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค กาลนั้นในวันนี้ ได้ล่วงเลยมา 40 กว่าปีแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเป็นอย่างไร หน้าที่ของพระตถาคตที่กำหนดนับไม่ได้นี้ พระตถาคตทำสำเร็จได้ด้วยเวลาเพียงเท่านี้ ควรเป็นผู้นำและความกล้าหาญของพระตถาคต พระตถาคตได้แสดงออกแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคคณะของพระโพธิสัตว์มีประมาณเท่านี้ กลุ่มของพระโพธิสัตว์ก็มีประมาณเท่านั้น พระตถาคตอบรมให้พร้อมตั้งอยู่ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยเวลาเพียงเล็กน้อยได้อย่างไร? ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ที่สุดแห่งการนับคณะของพระโพธิสัตว์และกลุ่มของพระโพธิสัตว์นี้ ด้วยร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ ย่อมไม่ได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านี้ ที่ประมาณมิได้อย่างนี้ ได้ประพฤติพรหมจรรย์มาเป็นเวลานาน จนไม่สามารถจะนับได้ มีกุศลมูลที่ถึงความเป็นเลิศ ในสำนักของพระพุทธเจ้าจำนวนมาก หลายร้อยพันองค์ ได้ถึงพร้อมแล้วในหลายร้อยพันกัลป์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุรุษบางคนเพิ่งเข้าสู่วัยหนุ่ม มีเส้นผมดำอยู่ในวัยที่หนึ่ง ถือกำเนิดได้เพียง 25 ปี เขาแสดงบุตรอายุ 100 ปี (ของเขา) กล่าวว่า กุลบุตรเหล่านี้คือ บุตรของเรา บุรุษทั้งหลายทีมีอายุ 100 ปี เหล่านั้นกล่าวว่า ผู้นี้คือบิดาผู้ให้กำเนิดของเรา ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คำพูดของบุรุษนั้น เป็นสิงที่ไม่น่าเชื่อถือ ยากที่ชาวโลกเชื่อถือได้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณไม่นานนี้เอง พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านี้มีจำนวนมากจนประมาณมิได้ ประพฤติพรหมจรรย์จนแตกฉาน ตลอดหลายร้อยพันโกฏิกัลป์ เป็นผู้เข้าถึงกาลบริกรรมในมหาอภิญญา เป็นผู้ทำการบริกรรมในมหาอภิญญา เป็นบัณฑิตในพุทธภูมิเป็นผู้ฉลาดในบทเพลงแห่งธรรมของพระตถาคต เป็นผู้มีพลังอันน่าอัศจรรย์ เป็นผู้ถึงความตั้งมั่นแห่งพลังความเพียร อันยิ่งใหญ่ของชาวโลก พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับกุลบุตรเหล่านั้นว่า ตั้งแต่ต้น พระโพธิสัตว์เหล่านี้ เราได้ให้ถึงพร้อม มีอำนาจ ให้การอบรมจนน้อมลงสู่โพธิสัตว์ภูมินี้การเข้าถึงความเพียงทั้งปวงนี้ เราผู้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้กระทำสำเร็จแล้วข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักถึงคำสอนของพระตถาคตด้วยศรัทธาได้อย่างไรว่า พระดำรัสของพระตถาคตย่อมไม่เปลี่ยนแปลง พระตถาคตพึงยังประโยชน์นี้ให้เกิดเถิด ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ผู้ดำรงอยู่ในยานใหม่ๆย่อมยังความสงสัยให้เกิดขึ้น ในสถานะนั้น เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ผู้ฟังธรรมบรรยายนี้แล้ว จักไม่ยอมรับ ไม่เชื่อ และไม่เลื่อมใส ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ชนเหล่านั้น จักมาเพื่อเปลี่ยนแปลงพิธีกรรม ที่เป็นไปเพื่อละทิ้งธรรม ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ดีละ ขอพระองค์ทรงชี้แจงเรื่องนี้ด้วยเถิด ข้าพระองค์ทั้งหลาย พึงอยู่ในธรรมวินัยนี้ด้วยความไม่สงสัย ในอนาคตกาล กุลบุตรหรือกุลธิดาทั้งหลาย ผู้อยู่ในโพธิสัตวยานจะไม่เกิดความสงสัย
ในเวลานั้น พระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
44 ท่านประสูติที่เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นศากยะ ได้ออกบวชจนท่านบรรลุพระพิญาณ ที่เมืองคยา ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุนี้เกิดขึ้นไม่นานนี้เอง
45 ข้าแต่พระอารยะ ชนผู้เป็นบัณฑิตจำนวนมาก เป็นคณะใหญ่ ประพฤติธรรมมาแล้วชั่วโกฏิกัลป์ ตั้งมั่นในพลังแห่งฤทธิ์ ไม่หวั่นไหว ศึกษาดีแล้ว เป็นผู้ถึงคติในพลังแห่งปัญญา
46 เขาเหล่านั้นเป็นผู้ไม่เปรอะเปื้อน เหมือนที่ไม่เปื้อนด้วยน้ำ ได้ทำลายพื้นพิภพผุดขึ้นมาในวันนี้ ทั้งหมดเป็นผู้มีสติ ที่ยืนประคองอัญชลี ด้วยความเคารพนั้นคือบุตรของพระโลกาธิบดี
47 พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จักเชื่อเรื่องอันน่าอัศจรรย์เช่นนี้ได้อย่างไรของพระองค์ทรงตรัสถึงเหตุ เพื่อทำลายความสงสัยนั้น คือขอพระองค์ทรงแสดงเรื่องที่เป็นจริงนั้นเอง
48 เชื่อเรื่องเด็กหนุ่มมีผมดำ มีอายุเกิน 20 ปี ที่แสดงถึงบุตรมีอายุ 100 ปีนั้น
49 ชนเหล่านั้น มีผิวหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก พึงกล่าวว่า ชายหนุ่มผู้นี้เป็นผู้สร้างร่างกายแก่พวกเรา ข้าแต่พระโลกนาถ ข้อนั้นเป็นสิ่งที่เชื่อได้ยากยิ่งว่า ชายหนุ่มนั้นมีบุตรมากมายุถึงเพียงนี้
50 ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์ไม่มั่นใจว่า พระโพธิสัตว์จำนวนมากเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ มีสติ มีปัญญา เป็นบัณฑิต มีการศึกษาดีในพันโกฏิกัลป์
51 เป็นผู้มีสติ มีปัญญา เป็นผู้ฉลาด น่าเลื่อมใส น่าทัศนา เป็นผู้กล้าหาญในการวินิจฉัยธรรม เป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาค (พระผู้นำแห่งโลก)ได้สรรเสริญแล้ว
52 เป็นผู้ไม่สู่สังคม เป็นผู้อยู่ในป่า ไม่อาศัยอยู่ต่อเนื่องในอากาศธาตุ ผู้เป็นบุตรของพระตถาคต ผู้ปรารถนาพุทธภูมินี้ จึงยังความเพียรให้เกิดขึ้น
53 เรื่องนี้จะพึงเชื่อได้อย่างไร ในเมื่อพระผู้เป็นที่พึ่งของโลกได้ปรินิพพานแล้ว ความสงสัยย่อมไม่มีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย หากพวกข้าพระองค์ได้ฟังจากพระโอษฐ์ของพระโลกนาถ
54 พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีความสงสัย ในประเด็นนี้ ไม่พึงไปสู่ทุคติ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์ทรงกระทำความจริงให้ปรากฏว่า พระองค์ทรงอบรมพระโพธิสัตว์เหล่านี้อย่างไร
บทที่ 14
โพธิสัตวปฤถิวีวิวรสมุทคมปริวรรต
ว่าด้วยพระโพธิสัตว์ผุดขึ้นจากรอยแยกของแผ่นดิน
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่15 อายุกาลพระตถาคต
บทที่ 15
ตถาคตายุษประมาณปริวรรต
ว่าด้วยประมาณอายุกาลของพระตถาคต
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะคณะของพระโพธิสัตว์ทั้งปวงว่า ดูก่อนกุลบุตรของเรา ท่านทั้งหลายย่อมสามารถ ท่านทั้งหลายจงเชื่อพระวาจาที่เป็นจริงของพระตถาคต พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระโพธิสัตว์เหล่านั้น เป็นครั้งที่ 2 ว่า ดูก่อนกุลบุตรของเรา ท่านทั้งหลายจงวางใจเถิด ท่านทั้งหลายจงเชื่อพระวาจาที่เป็นจริง ของพระตถาคต พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระโพธิสัตว์เหล่านั้นเป็นครั้งที่ 3 ว่า ดูก่อนกุลบุตรของเรา ท่านทั้งหลายจงวางใจเถิด ท่านทั้งหลายจงเชื่อพระวาจาที่เป็นจริงของพระตถาคต ครั้งนั้น คณะของพระโพธิสัตว์ทั้งปวงที่ยืนอยู่หน้าพระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้ประคองอัญชลี แล้วกราบทูลข้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสถึงเรื่องนี้ ขอพระสุคต จงตรัสเถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจักเชื่อพระดำรัสของพระตถาคต คณะของพระโพธิสัตว์ทั้งปวง ได้กราบทูลข้อความนี่กะพระผู้มีพระภาคเป็นครั้งที่ 2 ว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสถึงเรื่องนี้ ขอพระสุคต จงตรัสเถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจักเชื่อพระดำรัสของพระตถาคต คณะของพระโพธิสัตว์ทั้งปวง ได้กราบทูลข้อความนี่กะพระผู้มีพระภาคเป็นครั้งที่ 3 ว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสถึงเรื่องนี้ ขอพระสุคต จงตรัสเถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจักเชื่อพระดำรัสของพระตถาคต
พระผู้มีพระภาค ทรงพิจารณาคำทูลเชิญทั้งสามครั้งของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น แล้วตรัสกะพระโพธิสัตว์เหล่านั้นว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง การได้กำลังที่มั่นคงถึงปานนิ้ของเรา ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ชาวโลกรวมทั้งเทวดา มนุษย์และอสูร ย่อมรู้ว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ที่พระผู้มีพระภาคตถาคตศากยมุนี เสด็จออกจากศากยุสกุล ไปสู่หลักชัยอันประเสริฐคือมณฑลแห่งโพธิพฤกษ์ ในมหานครคยา แล้วจึงได้ตรัสรู้ ท่านทั้งหลายไม่ควรมีความคิดเห็นอย่างนั้น ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เราได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณมาแล้ว เป็นเวลาร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย มีปรมาณูปฐวีธาตุ อยู่ใน 50 ร้อยพันหมื่นโกฏิโลกธาตุ บังเอิญมีบุรุษคนหนึ่งหยิบปรมาณูไปหนึ่งธุลี เดินทางไปในทิศตะวันออก สิ้นร้อยพันจนนับไม่ถ้วน ใน 50 โลกธาตุ แล้วจึงวางปรมาณูหนึ่งธุลีนั้นลงโดยปริยายนี้ บุรุษนั้น พึงทำโลกธาตุทั้งปวงนั้น ให้ปราศจากปฐวีธาตุ สิ้นร้อนพันหมื่นโกฏิกัลป์ เขาพึงทิ้งละอองปรมาณูในปฐวีธาตุทั้งปวงเหล่านั้น ในทิศตะวันออก โดปริยายนี้ และโดยการทิ้งเป็นแสนครั้งอย่างนี้ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลายท่านทั้งหลายคิดว่า เรื่องนี้เป็นอย่างไรใครๆสามารถคิด คำนวณ ตวง หรือประมาณโลกธาตุเหล่านั้นได้หรือ? เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ พระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ คณะของพระโพธิสัตว์ และกลุ่มของพระโพธิสัตว์ทั้งปวงนั้นได้ กราบทูลข้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โลกธาตุเหล่านั้น ไม่สามารถนับได้ ไม่สามารถคำนวณได้ ย่อมสุดวิสัยของความคิด ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง ก็ไม่อาจคิด คำนวณ ชั่ง กำหนดนับ ด้วยวิชาอันเลิศได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โคจรแห่งจิตในฐานะนี้ จะไม่หวนกลับมา แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้ดำรงอยู่ในภูมิที่ไม่เปลี่ยนแปลง ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โลกธาตุเหล่านั้น ไม่สามารถประมาณได้
ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะพระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านั้นว่า ดูก่อนกุลบุตร เราจะบอกแก่ท่านทั้งหลาย เราจะประกาศแก่ท่านทั้งหลาย ดูก่อนกุลบุตรโลกธาตุมีประมาณเท่าใด บุรุษนั้น ได้วางธุลีปรมาณูในโลกธาตุจำนวนเท่านั้น และไม่ได้วางไว้ในโลกธาตุเท่าใด ธุลีปรมาณูมีประมาณเท่านั้น ย่อมไม่มีในร้อยพันหมื่นโกฏิโลกธาตุทั้งหมดนั้นที่เราตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตลอดร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ตั้งแต่นั้นมา เราจะแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายในสหาโลกธาตุนี้ และร้อยพันหมื่นโกฏิโลกธาตุอื่นๆ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าอื่นที่เรายกย่อง อย่างเช่น พระตถาคตทีปังกร เป็นต้น การนิพพานที่สมบูรณ์ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น เราจึงสร้างขุมทรัพย์คือการแสดงธรรมด้วยกุศโลบาย ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เราพิจารณาถึงอินทรีย์ กำลัง และความเป็นผู้เยาว์ ของสัตว์ทั้งหลายที่มาแล้วๆจึงให้ชื่อเฉพาะตนไว้ในสัตว์เหล่านั้น ตถาคตย่อมประทานการนิพพานไว้เฉพาะในสัตว์นั้นๆ ยังสัตว์ทั้งหลายให้ยินดี ด้วยธรรมบรรยายสูตรต่างๆ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ตถาคตย่อมกล่าวแก่สัตว์ทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วด้วยวิธีการต่างๆ ผู้มีกุศลมูลน้อย ผู้มีกิเลสมาก อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (เรา) ได้ออกจากวงศ์ตระกูลตั้งแต่ยังหนุ่ม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ไม่นาน ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย พระตถาคตได้ตรัสรู้มาแล้ว เป็นเวลานาน แต่ประกาศอย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้มาไม่นาน ดังนี้ พระองค์นำไปเพื่อประโยชน์แก่การอบรมสัตว์ทั้งหลาย พระองค์จึงตรัสธรรมบรรยายนี้ เพื่อประโยชน์แก่การบูชา ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย พระตถาคตได้ตรัสธรรมบรรยายนี้ เพื่อประโยชน์ในความเป็นระเบียบของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการแสดงตนหรือแสดงผู้อื่น ด้วยการอาศัยตนหรืออาศัยผู้อื่น พระตถาคตประกาศธรรมบรรยายใดๆ ธรรมบรรยายเหล่านั้นทั้งหมด ที่พระตถาคตตรัสแล้วย่อมเป็นจริง วาทะที่เป็นเท็จของพระตถาคตนั้นย่อมไม่มี ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เป็นเพราะว่า ไตรโลกธาตุที่พระตถาคตทรงเห็นแล้วนั้นล้วนเป็นจริง มัน (ไตรโลกธาตุ) ไม่เกิด ไม่ตาย ไม่ตกไป ไม่ผุดขึ้น ไม่เวียนว่าย ไม่ดับ ไม่เป็น ไม่เป็นหามิได้ ไม่มี ไมมีหามิได้ ไม่เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างนั้นหามิได้ ไม่เป็นภาพลวงตา ไม่เป็นภาพลวงตาหามิได้ พระตถาคตไม่มองโลกธาตุ เหมือนที่ประชาชนคนพาล คนโง่มองธรรมที่ประจักษ์ทั้งหลาย เป็นธรรมที่ไม่มีการปิดบัง ในสถานะของพระตถาคต พระตถาคตตรัสคำใด คำนั้นทั้งหมดย่อมเป็นจริง ไม่ผิด ไม่เปลี่ยนแปลง พระตถาคตทรงประกาศธรรมบรรยายที่ต่างกัน ด้วยภูมิฐานที่ต่างกัน เพื่อประโยชน์คือการก่อให้เกิดกุศลมูล แก่สัตว์ทั้งหลายที่มีความประพฤติต่างกัน มีความปรารถนาต่างกัน มีความรู้ ความไม่รู้ และการปฏิบัติที่ต่างกัน ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เพราะว่า พระตถาคต ย่อมกระทำการสิ่งที่พระตถาคตควรกระทำเท่านั้น พระตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว สิ้นกาลนาน มีพระชนมายุไม่กำหนด ทรงดำรงอยู่ตลอดกาล พระตถาคตยังไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ย่อมแสดงถึงนิพพาน ด้วยอำนาจ (การศึกษา) ของพระสาวก ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย แม้ในขณะนี้ เรายังไม่ทำพรหมจรรย์ของพระโพธิสัตว์ ที่มีอยู่ในอดีตให้สมบูรณ์ ประมาณอายุของเราก็ยังไม่เต็ม ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย แม้ในวันนี้ เราจักมีอายุอีกสองเท่าของร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ จากการที่อายุของเรายังไม่เต็มบริบูรณ์ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย บัดนี้ เรายังไม่ปรินิพพาน แต่จักประกาศการปรินิพพาน เพราะเหตุไร? ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย โดยปริยายนี้ เราจักยังสัตว์ทั้งหลายให้ถึงพร้อมว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ได้สร้างกุศลมูล ผู้งดเว้นจากการทำกุศล เป็นผู้ทุกข์ยาก มีความโลภในกามคุณ เป็นผู้มืดบอด ถูกครอบงำด้วยตาข่ายแห่งทิฏฐิ ทราบว่า พระตถาคตยังดำรงอยู่ แล้วปฏิบัติพระโพธิญาณเพื่อความสนุกสนาน ไม่ยังพระโพธิญาณที่ได้โดยยากนั้น ให้เกิดขึ้น ด้วยคิดว่า เราอยู่ใกล้ชิดพระตถาคตแล้ว เขาทั้งหลายจึงไม่ปรารถนาความเพียร เพื่อสลัดออกจากโลกธาตุทั้งสาม ไม่ยังความรู้ที่ได้โดยยากจากพระตถาคตให้เกิดขึ้น ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ตถาคตจึงประกาศถ้อยคำด้วยกุศโลบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเกิดขึ้นของพระตถาคต แก่สัตว์ทั้งหลายนั้นเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร? เป็นเพราะว่า การที่สัตว์ทั้งหลายได้พบพระตถาคตนั้น ต้องใช้เวลาหลายร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ หรืออจาไม่ได้พบเลย ได้ยินว่า เราได้แสดงสิ่งที่เกิดขึ้นครั้งแรกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลาย มีภาวะที่เกิดขึ้นยากและหาได้ยากพวกเขารู้ว่า ความเป็นพระตถาคตนั้น เป็นสิ่งที่ได้โดยยาก และเป็นภาวะที่ยากยิ่งกว่าประมาณการมาก จึงยังความอัศจรรย์ใจให้เกิดขึ้น ทั้งเกิดความรู้สึกโศกเศร้าเสียใจขึ้น กุศลมูลทำให้เกิดจิตที่อิงอาศัยพระตถาคตของพวกเขา เป็นไปเพื่อความปรารถนา เพื่อประโยชน์และความสุขตลอดกาลนาน พระตถาคตที่ยังไม่ปรินิพพาน ได้เห็นประโยชน์นี้ จึงประกาศการปรินิพพาน เพื่อให้เกิดความปรารถนาต่อการศึกษาของสัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย นี่คือธรรมบรรยายที่พระตถาคตประกาศ ในกรณีนี้ พระตถาคตจึงตรัสถูกต้องแล้ว
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย มีบุรุษแพทย์คนหนึ่ง เป็นบัณฑิต เป็นนักปราชญ์ มีปัญญาเป็นผู้ฉลาดในการวิเคราะห์โลกทั้งปวง เขามีบุตรจำนวนมาก 10 คน หรือ 20 คนหรือ30 คน หรือ 40 คน หรือ 50 คน หรือ 100 คนก็ตาม เมื่อแพทย์คนนี้ไปสู่ถิ่นอื่น บุตรทั้งปวงของเขาถูกโรคร้ายหรือโรคธรรมดาก็ตามเบียดเบียน พิษธรรมดา หรือพิษร้ายนั้น ทำให้พวกเขาประสบทุกขเวทนาอย่างรวดเร็วยิ่ง เมื่อพิษร้ายกำเริบ พวกเขาก็นอนกลิ้งไปมาบนพื้นดิน ครั้งนั้น เมื่อนายแพทย์ผู้เป็นบิดาของพวกเขากลับมาจากต่างถิ่น บุตรเหล่านั้นของเขา กำลังเจ็บปวดทุกขเวทนาเพราะพิษร้ายนั้น บุตรบางคนมีความเข้าใจผิด บางคนก็เข้าใจถูกต้อง บุตรเหล่านั้นทั้งหมดที่ประสบทุกข์ เพราะพิษร้าย ครั้นได้เห็นบิดาก็พากันยินดี และกล่าวว่า ข้าแต่บิดาท่านผู้มาแล้วด้วยความสุขสวัสดิ์ จงพิจารณาเถิด ขอท่านจงยังพวกเราให้พ้นจากภยันตรายนี้จะเป็นพิษธรรมดาหรือพิษร้ายก็ตาม ข้าแต่บิดา ขอท่านจงไว้ชีวิตแก่พวกเรา ครั้งนั้น เมื่อนายแพทย์นั้นได้เห็นบุตรมีความทุกขเวทนากำเริบนอนกลิ้งไปมาบนพื้นดิน จึงเตรียมหาเภสัชประกอบด้วยสี กลิ่น รส บดบนแท่งศิลา เพื่อให้บุตรดื่ม ได้กล่าวกับบุตรเหล่านั้นว่า ดูก่อนบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงดื่มมหาเภสัชนี้ อันประกอบด้วยสี กลิ่น และรส ดูก่อนบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ครั้นดื่มมหาเภสัชนี้แล้ว จักหายจากพิษร้ายนี้ โดยเร็วทีเดียว ท่านทั้งหลายจักดำรองอยู่ด้วยดีและไม่มีโรค บุตรเหล่าใดของนายแพทย์นั้น มีความเข้าใจดี พวกเขาได้เห็นสี ดมกลิ่น และลิ้มรสของยา จักหายจากโรคโดยเร็ว บุตรเหล่านั้นทั้งหมด เมื่อดื่มอยู่ก็จะหายจากโรคนี้โดยสิ้นเชิง ส่วนบุตรเหล่าใดของนายแพทย์นั้น เข้าใจผิด พวกเขายินดีกับบิดาแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่บิดา ท่านกลับมาด้วยความสุขสวัสดี จงดูเถิด ขอท่านจงรักษาพวกเราทั้งหลาย พวกเขากล่าวอย่างนี้ แล้วไม่ดื่มยาที่เตรียมมานั้น ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร? เป็นเพราะว่าเภสัชที่เตรียมมานั้น ไม่เป็นที่น่าพอใจแก่บุตรเหล่านั้น ทั้งสี กลิ่น และรส เนื่องจากความเข้าใจผิด ครั้งนั้น นายแพทย์จึงคิดว่า บุตรของเรา เข้าใจผิดเรื่องพิษหรือพิษร้ายนี้ พวกเขาจึงไม่ดื่มมหาเภสัชนี้ และไม่ยินดีกับเรา เราจักยังบุตรเหล่านี้ให้ดื่มเภสัชด้วยกุศโลบาย แพทย์คนนั้น ปรารถนาให้บุตรทั้งหลายเหล่านี้ ดื่มเภสัชด้วยอุบายจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เราเป็นผู้ชรา แก่ เฒ่าแล้ว การทำกาลกิริยา ก็ปรากฏใกล้เข้ามาแล้ว ดูก่อนบุตรทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย จงอย่าโศกเศร้าอย่างเสียใจ เราได้เตรียมมหาเภสัชนี้ไว้แก่ท่านทั้งหลายแล้ว ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนา ท่านจงดื่มเภสัชเถิด เมื่อนายแพทย์สอนบุตรเหล่านั้นด้วยอุบายอย่างนี้ แล้วไปสู่ชนบท และประเทศอื่นๆ ครั้นไปแล้ว ยังบุตรที่ป่วยอยู่ให้เข้าใจว่า ตนตายไปแล้ว บุตรเหล่านั้น เศร้าโศก คร่ำครวญอย่างยิ่งในสมัยนั้นว่า บิดาผู้เป็นที่พึ่ง เป็นผู้ให้กำเนิด เป็นผู้อนุเคราะห์เรา ได้ตายไปแล้ว บัดนี้ เราทั้งหลาย จะเป็นอยู่โดยไม่มีที่พึ่ง บุตรเหล่านั้นพิจารณาเห็นว่า คนเป็นผู้อนาถา เพื่อพิจารณาเห็นว่า ตนไม่มีที่พึ่งบ่อยๆ ก็เป็นผู้มีความทุกข์ เศร้าโศก ความเข้าใจผิดถูกก็จะเกิดขึ้นแก่บุตรเหล่านั้น เพราะมีความทุกข์โศกเศร้าบ่อยๆ พวกเขายอมรับรู้เภสัชที่ปรุงด้วย สี กลิ่นและรสนั้น ในสมัยนั้น พวกเขาจะยอมรับเอาเภสัชนั้น เมื่อพวกเขารับเภสัชไปอยู่ก็จักหายจากอาพาธนั้น ขณะนั้นแพทย์นั้นทราบว่า บุตรเหล่านั้นหาจากอาพาธ จึงปรากฏตนอีกครั้ง ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เธอย่อมเข้าใจว่าเหตุนั้น เป็นอย่างไร? เมื่อนายแพทย์ใช้กุศโลยายนั้น ใครๆไม่ควรโจทย์ด้วยถ้อยคำที่เป็นเท็จ (กุลบุตรทั้งหลาย) กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค มิใช่อย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต มิใช่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เป็นอย่างนั้น เราได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนี้ สิ้นร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ ที่ประมาณมิได้ ที่นับไม่ได้ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เราแสดงกุศโลบายอย่างนี้ แก่สัตว์ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาอย่างต่อเนื่อง การกล่าวเท็จใดๆจึงไม่มีแก่เรา ผู้ดำรงอยู่ในสถานะนั้น
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาค เพื่อแสดงเรื่องที่เป็นประโยชน์ด้วยมาตราจำนวนมาก จึงได้ตรัสพระถาคาเหล่านี้
1 ประมาณกาลแห่งพระโพธิญาณที่เราได้บรรลุแล้ว ไม่อาจทราบได้ด้วยจำนวนตลอดพันโกฏิกัลป์ เราก็ยังแสดงธรรมคือพระโพธิญาณอันประเสริฐนั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์
2 เรายังพระโพธิสัตว์ทั้งหลายให้ดื่มด่ำ แล้วให้ตั้งอยู่ในพระโพธิญาณ ได้อบรมสัตว์จำนวนหลายหมื่นโกฏิ มิใช่น้อย ตลอดหลายโกฏิกัลป์
3 เราได้แสดงนิรวาณภูมิ แล้วกล่าวถึงอุบาย เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของสัตว์ทั้งหลาย ในกาลนั้น เรายังไม่นิพพาน ยังแสดงธรรมอยู่ในที่นี้
4 เราปกครองตนเองและสัตว์ทั้งหลาย ส่วนชนทั้งหลาย ผู้รู้ผิด เป็นผู้โง่เขลา เป็นผู้ไม่เห็นเรา ย่อมดำรงอยู่ในที่นั้น
5 ชนเหล่านั้นเห็นอาตมภาวะของเราว่า นิพพานแล้ว ย่อมกระทำการบูชาต่างๆในพระธาตุ ย่อมมองไม่เห็นเรา ย่อมยังความปรารถนาให้เกิดขึ้น ต่อจากนั้น จิตอันสุจริตของเขาก็จะเกิดขึ้น
6 สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้สุจริต นุ่มนวล อ่อนโยน เป็นผู้สละความใคร่แล้ว ต่อแต่นั้น เราได้รวบรวมหมู่สาวก แล้วแสดงตนบนภูเขาคิชฌกูฎ
7 ภายหลังเราจึงกล่าวแก่พวกเขาอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่นิพพานในสถานที่นี้ มันเป็นกุศโลบายของเราเท่านั้น เพราะเราเกิดในชีวโลกนี้บ่อยๆ
8 เราเมื่อสัตว์เหล่าอื่นสักการะบูชา จึงได้แสดงพระโพธิญาณอันประเสริฐของเราแก่พวกเขา แต่ท่านทั้งหลายยังไม่ได้ฟังคำของเรา นอกจากพระโลกนาถจะนิพพานไปเท่านั้น
9 เราเห็นสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ฆ่า จึงไม่แสดงอาตมาภาวะนั้น เมื่อสัตว์ปรารถนาจะพบเรา เราจึงแสดงพระสัทธรรมแก่สัตว์ผุ้ปรารถนาเหล่านั้น
10 ความตั้งใจมั่นของเราเป็นเช่นนี้ ทุกเมื่อ ตลอดพันโกฏิกัลป์ จนนับไม่ได้ เราไม่เคยไปจากภูเขาคิชกูฎนี้ เพื่ออยู่อาศัยในที่อื่น เป็นเวลาหลายโกฏิกัลป์
11 สัตว์ทั้งหลายที่เห็นโลกธาตุนี้แล้ว ย่อมสำคัญว่า มันกำลังถูกเผาไหม้อยู่ เมื่อนั้นพุทธเกษตรนี้ของเรา ย่อมเต็มไปด้วยเทวดาและมนุษย์
12 พวกเขามีการละเล่น มีความเพลิดเพลิน สิ่งสวยงามวิจิตร มีอุทยาน ปราสาทและวิมานหลายโกฏิ ล้วนประดับด้วยภูเขารัตนมณี และต้นไม้ที่สมบูรณ์ด้วยดอกและผล
13 เทวดาในเบื้องบน ประโคมดนตรี โปรยเมล็ดฝนคือดอกมณฑาระ จนปกคลุมเราพระสาวก และพระมุนีเหล่าอื่น ผู้ตรงอยู่ในพระโพธิญาณ
14 พุทธเกษตรนี้ของเรา ซึ่งตั้งอยู่อย่างนี้ในกาลทุกเมื่อ ชนเหล่าอื่นย่อมสำคัญว่า มันกำลังถูกเผาไม้อยู่ ย่อมองเห็นโลกธาตุว่า น่ากลัว ลำบาก เต็มไปด้วยความทุกข์โศกหลายร้อยชนิด
15 ชนทั้งหลายที่ยังไม่ได้ยินชื่อของเราผู้เป็นตถาคต ตลอดหลายโกฏิกัลป์ ทั้งยังไม่ได้ฟังชื่อของพระธรรมและพระสงฆ์ของเรา ที่เป็นอย่างนี้ เพราะผลของกรรม
16 สัตว์ทั้งหลาย ผู้นุ่มนวล อ่อนโยน จะเกิดขึ้นในมนุษย์โลกนี้ ครั้นเกิดขึ้นแล้ว จะเห็นเราที่กำลังแสดงธรรมอยู่ เพราะกุศลกรรม(ของพวกเรา)
17 เราจะไม่กล่าวถึงการกระทำ ที่ยิ่งไปกว่าคำที่เป็นจริง แก่ชนเหล่านั้นในกาลไหนๆ เพราะเหตุนั้น เราผู้ประจักษ์ จึงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน เราจึงกล่าวว่าพระชินเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ที่หาได้ยาก
18 ความงามแห่งประภาที่เป็นเช่นนี้ และไม่มีที่สุด เนื่องจากพลังแห่งปัญญาของเรา และเราอายุยาวนาน ไม่กำหนดกาลกัลป์ เพราะประพฤติพรหมจรรย์ในอดีตกาล
19 ดูก่อนบัณฑิตทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอย่าก่อความสงสัยในเรื่องนี้ ท่านจงละความสงสัยทั้งหมดเสีย อย่าให้เหลือ เราได้กล่าววาจาที่เป็นจริงนี้แล้ว ถ้อยคำของเราไม่เคยเป็นเท็จในกาลไหนๆ
20 จริงอยู่นายแพทย์นั้น ได้ศึกษาในอุบาย เพราะเหตุแห่งบุตรผู้เข้าใจผิด จึงกล่าวว่า คนที่มีชีวิตนั้นตายเสียแล้ว ผุ้มีความรู้ ไม่ควรตำหนินายแพทย์ ด้วยความเข้าใจผิด
21 เราผู้เป็นบิดาแห่งโลก เป็นพระสยัมภู เป็นนายแพทย์ เป็นที่พึ่งของประชาชนทั้งปวง เป็นผู้ยังไม่สิ้นธุระ รู้ว่า ชนทั้งหลายเข้าใจผิด หลงงมงายและโง่เขลา จึงแสดงการสิ้นธุระ
22 อะไรเป็นเหตุแห่งการปรากฏบ่อยๆของเรา เมื่อชนทั้งหลายไม่มีศรัทธา ไม่ฉลาด โง่ ลุ่มหลง และมัวเมาในกามคุณ ย่อมถึงทุคติ เพราะเหตุแห่งความประมาทนั้น
23 เราทราบความประพฤติ(ของชนทั้งปวง) ตลอดกาลเป็นนิตย์ จึงกล่าวแก่สัตว์ทั้งหลายว่า เราเป็นอย่างนั้น อย่างนั้น ด้วยคิดว่า จะนำผู้นี้เข้าไปในพระโพธิญาณได้อย่างไร ชนเหล่านั้นจะรับพุทธธรรมได้อย่างไร
บทที่ 15 ตถาคตยุษประมาณปริวรรต ว่าด้วยประมาณอายุกาลของพระตถาคต
ในธรรมบรรยาย สัทธธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่16 บุญบรรยาย
บทที่ 16
ปุณยบรรยายปริวรรต
ว่าด้วยบุญบรรยาย
