- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันจันทร์, 22 พฤษภาคม 2566 15:50
โรงเรียนวัดโพธิ์ทัตราชวิทยาลัย
346 42 ศรีราชา-หนองค้อ 14 สุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา ชลบุรี 20110 โทรศัพท์ 038339290
Google Maps:https://goo.gl/maps/3aaj6CoTLXWeCzFw9?coh=178573&entry=tt
- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันอาทิตย์, 02 เมษายน 2566 00:43
- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์, 10 พฤศจิกายน 2555 07:57
ก่งฮุก 供佛 หรือการถวายพุทธบูชา
เป็นพิธีกรรมหนึ่งในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ด้วยหลักคิดที่ว่า การปรินิพพานหรือนิพพาน มิได้ทำให้ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้าและผู้บรรลุพุทธธรรมทั้งปวง หายสาบสูญไปจากโลกธาตุทั้งปวง เพียงแต่ท่านได้ไปสร้างโลกธาตุส่วนตัวของท่าน ซึ่งเป็นโลกุตรโลกธาตุ ซึ่งแตกต่างไปจากโลกียโลกธาตุที่เราอยู่นี้ ซึ่งเรียกชื่อว่า พุทธเกษตร เช่น สุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภะพุทธเจ้า พุทธเกษตรทองแดงของคุรุปัทมสมภพ พุทธเกษตรไพฑูรย์ของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า เป็นต้น พิธีก่งฮุกจึงจัดเป็นพิธีสำคัญและจำเป็นต้องกระทำเป้นประจำทุกวัน ในฐานะที่เราชาวพุทธเป็นพุทธบุตร การถวายภัตตาหารแด่พุทธบิดา จึงเป็นเรื่องจำเป็น ในความศรัทธา กตัญญู รู้คุณ รำลึกถึง และยึดถือท่านเป็นสรณะ
วัดในมหายานทั้งหมดจะมีการก่งฮุกทุกชาว และเพล ถ้ามีผู้มาประกอบบุญกุศล เป็นเจ้าภาพในการก่งฮุก ก็จะจัดเป็นพิธีใหญ่ โดยพระสงฆ์ทั้งวัดร่วมกันสวดมนต์ก่งฮุก แต่ถ้าเป็นยามปกติไม่มีผู้เป็นเจ้าภาพ ก็จะมีพระสงฆ์1รูปทำหน้าที่สวดมนต์ก่งฮุก (พิธีสั้น) เป็นประจำทุกวัน
หลักสำคัญในพิธีก่งฮุก คือการสวดมนตราธารณี โดยอาศัยอานุภาพแห่งธารณี เปลี่ยนสภาวะแห่งอาหารหยาบให้กลายเป็นอาหารทิพย์ พระพุทธองค์ พระโพธิสัตว์เจ้าท่านดำรงทิพยภาวะท่านจึงไม่รับอาหารหยาบทั้งหมด ท่านจะรับแต่อาหารทิพย์เท่านั้น นี่คือแก่นของพิธีก่งฮุก
อานิสงส์ แห่งการเป็นเจ้าภาพในการก่งฮุก คือการได้ถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า ดังมีจารึกไว้ในพระไตรปิฎกว่า การทำทาน100ชาติ ได้บุญเสมอเพียงทำทานกับผู้มี1ศีล1ครั้งเรื่อยขึ้นมา 100 ชาติกับผู้มี1ศีล เป็นผู้ที่มีศีลมากขึ้น จนถึงพระภิกษุ 227 ศีล ต้องใช้เวลากี่หมื่นชาติ เปรียบกับการได้ถวายก่งฮุกกับพระพุทธเจ้า ซื่งต้องผ่านพระโสดา พระอนาคามี พระสกะคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้า10ชั้น พระพุทธเจ้า ผมเองก็คำนวณไม่ถูกว่าจะได้อานิสงส์ดังการทำทานทั่วๆไปด้วยจำนวนชาติที่มากเท่าไร
บทสวดในพิธีก่งฮุกของพระสงฆ์จีน
เฮียงฮุ้นจั่ง(ธรรมคีตา)
香雲彌o布o 聖o德昭o彰oo 菩o提心o廣莫o難量oo觸o處放o毫光oo為o瑞為o祥oo 仰o啟法o中王o
南無香o雲蓋o菩o薩o摩o訶oo薩. 三稱
เฮียง.ยง.มี.*ปู.* เซง.* เต็ก.เจียว.เจียง.** ผู่.*ที.ซิม.*กวง.มก.* เน่ง.เลียน.** ฉก.*ชี.ฟัง.*เฮา. กวง.**ไว.*ซุย.ไว.*เซียง.**เงียง.คี.ฝับ.*จง.วัง.*
นำมอ.เซียง.*ยง.ไก.*ผู่.*สัก.*มอ.ฮอ.สัก 3จบ
大悲咒
千手千眼無礙大悲心大陀羅尼ไต่.ปุย.จิ่ว(ไช.ชิ้ว.ไชงั๊ง.บ่อ.ไง๊.ไต่.ปุย.ซิม.ทอ.ลอ.ณี.)
南無大悲觀世音菩薩 三遍
南無喝囉怛那哆囉夜耶o南無阿唎耶o婆盧羯帝爍缽囉耶o菩提薩埵婆耶o摩訶薩埵婆耶o摩訶迦盧尼迦耶o唵o薩皤囉罰曳o數怛那怛o南無悉吉利埵伊蒙阿唎耶o婆盧吉帝室佛羅楞馱婆o南無那囉謹墀o醯唎摩訶皤哆沙咩o薩婆阿他豆輸朋o阿逝孕o薩婆薩多那摩婆薩多o那摩婆伽o摩罰特豆o怛姪他o唵o阿婆盧醯o盧迦帝o迦囉帝o夷醯唎o摩訶菩提薩埵o薩婆薩婆o摩囉摩囉o摩醯摩醯唎馱孕o俱盧俱盧羯懞o度盧度盧罰闍耶帝o摩訶罰闍耶帝o陀囉陀囉o地唎尼o室佛囉耶o遮囉遮囉o摩摩罰摩囉o穆帝隸o伊醯伊醯o室那室那o阿囉參佛囉舍利o罰沙罰參o佛囉舍耶o呼嚧呼嚧摩囉o呼嚧呼嚧醯唎o娑囉娑囉o悉唎悉唎o蘇嚧蘇嚧o菩提夜菩提夜o菩馱夜菩馱夜o彌帝唎夜o那囉謹墀o地唎瑟尼那o婆夜摩那o娑婆訶o悉陀夜o娑婆訶o摩訶悉陀夜娑婆訶o悉陀喻藝o室皤囉耶o娑婆訶o那囉謹墀o娑婆訶o摩囉那囉娑婆訶o悉囉僧阿穆佉耶o娑婆訶o娑婆摩訶阿悉陀夜o娑婆訶o者吉囉阿悉陀夜o娑婆訶o波陀摩羯悉陀夜o娑婆訶o那囉謹墀皤伽囉夜o娑婆訶o摩婆唎勝羯囉夜o娑婆訶o南無曷囉怛那哆囉夜耶o南無阿唎耶o婆盧吉帝o爍皤囉耶o娑婆訶oo