เมื่อเรากำลังแสดงธรรมบรรยาย ชี้แจงประมาณอายุกาลของพระตถาคตอยู่นั้น ชื่อว่าได้กระทำประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย ที่ไม่สามารถประมาณนับได้ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับพระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนอชิตะ เมื่อเราแสดงธรรมบรรยายชี้แจงประมาณอายุกาลของพระตถาคตอยู่นั้น ความเพียรในธรรมที่ไม่เคยเกิดก็จะเกิดขึ้น แก่พระโพธิสัตว์ จำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิ มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายใน 68 แม่น้ำคงคา การเข้าถึงธารณี ได้มีแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจำนวนพันเท่า เพราะได้ฟางธรรมบรรยายนี้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่าอื่นซึ่งมีจำนวนเท่ากับธุลีปรมาณูในพันโลกธาตุ ทั้งได้เข้าถึงความงามที่ปราศจากหมู่คณะ การที่พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่าอื่นมีจำนวนมาก มีจำนวนเท่าธุลีปรมาณูในสองพันโลกธาตุ ได้รับธารณีที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาร้อยพันหมื่นโกฏิ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่าอื่น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับธุลีปรมาณูในสามพันโลกธาตุ เมื่อได้ฟังธรรมบรรยายนี้ พึงยังวงล้อธรรมจักร ที่ไม่เคยหมุนกลับ ให้หมุนต่อไป พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่าอื่น มีจำนวนเท่ากับธุลีปรมาณูในมัธยมโลกธาตุ เมื่อได้ฟังธรรมบรรยายนี้ พึงยังวงล้อธรรมจักรที่มีประกายบริสุทธิ์ให้หมุนไป พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่าอื่น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับธุลีปรมาณูในโลกธาตุขนาดเล็ก เมื่อได้ฟังธรรมบรรยายนี้ จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใน 8 ชาติ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่าอื่น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับธุลีปรมาณูในโลกธาตุทั้ง 4 ที่มีใน 4 ทวีป เมื่อได้ฟังธรรมบรรยายนี้ จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใน 4 ชาติ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่าอื่น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับธุลีปรมาณูใน 3 โลกธาตุ ที่มีใน 4 ทวีป เมื่อได้ฟังธรรมบรรยายนี้ จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใน 3 ชาติ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่าอื่น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับธุลีปรมาณูใน2โลกธาตุ ที่มีใน 4 ทวีป เมื่อได้ฟังธรรมบรรยายนี้ จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณใน 2 ชาติ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่าอื่น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับธุลีปรมาณูใน 1 โลกธาตุ ที่มีใน4 ทวีป เมื่อได้ฟังธรรมบรรยายนี้ จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใน 1 ชาติ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีจำนวนเท่ากับธุลีปรมาณู 38 สหัสรมหาสหัสรโลกธาตุ เมื่อได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ย่อมยังจิตให้เกิดขึ้นในอนุตตรสัมโพธิญาณ
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงการประดิษฐานในสมัยแห่งธรรมแก่พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นตามลำดับ ฝนคือดอกมณฑารพน้อยใหญ่ ได้โปรยลงจากท้องฟ้า นภากาศ จำนวนพระพุทธเจ้าร้อยพันหมื่นโกฏิ ในร้อยพันหมื่นโกฏิโลกธาตุ ที่มาแล้วเข้าไปประทับนั่งที่โคนต้นรัตนพฤก์ ฝนดอกไม้ ได้ปกคลุม ท่วมทับพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์ ฝนดอกไม้เหล่านั้น ย่อมปกคลุม ท่วมทับพระผู้มีพระภาคศากยมุนี ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคประภูรัตนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สงบเข้าไปสู่สิงหาสน์ แล้วฝนดอกไม้ย่อมปกคลุม ท่วมทับคณะของพระโพธิสัตว์ทั้งปวง และบริษัททั้ง 4 เหล่านั้น ผลจันทน์และอครุ อันเป็นทิพย์ ได้โปรยลงจากท้องฟ้า เสียงอันไพเราะ ลึกซึ้ง จับใจ จากกลองใหญ่ที่ไม่เคลื่อนไหว ดังไปทั่วเวหาขนท้องฟ้าชั้นสูงสุด ผ้าทิพย์จำนวนร้อยพันคู่ ได้ตกลงมาจากท้องฟ้าชั้นสูงสุด มุกดาจำนวนหนึ่งกับครึ่งหนึ่ง (1.1/2) ของผู้ที่นำไป มณีรัตนและมหารัตนของผู้ทีนำไป ได้ห้อยอยู่ในทิศทั้งปวงโดยรอบ ในท้องฟ้านภากาศชั้นสูงสุด เมื่อรูปถึงความเป็นเลิศ นาฬิกาพันหนึ่งซึ่งทำจากรัตนะ ก็ตามไปโดยรอบตามภาวะของตน พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ได้ถือแถวรัตนฉัตรของพระตถาคตแต่ละองค์ บนท้องฟ้านภากาศจนถึงพรหมโลก โดยปริยายนี้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านั้น ได้ถือรัตนฉัตรแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้นจำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิ ที่ประมาณมิได้ นับมิได้ บนท้องฟ้านภากาศจนถึงพรหมโลก พระโพธิสัตว์ทั้งหลายต่างพากันยกย่องพระตถาคตเหล่านั้น ด้วยการกล่าวคาถา สดุดีพระพุทธเจ้าตามความเป็นจริง
ในเวลานั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไม่เตรยะได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
1 พระธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง พระธรรมเช่นนี้เราไม่เคยได้ฟังมาก่อน ฉะนั้น การประมาณความยิ่งใหญ่ และอายุของพระผู้นำว่า เป็นเช่นไรนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สิ้นสุด
2 สัตว์หลายพันโกฏิและบุตรของพระผู้นำแห่งโลก เมื่อได้ฟังธรรมอย่างนี้ ในวันนี้ที่พระสุคตจำแนกอยู่เฉพาะหน้า พากันยินดีเบิกบานแล้ว
3 บางพวกได้ตั้งอยู่ในพระโพธิญาณอันประเสริฐโดยไม่หวนกลับ บางพวกได้ตั้งอยู่ในธารณีอันประเสริฐ บางพวกได้ตั้งอยู่ในความงามอันสงบ และในธารณีหลายพันโกฏิ
4 ชนเหล่าอื่น ดุจจำนวนเกษตรแห่งปรมณู ได้ตั้งอยู่ในพุทธญาณสูงสุด บางพวกเป็นผู้เห็นแจ้ง โดยไม่มีที่สิ้นสุด จักเป็นพระชินเจ้า โดยล่วงไปอีก 8 ชาติเท่านั้น
5 บรรดาผู้ได้ฟังธรรมนี้ของพระผู้นำ จะเป็นผู้มองเห็นประโยชน์สูงสุด บางพวกจะบรรลุพระโพธิญาณ โดยกาลล่วงไปอีก 4 ชาติ บางพวกจะบรรลุพระโพธิญาณโดยกาลล่วงไปอีก3 ชาติ ชนเหล่าอื่น จะบรรลุพระโพธิญาณโดยกาลล่วงไปอีก 2 ชาติ
6 ชนบางพวกดำรงอยู่เพียงชาติเดียวก็จักเข้าถึงพระโพธิญาณ ในระหว่างภพ การได้รับผลเช่นนี้ ย่อมไม่มีความทุกข์ เพราะได้ฟังอายุนี้ของพระผู้นำ
7 สัตว์จำนวนหลายโกฏิ จนประมาณไม่ได้ด้วยการนับ ดุจธุลีที่มีใน (พุทธ) เกษตรทั้ง8 เมื่อได้ฟังธรรมนี้แล้ว จักยังจิตให้เกิดขึ้นในพระโพธิญาณอันประเสริฐ
8 มหาฤษี ผู้ประกาศพุทธโพธิญาณ อันไม่มีที่สุด ไม่มีขอบเขต ประมาณมิได้ เหมือนอากาศธาตุ ได้กระทำกรรมเช่นนี้ไว้
9 เทวบุตรจำนวนมากหลายพันโกฏิ ท้าวสักกะและพรหม เปรียบได้กับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ที่มาประชุมกันจากหลายพัน (พุทธ) เกษตร ได้โปรยฝนดอกมณฑารพลงมา
10 เทวบุตรทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อโปรยผงหอมไม้จันทน์และผงไม้หอมอื่นๆ ได้เที่ยวไปในอากาศเหมือนนก แล้วห้อมล้อมพระชินเจ้า ตามพิธีการ
11 บนท้องฟ้า กลองใหญ่สั่นเสียงไพเราะ โดยปราศจากผู้ตี ผ้าทิพย์หลายพันโกฏิได้ลอยหมุนมาตกแก่พระผู้นำทั้งหลาย
12 พันโกฏิมณฑลแห่งธูป ที่มีค่ามาก เพราะประดับด้วยรัตนะ ได้เลื่อนลอยไปโดยรอบตามความพอใจ เพื่อประโยชน์แก่การบูชาพระพุทธเจ้า ผู้เป็นอธิบดีแห่งโลก
13 พระโพธิสัตว์ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมถือรัตนฉัตร อันสูงใหญ่ จำนวนหลายหมื่นโกฏิ ไม่มีที่สิ้นสุดที่ย้อยลงมาจากพรหมโลก
14 บุตรทั้งหลายของพระสุคต ผู้มีจิตร่าเริง ได้ชูธงที่พลิ้วไหวน่าดูยิ่งนัก แก่พระผู้นำแล้วสดุดีด้วยคาถาจำนวนหลายพัน
15 แต่พระผู้นำ ความประหลาดใจ อันน่าอัศจรรย์ และดีเลิศอย่างนี้ ย่อมปรากฏวิจิตรงดงามยิ่งในวันนี้ เพราะการแสดงประมาณพระอายุกาล (ของพระองค์) สัตว์ทั้งปวงเหล่านั้นได้รับความยินดียิ่งแล้ว
16 เหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ในวันนี้ ย่อมมีในสิบทิศ เสียงของพระผู้นำย่อมกึกก้องไปไกลสัตว์หลายพันโกฏิ ผู้ประกอบด้วยกุศล ต่างยินดีแล้ว เพื่อพระโพธิญาณ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนอชิตะ เมื่อมีการเทศนาธรรมบรรยายที่แสดงถึงประมาณอายุกาลของพระตถาคตนี้อยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมถึงวิมุติ เพราะการยังจิตให้เกิดขึ้นครั้งเดียวได้ ความเป็นผู้มีศรัทธาที่สร้างไว้หรือ กุลบุตรเหล่านั้นมากเพียงใดก็ตามจงฟัง จงทำความดี และจงยกย่องในใจว่า กุลบุตรหรือกุลธิดาทั้งหลาย ควรตระหนักถึงบุญ เราจะกล่าวถึงบุญตราบเท่าที่มีผู้สนใจอยู่ ดูก่อนอชิตะ กุลบุตรหรือกุลธิดา คนใด ปรารถนาอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พึงประพฤติบารมีทั้ง 5 ตลอด 8 ร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ คือในทาน บารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยบารมี ฌานบารมี ยกเว้นปัญญาบารมี ดูก่อนอชิตะ กุลบุตรหรือกุลธิดาก็ตาม เมื่อได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ที่แสดงถึงประมาณอายุกาลของพระตถาคต เข้าถึงวิมุติ เพราะการยังจิตให้เกิดขึ้น เพียงครั้งเดียว หรือมีศรัทธา การสร้างบุญ สร้างกุศล และการประกอบบารมีทั้ง 5 ที่มีในกาลก่อนให้ถึงพร้อมด้วยร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ย่อมไม่ถึง1/100ของการสะสมบุญนั้น ย่อมไม่ถึง 1/1,000 1/10,000 1/1000,000 1/100,000,000 โกฏิ 1/10,000,000,000 ไม่อาจนับ คาดคะเน คำนวน อุปมาและเปรียบเทียบได้ ดูก่อนอชิตะ กุลบุตรหรือกุลธิดา ผู้ประกอบด้วยการสะสมบุญถึงปานนี้ย่อมเป็นไปเพื่ออนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะเหตุนั้น ใครๆไม่ควรคำนึงถึงสถานะนี้
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
17 บุคคลผู้แสวงหาโพธิญาณนี้ ซึ่งเป็นพุทธญาณที่ประเสริฐที่สุด พึงเป็นผู้อยู่ในโลกนี้ เพื่อบำเพ็ญบารมีทั้ง ห้า
18 เขาควรให้ทานบูชาพระพุทธเจ้าและพระสาวกบ่อยๆ ตลอด 8โกฏิพันกัลป์เต็มสมบูรณ์
19 เขาย่อมยังพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย จำนวนหลายโกฏิ ให้ยินดีด้วยขาทนียะ โภชนียะ ข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน และที่นั่ง
20 เขาพึงสร้างกุฏิ (ที่อาศัย) วิหาร ที่ทำด้วยไม้จันทน์ และอารามอันน่ารื่นรมย์ ที่งดงามด้วยสถานที่เดินจงกรม
21 บุคคลพึงให้ทานชนิดต่างๆ จำนวนมากเช่นนี้ จนถึงโกฏิพันกัลป์ แล้วพึงน้อมจิตไปเพื่อพระโพธิญาณ
22 บุคคลพึงรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ตามที่พระพุทธเจ้าพรรณนาไว้ ไม่ให้ด่างพร้อยตามที่สดุดีไว้ เพื่อเหตุแห่งพุทธญาณ
23 บุคคลพึงเจริญขันติบารมี ตั้งอยู่ในภูมิของผู้ฝึกฝนแล้ว มีความเพียร มีสติ พึงอดทนคำบริภาษเป็นอันมาก
24 สัตว์เหล่าใดมีความยึดมั่น ตั้งอยู่ในอธิมานะ เขาพึงอดทนคำครหาของสัตว์เหล่านั้น เพื่อเหตุแห่งพุทธญาณ
25 เขาเป็นผู้ขวนขวายเป็นนิตย์ มีความเพียร มีความพยายาม มีสติมั่นคง เป็นผู้ไม่มีความกังวลอื่นในใจตลอดโกฏิกัลป์
26 บุคคลผู้อยู่ป่า เดินขึ้นสู่ที่จงกรม เว้นจากความเกียจคร้าน ความง่วงนอน แล้วพึงเที่ยวไปตลอดโกฏิกัลป์
27 แม้เป็นปราชญ์ มหาปราชญ์ พอใจในสมาธิ มีจิตตั้งมั่น ดำรงอยู่ พึงเจริญภาวนาอย่างน้อย 8 พันโกฏิกัลป์
28 เขาเป็นผู้กล้า พึงปรารถนาพระโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยสมาธินั้น เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวงว่า เป็นเรา จงเข้าถึงฌานบารมี
29 ธรรมเหล่าใดที่ได้รับการยกย่องในกาลก่อน ตลอดโกฏิพันกัลป์ บุญข่อมีเพราะปฏิบัติตามการกระทำนี้ของธรรมเหล่านั้น
30 สตรีหรือบุรุษใดก็ตามได้ฟัง (การบรรยาย) อายุกาลของเรา เกิดศรัทธาแม้เพียงครู่หนึ่ง บุญเช่นนี้ย่อมหาที่สุดมิได้
31 ผู้ละความสงสัย สละความคิดในใจ พึงหลุดพ้นได้แม้เพียงครู่หนึ่ง ผลของบุญนั้นย่อมเป็นเช่นนี้
32 พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้ประพฤติ(ธรรม) คลอดโกฏิกัลป์ เมื่อได้ฟังว่า อายุกาลของเรายาวนายขึ้นไม่สามารถคำนวณได้ ก็ย่อมไม่ประหลาดใจ
33 พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมน้อมศีรษะลงด้วยหวังว่า ขอให้เราเป็นเช่นกับพระองค์คือ (สามารถ) ยังสัตว์จำนวนหลายโกฏิให้ข้ามถึงฝั่งได้ตลอดเวลา
34 พระศากยมุนี ผู้เป็นนาถะ ผู้เป็นสิงหะแห่งศากยวงศ์ ผู้เป็นมหามุนี เมื่อประทับนั่งที่โพธิมณฑล ได้เปล่งพระสุรสิงหนาทนี้
35 ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพเจ้า ผู้เป็นมนุษย์ ที่ทำการสักการะทั้งปวง ได้นั่งที่โพธิมณฑลแล้วแสดงอายุกาลที่เป็นเช่นนี้บ้าง
36 ชนทั้งหลายผู้ถึงพร้อมด้วยอัธยาศัย และทรงสุตะ ย่อมเข้าใจอรรถกถาแห่งปิฏก พวกเข้าย่อมไม่มีความสงสัยใดๆ
ยังมีอีก อชิตะ ผู้ใดได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ที่แสดงประมาณอายุกาลของพระตถาคตพึงข้ามพ้น แทงตลอดและหยั่งรู้ ผู้นั้นพึงเพิ่มการสะสมบุญ ที่หยั่งลงสู่พุทธญาณ ได้มากจนมิอาจประมาณได้ จากการฟังธรรมบรรยายนี้ จะป่วยกล่าวไปไย ถึงบุคคลผู้ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ หรือให้คนอื่นได้ฟัง ท่อง จำ เขียน ให้เขียน หรือพึงรวบรวมเป็นเล่มหนังสือ พึงเคารพ นับถือบูชา หรือสักการะ พึงเพิ่มบุญ สักการะ ให้มากกว่า ที่จะให้หยั่งลงสู่พุทธญาณ ด้วยดอกไม้ธูป ของหอม มาลัย ผงเครื่องลูบไล้ จีวร ฉัตรและธงปฏาก หรือประทีปน้ำมัน ประทีปเที่ยนไข หรือประทีปน้ำมันหอม
ดูก่อนอชิตะ ในกาลใด กุลบุตรหรือกุลธิดา ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ที่แสดงถึงประมาณอายุกาลของพระตถาคต ย่อมหลุดพ้นได้ตามอัธยาศัย ในกาลนั้น เขาพึงทราบลักษณะของอัธยาศัยดังนี้ เขาจักเห็นเรา ซึ่งอยู่บนภูเขาคิชกูฎ ที่กำลังแสดงอยู่ ซึ่งแวดล้อมไปด้วยคณะพระโพธิสัตวง์ ติดตามไปด้วยคณะพระโพธิสัตว์ อยู่ท่ามกลางพระสาวก เขาจักเห็นพุทธเกษตรนี้ ของเรา ซึ่งเป็นสหาโลกธาตุ ที่สำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ เป็นทุ่งราบเรียบ ถูกตรึงด้วยสถานที่ทั้ง 8 ซึ่งเหมือนสายใยทองคำ อันวิจิตงดงามด้วยรัตนพฤกษ์ทั้งหลาย เขาจักเห็นพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้ประทับอยู่บนกูฎาคารที่พัก ดูก่อนอชิตะ พึงทราบลักษณะอัธยาศัยของกุลบุตร กุลธิดา ผู้จะหลุดพ้นได้ด้วยอัธยาศัยอย่างนี้
ยังมีอีก อชิตะ เราจะกล่าวกับกุลบุตรทั้งหลายเหล่านั้น ผู้หลุดพ้นแล้วตามอัธยาศัยเมื่อเขาได้ฟังธรรมบรรยายนี้ของพระตาถคตที่นิพพานแล้ว จักไม่ปฏิเสธและจักอนุโมทนายิ่งขึ้น จะป่วยกล่าวไปใย ถึงผู้ที่จดจำ และท่องจำอีกเล่า ผู้ใดได้รวบรวมธรรมบรรยายนี้ เข้าเป็นเล่มหนัง แล้วแบกไว้ ผู้นั้นได้ชื่อว่า ได้แบกพระตถาคตไว้เช่นกัน ดูก่อนอชิต กุลบุตรหรือกุลธิดานั้น ไม่พึงสร้างสถูป ไม่พึงสร้างวิหาร ถวายเรา ไม่ถวายการปฏิบัติด้วยคิลานเภสัชแก่ภิกษุสงฆ์ เพราะเหตุไร ดูก่อนอชิตะ เพราะเหตุว่า กุลบุตรและกุลธิดานั้น ได้ทำการบูชาสรีรธาตุของเรา และได้สร้างสถูปที่ประดับด้วยสัปตรัตนะ สูงถึงพรหมโลก มีส่วนอื่นคือฐาน ตามความเหมาะสม มีที่รองรับฉัตร มีธง เป็นที่น่ายินดีด้วยการลั่นของระฆัง ความทำสักการะต่างๆ แก่สถูปที่บรรจุสรีรธาตุ เหล่านั้น ด้วยดอกไม้ ธูป ของหอม มาลัย ผงเครื่องลูบไล้ จีวร ฉัตร ธงปฏาก และธงริ้วทั้งหลาย ที่เป็นของทิพย์ (เทพ) และของมนุษย์ชนิดต่างๆและควรทำสักการะสิ้นร้อยพันโกฏิกัลป์ มากจนประมาณมิได้ด้วย ด้วยเสียงที่ดังกึกก้องของบกรับ(ตาล) ดนตรี(วาทยะ) อันน่ากลัว (ภีรุ) ของกลองเล็กใหญ่ อันเป็นกลองสงครามที่รุนแรง เป็นเหตุให้ใจอ่อนไหวไปต่างๆ และด้วยกลุ่มนักร้อง นักรำ รวมทั้งนักระบำชนิดต่างๆ จำนวนมากจนมิอาจนับได้ ดูก่อนอชิตะ เมื่อเรานิพพานแล้ว บุคคลผู้ท่องจำ เขียน และเผยแผ่ธรรมบรรยายนี้ ชื่อว่า ได้สร้างวิหารอันกว้างใหญ่ไพศาลทีเดียว เขาได้สร้างปราสาท (วิหาร) 32 หลังทำด้วยไม้จันทน์แดง สูง 8 ชั้น ให้เป็นที่อาศัยของภิกษุ 1000 รูป ปราสาทเหล่านั้น งดงามด้วยดอกไม้ในสวน สมบูรณ์ด้วยป่าเป็นที่เดินจงกรม ประกอบด้วยที่นอนและที่นั่ง สมบูรณ์ด้วยการปรุงขาทนียะโภชนียะ ข้าวน้ำและคิลานเภสัช ประดับด้วยเครื่องหอมเพื่อความสุขของทุกคน สัตว์เหล่านั้น มีจำนวนมาก จนประมาณมิได้ว่า เป็นร้อย เป็นพัน เป็นแสน เป็นโกฏิ เป็นร้อยโกฏิ เป็นพันโกฏิ เป็นแสนโกฏิ หรือเป็นร้อยพันหมื่นโกฏิ เขาเหล่านั้น ได้พยายามต่อหน้าสาวกของเรา และเราก็รู้ว่า เขาเป็นผู้ดื่มด่ำ(ในธรรม) แล้ว เมื่อพระตถาคตนิพพานแล้ว ผู้ใดทรงจำ ท่อง แสดง เขียน หรือให้เขียน ซึ่งธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนอชิตะ โดยปริยายนี้ เราจึงกล่าวกับผู้นั้นว่า เมื่อเรานิพพานแล้ว บุคคลนั้นไม่ควรสร้างสถูปบรรจุพระธาตุ ไม่ควรทำสังฆบูชา ดูก่อนอชิตะ จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคล ผู้ทรงจำธรรมบรรยายนี้ ที่ถึงพร้อมด้วยทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน หรือถึงพร้อมด้วยปัญญา กุลบุตรหรือกุลธิดานั้น พึงสะสมบุญที่เป็นไปเพื่อพระโพธิญาณได้มากจนประมาณมิได้ นับมิได้ และไม่มีที่สิ้นสุด ดูก่อนอชิตะ เช่นเดียวกับอากาศธาตุ อันไม่มีขอบเขตที่สิ้นสุด ในทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศใหญ่ทั้งหลาย กุลบุตรหรือกุลธิดาใด พึงทรงจำ ท่อง แสดง เขียน หรือให้เขียน ซึ่งธรรมบรรยายนี้ กุลบุตรหรือกุลธิดานั้น พึงเพิ่มการสะสมบุญ ที่ประมาณมิได้ นับไม่ได้ อย่างนี้ที่เป็นไปเพื่อพระโพธิญาณ
เขาได้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่การสักการะเจดีย์ของพระตถาคตแล้ว พึงกล่าวยกย่องสาวกของพระตถาคต พึงเผยแพร่คุณธรรมจำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิ ของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย และพึงประกาศแก่ผู้อื่น พึงถึงพร้อมด้วยขันติ ศีล มีกัลยาณธรรม มีความสามัคคี มีความอดทน มีทมะ และเป็นผู้ไม่โกรธเคือง ไม่อาฆาต มีใจมั่นคง ไม่มีจิตคิดพยาบาท มีสติ มีพละ มีวิริยะ มีความหมั่นเพียร เป็นผู้มีสมาธิด้วยความปรารถนาพุทธธรรม เป็นผู้มุ่งไปในทางวิเวก เป็นผู้มากไปด้วยความวิเวก เป็นผู้ฉลาดในการแก้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาได้จำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิ เมื่อพระตถาคตนิพพานแล้วคุณประโยชน์ทั้งหลายเห็นปานนี้ ที่เราได้แยกแยะไว้ พึงมีแก่พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้ทรงจำธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนอชิตะ กุลบุตรหรือกุลธิดาผู้นั้น พึงทราบอย่างนี้ว่า กุลบุตรหรือกุลธิดาผู้นี้ ผู้ยืนอยู่ที่บริเวณต้นโพธิ์ ย่อมไปสู่โคนต้นโพธิ์ เพื่อตรัสรู้พระโพธิญาณ ดูก่อนอชิตะ กุลบุตรหรือกุลธิดา ผุ้นั้น พึงยืน นั่ง หรือเดินจงกรมในที่ใด ดูก่อนอชิตะ ในที่นั้น ความสร้างเจดีย์เพื่ออุทิศพระตถาคต ชาวโลกและเทวดาพึงกล่าวถึงเจดีย์ นั้นว่า นี้คือสถูป (บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ) ของพระตถาคต
เวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
37 กองบุญที่ไม่มีขอบเขต ที่เราพรรณนาไว้ครั้งแล้ว ครั้งเล่านั้น จักมีแก่บุคคลผู้ทรงจำพระสูตรนี้ เมื่อพระผู้นำแห่งนรชนนิพพานแล้ว
38 เขาได้ทำการบูชาและสร้างสถูปบรรจุพระธาตุของเรา ที่สำเร็จด้วยรัตนะอันวิจิตรงดงามน่าทัศนายิ่ง
39 สูงเสมอพรหมโลก ประดับด้วยธงแถวทั้งหลาย มีความกว้างเป็นที่สุด มีความงามประดับด้วยธงริ้วทั้งหลาย
40 ระฆังที่เหมาะสม งดงามด้วยแถบผ้าแพร เมื่อถูกลมพัดจะมีเสียงดังกังวาล ย่อมงดงามเหมือนระฆังที่พระธาตุของพระชินเจ้า ฉะนั้น
41 เขาได้ทำการบูชาที่ยิ่งใหญ่แก่พระธาตุ ด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ดนตรี ผ้าและกลองบ่อยๆ
42 เขาได้ถวายการละเล่นด้วยตนตรี การขับร้องอันไพเราะ การจุดประทีปด้วยน้ำมันหอม โดยรอบที่พระธาตุเหล่านั้น
43 เมื่อถึงยุคเสื่อม บุคคลใดได้ทรงจำและแสดงพระสูตรนี้ บุคคลนั้น ชื่อว่า ได้กระทำการบูชาเช่นนี้มากมายแก่เรา
44 เขาได้สร้างวิหารอันดีเลิศ จำนวนหลายโกฏิ ปราสาท 32 หลัง สูง 8 ชั้น
45 มีห้องจำนวน 1,000 ประกอบด้วยที่นอน ที่นั่ง สมบูรณ์ด้วยขาทนียะ และโภชนียะ ที่จัดเป็นห้องหนึ่ง เพื่อนำไปสู่ห้องรวม
46 เขาได้ถวายอาราม ทางเดินจงกรม ที่งดงามไปด้วยสวนดอกไม้ และนาข้าวจำนวนมาก ที่วิจิตรไปด้วยรวงข้าวจำนวนมาก
47 บุคคลใดพึงทรงจำพระสูตรนี้ เมื่อพระผู้นำได้นิพพานไปแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่า ได้กระทำการบูชาต่างๆแก่พระสงฆ์ต่อหน้าเรา
48 บุคคลที่ท่องและเขียนพระสูตรนี้ ย่อมได้บุญมากกว่า ผู้มีวิมุติเป็นแก่นสาร
49 บุคคลบางคนพึงให้คัดลอกศัพทศาสตร์ ไว้ในหนังสือ แล้วพึงบูชาหนังสือนั้น ด้วยของหอม มาลัย และเครื่องลูบไล้ทั้งหลาย
50 บุคคลพึงถวายประทีป ที่เต็มด้วยน้ำหอม ดอกบัวตามธรรมชาติที่บานแล้วและช่อดอกจำปา
51 บุคคลที่ได้ทำการบูชาเช่นนี้ ต่อหนังสือทั้งหลาย บุญจำนวนมากย่อมเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถประมาณได้
52 อากาศธาตุในทิศทั้ง 10 มิสามารถประมาณได้ ฉันใด กองบุญที่เป็นเช่นนี้ ก็ไม่สามารถประเมินผลได้ ฉันนั้น
53 จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลผู้มีขันติ ทมะ สมาธิ ศีล การศึกษา และเจริญภาวนา
54 ผู้ไม่โกรธ ไม่โหดร้าย ตั้งอยู่ในความเคารพ อ่อนน้อมต่อภิกษุเป็นนิตย์ ไม่เย่อหยิ่ง ไม่หงอยเหงา
55 เป็นผู้มีความรู้ เป็นนักปราชญ์ เมื่อถูกถามปัญหาก็ไม่โกรธ เป็นผู้มีความเมตตา กรุณา ต่อสัตว์ทั้งหลาย ย่อมชี้แจงตามลำดับขั้นตอน
56 บุคคลใดพึงรักษาพระสูตรนี้ไว้ ก็ไม่สามารถประมาณกองบุญของบุคคลเช่นนี้ได้
57 ถ้าบุคคลได้พบเห็นบุคคลเช่นนี้ ซึ่งเป็นผู้สอนธรรม ทรงจำพระสูตรนี้ไว้ พึงทำความเคารพต่อบุคคลนั้น
58 บุคคลพึงบูชาด้วยดอกไม้ทิพย์ พึงถวายด้วยผ้าทิพย์ พึงน้อมศีรษะลงให้ความเคารพบาททั้งสองของเขา เพราะผู้นี้คือพระตถาคต ที่จะยังพระโพธิญาณให้เกิดขึ้น
59 เมื่อพบบุคคลเช่นนี้ จงคิดว่า ในกาลนั้น บุคคลผู้นี้กำลังเดินไปสู่โคนต้นไม้ จักตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันเป็นบรมสุข เพื่อประโยชน์เกื้อกูลต่อมนุษย์และเทวดา
60 พระมุนีผู้เป็นเช่นนี้ ผู้เป็นนักปราชญ์ จะเดิน ยืน นั่ง หรือนอน ในที่ใดก็ตาม จะกล่าวคาถาจากพระสูตรหนึ่ง
61 ในที่นั้น บุคคลพึงสร้างสถูปอันงดงาม และน่าทัศนา ของพระผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ เพื่ออุทิศพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระผู้นำและควรทำการบูชาอันวิจิตต่างๆ
62 แผ่นดินและประเทศนั้น เราเคยอาศัยมาแล้ว ที่นั่นเราเคยเดินมาแล้ว กุลบุตรนั้นสถิตอยู่ในที่ใด ที่นั้นเราก็เคยเข้าไปแล้ว
บทที่ 16 ปุณยบรรยายปริวรรต ว่าด้วยบุญบรรยาย
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑริกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่17 การอนุโมทนา
บทที่ 17
อนุโมทนาปุณยนิรเทศปริวรรต
ว่าด้วยการแสดงบุญจากการอนุโมทนา
ครั้งนั้น พระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค กุลบุตรหรือกุลธิดา ได้ฟังธรรมบรรยายที่พระองค์แสดงนี้ แล้วอนุโมทนา ข้าแต่พระผู้มีพระภาค กุลบุตรหรือกุลธิดานั้น จะสะสมบุญนั้นได้อย่างไร?
ในกาลนั้น พระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้ตรัสคาถาว่า
1 เมื่อพระมหาวีระ (พระพุทธเจ้า) นิพพานแล้ว บุคคลใดได้ฟังพระสูตรเช่นนี้ ครั้นฟังแล้ว เขาพึงอนุโมทนา บุญกุศล แห่งการอนุโมทนาของเขา นั้น จะเป็นอย่างไร?
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะพระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนอชิตะ เมื่อตถาคตนิพพานแล้ว กุลบุตรหรือกุลธิดาใดก็ตาม ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ที่เราแสดงประกาศอยู่ จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา บุรุษผู้เป็นปราชญ์ เด็กชาย เด็กหญิง ครั้นได้ฟังแล้วพึงอนุโมทนา ถ้าหลังจากนั้น เขาลุกจากการฟังธรรม แล้วหลีกไป เขาจะไปวัด บ้าน ป่า ถนน หมู่บ้าน หรือชนบท แล้วพึงบอกเหตุและธรรมนั้น ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ตนเข้าใจ และตามความสามารถ แก่สัตว์อื่นๆ จะเป็นมารดาก็ดี บิดาก็ดี ญาติก็ดี หรือใครๆจะเป็นผู้ร่วมยินดีบุคคลอื่น หรือผู้ร่วมสรรเสริญ ถ้าว่า บุคคลนั้น ได้ฟังแล้ว พึงอนุโมทนา ครั้นอนุโมทนาแล้วพึงบอกแก่บุคคลอื่นต่อไปอีก บุคคลแม้นั้น ครั้นได้ฟังแล้ว ก็พึงอนุโมทนาบอกบุคคลอื่นต่อๆกันไป โดยปริยายนี้ จนถึง 50 คน ดูก่อนอชิตะ บุรุษคนที่ 50 พึงเป็นผู้ยินดีต่อการได้บอกต่อกันมา ดูก่อนอชิตะ เราจักแสดงการสะสมบุญที่ถึงพร้อมด้วยการอนุโมทนา ของกุลบุตรหรือกุลธิดานั้น ขอท่านจงฟัง จงยินดี และจงตั้งใจฟังด้วยดี เราจะแสดงแก่ท่าน
ดูก่อนอชิตะ สัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในโลกธาตุทั้ง 4 เป็นเวลาร้อยพันอสงไขย เป็นผู้เข้าถึงคติทั้ง 6 คือพวกที่เกิดในไข่ เกิดในครรภ์ เกิดในไคล เกิดผุด(อุบัติ)ขึ้น มีรูปก็ตาม ไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญาก็ตาม ไม่มีสัญญาก็ตาม มีสัญญาหามิได้ก็ตาม ไม่มีสัญญาหามิได้ก็ตาม มีเท้าก็ตาม ไม่มีเท้าก็ตาม สองเท้าก็ตาม สี่เท้าก็ตาม มีหลายเท้าก็ตาม จนกระทั่งสัตว์ทั้งหลาย ที่รวมกันเป็นกลุ่มในสัตว์โลก ครั้งนั้น เกิดมีบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งปรารถนาจะทำบุญ ปรารถนาจะทำประโยชน์ เขาจึงให้เครื่องเล่น อันน่าปรารถนาทั้งปวง เครื่องบริโภค อันน่ายินดี น่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ แก่หมู่สัตว์เหล่านั้น เขาพึงให้ชมพูทวีป ที่สมบูรณ์ (ทุกอย่าง) แก่สัตว์แต่ละคน เพื่อการละเล่นที่น่าปรารถนา การบริโภคที่น่าพอใจ พึงให้ทองคำแท่ง ทองคำ เงิน มณี มุกดา ไพฑูรย์ สังข์ ประพาฬ รถเทียมโค และรถเทียมช้าง แม้กระทั่งปราสาทเรือนยอด ดูก่อนอชิตะ โดยปริยายนี้ บุรุษผู้เป็นเจ้าแห่งทาน เป็นเจ้าแห่งมหาทานนั้น พึงให้ทานตลอด 80 ปีเต็ม ดูก่อนอชิตะ บุรุษผู้เป็นเจ้าแห่งทาน เป็นเจ้าแห่งมหาทานนั้น พึงคิดว่า ได้ยินว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ที่เราให้เล่น ให้เพลิดเพลิน และให้เป็นอยู่ด้วยความสุข บัดนี้สัตว์เหล่านั้น หนังเหี่ยว ผมหงอก แก่เฒ่า ชรา มีอายุได้ 80 ปีโดยกำเนิด สัตว์เหล่านั้น กำลังอยู่ในกาลกิริยา(ตาย) เราควรสอนสัตว์เหล่านั้น ให้น้อมลงสู่พระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ดูก่อนอชิตะ บุรุษนั้น จึงยังสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น ให้ยอมรับ (พระธรรม) ครั้นให้ยอมรับแล้ว จึงให้เขาน้อมลง และยึดถือพระธรรมวินัย ที่พระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้ว เมื่อสัตว์เหล่านั้น ได้ฟังธรรมของบุรุษนั้นแล้ว แม้ฟังเพียงขณะหนึ่ง ครู่หนึ่ง นิดหนึ่ง สัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น พึงบรรลุเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอนาคามิผล จนกระทั่งบรรลุเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะ มีสมาธิ และสมาธิในวิโมกข์ทั้ง 8 ดูก่อนอชิตะ ท่านคิดว่า มูลเหตุนั้น เป็นอย่างไร? บุรุษเจ้าของทาน เจ้าของมหาทานนั้น ควรสะสมบุญอันบริสุทธิ์ ให้จนมิอาจประมาณได้ มิอาจนับได้หรือ? เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ พระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะเหตุนี้ บุรุษผู้เป็นเจ้าของทาน เจ้าของมหาทาน ควรสะสมบุญให้มากขึ้น เพราะเขาได้ให้ความสุขที่มั่นคงแก่สัตว์ทั้งหลายจะป่วยกล่าวไปใย ที่เขายังสัตว์ให้ตั้งอยู่ในธรรมเบื้องสูง คือความเป็นพระอรหันต์อีกเล่า?