นำมอ.ไต.ปี.กวน.ซือ.อิม.ผู่.สัก. 3จบ
นำมอ.โห่.ลา.ตัน.นอ.ตอ.ลา.แหย่.แย.*นำมอ.ออ.ลี.แย.* พอ.ลู.กิด.ตี.*ชอ.ปอ.ลา.แย.*ผู่.ที.สัก.ตอ.พอ.แย.*มอ.ฮอ.สัก.ตอ.พอ.แย.*มอ.ฮอ.เกีย.ลู.นี.เกีย.แย.*งัน. * สัก.พัน.ลา.ฟา.อี.* ซู.ตัน.นอ.ตัน.แซ. * นำมอ.เสิด.กิด.ลี.ตอ.อี.มง.ออ.ลี.แย. *พอ.ลู.กิด.ตี.* สิด.ฟู.ลา.เลง.ทอ.พอ.*นำมอ.นอ.ลา.กิน.ชี.* ซี.หลี่.มอ.ฮอ.พัน.ตอ.ซา.แม.* สัก.พอ.ออ.ทอ.เตา.ซี.พง.* ออ.ซี.ยิน.* สัก.พอ.สัก.ตอ.นอ.มอ.พอ.สัก.ตอ. * นอ.มอ.พอ.แค. * มอ.ฟา.ทา.เตา. * ตัน.จิต.ทอ.. * งัน. * ออ.พอ.ลู.ซี. * ลู.เกีย.ตี. * เกีย.ลา.ตี. * อี.ซี.ลี. * มอ.ฮอ.ผู่.ที.สัก.ตอ. * สัก.พอ.สัก.พอ. * มอ.ลา.มอ.ลา. * มอ.ซี.มอ.ซี. * ลี.ทอ.ยิน. * กี.ลู.กี.ลู.* กิด.มง.* ตู.ลู.ตู.ลู.ฟา.แซ.แย.ตี.* มอ.ฮอ.ฟา.แซ.แย.ตี. * ทอ.ลา.ทอ.ลา. * ตี.ลี.นี. * สิด.ฟู.ลา.แย. * แจ.ลา.แจ.ลา. * มอ.มอ.ฟา.มอ. ลา.* มุก.ตี.ลี.*อี.ซี.อี.ซี.* สิด.นอ.สิด.นอ.* ออ.ลา.เซียง.ฟู.ลา.แซ.ลี*ฟา.ซอ.ฟา.เซียง.* ฟู.ลา.แซ.แย.* ฟู.ลู.ฟู.ลู.มอ.ลา.* ฟู.ลู.ฟู.ลู.ซี.ลี.* ซอ.ลา.ซอ.ลา. * เสิด.ลี.เสิด.ลี. * ซู.ลู.ซู.ลู. * ผู่.ที.แย.ผู่.ที.แย. * ผู่.ทอ.แย.ผู่.ทอ.แย. * มี.ตี.ลี.แย. * นอ.ลา.กิน.ชี.* ตี.ลี.สิด.นี.นอ.* พอ.แย.มอ.นอ.* ซอ.ผ่อ.ฮอ.*เสิด.ทอ.แย.* ซอ.ผ่อ.ฮอ.*มอ.ฮอ.เสิด.ทอ.แย.*ซอ.ผ่อ.ฮอ. * เสิด.ทอ.ยี.อี. * สิด.พัน.ลา.แย. *ซอ.ผ่อ.ฮอ. * นอ.ลา.กิน.ชี. * ซอ.ผ่อ.ฮอ. * มอ.ลา.นอ.ลา.* ซอ.ผ่อ.ฮอ. * เสิด.ลา.เจง.ออ.มุก.แค.แย. * ซอ.ผ่อ.ฮอ. * ซอ.พอ.มอ.ฮอ.ออ.เสิด.ทอ.แย. * ซอ.ผ่อ.ฮอ. * เจ.กิด.ลา.ออ.เสิด.ทอ.แย. * ซอ.ผ่อ.ฮอ. * ปอ.ทอ.มอ.กิด.เสิด.ทอ.แย.* ซอ.ผ่อ.ฮอ. * นอ.ลา.กิน.ชี. * พัน.แค.ลา.แย. *ซอ.ผ่อ.ฮอ. * มอ.พอ.ลี.เซง.กิด.ลา.แย. * ซอ.พอ.ฮอ. * นำมอ.โห่.ลา.ตัน.นอ.ตอ.ลา.แหย่.แย.* นำมอ.ออ.รี.แย.* พอ.ลู.กิด.ตี.* ชอ.พัน.ลา.แย.* ซอ. ผ่อ.ฮอ.* งัน.* เสิด.ตัน.ตู. *มัน.ตอ.ลา.* ปัด.ทอ.แย.* ซอ.ผ่อ.ฮอ.***
十小咒 หมวดคาถา จับ.เสียว.จิ่ว
如意寶輪王陀羅尼 ชื่อคาคา หยู่.อี.ป๊อ.หลุ่ง.อ๊วง.ถ่อ.หล่อ.ณี
南無佛馱耶o 南無達摩耶o 南無僧伽耶o 南無觀自在菩薩摩訶薩o具大悲心者 o怛姪他 o 唵o斫羯囉伐底o 震多末尼o 摩訶跋蹬迷o嚕嚕嚕嚕o底瑟吒o爍囉阿羯利o 沙夜吽o 癹莎訶o 唵鈸蹋摩o 震多末尼o爍囉吽o唵 跋喇陀o 跋亶迷吽oo
นำมอ.ผุด.ทอ.แย. * นำมอ.ตะ.มอ.แย. * นำมอ.เจง.แค.แย. * นำมอ.กวน.จือ.ใจ.ผู่.สัก.มอ.ฮอ.สัก. * กี.ตา.ปี.ซิม.เจ. * ตัน.จิต.ถ่อ. * งัน.*ชอ.กิด.ลา.ไว.ตี. * จิน.ตอ.มอ.ณี. * มอ.ฮอ.ปอ.เต็ง.มี.* ลู.ลู้.หลู่.ลู.* ตี.สิด.จา.* ชอ.ลา.ออ.กิต.ลี.* ซา.แย.ฮง.* ฟา.ซอ.ฮอ.* งัน.ปอ.ทัน.มอ.* จิน.ตอ.มอ.ณี.* ชอ.ลา.ฮง.* งัน.ปอ.ลา.ทอ.* ปอ.ทัน.มี.ฮง. ***
消災吉祥神咒 คาถา เซียว.ไจ.กิก.เซี้ยง.สิ่ง.จิ่ว
曩謨三滿哆母馱喃o阿跋囉底賀多舍o 娑曩喃o 怛姪他o 唵o 佉佉o佉呬o佉呬o吽吽o入縛囉 o入縛囉o 跋囉入縛囉o 跋囉入縛囉o底瑟宅o 底瑟宅 o瑟致哩o 瑟致哩o 娑癹吒o 娑癹吒o扇底迦o 室哩曳o娑縛訶.o
นำมอ.ซำ.มุน.ตอ.มู.ทอ.นัม.* ออ.ปอ.ลอ.ตี.ฮอ.ตอ.แซ.*ซอ.นัน.นำ.* ตัน.จิต.ถ่อ. * งัน.*แค.แค.* แค.เฮง.* แค.เฮง. *ฮง.ฮง.* หยิบ.วาว.ลา.* หยิบ.วาว.ลา.* ปอ.ลา.หยิบ.วาว.ลา.* ปอ.ลา.หยิบ.วาว.ลา.* ตี.สิด.จา.* ตี.สิด.จา.* สิด.ลี.อี* สิด.ลี.อี.* ซอ.พัน.จา.* ซอ.พัน.จา.* ชิน.ตี.เกีย.* สิด.ลี.อี.* ซอ.วาว.ฮอ.***
功德寶山神咒 คาถา กงเต็กปอซัวสิ่งจิ่ว
南無佛馱耶o 南無達摩耶o 南無僧伽耶 o 唵 o 悉帝護嚕嚕o 悉都嚕o 只利波 吉利波 悉達哩 o布嚕哩o 娑縛訶o
นำมอ.ผุด.ทอ.แย. * นำมอ.ตะ.มอ.แย. * นำมอ.เจง.แค.แย. * งัน.* เสิด.ตี.ฟู.ลู.ลู. * เสิด.ตู.ลู.* จี.ลี.ปอ.กิด.ลี.พอ.เสิด.ตะ.ลี.* ปู.ลู.ลี.*ซอ.วาว.ฮอ***
準提神咒 คาถา จุน.ที.สิ่งจิ่ว
稽首皈依蘇悉帝o 頭面頂禮七俱胝o 我今稱讚大準提o 惟願慈悲垂加護o
南無颯哆喃o 三藐三菩陀o 俱胝喃o 怛姪他o 唵o 折戾主戾o 準提o 娑婆訶.
ไค.ซาว.กุย.อี.ซู.เสิด.ตี. * เทา.เมง.เตง.ลี.ฉิก.กี.จือ.* งอ.กิม.เชง.จัน.ต้า.จุน.ที.* ไว.ยง.ชือ.ปี.ซุย.เกีย.ฟู.* นำมอ.สัก.ตอ.นำ.ซำ.เมียว.ซำ.ผู่.ทอ.* กี.จือ.นัม.* ตัน.จิต.ถ่อ.* งัน.* จี.ลี.จู.ลี.*จุน.ที.ซอ.พอ.ฮอ. ***
聖無量壽決定光明王陀羅尼 คาถาเซียบ่อเลี่ยงซิ่วก็วกเตี่ยกวงเม้งอ๊วงทอล่อณี
唵 捺摩巴葛瓦帝o 阿巴囉密沓o 阿優哩阿納o 蘇必你o實執沓o 牒左囉宰也o 怛塔哿達也o 阿囉訶帝o 三藥三不達也o 怛你也塔o 唵 薩哩巴 桑斯葛哩o 叭哩述沓o 達囉馬帝o 哿哿捺 桑o 馬 兀哿帝o 莎巴瓦 o 比述帝o 馬喝捺也o 叭哩瓦哩娑喝o
งัน.ไน.มอ.ปา.กอ.วา.ตี. * ยา.ปา.ลา.มิก.ตา.* ยา.เยา.ลี.ยา.นา. * ซู.ปิก.นี.* สิด.จิบ.ตา.* ติบ.จอ.ลา.จอย.แย.* ตัน.ตะ.กอ.ตะ.แย.* ออ.ลา.ฮอ.ตี.* ซำ.เมียว.ซำ.ปุก.ตะ.แย.* ตัน.นี.แย.ทอ.*งัน.* สัก.ลี.ปา.* ซวง.ชือ.กอ.ลี.* ปา.ลี.สุด.ตา.* ตะ.ลา.มา.ตี.* กอ.กอ.ใน. * ซวง.มา.วา.กอ.ตี.* ซอ.ปา.วา.ปี.สุด.ตี.*มา.ฮอ.ใน.แย.ปา.ลี.วา.ลี.ซอ.ฮอ.***
藥師灌頂真言 คาถา หยกซือกวงเต่ง.จิงงั้ง
南無薄伽伐帝o 鞞殺社o 窶嚕薜琉璃o 跋喇婆o喝囉闍也o 怛他揭多也o 阿囉喝帝o 三藐三勃陀耶o 怛姪他o 唵o 鞞剎逝 鞞剎逝o 鞞剎社o 三沒揭帝 娑訶o
นำมอ.ปอ.แค.ฟา.ตี.* ปี.ซา.แซ.* ลิว.ลู.เผ็ก.ลิว.ลี.* ปอ.ลา.พอ.* ฮอ.ลา.แซ.แย.* ตัน.ทอ.กิต.ตอ.แย.* ออ.ลา.ห่อ.ตี.* ซำ.เมียว.ซำ.ผู่.ทอ.แย.* ตัน.จิต.ถ่อ.* งัน.* ปี.ซา.ซือ.* ปี.ซา.ซือ. * ปี.ซา.แซ.* ซำ.มุก.กิด.ตี. ซอ.ฮอ. ***
觀音靈感真言 คาถา. กวงอิมเล่งก้ำจิงงั้ง
唵o 嘛呢叭彌吽o 麻曷倪牙納o 積都特巴達o 積特些納o 微達哩葛o 薩而斡而塔o卜哩悉塔葛o 納補囉納o 納卜哩丟忒班納o 哪麻嚧吉o說囉耶 莎訶oo
งัน.*มา.นี.ปา.หมี่.ฮง.*มา.ฮอ.ยี.ยา.นะ.*จิต.ตู.เตะ.ปา.ตะ.* จิต.เตะ.เซ.นะ.* มี.ตะ.ลี.กอ.สัก.อือ.วา.อือ.ตา.* ปู.ลี.เสิด.ตา.กอ.* นะ.ปู.ลา.นะ.*นะ.ปู.ลี.*ติว.เตะ.ปัน.นะ.* ไน.มา.ลู.กิด.* ซัว.ลา.แย.ซอ.ฮอ.***
七佛滅罪真言 คาถา ฉิกฮุกมิกจ่วยจิงงั้ง
離婆離婆帝o 求訶求訶帝o 陀羅尼帝o 尼訶囉帝o 毗黎你帝o 摩訶伽帝o真陵乾帝o 莎訶oo
ลี.พอ.ลี.พอ.ตี.* คิว.ฮอ.คิว.ฮอ.ตี.* ทอ.ลอ.นี.ตี.* นี.ฮอ.ลอ.ตี.* พี.ลี.นี.ตี.* มอ.ฮอ.แค.ตี.* จิน.ลิน.คิน.ตี.* ซอ.พอ.ฮอ.***
往生淨土神咒 คาถา อ้วงแซเจ่งโท่วสิ่งจีว
นำมอ.ออ.มี.ตอ.พอ.แย.* ตอ.ทอ.แค.ตอ.แย.* ตอ.ตี.แย.ทอ.* ออ.มี.ลี.* ตู.พอ.พี.* ออ.มี.ลี.ตอ.เสิด.ตำ.พอ.พี.* ออ.มี.ลี.ตอ.* พี.เกีย. หลั่น.ตี.*ออ.มี.ลี.ตอ.* พี.เกีย.หลั่น.ตอ.* แค.มี.ยือ.* แค.แค.นอ.* จือ.ตอ.เกีย.ลี.ซอ.พอ.ฮอ.***
大吉祥天女咒 คาถา ไต่กิกเซี้ยงเทียงนึ่งจิ่ว
南無佛陀o 南無達摩o 南無僧伽o 南無室利o 摩訶提鼻耶o怛你也他o波利富樓那o 遮利三曼陀o 達舍尼o摩訶毗訶羅伽帝o 三曼陀o 毗尼伽帝o 摩訶迦利野o 波禰o波囉o 波禰o薩利縛栗他o 三曼陀o 修拔黎帝o富隸那o 阿利那o 達摩帝o 摩訶毗鼓畢帝o 摩訶彌勒帝o 婁簸僧祗帝o醯帝徙o 僧祗醯帝o 三曼陀o阿他阿笯o 婆羅尼oo