เมื่อกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะพระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้นว่า ดูก่อนอชิตะ เราจักบอก กล่าวแก่ท่าน บุรุษผู้เป็นเจ้าของทาน เจ้าของมหาทานนั้น ควรสะสมบุญด้วยกายยังสัตว์ทั้งหลาย ให้บริบูรณ์ด้วยการตั้งมั่นในความสุขทั้งปวง ในโลกธาตุทั้ง 4 เป็นเวลาร้อยพันอสงไขย แล้วพึงให้ตั้งอยู่ในความเป็นอรหันต์ ส่วนบุรุษที่ 50 ได้รับการฟังสืบต่อกันมา วัสดุ (มูลเหตุ แห่งการทำบุญ ที่ประกอบด้วยการอนุโมทนาของบุรุษนั้นกับ วัสดุ(มูลเหตุ) แห่งการกระทำบุญที่ประกอบด้วยทาน และยังสัตว์ให้ตั้งอยู่ในความเป็นพระอรหันต์ของบุรุษผู้เป็นเจ้าของทานและเจ้าของมหาทานนั้น การสะสมบุญที่ประกอบด้วยการอนุโมทนานี้แล มีผลมากกว่าการเป็นเจ้าของทานนั้น คือบุรุษที่ 50 นี้ ได้ฟังแม้เพียงคาถาเดียว บาทเดียว จากธรรมบรรยายนี้ ที่ฟังต่อๆกันมาจากบุรุษนั้น แล้วจึงอนุโมทนา ดูก่อนอชิตะการสะสมบุญ ที่ประกอบด้วยทาน และประกอบด้วยการให้ตั้งอยู่ในความเป็นพระอรหันต์นั้นที่เคยมีมาแล้ว ย่อมไม่ถึงเสี้ยวแห่งร้อย ของการสะสมบุญที่ประกอบด้วยการอนุโมทนา และการสะสมกุศลมูล ที่ประกอบด้วยการอนุโมทนา ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่พัน เสี้ยวที่แสน เสี้ยวที่โกฏิ เสี้ยวที่ร้อยโกฏิ เสี้ยวที่พันโกฏิ เสี้ยวที่แสนโกฏิ และเสี้ยวที่หมื่นแสนโกฏิ ไม่สามารถกำหนดด้วยการนับ คำนาน รวบรวม เปรียบเทียบ และจัดการ ดูก่อนอชิตะ บุรุษที่ 50 นั้น โดยที่สุดได้ฟังแม้เพียงคาถาเดียว บาทเดียว ในการฟังต่อๆกันมา แล้วสะสมบุญที่มิอาจประมาณได้ นับมิได้ถึงเพียงนี้ ดูก่อนอชิตะ เราจึงเรียกการสะสมบุญนั้น ของบุรุษคนที่ 50 นั้นว่า ประเสริฐกว่าจนประมาณมิได้ เลิศกว่าจนนับมิได้
ดูก่อนอชิตะ กุลบุตรหรือกุลธิดาคนใด ปรารถนาจะฟังธรรมบรรยายนี้ พึงออกจากบ้านของตนแล้วไปสู่วิหาร ครั้นไปแล้ว พึงยืนหรือนั่ง ฟังธรรมบรรยายนี้ ในวิหารนั้นแม้เพียงครู่หนึ่ง ด้วยการสะสมบุญจำนวนมากนั้น ที่เขาได้กระทำและรวบรวมไว้ บุคคลนั้น เมื่อตายจากชาตินี้แล้ว จักได้รถเทียมโค รถเทียมม้า รถเทียมช้าง สีวิก(วอหรือเกี้ยว) ยานเที่ยมโคตัวเมีย ยานเทียมโคตัวผู้ และวิมานทิพย์ในชาติที่สอง อันเป็นการได้รับเฉพาะตนครั้งที่สอง ถ้าหากว่าการฟังธรรมบรรยายนี้ เขาพึงนั่งลง แล้วฟังธรรมบรรยายนี้แม้เพียงครู่หนึ่ง หรือให้คนอื่นนั่ง หรือแบ่งที่นั่งให้บุคคลอื่น ด้วยการสะสมบุญนั้น เขาจักได้บัลลังก์ของท้าวสักกะ บัลลังก์ของพรหม และราชบัลลังก์ของพระเจ้าจักรพรรดิ ดูก่อนอชิตะ ถ้ากุลบุตร หรือกุลธิดาคนใดพึงกล่าวกับบุรุษอื่นว่า ข้าแต่บุรุษผู้เจริญ ท่านจงมาเถิด จงฟังธรรมบรรยายชื่อสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถ้าบุรุษนั้นมาฟังธรรมมาตรว่า เพียงชั่วครู่หนึ่ง เพราะอาศัยการชักชวนของเขา ด้วยการชักชวนนั้น เขาย่อมได้ความร่วมใจกันพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้ได้ธารณี เพราะกุศลมูลที่สะสมไว้แล้ว เขาไม่เป็นคนหดหู่ มีอินทรีย์กล้า มีปัญญา ปากของเขาไม่เป็นโรค ไม่มีโรค และไม่มีกลิ่น ตลอดร้อยพันชาติ ไม่มีโรคที่ลิ้น ไม่มีโรคที่ปาก ฟังไม่ดำ ไม่เก ไม่เหลือง ไม่ซ้อน ไม่ทู่ ไม่หัก ไม่งอ ปากไม่ห้อย ไม่หุบ ไม่ยื่น ไม่โค้ง ไม่ดำ และไม่น่าเกลียด จมูกไม่แฟบ ไม่เบี้ยว หน้าไม่ยื่น ไม่งอ ไม่ดำ มิใช่มิน่ารักและน่าดู ดูก่อนอชิตะ ลิ้นฟัง ริมฝีปากของเขา ช่างงดงามและเหมาะ จมูกโด่ง ใบหน้าละเอียดอ่อน คิ้วเหมาะสม หน้าผากอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสวยงาม เป็นผู้ได้ลักษณะของบุรุษที่สมบูรณ์ทุกประการ เขาย่อมได้พระผู้มีพระภาคเป็นผู้สอนธรรม ย่อมได้ความใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าในเร็วพลัน ดูก่อนอชิตะ ท่านจงดูบุรุษนั้น ที่ชักชวนสัตว์เพียงคนเดียว สามารถเพิ่มบุญได้ถึงเพียงนี้ จะป่วยกล่าวไปไย ถึงบุคคลที่ฟัง ท่อง แสดง และประกาศธรรมด้วยความเคารพเล่า
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
2 บุรุษที่ 50 ได้ฟังพระสูตรนี้ต่อๆกันมา เพียงคาถาเดียว แล้วมีจิตยินดีอนุโมทนา ท่านจงฟังเถิดว่า บุญของเขามีมากมายเพียงใดในโลก
3 บุรุษผู้บริจาคทานแก่สัตว์หลายหมื่นโกฏิ ในโลกเป็นนิตย์ ที่เราได้เปรียบเทียบมาก่อนแล้ว เขาได้อุทิศทานนั้นให้แก่สัตว์ทั้งปวง ตลอด 80 ปี
4 เขาได้เห็นสัตว์เหล่านั้น ตั้งอยู่ในความชรา ผิวย่น ศีรษะขาว อะโห สัตว์เหล่านี้ ควรจะหลุดพ้น(จากภาวะนั้น ไฉนหนอ) เราพึงให้ธรรมโมวาทแก่พวกเขา
5 เขาย่อมสอนธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ แล้วพึงประกาศนิพพานภูมิในภายหลัง เพราะความเป็นสัตว์ทั้งปวงนั้น เปรียบได้กับฟองน้ำและพยับแดด ฉะนั้น เขาจึงปล่อยวางในภพทั้งปวง
6 สัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น ครั้นได้ฟังธรรมอย่างใกล้ชิดจากบุรุษผู้ให้นั้น ได้กลายเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะ ดำรงร่างกายเป็นชาติสุดท้ายในโลกเพียงสมัยเดียว
7 บุญของบุคคลผู้ได้ฟังเพียงคาถาเดียวต่อๆกันมา ย่อมมีมากกว่าผู้ให้ทาน เพราะบุญของผู้ให้ทาน ย่อมไม่ถึงเสี้ยวแห่งบุญของผู้ได้ฟังธรรมนั้น
8 บุญของบุคคลผู้ได้ฟังเพียงคาถาเดียวต่อๆกันมา มีมากถึงเพียงนี้ ไม่มีที่สิ้นสุด ประมาณไม่ได้ แล้วจะป่วยกล่าวไปไย ถึงบุญของผู้ได้ฟังธรรมต่อพระพักตร์(ของพระผู้มีพระภาคเล่า)
9 หากผู้ใดชักชวนอีกหนึ่งคน ให้เกิดความอุตสาหะว่า ท่านจงไปฟังธรรม เพราะว่า พระสูตรนี้เป็นสิ่งทีหาได้ยากยิ่ง ในหลายหมื่นโกฏิกัลป์
10 แม้ว่า บุคคลนั้น ได้ฟังพระสูตรนี้เพียงครู่หนึ่ง เพราะถูกชักชวน ท่านจงฟังผลแห่งธรรมนั้น เขาจะไม่มีโรคในปากเลย แม้ในกาลไหนๆ
11 แม้ในกาลไหนๆ เขาจะไม่มีโรคเกี่ยวกับลิ้น ฟัน(ของเขา) จะไม่หลุด ไม่ดำ ไม่เหลือง ไม่เก ริมฝีปากจะไม่น่าเกียจ
12 ใบหน้าของเขาจะไม่งอ ไม่แห้งกรอบ ไม่ยาว ไม่แบน จมูกจะตั้งอย่างเหมาะสม หน้าผาก ฟัน ริมฝีปาก และใบหน้าก็เหมาะสมเหมือนกัน
13 เขาจะเป็นที่รักและเป็นที่น่าสนใจของชนทั้งหลายในกาลทุกเมื่อ ในหน้าของเขาจะไม่บูดเบี้ยว แม้ในกาลไหนๆ กลิ่นปากของเขาจะฟุ้งไปด้วยความหอมดุจกลิ่นดอกบัว
14 บุคคลผู้ฉลาดออกจากบ้านไปสู่วิหาร เพื่อฟังพระสูตรนี้ ครั้นไปแล้วได้ฟังพระสูตรในวิหารนั้นครู่หนึ่ง ท่านทั้งหลาย จงตั้งใจฟังผลบุญของบุรุษผู้มีจิตเสื่อมใสนั้น
15 อาตมภาวะ(ร่างกาย) ของเขานั้น มีความสมบูรณ์เป็นเลิศ เขาผู้เป็นปราชญ์ ย่อมดำเนินไปด้วยรถเทียมม้า ได้ขึ้นสู่รถเทียมช้างที่สูง ประดับด้วยรัตนะทั้งหลาย แล้วจึงดำเนินไป
16 เขาพึงได้รับสีวิกาที่ประดับอย่างงดงาม มีคนจำนวนมากแบกหาม ผลที่งดงามถึงเพียงนี้ได้มีแก่เขา เพราะไปฟังธรรมนั่นเอง
17 เพราะกุศลกรรมที่เขากระทำนั้น เขาจึงได้นั่ง (ในท่ามกลาง) บริษัท ได้ครองบัลลังก์ท้าวสักกะ บัลลังก์พรหม และราชบัลลังก์
บทที่17 อนุโมทนาปุณยนิรเทศปรวรรต ว่าด้วยการแสดงบุญจากการอนุโมทนา
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑริกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่18 อานิสงส์ผู้กล่าวธรรม
บทที่ 18
ธรรมภาณกานุคำสาปปริวรรต
ว่าด้วยอานิสงส์ของผู้กล่าวธรรม
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะพระสตตสมิตาภิยุกตโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า กุลบุตรหรือกุลธิดาคนใด จักจดจำ ท่อง แสดง หรือคัดลอก ธรรมบรรยายนี้ กุลบุตรหรือกุลธิดานั้น จักได้ซึ่งคุณลักษณะแห่งจักษุทั้ง800 ประการ คุณลักษณะแห่งโสต 1,200 ประการคุณลักษณะแห่งฆานะ 800 ประการ คุณลักษณะแห่งชิวหา 1200 ประการ ด้วยคุณลักษณะมากมายอย่างนี้ บ้านคืออินทรีย์ 6 ของเขา จึงสะอาดบริสุทธิ์ เขาย่อมมองเห็นโลกธาตุทั้งสาม ซึ่งมีจำนวนหลายพัน ด้วยตาเนื้อ(มังสจักษุ) ที่เกิดจากมารดาบิดา ซึ่งปรากฏโดยอินทรีย์จักษุอันบริสุทธิ์ ทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งภูเขาและป่ารกชัฎ ลึกลงไปจนถึงอเวจีมหานรก สูงขึ้นไปจนถึงขอบโลกพิภพทั้งปวง ด้วยตาเนื้อที่ปรากฏ เขาจะมองเห็นสัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นในภพนั้น และจะรู้วิบากกรรมของสัตว์เหล่านี้ด้วย
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
1 ท่านจงฟังคุณลักษณะของบุคคล ผู้เป็นปราชญ์ ไม่มีความเดือดร้อน พึงกล่าวประกาศพระสูตรนี้ ในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย จากเรา
2 จักษุของเขามีคุณลักษณะ 800 ประการ สมบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง จักษุของเขาไม่มีมลทิน บริสุทธิ์ ไม่ขุ่นมัว
3 เขาย่อมมองเห็นโลกธาตุนี้ พร้อมด้วย ภูเขา ป่า และบ้านเมือง ด้วยตาเนื้อที่เกิดจากมารดาบิดานั้น
4 เขาจะมองเห็นภูเขา เขาพระสุเมรุ และจักรวาลทั้งปวง เขาได้มองเห็นภูเขาส่วนอื่นๆ และมหาสมุทรด้วย
5 เขาย่อมมองเห็นสิ่งทั้งปวง ต่ำสุดจนถึงนรกอเวจี สูงสุดถึงขอบโลกพิภพ ตาเนื้อของเขา ย่อมมีผลเช่นนี้
6 จักษุทิพย์ของเขาย่อมไม่มี และยังไม่เกิด วิสัยเช่นนี้ย่อมมีแก่ตาเนื้อของเขาเท่านั้น
ยิ่งกว่านั้น ดูก่อนสตตสมิตาภิยุกตะ กุลบุตรหรือกุลธิดาผู้นั้น ผู้กำลังประกาศธรรมบรรยายนี้ และยังสัตว์เหล่าอื่นให้ฟังอยู่ เป็นผู้ประกอบด้วยสุดคุณจำนวน 1,200 ประการเหล่านั้น เสียงต่างๆ ที่แผ่ไปในโลกธาตุทั้งสาม ซึ่งมีจำนวนหลายพันโลกธาตุ ตั้งแต่อเวจีมหานรก จนถึงสุดขอบโลกพิภพ ทั้งภายในและภายนอก เช่นเสียงช้าง เสียงม้า เสียงอูฐ เสียงโค เสียงแพะ เสียงในชนบท เสียงรถ เสียงคนร้องไห้ เสียงคนเศร้าโศก เสียงคนกลัว เสียงสังข์ เสียงระฆัง เสียงกลองรบ เสียงกลอง เสียงการละเล่น เสียงเพลง เสียงการฟ้อน เสียงดุริยางค์ เสียงดนตรี เสียงสตรี เสียงบุรุษ เสียงทารก เสียงธรรม เสียงอธรรม เสียงคนมีความสุข เสียงคนมีความทุกข์ เสียงคนพาล เสียงบัณฑิต เสียงของผู้ที่เป็นเจ้าหญิง เสียงของผู้ที่มิได้เป็นเจ้าหญิง เสียงเทวดา เสียงนาค เสียงยักษ์ เสียงรากษส เสียงคนธรรพ์ เสียงอสูร เสียงครุฑ เสียงกินนร เสียงมโหรคะ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ เสียงไฟ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงชาวบ้าน เสียงชาวนคร เสียงภิกษุ เสียงพระสาวก เสียงปัจเจกพุทธเจ้า เสียงพระโพธิสัตว์ เสียงพระตถาคต จนกระทั่งเสียงใดๆ ที่แผ่ไปในโลกธาตุทั้งสาม ซึ่งมีจำนวนหลายพันโลกธาตุ ทั้งภายในและภายนอก เขาย่อมได้ยินเสียงเหล่านั้นด้วย โสตินทรีย์ที่บริสุทธิ์ตามที่ปรากฏนั้น เขายังไม่ได้รับโสตอันเป็นทิพย์ แต่เขาย่อมรู้ ย่อมเข้าใจ ย่อมจำแนกเสียงของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยโสตินทรีย์ที่ปรากฏ เขาย่อมได้ยินเสียงสัตว์ต่างๆเหล่านั้น แต่เสียงทั้งปวงเหล่านั้น ไม่สามารถครอบงำโสตินทรีย์ของเขาได้ ดูก่อนสตตสมิตาภิยุกตะ รูปอย่างนี้ คือการได้โสตินทรีย์ของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น ทั้งที่เขายังไม่ได้ทิพยโสต
เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนั้นแล้ว พระสุคตศาสดาจึงได้ตรัสพระถาคาเหล่าอื่นอีกว่า
7 ตราบเท่าที่โสตินทรีย์ของบุคคลนั้น บริสุทธิ์ ไม่ขุ่นมัว ปรากฏชัดเจน เขาย่อมได้ยินเสียงต่างๆในโลกธาตุนี้ โดยไม่มีส่วนเหลือ
8 เขาย่อมได้ยินเสียง ช้าง ม้า รถ โค แพะ แกะ กลองใหญ่ กลองเล็ก เสียงของผู้ประกาศ เสียงพิณใหญ่ เสียงขลุ่ย และเสียงพิณเล็ก
9 เขาย่อมได้ยินเสียงขับร้อง อ้นไพเราะจับใจ แต่เขาผู้เป็นปราชญ์ ย่อมไม่ข้องติดในเสียงนั้น เขาย่อมได้ยินเสียงมนุษย์ จำนวนหลายโกฏิ ที่คุยกันถึงเรื่องใดๆ ในที่ใดๆก็ตาม
10 เขาได้ยินเสียงของเทวดาเป็นนิตย์ และได้ยิงเสียงเพลงขับ เสียงดนตรี อันไพเราะจับใจ และเขาได้ยินเสียงของบุรุษ สตรี เด็กชาย เด็กหญิงทั้งหลายด้วย
11 เขาย่อมได้ยินเสียงสัตว์ที่อาศัยตามภูเขาทั้งหลาย เสียงนกการเวก นกดุเหว่า นกยูง และบรรดานกน้อยใหญ่ทั้งหลาย ที่มีชีวิต เขาย่อมได้ยินเสียงอันไพเราะของสัตว์เหล่านั้น
12 เปรตทั้งหลายที่เจ็บปวดด้วยทุกขเวทนาในนรก ย่อมส่งเสียงร้องอย่างโหยหวน แม้พวกเปรตที่ถูกบีบคั้นด้วยทุกขเวทนาเรื่องอาหาร ก็ส่งเสียงร้องอย่างนั้นเหมือนกัน
13 เช่นเดียวกับอสูรและสัตว์ทั้งหลาย ที่อาศัยอยู่ในท่ามกลางทะเล ย่อมส่งเสียงร้องต่างๆกัน เขาผู้แสดงธรรมที่กำลังยืนอยู่บนโลกนี้ ย่อมได้ยินเสียงทั้งปวงและเสียงนั้นไม่อาจครอบงำเขาได้
14 เขาผู้ยืนอยู่บนโลกนี้ ย่อมได้ยินเสียงต่างๆ มากมาของสัตว์ทั้งหลาย ที่กำลังสนทนากัน ในแหล่งที่อยู่ของตน
15 เขาย่อมได้ยินเสียงของเทพที่อยู่ในพรหมโลก ที่อยู่ในอกนิษฐพรหม และอาภัสรพรหม ซึ่งกำลังสนทนากัน
16 เขาย่อมได้ยินเสียงของภิกษุทั้งหลายในโลกนี้อยู่เป็นนิตย์ ที่กำลังสาธยายธรรมอยู่ ครั้งได้รับคำสั่งจากพระสุคต จึงแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย
17 เขาย่อมได้ยินเสียงต่างๆของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ในโลกธาตุนี้ ที่กำลังสาธยายธรรมและสนทนาธรรมต่อกัน
18 พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้เป็นนายสารถีฝึกนรชน ย่อมตรัสธรรมอันประเสริฐนี้ ในบริษัททั้งหลาย พระโพธิสัตว์ผู้รักษาพระสูตรนี้ จักได้ฟังธรรมอันประเสริฐนั้นในกาลครั้งหนึ่ง
19 สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในสามพันพุทธเกษตรนี้ ย่อมส่งเสียงต่างๆ จำนวนมากทั้งภายในและภายนอก โดยต่ำสุดถึงนรกอเวจี สูงสุดถึงขอบโลกพิภพ
20 เขาย่อมได้ยินเสียงสัตว์ทั้งปวง ถ้ากายินทรีย์ของเขายังปกติ อินทรีย์ 4 ยังรับรู้หน้าที่ของตน ๆ โสตินทรีย์ ก็จะปรากฏแจ่มแจ้งเช่นกัน
21 บุคคลผู้ไม่พยายามทำโสตของตนให้เป็นทิพย์ แต่ให้คงอยู่โดยธรรมชาติ นี้คือคุณความดีของผู้รักษาพระสูตรนี้
ดูก่อนสตตสมิตาภิยุกติ นอกจากนั้น ฆานินทรีย์ของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้รักษา ประกาศ ศึกษา และคัดลอกพระสูตรนี้ เป็นฆานินทรีย์ที่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยคุณลักษณะ 800 ประการ เพราะฆานินทรีย์ที่บริสุทธิ์นั้น เขาจึงรับรู้กลิ่นต่างๆ ในโลกธาตุทั้งสาม ซึ่งมีจำนวนหลายพัน ทั้งภายในและภายนอก เช่นกลิ่นเหม็น กลิ่นที่น่าพึงพอใจ กลิ่นดอกไม้ทั้งหลายซึ่งมีประการต่างๆ เช่น กลิ่นดอกมะลิซ้อน กลิ่นดอกมะลิ กลิ่นดอกจำปาและกลิ่นดอกกุหลาบ เป็นต้น เขาสามารถรับรู้กลิ่นเหล่านั้น เขาย่อมรับรู้กลิ่นต่างๆ ของดอกไม้ แม้ที่เกิดในน้ำ เช่น เขารับรู้กลิ่นดอกอุบล กลิ่นดอกบัว กลิ่นดอกโกมุท และกลิ่นดอกปุณฑริก เขาย่อมรับรู้กลิ่นดอกและกลิ่นผลของไม้ดอกและไม้ผลต่างๆ เช่น เขาย่อมรับรู้กลิ่นไม้จันทน์ กลิ่นใบยาสูบ กลิ่นดอกพุด กลิ่นต้นกฤษณา และกลิ่นดอกสุรภี เขาผู้ยืนอยู่ในที่เดียว ย่อมรับรู้กลิ่นทั้งปวง ที่แยกได้ร้อยพันกลิ่นแตกต่างกัน เขาย่อมรับรู้กลิ่นต่างๆ ของสัตว์ทั้งหลาย เช่น เขาย่อมรับรู้กลิ่นของ ช้าง ม้า วัว แพะ และสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย เขาย่อมรับรู้กลิ่นกายของสัตว์ต่างๆที่ถือกำเนิดในสัตว์ ดิรัจฉาน เขาย่อมรับรู้กลิ่นอาตมภาวะของสตรีและบุรุษ เขาย่อมรับรู้กลิ่นอาตมภาวะของเด็กชายและเด็กหญิง เขาย่อมรับรู้กลิ่นของหญ้า พุ่มไม้ สมุนไพร และต้นไม้ทั้งหลาย ซึ่งอยู่ในที่ไกล เขาย่อมรับรู้กลิ่นทั้งหลายตามความเป็นจริง เขาไม่เสื่อม ไม่ลงจากกลิ่นเหล่านั้น แม้ยืนอยู่ในที่นี้ เขาย่อมได้กลิ่นเทวดาทั้งหลาย เช่น ได้กลิ่นดอกไม้ทิพย์ของต้นปาริชาติ ต้นโกวิทาระ ต้นมัทารพน้อยใหญ่ และต้อคำน้อยใหญ่ เขาย่อมรับรู้กลิ่นผงกฤษณาและผงไม้จันทน์อันเป็นทิพย์ เขาย่อมรับรู้กลิ่นดอกไม้ประเภทต่างๆ อันเป็นทิพย์หลายร้อยพันชนิด และเขาย่อมรู้จักชื่อของดอกไม้เหล่านั้น เขาย่อมรับรู้กลิ่นอาตมภาวะของเทวบุตรทั้งหลาย เช่นกลิ่นอาตมภาวะของท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่แห่งเทพทั้งหลาย เข่าย่อมรู้ว่า ท้าวสักกะนั้น กำลังเล่น กำลังยินดี หรือกำลังเพลิดเพลินอยู่ในปราสาทไวชยันต์ หรือกำลังแสดงธรรมแก่เทพทั้งหลาย ที่สุธรรมาเทวสภา บนสวรรค์ชั้นตรัยตรึงศ์ หรือกำลังไปเพื่อการเล่นในสนามแห่งอุทยาน เขาย่อมรับรู้กลิ่นอาตมภาวะของเทวบุตรทั้งหลายเหล่าอื่น ไม่เว้นแต่ละองค์ เขาย่อมรับรู้กลิ่นอาตมภาวะ ของเทพกุมารีและเทพสตรีทั้งหลาย เขาย่อมรับรู้กลิ่นอาตมภาวะของเทพกุมารทั้งหลาย เขาย่อมรับรู้กลิ่นอาตมภาวะของเทพกุมาริกาทั้งหลาย แต่เขาไม่ยึดติดด้วยกลิ่นเหล่านั้น โดยปริยายนี้ เขาย่อมรับรู้กลิ่นอาตมภาวะของสัตว์ทั้งหลาย แม้ผู้ที่อุบัติขึ้นที่สุดขอบของโลกพิภพ เขาย่อมรับรู้กลิ่นอาตมภาวะของเทวบุตรทั้งหลาย ผู้เป็นกลุ่มของพระพรหมและกลุ่มของท้าวมหาพรหม โดยปริยายนี้ เขาย่อมรับรู้กลิ่นอาตมภาวะของกลุ่มเทพทั้งปวง เขาย่อมรับรู้กลิ่นอาตมภาวะของพระสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์และพระตถาคต เขาย่อมรับรู้แม้กลิ่นที่ประทับของพระตถาคต เขาย่อมรับรู้ว่า พระตถาคต พระอรหันต์ และพรสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมประทับอยู่ในที่ใด ฆานินทรีย์ของเขาจะไม่ถูกขัดขวาง ไม่ถูกรบกวนและไม่ถูกเบียดเบียนจากกลิ่นต่างๆ เหล่านั้น เมื่อปรารถนา เขาย่อมสามารถอธิบายกลิ่นต่างๆ เหล่านั้น ให้แก่บุคคลอื่นได้ และความจำของเขา จะไม่ถูกรบกวน
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
22 เมื่อฆานินทรีย์ของเขายังบริสุทธิ์ เขาย่อมรับรู้กลิ่นต่างๆ จำนวนมากทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกธาตุนี้ทั้งกลิ่นดีและกลิ่นเสีย
23 กลิ่นหอมของมะลิซ้อน ของดอกมะลิ ของใบยาสูบ ของไม้จันทน์ ของดอกพุด ของต้นกฤษณา ของดอกไม้และผลไม้ต่างๆ
24 เขายืนอยู่ในที่ไกล ย่อมรู้กลิ่นของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ชายและผู้หญิง เด็กชายและเด็กหญิง เขาจะรู้ตำแหน่งที่อยู่ของชนเหล่านั้น ด้วยกลิ่น
25 เขาย่อมรู้กลิ่นของพระราชา ผู้เป็นจักรพรรดิ ขุนนางผู้เป็นจอมทัพ ขุนนางผู้ปกครองแว่นแคว้น รวมทั้งกลิ่นของกุมารและอำมาตย์ เขาย่อมรู้ชนทั้งปวงภายในเมือง เพราะกลิ่นของชนเหล่านั้น
26 พระโพธิสัตว์ย่อมรู้รัตนะสำหรับใช้สอยต่างๆ จำนวนมากและรัตนะเงินที่อยู่บนดินอีกจำนวนมาก ที่ใช้เป็นเครื่องประดับสตรี ด้วยกลิ่นของสิ่งเหล่านั้น
27 พระโพธิสัตว์ย่อมรู้เครื่องอาภรณ์อันวิจิตร ซึ่งประดับที่กายของชนเหล่านั้น เช่น ผ้า มาลัย และเครื่องลูบไล้ ด้วยกลิ่นของสิ่งเหล่านั้น
28 ผู้ฉลาดที่ทรงจำพระสูตรอันประเสริฐนี้ไว้ ย่อมรู้สตรี ที่ยื่น นั่ง หรือนอน และย่อมรู้ความยินดีในการเล่น กำลังแห่งฤทธิ์ทั้งปวง ด้วยอำนาจมานินทรีย์
29 เขาผู้ยืนอยู่นั้น ย่อมได้กลิ่นน้ำมันหอม กลิ่นดอกไม้และกลิ่นผลไม้ชนิดต่างๆและเขาย่อมรู้จักกลิ่นเหล่านั้นว่า มีอยู่ในที่โน้นหรือที่นี่
30 เขาย่อมรู้ไม้จันทน์จำนวนมากที่ผลิดอกระหว่างซอกและสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในซอกเขานั้น ได้ไม่ยากนัก ก็เพราะกลิ่นของสิ่งทั้งปวงเหล่านั้น
31 สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ใกล้จักรวาล ท่ามกลางมหาสมุทรหรือท่ามกลางพื้นพิภพ เขาย่อมรู้จักสัตว์เหล่านั้นได้ด้วยกลิ่น
32 เขารู้จักเทพ ยักษ์ และธิดาของยักษ์ เขารู้จักการละเล่นและความยินดีของยักษ์ ประสบการณ์เช่นนี้ เป็นเพราะพลังแห่งมานินทรีย์ของเขา
33 เพราะฆานินทรีย์นั้น เขาจึงรู้จักที่อยู่ของสัตว์ 4 เท้าในป่า เช่น สิงห์ เสือ ช้าง งู กระบือ โคและโคป่า
34 จากกลิ่นนั้น เขาย่อมรู้ทารกในครรภ์ของสตรี ซึ่งมีกายกำลังปั่นป่วนอยู่ในท้องว่า เป็นเพศชาย หรือเพศหญิง
35 เขาย่อมรู้ว่า สัตว์มาถึงแล้ว(ใกล้จะคลอด) เขารู้ด้วยว่า สัตว์นั้นจะตายหรือไม่ตาย สตรีผู้นี้ เมื่อหายเจ็บปวดแล้ว จะคลอดบุตรชายผู้มีบุญ
36 เขาย่อมรู้จักคนหลายประเภท เช่นเดียวกับที่เขารับรู้กลิ่นของบุคคลแต่ละประเภท เช่น คนมีความรัก คนเลว คนกลับกลอก และเขาย่อมรู้กลิ่นของบุคคลที่มีจิตสงบแล้วด้วย
37 พระโพธิสัตว์นั้น ย่อมรับรู้ด้วยกลิ่นว่า มีทรัพย์ฝังอยู่ภายในพื้นดิน เช่นทรัพย์ เงิน ทองรูปพรรณ ภาชนโลหะ รวมทั้งทองแท่ง
38 ด้วยกลิ่นนั้นเอง เขาย่อมรู้สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด คือสร้อยข้อมือ สร้อยคอ แก้วมณี มุกดา รัตนะต่างๆ อันหาค่ามิได้ รวมทั้งสิ่งที่มีชื่ออันหาค่ามิได้อื่นๆ ซึ่งมีแสงเป็นประกายยิ่ง
39 ผู้เป็นปราชญ์ แม้อยู่ในโลกนี้ ย่อมได้กลิ่นดอกไม้ในสวรรค์ชั้นสูงสุด เช่นกลิ่นดอกมณฑารพ ดอกมัญชูษกะ(ดอกคำ) และดอกปาริชาต
40 ด้วยอำนาจของฆานินทรีย์ เขาผู้ดำรงอยู่ในโลกนี้ ย่อมรู้กลิ่นวิมานของผู้เช่นนี้ สูง ต่ำ ปานกลาง หรือมีรูปทรงงดงามปานใด
41 เขาย่อมรู้พื้นที่ในอุทยาน ที่นั่งของเทพในไวชยันต์ อันเป็นปราสาทที่ดีที่สูดในสุธรรมศาลา เขาย่อมรู้เทพบุตรทั้งหลาย ที่สำลังรื่นเริงอยู่ในที่นั่น
42 เขาผู้อยู่ในโลกนี้ ย่อมได้กลิ่นของเทวดาเหล่านั้น เพราะกลิ่นนั้นเอง เขาจึงรู้จักเทพบุตรทั้งหลาย ผู้กำลังทำงาน กำลังยืน กำลังนอน หรือกำลังเดินอยู่
43 ด้วยกลิ่นนั้น พระโพธิสัตว์ย่อมรู้ว่า นางเทวกัญญา ที่ประดับด้วยดอกไม้นานาชนิด ประดับด้วยอาภรณ์คือมาลักมุกดา กำลังร่างเริงและเดินอยู่ ณ ที่ใด
44 ด้วยกลิ่นนั้น เขาย่อมรู้ว่า เทพ พรหม มหาพรหม ผู้อยู่ในวิมานสูงสุดยอดพิภพ กำลังอยู่ในสมาธิ หรืออกจากสมาธิแล้ว
45 เขาย่อมรู้เทวบุตรทั้งหลาย ผู้อยู่ในชั้นอาภัสระ ที่กำลังจุติและอุบัติขึ้น และเทวบุตรอื่นๆ ที่ไม่มีมาก่อน ฆานินทรีย์อย่างนี้ ย่อมมีแก่พระโพธิสัตว์ผู้รักษาพระสูตรนี้เท่านั้น
46 พระโพธิสัตว์นั้น ย่อมรู้จักภิกษุทั้งปวง ในศาสนาของพระสุคต ผู้ประกอบความเพียรในการจงกรม ผู้มีความยินดีในธรรมบรรยายและการเรียนรู้
47 ด้วยกลิ่นนั้นเขาผู้มีปัญญา ย่อมรู้จักภิกษุ ผู้เป็นสาวกชินบุตรผู้อาศัยอยู่ ณ โคนต้นไม้ และรู้จักภิกษุทั้งปวงเหล่านั้นว่า ภิกษุชื่อโน้น ย่อมอาศัยอยู่ ณ ที่โน้น
48 ด้วยกลิ่นนั้น พระโพธิสัตว์ย่อมรู้ว่าพระโพธิสัตว์เหล่าอื่น มีสติ สมาธิ ยินดีในการบรรยายและเรียนรู้ ย่อมประกาศธรรมในบริษัททั้งหลายเพียงใด
49 ด้วยกลิ่นนั้น พระโพธิสัตว์ย่อมรู้จักพระสุคตมหามุนี ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์ ผู้ควรสักการะ ผู้ประกาศธรรมในท่ามกลางหมู่สาวก ซึ่งอยู่ในทิศใดก็ตามว่า นั้นคือพระโลกนาถ
50 พระโพธิสัตว์ผู้อยู่ในโลกนี้ ย่อมรู้สัตว์ทั้งหลายที่ฟังธรรม ครั้นฟังแล้วก็มีความยินดี ทั้งย่อมรู้บริษัททั้งปวงของพระชินเจ้าด้วย
51 อำนาจแห่งฆานินทรีย์ของเขาเป็นเช่นนี้ ทิพยฆานินทรีย์ของเขาย่อมไม่มี เพราะฆานินทรีย์อย่างนี้ของเขาเป็นของธรรมดา ฆานินทรีย์ที่เป็นทิพย์จึงไม่เศร้าหมอง
ดูก่อนสตตสมิตาภิยุกตะ กุลบุตรหรือกุลธิดานั้น ผู้รักษา แสดง ประกาศ คัดลอกซึ่งธรรมบรรยายนี้ ย่อมได้ชิวหินทรีย์ ที่ประกอบด้วยชิวหาคุณลักษณะ 1,200 ประการเหล่านนั้น เขาย่อมลิ้มรสเหล่าใดด้วยชิวหินทรีย์ที่มีลักษณะอย่างนั้น เขาวางรสเหล่าใดลงที่ชิวหินทรีย์รสเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมให้รสประเสริฐอันเป็นทิพย์ เขาจะไม่ลิ้มรสอันไม่เป็นที่พอใจ โดยประการใด เขาจักลิ้มรสโดยประการนั้น เพราะรสอันไม่เป็นที่พอใจเหล่านั้นที่เขาวางลงบนชิวหินทร์ ย่อมให้รสอันเป็นทิพย์ เขาไปเผยแพร่ธรรมใดในท่ามกลางบริษัท สัตว์ทั้งหลายจักเป็นผู้มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีความปีติ ยินดีปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง กับการแสดงธรรมของเขาสำเนียงของเขานั้น นุ่มนวล ลึกซึ้ง ไพเราะจับใจ น่ายินดี จักแผ่ซ่านเข้าสู่จิตใจ(ของผู้ฟัง) สัตว์ทั้งหลายผู้ยินดี ด้วยธรรมของเขา จักมีจิตใจที่สูงขึ้น เขาแสดงธรรมแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นและเทวดาทั้งหลาย เมื่อได้ฟังเสียงอันไพเราะ นุ่นนวลจับใจของเขาแล้ว ย่อมคิดถึงเขาว่า เป็นผู้ที่ตนควรเข้าหา เพื่อชื่นชม ไหว้ เข้าไปนั่งใกล้ และเพื่อฟังธรรม แม้เทวบุตร แม้เทวกัญญาทั้งหลาย ก็คิดถึงเขาว่า เป็นผู้ที่คนควรเข้าหา เพื่อชื่นชม ไหว้ เข้าไปนั่งใกล้ และเพื่อฟังธรรม แม้ท้าวสักกะ แม้พระพรหม และเทวบุตรพรหมกายิกา ก็คิดถึงเขาว่า เป็นผู้ที่ตนควรเข้าหา เพื่อชื่นชน ไหว้ เข้าไปนั่งใกล้ และเพื่อฟังธรรม แม้นาค และนาคกัญญา ก็คิดถึงเขาว่า เป็นผู้ที่ตนควรเข้าหา เพื่อชื่นชม ไหว้ เข้าไปนั่งใกล้ และเพื่อฟังธรรม แม้อสูรและอสูรกัญญา ก็คิดถึงเขาว่าเป็นผู้ที่ตนควรเข้าหา เพื่อชื่นชม ไหว้ เข้าไปนั่งใกล้ และเพื่อฟังธรรม แม้ครุฑและครุฑกัญญา ก็คิดถึงเขาว่า เป็นผู้ที่ตนควรเข้าหา เพื่อชื่นชม ไหว้ เข้าไปนั่งใกล้ และเพื่อฟังธรรม แม้กินนร กินนรกัญญา มโหรคะ มโหรคกัญญา ยักษ์ ยักษกัญญา ปีศาจ ปีศาจกัญญา ก็คิดถึงเขาว่า เป็นผู้ที่ตนควรเข้าหา เพื่อชื่นชม ไหว้ เข้าไปนั่งใกล้ และเพื่อฟังธรรม ชนเหล่านั้น จักทำสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยกย่อง นอบน้อม แก่เขา แม้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ก็ปรารถนาจะพบเขาแม้พระราชา พระราชบุตร ราชอำมาตย์ ราชมหาอำมาตย์ ก็ปรารถนาจะพบเขา แม้พระราชา ผู้เป็นจอมทัพ แม้พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยรัตนะ 7 พร้อมด้วยพระกุมาร อำมาตย์ และบริวารภายในราชสำนัก ต่างก็ปรารถนาจะพบเขา เพื่อทำสักการะ เขาผู้กล่าวธรรมอันไพเราะนั้น จักกล่าวธรรมตามความเป็นจริง ตามที่พระตถาคตตรัสไว้แล้ว แม้บุคคลอื่นๆ คือ พราหมณ์ คฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จักผูกพันกับคำสอนที่มีเหตุผลของผู้กล่าวธรรมนั้น จนกระทั่งสิ้นชีวิต แม้พระสาวกของพระตถาคต ก็ปรารถนาจะพบเขา แม้พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ปรารถนาจะพบเขา แม้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าก็ปรารถนาจะพบเขา กุลบุตรหรือกุลธิดานั้น อาศัยอยู่ในทิศใดก็ตาม เขาจักแสดงต่อพระพักตร์ของพระตถาคตในทิศนั้น เขาจึงเหมาะสมกับพุทธธรรม เสียงแห่งธรรม อันไพเราะ จับใจ และลึกซึ้งของเขาจึงแพร่ไปด้วยประการฉะนี้
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
52 ชิวหินทรีย์ของเขา จะมีความรู้สึกเป็นเลิศ เขาจะไม่ลิ้มรสที่เสื่อมคุณภาพ รสทั้งหลายเพียงวางลง (ที่ปลายลิ้นของเขา ก็จะกลายเป็นรสทิพย์ และอาหารนั้นก็จะประกอบด้วยรสทิพย์เช่นกัน
53 เขาย่อมกล่าวถ้อยคำที่นุ่มนวล ไพเราะ น่าฟัง น่าปรารถนา น่ายินดี เขากล่าวด้วยเสียงที่ลุ่มลึกน่ารักเสมอ ในท่ามกลางบริษัท
54 ผู้ใดก็ตาม หากได้ฟังธรรมที่เขาแสดงอยู่ ด้วยอุทาหรณ์มากมายหลายหมื่นโกฏิ เขาจะเกิดความปิติยินดี จักทำการบูชาด้วยความเคารพรักอย่างยิ่ง
55 เทพ นาค อสูร และปีศาจทั้งหลาย ย่อมปรารถนาจะพบเขาและฟังธรรมของเขา ด้วรความเคารพตลอดกาลเป็นนิตย์ เพราะคุณธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมมีอยู่ที่เขา
56 เมื่อปรารถนา เขาสามารถยังโลกธาตุนี้ทั้งหมด ให้รับรู้ได้ด้วยเสียง (ของตน) เพราะเสียงของเขา ไพเราะ ลึกซึ้ง นุ่มนวล มีเสน่ห์ และน่ารักอย่างยิ่ง
57 พระราชาทั้งหลาย ผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน ผู้เป็นพระจักพรรดิ พร้อมด้วยบุตรและมเหสีปรารถนาจะทำการบูชา จึงเข้าไปหา ประคองอัญชลีต่อเขา เพื่อฟังธรรมจากเขา ตลอดกาลเป็นนิตย์
58 ยักษ์ นาค หมู่คนธรรพ์ ปีศาจชาย ปีศาจหญิง จะติดตามเขาไปทุกเมื่อ เพื่อแสดงความเคารพ นับถือและบูชา
59 แม้พระพรหม พระอิศวร ผู้เป็นมเหศวร และเทวบุตรก็อยู่ในอำนาจของเขา แม้ท้าวสักกะ เทวบุตรอื่นๆ และเทวกัญญาอีจำนวนมาก ก็เช่นกัน คือ ย่อมเข้าไปหาเข้า
60 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้มีความเมตตากรุณาต่อชาวโลก พร้อมด้วยพระสาวก เมื่อได้ยินเสียงของเขา ก็ทรงยินดี ทรงคุ้มครอง รักษาเขา ด้วยการปรากฏพระพักตร์ต่อเขาที่กำลังแสดงธรรมอยู่
ดูก่อนสตตสมิตาภิยุกตะ นอกจากนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้รักษา ท่อง ประกาศ แสดง หรือคัดลอก ธรรมบรรยายนี้ ย่อมได้รับร่างกายที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ 800 ประการ กายของเขาบริสุทธิ์ผ่องใส มีผิวพรรณผ่องใสดุจแก้วไพฑูรย์ เป็นที่รักและน่าทัศนาของสัตว์ทั้งหลาย ในกายบริสุทธิ์นั้น เขาสามารถมองเห็นโลกธาตุทั้งปวง ที่มีจำนวนหลายพันนั้นได้สัตว์เหล่าใดในโลกธาตุทั้งหลายนั้น ทั้งที่ดับไปแล้วและเกิดขึ้น ทั้งเลวและประณีต ทั้งที่มีวรรณะดีและมีวรรณะไม่ดี ทั้งที่อยู่ในสุคติและทุคติ ทั้งที่อยู่ในจักรวาล และมหาจักรวาล ทั้งที่อยู่บนภูเขาหลวงเมรุและสุเมรุ และสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ต่ำสุดภายใต้นรกอเวจี จนถึงสูงสุดขอบโลกพิภพ เขาย่อมเห็นสัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ในกายของตน พระสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และพระตถาคต ที่อยู่ในหลายพันโลกธาตุ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมใดสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเข้าไปนั่งใกล้พระตถาคตเหล่านั้น เขาย่อมเห็น เขาผู้ได้รับอาตมภาวะของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น จึงเห็นสัตว์เหล่านั้น ในกายของตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร? เป็นเพราะกายของเขามีความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
61 กายของเขาบริสุทธิ์ผ่องใสอย่างยิ่ง ราวกับสำเร็จจากแก้วไพฑูรย์ ผู้ที่รักษาพระสูตรอันยิ่งใหญ่นี้ ย่อมเป็นที่น่ารัก เป็นที่น่าทัศนาของสัตว์ทั้งหลายเป็นนิตย์
62 โลกทั้งปวงย่อมปรากฏขนกายของเขา เหมือนภาพที่ปรากฏบนแผ่นกระจก เขาผู้เป็นพระสยัมภู ย่อมไม่เห็นสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นอื่น บนกายอันบริสุทธิ์ของเขา
63 สัตว์ทั้งหลายในโลกธาตุนี้ จะเป็นมนุษย์ เทพ อสูร ปีศาจในนรก ในแปดวิสัย และในกำเนิดดิรัจฉาน ล้วนปรากฏเป็นภาพบนกายของเขา
64 วิมานของเทพจนสุดขอบโลกพิภพ ภูเขา เนิน จักรวาล ป่าหิมพานต์ เขาสุเมรุ และภูเขามหาสุเมรุ ทั้งหมดล้วนปรากฏขนกายของเขา
65 เขาย่อมเห็นพระพุทธเจ้า รวมทั้งพระสาวก พระพุทธบุตรอื่นๆ พระโพธิสัตว์และผู้ประกาศธรรมแก่คณะทั้งหลาย ที่กายของตน
66 นี้คือความบริสุทธิ์แห่งกายของเขา ที่ปรากฏโลกธาตุทั้งปวง แม้กายของเขายังไม่ถึงความเป็นทิพย์ แต่กายตามปกติของเขาก็เป็นเช่นนี้
ดูก่อนสตตสมิตาภิยุกตะ ยังมีอีก เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้รักษา แสดง ประกาศ คัดลอก อ่าน ธรรมบรรยายนี้ ย่อมมีมนินทรีย์บริสุทธิ์ ที่ประกอบด้วยคุณแห่งมนสิการ 1200 ประการเหล่านั้น ด้งมนินทรีย์อันบริสุทธิ์นั้น โดยที่สุด แม้เขาได้ฟังเพียงคาถาเดียว เขาก็ย่อมเข้าใจความหมายทั้งปวงของธรรมนั้น เขาเมื่อเข้าใจคาถานั้นแล้วย่อมแสดงธรรมอันประถมเหตุ นั้น ตลอดหนึ่งเดือนบ้าง จักแสดงธรรมตลอดสี่เดือนบ้าง หนึ่งปีบ้าง เมื่อเขาแสดงธรรมใดๆธรรมนั้นย่อมไม่ถึงการเลือนหายไป จากความทรงจำของระเบียบสังคมของชาวโลก จะเป็นภาษิตคือมนตราก็ดีเขาย่อมยังระเบียบเหล่านั้นทั้งหมดแสดงออกด้วยกฎแห่งธรรม สัตว์ที่อุบัติขึ้น ย่อมวนเวียนอยู่ในคติทั้งหก ในโลกธาตุทั้งสามซึ่งมีจำนวนหลายพัน เขาย่อมรู้ความคิด ความประพฤติ และความเคลื่อนไหวของสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น เขาย่อมรู้ ย่อมทราบ สิ่งที่สัตว์ทั้งหลาย บูชา คิด และต้องการ แม้ว่า เขายังไม่ได้ฌานอันประเสริฐ แต่มนินทรีย์ของเขาบริสุทธิ์ถึงปานนี้ เขาได้พิจารณาถึงนิรุกติแห่งธรรมแล้วจึงจะแสดงธรรม เขาจึงแสดงธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง เขาย่อมกล่าวถึงธรรมทั้งปวงนั้นที่พระตถาคตตรัสแล้วทั้งหมด ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไป ในพระสูตรของพระชินเจ้าองค์ก่อน
เวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
67 มนินทรีย์ของเขานั้น สะอาด ผ่องใส บริสุทธิ์ ไม่ขุ่นมัว ด้วยจิตที่ผ่องใสนั้น เขาจึงสามารถแสดงธรรมต่างๆ ทั้งต่ำ สูง และปานกลาง
68 ผู้เป็นปราชญ์ ได้ฟังแม้เพียงคาถาเดียว ย่อมเข้าใจอรรถเป็นจำนวนมากของธรรมนั้นได้ แล้วแสดงธรรมนั้นตามความเป็นจริง ตลอดหนึ่งเดือน สี่เดือน หรือหนึ่งปี
69 สัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่อาศัยอยู่ภายในและภายนอกโลกธาตุนี้ จะเป็น เทพ มนุษย์ อสูร ปีศาจ นาค และสัตว์ในกำเนิดดิรัจฉาน
70 นักปราชญ์ย่อมทราบความคิดของสัตว์ทั้งปวง ที่อยู่ในคติหกเพียงครู่เดียวเท่านั้น นี่คืออานิสงส์ของผู้รักษาพระสูตรนี้
71 พระพุทธผู้มีลักษณะแห่งบุญ 100 ประการ ย่อมประกาศธรรมแก่ชาวโลกทั้งปวง เขาได้ฟังเสียงของพระองค์ แล้วยึดถือธรรมอันบริสุทธิ์ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น
72 เขาใคร่พินิจธรรมอันประเสริฐจำนวนมาก เขาจึงท่องจำธรรมจำนวนมากอยู่นิรันดร์กาล เขาไม่มีการหลงลืมแม้ในกาลไหนๆ นี่ก็เป็นอานิสงส์ของการรักษาพระสูตรนี้
73 เขาย่อมรู้ความสัมพันธ์ ความไม่สัมพันธ์ และลักษณะที่แตกต่างกัน ในธรรมทั้งปวง เขาจึงสอนและอธิบายความหมายไปตามความเข้าใจ
74 พระสูตรใดที่โบราณจารย์ในโลกได้สั่งสอนกันมา เป็นเวลานาน เขาไม่มีความกลัวที่จะสอนธรรมจากพระสูตรนั้น เป็นนิจกาล ในท่างกลางบริษัท
75 มนินทรีย์ของผู้รักษาและอ่านพระสูตรนี้ ย่อมเป็นเช่นของผู้นี้ เขายังไม่ได้ญาณที่ไม่ติดขัด แต่ญาณของเขาก็เป็นปุพพมรรค
76 ผู้รักษาพระสูตรนี้ของพระสุคต เป็นผู้ฉลาด สามารถอฺธิบายความหมายได้หลายโกฏิ ย่อมตั้งอยู่ในภูมิของอาจารย์ ฟังสอนธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
บทที่ 18 ธรรมภาณกานุศำสาปรวรรต ว่าด้วยอานิสงส์ของผู้กล่าวธรรม
ในธรรมบรรยาย ศรีสัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่19 สทาปริภูตโพธิสัตว์
บทที่ 19
สทาปรภูตปริวรรต
ว่าด้วยสทาปริภูตโพธิสัตว์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะพระมหาสถามปราปตโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนมหาสถามปราปตะ โดยปริยานนี้ ท่านพึงทราบอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดปฏิเสธธรรมบรรยายนี้ สาปแช่ง บริภาษภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้รักษาพระสูตรนี้ ดูถูกเขาด้วยวาจาที่ไม่เป็นจริง และหยาบคาย วิบากกรรมอันไม่พึงปรารถนาเห็นปานนี้ ที่ไม่อาจบรรเทาได้ด้วยวาจา จักมีแก่เขา ส่วนชนผู้รักษา อ่าน แสดง และเผยแพร่พระสูตรนี้ เขาย่อมประกาศต่อผู้อื่นอย่างกว้างขวาง วิบากกรรมอันน่าปรารถนาเห็นปานนี้ จักมีแก่พวกเขา บุคคลเช่นนี้เองที่เราพรรณนามาก่อนแล้ว จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กายและใจ ของเขา จักถึงความบริสุทธิ์ ด้วยประการฉะนี้
ดูก่อน มหาสถามปราปตะ ในอดีตกาลล่วงมาแล้วหลายกัลป์จนนับไม่ได้ นานยิ่งจนนับไม่ได้ มากมายมหาศาลจนประมาณไม่ได้ คิดคำนวณไม่ได้ เรื่องเคยมีมาแล้วตามลำดับว่า กาลสมัยนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภีษมครรชิตสวรราช ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ผู้เสด็จไปดีแล้ว ผู้เป็นโลกวิทู ผู้เป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ไม่มีใครยิ่งกว่า ผู้เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้เบิกบาน ผู้จำแนกธรรม ทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้ ดูก่อนมหาสถามปราปตะ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ภีษมครรชิตสวรรราช นั้น ทรงแสดงธรรมแก่ชาวโลก รวมทั้งเทวดา มนุษย์ และอสูระใน มหาสัมภวโลกธาตุ นั้น พระองค์ทรงแสดงธรรม ที่ประกอบด้วยความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ แก่พระสาวกคือ การปฏิบัติเพื่อปฎิจจสมุปบาท ที่มีพระนิพพานเป็นที่สุด และเพื่อข้ามพ้นชาติ ชรา พยาธิมรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสะ พระองค์ปรารภอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่มีตถาคตญาณทัศนะเป็นที่สุด ซึ่งประกอบด้วยบารมี 6 ของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนมหาสถามปราปตะ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ภีษมครรชิตสวรราช มีพระชนมายุประมาณร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายใน 40 แม่น้ำคงคา เมื่อพระองค์ปรินิพพาน พระสัทธรรมจักตั้งอยู่สิ้นร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ เท่ากับธุลีปรมณูของชมพูทวีป สัทธรรมปฏิรูปตั้งมั่นอยู่ต่อไป สิ้นร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ เท่ากับธุลีปรมาณู ในชมพูทวีปทั้ง 4 ดูก่อนมหาสถามปราปตะ ในมหาสัมภวโลกธาตุ นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ภีษมครรชิตสวรราช ปรินิพพานแล้ว สัทธรรมปฏิรูปก็อันตรธานไป พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อ ภีษมครรชิตสวรราช อีกองค์หนึ่ง ก็อุบัติขึ้นในโลก เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว เป็นโลกวิทู เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ที่ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนมหาสถามปราปตะ ในมหาสัมภวโลกธาตุนั้น ได้เกิดพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภีษมครรชิตสวราช สืบต่อมาถึงนยี่สิบร้อยพันพันหมื่นโกฏิ พระองค์ในครั้งนั้น ดูก่อนมหาสถามปราปตะ พระตถาคตนั้นใด เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ภีษมครรชิตสวรราช องค์แรกของพระตถาคตทั้งปวง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นโลกวิทู เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม เมื่อพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น นิพพานแล้ว พระสัทธรรมก็เสื่อมไป สัทธรรมปฏิรูปก็กำลังเสื่อมสลาย ศาสนานี้ถูกละเมิดโดยภิกษุ ผู้มีอธิมานะ ได้เกิดมีภิกษุ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ขึ้นองค์หนึ่งนามว่า สทาปริภูตะ ดูก่อนมหาสถามปราปตะ เพราะเหตุไร? พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น จึงได้ชื่อว่า สทาปริภูตะ ดูก่อนมหาสถามปราปตะ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น เมื่อพบเห็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใดก็ตาม ได้เข้าไปหาภิกษุนั้น แล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราย่อไม่ดูหมิ่นท่าน เราไม่เคยดูหมิ่นท่านทั้งหลาย ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุใด? เป็นเพราะว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายทั้งปวง ย่อมดำเนินตามจรรยาวัตรของพระโพธิสัตว์ ท่านทั้งหลายจักเป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้ ดูก่อนมหาสถามปราปตะ โดยปริยายนี้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์แม้ได้พบเห็นภิกษุใด แม้ไปสู่ที่ไกล ไม่ทำการแสดงธรรม ไม่ทำการศึกษาในที่อื่น ได้เข้าไปหาภิกษุทั้งปวง แล้วให้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ฟังอย่างนั้น ครั้นเข้าไปหาแล้วได้กล่าวกับภิกษุอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เราย่อมไม่ดูหมิ่นท่าน เราไม่เคยดูหมิ่นท่าน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุใด? เป็นเพราะว่า ท่านทั้งปวง ประพฤติตามจรรยาของพระโพธิสัตว์ท่านทั้งหลาย จักเป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนมหาสถามปราปตะ สมัยนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น ได้ให้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ได้ฟังอย่างนี้ ภิกษุทั้งปวงย่อมโกรธ พยาบาท เกิดความไม่เลื่อมใส ด่า บริภาษ ด้วยอาการต่างๆ จำนวนมากว่า ทำไม ภิกษุนี้ ใครๆก็ไม่ได้ถาม แล้วเข้าไปชี้แจ้งแก่เราว่า ไม่มีจิตคิดดูหมิ่น เรา เขาได้ทำตนเองให้เป็นที่น่าดูหมิ่น และเขาได้พยากรณ์พวกเราไว้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทั้งๆที่พวกเราไม่มีความปรารถนาอย่างนั้น ดูก่อนมหาสถามปราปตะ หลายปีผ่านไป ที่พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น ถูกด่า ถูกบริภาษ แต่พระโพธิสัตว์นั้น ไม่โกรธต่อใครๆ แต่ไม่มีจิตคิดพยาบาทอีกด้วย ชนเหล่าใด ย่อมปาก้อนดินหรือท่อนไม้ แก่ท่าน ผู้ทักทายอยู่อย่างนั้น ท่าได้ทักทายชนเหล่านั้น ด้วนเสียงอันดังมาแต่ไกลว่า เราไม่ดูหมิ่นท่าน ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ผู้มีอธิมานะเหล่านั้น ที่ท่านเคยให้ฟังคำอย่างนั้น มาอย่างต่อเนื่อง จึงตั้งชื่อท่านว่า สทาปริภูตะ ด้วยประการฉะนี้
ดูก่อนมหาสถามปราปตะ สทาปริภูตะโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น ได้ฟังธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ เมื่อมรณะกาลสมัยใกล้เข้า การกระทำกาลกิริยาก็ใกล้เข้ามา พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธภีษมครรชิตสวรราชพระองค์นั้น กำลังแสดงธรรมบรรยายนี้ด้วยคาถาจำนวน 20 ร้อยพันหมื่นโกฏิ พระสทาปริภูตโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้นได้ฟังธรรมบรรยายนี้จากเสียงในอากาศ ใกล้มรณะกาลสมัยมาถึง เขาเมื่อได้ยินเสียงในอากาศ ที่ผู้หนึ่งผู้ใดกล่าวแล้ว ก็ได้จับใจความธรรมบรรยายนี้ จึงได้คุณสมบัติต่างๆเห็นปานนี้คือ ความบริสุทธิ์แห่งจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และใจ ด้วยความบริสุทธิ์ที่ได้รับนั้น ท่านจึงได้อธิษฐานถึงการกระทำตนให้มีชีวิตอยู่ต่อไปอีก ตลอด 20 ร้อยพันหมื่นโกฏิปี เพื่อประกาศธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมานะ จะเป็น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาก็ตาม ที่เคยได้ยินคำว่า เราไม่ดูหมิ่นท่าน แล้วตั้งชื่อท่านว่า สทาปริภูตะ เมื่อได้เห็นพลศักดิ์แห่งฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ของท่าน พลศักดิ์แห่งประติภาณของการอุปไมย พลศักดิ์แห่งปัญญา ทั้งหมดจะกลายมาเป็นบริวาร เพื่อฟังธรรม (จากท่าน) ท่านได้ทำให้สัตว์เหล่าอื่น หลายร้อยพันหมื่นโกฏิ ตั้งอยู่ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ดูก่อนมหาสถามปราปตะ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์องค์นั้น ก็ได้ไปจากที่นั้น เพื่อบูชาพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จำนวน 20 ร้อยพันหมื่นโกฏิพระองค์ ที่มีนามเหมือนกันว่า จันทรสวรราช และได้ประกาศธรรมบรรยายนี้ ในศาสนาของพระตถาคตทุกพระองค์ ด้วย กุศลมูลในอดีตตามลำดับนั้น พระโพธิสัตว์นั้น ได้บูชาพระตถาคต จำนวน 20 ร้อยพันหมื่นโกฏิพระองค์ ซึ่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ล้วนทรงพระนามว่า ทุนทุภิสวรราช มาตามลำดับ ในศาสนาของพระตถาคตเหล่านั้น เมื่อได้บูชาธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้แล้ว เขาก็ได้ประกาศธรรมแก่บริษัททั้ง 4 ด้วยกุศลมูลในอดีตนั้นพระโพธิสัตว์นั้นได้บูชาพระตถาคตจำนวน 20 ร้อยพันหมื่นโกฏิพระองค์ ซึ่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนมีพระนามว่า เมฆสวรราช มาตามลำดับในอดีต ในศาสนาของพระตถาคตทั้งปวง เขาได้บูชาธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ และได้ประกาศแก่บริษัททั้ง 4 ในศาสนาของพระตถาคตทั้งปวง ท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติเห็นปานนี้คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และใจที่บริสุทธิ์
ดูก่อนมหาสถามปราปตะ พระสทาปริภูตโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น ได้ทำการสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม สรรเสริญพระตถาคตเหล่านี้ จำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิพระองค์และได้ทำสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม สรรเสริญพระพุทธเจ้าเหล่าอื่นอีกจำนวนมากถึงร้อยพันหมื่นโกฏิพระองค์ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งปวงเหล่านั้น เขาได้บูชาธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ครั้นได้บูชาแล้ว เขาจึงได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยกุศลในอดีตที่เขาได้สะสมไว้นั้น ดูก่อนมหาสถามปราปตะ ท่านอาจจะมีความสงสัยความเข้าใจผิด หรือความลังเลใจว่า โดยกาลสมัยนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นามว่า สทาภีษมครรชิตสวรราช เขาได้รับขนานนามจากบริษัท 4 ว่า สทาปริภูตะ เขาได้บูชาพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายถึงเพียงนั้น ดูก่อนมหาสถามปราปตะ ท่านอย่าคิดเห็นอย่างนี้ อีกเลย เพราะเหตุไร? ดูก่อนมหาสถามปราบปตะ เพราะเหตุว่า เราเองคือ สทาปริภูตโพธิสัตว์มหาสัตว์ ในกาลสมัยนั้น ดูก่อนมหาสถามปราปตะ หากเรา ไม่เคยศึกษา ไม่เคยรักษา ธรรมบรรยายนี้ม่าก่อน เราคงไม่ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณโดยเร็ว ดูก่อนมหาสถามปราปตะ เราได้รักษา อ่านและแสดงธรรมบรรยายนี้ จากสำนักของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่มีในอดีต เพราะเหตุนั้น เราจึงได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิณาณโดยเร็ว ดูก่อนมหาสถามปราปตะ ส่วนภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา จำนวนหลายร้อยที่พระสทาปริภูตะโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น ให้ฟังธรรมบรรยายนี้ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคนั้นว่า เราไม่ดูหมิ่นท่าน ท่านผู้เจริญทั้งปวง จงประพฤติจรรยาวัตรของพระโพธิสัตว์ ท่านทั้งหลายจักเป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชนเหล่านใดก่อนให้เกิดจิตคิดพยาบาทต่อพระโพธิสัตว์องค์นั้น พวกเขาจะไม่ได้พบพระตถาคตตลอด 20 ร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ เขาจะไม่ได้ยินเสียงพระธรรม จะไม่ได้ยินเสียงพระสงฆ์ เขาจะได้รับทุกขเวทนาอันทารุณ ในมหานรกอเวจี ตลอดหมื่นกัลป์ เมื่อเขาพ้นจากธรรมอันไม่น่าปรารถนานั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้นเอง ได้อบรมเขาไว้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิณาณ ดูก่อนมหาสถามปราปตะ ท่านอาจจะมีความสงสัย ความเข้าใจผิด และความลังเลใจอีกว่า ใครละ ที่ล้อเลียน เยาะเย้ย พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่มีอยู่ในกาลสมัยนั้น ดูก่อนมหาสถามปราบปตะ ในบริษัทนี้เอง คือพระโพธิสัตว์ 500 รูป มีท่าน ภัทรปาละ เป็นหัวหน้า ภิกษุณี 500 รูป มี สิงหจันทรา เป็นหัวหน้า อุบาสกอุบาสิกา 500 คน มี สุคตเจตนา เป็นหัวหน้า ทั้งหมด ล้วนมีเจตนาตั้งมั่นในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดูก่อนมหาสถามปราปตะ การรักษา อ่าน แสดง ธรรมบรรยายอันมีประโยชน์มากนี้ เป็นการนำพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไปสู่อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณโดยแท้ ดูก่อนมหาสถามปราปตะ เพราะเหตุนั้น เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลายจึงควรรักษา อ่าน และประกาศธรรมบรรยายนี้บ่อยๆ
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
1 เราย่อมระลึกถึงอดีตกาล สมัยที่พระภีษมสวรราชชินเจ้า ทรงพระชนม์อยู่ พระองค์มีอานุภาพมาก เป็นผู้ที่มนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว เป็นผู้นำของมนุษย์ เทวดา ยักษ์ และรากษสทั้งหลาย
2 เมื่อพระชินเจ้าพระองค์นั้นปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมก็เสื่อมลง ในกาลต่อมาบังเอิญได้มีภิกษุ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ซึ่งใครก็เรียกท่านว่า สทาปริภูตะ
3 เมื่อภิกษุ ภิกษุณีอื่นเข้าไปหา ได้พบกับคำวิจารณ์(จากท่าน) ว่า ความดูหมิ่นจากเรา ย่อมไม่มีในกาลไหนๆเพราะท่านทั้งหลายย่อมประพฤติจรรยาวัตรในพระโพธิสัตว์อันประเสริฐ
4 ท่านได้ฟังคำอย่างนี้ตลอดกาลเป็นนิตย์ ท่านย่อมอดทนต่อคำด่า คำปริภาษ ของชนเหล่าอื่น เมื่อกาลกิริยาเข้ามาใกล้ ท่านจึงได้ฟังพระสูตรนี้
5 ท่านผู้เป็นบัณฑิต ยังไม่ทำกาละ (ตาย) แต่ได้อธิษฐานให้มีอายุยืนนาน ท่านจึงได้ประกาศพระสูตรนี้ ในศาสนาของพระผู้นำพระองค์นั้น
6 ชนทั้งหลายจำนวนมาก ผู้มีความเชื่อต่อสิ่งที่ได้รับเฉพาะหน้า ถูกเขาอบรมให้อยู่ในพระโพธิญาณ เขาผู้เป็นพระโพธิสัตว์ เมื่อไปจากที่นั้นแล้ว ควรได้รับการสดุดีตลอดพันโกฏิพุทธกาล
7 เพราะบุญที่ทำไว้ในอดีตตามลำดับนั้น พระชินบุตรผู้บรรลุพระโพธิญาณแล้ว จึงได้ประกาศพระสูตรนี้อยู่เป็นนิตย์ พระโพธิสัตว์ศากยมุนี ในครั้งนั้นคือเราเอง
8 บุคคลทั้งหลายผู้มีความเชื่อต่อสิ่งที่ได้รับเฉพาะหน้า ทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกา เป็นผู้อันบัณฑิตโพธิสัตว์ได้สอนให้ตั้งอยู่ในพระโพธิญาณแล้ว
9 ชนทั้งหลาย ผู้เฝ้าพระพุทธเจ้า จำนวนหลายโกฏิ เขาเหล่านั้น ไม่ต่ำกว่า 500 คน เป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาที่อยู่ต่อหน้าเราในขณะนี้
10 เขาทั้งปวงคือผู้ที่เราให้ฟังธรรมอันประเสริฐแล้ว ทั้งหมดเป็นผู้ที่เราอบรมแล้ว เมื่อเราปรินิพพาน เขาทั้งปวง ซึ่งเป็นผู้มีปัญญา จักรักษาพระสูตรอันประเสริฐนี้ไว้
11 ธรรมเช่นนี้ ชนทั้งหลายจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน ยังไม่เคยได้ฟังตลอดโกฏิกัลป์ พระพุทธเจ้าจำนวนร้อยโกฏิพระองค์ที่มีอยู่ ก็ไม่เคยแสดงพระสูตรนี้
12 ฉะนั้น ชนทั้งหลายผู้ได้ฟังธรรมที่บรรยายมานี้ จากพระสวยัมภูโดยตรง ให้ทำการบูชาพระองค์บ่อยๆ เมื่อเราปรินิพพานแล้ว พึงประกาศพระสูตรนี้ต่อไป
บทที่ 19 สทาปริภูตปริวรรค ว่าด้วยพระสทาปริภูตโพธิสัตว์
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่20 อิทธิภิสังขารของพระตถาคต
บทที่ 20
ตถาคตอิทธาสังสการปริวรรต
ว่าด้วยอิทธิภิสังขารของพระตถาคต
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์จำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิองค์ มีจำนวนเท่าธุลีแห่งปรมาณูในสหัสโลกธาตุ ได้ผุดขึ้นจากรอยแยกของแผ่นดิน ทุกองค์ประคองอัญชลี ณ เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายจักประกาศธรรมบรรยายนี้ ในพุทธเกษตรทั้งปวง ที่พระผู้มีพระภาค ทรงพระชนม์อยู่ และที่พระผู้มีพระภาคได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย ปรารถนาจะรักษา ท่อง แสดง ประกาศ และคัดลอกธรรมบรรยายอันยิ่งใหญ่นี้ให้คงอยู่ตลอดไป
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์จำนวนมากถึงร้อยพันหมื่นโกฏิองค์ ที่อยู่ในสหาโลกธาตุนี้ ซึ่งมีพระมัญชุศรี เป็นประมุขได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทพ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร มโหรคะ มนุษย์ อมนุษย์ และพระโพธิสัตว์มหาสัตว์จำนวนมาก เปรียบได้กับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา พากันกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย แม้ไม่ปรากฏกาย ก็จักประกาศธรรมบรรยายนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลายยืนอยู่ในอากาศ จักให้หมู่สัตว์ได้ยินเสียงจักส่งเสริมสัตว์ทั้งหลายที่ไม่เคยสร้างกุศลมูล ให้สร้างกุศลมูลต่อไป
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับพระโพธิสัตว์มหาสัตว์นามว่า วิศิษฏจาริตระ ซึ่งเป็นคณาจารย์ของพระโพธิสัตว์คณะใหญ่ และเป็นประมุของค์หนึ่งของคณาจารย์พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ คณะน้อยใหญ่ ที่เคยมีในอดีตว่า ดีละ ดีละ วิศิษฏจาริตระ เพื่อประโยชน์แห่งธรรมบรรยายนี้ ท่านทั้งหลายควรทำอย่างนั้น ท่านทั้งหลายได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่พระตถาคตได้อบรมมาดีแล้ว ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคต ศากยมุนี กับพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประภูติรัตนะ ซึ่งได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ประทับอยู่ในใจกลางของสถูป แม้ทั้งสองพระองค์เสด็จเข้าสู่สิงหาสน์ ทรงกระทำการยิ้มแย้มแก่กันอย่างชัดเจน และยื่นพระชิวหินทรีย์ออกจากช่องพระโอษฐ์ รัศมีจากพระชิวหินทรีย์ทั้งสองนั้น ได้ขึ้นไปถึงพรหมโลก รัศมีจำนวนมากหลายร้อยพันหมื่นโกฏิ ได้แผ่ออกจากพระชิวหินทรีย์ทั้งสองนั้น บรรดารัศมีทั้งหลาย ในรัศมีแต่ละลำแสง ได้ก่อให้เกิดมีพระโพธิสัตว์จำนวนมาก หลายร้อยพันหมื่นโกฏิ พระโพธิสัตว์เหล่านั้น มีพระกายเป็นสีทอง ประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ ประทับนั่งบนสิงหาสน์ ในปัทมครรภ์ (ใจกลางดอกบัว) พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ได้แผ่ขยายไปสู่ทิศน้อยใหญ่ ในร้อยพันโลกธาตุ ในทิศน้อยใหญ่ทั้งปวงนั้น ได้มีพระโพธิสัตว์ยืนแสดงธรรมอยู่ในอากาศ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ด้วยพระชิวหินทรีย์ ฉันใด พระประภูตรัตนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งปวง ผู้มาจากร้อยพันหมื่นโลกธาตุ ได้เข้าไปประทับบนสิงหาสน์ของตนๆที่โคนต้นรัตนพฤกษ์ ก็ได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์ ด้วยพระชิวหินทรีย์ ฉันนั้น
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี และพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้กระทำสักการะนั้นด้วยฤทธิ์ สิ้นร้อยพันปีบริบูรณ์ เมื่อร้อยพันปีล่วงไป พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ได้ดึงชิวหินทรีย์ทั้งหมดกลับพร้อมกัน ภายในครู่เดียวเท่านั้น ทุกพระองค์ได้กระทำเสียงกระแอมและเสียงปรบมือ ดังดุจเสียงพญาราชสีห์ ด้วยเสียงกระแอมและเสียงปรบมือที่ดังนั้น ทำให้ร้อยพันหมื่นโกฏิพุทธเกษตรทั้ง 10 ทิศ เคลื่อนไหว พุทธเกษตรทั้งปวงเหล่านั้น ได้สั่น เคลื่อน สะท้าน สะเทือน หวั่นไหว เอนเอียง สัตว์ทั้งปวงในพุทธเกษตรเหล่านั้น เช่น เทพ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร มโหรคะ มนุษย์ และอมนุษย์ทั้งหลาย ก็สั่นไหวเช่นกัน สัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น ผู้ยืนอยู่ในที่นั้น ได้เห็นสหาโลกธาตุที่เป็นอย่างนี้ เพราะอานุภาพของพระพุทธเจ้า พวกเขาได้เห็นพระตถาคตทั้งปวงเหล่านั้น จำนวนร้อยพันโกฏิพระองค์ ที่เข้าสู่สิงหาสน์ของตนๆ ณ โคนรัตนพฤกษ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ได้เห็นพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตรัตนะ ที่ปรินิพพานแล้ว เสด็จสู่สิงหาสน์ ในใจกลางมหารัตนสถูปนั้น ทรงประทับนั่งรวมกับพระผู้มีพระภาคตถาคตศากยมุนี และได้เห็นบริษัทที่เหลือทั้งสามเหล่านั้น ครั้นได้เห็นแล้ว พวกเขาได้ถึงความอัศจรรย์ใจ ประหลาดใจ และได้รับความยินดีเป็นอย่างยิ่ง พวกเขาได้ยินเสียงจากท้องฟ้าว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ล่วงเลยร้อยพันหมื่นโกฏิโลกธาตุนี้ออกไป จนประมาณไม่ได้ นับไม่ได้ ยังมีอีกโลกธาตุหนึ่ง ชื่อว่า สหาโลกธาตุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ประทับอยู่ ณ ที่นั้นพระองค์ทรงแสดงธรรมบรรยาย หรือสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่สมบูรณ์มาก เป็นโอวาทสำหรับพระโพธิสัตว์ เป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระพุทธเจ้าทั้งปวง แก่พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงอนุโมทนาพระสูตรนั้นตามอัธยาศัยเถิด และท่านทั้งหลายจงทำความเคารพ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนีและพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูติรัตนะพระองค์นั้น
ได้ยินว่า สัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น เมื่อได้ยินเสียงปานนั้นจากท้องฟ้า ผู้ที่ยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแล ได้ประคองอัญชลี เปล่งอุทานว่า ขอความนอบน้อม จงมีแด่พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี เขาได้โปรยสิ่งของต่างๆ มีดอกไม้ ธูป ของหอม มาลัย ผงเครื่องลูบไล้ จีวร ฉัตร ธงปฏาก และธงไพชยันต์ สู่ทิศทางของสหาโลกธาตุนั้น เขาได้โปรยอาภรณ์ต่างๆ มีผ้าห่ม สร้อยข้อมือ สร้อยคอ และรัตนะทั้งหลาย เพื่อทำการบูชาพระผู้มีพระภาคตถาคตศากยมุนี ประภูตรัตนะ และเพื่อบูชาธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ดอกไม้ ธูป ของหอม มาลัย ผงเครื่องลูบไล้ จีวร ฉัตร ธงปฏากและธงไพชยันต์ กับสร้อยข้อมือ สร้อยคอ และรัตนะทั้งหลายเหล่านั้น ที่ถูกโปรย ได้ตกลงสู่สหาโลกธาตุ บนท้องฟ้าในโลกธาตุทั้งปวง ที่พระตถาคตประทับนั่งนั้น มีเพดานดอกไม้ใหญ่ถูกตกแต่งโดยรอบด้วยกองดอกไม้ ธูป ของหอม มาลัย ผงเครื่องลูบไล้ จีวร ฉัตร ธงปฏาก ธงไพชยันต์ สร้อยข้อมือสร้อยคอและรัตนะรวมกันเป็นเพียงหนึ่งเดียวในสหาโลกธาตุ ในบรรดาร้อยพันหมื่นโกฏิโลกธาตุเหล่าอื่น
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับพระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านั้น ซึ่งมีพระวิศิษฏจาริตระเป็นประมุขว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีภาวะเป็นอจินไตย ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เราได้กล่าวถึงประโยชน์ที่น่ายินดี (ปรีทนารถํ) ของธรรมบรรยายนี้ และอานิสงส์จำนวนมาก ด้วยหลักธรรมต่างๆ ตลอดร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์เมื่อกล่าวถึงธรรมบรรยายนี้ เราไม่สามารถจะพรรณนาให้จบสิ้นได้ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลายเราซึ่งเป็นผู้นำของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ได้แสดงความลี้ลับของพระพุทธเจ้าทั้งปวง และสถานะอันลึกซึ้งพระพุทธเจ้าทั้งปวงไว้ ในธรรมบรรยายนี้เพียงโดยย่อ ดูก่อนกุลบุตรทั้งปลาย เพราะฉะนั้น เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ท่านทั้งหลายควรสักการะ รักษา แสดง คัดลอก ท่องจำ ประกาศ อบรม และบูชา ธรรมบรรยายนี้ตลอดไป ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ในแผ่นดิน หรือประเทศใดก็ตาม ที่มีการอ่าน ประกาศ แสดง คัดลอก พิจารณา สอน เรียน หรือรวมเป็นเล่มหนังสือ ตั้งไว้ในอาราม วิหาร บ้าน ป่า เมือง โคนต้นไม้ ปราสาท ที่อาศัย หรือถ้ำ ควรสร้างเจดีย์ อุทิศพระตถาคตไว้ในพื้นที่ หรือประเทศนั้น เพราะเหตุไร? เพราะพื้นที่หรือประเทศนั้นควรทราบว่า เป็นปริมณฑลของพระตถาคตทั้งปวง พึงทราบว่า ในพื้นที่ประเทศนั้นนั่งเอง ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งปวง ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในพื้นที่ประเทศนั้นนั่นเอง ที่พระตถาคตทั้งปวงได้หมุนธรรมจักรให้เคลื่อนไป และพึงทราบว่า ในพื้นที่ประเทศนั้นนั่นเอง ที่พระตถาคตทั้งปวงได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
1 ด้วยจักษุที่กว้างไกล (ไม่มีที่สิ้นสุด) พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมแสดงฤทธิ์แก่ชาวโลก ผู้ที่ดำรงอยู่ความความรู้ของพระมุนี ด้วยธรรมชาติที่เป็นอจินไตย เพื่อยังสัตว์ทั้งปวงในโลกนี้ให้เกิดความยินดี
2 เมื่อพระโพธิสัตว์ยื่นชิวหินทรีย์ไปสู่พรหมโลก ขณะที่ปล่อยรัศมีออกมาเป็นพันอิทธิฤทธิ์นี้ ได้เป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้พบเห็น และแก่ชนทั้งปวง ผู้ที่ดำรงอยู่ในโพธิญาณอันประเสริฐ
3 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมกระทำเสียงกระแอมดังๆ กระทำเสียงจากการปรบมือเพื่อยังชาวโลกทั้งปวงใน 10 ทิศให้รู้แจ้งโลกธาตุนี้
4 พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีความเมตตากรุณา ได้แสดงคุณวิเศษที่เป็นปาฏิหาริย์ทั้งหลายเหล่านี้และเหล่าอื่น เมื่อพระตถาคตปรินิพพานไปแล้ว ในกาลเช่นนั้นสัตว์ทั้งหลาย มัวเพลิดเพลินอยู่ทำไม ควรช่วยกันรักษาพระสูตรนี้ไว้
5 เรากล่าวคำสดุดีแก่บุตรของพระสุคต ผู้รักษาพระสูตรอันประเสริฐนี้ไว้ ตลอดเวลาหลายพันโกฏิกัลป์ เมื่อพระผู้นำของชาวโลกปรินิพพานไปแล้ว
6 คุณความดีของชนเหล่านั้น ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด เช่นเดียวกับอากาศธาตุ ในทิศทั้งหลาย คุณความดีของผู้รักษาพระสูตรอันงดงามนี้ไว้ ไม่อาจคิดคำนวณได้เช่นกัน