นำมอ.ผุด.ทอ.* นำมอ.ตะ.มอ.* นำมอ.เจง.แค.นำมอ.เสิด.ลี.* มอ.ฮอ.ที.พี.แย.* ตัน.นี.แย.ทอ.ปอ.ลี.ฟู.ลิว.นอ.* แจ.ลี.ซำ.มั่น.ทอ.* ตะ.แซ.นี.* มอ.ฮอ.พี.ฮอ.ลอ.แค.ตี.* ซำ.มั่น.ทอ.* พี.นี.แค.ตี.* มอ.ฮอ.เกีย.ลี.แย.* ปอ.มี.* ปอ.ลา.* ปอ.มี.*สัก.ลี.วาว.ลี.ทอ.* ซำ.มั่น.ทอ.* สิ่ว.ปอ.ลี.ตี.*ฟู.ลี.นอ.* ออ.ลี.นอ.* ตะ.มอ.ตี.* หม่อ.ฮอ.พี.กู.ปิก.ตี.* หม่อ.ฮอ.มี.เล็ก.ตี.* ลิว.ปอ.เจง.คี.ตี.* ซี.ตี.ซือ.*เจง.คี.ซี.ตี.* ซำ.มั่น.ทอ.* ออ.ทอ.ออ.เนา. พอ.ลอ.นี. ***
心經 คาถา ซิมเก็ง ปรัชญาปรามิตาหฤทัยสูตร
般若波羅密多心經
觀自在菩薩,行深般若波羅蜜多時,照見五蘊皆空,度一切苦厄。 舍利子,色不異空、空不異色、色即是空、空即是色, 受想行識,亦復如是。 舍利子,是諸法空相,不生不滅、不垢不淨、不增不減。 是故空中無色、無受想行識、無眼耳鼻舌身意、無色聲香味觸法、 無眼界、乃至無意識界、無無明、亦無無明盡、乃至無老死、亦無老死盡、 無苦集滅道、無智亦無得、以無所得故。 菩提薩埵,依般若波羅蜜多故,心無罣礙; 無罣礙,故無有恐怖,遠離顛倒夢想,究竟涅槃。 三世諸佛,依般若波羅蜜多故,得阿耨多羅三藐三菩提 故知般若波羅蜜多,是大神咒、是大明咒、是無上咒、是無等等咒; 能除一切苦,真實不虛。故說般若波羅蜜多咒,即說咒曰: 揭諦揭諦 波羅揭諦 波羅僧揭諦 菩提薩婆訶
ปอ.แย.ปอ.ลอ.มิก.ตอ.ซิม.เกง.กวน.จือ.ใจ.ผู่.สัก.* หัง.ซิม.ปอ.แย.ปอ.ลอ.มิก.ตอ.ซือ.* เจา.เกียน.อู่.วัน.ไก.คง.*ตู.อี.ใช๊.คู.ง๊อก.*แส.ลี.จือ.* เสก.ปุก.อี.คง.* คง.ปุก.อี.เส็ก.* เส็ก.เจียก.ซือ.คง.* คง.ปุก.ซือ.เส็ก.* เซา.เซียง.หัง.เส็ก.* ยิด.ฝุด.อยู่.ซือ.* แส.ลี.จือ.* ชือ.จู.ฝับ.คง.เซียง.* ปุก.เซง.ปุก.มิก.* ปุก.เกียว.ปุก.เจง.* ปุก.เจง.ปุก.กำ.* ซือ.กู.คง.จง.บู่.เสก.*บู่.เซา.เซียง.หัง.เสก.* บู่.งั่ง.ยือ.พี.เสก.เซง.อี.* บู่.เสก.เซง.เฮียง.มี.ฉก.ฝับ.* บู่.งัง.ไก.ใน.จี.บู่.อี.เสก.ไก.* บู่.บู่.เม้ง.* ยิด.บู่.บู่.เม้ง.จิน.* ไน.จี.บู่.เลา.ซือ.* ยิด.บู่.เลา.ซือ.จิน.* บู่.คู.จิบ.มิก.เตา.* บู่.จี.ยิด.บู่.เตก.* อี.บู.ซอ.เต็ก.กู.* ผู่.ที.สัก.ตอ.* อี.ปอ.แย.ปอ.ลอ.มิก.ตอ.กู.* ซิม.บู่.ควง.ไง๊.* บู่.ควง.ไง๊.กู.* บู่.เยา.คง.ปู.* ยิน.ลี.ติน.เตา.มง.เซียง.* กิว.เกง.นิบ.พัน.* ซำ.ซือ.จู.ฟู.* อี.ปอ.แย.ปอ.ลอ.มิก.ตอ.กู.* เต็ก.ออ.เนา.ตอ.ลอ.ซำ.เมียว.ซำ.ผู่.ที.* กู.จือ.ปอ.แย.ปอ.ลอ.มิก.ตอ.* ซือ.ตา.เซง.เจา.* ซือ.ตา.เมง.เจา.* ซือ.บู่.เซียง.เจา.* ซือ.บู่.ตัง.ตัง.เจา.* เน่ง.ชี.อี.ใช.คู.* จิน.สิก.ปุก.ฮี.* กู.ซัว.ปอ.แย.ปอ.ลอ.มิก.ตอ.เจา.* เจียก.ซัว.เจา.หยัด.* กิด.ตี.กิด.ตี.ปอ.ลอ.กิด.ตี.ปอ.ลอ.เจง.กิด.ตี.ผู่.ที.สัก.พอ.ฮอ.มอ.ฮอ.ปอ.แย.ปอ.ลอ.มิก.ตอ.
จับก่งจั่ง (ธรรมคีตา)
香纔爇o爐o 焚寶o鼎中oo จินo擅沉o乳真o堪供oo 香o煙繚o繞蓮o花動o 諸o佛菩o薩下o天宮oo 天o台山羅o漢o 納o受人o間供o
เซียง.ไช.ยี.*ลู.*ฟัม.เปา.*เตง.จง.** จิน.*ทัน.ซิม.*ยุ่ย.จิน.* คำ.กง** เซียง.* ยิน * เลียว. * เยา.เลียน. * ฟา.ตง.* จู.ฟู.* ผู่.สัก* ฮา.*เทียน.กง. ** เทียน.*ไท.ซัน.ลอ.*ฮอน.** นับ.เซา.* เลิน.* เกียน.กง.**เทียน.*ไท.ซัน.ลอ.*ฮอน.** นับ.เซา.* เลิน.* เกียน.กง.* **
供養
南無常住十方佛
南無常住十方法
南無常住十方僧
南無本師釋迦牟尼佛
南無極樂世界阿彌陀佛
南無當來下生彌勒尊佛
南無消災延壽藥師佛
南無大智文殊師利菩薩
南無大行普賢菩薩
南無大悲觀世音菩薩
南無大勢至菩薩
南無護法諸天菩薩
南無伽藍聖眾菩薩
南無歷代祖師菩薩
กงเอียง.