7 เรา พระผู้นำทั้งปวงเหล่านี้ รวมทั้งพระผู้นำแห่งโลกที่ปรินิพพานไปแล้ว เป็นผู้ที่เขาได้เห็นแล้ว พระโพธิสัตว์ทั้งปวงจำนวนมากเหล่านี้ และบริษัท 4 ก็เป็นผู้ที่บุคคลเช่นนี้ได้เห็นแล้วเช่นกัน
8 ในโลกนี้ เรา พระผู้นำทั้งปวงเหล่านี้ พระชินเจ้าใดๆ ที่ปรินิพพานไปแล้ว และพระโพธิสัตว์อื่นใดใน 10 ทิศ เป็นผู้ที่เขาได้บูชาแล้วในวันนี้
9 ผู้ที่รักษาพระสูตรนี้ จักได้เห็น จักได้บูชา พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ที่มีในทิศทั้ง 10 ทั้งในอดีตและอนาคต
10 บุคคลผู้รักษาพระสูตร ที่เป็นสัจธรรมนี้ เมื่อสามารถรู้ญาณที่ลึกซึ้งของพระตถาคต ก็จะตรัสรู้ได้อย่างฉับพลัน ณ โพธิมณฑล
11 ความรู้ของเขาไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนพายุย่อมไม่ติดขัดในที่ไหนๆ ผู้รักษาพระสูตรอันประเสริฐนี้ ย่อมเข้าใจและรู้ความหมายในธรรมและอรรถกถา
12 เขาย่อมเข้าใจความสัมพันธ์ของพระสูตรทั้งหลาย ที่พระผู้นำ(ตถาคต) ตรัสไว้แก่พระสงฆ์ เมื่อพระผู้นำปรินิพพานแล้ว เขาย่อมเข้าใจความหมายที่แท้จริงของพระสูตรทั้งหลาย
13 เขาเป็นผู้เสมอด้วยพระจันทร์ และพระอาทิตย์ เป็นผู้สร้างรัศมีแห่งแสงสว่าง เป็นผู้ท่องเที่ยวไปทั่วพื้นปฐพี เพื่อเข้าใกล้พระโพธิสัตว์จำนวนมากอยู่เสมอ
14 เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อได้ฟังอานิสงส์ที่เป็นเช่นนี้ เหล่านี้แล้ว ควรจะรักษาพระสูตรนี้ไว้ เมื่อเราปรินิพพานแล้ว พวกเขาอย่ามีความสงสัยในพระโพธิญาณอีกเลย
บทที่ 20 ตถาคตอิทธาภิสังสการปริวรรต ว่าด้วยอิทธาภิสังขารของพระตถาคต
ในธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันประเสริฐ
มีเพียงเท่านี้
บทที่21 ธารณี
บทที่ 21
ธารณีปริวรรต
ว่าด้วยธารณี
ครั้งนั้น พระไภษัชยราชโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้ลุกจากอาสนะ กระทำอุตราสงค์เฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง คุกเข่าขวาลงบนพื้น ประคองอัญชลีไมในทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วกราบทูลความนี้กับพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค กุลบุตรหรือกุลธิดา ผู้รักษาธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ด้วยการปฏิบัติก็ดี ด้วยการสร้างพระคัมภีร์ก็ดี พึงเพิ่มบุญได้เพียงใด เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้ พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสกับพระไภษัชยราชโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดาคนใด ได้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระตถาคตร้อยพันหมื่นโกฏิพระองค์ มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายใน 80 แม่น้ำคงคา ดูก่อนไภษัชยราชท่านคิดอย่างไรกับข้อนั้น? กุลบุตรหรือกุลธิดา พึงเพิ่มบุญที่บริสุทธิ์ได้มากกว่า อย่างนั้นหรือ? พระไภษัชยราชโพธิสัตว์มหาสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เขาย่อมเพิ่มบุญได้มาก ข้าแต่พระสุคต เขาย่อมเพิ่มบุญได้มาก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูก่อนไภษัชยราช เราจะบอกให้ท่านทราบ ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดา คนใดก็ตาม รักษา อ่าน ท่อง และปฏิบัติตาม โดยที่สุดแม้เพียงคาถาหนึ่ง ซึ่งมีเพียง 4 บาท จากธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ดูก่อนไภษัชยราช กุลบุตรหรือกุลธิดาผู้นั้น ได้ชื่อว่า เพิ่มบุญอันบริสุทธิ์ได้มากกว่า(ผู้ที่แสดงความเคารพนับถือเพียงอย่างเดียว)
ได้ยินว่า เวลานั้น พระไภษัชยราชโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพื่อคุ้มครองป้องกัน รักษา ข้าพระองค์จะให้บทธารณีมนตร์ แก่กุลบุตร กุลธิดาเหล่านั้น ผู้ปฏิบัติหรือสร้างคัมภีร์ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ดังนี้
อนฺเย อนฺเย มเน มนเน จิตฺเต จริเต สเม สมิตา วิศานฺเต มุกฺเต มุกฺตเม สเม อวิษเม สมสเม ชเย กฺษเย อกฺษเย อกฺษิเณ ศานฺเต สมิเต ธารณี
อาโลกภาเษ ปฺรตฺยเวกฺษณิ นิธิรุ อภฺยนฺตรนิเวษฺเฏ อภฺยนฺตรปาริศุทธิมุตฺกุเล อรเฑ สุกางฺกฺษิ อสมสเม พุทฺธวิโลกิเต ธรฺมปรีกฺษิเต สํฆนิรฺโฆษณิ นิรฺโฆษณิ
ภยาภยวิโศธนิ มนฺตฺรากฺษยเต รุเต รุตเกาศลฺเย อกฺษยวนตาเย วกฺกุเล วโลฑฺ อมนฺยนตาเย สวาหา
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บทธารณีมนตร์เหล่านี้ เป็นของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย มีจำนวนเท่าเมล็ดทรายใน 62 แม่น้ำคงคา ผู้ใดล่วงเกินผู้กล่าวธรรมเห็นปานนี้ และผู้รักษาพระสูตรเห็นปานนี้ ผู้นั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้ประทุษร้ายพระพุทธเจ้าทั้งปวงเหล่านั้น
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ให้สาธุการแก่พระไภษัชยราชโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดีละ ดีละ ไภษัชยราช ท่านได้ทำประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายแล้ว ท่านได้ยึดถือความเมตตาสัตว์ทั้งหลาย จึงได้บอกบทธารณี ได้ชื่อว่าท่านได้ทำการปกป้อง คุ้มครอง รักษา(สัตว์ทั้งหลาย)แล้ว
ครั้งนั้น พระประทานศูรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้ข้าพระองค์จักให้บทธารณีมนตร์ เพื่อประโยชน์แก่ผู้กล่าวธรรมเห็นปานนี้ ใครก็ตาม เช่น ยักษ์ รากษส ภูต ผี กุมภัณฑ์หรือเปรต ที่คอยโอกาส แสวงหาโอกาส(ทำร้าย) ย่อมไม่ได้โอกาสจากผู้กล่าวธรรมเห็นปานนี้
ครั้งนั้น พระประทานศูรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้กล่าวบทธารณีมนตร์เหล่านี้ว่า
ชฺวเล มหาชฺวเล อุกฺเก ตุกฺเก มุกฺเก อทฑ อฑาวติ นฤตฺเย นฤตฺยาวติ อฏฺฏินิ วิฏฺฏินิ จิฏฺฏนิ นฤตฺยนิ นฤตยาวติ สฺวาหา
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บทธารณีมนตร์เหล่านี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีจำนวนเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ได้ตรัสไว้และอนุโมทนาแล้ว ผู้ใดล่วงเกิน ผู้กล่าวธรรมเหล่านั้น ผู้นั้นได้ชื่อว่า ได้ประทุษร้ายพระตถาคตทั้งปวงเหล่านั้นด้วย
ครั้งนั้นท้าวไวศรวณมหาราช ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า แม้ข้าพระองค์ก็จักบอกบทธารณีมนตร์ ด้วยความเมตตา เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อปกป้อง คุ้มครอง รักษาผู้กล่าวธรรมเหล่านั้นว่า
อฏฺเฏ ตฏฺเฏ นฏฺเฏ วนฏฺเฏ อนเฑ นาฑิ กุนฑิ สฺวาหา
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์จักทำการคุ้มครอง บุคคลผู้กล่าวธรรมเหล่านั้นด้วยบทธารณีมนตร์เหล่านี้ ข้าพระองค์จักทำการคุ้มครองกุลบุตรกุลธิดาเหล่านั้น ผู้รักษาพระสูตรนี้ จักสร้างความสวัสดี ให้แก่พวกเขา แม้จากที่ห่างไกลถึง 100 โยชน์
ครั้งนั้น ท้าววิรูฒกมหาราช ได้โผล่ขึ้นในท่ามกลางบริษัท นั่งด้านหน้าติดตามด้วยกุมภัณฑ์ร้อยพันหมื่นโกฏิตน ท้าวเธอลุกจากอาสนะทำผ้าอตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประคองอัญชลีไปในทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์จักบอกบทธารณีมนตร์ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นบทธารณีมนตร์ เพื่อปกป้อง คุ้มครอง รักษาผู้กล่าวธรรม และผู้รักษาพระสูตรเหล่านั้นว่า
อคเณ อเณ เคาริ คนฺธาริ จฺณฑาริ มาตงฺคิ ปุกฺกสิ สํกุเล วฺรูสลิ สิสิ สฺวาหา
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บทธารณีมนตร์เหล่านี้ พระพุทธเจ้า 42 โกฏิพระองค์ตรัสไว้ ผู้ใดล่วงเกินผู้กล่าวธรรม เท่ากับประทุษร้ายพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วย
ขณะนั้น ยักษีนามว่า ลัมพา วิลัมพา กูฎทันตี บุษปทันตี มกุฎทันตี เกศินี อจลา มาลาธารี กุนตี สรรวสัตโวโชหารี หสิตี พร้อมด้วยบุตรและบริวาร ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ทั้งหมดจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเป็นเสียงเดียวกันว่า แม้ข้าพระองค์ทั้งหลาย ก็จักให้การคุ้มครอง ปกป้อง รักษา ผู้รักษาพระสูตรและผู้กล่าวธรรมเหล่านั้นและจักกระทำให้พวกเขาได้รับความสุขสวัสดี ผู้คอยโอกาส(ทำร้าย) ย่อมไม่ได้โอกาสจากผู้กล่าวธรรมเหล่านั้น
ขณะนั้น ยักษีทั้งหมดเหล่านั้น ได้ท่องบทธารณีมนตร์เหล่านี้พร้อมเพรียงเป็นเสียงเดียวกัน ต่อพระผู้มีพระภาคว่า
อิติ เม อิติ เม อิติ เม อิติ เม อิติ เม. นิเม นิเม นิเม นิเม นิเม. รุเห รุเห รุเห รุเห รุเห. สฺตุเห สฺตุเห สฺตุเห สฺตุเห สฺตุเห. สฺวาหา
ใครก็ตามที่โผล่ศีรษะขึ้นมาแล้ว จะเป็นยักษ์ รากษส เปรต ปีศาจ ผี นางปีศาจ เวตาล กุมภัณฑ์ คนเขลา ผู้ฆ่า ผู้เบียดเบียน ผู้เป็นโรคลมบ้าหมู ปีศาจยักษ์ ปีศาจอมนุษย์ ปีศาจมนุษย์ สัตว์ที่เกิดวันเดียว สัตว์ที่เกิดสองวัน สัตว์ที่เกิดสามวัน สัตว์ที่เกิดสี่วัน สัตว์ที่ป่วยเป็นนิตย์ สัตว์ที่ป่วยหนัก จงอย่าได้เบียดเบียนผู้กล่าวธรรมเลย โดยที่สุด แม้ผู้กล่าวธรรมอยู่ในสภาพนอนหลับ สตรี บุรุษ เด็กชาย เด็กหญิง ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ สถานะอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่ผู้กล่าวธรรมเหล่านั้น
ครั้งนั้น ยักษิณีทั้งหลาย ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยเสียงขับพร้อมกัน ด้วยคาถาของรากษสเหล่านี้
1 ผู้ใดได้ยินมนตร์นี้แล้ว ยังล่วงเกินผู้กล่าวธรรม ศีรษะของพวกเขา พึงแตกออกเป็น 7 เสี่ยง เหมือนเม็ดมุกดาอรชกะ ฉะนั้น
2 ผู้ใดล่วงเกินผู้กล่าวธรรม เขาต้องไปสู่คติของผู้ฆ่ามารดา และคติของผู้ฆ่าบิดา
3 ผู้ใดล่วงเกินผู้กล่าวธรรม ผู้นั้นย่อมถึงคติของผู้บดงาและของยอดงา
4 ผู้ใดล่วงเกินผู้กล่าวธรรม ผู้นั้นย่อมดำเนินไปสู่คติของเครื่องชั่ง และเครื่องทองเหลือง
ครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว รากษสีทั้งหลายเหล่านั้น มีนางกุนตี เป็นประมุข ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้พวกข้าพระองค์ทั้งหลายก็จะทำการรักษา ผู้กล่าวธรรมเหล่านั้น จักปกป้องพวกเขาให้เดินทางด้วยความปลอดภัย ให้รอดพ้นจากการทำร้าย ด้วยไม้ และการประทุษร้ายด้วยยาพิษ ครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับรากษสีว่า สาธุ สาธุ ภคินีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ทำการปกป้อง คุ้มครอง รักษา ผู้กล่าวธรรมเหล่านั้น โดยที่สุด ได้รักษา แม้เพียงชื่อของธรรมบรรยายนี้ จะป่วยกล่าวไปไย ถึงผู้รักษาธรรมบรรยายนี้ทั้งหมด ผู้ทำสักการะคัมภีร์ด้วยดอกไม้ ธูป ของหอม มาลัย ผงเครื่องลูบไล้ จีวร ฉัตร ธงปฏาก และธงไพชยันต์ หรือด้วยประทีปน้ำมัน ประทีปน้ำมันเนย ประทีปน้ำมันหอม ประทีปน้ำมันจำปา ประทีปน้ำมันวารศิกะ ประทีปน้ำมันบัว ประทีปน้ำมันดอกสุมนา เขาย่อมทำสักการะ เคารพ ด้วยการบูชาชนิดต่างๆ จำนวนมากอย่างนี้ ถึงร้อยพันชนิด ดูก่อนกุนตี ท่านพร้อมกับบริวาร จึงควรรักษาผู้กล่าวธรรมเหล่านั้น
ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาค แสดงบทธารณีนี้อยู่ หมู่สัตว์จำนวน 68 พัน ก็ได้รับธรรมสันติที่เกิดขึ้นโดยทั่วกัน
บทที่ 21 ธารณีปริวรรต ว่าด้วยธารณี
ในธรรมบรรยาย ศรีสัทธรรมปุณฑรีกสูตร
มีเพียงเท่านี้
บทที่22 พระไภษัชยราช
บทที่ 22
ไภษัชยราชปูรวโยคปริวรรต
ว่าด้วยปุพพโยคกรรมของพระไภษัชยราช
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ นักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะเหตุไร? พระไภษัชยราชโพธิสัตว์มหาสัตว์ จึงได้ท่องเที่ยวไปในโลกธาตุนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระโพธิสัตว์มหาสัตว์องค์นั้นได้ประสบความลำบากจำนวนมาก เป็นร้อยพันหมื่นโกฏิ เป็นการดียิ่ง ถ้าพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แสดงพื้นฐานจรรยาวัตรบางอย่าง ของพระไภษัชยราชโพธิสัตว์มหาสัตว์ เมื่อ เทพ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร มโหรคะ มนุษย์ อมนุษย์ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ผู้มาจากโลกธาตุอื่นจากนั้น และพระมหาสาวกทั้งหลายทั้งปวง ได้ฟังแล้ว จะเกิดปีติยินดี มีจิตฟูขึ้น
ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำทูลอาราธนาของพระนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะโพธิสัตว์มหาสัตว์แล้ว จึงตรัสกะพระโพธิสัตว์มหาสัตว์นักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะว่า ดูก่อนกุลบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว ในอดีตที่ผ่านมาแล้วหลายกัลป์ ซึ่งเท่ากับจำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา กาลสมัยนั้น ได้มีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งนามว่า จันทรสูรยวิมลประภาศรี ได้อุบัติขึ้นในโลก เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นโลกวิทู เป็นนานสารถีฝึกบุรุษที่หาผู้เปรียบมิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม
ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจันทรสูรยวิมลประภาศรี นั้น ได้มีมหาสันนิบาตพระโพธิสัตว์มหาสัตว์จำนวน 80 โกฏิ และมีสาวกสันนิบาตเท่ากับเมล็ดทรายใน 72 แม่น้ำคงคา ประพจน์(ศาสนาของพระองค์) นั้นปราศจากมาตุคาม พุทธเกษตรนั้นปราศจากสัตว์นรก ปราศจากสัตว์ในกำเนิดเดรัจฉาน ปราศจากเปรตและอสูรกาย เป็นพุทธเกษตรที่น่ารื่นรมย์เสมอ ได้เกิดแล้วบนฝ่ามือส่วนที่เป็นพื้นดินสำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ที่เป็นทิพย์ ประดับด้วยต้นรัตนจันทนพฤกษ์ มีหน้าต่างประดับด้วยรัตนะ ห้อยด้วยแผ่นผ้าที่ต่อเนื่องกัน จุดธูปครู่หนึ่ง ชั่วกลิ่นแห่งรัตนะ ที่โคนต้นรัตนพฤกษ์ทั้งปวง ประมาณช่วงแห่งการยิงลูกธนู จะมีโพยม (ปราสาท) รัตนะตั้งอยู่ บนยอดรัตนปราสาททั้งปวง มีเทพบุตรจำนวนร้อยโกฏิ ร่วมกันขับร้องประโคมดนตรี เพื่อบูชาพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยวิมลประภาศรี พระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคนั้น ได้แสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ โดยพิสดาร แก่พระมหาสาวกทั้งหลายเหล่านั้น และแก่พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ได้กระทำให้ พระสรรวสัตวปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ ตั้งมั่นแล้ว พระชนมายุของพระนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ และพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยวิมลประภาศรี นั้นมีประมาณ 42 พันกัลป์ เช่นเดียวกับพระชนมายุของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ และพระสาวกเหล่านั้น ก็ พระสรรวสัตวปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ ถึงพร้อมด้วยความประพฤติ ที่ทำได้ยากยิ่ง ตามประพจน์ของพระผู้มีพระภาค พระองค์ได้ขึ้นสู่การเดินจงกรม เป็นเวลา 12,000 ปี เป็นผู้ประกอบโยคะ ด้วยการใช้ความเพียรเป็นอย่างมาก ล่วงเลยไปถึง 12,000 ปี พระองค์จึงได้บรรลุ สรรวรูปสันทรรศนสมาธิ (สมาธิที่สามารถมองเห็นรูปทั้งปวง) พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์พระองค์นั้น เมื่อได้สมาธินั้นแล้ว ก็เกิดความยินดีปรีดิ์เปรมปลื้มปีติโสมนัสสูงสุด ในขณะนั้น คิดว่า เพราะอาศัยธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีตสูตรนี้ เราจึงได้สรรวรูปทรรศน์สมาธินี้ ในเวลานั้นพระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้คิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราควรทำการบูชาต่อพระผู้มีพระภาคตถาคต จันทรสูรยวิมลประภาศรีและธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนั้น ในขณะที่พระองค์ทรงบรรลุสมาธินั้น สายธารดอกมณฑารพน้อยใหญ่จำนวนมาก ได้โปรยลงจากฟากฟ้า แก่พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้บรรลุสมาธินั้นตามลำดับ ละอองไม้จันทน์จับกลุ่มดำทะมึนปรากฏขึ้น สายฝนไม้จันทน์ก็ได้โปรยลงมา ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ คันธชาติเช่นนั้น แม้เพียงหนึ่งกรษะก็มีค่ากว่าสหาโลกธาตุนี้
ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์นั้นได้มีความทรงจำและมีความรู้สึก เมื่อออกจากสมาธินั้น ครั้นออกแล้ว ได้คิดอย่างนี้ว่า การบูชา พระผู้มีพระภาค ด้วยการแสดงฤทธิ์ปาฏิหาริย์เพียงเท่านี้ จะไม่มากไปกว่าการเสียสละชีวิตของตนได้เลย ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ในเวลานั้น พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้บริโภครสธูปไม้กฤษณาและกำยาน ทั้งได้ดื่มน้ำมันดอกจำปาแล้ว ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ โดยปริยายนั้น พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้บริโภคของหอมและดื่มน้ำมันจำปาผสมกันเรื่อยมา จนล่วงไปได้ 12 ปี ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น โดยกาลล่วงไป 12 ปีนั้น ได้ห่อหุ้มอัตภาพของตนด้วยผ้าทิพย์ กระทำการอธิษฐานเฉพาะตน แล้วกระโจนลงในน้ำมันหอม ครั้นทำการอธิษฐานเฉพาะตนแล้ว ได้เผากายตนเอง เพื่อกรรมคือการบูชาพระตถาคต และเพื่อบูชาธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ โลกธาตุทั้งหลายจำนวนเท่าเมล็ดทรายใน 80 แม่น้ำคงคา สว่างขึ้น ด้วยเปลวแสงประทีปจากกายของพระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์พระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งปวงเหล่านั้น มีจำนวนเท่าเมล็ดทรายใน 80 คงคานที ในโลกธาตุเหล่านั้น ได้ให้สาธุการว่า "ดีละ ดีละ กุลบุตร ดีละ ดีละ กุลบุตร ท่านจงทำต่อไป นี้คือการปรารภความเพียร อันเที่ยงแท้ของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย นี้คือตถาคตบูชาและธรรมบูชาอย่างแท้จริง ไม่เหมือนการบูชาด้วยดอกไม้ ธูป ของหอม มาลัย แป้งเครื่องลูบไล้ จีวร ธงปฏาก ไม่ใช่การบูชาด้วยอามิสไม่เหมือการบูชาด้วยไม้จันทน์อุรคสาร ดูก่อนกุลบุตร นี้คือทานอันเลิศ ไม่เหมือนกับทานคือการสละราชสมบัติ ไม่เหมือนกับทานคือการสละบุตรและภรรยาอันเป็นที่รัก ดูก่อนกุลบุตร การบูชาธรรมที่ทำแล้วอย่างนี้ เป็นสิ่งประเสริฐ ดี เลิศ เลิศที่สุด กว่าการสละอาตมภาวะของตน ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ครั้นตรัสพระวาจาอย่างนี้แล้ว ก็ดำรงอยู่ด้วยอาการสงบ
ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ เมื่ออาตมภาวะ (ร่างกาย) ของพระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์ ถูกไฟเผาไหม้อยู่นายถึง 1200 ปี เปลวไฟก็ยังไม่สงบ หลังจากล่วงไปอีก 1200 ปี แล้ว ไฟนั้นจึงสงบ ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ขณะนั้น พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น ครั้นได้ทำตถาคตบูชา และธรรมบูชาอย่างนั้นแล้ว ก็จุติจากที่นั้น ไปบังเกิดทันทีในพระราชวังของ พระเจ้าวิมลทัตตะ ในสมัยของพระผู้มีพระภาค ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยวิมลประภาศรี บัลลังก์ก็ปรากฏขึ้นในบริษัท ในทันทีที่เกิดขึ้นนั้น พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้กล่าวคาถากับมารดาบิดาของตนในขณะนั้นว่า
1 ข้าแต่ราชเศรษฐะ ข้าพเจ้าได้สมาธินี้ เพราะผลแห่งการเดินจงกรมของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้สละอาตมภาวะอันเป็นที่รักยิ่ง บำเพ็ญมหาพรตอย่างแรงกล้าและมั่นคงยิ่ง
ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ ครั้นได้กล่าวคาถานี้แล้ว ได้ทูลมารดาบิดของตนว่า ข้าแต่พระมารดาบิดา ข้าพเจ้าได้รับมนตร์ในการรับรู้เสียงทั้งปวง เพราะได้ทำการบูชาพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยวิมลประภาศรี ซึ่งยังดำรงพระชนม์อยู่ จะดำรงอยู่ต่อไปในโลกนี้ จักได้แสดงธรรมในวันนี้ ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ มี 80 รั้อยพันหมื่นโกฏิคาถา ด้วย สังกระ(ระคนกัน) วิวระ(มีช่องทาง) อัโษภยะ(100วิวระ) ทั้งหมด ข้าพเจ้าได้ฟังจากสำนักของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ข้าแต่พระมารดา พระบิดา ดีละ ข้าพเจ้าจักไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ครั้นไปที่นั้นแล้ว จักทำการบูชาพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ในขณะนั้น พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าสูงประมาณ 7 ชั่วต้นตาล นั่งขัดสมาธิบนสัปตรัตนกูฏาคาร แล้วเคลื่อนเข้าไปสู่ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ครั้นเข้าไปใกล้แล้ว ได้อภิวาทพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า กระทำสักการะ ประทักษินพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นประคองอัญชลีไปในทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับ ครั้นนมัสการพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้สดุดี ด้วยคาถานี้ว่า
1 ข้าแต่พระนริทระ พระองค์ผู้เป็นปราชญ์ มีพระพักตร์ผ่องใส รัศมีของพระองค์แผ่สว่างไปใน10 ทิศ ข้าแต่พระสุคต ผู้เป็นที่พึ่ง เพราะข้าพระองค์ ได้ทำการบูชาอันเลิศแด่พระองค์ จึงได้มาเฝ้าพระองค์อีก
ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ในขณะนั้น เมื่อพระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ กล่าวคาถานี้แล้ว จึงได้ทูลเนื้อความนี้ กับพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยวิมลประภาศรี ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ยังพอทรงพระชนม์อยู่แม้ในวันนี้หรือ? ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจันทรสูรยวิมลประภาศรี นั้น ได้ตรัสเนื้อความนี้กับพระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนกุลบุตร กาลสมัยแห่งนิพพานของเรา ได้มาถึงแล้ว ดูก่อนกุลบุตรกาลอันเป็นที่สิ้นสุดของเราได้มาถึงแล้ว ดูก่อนกุลบุตร ท่านจงไปสู่ที่นั้น เพื่อเตรียมเตียงแก่เรา เราจักปรินิพพาน
ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระผู้มีพระภาคตถาคตจันทรสูรยวิมลประภาศรี ได้ตรัสข้อความกันพระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์นั้นว่า "ดูก่อนกุลบุตร เราจักมอบศาสนา (คำสอน) นี้แก่ท่าน เราจักมอบพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ พระมหาสาวกทั้งหลาย พระพุทธโพธิญาณ โลกธาตุ รัตนวโยมกะ เทวบุตรและอุปัฏฐาก ทั้งหลายของเราแก่ท่าน ดูก่อนกุลบุตร เมื่อเรานิพพานแล้ว เราจักมอบพระธาตุเหล่านั้นแก่ท่าน ดูก่อนกุลบุตรขอให้ท่านพึงทำการบูชาพระธาตุของเราอย่างใหญ่หลวงด้วยตนเอง ท่านพึงกระทำพระธาตุเหล่านั้น ให้แผ่กว้างออกไป ท่านพึงสร้างสถูปจำนวนหลายพันองค์ ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทรสูรยวิมลประภาศรี นั้น ครั้นได้สอน (แนะนำ) พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์อย่างนั้นแล้ว ในปัจฉิมยามราตรีนั้นเอง ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์พระองค์นั้นเห็นว่า พระผู้มีพระภาคตถาคต จันทรสูรยวิมลประภาศรี ปรินิพพานแล้ว จึงจักทำกองไม้จันทน์อุรคสาร ถวายพระเพลิงอาตมภาวะ(สรีระ)ของพระตถาคตนั้น เมื่อเห็นว่า อาตมภาวะของพระตถาคตที่ถูกเผาไหม้สงบลงแล้ว ต่อมาจึงเก็บพระธาตุ ร้องไห้ คร่ำครวญ เศร้าโศกแล้ว ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ เมื่อพระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ร้องไห้คร่ำครวญ เศร้าโศกนั้น ได้ให้สร้างสัปตรัตนกุมภะ 84,000 ใบ บรรจุพระธาตุของพระตถาคต ลงในสัปตรัตนกุมภะเหล่านั้น ทั้งให้สร้างสัปตรัตนสถูป 84,000 องค์ สูงจรดพรหมโลก ประดับด้วยฉัตรเป็นแถว ห้อยด้วยผ้าแพรและกระดิ่ง เมื่อสร้างสถูปเหล่านั้นเสร็จแล้ว คิดว่าเราได้ทำการบูชาพระธาตุของพระตถาคตให้เลิศมากยิ่งขึ้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้กล่าวกับคณะของพระโพธิสัตว์ มหาสาวก เทพ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร มโหรคะ มนุษย์ และอมนุษย์ทั้งปวงเหล่านั้นว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งปวง จงมารวมกัน เราจักทำการบูชาพระธาตุ ของพระตถาคตพระองค์นั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ในขณะนั้น พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้เผาแขนของตนที่วิจิตรด้วยบุณยลักษณะ 100 ประการ เบื้องหน้าสถูปพระธาตุของพระตถาคต 84,000 องค์ ครั้นเผาแล้ว ได้ทำการบูชาสถูปพระธาตุพระตถาคตเหล่านั้นเป็นเวลา 72,000 ปี ครั้นทำการบูชาแล้ว ได้ทำการสอนพระสาวก จำนวน พันร้อยหมื่นโกฏิจนนับไม่ได้จากบริษัทนั้น พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ได้บรรลุสรรวรูปสันทรรศน์สมาธิทุกองค์
ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ คณะของพระโพธิสัตว์ทั้งปวงนั้น และมหาสาวกทั้งหลาย ครั้นได้เห็นพระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น เสียอวัยวะ (แขน มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้ คร่ำครวญ เศร้าโศก ได้กล่าวต่อๆกันว่า พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์นี้ เป็นอาจารย์สั่งสอนเรา ขณะนี้ พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น ยังดำรงอยู่ทั้งที่เสียอวัยวะ เสียแขน ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้กล่าวกะพระโพธิสัตว์ มหาสาวก และเทวบุตรเหล่านั้นว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย เมื่อเห็นเราเสียอวัยวะ จงอย่างร้องไห้ อย่างคร่ำครวญ อย่าเศร้าโศกไปเลย ที่ทรงพระชนม์อยู่ และทรงพระชนม์อยู่ต่อไปในโลกธาตุ อันไม่มีที่สิ้นสุดในทิศทั้ง 10 ขอให้พระพุทธเจ้าทั้งปวงเหล่านั้น เป็นพยานต่อพระผู้มีพระภาค ที่ได้สละแขนข้างหนึ่งของข้าพเจ้า ด้วยสัตยวาจาที่กล่าวนั้น ขอให้กายของข้าพเจ้าเป็นสีทอง ด้วยสัตยวาจานั้น ขอให้แขนของข้าพเจ้าจงเป็นเหมือนเดิม ขอให้มหาปฤถิวีนี้ จงหวั่นไหวเป็น 6 วิการ (6จังหวะ) ขอให้เทพบุตรทั้งหลายที่อยู่บนท้องฟ้า จงโปรยฝนดอกไม้จำนวนมากลงมา ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ในทันทีที่พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น กระทำสัตยาธิษฐานนี้ สามพันโลกธาตุน้อยใหญ่นี้ ก็หวั่นไหวเป็น 6 จังหวะ ฝนดอกไม้จำนวนมากถูกโปรยลงมาจากเบื้องบนฟากฟ้า แขนของพระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ ก็ได้ปรากฏเหมือนเดิม เพราะความตั้งมั่นด้วยพลังแห่งญาณ และพลังแห่งบุญของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ท่านอาจจะมีความสงสัย เข้าใจผิด หรือไม่แน่ใจว่า ก็โดยกาลสมัยนั้น พระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น เป็นผู้อื่น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ท่านไม่ควรมีความคิดเห็นอย่างนั้น เพราะอะไร? ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ เพราะว่า พระไภษัชยราชโพธิสัตว์มหาสัตว์ ในกาลสมัยนั้น คือพระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ (ในสมัยนี้) ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระไภษัชยราชโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้ประสบความทุกข์ยากถึงพันร้อยหมื่นโกฏิชนิด ที่ปรารถนาอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนี้ พึงเผานิ้วหัวแม่เท้าที่เจดีย์ของพระตถาคต พึงเผานิ้วมือ หรือนิ้วเท้าข้างหนึ่ง หรือวัยวะแขนข้างหนึ่ง กุลบุตร หรือกุลธิดานั้น ผู้ดำรงอยู่ในโพธิสัตวยาน ก็ชื่อว่า ได้ทำสักการะ ด้วยบุญที่มากกว่า ไม่น้อยไปกว่าการบริจาคราชสมบัติ ไม่น้อยไปกว่าการบริจาคบุตรธิดาและภรรยาอันเป็นที่รัก ไม่น้อยไปกว่าการบริจาคโลกธาตุทั้งสามพันน้อยใหญ่รวมทั้งป่า มหาสมุทร ภูเขา น้ำพุ สระน้ำ ลำธาร บ่อ และอาราม ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ กุลบุตรหรือกุลธิดา ผู้ดำรงอยู่ในโพธิสัตวยาน พึงกระทำโลกธาตุทั้งสามพันน้อยใหญ่ในเต็มด้วยสัปตรัตนะ แล้วพึงถวายทานแด่พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ กุลบุตรหรือกุลธิดานั้น สามารถทำได้พึงเพียงนั้น กุลบุตรหรือกุลธิดานั้นพึงรักษาธรรมบรรยายปุณฑรีกสูตร โดยที่สุดแม้เพียงคาถาหนึ่ง ซึ่งมี 8 บาท เราย่อมกล่าวว่า การสักการะอย่างนี้ ของกุลบุตรกุลธิดานั้นย่อมมีผลมากกว่า เราไม่กล่าวว่า ผู้ที่ทำโลกธาตุทั้งสามพันน้อยใหญ่นี้ ให้เต็มด้วยสัปตรัตนะ แล้วถวายทานแด่พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงว่าย่อมมีผลบุญมากกว่า
ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ มหาสมุทรถึงความเป็นยอดของน้ำพุ สระ หนอง ทั้งปวงฉันใด ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ก็ถึงความเป็นยอดแห่งพระสูตรทั้งปวง ที่พระตถาคตตรัสแล้ว ฉันนั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระสุเมรุที่เป็นราชาแห่งภูเขา ย่อมถึงความเป็นยอดแห่งภูเขาตามกาลแห่งจักรวาลและมหาจักรวาลทั้งปวง ฉันใด ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ชื่อว่า ราชา ถึงความเป็นยอดแห่งพระสูตรทั้งปวง ที่พระตถาคตตรัสแล้ว ฉันนั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระจันทร์ที่ให้แสงสว่าง ถึงความเป็นยอดของดวงดาว ทั้งปวง ฉันใด ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ธรรมบรรยายปุณฑรีกสูตรนี้ ที่ให้แสงสว่างยิ่งกว่าพระจันทร์พันร้อยหมื่นโกฏิดวง ย่อมถึงความเป็นยอดกว่าพระสูตรทั้งปวง ที่พระตถาคตตรัสแล้ว ฉันนั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ มณฑลของพระอาทิตย์ย่อมขจัดความมืดมนอนธการทั้งปวง ฉันใด ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ย่อมกำจัดความมืดมนอนธการแห่งอกุศลทั้งปวง ฉันนั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ บรรดาเทพทั้งปวงในตรัยตรึงศ์ ท้าวสักกะ เป็นใหญ่กว่าเทพทั้งปวง ฉันใด ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ย่อมเป็นใหญ่กว่าพระสูตรทั้งปวงที่พระตถาคตตรัสแล้ว ฉันนั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ท้าสสหัมบดีพรหม ผู้เป็นราชาแห่งเทพ พรหมกายิกาทั้งปวง ทำหน้าที่บิดาแห่งพรหมโลก ฉันใด ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตร นี้ ย่อมทำหน้าที่บิดาของสัตว์ทั้งปวง พระสาวกทั้งปวง ทั้งที่เป็นพระเสขะและพระอเสขะ พระปัจเจกพุทธเจ้า และผู้ที่ตั้งอยู่ในโพธิสัตวยานทั้งปวง ฉันนั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ และพระปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมเป็นผู้ก้าวล่วงชน ไม่เว้นแม้คนพาลทั้งปวง ฉันใด ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ย่อมก้าวล่วงพระสูตรทั้งปวง ที่พระตถาคตตรัสแล้ว พึงทราบเถิดว่า เป็นพระสูตรที่ถึงความเป็นเลิศ และถึงความเป็นยอด ฉันนั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ สัว์เหล่าใด รักษาราชา(ความยิ่งใหญ่)แห่งพระสูตรนี้ พึงทราบว่า สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นผู้ถึงความเป็นยอด ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระโพธิสัตว์ เรากล่าว่า เป็นเลิศกว่าพระสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง ฉันใด ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ เราก็กล่าวว่า เป็นเลิศกว่าพระสูตรทั้งปวง ที่พระตถาคตตรัสแล้ว ฉันนั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระตถาคต ผู้เป็นธรรมราชาเจ้านคร ของพระสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ทั้งปวง ฉันใด ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ชื่อว่า เป็นตถาคต ของผู้ตั้งอยู่ในโพธิสัตว์ยานทั้งหลาย ฉันนั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ย่อมปกป้องสัตว์ทั้งปวงจากภัยทั้งปวง ย่อมปลดเปลื้องสัตว์ทั้งปวง จากความทุกข์ทั้งปวง เหมือนกับบ่อน้ำของผู้กระหายน้ำ เหมือนกับไฟของผู้มีความหนาวเย็น เหมือนเสื้อผ้าของคนเปลือยกาย เหมือนผู้นำการค้าของพ่อค้า เหมือนมารดาของบุตร เหมือนเรือของผู้ข้ามฝั่ง เหมือนนายแพทย์สำหรับ ผู้ป่วยไข้ เหมือนประทีปสำหรับผู้อยู่ในความมืด เหมือนรัตนะของผู้ปรารถนาทรัพย์ เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิของป้อมรบทั้งปวง เหมือนมหาสมุทรของแม่น้ำ เหมือนเปลวไฟของผู้กำจัดความมืดมนอนธการ ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ย่อมปลดเปลื้องจากความทุกข์ทั้งปวง ย่อมขจัดพยาธิทั้งปวง ย่อมปลดเปลื้องจากหนทางที่สัมพันธ์กับภัยในสงสารทั้งปวง ฉันนั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ผู้ใดได้ฟัง ได้ถ่ายทอด หรือคัดลอก ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ใครๆก็ไม่สามารถจะนับปุญญาภิสังขาร ของผู้นั้น ให้สิ้นสุดได้ด้วยพุทธญาณ กุลบุตรหรือกุลธิดาชื่อว่า ได้สร้างปุญญาภิสังสารนั้น กุลบุตรหรือกุลธิดาใด ได้รักษา ท่อง สวด สดับ คัดลอกซึ่งธรรมบรรยายนี้ หรือทำเป็นเล่มหนังสือ แล้วพึงสักการะ เคารพ นบนอบ บูชาด้วยดอกไม้ ธูป มาลัย ของหอม ผงเครื่องลูบไล้ จีวร ฉัตร ธงปฏาก ธงไพชยันต์ หรือด้วยดนตรี ผ้า และกรรมคือการประคองอัญชลี หรือด้วยประทีปน้ำมันเนย ประทีปน้ำมันหอม ประทีปน้ำมันดอกจำปา ประทีปน้ำมันดอกสุมนา ประทีปน้ำมันปาฎะ ประทีปน้ำมันจารษิกะ หรือประทีปนั้นดอกมะลิซ้อน พึงกระทำการสักการะ เคารพ นบน้อม และบูชา ด้วยการบูชาชนิดต่างๆ จำนวนมาก ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ กุลบุตรหรือกุลธิดา ผู้ดำรงอยู่ในโพธิสัตวยาน ผู้รักษา ท่องจำ และฟัง โยคปริวรรตเก่าๆ ของพระไภษัชยราช ชื่อว่าได้สะสมบุญไว้จำนวนมาก ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ถ้ามาตุคามใด ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ แล้วยึดถือปฏิบัติ รักษาไว้ สตรีภาวะจักมีแก่เขาเป็นครั้งสุดท้าย
ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ มาตุคามบางคน ได้ฟังประวัติปูรวโยคะของพระไภษัชยราชนี้ แล้วปฏิบัติตามใน 50 ชาติสุดท้าย เขาเมื่อจุติจากโลกนี้แล้ว จะไปเกิดในโลกธาตุสุขาวดี ที่พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อมิตายุส ซึ่งแวดล้อมด้วยคระของพระโพธิสัตว์ ประทับอยู่ ดำรงอยู่ และจะดำรงอยู่ต่อไป เขาได้อุบัติขึ้นนั่งบนสิงหาสน์ปัทมครรภ์นั้น ความรัก ความเกลียดชัง ความลุ่มหลง ความเย่อหยิ่ง ความริษยา ความโกรธ และความพยาบาท จะไม่เบียดเบียนเขาอีกต่อไป พร้อมกับการอุบัติขึ้น เขาย่อมได้รับอภิญญา 5 ประการ ได้ความเพียรในธรรมที่ยังไม่อุบัติขึ้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ เขาเป็นพระโพธิสัตว์ ที่มีความเพียรในธรรม ขณะที่ยังไม่อุบัติขึ้น ได้เห็นพระตถาคตทั้งหลายมีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายใน 72 คงคานที เขาสามารถมองเห็นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยจักขุนทรีย์ที่บริสุทธิ์ยิ่งของเขา
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ได้ประทานให้สาธุการแก่เขาว่า ดีละ ดีละ กุลบุตร ท่านได้ฟังธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ที่ยกขึ้นแสดงในประพจน์ของพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี แล้วศึกษา เจริญภาวนา ใคร่ควรญ กระทำไว้ในใจ และประกาศแก่สัตว์เหล่าอื่น ดูก่อนกุลบุตร การสะสมบุญนี้ของท่าน แม้พระพุทธเจ้าพันองค์ก็ไม่อาจจะชี้แจงได้ ดูก่อนกุลบุตร ท่านได้เป็นศัตรูของมารร้าย ได้ข้ามพ้นสงครามอันน่ากลัวแล้ว ได้บดขยี้ศัตรูผู้ขัดขวางได้แล้วท่านได้เป็นผู้ตั้งมั่นแล้ว ในพระพุทธเจ้าพันร้อยองค์ ดูก่อนกุลบุตร ในโลกรวมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก บรรดาประชาชนทั้งหลาย รวมทั้งสมณะและพราหมณ์ บุคคลผู้เป็นเช่นท่านนั้น ย่อมไม่มี ยกเว้นพระตถาคตเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น บุคคลอื่น จะเป็นพระสาวกก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ตาม พระโพธิสัตว์ก็ตาม ไม่สามารถจะชนะ (ครอบงำ) ท่านได้ด้วยบุญ ปัญญา หรือสมาธิ ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะโพธิสัตว์นั้น ชื่อว่า เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งพลังแห่งปัญญา
ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ผู้ใดได้ฟังประวัติโยคะในกาลก่อนของพระไภษัชยราชนี้ ที่กำลังเล่าอยู่ แล้วให้สาธุการ กลิ่นหอมแห่งดอกอุบลจักออกจากปากของผู้นั้น กลิ่นจันทน์หอม จักมีจากอวัยวะของเขา บุคคลใด ให้สาธุการในธรรมบรรยายนี้ คุณานิสงส์ทั้งหลายที่เราแสดงแล้วในที่นี้ ซึ่งประกอบด้วยธรรมที่ประจักษ์เหล่านี้ จักมีแก่บุคคลนั้น ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ เพราะเหตุนั้น เราจึงมอบพระสูตรนี้ ที่เป็นบุพโยคประวัติของพระสรรวสัตว์ปริยทรรศน์โพธิสัตว์มหาสัตว์ (ให้แก่ท่าน) เพราะในกาลสมัยสุดท้าย ธรรมบรรยายนี้พึงดำเนินไปในชมพูทวี่ปนี้ ใน 50 ปีสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ ยังไม่ถึงกับอันตรธาน มารผู้มีบาปไม่พึงได้โอกาส (กาอวตาร) แม้กระทั่งเทพ ผู้เป็นกลุ่มของมาร นาค ยักษ์ คนธรรพ์ และกุมภัณฑ์ก็ไม่พึงได้การอวตาร ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ เพราะเหตุนั้น เราจึงอธิษฐานถึงธรรมบรรยายนี้ ในชมพูทวีปนี้ ธรรมบรรยายนี้ จักเป็นเภสัชของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ป่วย และถูกพยาธิเบียดเบียน เพราะได้ฟังธรรมบรรยายนี้ พยาธิย่อมไม่เข้าสู่ร่างกาย ความชราและความตายก่อนอายุขัย จะไม่มาถึง ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ถ้าบุคคลผู้ดำรงอยู่ในโพธิสัตวยานพึงเห็นภิกษุ ผู้รักษาพระสูตรนี้ แล้วพึงสักกาะท่าน แม้ด้วยผงจันทน์และดอกอุบล ครั้นโปรยดอกไม้แล้ว พึงเกิดความคิดขึ้นว่า กุลบุตรจักไปสู่มณฑลของต้นโพธิ์ จักรับหญ้า จักกำหนดรู้ที่นอนคือหญ้าที่ต้นโพธิ์ เขาจักกระทำให้มารและยักษ์พ่ายแพ้ เขาจักยังสังข์แห่งธรรมให้สมบูรณ์ เขาจักตีกลองแห่งธรรม เขาจักข้ามสาครคือภพ ดูก่อนนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ กุลบุตรหรือกุลธิดา ผู้ดำรงอยู่ในโพธิสัตวยานนั้น ครั้นได้เห็นภิกษุ ผู้รักษาพระสูตรนี้ พึงเกิดความคิดว่า คุณานิสงส์ที่พระตถาคตแสดงแล้ว ย่อมมีมากมายถึงเพียงนี้
เมื่อพระตถาคตกำลังแสดงบุพโยคประวัติของพระไภษัชยราชอยู่นั้นพระโพธิสัตว์จำนวน 84,000 องค์ ก็ได้รับมนต์ที่นำไปสู่ความเป็นผู้ฉลาดในเสียงทั้งปวง พระผู้มีพระภาคประภูตรัตนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทานสาธูการว่า ดีละ ดีละ นักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ท่านได้คิดอย่างนี้ แล้วถามพระตถาคต ผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมที่ไม่สามารถคิดคำนวณได้ ซึ่งพระตถาคตก็ได้แสดงไว้แล้ว
บทที่ 22 ไภษัชยราชปูรวโยคปริวรรค ว่าด้วยปุพพโยคกรรมของไภษัชยราช
ในธรรมบรรยาย ศรีสัทธรรมปุณฑรีกสูตร
มีเพียงเท่านี้
บทที่23 พระคัทคทัสวรโพธิสัตว์
บทที่ 23
คัทคทัสวรปริวรรต
ว่าด้วยพระคัทคทัสวรโพธิสัตว์
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ทรงเปล่งพระรัศมีออกจากพระโลมาระหว่างคิ้ว (อูรณาโกศ) อันเป็นลักษณะของมหาบุรุษ พระรัศมีนั้นทำให้พุทธเกษตรจำนวนพันร้อยหมื่นโกฏิเท่ากับเมล็ดทรายใน 18 แม่น้ำคงคา ในทิศบูรพา สว่างไสวไปด้วยพระรัศมี เลยพุทธเกษตรพันร้อยหมื่นโกฏิ ที่มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายใน 18 แม่น้ำคงคานั้นออกไป มีอีกโลกธาตุหนึ่งชื่อว่า ไวโรจนรัศมีประติมัณฑิตะ ในโลกธาตุนั้นมีพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า กมลทลวิมลนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ทรงดำรงอยู่ตลอดไป ด้วยประมาณแห่งอายุกาลอันยาวนาน (ไพบูลย์) พระกมลทลวิมลนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ นั้นที่หมุ่พระโพธิสัตว์จำนวนมากแวดล้อมอยู่ กำลังจะแสดงธรรม ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ได้เปล่งพระรัศมีออกไป พระรัศมีได้ไปสัมผัสกับโลกธาตุนั้น ได้มีพระโพธิสัตว์มหาสัตว์องค์หนึ่ง นามว่าคัทคทัสวระ ซึ่งเป็นผู้สะสมกุศลมูลมาก่อน ได้ประทับอยู่ พระคัทคทัสวรนั้น เคยเห็นแสงสว่างแห่งรัศมีเช่นนี้ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว หลายพระองค์ และพระคัทคทัสวรโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น ได้บรรลุสมาธิแล้วหลายระดับ เช่น ธวชาครเกยูรสมาธิ สัทธรรมปุณฑรีกสูตรสมาธิ วิมลทัตตสมาธิ นักษัตรราชวิกรีฑิตสมาธิ อนิลัมภสมาธิ ชญานมุทราสมาธิ จันทรประทีปสมาธิ สรรวรุตเกาศัลยสมาธิ สรรวปุณยสมุจจยสมาธิ ประสาทวตีสมาธิ ฤทธิวิกรีฑิตสมาธิ ชญาโนลกาสมาธิ วยูหราชสมาธิ วิมลประภาสมาธิ วิมลครรภสมาธิ อาปกฤตสนสมาธิ และสูรยาวรรตสมาธิ โดยย่อ พระคัทคทัสวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้บรรลุสมาธิหลายพันร้อยหมื่นโกฏิ เปรียบจำนวนได้กับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา
พระรัศมีนั้นได้มาตกที่กายของพระคัทคทัสวรโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น พระคัทคทัสวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ได้ลุกจากอาสนะ กระทำผ้าอตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าลงกับพื้นประคองอัญชลีไปในทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กมลทลวิมลนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์จักไปสู่สหาโลกธาตุนั้น เพื่อเยี่ยมถวายบังคมและเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี พระมัญชุศรีกุมารภูตะ พระไภษัชยราชโพธิสัตว์ พระประทานศูรโพธิสัตว์ พระนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญโพธิสัตว์ พระวิศิษฏจาริตรโพธิสัตว์ พระวยูหราชโพธิสัตว์ และพระไภษัชยราชสมุทคตโพธิสัตว์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กมลทลวิมลนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะได้ตรัสกับพระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนกุลบุตร โลกธาตุนั้น มีทั้งชนชั้นสูงและชนชั้นต่ำ มีภูเขาที่เกลี่อนไปด้วยภูเขาแห่งกาล (เต็มไปด้วยหุบเหว) พระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี มีพระวรกายเตี้ย พระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็มีกายเตี้ย ดูก่อนกุลบุตร แต่ท่านมีร่างกาย(อาตมภาวะ) สูง 42 แสนโยชน์ ดูก่อนกุลบุตร ส่วนเรามีอาตมภาวะ 68 โยชน์ ดูก่อนกุลบุตร ท่านเป็นผู้มีรูปน่าเลื่อมใส น่าทัศนา ประกอบด้วยผิวพรรณที่งดงามมีบุญลักษณะเป็นเลิศหลายพันร้อยประการ ดูก่อนกุลบุตร ฉะนั้น เมื่อไปถึงสหาโลกธาตุแล้ว ท่านอย่าได้คิดในทางที่เสื่อมเสีย แก่พระตถาคตและพระโพธิสัตว์ ในพุทธเกษตรนั้น เมื่อตรัสดังนี้แล้ว พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้ทูลพระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากมลทลวิมลนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์จักทำตามที่พระตถาคตทรงรับสั่งให้ทราบ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์จักไปสู่สหาโลกธาตุนั้น ด้วยแรงอธิษฐานของพระตถาคต ด้วยอำนาจ ด้วยกรีพา ด้วยขบวน และด้วยญาณที่เกิดขึ้นของพระตถาคต ในขณะนั้นพระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ไม่ได้เคลื่อนจากพุทธเกษตรนั้น ไม่ได้ลุกจากที่ประทับนั้น ก็ได้บรรลุสมาธิถึงปานนั้น ดอกบัว 84 ร้อยพันเหมื่อนโกฏิ ได้ปรากฏต่อพระพักตร์ของพระตถาคตบนภูเขาคิชฌกูฎ ในสหาโลกธาตุของพระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้เข้าสู่สมาธิโดยลำดับ ดอกบัวเหล่านนั้นปรากฏ ก้านเป็นทอง ใบเป็นเงิน มีสีดุจทองกวาว(บัวสีแดง)
ในขณะนั้น พระมัญชุศรีกุมารภูตะ เมื่อเห็นการเกิดขึ้นของกลุ่มดอกบัวนั้น ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคอะไรเป็นบุพนิมิต ใครทำให้ปรากฏ ดอกบัวจำนวน84 ร้อยพันหมื่นโกฏิเหล่านั้น ซึ่งมีก้านเป็นทอง ใบเป็นเงิน มีสีงดงามดุจทองกวาว เมื่อกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับพระมัญชุศรีกุมารภูตะว่า ดูก่อนมัญชุศรี พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ที่พระโพธิสัตว์ 84 ร้อยพันหมื่นโกฏิติดตามแวดล้อม ได้มาจากพุทธเกษตรของพระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากมลทลวิมลนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ จากไวโรจนรัศมีประติมัณฑิตะโลกธาตุ ซึ่งมีอยู่ในทิศตะวันออก สู่สหาโลกธาตุนี้ เพื่อเฝ้า นมัสการ บูชา และฟังธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ของเรา พระมัญชุศรีกุมารภูตะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค กองกุศลอะไร ที่กุลบุตรได้สะสมแล้ว จึงได้รับความพิเศษนี้ พระโพธิสัตว์นั้น ได้ประพฤติอย่างไร ในสมาธินี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอรับฟังสมาธินั้นบ้าง ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอปฏิบัติสมาธินั้นบ้าง ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพบพระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้นบ้าง ผิวพรรณ รูปร่าง เพศ สถานะ และอาจาระของพระโพธิสัตว์นนั้นเป็นอย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นการดียิ่ง ขอให้พระผู้มีพระภาค ทรงกระทำนิมิตอย่างนั้น ที่บันดาลให้พระโพธิสัตว์นั้นมาสู่สหาโลกธาตุนี้ด้วยเถิด
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ได้ตรัสกะพระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะผู้ปรินิพพานไปแล้วว่า ขอให้พระผู้มีพระภาค จงกระทำนิมิตอย่างนั้น ที่บันดาลให้พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้เสด็จมาสู่สหาโลกธาตุนี้ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะผู้ปรินิพพานไปแล้ว ได้กระทำนิมิตอย่างนั้น เพื่อเตือนพระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ให้ปรากฏว่า ดูก่อนกุลบุตร ท่านจงมาสู่สหาโลกธาตุนี้ พระมัญชุศรีกุมารภูตะ ยินดีที่จะพบ (ท่าน) ครั้งนั้น พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ซึ่งติดตามแวดล้อมด้วยพระโพธิสัตว์ 84 ร้อยพันหมื่นโกฏิ ได้ถวายอภิวาทพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากมลทลวิมลนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ กระทำประทักษิณสามรอบ แล้วอันตรธานไปจากไวโรจนรัศมีประติมัณฑิตะโลกธาตุ มาสู่สหาโลกธาตุนี้ พร้อมกับพุทธเกษตรทั้งหลาย ที่หวั่นไหวดอกบัวที่โปรยลงมา ดนตรีร้อยพันหมื่นโกฏิชนิดบรรเลง มีพระพักตร์ดุจตาบัวอุบลเขียว มีกายสีทอง มีอาตมภาวะประดับด้วยบุณยลักษณะร้อยพันประการ รุ่งเรืองด้วยความงามเปล่งปลั่งด้วยเดช อวัยวะวิจิตรด้วยลักษณะทั้งหลาย มีกายดุจพระนารายณ์ พระองค์ มีพระโพธิสัตว์ติดตามแวดล้อม เสด็จมาในอากาศสูงประมาณ 7 ชั่วต้นตาล เข้าสู่สัปตรัตนกูฎคาร พระองค์ได้เสด็จมาสู่สหาโลกธาตุนี้ ทางทิศที่ภูเขาคิชฌกูฎ ซึ่งเป็นรคาชาแห่งภูเขาตั้งอยู่ ครั้นมาถึงแล้ว ได้เสด็จลงจากกูฎคารนั้น ถือมุกดาหารมีค่าร้อยพัน (หนึ่งแสน) เข้าไปหาพระผู้มีพระภาค ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทำประทักษิน7 รอบ แล้วจึงถวายมุกดาหารนั้น เพื่อบูชาพระผู้มีพระภาค ครั้นถวายแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะกมลทลวิมลนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะตรัสถามถึงความอาพาธเพียงเล็กน้อย ความเศร้าเพียงเล็กน้อย ความพยายามเพียงเล็กน้อย การเดิน กำลัง และความเป็นอยู่ ด้วยผัสสะแห่งความสุขของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์พออดทนอยู่หรือ? ยังดำเนินได้ดีหรือ? ธาตุยังปกติหรือ? สัตว์ทั้งหลายมีอาการปกติ แนะนำได้ง่าย และยังมีการรักษาโรคตามปกติหรือ? พวกเขามีกายสะอาด ไม่ประพฤติตามความใคร่ ประพฤติน่าเกลียด ประพฤติด้วยความงมงายจนเกินไปหรือ? ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สัตว์ทั้งหลาย ไม่อิจฉา ไม่ริษยา ไม่รู้คุณมารดา บิดา ไม่รู้จักความเป็นสาวก ไม่รู้จักความเป็นพราหมณ์ มองไม่เห็นความเท็จ มีจิตที่สงบ มีอินทรีย์ที่คุ้มครองมากเกินไปหรือ? ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สัตว์เหล่านี้ ยังปรารถนาจะกำจัดมารอยู่หรือ? ข้าแต่พระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะผู้ปรินิพพานไปแล้ว ได้เสด็จมาสู่สหาโลกธาตุนี้ ได้เข้าสู่ท่ามกลางสัปตรัตนสถูปเพื่อฟังธรรม พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถาม พระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะ ยังพออดทนอยู่หรือ? ยังดำเนินได้หรือ? ข้าแต่พระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะจักดำรงอยู่อีกนานหรือ? ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้พวกข้าพระองค์ทั้งหลายใคร่จะเห็นรูปธาตุของพระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะ พระองค์นั้น เป็นการดี ถ้าพระผู้มีพระภาคตถาคตได้แสดงรูปธาตุของพระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะพระองค์นั้น
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ได้ตรัสกับพระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะ ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์นี้ ปรารถนาจะพบพระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะได้ตรัสกับพระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้นว่า ดีละ ดีละ กุลบุตร ท่านปรารถนาจะพบพระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี จึงมาที่นี่ เพื่อจะฟังธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรและเพื่อพบพระมัญชุศรีกุมารภูตะ
ครั้งนั้น พระปัทมศรีโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค กุศลมูลอะไร ในปางก่อน ที่พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ได้สะสมไว้ ในสมัยของพระตถาคตองค์ใด ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนีได้ตรัสกับพระพระปัทมศรีโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนกุลบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว ในอดีตกาล ในกัลป์ที่ไม่อาจนับได้ ห่างไกลเกินกว่าที่จะนับได้ กำหนดไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ในกาลสมัยนั้น พระตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรทพระนามว่า เมฆทุนทุภิสวรราชะ ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ผู้เสด็จไปดีแล้ว ผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่หาผู้เปรียบมิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้เบิกบาน ผู้จำแนกธรรม ได้เกิดขึ้นในโลกใน สรรวรูปสันทรตนโลกธาตุ ในปริยทรรศนกัลป์ ดูก่อนกุลบุตร พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้ทำการบูชาพระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการประโคมดนตรีหลายร้อยพันชนิด ตลอดเวลาสิบสองแสนปี ได้ถวายสัปตรัตนภาชนะจำนวน 84,000ชิ้น ดูก่อนกุลบุตรในประพจน์(ศาสนา) ของพระเมฆทุนทิสวรราชตถาคตนั้น พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์ ได้รับพระศรีอันเป็นเช่นนี้ ดูก่อนกุลบุตร ท่านอาจจะมีความสงสัย ลังเล ไม่แน่อีกว่า ก็โดยกาลสมัยนั้นพระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์องค์อื่นก็เป็นได้ ที่ทำการบูชาและถวายภาชนะ 84,000 ชิ้น แต่พระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเมฆทุนทิสวรราช ดูก่อนกุลบุตร ท่านอย่าคิดเห็นอย่างนั้นเลย เพราะเหตุไร? ดูก่อนกุลบุตร เพราะว่า พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้มีเพียงองค์นี้เท่านั้น คือผู้ที่ทำการบูชาและถวายภาชนะ 84,000ชิ้น แด่พระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเมฆทุนทิสวรราชะนี้ ดูก่อนกุลบุตรพระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ได้เข้าไปใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าจำนวนมาก ได้สร้างกุศลมูลไว้ในพระพุทธเจ้าหลายแสนองค์ ได้กระทำบริกรรมไว้ในพระพุทธเจ้า(หลายแสนองค์) พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์นี้ เคยเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ดูก่อนปัทมศรี ท่านจงดูพระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์นี้ พระปัทมศรีกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ย่อมเห็น ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ย่อมเห็น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนปัทมศรี พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์นี้ ย่อมแสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ด้วยรูปจำนวนมาก เช่น แสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรด้วยรูปพระพรหม พระรุทระ ท้าวสักกะ พระอิศวร เสนาบดี ไวศรวณะ พระจักพรรดิ โกฏฏราช เศรษฐี คฤหบดี ชาวนิคมและพราหมณ์ พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้แสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ แก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยรูปของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ภรรยาเศรษฐี ภรรยาคฤหบดี ภรรยาชาวบ้าน ด้วยรูปของ เด็กชายและเด็กหญิง ดูก่อนกุลบุตร พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้แสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ แก่สัตว์ทั้งหลายด้วยรูปที่ปรากฏต่างๆ เหล่านี้ บางครั้ง พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ แสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตร แก่สัตว์ด้วยรูปของยักษ์ บางครั้งรูปของอสูระ บางครั้งรูปของครุฑ บางครั้งรูปของกินนร บางครั้งรูปของมโหรคะ พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ เป็นผู้แสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ แก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้เกิดในนรก กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ยมโลกและเปรต (วิญญาณ) พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ย่อมแสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ แก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้ไปสู่กลางเมืองชั้นใน ได้นิรมิตรูปสตรีเพื่อแสดงธรรมแก่สัตว์เหล่านั้น พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ได้แสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายในสหาโลกธาตุนี้ ดูก่อนปัทมศรี พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์เป็นผู้คุ้มครองสัตว์ทั้งหลาย ในสหาโลกธาตุนี้โดยแท้ พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้แสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ แก่สัตว์ทั้งหลาย ในสหาโลกธาตุนี้ ด้วยรูปนิมิตเหล่านี้ ดูก่อนกุลบุตร พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ย่อมรู้แจ้งในโลกธาตุนี้ ด้วยแสงสว่างแห่งญาณเหล่านี้ รูปของพระโพธิสัตว์ ย่อมแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้ควรแนะนำไปสู่ความเป้นพระโพธิสัตว์ในโลกธาตุทั้งหลายเหล่าอื่น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา
รูปของพระสาวก แสดงธรรมแก่สัตว์ ผู้ควรแนะนำไปสู่ความเป็นพระสาวก รูปของพระปัจเจกพุทธเจ้า แสดงธรรมแก่สัตว์ ผู้ควรแนะนำไปสู่ความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า รูปของพระตถาคต แสดงธรรมแก่สัตว์ ผู้ควรแนะนำไปสู่ความเป็นพระตถาคต ย่อมแสดงธาตุของพระตถาคต แก่สัตว์ผู้ควรนำไปสู่ธาตุพระตถาคต ย่อมแสดงอาตมภาวะที่นิพพานแล้ว แก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้ควรนำไปสู่พระนิพพาน ดูก่อนปัทมศรี พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ เป็นผู้ตั้งมั่นในกำลังญาณ ด้วยอาการอย่างนี้
ขณะนั้น พระปัทมศรีโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้เป็นผู้สะสมกุศลมูลโดยแท้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมาธิเช่นไร ที่พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ดำรงอยู่ แล้วสอนสัตว์ได้ถึงเพียงนี้ เมื่อพระปัทมศรีกล่าวดังนั้น พระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี จึงได้ตรัสกับ พระปัทมศรีโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนกุลบุตร สมาธินี้ชื่อว่า สรรวรูปสันทรรศนสมาธิ เมื่อพระคัทคทัสวระโพธิสัตว์ดำรงอยู่ในสมาธินี้ สามารถสร้างประโยชน์แก่สัตว์ตามที่ปรารถนาได้
เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงคัทคทัสวรปริวรรตนี้อยู่ พระโพธิสัตว์จำนวน 84 ร้อยพันหมื่นโกฏิ ที่มาสู่สหาโลกธาตุนี้ พร้อมกับพระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ก็ได้บรรลุสรรวรูปสันทรรศนสมาธิ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหลือคณานับ ในสหาโลกธาตุนี้ ที่ได้สรรวรูปสันทรรศนสมาธิ
ครั้งนั้น พระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้ทำการบูชาอันไพบูลย์ยิ่งใหญ่ ที่สถูปพระธาตุของพระผู้มีพระภาคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี และพระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะ แล้วขึ้นไปสู่สัปตรัตนกูฏคาร ซึ่งตามแวดล้อมด้วยพระโพธิสัตว์ 84 ร้อยพันหมื่นโกฏิองค์ ได้มาสู่พุทธเกษตรของตนแล้ว พร้อมกับพุทธเกษตรทั้งหลายที่หวั่นไหว ดอกบัวที่โปรยลงมา ดนตรีร้อยพันหมื่นโกฏิชนิดบรรเลง เมื่อมาถึงแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะ ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ได้ทำประโยชน์ต่อสัตว์ในสหาโลกธาตุแล้ว ข้าพระองค์ได้เห็น ได้นมัสการสถูปของพระผู้มีพระภาคคตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตะรัตนะแล้ว พระผู้มีพระภาคตถาคตศากยมุนี ข้าพระองค์ ก็ได้เห็นและได้นมัสการแล้วเช่นกัน พระมัญชุศรีกุมารภูตะ ข้าพระองค์ก็ได้พบแล้ว พระไภษัชยราชโพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้บรรลุกำลังแรงกล้าและพระประทานศูรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ข้าพระองค์ก็ได้พบแล้ว มีพระโพธิสัตว์ 84 ร้อยพันโกฏิองค์ ที่ได้บรรลุสรวรูปสันทรรศนสมาธิ
เมื่อพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสประวัติความเป็นมาของพระคัทคทัสวระโพธิสัตว์มหาสัตว์อยู่นั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย จำนวน 42,000องค์ ก็ได้บรรลุขันติธรรมที่เกิดขึ้น ส่วนพระโพธิสัตว์ปัทมศรีได้บรรลุสัทธรรมปุณฑรีกสมาธิ
บทที่ 23 คัทคทัสวรปริวรรต ว่าด้วยพระคัทคทัสวระโพธิสัตว์
ในธรรมบรรยาย ศรีสัทธรรมปุณฑรีกสูตร
มีเพียงเท่านี้
บทที่24 พระอวโลกิเตศวร
บทที่ 24
สมัตมุขปริวรรต
ว่าด้วยการสำแดงร่างของพระอวโลกิเตศวร