นำมอ.เชียง.จู.สิบ.ฟัง.ฟู.*
นำมอ.เชียง.จู.สิบ.ฟัง.ฝับ.*
นำมอ.เชียง.จู.สิบ.ฟัง.เจง.*
นำมอ.ปุน.ซือ.เสก.เกีย.เมา.นี.ฟู.*
นำมอ.เกก.หลก.ซือ.ไก.ออ.มี.ถ่อ.ฟู.*
นำมอ.ตง.ไล.เหี่ย.เซง.มี.เล็ก.จุน.ฟู.*
นำมอ.เซียว.ไจ๊.เอียง.ซิว.หยก.ซือ.ฟู.*
นำมอ.ตา.ตี.บุน.ซู.ซือ.ลี.ผู่.สัก.*
นำมอ.ไต.หัง.โผว.เฮียง.ผู่.สัก.*
นำมอ.ตา.ปี.กวน.ซือ.อิม.ผู่.สัก.*
นำมอ.ตา.ซี.จี.ผู่.สัก.*
นำมอ.ฟู.ฝับ.จู.เทียน.ผู่.สัก.*
นำมอ.แค.นำ.เซง.จง.ผู่.สัก.*
นำมอ.และทอย.โจว.ชือ.ผู่.สัก.* 3จบ
變食真言 三遍 คาถา เปี่ยงเจียะ จิงงั้ง 3 จบ
曩謨薩嚩怛他哦多嚩盧枳帝唵三跋囉三跋囉吽
นำมอ.สัก.วาว.ตัน.ตอ.แย.ตอ.วาว.ลู.จิต.ตี.งัน.ซำ.ปอ.ลา.ซำ.ปอ.ลา.ฮง.
甘露水真言 三遍 คาถา กำโล่วจุ๊ย จิงงั้ง 3จบ
曩謨蘇嚕婆耶怛他哦多耶怛怛姪他唵蘇嚕蘇嚕鉢羅蘇嚕鉢羅蘇嚕娑婆訶
นำมอ.ซู.ลู.พอ.แย.ตัน.ทอ.แย.ตอ.แย.ตัน.จิต.ถ่อ.งัน.ซู.ลู.ซู.ลู.ปอ.ลา.ซู.ลู.ปอ.ลา.ซู.ลู.ซอ.พอ.ฮอ.
此食色香味O 上供十方佛O 中奉諸賢聖O 下及六道品O 等旋無宮差别O 隨願皆飽滿O令今施者得O 無量波羅密O 三德六味O 供佛及僧 O 法界有情O 普同供養O
ซือ.เสก.เสก.เฮียง.มี.* เซียง.กง.สิบ.ฟัง.ฟู.* จง.ฮง.จู.เฮียง.เซง.* ฮา.กิป.ลิว.เตา.พิน.*
ตัง.ซี.บู.ชา.เปียก.* ซุย.ยง.ไก.เปา.มุน.* เล่ง.กิม.ซี.แจ.เต็ก.* บู.เลียน.ปอ.ลอ.มิก.*
ซำ.เต็ก.ลิว.มี.* กง.ฟู.กิบ.เจง.* ฝับ.ไก.เยา.เชง.* โพว.ทง.กง.เอียง.
普供養真言 三遍 คาถา โผ่วกงเอี๋ยงจิงงั้ง 3 จบ.
唵哦哦曩三婆嚩伐日吽
งัน.*แหย่.แหย่.ลัน.ซำ.พอ.วาว.ฟา.ยือ.ลา.ฮง.*
(ธรรมคีตา)
天廚妙o供禪o悅酥o酡oo戶o唵蘇o嚕薩o哩嚩oo怛o他阿o誐多oo怛o你也o他oo蘇o嚕娑o嚩訶o南無禪悅藏o菩o薩o摩o訶薩0.
เทียน.ชือ.เมียว.ก่ง * ซิม.* ยุ่ย.ซู.* ทอ.** ฟู.* งัน. ซู. * ลู.สัก.* ลี.วาว. ** ตัน.* ทอ.ออ.* แย.ตอ. ** ตัน.* นี.แย.* ทอ. ** ซู.* ลู.ซอ.* วาว.ฮอ.*
นำมอ.ซิม.ยุ่ย.จัง.* ผู่.สัก.* มอ.ฮอ.* สัก.*
上供已訖o當願眾生o所作皆辦o具諸佛法o
เซียง.กง.อี.งึก.* ตง.ยง.จง.เซง.* ซอ.จก.ไก.ปัน.* กี.จู.ฟู.ฝับ.*****
- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์, 10 พฤศจิกายน 2555 13:12
พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนพิเนตุ วิเทศธรรมประสาท นวกิจพิลาสประยุกต์ ทำนุกจีนประชาวิสิฐ เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกาย
โยมพ่อ โยมแม่ ของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง
พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร ฯโพธิ์แจ้งมหาเถระ อดีตเจ้าคณะใหญ่ สงฆ์จีนนิกาย รูปที่6 ประธานคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกายรูปที่1 เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิ์แมนคุณาราม เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิ์เย็น กาญจนบุรี เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิทัตตาราม ศรีราชา ชลบุรี ก่อนมรณภาพ เมื่อ วันที่ 25 เดือน กันยายน พ.ศ.2529 ท่านดำรงสมณะ ศักดิ์พระราชาคณะชั้นสัญญาบัตร(ชั้นธรรมพิเศษ) ฝ่ายวิปัสสนา ในราชทินนามพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนพิเนตุ วิเทศธรรมประสาท นวกิจพิลาสประยุกต์ ทำนุกจีนประชาวิสิฐ
- ท่านเจ้าคุณอาจารย์โพธิ์แจ้ง สถานะเดิมชื่อธง สกุลอึ้ง ท่านกำเนิดเมื่อ วันที่ 16 เดือน 6 จีน ปืนขาล พ.ศ.2444 จังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน บิดาเป็น ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ มารดาจางไทฮูหยินเกิดในตระกูลเตียท่านสืบเชื้อสายขุนนาง ทั้งฝ่ายบิดาและ มารดาซึ่งเป็นอุบาสก อุบาสิกา เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา
- ท่านเจ้าคุณอาจารย์ กำพร้าบิดามาแต่เยาว์วัย จางไทฮูหยินมารดา ได้ อบรมบุตรให้ประพฤติในธัมมานุธรรมปฏิบัติท่านได้รับการศึกษาตามแบบจีนเก่าจบชั้นมัธยมบริบูรณ์ในประเทศจีนสมัยนั้น เมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่มได้เข้ารับราชการทหารอยู่ระยะหนึ่ง ท่านได้เป็นนายทหารคนสนิทของประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค และในขณะนั้น ท่านได้สติเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาสวิสัย จึงตั้งปณิธานน้อมจิตเข้าสู่พุทธธรรม การตัดสินใจในครั้งนั้นเป็นผลดีต่อพุทธศาสนาและคณะสงฆ์จีนนิกายในประเทศไทย อย่างมหาศาล สาธุชนทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมายได้รับการชักนำจากท่านเข้าสู่พุทธธรรม พระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานได้ตั้งมั่น สืบต่อ ยั่งยืนในภูมิภาคนี้
- ในปี 2470 ขณะนั้นท่านเจ้าคุณอาจารย์ อายุย่างเข้า 26 ปีได้เดินทาง เข้ามาในประเทศไทย เพื่อศึกษาหลักธรรมและสักการะปูชนียะสถานต่างๆ ตามที่ท่านได้รับฟังมาก่อน พร้อมกับได้สืบเสาะหาพระอาจารย์ที่มีบารมี ความรู้ เมื่อพบจึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ขอบรรพชาในสำนักพระอาจารย์ หล่งง้วน เป็นอุปัชฌาย์และบรรพชา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2471 ณ.สำนักสงฆ์ถ้ำประทุน(เช็งจุ้ยยี่) พระพุทธบาท สระบุรี ท่านอาจารย์หล่งง้วนได้ บรรพชาให้และให้ฉายา ท่านว่า “โพธิ์แจ้ง” หลังจากบรรพชาแล้วท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้มุ่งหน้าศึกษาบำเพ็ญเพียรปฏิบัติกรรมฐานอย่างมุ่งมั่น บริเวณวัดถ้ำประทุนในขณะนั้นยังห่างไกลความเจริญ การสัญจรไม่สะดวก คนไปมาหาสู่น้อยเต็มไปด้วยสัตว์ร้าย และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้มุ่งมั่นปฏิบัติพร้อม กับการสังคมสงเคราะห์ ด้วยท่านได้เคยเรียนรู้เรื่องตำรับยามาบ้าง เมื่อชาวบ้านเจ็บไข้ได้ท่านก็เป็นธุระรักษาพยาบาลให้บาง รายอาการหนักถึงแก่กรรมท่านก็ช่วยประกอบกิจการศพให้ ท่านยังได้ทำการพัฒนาสภาพแวดล้อมต่างๆตามโอกาส เช่น ท่านได้สกัดหินภูเขาเพื่อสร้างทางเดินให้ชาวบ้าน เป็นต้น ด้วยความยากลำบากความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อสังคม ความมุ่งมั่นใน การบำเพ็ญเพียร จนครั้งหนึ่งท่านได้เกิดโรคไข้จับสั่น ทุกข์เวทนามากแต่ท่านก็ไม่ย่อท้อ เมื่อหนาวสั่นก็ออกไปทุบหินจนร่างกายที่หนาวกลับกลายเป็นร้อน เมื่อร้อนเหงื่อโชกก็พักหายเหนื่อยก็ไปสรงน้ำ ทำเช่นนี้ตลอดชั่วระยะเวลาไม่กี่วัน ท่านก็สามารถเอาชนะโรคร้ายนั้นได้
- ในสมัยนั้นพระสงฆ์จีนไม่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวไทย และชาวจีนมากนัก ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้พิจารณาเหตุแห่งสภาพนั้น พร้อมทั้งตั้งสัจจะ ปณิธานที่จะปรับปรุงคณะสงฆ์จีนใหม่ เพื่อนำความเลื่อมใสศรัทธา รุ่งโรจน์ ให้บังเกิดขึ้นในภายภาคหน้า ง่ายในการตั้งปณิธานแต่ยากในการปฏิบัติ ด้วยว่าตนเองจะต้อง ประกอบด้วย ขันติ วิริยะ ปัญญา บารมี และคุณธรรม ด้วยปณิธานในครั้งนั้น ทำให้ท่านต้องรับความยากลำบากอย่างมาก ถึงขั้นมีผู้หมายปองชีวิต ดังเหตุการณ์ร้ายแรงเหตุการณ์หนึ่ง หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 5025 วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2505 ได้ลงข่าว พาดหัวว่า วางระเบิดสังหารสงฆ์ใหญ่จีน มือมืดซุกระเบิดไว้ใต้เบาะรถยนต์-นั่งทับ ระเบิด รอดมรณภาพได้ดั่งปาฏิหาริย์ ในครั้งนั้นแรงระเบิดได้ทำให้หลังคารถเก๋งโอเบิล แตกเปิดเป็นโพรง เบาะรถทั้งหน้าหลังกระจุยกระจาย แต่ก็เพียงทำให้จีวรและเสื้อของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเป็นจุดเป็นรูรอยไหม้เกิดขึ้นมากมาย แต่ตัวท่านเพียงได้รับความกระเทือนจากแรงกระแทกบ้างเท่านั้น อีกทั้งคนขับรถก็มิได้รับบาดเจ็บอันใดเลย ถึงแม้จะมีความยากลำบากในการสร้างความมั่นคงแก่คณะสงฆ์จีน เพียงใดท่านเจ้าคุณอาจารย์ก็ยังคงมุ่งมั่นในการปฏิบัติ และปฏิบัติจนสำเร็จลุล่วง คณะสงฆ์จีนมั่นคงรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้
- ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้บำเพ็ญเพียร ศึกษาปฏิบัติ ที่ วัดถ้ำประทุน จนแตกฉานในพระไตรปิฏกรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจสี่ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของ พุทธศาสนิกชน เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อุบาสก อุบาสิกา ผู้เคารพเลื่อมใสในกรุงเทพฯได้นิมนต์ ท่านแสดงธรรมโปรดชาวเมืองอยู่เนืองๆ ท่านเจ้าคุณอาจารย์จึงได้ย้ายมา จำพรรษาอยู่ใน กรุงเทพ ณ.สำนักสงฆ์หมี่กัง สะพานอ่อน ขณะนั้นพุทธศาสนาฝ่ายจีนยังไม่แพร่หลาย วัดและ สำนักสงฆ์ ยังน้อย ท่านเจ้าคุณอาจารย์ดำริว่า ต้องสร้างคนก่อนแล้วค่อยสร้างวัตถุ เมื่อคนมี คุณภาพทางจิตและผูกพัน การพัฒนา สังฆมณฑลจีนนิกายก็ราบรื่นและแพร่ไพศาล ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้เริ่มแผ่เมตตา รับสานุศิษย์(กุยอี)เข้าปฏิญาณตน เป็นพุทธมามะกะรับ คำสอนจากท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นรุ่นๆ รุ่นละร้อยกว่าคนบ้าง สองร้อยกว่าคนบ้างท่านเป็นที่ พึ่งแก่พุทธศาสนิกชน ่ทั้งชาวจีนและชาวไทยในกรุงเทพขณะนั้นและต่อๆมาวางรากฐานมั่นคง แก่คณะสงฆ์จีนนิกาย ในประเทศไทย
คุรุโพธิ์แจ้งมหาเถระขณะประกอบพิธีอภิเษกศิษย์
-ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีน ได้ ดั้นด้นธุดงค์ บำเพ็ญบารมีไป ได้เข้าศึกษามนตรยาน ณิงมากาจู ณ.สำนักสังฆราชา ริโวเช แคว้นคาม ทิเบตตะวันออก กับพระสังฆราชา “วัชระนะนาฮู้ทู้เคียกทู้”(นอร่ารินโปเช) ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่มีชื่อเสียงมากของทิเบต ท่านสังฆราชานะนา เลื่องลือมาก ในแถบจีน ตอนใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ท่านสังฆราชานะนา ได้เปิดเผยว่าท่านเจ้าคุณ อาจารย์ถือกำเนิดจากปรมาจารย์ “คุรุนาคาชุน” (ตามความเชื่อและแนวทางปฏิบัติในทิเบต) ซึ่งมาเพื่อฟื้นฟู สถาปนาพุทธศาสนามหายานให้มั่นคงในภูมิภาคนี้ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้รับ ความเมตตาจากพระอาจารย์เป็นพิเศษ เมื่อท่านเจ้าคุณอาจารย์ศึกษาแตกฉานใน มนตรยานณิงมากาจู แล้ว พระสังฆราชาฯได้ประกอบการอภิเษก ตั้งให้ ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเป็น “พระวัชรธราจารย์” สังฆราชานิกายณิงมา-กาจู(นิกายขาว-แดง)อันดับที่ 26 สืบต่อ ในการครั้งนั้น ท่านสังฆราชานะนา ได้มอบ อัฐบริขาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตำแหน่งสังฆราชา ให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์อย่าง ครบถ้วน ทั้งได้มอบพระธรรมคัมภีร์ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดของนิกายเพื่อให้ท่านเจ้าคุณ อาจารย์นำกลับมาประดิษฐานในประเทศไทย ด้วย ท่านสังฆราชานะนาได้ทำนายว่า ทิเบตต้องแตก พระธรรมคัมภีร์อันมีค่ามหาศาล วัตถุธรรมอันล้ำค่าจะถูกทำลายหมด เป็นที่ยืนยันว่าพระธรรมคัมภีร์ฉบับที่อยู่ กับท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ท่านสังฆราชาวัชระนะนา กับศิษย์ฑิมซินกุนดักริมโปเช(โพธิ์แจ้ง)