ครั้งนั้น พระอักษยมติ โพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า คุกเข่าขวาลงที่พื้นดิน ประคองอัญชลีต่อพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะเหตุไรจึงเรียก พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ว่าอวโลกิเตศวร เมื่อพระโพธิสัตว์ได้กราบทูลดังนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสกับพระอักษยมติโพธิสัตว์มหาสัตว์ ว่า ดูก่อนกุลบุตร สัตว์จำนวนหลายร้อยพันหมื่นโกฏิ ที่รวมกันอยู่ในที่นี้ ย่อมคล้อยตามความทุกข์สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ถ้าได้ฟังชื่อของ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ก็จะหลุดพ้นจากกองทุกข์นั้นได้ ดูก่อนกุลบุตร สัตว์เหล่าใด ท่องจำ นามของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ถ้าสัตว์เหล่านั้น ตกลงในกองไฟใหญ่ เขาทั้งหมดจะรอดพ้นจากกองไฟใหญ่นั้นได้ด้วยเดชของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ดูก่อนกุลบุตร ถ้าสัตว์ทั้งหลาย ถูกกระแสน้ำพัดพาไป พึงกระทำการเพรียกพระนาม ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ แม่น้ำทั้งปวงเหล่านั้น จะให้ความรักเอ็นดูแก่สัตว์เหล่านั้น ดูก่อนกุลบุตร ถ้าสัตว์จำนวนร้อยพันหมื่นโกฏิ ลงเรือไปในท่ามกลางมหาสมุทร ทรัพย์สินที่สร้างไว้ เช่น เงิน ทอง แก้วมณี มุกดา เพชร ไพฑูรย์ สังข์ ประพาฬ มรกต สุมาร์คลวะ และมุกแดง เป็นต้น (จะเสียหาย) เรือของเขาถูกพายุพัดไปติดเกาะของรากษส ถ้าในเรือนั้น พึงมีสัตว์ผู้หนึ่ง กระทำการเพรียกพระนามของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ เขาเหล่านั้นทั้งหมด จะรอดพ้นจากเกาะของรากษสนั้น ดูก่อนกุลบุตร เพราะเหตุนี้เอง พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ จึงได้ชื่อว่า "อวโลกิเตศวร"
ดูก่อนกุลบุตร ถ้าผู้ต้องโทษประหาร เอ่ยพระนามของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ อาวุธทั้งหลายของเพชฌฆาตเหล่านั้น จะแตกกระจาก ดูก่อนกุลบุตร ถ้าโลกธาตุทั้งสามพันน้อยใหญ่ เต็มไปด้วยปีศาจและยักษ์ เมื่อมีผู้เอ่ยนามพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ปีศาจและยักษ์ทั้งหลายที่คิดชั่ว จะไม่สามารถมองเห็นได้ ดูก่อนกุลบุตร สัตว์บางคน ถูกจองจำด้วยเครื่องพันธนาการ ขื่อคา โซ่ตรวน ที่ทำด้วยไม้และเหล็ก เขาจะมีความผิด หรือไม่มีความผิดก็ตาม ขื่อและโซ่ตรวนเหล่านั้น จะคลายออกทันที ด้วยการเอ่ยพระนามของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น ดูก่อนกุลบุตร ประถมเหตุของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ เป็นอย่างนี้
ดูก่อนกุลบุตร ถ้าโลกธาตุทั้งสามพันน้อยใหญ่นั้น เต็มไปด้วยทุรชน ศัตรู โจรผู้ร้ายและศาสตราวุธ หัวหน้าพ่อค้าคนหนึ่ง นำพ่อค้าจำนวนมาก ที่มั่งคั่งด้วยรัตนะอันหาค่ามิได้ไปด้วย เมื่อเขากำลังเดินทางอยู่ ได้พบโจรทุรชนผู้เป็นศัตรูเหล่านั้น ซึ่งมีอาวุธครบมือ ครั้นพบแล้วก็จะสะดุ้งกลัว เกิดความรู้สึกว่า ตนเองหมดที่พึ่งแล้ว ครั้นผู้นำพ่อค้าวาณิชผู้นั้น กล่าวกับพ่อค้าว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงอย่ากลัวไปเลย ท่านทั้งหลายจงอย่ากลัวท่านทั้งปวง จงเอ่ยพระนามพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้ประทานความไม่มีภัย ด้วยเสียงอันดังเพียงครั้งเดียว ลำดับนั้น ท่านทั้งหลายจะรอดพ้นจากภัยคือโจรและภัยคือศัตรูในทันที ครั้งนั้น พ่อค้าทั้งปวงนั้น ได้เอ่ยพระนามพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ด้วยเสียงอันดังพร้อมกันว่า ขอนมัสการ นอบน้อม ต่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้ประทานความไม่มีภัย (นโม นมสฺตสฺไม อภยํ ททายาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺตฺวาย มหาสตฺตฺวาย) พ่อค้านั้นได้รอดพ้นแล้วจากภัยทั้งปวง พร้อมกับการเอ่ยพระนามเท่านั้น ดูก่อนกุลบุตร อภินิหาร(อำนาจ) ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์เป็นอย่างนี้
ดูก่อนกุลบุตร สัตว์ทั้งหลายผู้มีราคจริต เมื่อได้นมัสการพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์แล้ว ก็จะเป็นผู้ปราศจากราคะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโทสจริต เมื่อได้นมัสการพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์แล้ว ก็จะเป็นผู้ปราศจากโทสะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโมหจริต เมื่อได้นมัสการพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์แล้ว ก็จะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ดูก่อนกุลบุตรพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ เป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้
ดูก่อนกุลบุตร หากสตรีใด ปรารถนาจะมีบุตร แล้วนมัสการพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ เธอจะได้บุตรที่มีรูป สง่างาม น่าชมยิ่งนัก บุตรของนางจะประกอบด้วยลักษณะแห่งบุตร อันเป็นทีรักของชนส่วนมาก เป็นทีน่าปลื้มใจ เป็นผู้สร้างกุศลมูลไว้ดีแล้ว สตรีใดปรารถนาจะได้บุตรี สตรีนั้นจะได้บุตรีที่มีรูปงาม สง่า น่าชมยิ่งนัก ประกอบด้วยผิวพรรณอันงดงาม ประกอบด้วยลักษณะที่สมบูรณ์ของเด็กหญิง เป็นที่รักของชนจำนวนมาก เป็นผู้สะสมกุศลมูลไว้ดีแล้ว ดูก่อนกุลบุตร อภินิหารของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์เป็นอย่างนี้
ดูก่อนกุลบุตร ชนเหล่าใด นมัสการ เอ่ยพระนามพระอวโลกิเตศวร ผลการกระทำของเขาจะไม่สูญเปล่า(ไม่เป็นโมฆะ) ดูก่อนกุลบุตร ชนใด นมัสการและเอ่ยพระนามพระอวโลกิเตศวรและชนใดนมัสการ เอ่ยพระนามพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายใน 62 แม่น้ำคงคา ชนใดทำการบูชา พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ที่ดำรงพระชนม์อยู่ตลอดไป ด้วยการ ถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่งและเภสัชแก่ผู้ป่วย ดูก่อนกุลบุตร ท่านคิดว่า ข้อนั้นเป็นอย่างไร กุลบุตร หรือกุลธิดา ได้สะสมบุญญาธิการอันบริสุทธิ์จากกรรมนั้นหรือไม่ เมื่อกล่าวอย่างนั้นแล้ว พระอักษยมติโพธิสัตว์มหาสัตว์ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค มาก ข้าแต่พระสุคต มาก กุลบุตร หรือกุลธิดา ได้สะสมบุญญาธิการ อันบริสุทธิ์จากกรรมนั้นไว้จำนวนมาก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูก่อนกุลบุตร บุคคลใด กระทำสักการะต่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าถึงเพียงนั้น ชื่อว่า เป็นผู้ได้กระทำบุญไว้แล้ว บุคคลใด ทำการนอบน้อม เอ่ยนามพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ โดยที่สุดแม้เพียงครั้งเดียว บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้กระทำบุญที่เสมอกัน ไม่ยิ่งไปเกินกว่าทั้งสองประการนั้น บุคคลใด ทำสักการะ เอ่ยพระนามของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ซึ่งมีจำนวนมากเท่ากับเมล็ดทรายใน 62 แม่น้ำคงคา และบุคคลใด พึงกระทำการนอบน้อม เอ่ยนามพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้กระทำกองบุญทั้งสองอย่างนั้น ใครๆก็ไม่อาจทำลายลงได้ ตลอดร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ ดูก่อนกุลบุตร บุญที่เกิดจากการเอ่ยพระนามพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์นั้น ประมาณมิได้ด้วยประการฉะนี้
ครั้งนั้น พระอักษยมติโพธิสัตว์มหาสัตว์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุใดพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ จึงต้องท่องไปในสหาโลกธาตุนี้ ทำไมจึงต้องแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย และอุบายโกศลวิสัยของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์เป็นอย่างไร? เมื่อกราบทูลดังนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับพระอักษยมติโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนกุลบุตร พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้แสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย ในโลกธาตุปัจจุบัน ด้วยรูปของพระพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ แสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย ในโลกธาตุอื่น ด้วยรูปของพระโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ แสดงธรรมแก่สัตว์บางจำพวก ด้วยรูปของพระปัจเจกพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ แสดงธรรมแก่สัตว์บางจำพวก ด้วยรูปของพระสาวก พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ แสดงธรรมแก่สัตว์บางจำพวกด้วยรูปของพระพรหม พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ แสดงธรรมแก่สัตว์บางจำพวก ในรูปของท้าวสักกะ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ แสดงธรรมแก่สัตว์บางจำพวก ในรูปของคนธรรพ์ แสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายที่ยักษ์พอแนะนำได้ ในรูปยักษ์ แก่สัตว์ทั้งหลายที่พระอิศวรพอจะแนะนำได้ ในรูปของพระอิศวร แก่สัตว์ทั้งหลายที่พระมเหศวรพอจะแนะนำได้ ในรูปของพระมเหศวร สัตว์ทั้งหลายที่พระเจ้าจักรพรรดิพอจะแนะนำได้ จะแสดงธรรมในรูปของพระจักรพรรดิ สัตว์ทั้งหลาย ที่ปีศาจพอจะแนะนำได้ ก็จะแสดงธรรมในรูปของปีศาจ สัตว์ทั้งหลาย ที่ท้าวกุเวรพอจะแนะนำได้ ก็จะแสดงธรรมในรูปของท้าวกุเวร สัตว์ทั้งหลายที่เสนาบดีพอจะแนะนำได้ ก็จะแสดงธรรมในรูปของเสนาบดี สัตว์ที่พราหมณ์พอจะแนะนำได้ ก็จะแสดงธรรมในรูปของพราหมณ์ สัตว์ที่พระวัชรปาณีพอจะแนะนำได้ ก็จะแสดงธรรมในรูปของพระวัชรปาณี ดูก่อนกุลบุตร เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย ควรบูชาพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ เสียตั้งแต่บัดนี้ ดูก่อนกุลบุตร พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ย่อมประทานความปลอดภัยแก่หมู่สัตว์ ผู้มีความกลัว เพราะเหตุนี้ ในสหาโลกธาตุ จึงเรียกพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า "พระอภยัททะ" (ผู้ประทานความปลอดภัย)
ครั้งนั้น พระอักษยมติโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย ควรให้รางวัลเพื่อธรรมและเครื่องนุ่งห่มเพื่อธรรม แก่พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ดูก่อนกุลบุตร ท่านทั้งหลายย่อมสมหวัง ณ บัดนี้ ขณะนั้น พระอักษยมติโพธิสัตว์มหาสัตว์ได้ปลดมุกดาหาร มีค่าร้อยพัน จากศอของตนเอง ให้เป็นรางวัลแห่งธรรม แด่พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนสัตบุรุษ ขอท่านจงรับรางวัลแห่งธรรมนี้ จากข้าพเจ้าด้วยเถิด พระอวโลกิเตศวร ไม่ทรงรับ
ครั้งนั้น พระอักษยมติโพธิสัตว์มหาสัตว์ได้ตรัสกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนกุลบุตร ขอท่านจงรับมุกดาหารนี้เถิด เพื่ออนุเคราะห์แก่พวกเรา ครั้งนั้น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ทรงรับมุกดาหารนั้น จากพระอักษยมติโพธิสัตว์มหาสัตว์ เพื่อให้ความอนุเคราะห์แก่พระอักษยมติโพธิสัตว์มหาสัตว์ แก่บริษัทสี่ แก่เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ กินนร มโหรคะ มนุษย์และอมนุษย์ ครั้นรับแล้ว พระองค์ได้แบ่งมุกดาหารนั้นออกเป็นสองส่วน ครั้นแบ่งแล้ว ได้ถวายส่วนหนึ่งแก่พระผู้มีพระภาคศากยมุนี ได้ถวายส่วนที่สองไว้ที่รัตนสถูปของพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูรัตนะ ดูก่อนกุลบุตร พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ย่อมท่องไปในสหาโลกธาตุนี้ ด้วยการแปลงร่างต่างๆ(ด้วยการกระทำต่างๆ) เช่นนี้
ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
1 ดูก่อนจิตรธวัช ท่านจงถามเนื้อความจากเหตุกับพระอักษยมติ ดูก่อนพระชินบุตร เพราะเหตุไรเขาจึงเรียกว่า พระอวโลกิเตศวร
2 พระอักษยมติ ผู้มีปัญญา ที่กว้างไกล ดุจมหาสมุทร ผู้มีวิจารณญาณมากเช่นนั้น ได้กล่าวว่า พระจิตรธวัช จงฟังจรรยาวัตรของพระอวโลกิเตศวร
3 พระจิตรธวัช จงฟังประณิธาน ที่ทำให้พระพุทธเจ้าจำนวนพันโกฏิบริสุทธิ์ตลอดเวลาหลายร้อยโกฏิกัลป์ จนนับมิได้ จาการชี้แจงของเรา
4 ผู้ได้ยิน ได้เห็น และได้ระลึกถึง (พระองค์) อยู่เสมอ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่สูญเปล่า ขอสัตว์ทั้งหลาย ในโลกนี้ จงเป็นผู้ทำลายความทุกข์โศกทั้งปวงเสียได้
5 ถ้าศัตรู (ผู้มีใจประทุษร้าย) ทำให้เขาตกลงไปในกองไฟ เพื่อหวังจะฆ่าให้ตาย เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร ไฟก็จะมอดดับไป เหมือนกับถูกน้ำราด
6 ถ้าว่า บุคคลทำให้เขาตกไปในมหาสมุทร ที่ลึกยิ่ง (ยากที่จะหยั่งถึง) อันเป็นที่อยู่ของนาค สัตว์น้ำและปีศาจ เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร เขาก็จะไม่จมลงไปในทะเลหลวง
7 ถ้าศัตรู ทำให้เขาตกจากยอดเขาสุเมรุ เพื่อหวังจะฆ่าให้ตาย เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร เขาจะลอยอยู่ในท้องฟ้าดุจพระอาทิตย์
8 ถ้าบุคคลใดปาเขาที่ศีรษะ ด้วยก้อนเพชร หวังฆ่าให้ตาย เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร สิ่งเหล่านั้น ไม่สามารถเบียดเบียนได้ แม้ปลายเส้นผมของเขา
9 ถ้าบุคคล ถูกหมู่ศัตรูที่มีอาวุธครบมือล้อมไว้ ด้วยจิตคิดจะเบียดเบียน เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร ศัตรูก็จะเกิดจิตเมตตาขึ้นในขณะนั้น
10 ถ้าบุคคล ต้องโทษจองจำอยู่ในหลักประหาร เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวรอาวุธ(ของเพชฌฆาต) ก็จะแตกละเอียด (เป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่)
11 ถ้าเขาถูกจองจำด้วยเครื่องพันธนาการ ที่เป็นไม้ก็ได้ เหล็กก็ดี ขื่อคาและโซตรวนก็ดี เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร เครื่องพันธนาจะคลายออกในทันที
12 เวทมนต์คาถา วิทยาของผู้มีพลัง ยาพิษ ภูต เวตาล ที่ทำให้ร่างกายถึงความหายนะได้ เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร สิ่งเหล่านั้นจะเสื่อมไปในทันที
13 ถ้าบุคคลถูกนาค ยักษ์ เปรต และรากษส ล้อมจับตัวไป เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร ศัตรูเหล่านั้น ไม่สามารถเบียดเบียนได้แม้ปลายเส้นผม
14 ถ้าบุคคล ถูกสัตว์ร้าย ที่มีเขี้ยวเล็บแหลมคม น่ากลัวยิ่ง ห้อมล้อมอยู่ เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร สัตว์เหล่านั้นจะวิ่งหนีไป คนละทิศทาง ในทันที
15 ถ้าบุคคล ถูกงูพิษที่โหดร้ายทารุณมีเปลวไฟเรืองแสง ห้อมล้อมอยู่ เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร งูเหล่านั้นก็จะหมดพิษไปในทันที
16 เมื่อฝนตก ย่อมปรากฏสายฟ้า ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ และฟ้าผ่า เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร เหตุการณ์เหล่านั้น ก็จะสงบลง ในครู่เดียวเท่านั้น
17 พระองค์ (อวโลกิเตศวร) ผู้มีกำลังญาณ อันบริสุทธิ์ ทรงพิจารณาเห็นสัตว์ทั้งหลาย ที่ถูกความทุกข์หลายร้อยประการกดขี่ เบียดเบียน จึงเป็นผู้คุ้มครองสัตว์โลกทั้งหลาย รวมทั้งเทวดา ให้รอดพ้นจากความทุกข์นั้น
18 พระองค์ (อวโลกิเตศวร) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยบารมีแห่งกำลังอิทธิฤทธิ์ ทรงศึกษาในวิทยาและอุบายอย่างกว้างขวาง ทรงปรากฏในโลกทุกส่วน จากทุกทิศและในพุทธเกษตรทั้งปวง
19 ภัยคือชาติ ชราและพยาธิ ที่เบียดเบียน ภัยคือการไปสู่ทุคติเป็นเวลานาน ตามคำสั่งยมบาลแห่งสัตว์นรก ภัยของสัตว์ทั้งหลาย จะสงบไปตามลำดับ
ขณะนั้น พระอักษยมติ มีจิตยินดียิ่งนัก จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
20 ข้าแต่ท่านผู้มีพระเนตรอันสดใส มีพระเนตรประกอบด้วยเมตตา มีพระเนตรที่เลิศด้วยปัญญาและวิทยา มีพระเนตรประกอบด้วยความกรุณาและบริสุทธิ์ พระองค์มีพระพักตร์และพระเนตรงดงาม น่าชื่นชมยิ่งนัก
21 พระองค์มีรัศมีที่สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากมลทิน มีวิทยาปราศจากความมัวหมอง ดุจแสงสว่างของดวงอาทิตย์ มีรัศมีดุจเปลวไฟที่ปราศจากพายุ เมื่อส่องประกายย่อมสว่างไสวไปทั่วโลก
22 พระองค์ผู้เจริญด้วยเมตตาและกรุณาธิคุณ ทรงเป็นมหาเมฆแห่งคุณธรรมอันงดงามและเมตตาจิต ทรงยังไฟคือกิเลสของสัตว์ทั้งหลายให้ดับไป ทรงโปรยน้ำอมฤตคือหยาดฝนแห่งธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย
23 ถ้าบุคคลอยู่ในการทะเลาะวิวาท การสู้รบและการสงคราม ที่เป็นภัยอันใหญ่หลวง เมื่อเขาระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร พระองค์จะขจัดคนชั่ว ที่เป็นหมู่ศัตรูให้พ่ายแพ้ไป
24 บุคคลพึงระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร ผู้มีพระสุรเสียงดุจเมฆและกลอง ดังกึกก็องดุจเมฆฝน ไพเราะดุจเสียงพรหม ที่เข้าถึงบารมีมณฑลเสียง(ทั้งปวง)
25 ท่านทั้งหลายจงอย่าสงสัยไปเลย จงระลึกถึงพระอวโลกิเตศวร ผู้บริสุทธิ์ พระองค์จะเป็นผู้คุ้มครอง เป็นที่พึ่ง เป็นผู้ทำให้ปราศจากความตาย ความวิบัติและการเบียดเบียน
26 พระอวโลกิเตศวร เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมทั้งปวง มีพระเนตรที่ประกอบด้วยเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้มีพระคุณดุจมหาสาคร ที่มีคุณอย่างมหาศาล เป็นผู้ที่ใครๆก็ควรไหว้
27 พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ต่อชาวโลก จึงไม่ต้องการเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ข้าพระองค์ จึงขอนอบน้อมพระอวโลกิเตศวร ผู้ทำลายความทุกข์ ภัยและความโศกเศร้า ของสัตว์ทั้งปวง
28 พระองค์เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลก เป็นผู้นำแห่งพระราชา เป็นบ่อเกิดแห่งธรรมของภิกษุ เป็นผู้อันชาวโลกบูชาแล้ว เป็นผู้ท่องเที่ยวไปหลายร้อยกัลป์ ได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ที่ปราศจากมลทิน
29 ครั้งหนึ่ง (พระองค์) ประทับอยู่เบื้องขวา ครั้งหนึ่งประทับอยู่เบื้องซ้าย อยู่ถวายพัดพระอมิตาภนายกะ ได้ปรากฏภาพมายาโดยสมาธิ จึงไปบูชาพระชินเจ้าในพุทธเกษตรทั้งปวง
30 ในทิศตะวันตก มีโลกธาตุ อันเป็นบ่อเกิดของความสุข ชื่อสุขาวดี ที่ปราศจากมลทิน ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอมิตาภนายกะ ผู้ฝึกสัตว์ทั้งปวง
31 ไม่มีสตรีเพศ ไม่มีเมถุนธรรม โดยประการทั้งปวง ณ ที่นั้น พระชินบุตรทั้งหลายผู้ปราศจากมลทิน ได้ปรากฏขึ้นประทับนั่งบนใจกลางดอกบัว
32 ส่วนพระอมิตาภนายกะนั้น ประทับนั่งบนสิงหาสน์ ในใจกลางดอกบัว อันปราศจากมลทิน และน่ารื่นรมย์ ทรงรุ่งโรจน์ราวกับพระศาลราช
33 ผู้ที่เป็นเช่นนั้น คือผู้ที่เหมือนกับพระโลกนาถ ย่อมไม่มีในโลกทั้งสาม ข้าแต่พระองค์ ผู้ประเสริฐกว่านรชน ข้าพระองค์ ขอสรรเสริญบุญที่พระองค์สะสมไว้และขอเป็นเช่นกับพระองค์ ในอนาคตอันใกล้นี้
ครั้งนั้น พระธรณีนธรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า คุกเข่าข้างขวาลงบนพื้นดิน ประคองอัญชลีต่อพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สัตว์เหล่าใด ได้ฟังบทธรรมบรรยายนี้ ที่เป็นอภินิหารแห่งการเปลี่ยนร่าง (นิรมาณกาย) ชื่อว่า สมันตมุขปริวรรต ที่แสดงการเปลี่ยนร่าง (นิรมาณกาย) ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ สัตว์เหล่านั้น มิใช่เป็นผู้มีกุศลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น"
ขณะนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงบทที่ว่าด้วยการเปลี่ยนพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวรอยู่นั้น จิตของสัตว์ทั้งหลายจำนวน 84,000 คนในบริษัทนั้น ได้เข้าถึงอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ที่ไม่มีสิ่งอื่นเสมอได้
บทที่ 24 สมันตมุขปริวรรต ว่าด้วยการสำแดงร่างของพระอวโลกิเตศวร
ในธรรมบรรยาย ศรีสัทธรรมปุณฑรีกสูตร
มีเพียงเท่านี้
บทที่25 พระศุภวยูหราชโพธิสัตว์
บทที่ 25
ศุภวยูหราชปูรวโยคปริวรรต
ว่าด้วยปุพพโยคกรรมของพระศุภวยูหราชโพธิสัตว์
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับคณะของพระโพธิสัตว์ทั้งปวงว่า ดูก่อนกุลบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว ในอดีตอันยาวนานจนนับมิได้ ได้มีมาแล้วหลายกัลป์จนนับไม่ได้ ในกาลสมัยนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ได้อุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม ใน ปริยทรรศนกัลป์ ณ ไวโรจนรัศมิประติมัณฑิตโลกธาตุ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ในศาสนาของพระตถาคตทรงพระนามว่าพระชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะนั้น ได้มีพระราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าศุภวยูหะ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย พระเจ้าศุภวยูหะนั้น ได้มีพระมเหสีองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า วิมลทัตตา ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย พระเจ้าศุภวยูหะนั้น มีพระโอรสสองพระองค์ องค์หนึ่งชื่อว่าวิมลครรภ องค์ที่สองชื่อ วิมลเมตร พระราชบุตรทั้งสองพระองค์นั้นมีฤทธิ์มาก มีปัญญา มีบุญ มีความรู้ เป็นผู้ประกอบด้วยจริยาวัตรของพระโพธิสัตว์ เช่น ประกอบในทานบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยบารมี ฌานบารมี ปัญญาบารมี อุปายโกศลบารมี จนถึงเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาบารมี ในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เป็นผู้เข้าถึงสมาธิทั้งปวง คือวิมลสมาธิ นักษัตรราชาทิตยสมาธิ วิมลนิรภาสสมาธิ วิมลาภาสสมาธิ อลังการศุภสมาธิ และมหาเตโชครรภสมาธิ ในกาลสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ได้แสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์เหล่านั้น และเพื่ออนุเคราะห์แก่พระเจ้าศุภวยูหะนั้นด้วย ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น ราชบุตร วิมลครรภ กับราชบุตร วิมลเนตร ได้เสด็จเข้าไปหาพระราชมารดาของตน ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้ประนมมืออัญชลี กราบทูลพระมารดาว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ข้าพระองค์ทั้งสองจักไปเข้าเฝ้า นมัสการใกล้ๆ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ณ ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระองค์นั้น ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุใด? ข้าแต่พระแม่เจ้า เพราะว่า พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระองค์นี้ จักประกาศธรรมบรรยาย ชื่อสัทธรรมปุณฑรีกสูตรโดยพิสดารต่อหน้าชาวโลก รวมทั้งเทวโลก ข้าพระองค์ทั้งสองจักไปเพื่อฟังธรรมนั้น ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เมื่อพระราชบุตรทั้งสองกล่าวอย่างนั้น พระอัครมเหสีวิมลทัตตา ได้ตรัสกับราชบุตรวิมลครรภและวิมลเนตรว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งสอง ได้ยินว่า พระเจ้าศุภวยูหะ ผู้เป็นบิดาของเจ้าทั้งสองนั้น เลื่อมใสในพราหมณ์ ฉะนั้น เจ้าทั้งสองคงไม่ได้รับอนุญาตให้ไปเฝ้าพระตถาคตนั้น ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น พระราชบุตรทั้งสองคือวิมลครรภและวิมลเนตร ได้ประนมมือประคองอัญชลี กราบทูลพระมารดาผู้ให้กำเนิดว่า ข้าพระองค์ทั้งสองประสูติแล้วในตระกูลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ข้าพระองค์ทั้งสอง ก็เป็นราชบุตรที่มีคุณธรรม ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น พระอัครมเหสีวิมลทัตตา ได้ตรัสกับพระราชบุตรทั้งสองนั้นว่า ดีละ ดีละ กุลบุตรทั้งสอง เจ้าทั้งสอง จงแสดงปฏิหาริย์บางอย่าง เพื่ออนุเคราะห์แก่พระเจ้าศุภวยูหะ ผู้เป็นพระบิดาของเจ้า พระองค์คงมีความเชื่อมั่นในเจ้าทั้งสองบ้าง เมื่อพระองค์เชื่อมั่นแล้ว จะพึงอนุญาตให้พวกเรา ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระองค์นั้น
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ในขณะนั้น พระราชบุตรทั้งสองคือ วิมลครรภและวิมลเนตร ได้เหาะขึ้นไปสู่อากาศสูงประมาณ 8 ชั่วต้นตาล แล้วแสดงยมกปาฏิหาริย์ตามพุทธอนุญาต เพื่อสงเคราะห์แก่พระเจ้าศุภวยูหะ ผู้เป็นพระราชบิดา พระราชบุตรทั้งสองนั้น เมื่อขึ้นไปแล้วได้เตรียมที่ประทับในอากาศนั้น ได้เดินจงกรมในอากาศ ทำให้ฝุ่นตลบขึ้นไปในอากาศแล้ว โปรยสายฝนออกจากส่วนภายใต้ของร่างกาย ในอากาศนั่นเอง ทำให้กลุ่มเพลิงโชติช่วงขึ้นจากส่วนเบื้องล่างของร่างกาย พระราชบุตรทั้งสองนั้น เป็นผู้มีร่างกายสูงใหญ่ แล้วกลายเป็นร่างเล็ก เป็นผู้มีร่างกายเล็ก แล้วกลายเป็นร่างสูงใหญ่ ในอากาศนั่นเอง อันตรธานไปในอากาศ แล้วผุดขึ้นบนพื้นดิน ครั้นผุดขึ้นบนพื้นดินแล้ว ก็ไปผุดขึ้นในอากาศอีก ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย พระราชบุตรทั้งสองนั้น ได้ชักนำพระเจ้าศุภวยูหะ พระราชบิดาของตน ด้วยฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหล่านี้
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ในขณะนั้น เมื่อพระเจ้าศุภวยูหะ ทรงเห็นฤทธิ์ปาฏิหาริย์นั้นของราชบุตรทั้งสองแล้ว ทรงยินดี ปลาบปลื้มใจสูงสุด ปราโมทย์ เกิดปีติโสมนัส ประนมมือประคองอัญชลี ตรัสกับราชบุตรทั้งสองนั้นว่า ดูก่อนราชบุตรทั้งสอง ใครเป็นครูของเจ้าทั้งสอง หรือเจ้าทั้งสอง เป็นศิษย์ของใคร? ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น พระราชบุตรทั้งสองนั้น ได้กราบทูลพระเจ้าศุภวยูหะนั้นว่า ข้าแต่มหาราช พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะพระองค์นั้น ผู้เข้าไปสู่อาสนะแห่งธรรม ย่อมประทับอยู่ ย่อมดำรงอยู่ และจะดำรงอยู่ต่อไป ที่โคนรัตนโพธิพฤกษ์ พระองค์จักประกาศธรรมบรรยาย สัทธรรมปุณฑรีกสูตร โดยพิสดาร ต่อหน้าชาวโลกและเทวโลก พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นคือครูของข้าพระองค์ทั้งสอง ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์ทั้งสอง เป็นศิษย์ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าศุภวยูหะนั้น ได้ตรัสกับราชบุตรทั้งสองนั้นว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งสอง เราทั้งหลายจักเฝ้าพระศาสดาพระองค์นั้นของเจ้าทั้งสองด้วย เราทั้งหลายจักไปสู่ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น ราชบุตรทั้งสองพระองค์นั้น ได้ลงจากอากาศ เข้าไปหาพระชนนีผู้เป็นพระมารดาของตน ครั้นเข้าไปหาแล้ว ประนมมือประคองอัญชลี กราบทูลพระชนนี ผู้เป็นมารดาของตนว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ข้าพระองค์ทั้งสอง ได้แนะนำพระบิดาไห้ตั้งอยู่ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ข้าพระองค์ทั้งสอง ชื่อว่าได้กระทำกิจที่ควรแนะนำแก่พระบิดาแล้ว พระแม่เจ้าจึงควรไปพบพระองค์ในบัดนี้ ข้าพระองค์ทั้งสองจักไปสู่ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ขณะนั้น พระราชบุตรวิมลครรภและวิมลเนตร ได้กล่าวกับพระชนนี ผู้เป็นพระมารดาของบพระองค์ด้วยสองคาถาว่า
1 ข้าแต่พระมารดา ขอพระองค์จงอนุญาตการบรรพาเป็นอนาคาริก แก่ข้าพระองค์ทั้งสอง ข้าพระองค์ทั้งสอง จักบรรพชาอุปสมบท เพราะพระตถาคตนั้นเป็นผู้ที่พบได้ยากยิ่ง
2 พระชินเจ้านั้น เป็นผู้ทีพบได้ยากยิ่งกว่าการพบต้นมะเดื่อที่มีดอก ข้าพระองค์ทั้งสองจักสละแล้วไปบวช เพราะการถึงพร้อมด้วยโอกาสอย่างนี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง
พระมเหสีวิมลทัตตา ตรัสว่า
3 ดูก่อนราชบุตรทั้งสอง เราอนุญาต ดีละ ท่านทั้งสองจงไปในวันนี้ แม้เราเองก็จักบวช เพราะพระตถาคตนั้น เป็นผู้ที่พบได้ยากยิ่ง
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น พระราชโอรสทั้งสอง เมื่อได้กล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว ได้กราบทูลพระมารดาพระบิดาว่า ข้าแต่พระมารดาพระบิดา ดีละ ท่านทั้งหลาย จงไปเราทุกคนควรไปสู่ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะนั้นด้วยการ เราทั้งหลายจักเข้าไปพบ นมัสการเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เพื่อฟังธรรม ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร? ข้าแต่พระมารดาพระบิดา เพราะการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้านั้น เป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง เช่นเดียวกับการแสวงหาดอกมะเดื่อ และการเข้าไปสู่คอเต่าอันเป็นช่องแคบในกลียุคของมหาสมุทร ข้าแต่พระมารดา พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ข้าแต่พระมารดาพระบิดา เพราะฉะนั้น เราทั้งหลาย เป็นผู้มีบุญอย่างยิ่ง ที่มาเกิดในศาสนาเช่นนี้ ข้าแต่พระมารดาพระบิดา ดีละ ขอพระองค์ทั้งสอง จงอนุญาตการอุปสมบทนั้นข้าพระองค์ทั้งสองจักไป ข้าพระองค์ทั้งสอง จักอุปสมบท ในที่ประทับของพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระองค์นั้นข้าแต่พระมารดาพระบิดา เพราะว่า การได้พบพระตถาคตทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ได้โดยยากยิ่ง กาลที่เป็นเช่นในวันนี้ เป็นสิ่งที่ได้โดยยากยิ่ง พระธรรมราชา ที่เป็นเช่นนี้ก็ก็หาได้ยากยิ่ง การถึงพร้อมด้วยโอกาสเช่นนี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากที่สุด
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย สมัยนั้น นางสนมจำนวน 84,000 คน ภายในวังของพระเจ้าศุภวยูหะ ได้เป็นฐาน (ภาชนะ) รองรับธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนั้น ราชบุตรวิมลเนตร ได้เป็นผู้ประพฤติในธรรมบรรยายนี้ ส่วนราชบุตรวิมลครรภ ได้เป็นผู้ประพฤติในสรรวสัตวปาปชหนสมาธิ ตลอดหลายร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ ด้วยคิดว่า สัตว์ทั้งปวงจะพึงละบาปทั้งปวงได้อย่างไร พระมเหสีวิลทัตตา พระมารดาของพระราชกุมารทั้งสองนั้น ประสงค์จะสนทนากับพระพุทธเจ้าทั้งปวง ถึงฐานะการปฏิบัติธรรมจากพระพุทธเจ้าทั้งปวง ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย พระราชบุตรทั้งสอง ได้นำพระเจ้าศุภวยูหะ พระสหาย พระญาติ และชนบริวารของพระองค์ทั้งปวงเข้าสู่ศาสนาของพระตถาคต ก็พระมเหสีวิมลทัตตานั้น พร้อมกับชนผู้เป็นบริวารของพระองค์ทั้งปวง และพระโอรสทั้งสองนั้น ซึ่งเป็นราชบุตรของพระเจ้าศุภวยูหะ ร่วมกับสัตว์ทั้งหลาย จำนวน 42,000 คน พร้อมกับนางสนมในวัง อำมาตย์ รวมกันทั้งหมด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะนั้น ครั้นเข้าไปแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า กระทำประทักษินพระผู้มีพระภาค 3 ครั้ง แล้วยืนอยู่ในที่สมควรข้างหนึ่ง
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ทรงทราบว่า พระเจ้าศุภวยูหะ พร้อมบริวารมาเฝ้า ทรงให้พบ ให้เกิดศรัทธา ให้เกิดความยินดี ปราโมทย์ด้วยธรรมกถา ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทำให้พระเจ้าศุภวยูหะ เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดี เกิดศรัทธา อุตสาหะ ปราโมทย์ด้วยธรรมกถานั้น ในขณะนั้น พระเจ้าศุภวยูหะ ผู้ยินดีแล้วเกิดปีติโสมนัส ทรงสวมมงกุฎแก่พระอนุชา แต่งตั้งไว้ในราชสมบัติ พร้อมกับราชบุตรและชนผู้เป็นบริวารของพระองค์ พระมเหสีวิมลทัตตา และคณะสตรีที่เป็นบริวารราชบุตรทั้งสองพร้อมกับหมู่สัตว์ จำนวน 42,000 คนทั้งหมดพร้อมใจกันละบ้านเรือน บวชเป็นอนาคาริกด้วยศรัทธาในศาสนาของพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระองค์นั้น พระเจ้าศุภวยูหะ ครั้นอุปสมบทแล้วพร้อมกับบริวาร ได้ประกอบความเพียร นำไปสู่การพิจารณา เจริญภาวนา ท่องบ่นตลอดเวลา 42,000ปี ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าศุภวยูหะ ได้บรรลุสมาธิชื่อ สรรวคุณาลังการวยูหะ โดยกาลล่วงไปถึง 84,000 ปี พร้อมกับการได้สมาธินั้น พระเจ้าศุภวยูหะ ได้เหาะขึ้นไปในอากาศ สูงประมาณ 7 ชั่วต้นตาล
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าศุภวยูหะ ผู้ยืนอยู่ในอากาศ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระองค์นั้นว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระราชบุตรทั้งสองนี้ คือครูของข้าพเจ้า เพราะข้าพระองค์ ถูกราชบุตรทั้งสองนี้ ชักนำออกจากมิจฉาทิฏฐินั้น ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ของเธอทั้งสองให้ดำรงอยู่ในศาสนาของพระตถาคต พร้อมกับญาติ มิตร เตือนให้มาพบพระตถาคต ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ราชบุตรทั้งสองเป็นกัลยาณมิตร ที่ประสูติในราชวังของข้าพระองค์ ในรูปของพระโอรส แต่เป็นผู้เตือนข้อความการระลึกถึงกุศลมูลในอดีตให้(ข้าพระองค์)
เมื่อพระเจ้าศุภวยูหะตรัสอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ได้ตรัสกับพระเจ้าศุภวยูหะนั้นว่า "เป็นเช่นนั้น มหาราช เป็นอย่างที่พระองค์ตรัส ดูก่อนมหาราช ความเป็นกัลยณมิตร ของกุลบุตร กุลธิดา ผู้มีกุศลมูลสะสมไว้แล้ว ผู้บังเกิดในคติภพ และบังเกิดในสถานที่อาศัยทั้งปวง ย่อมเป็นสิ่งที่หาได้ง่าย เป็นสิ่งที่ครูได้ทำให้มั่นคงแล้ว เป็นการสอน อบรม และเตรียมพร้อมแล้วในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดูก่อนมหาราช ท่านจงดู พระราชบุตรทั้งสองพระองค์นี้ พระเจ้าศุภวยูหะตรัสว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ได้เห็นแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ได้เห็นแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูก่อนมหาราช ได้ยินว่า พระราชบุตรทั้งสองนี้ ได้กระทำการบูชาในสำนัก พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีจำนวนเท่ากับเมล็ดทรายใน 65 แม่น้ำคงคา ราชบุตรทั้งสองจะเป็นผู้รักษาธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์ที่ก่อให้เกิดความเพียรในสัมมาทิฏฐิของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเห็นผิด
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าศุภวยูหะ ได้ลงจากท้องฟ้า ประนมมือประคองอัญชลี กราบทูลพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้น เป็นการดียิ่ง ขอพระตถาคตจงชี้แจงว่า พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยความรู้เช่นไร เหตุใดมงกุฎบนพระเศียร จึงส่องประกาย พระผู้มีพระภาค มีพระเนตรปราศจากมลทิน พระโลมาระหว่างคิ้ว (อูรณาโกศ) ย่อมส่องประกาย ราวกับแสงอันเรืองรองของพระจันทร์และสังข์ แถวพระทนต์เรียบสนิท ไม่มีช่องว่าง ส่องประกาย พระผู้มีพระภาคมีพระโอษฐ์ ดุจรูปพระปฏิมา พระสุคตมีพระเนตรที่งดงามยิ่ง
ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าศุภวยูหะ ได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ด้วยคุณทั้งหลายเหล่านี้ และได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ด้วยคุณเหล่าอื่นอีกร้อยพันหมื่นโกฏิ ในขณะนั้นได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง คำสอนของพระตถาคต มีประโยชน์มากมายถึงเพียงนี้ พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงแสดงนั้นมีคุณค่าที่ไม่สามารถคิดคำนวณได้ การศึกษาตามพระตถาคต ย่อมได้รับความรู้ดียิ่ง ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โดยที่สุดในวันนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ส่วนมากจะไม่ตกไปสู่อำนาจของจิต จะไม่ตกไปสู่อำนาจของมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ตกไปสู่อำนาจของความโกรธ และจะไม่ตกไปสู่อำนาจของอกุศลที่เกิดขึ้นในจิต ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ได้มีกุศลธรรมเหล่านี้ จึงไม่ปรารถนาจะก้าวสู่ภูมิของพระผู้มีพระภาค พระราชาพระองค์นั้น ได้ถวายอภิวาทพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า แล้วเข้าไปสู่อวกาศ ได้ยืนอยู่อย่างนั้น
ครั้งนั้น พระเจ้าศุภวยูหะกับพระนางวิมลทัตตาอัครมเหสี ได้โยนมุกดาหาร มูลค่าร้อยพัน ขึ้นไปในอากาศ แต่พระผู้มีพระภาค มุกดาหารที่โยนไปในอากาศ เพื่อคล้องพระเศียรของพระผู้มีพระภาคนั้น ได้กลายเป็นกูฏาคารมุกดาหารตั้งอยู่ มี 4 เสา 4 มุม ถูกแบ่งเป็นส่วนเท่ากัน น่าชมยิ่งนัก บนกูฏคารนั้น มีที่ประทับ ซึ่งตกแต่งด้วยผ้าหลายร้อยพันชิ้น บนที่ประทับนั้น ปรากฏเป็นรูปของพระตถาคต ประทับนั่งขัดสมาธิ พระเจ้าศุภวยูหะเกิดความคิดว่า พุทธญาณนี้มีอานุภาพมาก พระตถาคตประกอบด้วยคุณที่ไม่อาจคำนวณได้ รูปของพระตถาคตไปปรากฏอยู่ท่ามกลางกูฏคาร น่าเลื่อมใส น่าชมยิ่งนัก เป็นบ่อเกิดแห่งสี ที่งดงามอย่างยิ่ง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชลธรครรชิตโฆษสุสวรนักษัตรราชสังกุสุมิตาภิชญะ ตรัสกับบริษัททั้ง 4 ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ย่อมเห็นพระเจ้าศุภวยูหะ ผู้ยืนอยู่ในอากาศ กำลังบันลือสุรสีหนาทแล้วหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าศุภวยูหะนี้ ครั้นได้อุปสมบทในศาสนาของเราแล้ว จักได้เป็น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในโลกทรงพระนามว่า ศาเลนทรราช เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม ในวิสตีรณวดีโลกธาตุ กัลป์นั้นมีชื่อว่า อภยุทคตราช ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศาเลนทรราช นั้น มีหมู่พระโพธิสัตว์ ที่ประมาณมิได้ มีหมู่พระสาวกที่ประมาณมิได้ วิสตีรณวติโลกธาตุนั้น จะเสมอเรียบดุจฝ่ามือ และประดับด้วยไพฑูรย์ พระองค์ (ศุภวยูหะ) จักเป็น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ใครๆ คิดไม่ถึงด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ความสงสัย ความเข้าใจผิด ความไม่แน่ใจ อาจจะทีแก่ท่านทั้งหลายว่า กาลสมัยนั้น พระเจ้าศุภวยูหะ เป็นคนอื่นหรือ? ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลายท่านทั้งหลาย ไม่ควรคิดเห็นอย่างนั้น ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร? เพราะพระเจ้าศุภวยูหะ ในกาลสมัยนั้น คือ พระปัทมศรีโพธิสัตว์มหาสัตว์ นี้เอง ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ความสงสัย ความเข้าใจผิด หรือความไม่แน่ใจ พึงมีอยู่แก่ท่านทั้งหลายว่า พระอัครมเหสีวิมลทัตตา ในกาลสมัยนั้น เป็นบุคคลอื่นหรือ? ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่ควรคิดเห็นอย่างนั้น ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร? เพราะพระอัครมเหสีวิมลทัตตา ในกาลสมัยนั้น ก็คือ พระไวโรจนรัศมีประมัณฑิตธวัชราชโพธิสัตว์มหาสัตว์ นี้เอง เพื่ออนุเคราะห์ต่อพระเจ้าศุภวยูหะ และต่อสัตว์เหล่านั้น พระโพธิสัตว์ไวโรจนรัศมีประมัณฑิตธวัชราช จึงเข้าถึงความเป็นพระมเหสีของพระเจ้าศุภวยูหะ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ท่านอาจมีความสงสัย ความเข้าใจผิด และความไม่แน่ใจว่า ในกาลสมัยนั้น พระราชบุตรทั้งสอง เป็นบุคคลอื่นหรือ? ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่ควรคิดเห็นอย่างนั้น ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุใด? เพราะ พระราชบุตรทั้งสองนั้น คือ พระไภษัชยราช กับพระไภษัชยสมุทคต โดยกาลสมัยนั้น ได้เป็นโอรสของพระเจ้าศุภวยูหะ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไภษัชยราบ กับไภษัชยสมุทคต เป็นผู้ประกอบด้วยคุณ ที่ไม่สามารถคิดคำนวณได้ ได้สร้างกุศลมูลไว้ในหลายร้อยพันหมื่นโกฏิพุทธกาล ชนเหล่าใด จักท่อจำพระนามของสัตบุรุษทั้งอสงพระองค์นี้ ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ที่ชาวโลกและเทวโลก พึงกระทำความนอบน้อม
ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงปูรวโยคปริวรรตนี้อยู่นั้น สัตว์จำนวน 84,000 คน ได้มีธรรมจักษุ ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน และบริสุทธิ์ในธรรมทั้งหลาย
บทที่ 25 ศุภวยูหราชปูรวโยคปริวรรต ว่าด้วยปุพพโยคกรรมของพระศุภวยูหราชโพธิสัตว์
ในธรรมบรรยาย ศรีสัทธรรมปุณฑรีกสูตร
มีเพียงเท่านี้
บทที่26 พระสันตภัทรโพธิสัตว์
บทที่ 26
สมันตภัทโรตสาหนปริวรรต
ว่าด้วยความเพียรพยายามของพระสันตภัทรโพธิสัตว์
ได้ยินว่า ครั้งนั้น ในทิศตะวันออก พระสมันตภัทรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ซึ่งมีพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ติดตามแวดล้อมเหลือคณานับ ด้วยพุทธเกษตรที่สั่นไหว ด้วยดอกบัวที่โปรยลงมาและด้วยร้อยพันโกฏิดนตรีทีกำลังบรรเลง พระสมันตภัทรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ที่ติดตามแวดล้อมด้วยพระโพธิสัตว์ผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ด้วยการแสดงของพระโพธิสัตว์อันยิ่งใหญ่ด้วยฤทธิ์ของพระโพธิสัตว์อันยิ่งใหญ่ ด้วยความเป็นใหญ่ของพระโพธิสัตว์อันยิ่งใหญ่ ด้วยสัญญาของพระโพธิสัตว์อันยิ่งใหญ่ ด้วยเดชของพระโพธิสัตว์อันยิ่งใหญ่ ที่กำลังส่องแสงอยู่ด้วยโพธิสัตวยานอันยิ่งใหญ่ ด้วยปาฏิหาริย์ของพระโพธิสัตว์อันยิ่งใหญ่ ด้วยเทพ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร มโหรคะ มนุษย์และอมนุษย์เป็นอันมาก ได้มาถึงโลกธาตุนี้ ด้วยฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ที่คิดคำนวณไม่ได้อย่างนี้ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่ภูเขาคิชฌกูฏ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้น้อมเศียรเกล้าถวายอภิวาทพระบาทของพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิน 7 ครั้ง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์มาที่นี่ จากพุทธเกษตรของพระผู้มีพระภาคตถาคต รัตนเดโชภยุทคตราช ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในสหาโลกธาตุนี้ จะมีการแสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ข้าพระองค์มาสู่ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคตถาคตศากยมุนี เพื่อฟังธรรมบรรยายนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระโพธิสัตว์หลายร้อยพันองค์เหล่านี้และเหล่านั้น ได้มาเพื่อฟังธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ เป็นการดียิ่ง จึงขอให้ พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จงแสดงธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ โดยพิสดาร แก่พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสกับพระสมันตภัทรโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนกุลบุตร พระโพธิสัตว์มหาสัตว์เหล่านี้ เป็นผู้ที่มีความรู้สูงแต่ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ เป็นธรรมที่ไม่มีการแตกแยก (เจือปน) พระโพธิสัตว์เหล่านั้น จึงทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เป็นอย่างนั้น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย ได้ประชุมกันแล้วในบริษัทนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถึงประโยชน์ของการตั้งมั่น ในธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ของบริษัทเหล่านั้น กับ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า ดูก่อนกุลบุตร ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้จักตกอยู่ในมือของมาตุคาม ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ? ธรรม4ประการคืออะไรบ้าง? เธอต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เธอต้องเป็นผู้สะสมกุศลมูลไว้ เธอเป็นผู้ดำรงอยู่ห่างไกลจากกองนรก เธอเป็นผู้ยังจิตให้ตั้งมั่นในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพื่อป้องกันสัตว์ทั้งปวง ดูก่อนกุลบุตร ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้
ครั้งนั้น พระสมันตภัทรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในกาลสมัยสุดท้าย ในกาลปัจจุบันห้าสิบสุดท้าย ข้าพระองค์จักทำการคุ้มครองภิกษุทั้งหลาย ผู้รักษาพระสูตรนี้ จักทำการปัดเป่าความทุกข์ จักขจัดโทษ จักขจัดความเลวร้ายของยาพิษ ใครก็ตามที่เพ่งหาช่อง ย่อมไม่ได้แทรกแซงผู้สอนธรรมเหล่านั้น มารผู้มีใจบาปผู้แสวงหาโอกาส ก็ย่อมไม่ได้โอกาส บุตรของมาร เทวบุตรผู้มีกายเป็นมาร มารกัลยา บริวารของมาร แม้ชนทั้งหลาย ผู้ดำรงอยู่ในหมู่มาร ก็จักไม่ได้โอกาสแทรกแซง เทวบุตร ยักษ์ เปรต นางรากษส นางเทพธิดา ผู้เพ่งแสวงหาโอกาส ย่อมไม่ได้โอกาสแทรกแซงผู้สอนธรรมนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์จักทำการคุ้มครอง ผู้สอนธรรมนั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์อย่างสม่ำเสมอ เมื่อใด ผู้สอนธรรมนั้นก้าวขึ้น สู่ที่เดินจงกรม เพื่อประกอบความเพียรตามที่คิด ในธรรมบรรยายนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อนั้น ข้าพระองค์จักขึ้นสู่ช้างทรงเผือก มี 6 งา ในที่ใกล้ชิดของผู้สอนธรรมบรรยายนั้น ที่แวดล้อมด้วยพระโพธิสัตว์ เข้าไปสู่ที่ใกล้กุฏิอันเป็นที่จงกรมของผู้สอนธรรมนั้น เพื่อรักษาธรรมบรรยายนั้น ในกาลใด โดยที่สุด บทและพยัญชนะจากธรรมบรรยายนั้นและนี้ ของผู้สอนธรรมนั้น ผู้ประกอบด้วยความเพียร ตามที่คิดในธรรมบรรยายนี้จักตกหล่นไป ในกาลนั้น ข้าพระองค์จักขึ้นช้างทรงเผือก 6 งานั้น ไปปรากฏพักตร์ต่อผู้สอนธรรมนั้น ยังธรรมบรรยายนี้ให้ดำเนินไปโดยไม่บกพร่อง ก็เมื่อผู้สอนธรรมนั้น เห็นร่างกายของข้าพระองค์แล้ว และได้ฟังธรรมบรรยายนี้ โดยสมบูรณ์จากสำนักของข้าพระองค์ จักยินดีมีความพอใจสูงสุด ปราโมทย์ เกิดปีติโสมนัส จักปรารภความเพียรในธรรมบรรยายนี้ด้วยปริมาณที่มากขึ้น เขาจักได้สมาธิ พร้อมกับการได้เห็นข้าพระองค์ และจักได้มนตรีชื่อว่า ธารัณยาวรรตา จักได้มนตร์ชื่อว่า โกฏิศตสหัสราวรรตา และจักได้มนตร์ชื่อว่า สรรวรุตเกาศัลยาวรรตา
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในกาลสมัยสุดท้าย ในกาลที่เป็นครึ่งหลัง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นผู้รักษาพระสูตร คัดลอกพระสูตร แสวงหาระสูตร และท่องจำพระสูตรในกาลสมัยสุดท้ายในครึ่งหลังของกาลสมัย ชนเหล่าใด ได้ก้าวขึ้นสู่การเดินจงกรม ประกอบด้วยความเพียรในธรรมบรรยายนี้ ตลอดสามสัปดาห์หรือยี่สิบเอ็ดวัน ข้าพระองค์จักปรากฏตนอันเป็นที่พบเห็นด้วยความรัก ของสัตว์ทั้งปวง ข้าแต่พระองค์ ขึ้นสู่ช้างทรง สีเผือก 6งานั้นแลแวดล้อมด้วยคณะของพระโพธิสัตว์ จักมาสู่ที่จงกรมของผู้สอนธรรมเหล่านั้น ในวันที่ยี่สิบเอ็ด ครั้นมาแล้ว จักยังผู้สอนธรรมเหล่านั้น ให้มีความสุข ความปราโมทย์ ความเข้มแข็งและความยินดีข้าพระองค์ จักให้มนตร์แก่พวกเขา ในกาลใด ผู้สอนธรรมเหล่านั้น เกิดความท้อถอยด้วยเหตุใดก็ตาม มนุษย์หรืออมนุษย์ก็ตาม ย่อมไม่ได้โอกาสแทรกแซงผู้สอนธรรมเหล่านั้น แม้สตรีทั้งหลาย ก็สามารถดึงเข้าออกมาได้ ข้าพระองค์จักทำการคุ้มครองปัดเป่าความทุกข์ ดูแลอันตราย จักขจัดความร้ายแรงของพิษ ของผู้สอนธรรมนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลายจักให้บทมนตร์เหล่านี้แก่ผู้สอนธรรมเหล่านั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บทมนตร์เหล่านั้นคือ
อทณฺเฑ ทณฺฑปติ ทณฺฑาวรฺตนิ ทณฺฑกุศเล ทณฺฑสุธาริ สุธารปติ พุทฺธปศฺยเน สรฺวธารณิ อาวรฺตนิ สํวรฺนติ สํฆปรีกฺษิเต สํฆนิรฺฆาตนิ ธรฺมปรีกฺษิเต สฺวสตฺตฺวรุตเกา ศฺลยานุคเต สึหวิกฺรีฑิเต อนุวรฺเต วรฺนตนิ วรฺตาลิ สฺวาหา
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อบทมนตร์เหล่านี้ ที่ชัดเจนเข้าสู่โสตประสาทของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์องค์ใด เขาจะพึงทราบว่า นี้คือความตั้งใจมั่นของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์มหาสัตว์ พระองค์นั้น
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ ที่เจริญอยู่ในชมพูทวีปนี้ จักตกอยู่ในกำมือของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ผู้สอนธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า ธรรมบรรยายนี้ ตกอยู่ในกำมือของพวกเราทั้งหลาย เพราะอานุภาพของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์มหาสัตว์ และเพราะอำนาจของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จักร่วมปฏิบัติกับพระสมันตภัทรโพธิสัตว์มหาสัตว์ สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้มีกุศลมูลสะสมแล้วต่อพระพุทธเจ้าจำนวนมาก ชนเหล่าใด ย่อมคัดลอกรักษาพระสูตรนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ชนเหล่านั้น ชื่อว่าได้กระทำกิจ อันเป็นทีรักแก่ข้าพระองค์แล้ว ชนเหล่าใด คัดลอกพระสูตรนี้ และเข้าใจอรรถของพระสูตรนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ชนเหล่านั้น ครั้นคัดลอกพระสูตรนั้นแล้ว จุติจากโลกนี้ ไปบังเกิดในท่ามกลางสภาของเทวดาชั้นตรัยตรึงค์ พร้อมกับที่ชนเหล่านั้นเกิดขึ้น จักมีนางอัปสรจำนวน 84,000 นางเข้ามาหา เทพบุตรเหล่านั้น มีเทริด ขนาดเท่ากลอง ได้ดำรงอยู่ในท่ามกลางนางอัปสรเหล่านั้น ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เพราะคัดลอกธรรมบรรยายนี้ จึงมีกองบุญถึงเพียงนี้ จะป่วยกล่าวไปใย ถึงผู้ที่ศึกษา ท่องบ่น คิดใคร่ครวญ จดจำไว้ในใจอีกเล่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เพราะฉะนั้นธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ พึงคัดลอกไว้ด้วยความเคารพ ในขณะนี้ และพึงคัดลอกด้วยความระมัดระวัง ผู้ใดคัดลอกด้วยมนสิการ อันไม่หวั่นไหว พระหัตถ์จำนวนพันของพระพุทธเจ้า จักน้อมเข้าไปหาผู้นั้น ในกาลเป็นที่มรณะ จักปรากฏพระพักตร์จำนวนพันของพระพุทธเจ้าแก่เขา เขาย่อมไม่ตกไปสู่ทุคติ เมื่อจุติจากโลกนี้ เราจะไปบังเกิดในท่ามกลางเทพชั้นดุสิต ที่พระไมเตรยโพธิสัตว์มหาสัตว์ประทับอยู่ เขาเป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะที่ประเสริฐ32ประการ แวดล้อมด้วยหมู่พระโพธิสัตว์ ติดตามด้วยนางอัปสรร้อยพันหมื่นโกฏิ เมื่อแสดงธรรม ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เพราะฉะนั้น กุลบุตรหรือกุลธิดา ผู้ฉลาด ควรคัดลอกธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ไว้ ด้วยความเคารพ พึงแสดงด้วยความเคารพ พึงท่องบ่นด้วยความเคารพ พึงจำใส่ใจด้วยความเคารพ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย คุณทั้งหลายอันประมาณมิได้จักมี เพราะการคัดลอก การแสดง การท่องบ่น การเจริญภาวนา การกระทำไว้ในใจ ซึ่งพระธรรมบรรยายนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะฉะนั้น กุลบุตรหรือกุลธิดา ผู้ฉลาดนั้น จึงควรรักษาธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ คุณานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ จักมีแก่กุลบุตรเหล่านั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะฉะนั้น แม้ข้าพระองค์เอง ก็จักทำให้ธรรมบรรยายนี้ ตั้งมั่น ในบัดนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ด้วยการทำให้ตั้งมั่นของข้าพระองค์ ธรรมบรรยายนี้ จักเจริญในชมพูทวีปนี้ต่อไป
ในขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ได้ประทานสาธุการ แก่พระสมันตภัทรโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า สาธุ สาธุ สมันตภัทร ท่านเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ของชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และเพื่อความสุขของหมู่ชนส่วนมาก ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ที่คิดคำนวณมิได้ถึงเพียงนี้ มีอัธยาศัยที่ยึดครองด้วยมหากรุณา มีการเกิดขึ้นแห่งจิต ที่ไม่มีสิ่งใดยึดครองได้ ท่านเอง จะกระทำความมั่นคงให้แก่ผู้สอนธรรมเหล่านั้น ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ชนเหล่าใดรักษานามของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์มหาสัตว์ พึงทราบว่า ชนเหล่านั้น ได้พบพระตถาคตศากยมุนีแล้ว ได้ฟังธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตรนี้ จากสำนักของพระผู้มีพระภาคศากยมุนีแล้ว ได้บูชาพระตถาคตศากยมุนีแล้ว ได้สาธุการต่อพระตถาคตศากยมุนี ผู้แสงดธรรมแล้ว เขาได้อนุโมทนา กาบธรรมบรรยายนี้แล้ว พระตถาคตศากยมุนีได้วางฝ่าพระหัตถ์ลงบนศีรษะของพวกเขาแล้ว เขาได้ห่มพระผู้มีพระภาคศายกมุนีด้วยผ้าจีวร ดูก่อนสมัตภัทร พึงทราบว่ากุลบุตรหรือกุลธิดาเหล่านั้น ได้ยืดถือคำสอนของพระตถาคตแล้ว พวกเขาจะไม่มีความยินดีในโลกายัต จะไม่เป็นผู้ยินดีหลงใหลในวรรณคตี(บทกลอน) นักฟ้อน นักกายกรรม นักมายากล ไม่เป็นนักค้าสุรา ขายเนื้อแกะ ขายสัตว์ปีก ขายสุกร นักเลงสตรี สัตว์เหล่านี้ จะไม่เป็นที่ยินดีของกุลบุตรกุลธิดาเหล่านั้น เมื่อได้ฟัง ได้คิด ได้ท่องจำ ได้อ่านพระสูตรเช่นนี้แล้ว พวกเขาจะไม่มีความยินดีต่อสิ่งอื่นอีกเลย พึงทราบว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรม เป็นผู้มีโยนิโสมนสิการประจำจิต สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งหลังแห่งบุญของตน เป็นที่พบเห็นด้วย ความรักของสัตว์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดรักษาพระสูตรได้อย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้น ไม่มีราคะ เบียนเบียน ไม่มีโทละ โมหะ ความอิจฉา ความริษยา การคตโกง ความทะนงตัว ความเย่อหยิ่ง ความหลอกลวง มาเบียดเบียนได้ ดูก่อนสมันตภัทร ผู้สอนธรรมเหล่านั้น เป็นผู้พอใจในลาภของตน ดูก่อนสมันตภัทร ในกาลสมัยสุดท้าย ในครึ่งหลังของยุคที่เหลืออยู่ ผู้ใดได้พบพระภิกษุผู้รักษาธรรมบรรยายสัทธรรมปุณฑรีกสูตร พึงให้จิตบังเกิดขึ้นว่า กุลบุตรผู้นี้ จักไปถึงลานแห่งการตรัสรู้ กุลบุตรผู้นี้จักชนะกองทัพมาร กุลบุตรผู้นี้จักหมุนธรรมจักรให้เคลื่อนไป กุลบุตรผู้นี้จักลั่นกลองธรรม กุลบุตรผู้นี้จักเป่าสังข์ธรรม กุลบุตรผู้นี้จักโปรยฝนแห่งธรรม กุลบุตรผู้นี้จักขึ้นสู่ธรรมสิงหาสน์ ในกาลสมัยสุดท้าย ในครึ่งหลังแห่งยุคที่เหลืออยู่ ภิกษุเหล่าใด รักษาธรรมบรรยายนี้ ภิกษุเหล่านั้นจักไม่มีความโลภ ไม่โลภในจีวร ไม่โลภในบาตร ผู้สอนธรรมเหล่านั้น เป็นผู้ซื่อตรง ผู้สอนธรรมเหล่านั้น เป็นผู้ได้วิโมกษ์ทั้งสามประการ คุณธรรมที่ปรากฏจักมีแก่ชนเหล่านั้น สัตว์เหล่าใดมอบความเข้าใจผิด (ความหลง) แก่ภิกษุ ผู้รักษาพระสูตรและสอนธรรมสัตว์เหล่านั้นจะเป็นผู้บอดโดยกำเนิด ร่างกายของบุคคลผู้ตำหนิภิกษุ ที่รักษาพระสูตรเห็น ปานนี้ จะมีจุดต่างดำ ในชาตินี้นั่นเอง ชนเหล่าใดทำการเยาะเย้ย พูดจาถากถางภิกษุ ผู้คัดลอกพระสูตรนี้ ชนเหล่านั้น จักเป็นผู้มีฟันหัก ฟันห่าง มีริมฝีปากที่น่าเกลียด มีจมูกแบน มีมือและเท้าพิการ มีตาเหล่ มีกายพุพอง มีร่างกายเต็มไปด้วยฝี ฝีหัวใหญ่ แผลพุพอง โรคเรื้อนและหิด ชนเหล่าใด กล่าววาจาที่เป็นจริง หรือไม่จริง อันไม่เป็นที่รัก แก่ผู้คัดลอกพระสูตร ผู้ท่องพระสูตรผู้รักษาพระสูตร และผู้แสดงพระสูตรเช่นนั้น พึงทราบว่า บาปกรรมของผู้นั้น เป็นสิ่งที่หนักยิ่ง ดูก่อนสมันตภัทร เพราะเหตุนั้น ประชาชนทั้งหลาย แม้ในที่ใกล้ พึงยืนขึ้น ทำความเคารพแก่ภิกษุ ผู้รักษาธรรมบรรยายนี้ ชนทั้งหลาย พึงทำความเคารพในสำนักของพระตถาคต ฉันใด พึงทำความเคารพต่อภิกษุ ผู้รักษาพระสูตรนี้ ฉันนั้น
เพื่อพระตถาคตแสดงสมันตภัทรโรตสาหนปริวรรตนี้อยู่ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์จำนวนร้อยพันโกฏิ มีจำนวนเท่าเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคาได้เปลี่ยนมารับมนตร์
บทที่ 26 สมันตภัทโรตสาหนปริวรรต ว่าด้วยความเพียรพยายามของพระสันตภัทรโพธิสัตว์
ในธรรมบรรยาย ศรีสัทธรรมปุณฑรีกสูตร
มีเพียงเท่านี้
บทที่27 ความชื่นชมยินดี
บทที่ 27
อนุปรีนทนาปริวรรต
ว่าด้วยความชื่นชมยินดี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ศากยมุนี ทรงลุกจากธรรมาสน์นั้น ทรงรวบพระโพธิสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดให้รวมกัน ด้วยฝ่าพระหัตถ์ข้างขวา ที่ถึงพร้อมด้วยฤทธิ์เพื่อจัดระเบียบให้อาศัยอยู่ที่พระหัตถ์ข้างขวา แล้วตรัสในขณะนั้นว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เราจะให้ จะมอบให้ จะวางไว้ให้ จะยกให้ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนี้ที่เราสะสมไว้ตลอดร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ จนประมาณมิได้ ไว้ในกำมือของพวกท่าน ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย พระสัทธรรมจะสมบูรณ์ และแพร่ขยายออกไปกว้างไกล โดยประการใด ท่านพึงกระทำโดยประการนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงโอบพระโพธิสัตว์ทั้งปวงไว้ ด้วยฝ่าพระหัตถ์ข้างขวา แล้วตรัสข้อความนี้ เป็นครั้งที่สองและสามว่า ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เราจะให้ จะมอบให้ จะวางไว้ให้ จะยกให้ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนี้ ที่เราสะสมไว้ตลอดร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์ จนประมาณมิได้ ไว้ในกำมือของพวกท่าน ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงรับไว้ พึงรักษาไว้ พึงอ่าน พึงท่องจำ พึงแสดง พึงประกาศ และพึงให้สัตว์ทั้งปวงได้รับฟัง ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่พยาบาท ไม่มีจิตใจที่คับแคบ เป็นผู้เชื่อมั่น เป็นผู้มอบให้ซึ่งพุทธวิทยา ตถาคตวิทยาและสยัมภูวิทยา ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย เราเป็นเจ้าแห่งมหาทานดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย แม้ท่านทั้งหลาย พึงศึกษาตามเรานั่นเอง กุลบุตรและกุลธิดาทั้งหลายผู้เข้าถึงญาณทัศนะของพระตถาคต อันเป็นมหากุศโลบาย ด้วยความไม่ริษยา พึงได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ส่วนผู้ที่ไม่มีศรัทธา ท่านทั้งหลาย พึงให้เขาน้อมรับในธรรมบรรยายนี้ ดูก่อนกุลบุตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย พึงตอบแทนคุณพระตถาคตด้วยอาการอย่านี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ตรัสแล้วอย่างนั้น พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ได้เป็นผู้เบิกบานด้วยความปรีติยินดีเป็นอย่างมาก พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ได้เกิดความเคารพอย่างสูง น้อมกาย โน้มกาย ย่อกายถวายเคารพต่อพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ก็มศีรษะประคองอัญชลี กราบทูลพระผู้มีพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ด้วยเสียงดังพร้อมกันว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตมีพระดำรัสสั่งประการใด ข้าพระองค์จักปฏิบัติโดยประการนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจักปฏิบัติตามพระดำรัสสั่งของพระตถาคตทั้งปวงให้สมบูรณ์ขอพระผู้มีพระภาคจงมีความขวนขวายน้อย จงประทับอยู่ตามความสุขเถิด แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ก็ได้ตรัสอย่างนี้ด้วยพระสุรเสียงดังอย่างเดียวกัน กับคณะของพระโพธิสัตว์ว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงมีความขวนขวายน้อย ขอจงประทับตามความสุขเถิด แต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตมีพระดำรัสสั่งประการใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักปฏิบัติโดยประการนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักยังพระดำรัสสั่งของพระตถาคตทั้งปวงให้สมบูรณ์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี ได้ส่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งปวง ผู้มาแล้วจากโลกธาตุอื่น และพระผู้มีพระภาคได้ตรัสอวยพร ถึงความเป็นอยู่ด้วยความสุข แก่พระตถาคตเหล่านั้นว่า "ขอพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จงเป็นอยู่ด้วยความสุขเถิด พระผู้มีพระภาคได้ประดิษฐานรัตนสถูปนั้น ของพระผู้มีพระภาคตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูรัตนพระองค์นั้น ไว้ในที่เดิม และได้ถวายพระพรแก่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วย"
เมื่อพระผู้มีพระภาค ผู้มีพระทัยยินดี ตรัสแล้วอย่างนั้นแล้ว พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย อันประมาณมิได้ ที่มาจากโลกธาตุอื่น ที่เข้าไปสู่สิงหาสน์ ณ โคนรัตนพฤกษ์รวมทั้งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประภูตรัตนะ กับคณะของพระโพธิสัตว์ทั้งปวง พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ที่ประมาณมิได้ นับมิได้ อันมี พระวิศิษฏจาริตร เป็นประมุขที่ได้ผุดขึ้นจากรอยแยกของปฐพี รวมทั้งพระมหาสาวก บริษัท 4 ชาวโลกรวมทั้งเทวดา มนุษย์ ยักษ์ คนธรรพ์ ต่างชื่นชมยินดีในพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
บทที่ 27 อนุปรีนทนาปริวรรต ว่าด้วยความชื่นชมยินดี
ในธรรมบรรยาย ศรีสัทธรรมปุณฑรีกสูตร
มีเพียงเท่านี้
เย ธรฺมา เหตุปฺรภวา เหตุ เตษํ ตถาคโต หฺยวทตฺ
เตษํ จ โญ นิโรธ เอวํ วาที มหาศฺรมณะ