เมื่อครั้งที่ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งได้พบและเข้าเป็นศิษย์ท่านนอร่าริมโปเช ท่านนอร่าริมโปเชกำลังแสดงธรรมเทศนาอยู่ที่ฮ่องกง ท่ามกลางศาสนิกชนป็นหมื่นที่เข้าร่วมรับฟังธรรมของท่าน ในขณะนั้น อยู่ๆท่านก็หยุดการแสดงธรรม และกล่าวต่อที่ประชุมนั้นว่า ขณะนี้ ฒุลกุ(ผู้บรรลุธรรมที่กลับชาติมาเกิดหรือองค์นิรมานกาย) ของพระโพธิสัตว์นาครชุน ผู้สถาปนาพุทธมหายานกำลังจะเข้ามาและจะมาเป็นศิษย์ของท่าน ด้วยภาระในการสร้างพุทธศาสนามหายานให้มั่นคงยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียนี้ เมื่อท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเข้าไปในที่ประชุมนั้น และได้มอบตัวเป็นศิษย์แก่ท่านสังฆราชานอร่าริมโปเช เมื่อท่านโพธิ์แจ้งได้รับการถ่ายทอดวัชรธรรม การบรรลุธรรมก็เกิดขึ้นในทันที หลังจากนี้นท่านก็ติดตามอาจารย์เดินธุดงค์เข้าทิเบต (ท่านโซนัมริโปเช เคยกล่าวว่า ตอนเด็กท่านเคยเห็นพระจีนรูปหนึ่งติดตามคุณตาอยู่ แต่ท่านยังเด็กมากจำไม่ได้ว่าพระจีนรูปนั้นเป็นใคร ในประวัติของท่านสังฆราชานอร่า ท่านรับศิษย์จำนวนมากแต่เป็นคฤหัสถ์เป็นเกือบหมด มีพระลามะทิเบต2รูป และพระสงฆ์ชาวจีน 1รูป และพระสงฆ์ชาวเวียตนาม 1 รูป เท่านั้นเอง พระสงฆ์ชาวจีนก็คือท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งซึ่งต่อมาได้สร้างคณูปการแก่คณะสงฆ์ในพุทธศาสนามหายานในเอเซีย)
- ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีน เพื่อเข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ณ.วัดล่งเชียงยี่ บนภูเขาป๋อฮั้วซัว มณฑล กังโซว โดยมีพระคณาจารย์ฮ่งยิ้ม เป็นอุปัชฌาย์ ผู้เป็นสังฆนายกสำนักวินัย สำนักปฏิบัติ ธรรมวินัยแห่งนี้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัดที่สุดของจีน เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้อยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม กับพระคณาจารย์เพิ่มเติมอีก 2 ปี ด้วยสติ ปัญญา อันหลักแหลมฉลาดเฉลียว ท่านได้เรียนรู้อรรถธรรมลึกซึ้งต่างๆได้แตกฉานเป็นที่รัก ใคร่ของพระอาจารย์ และ พระสงฆ์ต่างๆ ในสำนัก ปี พ.ศ.2479 จึงได้จาริกกลับประเทศไทย เพื่อเผยแพร่พระธรรมและประสบการณ์ความรู้ ที่ได้รับมาแก่พุทธบริษัทในประเทศไทยต่อไป
- ปี พ.ศ. 2490 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกกลับประเทศไทย พร้อมด้วย บารมีธรรม อันแรงกล้า แตกฉานในพระไตรปิฏกทุกยาน ทุกนิกาย ทั้งเถระวาทในประเทศไทย มหายานของจีน และวัชระยานของทิเบต ตลอดจน ความรอบรู้ปรัชญาของจีนและศาสตร์ทุก แขนงทั้งทางโลกและทางธรรม ด้วยว่าท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นผู้ไม่ยอมว่าง ในการแสวงหา ความรู้นั่นเอง
ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเข้ารับการแต่งตั้งเป็นประมุขนิกายวินัย
- ปี พ.ศ.2491 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีนเป็นวาระที่สาม ครั้งนี้ท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้รับเกียรติอย่างสูงจากพระคณาจารย์จีนพระปรมัตตาจารย์ (เมี่ยวยิ้ว) ประมุขเจ้านิกายวินัยของประเทศจีน องค์ที่ 18 แต่งตั้งท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็น พระปรมัตตาจารย์ ประมุขนิกายวินัยองค์ที่ 19 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกแสวงธรรม ในการ ครั้งนี้ด้วย รวมเวลาในวาระนี้ 2 ปีเศษ - ตั้งแต่ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้บรรพชา ณ วัดถ้ำประทุนเป็นต้นมาท่านได ้อุทิศกายใจ เพื่อการ พระศาสนา โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง หลังจากเข้าพำนัก ณ. สำนักสงฆ์หมี่กัง ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ จำศีลภาวนา อบรมศิษยานุศิษย์ อย่างเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ผู้มาปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนสำนักสงฆ์หมี่กังคับแคบ ไม่พอแก่จำนวนผู้มา ท่านเจ้าคุณอาจารย์จึงสร้างสำนักสงฆ์หลับฟ้าขึ้นอีกแห่ง ในบริเวณใกล้ เคียงกัน กิติศัพท์ในสีลาจาวัตร ความรู้ ความสามารถ ความเมตตา ของท่านยิ่งกว้างขวางไป ไกล จำนวนศิษยานุศิษย์และผู้ปฏิบัติธรรมก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น สำนักสงฆ์หลับฟ้าก็คับแคบอีกท่าน เจ้าคุณอาจารย์ จึงได้สร้างวัดโพธิ์เย็น ณ.ตลาดลูกแก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และ ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา กับประกอบพิธี ผูกพัทธสีมาสำหรับ เป็นที่ประกอบการอุปสม บทตามพระวินัยบัญญัติ นับเป็นปฐมสังฆะรามฝ่ายจีนนิกาย แห่งแรกที่ให้ การอุปสมบทแก่กุล บุตร ซึ่งก่อนหน้านี้การอุปสมบทด้องเดินทางไปประเทศจีน ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้ โปรด แต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะฝ่ายจีนนิกายรูปแรก ปี พ.ศ.2497 สมเด็จพระสังฆราชมี เถรบัญชาให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์ จากวัดโพธิ์เย็นลงมาครองวัดมังกรกมลาวาส ซึ่งเป็นอารามใหญ่ที่สุดของฝ่ายจีนนิกาย ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้ปกครอง ดูแลอย่างเรียบร้อย เป็นที่แซ่ซ้อง สาธุการของพุทธบริษัทชน ครั้นแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้เลื่อน สมณะศักดิ์ของ ท่านเจ้าคุณขึ้นเป็นที่พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายสงฆ์จีนนิกาย ปกครอง คณะสงฆ์จีน ในประเทศไทย เมื่อคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทยมั่นคง สมบูรณ์แล้ว ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกยังประเทศในภูมิภาคนี้ เป็นครั้งเป็นคราว เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย เพื่อเผยแพร่พระศาสนาให้กว้างไกลยิ่งๆขึ้นไป ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้อุทิศตนเพื่อ พระศาสนาอย่างแท้จริงเป็นเวลายาวนานกว่า 60 ปี ฉะนั้นชื่อเสียง เกียรติคุณ ของท่านจึงขจร ขจายไปทั่วทุกสารทิศ
- ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติวุฒิ คุณวุฒิ และวัยวุฒิ ปฏิบัติเคร่งครัดในสีลาจารวัตร เมตตาสั่งสอน อบรมพุทธบริษัททั่วไปอย่างหมั่นเพียรจนได้รับ การยกย่องในหมู่คณะพระมหาเถรานุเถระของ ไทยว่ามีปฏิปทาไม่แปลกจากสงฆ์ไทยเลย สังฆกรรมใดซึ่งมีพระพุทธบัญญัติ ก็พยายามพื้นฟูขึ้นมาปฏิบัติ เช่น พิธี กฐิน เป็นต้นด้วยความ เป็นสังฆราชาแห่งสำนักวินัยอันดับที่ 19 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ให้ความสำคัญ ในการปฏิบัติเคร่งครัด ในพระวินัย พร้อมทั้งสั่งสอน ควบคุม พระภิกษุ สามเณรในวัดให้เป็นผู้เคร่งครัดในการ ปฏิบัติพระวินัยด้วย ท่านเจ้าคุณ อาจารย์จึงมีคำสั่งให้พระภิกษุเย็นเกียรติ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดโพธิ์เย็น จัดการแปลสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์แห่งนิกายวินัย ซึ่งเป็นพากษ์ภาษาจีนออกสู่ พากย์ไทย เพื่อเป็นการเปรียบเทียบพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายบาลี และให้ผู้บวชเรียนชาวไทย ในกาลต่อมาได้เรียนรู้อย่างสะดวก พระภิกษุจีนนอกจากจะต้องปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัตินี้ แล้ว ยังต้องปฏิบัติ โพธิสัตว์ สิกขาตามคติในนิกายมหายานอีกด้วย - วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน 2529 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้อาพาธ และถึงแก่มรณภาพลง สิริอายุ 85 ปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรม ราชานุเคราะห์ ในการสวดพระอภิธรรม 7 วัน นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงพระมหากรุณา เสด็จพระราชดำเนินไปในการบำเพ็ญพระ ราชกุศลพระอภิธรรม แก่ศพท่านเจ้าคุณอาจารย์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2529 สมเด็จพระบรม โอรสาธิราช เสด็จพระราชดำเนิน บำเพ็ญ พระราชกุศลพระราชทานบรรจุศพ ท่านเจ้าคุณอา จารย์ ณ วัชระเจดีย์ วัดโพธิ์แมนคุณาราม ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นพระเถระต่างชาติรูปแรกที่ได้ รับพระราชทานสมณศักดิ์สูงเป็นเกียรติประวัติยามเมื่อท่าน ยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อท่านได้ละ สังขารแล้ว ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรม ราชานุเคราะห์ต่างๆ เป็นเกียรติประวัติที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์สงฆ์จีนในประเทศไทย
ก่อนท่านเจ้าคุณอาจารย์จะมรณะภาพท่านได้สั่งคณะศิษย์ไว้ว่าเมื่อถึงเวลาอันสมควร ก็ให้เปิดวัชระเจดีย์และอัญเชิญสรีระของท่านออกมาเพื่อให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2539 เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายองค์ปัจจุบัน ท่านเจ้าคุณเย็นเต็ก ได้ประกอบพิธีเปิดวัชระเจดีย์เมื่อผู้ร่วมในพิธีทุกท่านได้เห็นสรีระของท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นที่ อัศจรรย์อย่างยิ่ง สรีระของท่านยังคง สมบูรณ์ดี แม้เวลาจะผ่านไปนานถึงสิบปีแล้วก็ตาม แต่ก็ มีเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นอีก ร่างของท่านได้ แบ่งสีสรรเป็นสามสีอย่างชัดเจนคอและ ศีรษะเป็นสีทอง ตัวเป็นสิเงิน จากข้อศอกทั้งสองข้าง และขาทั้งสอง ข้างเป็นสีโกโก้หรือสีของ เมื่อสัมผัสยังนุ่มนิ่มเหมือนเนื้อคนธรรมดา ขณะนี้สรีระของท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้ประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์แมนคุณารามเพื่อให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา
ในครั้งนี้มีเหตุการณ์มหัศจรรย์เกิดขึ้นจากการเชิญสรีระของท่านออกมาแล้ว เพื่อรอการปิดทองตามเจตนารมณ์ของท่านเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์ปัจจุบัน ในขณะที่รอก็มีน้ำมันไหลออกมาจากสรีระของท่านทุกวัน ผ้าเหลืองที่พับไว้ให้สรีระท่านรองนั่งเปียกชุ่มโชกทุกวัน และกลุ่มผู้ดูแลและผู้รู้เรื่องทั้งหมดไม่มีใครทราบความสำคัญของกรณีนี้เลย (ในทิเบต ถือเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและมหาศักดิ์สิทธิ์ พระอาจารย์ผู้บรรลุธรรมถ้าให้น้ำมันออกจากสีรระร่างในลักษณะนี้ ถือว่าพระอาจารย์มอบพระธาตุไว้ให้บรรดาศิษย์เป็นที่ระลึกไว้บูชา น้อยมากที่จะมีกรณีนี้เกิดขึ้น) เหตุการณ์นี้ดำเนินอยู่สองปีกว่าเกือบสามปี และผู้ดูแลก็นำผ้าซึ่งเปียกชุ่มน้ำมันจากสรีระของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งไปเผาทิ้งหมด ด้วยความไม่รู้ จนเมื่อพระมหาวัชราจารย์โซนัมริมโปเช พระลามะผู้มีความสัมพันธ์กับท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง ท่านเป็นหลานของท่านนอร่าริมโปเชผู้เป็นพระอาจารย์ของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง ผู้ซึ่งกลุ่มศิษย์ผู้ดูแลสรีระของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเชิญมาและกราบท่านเป็นพระอาจารย์มาหลายปีแล้ว ท่านมาประเทศไทยประจำทุกปี แต่ครั้งนี้มีกิจทำให้ท่านมาเมืองไทยเมื่อเกิดเหตุนี้แล้วเกือบสามปี ท่านได้รู้เหตุการณ์นี้และได้บอกว่าการให้น้ำมันเช่นนี้ เป็นที่มหายินดีแก่บรรดาลูกศิษย์ของชาวพระอาจารย์ชาวทิเบต เพราะว่าพระอาจารย์ท่านได้มอบพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ของท่านให้หมู่ศิษย์ไว้เป็นที่ระลึก กรณีให้น้ำมันนี้จะไม่หยุดจนกว่าหมู่ศิษย์จะรู้เรื่องและเก็บน้ำมันนี้ไว้เป็นที่ระลึก และเมื่อรู้เรื่องแล้ว การให้น้ำมันก็จะหยุดลง และทุกอย่างก็เป็นไปตามนั้น หลังจากที่ท่านวัชราจารย์โซนัมริมโปเช ท่านบอกกล่าวให้รู้ ในวันถัดมาน้ำมันก็ไม่ออกมาอีกเลย ผมได้เก็บน้ำมันพระธาตุนั้นไว้ และได้นำมาสร้างพระเครื่อง และบรรจุไว้ในพระบูชาที่ได้สร้างขึ้น นี่เป็นเหตุการณ์มหัศจรรย์หนึ่งในหลายเรื่องที่ได้เกิดขึ้นซึ่งได้ประสบมากันตนเอง